PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ภาคพระไตรปิฎกแปล
  • พระไตรปิฎกคืออะไร ?

พระไตรปิฎกคืออะไร ?

พระไตรปิฎกคืออะไร ? รูปภาพ 1
  • Title
    พระไตรปิฎกคืออะไร ?
  • Hits
    1904
  • 9990 พระไตรปิฎกคืออะไร ? /tripitaka/2021-08-19-08-41-58.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    2
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • ผู้เขียน
    อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
  • ชื่อชุด
    พระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกคืออะไร ?

ศาสนาทุกศาสนา ย่อมมีคัมภีร์หรือตำราทางศาสนาเป็นหลักในการสั่งสอน แม้เดิมจะมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เมื่อมนุษย์รู้จักใช้ตัวหนังสือ ก็ได้มีการเขียน การจารึกคำสอนในศาสนานั้นๆ ไว้ เมื่อโลกเจริญขึ้นถึงกับมีการพิมพ์หนังสือเป็นเล่มๆ ได้ คัมภีร์ศาสนาเหล่านั้นก็มีผู้พิมพ์เป็นเล่มขึ้นโดยลำดับ

พระไตรปิฎก หรือที่เรียกในภาษาบาลีว่า ติปิฎกหรือเตปิฎกนั้น เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับไตรเวท เป็นคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ ไบเบิ้ลของศาสนาคริสต์ อัลกุรอาน ของศาสนาอิสลาม

กล่าวโดยรูปศัพท์ คำว่า พระไตรปิฎก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฎก คำว่า พระ เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า ไตร แปลว่า ๓ คำว่า ปิฎก แปลได้ ๒ อย่าง คือแปลว่าคัมภีร์หรือตำราอย่างหนึ่ง แปลว่า กระจาดหรือตะกร้าอย่างหนึ่ง ที่แปลว่ากระจาดหรือตะกร้า หมายความว่าเป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ ไม่ให้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของฉะนั้น

พระไตรปิฎกแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง
เมื่อทราบแล้วว่าคำว่าพระไตรปิฎกแปลว่า ๓ คัมภีร์ หรือ ๓ ปิฎก จึงควรทราบต่อไปว่า ๓ ปิฎกนั้นมีอะไรบ้าง และแต่ละปิฎกนั้น มีความหมายหรือใจความอย่างไร


ปิฎก ๓ นั้นแบ่งออกดังนี้
๑.วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี
๒.สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วๆ ไป
๓.อภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วนๆ หรือธรรมะที่สำคัญ

๐ พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
โดยอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service