PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ภาคพระไตรปิฎกแปล
  • พระไตรปิฎกกับไตรสิกขา

พระไตรปิฎกกับไตรสิกขา

พระไตรปิฎกกับไตรสิกขา รูปภาพ 1
  • Title
    พระไตรปิฎกกับไตรสิกขา
  • Hits
    1937
  • 9684 พระไตรปิฎกกับไตรสิกขา /tripitaka/2021-08-07-09-35-45.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • ผู้เขียน
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
  • วันที่นำเข้าข้อมูล
    วันเสาร์, 07 สิงหาคม 2564
  • ชื่อชุด
    พระไตรปิฎก: สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
  • อ้างอิง
    1: ตารางเนื้อหา
    2: หนังสือ พระไตรปิฎก: สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้

เราอาจมองลึกลงไปถึงชั้นที่เอาพระพุทธศาสนาเป็นเนื้อเป็นตัวของเรา หรือเป็นชีวิตของแต่ละคน

พระพุทธศาสนาในความหมายที่เป็นแก่นสารแท้ๆ ก็คือผลที่เกิดขึ้น เป็นความดี เป็นความเจริญก้าวหน้างอกงามขึ้น หรือเป็นการพัฒนาขึ้นของไตรสิกขาในชีวิตของเรานี้เอง

พระพุทธศาสนาชนิดที่เป็นเนื้อเป็นตัวเป็นชีวิตของเรานี้ ก็ต้องอาศัยพระไตรปิฎกอีกเช่นกัน เพราะว่าพระพุทธศาสนาในความหมายนี้ หมายถึง การที่สามารถละโลภะ โทสะ โมหะ ได้ การที่จะละ โลภะ โทสะ โมหะ ได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตาม ศีล สมาธิ ปัญญา

อนึ่ง ในการจัดระเบียบหมวดหมู่คำสอนเป็นพระไตรปิฎก ตามที่นิยมสืบกันมา จะนำแต่ละปิฎกไปเชื่อมโยงสัมพันธ์กับไตรสิกขาแต่ละข้อ ดังนี้

พระวินัยปิฎก เป็นแหล่งที่รวมศีลของพระสงฆ์ ทั้งศีล 227 ข้อในปาติโมกข์กับศีลนอกปาติโมกข์ พระวินัยปิฎกจึงถือเป็นเรื่องวินัยหรือเรื่องศีล คือการฝึกหัดพัฒนาพฤติกรรมที่แสดงออกทางกายและวาจา

พระสุตตันตปิฎก ความจริงมีครบหมด มีทั้งศีล สมาธิ ปัญญา แต่ท่านชี้ให้เห็นจุดเด่นของพระสุตตันตปิฎกว่าเน้นหนักในสมาธิ คือ การพัฒนาด้านจิตใจ

พระอภิธรรมปิฎก เน้นหนักด้านปัญญา พูดอย่างปัจจุบันว่าเป็นเนื้อหาทางวิชาการล้วนๆ ยกเอาสภาวธรรมที่ละเอียดประณีตลึกซึ้งขึ้นมาวิเคราะห์วิจัย จึงเป็นเรื่องของปัญญา ต้องใช้ปรีชาญาณอันลึกซึ้ง

ถ้าใครปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ที่แสดงไว้ในพระไตรปิฎก ชีวิตของผู้นั้นจะกลายเป็นเหมือนตัวพระพุทธศาสนาเอง เหมือนดังว่าเรารักษาพระพุทธศาสนาไว้ด้วยชีวิตของเรา ตราบใดชีวิตเรายังอยู่ พระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ เราอยู่ไหน เราเดินไปไหน พระพุทธศาสนาก็อยู่ที่นั่นและก้าวไปถึงนั่น

อย่างนี้เรียกว่าพระพุทธศาสนาอยู่ด้วยวิธีการรักษาอย่างสูงสุด พูดได้ว่า พระไตรปิฎกเข้ามาอยู่ในเนื้อตัวของคนแล้ว ไม่ใช่อยู่แค่เป็นตัวหนังสือ

แต่ก่อนจะมาอยู่ในตัวคนได้ ก็ต้องมีคัมภีร์พระไตรปิฎกนี้แหละเป็นแหล่งบรรจุรักษาไว้ แม้แต่เราจะปฏิบัติให้สูงขึ้นไป เราก็ต้องไปปรึกษาพระอาจารย์ที่เรียนมาจากพระไตรปิฎก หรือจากอาจารย์ที่เรียนต่อมาจากอาจารย์รุ่นก่อนที่เรียนมาจากพระไตรปิฎก ซึ่งอาจจะถ่ายต่อกันมาหลายสิบทอด ถ้าเราอ่านภาษาบาลีได้ ก็ไปค้นพระไตรปิฎกเอง ถ้าไม่ได้ ก็ไปถามพระอาจารย์ผู้รู้ ให้ท่านช่วยค้นให้ เมื่อค้นได้ความรู้ในหลักคำสอนมาแล้ว เราก็สามารถปฏิบัติถูกต้อง ให้เจริญงอกงามในศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่งๆ ขึ้นไป

สรุปว่า เราชาวพุทธอิงอาศัยพระไตรปิฎกโดยตรง ด้วยการนำหลักคำสอนมาปฏิบัติให้เกิดผลในชีวิตจริง

 

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service