PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ภาคพระไตรปิฎกแปล
  • ปฐมสังคายนาและ กำเนิดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท

ปฐมสังคายนาและ กำเนิดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท

ปฐมสังคายนาและ กำเนิดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท รูปภาพ 1
  • Title
    ปฐมสังคายนาและ กำเนิดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
  • Hits
    2147
  • 4891 ปฐมสังคายนาและ กำเนิดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท /tripitaka/2020-04-01-05-03-50.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    1
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • ผู้เขียน
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
  • วันที่นำเข้าข้อมูล
    วันพุธ, 01 เมษายน 2563
  • ชื่อชุด
    สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
  • อ้างอิง
    หนังสือพระไตรปิฎก: สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้

ปฐมสังคายนา

แม้ว่าท่านพระสารีบุตรได้แสดงตัวอย่างวิธีการทำสังคายนาไว้ ท่านก็ไม่ได้อยู่ที่จะทำงานนี้ต่อ เพราะว่าได้ปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้า แต่ก็มีพระสาวกผู้ใหญ่ได้ดำเนินงานนี้ต่อมาโดยไม่ได้ละทิ้ง กล่าวคือพระมหากัสสปเถระ ซึ่งตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานนั้น เป็นพระสาวกผู้ใหญ่ มีอายุพรรษามากที่สุด

พระมหากัสสปเถระนั้น ทราบข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่พร้อมด้วยหมู่ลูกศิษย์จำนวนมาก

พระมหากัสสปเถระนั้น ทราบข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่พร้อมด้วยหมู่ลูกศิษย์จำนวนมาก

เมื่อได้ทราบข่าวนั้น ลูกศิษย์ของพระมหากัสสปะจำนวนมากซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ก็ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้นมีพระภิกษุที่บวชเมื่อแก่องค์หนึ่งชื่อว่าสุภัททะ ได้พูดขึ้นมาว่า “ท่านทั้งหลายจะร้องไห้กันไปทำไม พระพุทธเจ้าปรินิพพานนี้ก็ดีไปอย่าง คือว่า ตอนที่พระองค์ยังอยู่นั้น พระองค์ก็คอยดูแล คอยกวดขัน ตรัสห้ามไม่ให้ทำสิ่งโน้นสิ่งนี้ แนะนำให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ พวกเราก็ลำบาก ต้องคอยระมัดระวังตัว ทีนี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วนี่ พวกเราคงจะทำอะไรได้ตามชอบใจ ชอบอะไรก็ทำ ไม่ชอบอะไรก็ไม่ทำ”

พระมหากัสสปเถระได้ฟังคำนี้แล้ว ก็นึกคิดอยู่ในใจว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปใหม่ๆ แค่นี้ ก็ยังมีคนคิดที่จะประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัย ท่านก็เคยคิดว่าควรจะทำการสังคายนา

ท่านวางแผนว่าจะชักชวนพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้งหลายที่มีอยู่สมัยนั้น ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรง และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าอะไรเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า จะชวนให้มาประชุมกัน มาช่วยกันแสดงถ่ายทอด รวบรวมประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้ ก็คือคิดว่าจะทำสังคายนา

แต่เฉพาะเวลานั้น ท่านต้องเดินทางไปยังเมืองกุสินารา แล้วก็เป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ในพระราชูปถัมภ์ของกษัตริย์มัลละทั้งหลาย

เมื่องานถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว ท่านก็ดำเนินงานตามที่ได้คิดไว้ คือ ได้ชักชวนนัดหมายกับพระอรหันต์ผู้ใหญ่ เพื่อจะทำการสังคายนา

ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของงานใหญ่แห่งการสังคายนา ซึ่งมีการเตรียมการถึง 3 เดือน ก่อนที่จะประชุมที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ณ ภูเขาชื่อเวภาระ นอกเมืองราชคฤห์ ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอาชาตศัตรู

ในการประชุมนี้ พระมหากัสสปเถระทำหน้าที่ประธาน โดยเป็นผู้ซักถามหลักคำสั่งสอน ซึ่งพระพุทธเจ้าเองทรงแบ่งเอาไว้เป็น 2 ส่วน เรียกว่า ธรรม ส่วนหนึ่ง และ วินัย ส่วนหนึ่ง

ธรรม คือหลักคำสอนว่าด้วยความจริงของสิ่งทั้งหลาย พร้อมทั้งข้อประพฤติปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำตรัสแสดงไว้โดยสอดคล้องกับความจริงนั้น

ส่วน วินัย คือประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการเป็นอยู่ของภิกษุและภิกษุณี

ด้วยเหตุนี้จึงเรียกพระพุทธศาสนา ด้วยคำสั้นๆ ว่า ธรรมวินัย การสังคายนาคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงเป็นการสังคายนาพระธรรมวินัย

ในการสังคายนาครั้งนี้ มีการเลือกพระเถระ 2 องค์ที่มีความโดดเด่นในการทรงจำพระพุทธพจน์ได้แม่นยำ และเชี่ยวชาญในแต่ละด้านของพระธรรมวินัย

ฝ่ายธรรมนั้น ผู้ที่ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลาเพราะติดตามพระองค์ไป อยู่ใกล้ชิด เป็นผู้อุปัฎฐากของพระองค์ ก็คือพระอานนท์ ที่ประชุมก็ให้พระอานนท์เป็นผู้เอาธรรมมาแสดงแก่ที่ประชุม

ส่วนด้านวินัย พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอุบาลีไว้ว่าเป็นเอตทัคคะ ที่ประชุมก็คัดเลือกพระอุบาลีให้มาเป็นผู้นำในด้านการวิสัชนาเรื่องของวินัย

เมื่อได้ตัวบุคคลเรียบร้อยแล้ว พระอรหันต์ 500 องค์ก็เริ่มประชุมกันโดยประธานในที่ประชุมคือพระมหากัสสปะวางแนวการนำเสนอ ด้วยการซักถามอย่างเป็นระบบ คือตามลำดับและเป็นหมวดหมู่

พุทธพจน์ พร้อมทั้งเรื่องราวเกี่ยวข้องแวดล้อม ที่นำมาสาธยายนี้ ถ้าเป็นครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ทรงรับรองด้วยพระองค์เอง แต่ในการสังคายนาครั้งที่ 1 ก็ต้องอาศัยที่ประชุมพระอรหันตเถระทั้ง 500 องค์รับรองแทน เมื่อได้มติร่วมกันเกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องใด พระเถระในที่ประชุมก็สวดพร้อมกัน เนื้อหาที่ผ่านการรับรองก็จะถือเป็นที่ยุติให้เป็นแบบแผนที่จะทรงจำถ่ายทอดกันต่อมา

การประชุมเพื่อทำสังคายนาครั้งประวัติศาสตร์นี้ดำเนินอยู่เป็นเวลา 7 เดือนจึงเสร็จสิ้น มีเรื่องราวปรากฏในพระวินัยปิฏก จุลลวรรค

กำเนิดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท

คำสอนที่ลงมติกันไว้อย่างนี้ซึ่งเรานับถือกันมา เรียกว่าเถรวาท แปลว่า “คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการของพระเถระ” คำว่า เถระ ในที่นี้หมายถึงพระเถระ 500 องค์ผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งที่ 1 ที่ว่าไปแล้ว

พระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าวมานี้เรียกว่า พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หมายความว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือพระธรรมวินัย ทั้งถ้อยคำและเนื้อความ อย่างไรที่ท่านสังคายนากันไว้ ก็ทรงจำกันมาอย่างนั้น ถือตามนั้นโดยเคร่งครัด

เพราะฉะนั้นจึงต้องรักษาแม้แต่ตัวภาษาเดิมด้วย หมายความว่ารักษาถ้อยคำข้อความดั้งเดิมที่เป็นของแท้ของจริง ภาษาที่ใช้รักษาพระธรรมวินัยไว้นี้ ได้แก่ภาษาบาลี เพราะฉะนั้น คำสอนของเถรวาทจึงรักษาไว้ในภาษาบาลีตามเดิม คงไว้อย่างที่ท่านสังคายนา

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service