PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ภาคส่งเสริมปฏิบัติธรรม
  • วัดญาณเวศกวัน

วัดญาณเวศกวัน

วัดญาณเวศกวัน รูปภาพ 1
  • Title
    วัดญาณเวศกวัน
  • Hits
    3424
  • 4870 วัดญาณเวศกวัน /dhammapatipatti/2020-01-23-14-13-26.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    1
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • ผู้เขียน
    หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ
  • วันที่นำเข้าข้อมูล
    วันจันทร์, 16 มีนาคม 2563
  • ชื่อชุด
    แนะนำสถานที่ชาวพุทธ
  • อ้างอิง
    เว็บไซต์วัดญาณเวศกวัน
วัดญาณเวศกวัน ตั้งอยู่เลขที่ 10 หมู่ที่ 3 ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้รับอนุญาตเป็นทางการ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2532 เริ่มมีพระสงฆ์เข้าจำพรรษาในปีเดียวกันนั้น และมีประกาศตั้งเป็นวัดในปีพุทธศักราช 2537 ได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2542 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นเจ้าอาวาสสืบมาแต่ต้นจนปัจจุบัน
 
ภายในเนื้อที่ 28 ไร่ 1 งาน 85 ตารางวา ร่มรื่นด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่ ผลิดอกออกใบอยู่ทั่วบริเวณ โอบล้อมด้วยบรรยากาศ แห่งธรรมชาติที่เกื้อกูลกันระหว่างสรรพชีวิต เป็นรมณียสถานที่ให้ความสดชื่นผ่อนคลาย สงบเย็น แก่ผู้ที่แวะเวียนเข้ามาพักพิง ด้วย ความตั้งใจที่จะให้อารามแห่งนี้เป็นป่าที่เหมาะแก่การเข้ามาแสวงหาความรู้ เจริญธรรม เจริญปัญญา สมดังชื่อ "ญาณเวศกวัน" อันมี ความหมายว่า "ป่าที่มีเรือนแห่งความรู้" หรือ "ป่าของผู้เข้าสู่ญาณ" พื้นที่ส่วนใหญ่ของวัดจึงมีไว้สำหรับต้นไม้มากกว่าสิ่งปลูกสร้าง เพราะธรรมชาติที่อยู่รายล้อมรอบตัวคือแหล่งการศึกษาเรียนรู้อันกว้างใหญ่ ล้ำลึก เป็นธรรมะใกล้ตัวที่ผู้มีปัญญาจะพึงค้นพบ

พระประธานในอุโบสถ มีพระนามว่า พระพุทธประธานญาณเวศกวโนดม หน้าตักกว้าง 59 นิ้ว ทำพิธีเททองที่ โรงหล่อ พระพุทธปฏิมาพรเลิศ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2541 นำเข้าประดิษฐานในอุโบสถ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2542 ปิดทองเสร็จและสมโภช เมื่อวันที่ 12 และ 17 มกราคม 2542

 
เจ้าอาวาส
 
pa18
 
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต) นามเดิม ประยุทธ์ นามสกุล อารยางกูร เป็นบุตรคนที่ 5 ของนายสำราญ และนางชุนกี อารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2481 ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปีขาล ที่ตลาดใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
  • เริ่มการศึกษาเบื้องต้น เมื่อ พ.ศ. 2487 ที่โรงเรียนอนุบาลครูเฉลียว ตลาดศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
  • พ.ศ. 2488-2490 ระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนประชาบาลชัยศรีประชาราษฎร์ (วัดยาง) จังหวัดสุพรรณบุรี
  • พ.ศ. 2490-2493 ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร ได้รับทุนเรียนดีของ กระทรวงศึกษาธิการ
  • บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ที่วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีพระครูเมธีธรรมสาร เป็นอุปัชฌาย์ เมื่ออายุย่าง 13 ปี เริ่มเรียนพระปริยัติธรรม ณ วัดนั้น
  • พ.ศ. 2495 ย้ายไปอยู่ที่วัดปราสาททอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อ และได้เข้าฝึกวิปัสสนา เมื่อจบการฝึกแล้ว พระอาจารย์ผู้นำการปฏิบัติได้ชวนไปอยู่ประจำในสำนักวิปัสสนา แต่โยมบิดาไม่ยินยอม เพราะเห็นว่าสามเณรบุตรชาย ควรได้ศึกษาปริยัติธรรมขั้นสูงต่อไป
  • พ.ศ. 2496 ย้ายมาจำพรรษาที่วัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร เรียนพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร นับเป็นสามเณรรูปที่ 4 ในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้อุปสมบทในฐานะนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้นามฉายาว่า 'ปยุตฺโต' แปลว่า 'ผู้เพียรประกอบแล้ว'
  • พ.ศ. 2494 - 2496 สอบได้ น.ธ. ตรี โท เอก
  • พ.ศ. 2498 - 2504 สอบได้ ป.ธ.3 - 9 ขณะยังเป็นสามเณร
  • พ.ศ. 2505 สำเร็จการศึกษาปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2506 สอบได้วิชาชุดครู พ.ม.  
หลังจากสำเร็จการศึกษาเป็นอาจารย์ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นผู้ช่วยเลขาธิการและต่อมาเป็นรองเลขาธิการ จนถึง พ.ศ. 2517 และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2519
 
นอกจากสอนวิชาพระพุทธศาสนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทยแล้ว ท่านได้รับนิมนต์ไปบรรยาย ณ University Museum แห่งมหาวิทยาลัย Pennsylvania ใน พ.ศ. 2515 และที่ Swarthmore College สหรัฐอเมริกา ใน พ.ศ. 2519 ต่อมาได้รับนิมนต์ให้เป็น visiting scholar และได้รับแต่งตั้งเป็น research fellow ณ Divinity Faculty แห่งมหาวิทยาลัย Harvard
ท่านมีธรรมกถาที่เผยแพร่นับพันรายการ และมีผลงานหนังสือที่ใช้เป็นหลักอ้างอิงหลายร้อยเรื่อง เฉพาะอย่างยิ่งพุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม และพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สถาบันการศึกษาชั้นสูงเกือบ 20 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศ ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และตำแหน่งเชิดชูเกียรติต่างๆ มี ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์จาก นวนาลันทามหาวิหาร ประเทศอินเดีย และเมธาจารย์ (Most Eminent Scholar) จากมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก เป็นอาทิ

สำนักของท่านในปัจจุบัน คือวัดญาณเวศกวัน ตั้งอยู่ ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
 
สมณศักดิ์
  • พ.ศ. 2512 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระศรีวิสุทธิโมลี     
  • พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่  พระราชวรมุนี     
  • พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่  พระเทพเวที     
  • พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่  พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายก ปาพจนดิลกนิวิฐ ตรีปิฎก-บัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี   
  • พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระพรหมคุณาภรณ์ สุนทรธรรมสาธก ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจาร ศาสนภารธุราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี   
  • พ.ศ. 2559 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลสุนทรนายก ปาพจนดิลกวรานุศาสน์ อารยางกูรพิลาศนามานุกรม คัมภีรญาณอุดมวิศิษฏ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

 โทรศัพท์ 02-482-7356, 02-482-7365 และ 02-482-7375


 

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service