สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา “พุทธศาสนากับเส้นทางการค้าในสุวรรณภูมิ” ณ ห้องโถงมติชนอคาเดมี ร่วมเสวนาโดย ศาสตราจารย์พิเศษศรีศักร วัลลิโภดม, นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช, ดร. วรรณพร เรียนแจ้ง, และดำเนินรายการโดย เอกภัทร์ เชิดธรรมธร

หลังท่าน อ.ศรีศักรเกริ่นนำ แล้วส่งต่อให้ผมนั้น
ผมตั้งไตรสรณาคมน์เป็นปฐม แล้วก็ไหว้เจ้าที่มติชนตามธรรมนิยม
จากนั้นก็ยกเหตุว่าทำไมถึงทำ ที่สำคัญงานนี้ตังใจทำถวายในหลวง ร.๙
ที่ทรงพระราชนิพนธ์มหาชนกนำร่อง พร้อมกับพระราชทานชื่อสนามบินสุวรรณภูมิไว้
แล้วเริ่มทบทวนงานทั้งไทยและเทศ ในรอบ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา
ส่วนใหญ่บอกว่า สุวรรณภูมิมี ... น่าจะมี
แต่ต้องรอการค้นคว้าและหลักฐานสนับสนุนเพิ่ม
โดยเฉพาะที่เก่าถึง เกี่ยวกับอินเดีย
และถ้าสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา ก็หนักแน่นยิ่งข้น
โดยการศึกษาครั้งนี้ ได้ขอเชิญนักวิชาการชั้นนำของไทยและนานาชาติ
ทำการศึกษาข้อมูลความรู้ใหม่ล่าสุด
สรุปว่าพบความมีจริงมากขึ้นอย่างมาก
แบ่งเป็น ๒ เขต คือถาคพื้นแผ่นดิน และ คาบสมุทรกับหมู่เกาะ
ครอบคลุมอาเซียน - เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทบทั้งหมด
ซึ่งล้วนทรงคุณค่าแห่งสุวรรณภูมิทั้ง ๕ มิติ
และเท่าที่พบหลักฐานมากแล้ว
สามารถระบุจุดเข้า-ออก และเส้นทางข้ามผ่าน ได้ ๔ แนว
คือ
(๑) ที่คอคอดกระ พม่าตอนใต้กับกลางคาบสมุทรไทย
(๒) ที่เคดะห์ - ไทรบุรี ข้ามมาที่แถบยะลา ยะรัง ปัตตานี
(๓) จากแถวทวายข้ามมาลุ่มแม่กลอง-ท่าจีน ผ่านลพบุรี-ป่าสัก-บางปะกง ไปออกปากน้ำโขงที่กัมูชและเวียนามใต้
(๔) ที่ก้นเมาะตะมะแถวสะเทิม ข้ามมาไทย ผ่านที่ราบสูงอีสาน ลาว ไปออกี่เียดนามตอนกลาง ที่เป็นดงซาหวิ่น ตามด้วยจามปา
ซึ่งล้วนอยู่ในแดนอาเซียนด้วยกันครบแทบทุกชาติ
อย่าได้หลงกับดักอัตวานุปาทานชาตินิยมแล้วทะเลาะกันอยู่เลยครับ
จากนั้นจึงไล่ให้ได้เหนเป็นประจักษ์ถึงบางสิ่งอย่างสำคัญ
ที่พบแถบคอคอดกระ ทั้งจังหวัดมะลิวัน ตอนใต้ของพม่า
และระนอง พังงา กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ภาคใต้ตอนบนของไทยเรา
ไม่ว่าจะเป็นขันสำริดสุงคะ วงแหวนและแป้นศิลาเมารยะ
ป้ายมหานาวิกะพราหมี ต่างหูจักรวาทินทองคำสุงคะ
ผอบพระธาตุ
ที่ถือว่าโชคดีที่เก็บรวบรมเอาไว้ได้
แม้ไม่ทั้งหมด แต่ก็มากพอที่จะตอบคำถามเหล่านี้
ที่นานานักวิชาการได้ช่วยกันค้นคว้าและรายงานมาประมวลไว้ได้
เฉพาะผอบหินที่น้อง ๆ Pairot Singbun กับ Pramot Kateboonleang
เพิ่งประมวลออกมาว่า รวบรวมไว้ได้ถึง ๒๖๑ ชิ้น
เป็นขอจาก มะลิวัน ท่าชนะ บางกล้วย-ภูเขาทอง
และ คลองท่อม ตามลำดับ
แล้วจะค่อย ๆ ย่อยกันต่อไปครับผม
ขอขอบพระคุณทุกท่านทุกฝ่าย ที่มีส่วนร่วมด้วยช่วยกัน
จนเกิดชุดความรู้เหล่านี้ และช่วยกันขยายให้ค้นคว้ากันต่อครับผม


