ธรรมะในสวน ตักบาตรเดือนเกิด ๖ ตค ๖๒
ปรารภธรรมโดย พระเทพปริยัติวิมล (แสวง ธมฺเมสโก)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
- สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
- ปฏิบัติธรรมที่สมควรแก่ธรรมนี้เรียกว่าการสั่งสมบุญ
- บุญเป็นชื่อของความสุขความเจริญความดีงาม
- การสั่งสมบุญ (ความดี) บางคนคิดว่ายังไม่ถึงเวลา เวลานั้นคือเกษียณอายุ? เมื่อถึงเวลาเกษียณจะสั่งสมอย่างนั้นอย่างนี้ บางคนมีอายุไม่ถึง บางคนอายุถึงแต่สุขภาพไม่ดี
- เวลากลืนกินทุกสิ่ง การทำชีวิตให้มีค่า ทำเวลาให้มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่ควรทำ, เวลากลืนกินชีวิตไปทุกวินาที กายนี้เป็นรังของโรค สั่งสมโรคตามอายุ
- ท่านทั้งหลายไม่ควรตั้งตนในความประมาท คือไม่ประมาทในวัย ไม่ประมาทในเวลา ไม่ประมาทในความดี ควรสั่งสมบุญ สั่งสมความดี ตามฐานะ
- อมตธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนคือ ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความไม่ตาย
- การที่เราสั่งสมบุญคือความดี นั้นเหมือนอาหาร ปฏิบัติแล้วรับประทานแล้วไม่ต้องขอให้อิ่ม เมื่ออิ่มแล้วไม่ต้องขอให้เจริญงอกงาม เป็นไปโดยลำดับ
- ทำบุญไม่ปรารถนาบุญ ก็ได้บุญ
- บุญที่ถูกต้อง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
- อาคารหลังนี้ ประกอบด้วย รากฐาน ตัวอาคาร และหลังคา, หลักธรรมก็เช่นเดียวกัน ศีลคือรากฐาน สมาธิคือตัวอาคาร ปัญญาคือหลังคา
- เราไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน เพราะเป็นที่สัปปายะคือเหมาะสม มีครู มีสถานที่ มีวิชาความรู้ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรม การอยู่กับครู ต้นแบบที่ดี ช่วยให้เราเกิดความมั่นใจ
- ป่วยกายไปโรงพยาบาล บางทีวินิจฉัยได้รักษาได้บางทีก็ไม่ได้ ธรรมะก็เช่นเดียวกัน ถ้ารอให้ป่วยใจจึงปฏิบัติธรรม บางทีกำลังก็ไม่มี
- แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงทอดทิ้งเราท่านทั้งหลายผู้ยังอ่อนด้วยกายด้วยใจ ท่านให้นึกถึงความดีที่ทำไว้ บุญจะทำให้ใจแช่มชื่นเบิกบาน แม้การสมาทานศีลก็นำให้ปีติมาให้ เท่ากับว่าเราท่านทั้งหลายได้ทำบุญ ทำความดี ทำความสุข ได้สั่งสมบุญ สั่งสมความดี สั่งสมความสุข แล้วความสุขนั้นก็สนองเราท่านทั้งหลาย คือ สนองต่อใจ (อิ่มใจ), สนองกาย (อิ่มกาย) สนองชีวิต (คือความสุข)
- เดือนตุลาคมมีความเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร คือ ๓ ตค คล้ายวันประสูติ, ๒๔ ตค คล้ายวันสิ้นพระชนม์ ภาษาธรรมดาก็เรียกว่าเดือนตุลาคมนี้มีทั้งเกิดทั้งดับ เราเอามูลเหตุนี้มาศึกษาปฏิบัติธรรม ก็ถือได้ว่าเราทั้งหลายเป็นพุทธศาสนิกชนที่ศึกษาและปฏิบัติตามหลักปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็จะทำให้เราทั้งหลายมีความสุข มีความดี มีความดีกว่า และมีความดีที่สุด ตามกำลังธรรมานุปฏิบัติ จึงขออนุโมทนาขอให้ทุกท่านมีกำลังกาย กำลังใจ ศึกษาปฏิบัติธรรม ได้รับความสุขความเจริญ ตามปรารถนาทุกท่านเทอญ.