ธรรมบำบัดความป่วยได้จริงหรือ ? ครั้งที่ 22
เปลี่ยนทุกข์ให้เป็นโชค เปลี่ยนโรคให้เป็นครู ได้อย่างไร
ผ่านประสบการณ์คุณปรียานุช ปานประดับ
ผ่าตัดมาแล้ว ๔ ครั้ง นั่งวีลแชร์ ๒ หน
เปลี่ยนทุกข์ให้เป็นโชค เปลี่ยนโรคให้เป็นครู ได้อย่างไร
ทุกสิ่งทุกอย่างมีระยะเวลาของเขา (ยาสมุนไพร) เรียนรู้ปรับนิสัยของเรา
เป็นคนเร็วทุกอย่าง ขี้วิตกจริต
การมีครูบาอาจารย์คอยบอกเรา ช่วยรักษา
….
คุณสมบัติสำหรับผู้ป่วย (ในมุมของคุณปรียานุช) คือ
ต้องใจเย็น, นั่งสมาธิ, อยู่กับตัวเอง
หลวงพ่อที่ตนเองรักษาแนะว่า "พึ่งตน พึ่งธรรม"
มนุษย์ทุกคน สุดท้ายต้องพึ่งธรรมะ เราต้องพึ่งตนเอง หนทางเราต้องเจอเอง ครูบาอาจารย์เพียงแต่เป็นผู้ชี้แนวทาง
เลือกทานสมุนไพร Basic ที่ต้องเจอ ร้อน คัน แสบ อ๊วกแตก ฉี่แตก ทานสมุนไพรที่ทาน จะมีอาการ ๓ ใน ๖ ต้องอดทน
ได้ศึกษาพุทธศาสนาจริง ๆ ก็ตอนป่วย
โรคเป็นครูจริงๆ ถ้าไม่เป็นโรคหนักๆ ก็ไม่ได้รู้จริง เพราะไม่ใช่เพียงแค่ฟัง ในการปฏิบัติต้องมีพลังในการเดินทาง มันทำให้เราเดินไปได้เร็วมาก
ความทุกข์นี่สุดยอดในพระพุทธศาสนา
๔๐ ปี หลงมาตลอด ทุกข์มาเจอของจริง
มีหมอเป็นครู
ถ้าป่วย หาทางออกอยู่เรื่อยๆ อย่าจริงจัง เหมือนขึ้นรถเมล ลงแล้วต่อสายใหม่ตลอด พอเลือกวิธีสมุนไพร ก็ต้องไปให้สุดทาง
เลือกแล้วก็ต็องสมดุลด้วย เมื่อประสบอุบัติเหตุก็ต้องไป รพ. เพื่อรักษาแผนปัจจุบัน จำเป็นต้องทานยาแก้อักเสบ แต่เมื่ออาการดีขึ้นก็เลือกที่จะลดยาแก้อักเสบกลับมาใช้สมุนไพรในชีวิตประจำวัน ที่ผ่านมาเราจะสุดโต่ง คุณหมอคอยแนะนำ
การเลือกก็เหมือนกับเหมือนการมีแฟน ไม่ใช่ใครเข้ามา แล้วเราจะรับหมด การรักษาสมุนไพร ใจต้องเปิด เพราะใจไม่เปิด คอก็จะไม่เปิด คอปิดเพราะใจเราปิด
ใจสำคัญมากในการรักษาตนเอง ยาเขียวก็ยาขม
เรียนรู้ยาเขียว มะระ เรียนรู้ใจตนเอง อะไรไม่ทุกข์ ไม่ทำ
รู้จักธรรมะ รู้จักพระพุทธศาสนา เมื่อเจ็บป่วยนี่เอง เหมือนกำลังจะจมน้ำ
นั่งสมาธิ เป็นพลังแห่งความสุข
ป่วย อย่าอยู่คนเดียว อยู่กับต้นไม้
หาเอง อย่ารอคอย หากำลังใจให้ตัวเอง แต่ กรรมฐานก็สำคัญนะคะ แต่พอออกจากตรงนั้นเราต้องมีสังคม แล้วหากำลังใจ
เหตุการณ์นี้มันไม่แน่ไม่นอนเกิดขึ้นเสมอ
ถาม : ในฐานะคนดูแลผู้ป่วย คุณปรียานุชดูแลอย่างไร
คุณแม่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ วัย ๘๕ ปี
กอดรักษาโรค กอดแล้วแม่จำได้
แม่ชอบเพลง นุชร้องเพลง / เล่นตีขิมให้แม่ฟัง
**คนป่วย พออารมณ์ร้าย เราต้องใช้พลังมาก อย่าดูอาการเค้า แต่เราต้องดูที่หัวใจเขา**
เรียนรู้มองตา จับมือ กอด เวลาแม่อารมณ์ร้ายอาละวาด กอดเขา รักเขา
รักมีความหมายกว้างมาก
ความรัก มันยิ่งใหญ่ ความรักมีกำลังมหาศาล รักอะไรก็ได้ ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง เลี้ยงนก
เปิดตาให้กว้าง เปิดใจให้กว้าง
**
อย่าเอาจิตไปอยู่กับความเจ็บป่วย แต่หากิจกรรมทำ เช่น พบคน ดูต้นไม้ เลี้ยงนก ไม่จำเป็นต้องไปเสียสตังค์มาก
ดูแลตนเอง ด้วยการดูแลคนอื่น /สัตว์อื่น
ชีวิตไม่ต้องอะไรเยอะ เพื่อนไม่ต้องเยอะ น้อยๆ เรามองรอบข้าง กลับไปที่บ้านอะไรที่เราทำเพื่อเขาได้ รักเขา ดูแลเขา เราจะมีความสุข เราก็ลืมความเจ็บป่วย
กอด ยิ้ม จับมือ ให้พลัง
อยากให้ดูแลกันและกัน ต้องมาจากจิตใจและสัมผัส
ลองฟังเพลง"ปล่อยมือ"สิคะเพราะมาก
คำถาม
๑. วิธีคิด ที่ต้องอยู่ท่ามกลางหลายศาสนา
๒.เวลาทุกข์ คิดถึงศาสนาอื่นได้ไหม
ตอบ :
“เราไม่ได้ยึดถือคำสอนมาตัดสินชีวิต หรือ การดำเนินชีวิต เรายึดถือความเป็นญาติพี่น้องและความสัมพันธ์มากกว่า
ที่เราจะแก้ไขเวลาพูดถึงศาสนาว่าใครจะเอาไปอยู่ศาสนาไหน”
หลักการ คือ ไม่เอาศาสนามาหักร้างกัน แต่มาเพื่อปรองดองกัน
ถาม : ป่วยเป็นโอกาสใช้กรรมหมดไป อย่างไรคะ?
ตอบ : โชคดีที่เราป่วย เราป่วย เรารู้แล้ว เราไปก้าวหนึ่งแล้ว
คนป่วย จะเป็นที่พึ่งของคนไม่ป่วย จงภูมิใจว่าเราจะมาก่อน ใกล้เส้นชัย เราโชคดี เพราะเรากลับไป “ไม่ป่วย” ไม่ได้แล้ว เป็นเด็กไม่ได้แล้ว
เป็นครูเขาได้ ได้บอกคนอื่น ให้กำลังใจคนอื่นได้
ร่างกายไม่หาย จิตใจไม่ป่วย
การได้ช่วยเหลือคนอื่น ป่วยแล้วได้บุญเพราะอย่างนี้นี่เอง
ขอบคุณทีมงานผู้จัด กลุ่มเพลินธรรมนำชีวิต, สวนโมกข์กรุงเทพ