PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ: ทุก(ข์) ทุกวัน
  • คำถามที่ 2 : โรคซึมเศร้า

คำถามที่ 2 : โรคซึมเศร้า

คำถามที่ 2 : โรคซึมเศร้า รูปภาพ 1
  • Title
    คำถามที่ 2 : โรคซึมเศร้า
  • Hits
    184
  • 12992 คำถามที่ 2 : โรคซึมเศร้า /q-a/2024-07-25-03-41-10.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • วันที่นำเข้าข้อมูล
    วันศุกร์, 02 สิงหาคม 2567
  • ชื่อชุด
    ทุก(ข์) ทุกวัน

โรคซึมเศร้า


หลวงพี่สติ:
แม้ว่าจะเป็นถ้อยคำบอกกล่าวเพียงสั้นๆ ถึงตัวโรคที่กำลังเผชิญอยู๋ในขณะนี้ ก็รับรู้ได้ว่าคงมีผลกระทบต่อผู้ถามไม่น้อยเลย เข้าใจว่าผู้ถามปรารถนาจะได้รับคำแนะนำที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในขณะที่ยังต้องเผชิญกับโรคนี้ จึงขอโอกาสแนะนำทำความเข้าใจกันดังนี้ก่อนนะ

ถ้าสภาวะของโรคยังจำเป็นต้องใช้ยาต้านเศร้าหรือยาชนิดอื่นๆ เพื่อบรรเทาอาการที่มีผลต่อการดำรงชีวิต การทานยาก็ยังคงจำเป็นอยู่ แม้ว่าจะมีผลข้างเคียงต่อร่างกายและจิตใจอยู่บ้างก็ตาม และการทำความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับโรคและสภาวะของโรคก็เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าได้ศึกษาพอสมควรแล้วก็จะพบว่าผู้ที่เผชิญกับภาวะของโรคซึมเศร้าจำนวนมาก สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาทุกข์ทรมานจากตัวโรคนี้ไปได้ หลายคนได้ถ่ายทอดออกมาเป็นหนังสือมีมากมายหลายเล่มทีเดียว บุคคลเหล่านี้ผ่านช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมานและยากลำบากมาแตกต่างกัน แต่สิ่งที่พอจะเห็นเป็นแนวทางร่วมกัน และขอโอกาสแบ่งปันไว้อย่างน้อยสัก 2 ประการ คือ

  1. การยอมรับและทำความเข้าใจตัวโรค อาการของโรค ตลอดจนแนวทางในการรักษาเยียวยา
  2. ความเชื่อมั่นว่าสามารถผ่านพ้นความทุกข์ทรมานจากโรคนี้ไปได้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงตนเอง

ประการแรกนั้น จะช่วยให้เราไม่จมอยู่กับภาวะของโรค ซึ่งมีแนวโน้มจะทำให้รู้สึกท้อแท้ต่อการดำเนินชีวิตยิ่งขึ้นเรื่อยๆ การยอมรับ ไม่ได้หมายถึงการยอมแพ้ต่อชะตากรรมอะไรอย่างนั้น แต่เกิดขึ้นจากการทำความเข้าใจว่าสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร ส่งผลต่อชีวิตอย่างไร มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง และแนวทางในการรักษามีอะไรบ้าง เพราะเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วแทนที่จะไปปฏิเสธว่า “ไม่ควรเกิดขึ้นกับเรา” หรือ “ทำไมต้องเกิดขึ้นกับเรา” ก็เปลี่ยนเป็นการทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ศึกษาหาต้นสายปลายเหตุและแนวทางในการเยียวยารักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งมิใช่ภาวะจำนนต่อการรักษาด้วย

ประการที่สอง ย่อมสืบเนื่องมากจากประการแรกนั้นเอง คือ เมื่อเรายอมรับและทำความเข้าใจภาวะอาการของโรค สาเหตุของโรค รวมถึงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดสภาวะซึมเศร้าเป็นอย่างดีแล้ว ก็จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนของตัวเรา พฤติกรรมของเรา ความคิดความเชื่อของเรา และการจัดปรับสิ่งแวดล้อมภายนอกให้เหมาะสมต่อการเยียวยารักษา การหลีกเลี่ยงบุคคลหรือปัจจัยกระตุ้นภาวะซึมเศร้า ตลอดจนการสร้างความเข้าใจกับบุคคลใกล้ชิดรอบตัวด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นไปได้ดีมีประสิทธิภาพ ก็ด้วยความเชื่อมั่นในตัวของเราว่า “ฉันจะสามารถผ่านพ้นความทุกข์ทรมานจากโรคนี้ไปได้ ด้วยการลงมือทำอย่างใส่ใจแม้จะยากลำบากสักเพียงใดก็ตาม”

สำหรับการเยียวยารักษาโรคซึมเศร้านั้น ตัวยาต้านเศร้าก็ดี ยาอื่นๆ ก็ดีล้วนมีหน้าที่เพียงบรรเทาหรือสร้างความสมดุลของสารเคมีในร่างกายเราเท่านั้น มิใช่การเปลี่ยนแปลงปัจจัยให้เกิดสารเคมีเหล่านั้น การเยียวยารักษาอย่างยั่งยืน จึงต้องเข้าไปแก้ไขที่ต้นเหตุด้วย นั่นคือ การวางท่าทีต่อโลกและชีวิตแบบใหม่ มีสติเท่าทันความรู้สึกของตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยสนับสนุนภาวะซึมเศร้านั้น เคียงคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ หลวงพี่สติและทีมงานสติสเปซขอเป็นพื้นที่หนึ่งในการรับฟังอย่างเข้าใจ และขอเป็นกำลังใจให้ผ่านช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ไปได้โดยเร็ว และกลับมาตื่น รู้ และเบิกบานกับชีวิตไปด้วยกันนะ

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service