PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • บทความ
  • ถาม-ตอบ: ทุก(ข์) ทุกวัน
  • คำถามที่ 1 : การุณยฆาตโดยจิตไม่เศร้าหมองบาปไหม? 

คำถามที่ 1 : การุณยฆาตโดยจิตไม่เศร้าหมองบาปไหม? 

คำถามที่ 1 : การุณยฆาตโดยจิตไม่เศร้าหมองบาปไหม?  รูปภาพ 1
  • Title
    คำถามที่ 1 : การุณยฆาตโดยจิตไม่เศร้าหมองบาปไหม? 
  • Hits
    286
  • 12966 คำถามที่ 1 : การุณยฆาตโดยจิตไม่เศร้าหมองบาปไหม?  /q-a/2024-07-25-03-41-09.html
    Click to subscribe
  • Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
  • วันที่นำเข้าข้อมูล
    วันศุกร์, 02 สิงหาคม 2567
  • ชื่อชุด
    ทุก(ข์) ทุกวัน

การุณยฆาตโดยจิตไม่เศร้าหมองบาปไหม?


หลวงพี่สติ:
ขอตอบไปตามลำดับ และขอให้อ่านคำตอบให้ครบถ้วนทุกข้อ เพื่อความเข้าใจทั่วถึงถูกต้องที่สุด

  1. ไม่ว่าทำอะไรก็ตาม ทั้งทางกายทางวาจา ถ้าจิตไม่เศร้าหมองขุ่นมัว (เป็นกุศล) ก็ไม่บาปทั้งนั้น แต่ต้องเข้าใจให้ชัดและมีจิตชนิดนั้นจริงๆ ไม่ใช่เพียงคิดเอาว่า ไม่เศร้าหมอง เพราะคำว่า เศร้าหมอง ขุ่นมัวในภาษาไทยอาจจะคับแคบเกินไป

  2. ตามธรรมชาติของจิตแล้ว ความรู้สึกพอใจที่ได้ทำอะไรอย่างใจ ซึ่งอาจเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นด้วย การทำความดีด้วยคิดว่าจะได้ผลตอบแทน ก็จัดเป็นความเศร้าหมองเช่นกัน ดังนั้น ต้องตระหนักว่าความเศร้าหมองบางอย่างมาในสภาวะของความสุข ความพอใจด้วย

  3. การุณยฆาต ว่าโดยศัพท์แล้วขัดแย้งกันอย่างยิ่ง ไม่มีการฆ่าใดที่ไม่ประกอบด้วยกิเลส ไม่ประกอบด้วยโทสะ ก็ประกอบด้วยโลภะ ซึ่งเป็นสภาวะที่เศร้าหมองทั้งคู่ อย่างแรกนั้นอาจจะเห็นชัดว่า เป็นความไม่พอใจต่อชีวิตของตนที่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะเพราะความเจ็บไข้ ความทุกข์ทรมานทางกายทางใจใดๆ ก็ตาม จึงตัดสินใจจบชีวิตของตนเอง อย่างที่สองนั้น ความอยากให้ชีวิตของตนพ้นไปจากความทุกข์ทนทรมานทางกายทางใจ จึงตัดสินใจจบชีวิตของตนเอง ทั้งสองอย่างเหมือนกันตรงที่มีรากเหง้ามาจากความไม่รู้ไม่เข้าใจธรรมชาติของชีวิตตามเป็นจริง (โมหะ หรือ อวิชชา) คือ ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการวางท่าทีต่อชีวิตอย่างถูกต้อง ดังนั้นโอกาสที่จะไม่เกิดความเศร้าหมองในจิตใจ (อกุศลจิต หรือ บาป) ในการตัดสินใจจบชีวิตตนเองและขณะที่จบชีวิตตนเองเลยนั้นเป็นไปได้ยากอย่างยิ่ง

  4. ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนา (ฉันโนวาทสูตร) เล่าไว้ถึงการตัดสินฆ่าตัวตายของภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งเจริญวิปัสสนามาเนิ่นนานแต่ยังไม่บรรลุธรรม แต่ด้วยการสั่งสมเพาะบ่มการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาอย่างเข้มข้นยาวนานนั้น ขณะที่ปาดคอตนเองได้รับความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ท่านได้สติอาศัยความเจ็บปวดนั้นเป็นอารมณ์เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ก่อนชีวิตจะสิ้นสุดลง กรณีอย่างนี้เกิดขึ้นได้ก็จริง แต่ที่เป็นเช่นนั้นได้ก็เพราะอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่าง ที่สำคัญก็คือ ท่านสั่งสมเพาะบ่มการเจริญวิปัสสนากรรมฐานมาอย่างเข้มข้นยาวนานนั่นเอง

  5. แม้ว่าวิธีการที่เรียกว่า “การุณยฆาต” ที่เกิดขึ้นในโลกนั้น จะไม่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างเรื่องราวในคัมภีร์ แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่า ขณะสุดท้ายของชีวิตจะมีจิตที่ผ่องใส เมื่อรู้ว่ากำลังจะตายและการตายนี้ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่เป็นการทำให้ตายด้วยตนเอง

ประเด็นสำคัญของคำถามนี้ คือ ความลังเลว่า ถ้าต้องจบชีวิตตนเองลง โดยจิตไม่เศร้าหมองจะเป็นไปได้ไหม? เพราะเกรงว่าถ้าจิตเศร้าหมองจะเป็นบาป ความลังเลสงสัยไม่มั่นใจเกิดขึ้นแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้ยิ่งไม่ควรคิดหรือลงมือการุณยฆาตเด็ดขาด เพราะเกิดความเศร้าหมองตั้งแต่เริ่มคิดแล้วล่ะ ชีวิตไม่ได้ทุกข์ทรมานตลอดเวลา และความทุกข์ทรมานทุกอย่างมีเหตุ ชวนกันหาต้นเหตุ และวางท่าทีต่อเหตุนั้นเสียใหม่ ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่า สิ่งทั้งหลายมีธรรมชาติเป็นอย่างนั้นๆ เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน

จงตื่นขึ้นมายามเช้าอย่างมีชีวิตชีวา ยิ้มรับกับวันใหม่ ให้ภายในเบิกบานผ่องใสอยู่เสมอเถิด แม้ชีวิตจะไม่ได้เป็นอย่างใจทุกอย่าง
แค่เราสามารถใช้ชีวิตนี้ให้ดีงาม สงบเย็น เป็นประโยชน์ได้ แม้ในขณะวินาทีสุดท้ายก่อนชีวิตจะสิ้นสุดลง

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service