แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้เป็นวันที่ ๑ ของเดือนกันยายน เป็นอาทิตย์แรกของเดือน ก็ได้ไปเทศน์วิทยุโทรทัศน์ ตามกำหนดหมายที่ได้ตั้งใจกันไว้ และก็มาเทศน์ให้โยมฟังด้วย อาตมาเดินทางมาจากเชียงใหม่เมื่อวันพฤหัสบดี ไปอัดเสียงออกวิทยุ เมื่อก่อนนี้ไปอัดวันศุกร์แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าวันศุกร์นี่มันอัดแล้วมันรุ่งขึ้นวันเสาร์ ไม่ได้เชคเพราะว่าเชคอะไร พระเทศน์ที่ต้องเชคด้วยเรอะ สมัยก่อนนั้นเวลาพระจะไปเทศน์วิทยุนี่ต้องเขียนไป เขียนแล้วส่งสำเนาไปให้เขาก็ไปตรวจกัน ไม่ได้ตรวจว่าธรรมะถูกผิดอะไร ตรวจว่าเทศน์ด่ารัฐบาลบ้างหรือเปล่า คือว่าเท่านั้นเอง ถ้าหากว่าไม่มีอะไรก็ให้เทศน์ได้เวลาเทศน์ก็ต้องไปนั่งอ่าน เทศน์ตามวิทยุก็ไปนั่งอ่าน ถ้าสมมติว่าเที่ยวสอดอะไรเข้าไปไม่เหมาะ เขาก็ปิดไม่ให้ออกหรือปิดไม่ให้ดัง แล้วก็ดังต่อไป แต่เรื่องนั้นมันหยุดไปนานแล้วเพิ่งมีขึ้นอีกระหว่างนี้มีขึ้นอีก ประชาธิปไตยมันก้าวหน้าไปอีกหน่อย เสรีภาพในการแสดงธรรมก็เลยถูกห้ามไปด้วย แต่ก็ไม่มีอะไรอาตมาก็เทศน์ไปตามหน้าที่ไม่ได้ว่าใคร ไม่ได้กระทบกระเทือนใครพูดธรรมะไปเรื่อยๆ เขาสวดก็ไม่เป็นไรเลยต้องลงมาวันพฤหัส วันศุกร์ และวันเสาร์ ก็มีงานที่จะต้องทำ วันนี้วันอาทิตย์ เทศน์กับญาติโยมในตอนเช้านี้ ตอนบ่ายนี้จะไปเทศน์กับนักการเมืองเขานิมนต์ไว้ พรรคเอกภาพนิมนต์ไปเทศน์กับสมาชิกพรรคเป็นพรรคแรกที่นิมนต์พระไปเทศน์ นอกนั้นก็ไม่ค่อยนิมนต์ไปเทศน์ ความจริงนักการเมืองนี่ควรจะได้ฟังเทศน์เหมือนกัน เพราะว่ามันไม่ค่อยจะเรียบร้อยไม่สามัคคีกันแตกแยกแตกร้าว ไม่มีธรรมะนั่นเอง ไม่ใช่เรื่องอะไร ตานี้นิมนต์พระไปพูดธรรมะให้ฟังเสียบ้าง เพื่อเป็นเครื่องประเล้าประโลมจิตใจ จิตใจจะได้ดีขึ้นก็เป็นการดีประการหนึ่งเหมือนกัน
อ่า..วันนี้เป็นวันแรกของเดือนกันยายน เดือนกันยานี่ควรจะถือว่าเป็นเดือนแห่งความกตัญญูกตเวทีเพราะว่าเป็นเดือนที่มีประเพณีทำบุญ เขาเรียกว่าทำบุญวันสารทของไทยนั้นยังไม่ถึงแต่ของจีนถึงแล้ว เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคมนี้ เป็นวันสารทจีน วันสารทของจีนวันสารทของไทย วันสารทของลังกา พม่า ญวน เขมรมีวันสารทด้วยกันทั้งนั้น ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนานี่มีวันสารท วันสารทก็คือวันที่ทำบุญอุทิศให้แก่บรรพบุรุษ ป่าตาย่าทวดทั้งหลายที่ได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ลูกหลานที่อยู่ข้างหลังก็มีความคิดถึงก็เลยทำบุญ เป็นประเพณีเก่าแก่ประเทศอินเดียเขาก็ทำมาก่อนยุคพระพุทธเจ้า ก่อนยุคพระพุทธเจ้า อินเดียเขาก็ทำบุญสารท เราเรียกว่า สารท(สา-ระ-ทะ) สารท ประนูแห่งสารท (03.45 เสียงไม่ชัดเจน) เขาก็ไปทำบุญตามธรรมเนียมของเขา คือเอาของไปเซ่นไหว้ ตามป่าช้าที่เอาร่างกายไปเผาหรือไปฝังไว้ เอาของไปกองเซ่นไหว้ตามธรรมเนียมของผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก พระองค์ได้ไปเห็นการกระทำเช่นนั้นเข้า ก็เลยบอกว่าอาริยชนเขาไม่ได้ทำกันอย่างนี้ คำนี้พระองค์ใช้บ่อยๆ เวลาชาวอินเดียวทำอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควร พระองค์ก็มักจะไปประท้วง บอกว่าอาริยชนเขาไม่ทำกันอย่างนี้ ทำไมจึงใช้คำนี้ก็เพราะว่าชาวอินเดียเป็นเผ่าฮาเรยัน เขาเรียกว่า อาริยัน หรืออารียต(อา-รี-ยะ-ตะ) เป็นเผ่าที่เจริญมีความก้าวหน้าชนชาติที่เป็นเผ่าอารียันนี่มีอินเดีย อิหร่านก็เป็นอารียันเหมือนกัน ฮิตเลอร์แกก็พยายามที่จะ ...... (04.51 เสียงไม่ชัดเจน) ยกตัวเองว่าเป็นเผ่าอารียันเหมือนกัน แต่ว่าในยุโรปตะวันออกก็มีเชื้อสายคนที่เป็นพวกอารียัน อารียันมันอพยพมาทางใต้แล้วขึ้นไปทางเหนือกระจายกันออกไปเป็นชนที่มีความเจริญมีความก้าวหน้า เมื่อลงมาสุ่อินเดียวก็นำความเจริญมาสู่ประเทศอินเดีย คนอินเดียที่เป็นเผ่าดั้งเดิมมีอยู่ก็เรียกกว่าพวก ทัชยุต หรือพวกมิลลัท (05.19 ไม่ยืนยันตัวสะกด) เป็นคนร่างเล็กเตี้ยๆ ผิวดำ ผมผมหยิกอยู่ตามตอนใต้ของอินเดียส่วนมาก พวกอารียันลงมา ก็นำความเจริญมาให้แก่พวกเหล่านั้น เขาจึงแต่งเป็นเรื่องนิยายขึ้นว่า
พวกเทวดากับพวกอสูร อสูรนี้เป็นพวกที่อยู่ในสวรรค์เหมือนกัน แต่ต่อมาพวกพระอินทร์ไปเกิดในสวรรค์ เกิดในสวรรค์แล้วก็ขับไล่พวกอสูรได้ถอยลงมาริมทะเล ริมทะเล พวกอสูรพอถึงฤดูดอกไม้ชนิดหนึ่งก็เรียกว่าดอกจิตปาริช (06.02 ไม่ยืนยันตัวสะกด) มันบานก็ส่งกลิ่นหอมกระจายไปทั่วไป พวกอสูรก็นึกถึงบ้านเดิม ว่าเราเคยอยู่ที่นั่น แต่เดี๋ยวนี้พวกพระอินทร์มาแย่งที่ของพวกเราไป อสูรก็เตรียมยกทัพขึ้นไปรบกับพวกพระอินทร์ ก็ปรากฏอยู่ในพระสูตรเรียกว่า ธชัคคสูตร สูตรเกี่ยวกับเรื่องธง พระอินทร์ก็ยกทัพออกรบเวลาออกรบนี่ก็บอกกับทหารว่า เวลาใดหวาดกลัวเกิดขึ้น ขี้ขลาดเกิดขึ้นให้ดูธงพระอินทร์ ถ้าไม่ดูธงพระอินทร์ก็ให้ดูธงปะชาปะติสสะ ไม่ดูธงปะชาปะติสสะก็ให้ดูธงวะรุณัสสะ ให้ดูธงอีสานัสสะ เรียกว่าแม่ทัพ ๔ คน พระอินทร์เป็นใหญ่ แล้วมีสำรอง ๔ คน ให้ดูธงของท่านเหล่านั้น เมื่อดูธงแล้วความกลัวก็จะได้หายไป อันนี้เมื่อมีการรบกันพวกอสูรนี่ไม่เจริญ พวกพระอินทร์เจริญกว่าก็ตีทัพพวกอสูรแตกพ่ายไปทุกที่ มีอยู่คราวหนึ่งพวกพระอินทร์นี่อยากจะกวนน้ำทิพย์ น้ำทิพย์เรียกว่าน้ำอมฤตก็เลยไปหลอกพวกอสูร เอาพญานาคหาบใหญ่มาพันภูเขาให้รอบภูเขา แล้วก็ให้พวกอสูรไปอยู่ด้านหัวนาค นาคก็พ่นพิษใส่พวกอสูรก็เดือนร้อนไปตามตามกัน พวกพระอินทร์อยู่หางนาคไม่เดือดร้อนอะไรแล้วก็ดึงให้ภูเขามันหมุน หมุนในทะเลใหญ่ เมื่อหมุนไปหมุนมาต้นไม้บนภูเขาก็พังทลายลงมาแหลกละเอียดเกิดเป็นน้ำทิพย์ (07.48 เสียงไม่ชัดเจน) เทพเจ้าทูนขึ้นมา น้ำทิพย์ทูนขึ้นมาใส่ขันทูนขึ้นมา พวกพระอินทร์ก็กินหมด กินแล้วเป็นผู้ไม่ตาย พวกอสูรก็มาอ่าว! แล้วกัน พวกพระอินทร์กินหมดแล้ว อันนี้แสดงว่า คนโง่นี่เป็นเหยื่อของคนมีปัญญา คนที่มีปัญญาจะหลอกจะต้มอะไรก็ได้ อสูรก็เลยถูกหลอกเรื่อยไป แล้วก็คิดจะรบแต่ก็ไม่เคยได้ชัยชนะสักที ก็สู้พวกพระอินทร์ไม่ได้ อันนี้ก็เกิดจากเรื่องพวกอารียัน ยกกองลงมาอยู่ในอินเดียวขับไล่พวกอสูรไป ในก็แต่งเป็นนิยายขึ้น พระพุทธเจ้าเอามาเล่าให้พระฟัง แล้วก็บอกว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอไปอยู่ในป่าในที่ใดก็ตาม เมื่อใดมีความหวาดกลัวขึ้นในใจ ให้ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ว่า
“อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ” ถ้าไม่ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า ก็ให้ระลึกถึงคุณของพระธรรม ว่า “สวากขาโต ภควตา ธัมโม สันทิฏฐิโก” ถ้าไม่ระลึกถึงคุณพระธรรม ให้ระลึกถึงคุณพระอริยสงฆ์ “สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ”
เวลาระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าก็ดี พระธรรม พระสงฆ์ก็ดี ความกลัวจะหายไป อันนี้เป็นการเปลี่ยนอารมณ์ทางใจ โดยใจเรากลัวก็เรานึกถึงที่ให้ถึงสิ่งที่ให้กลัว เช่นเรากลัวผี ก็เพราะเรานึกถึงภาพผีในรูปต่างๆ พอนึกแล้วมันก็กลัว ความจริงผีไม่มี ผีมีก็ไม่ได้มาหลอกเราอะไร เราไม่ควรจะกลัว ความกลัวผีนั้นเกิดจากความอุปาทาน คือการสร้างภาพขึ้นหลอกตัวเองแล้วก็กลัว ตานี้เมื่อกลัวก็ให้นึกถึงพระพุทธเจ้า เช่น ภาวนาว่า พุทโธ บ้าง อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ บ้าง ความกลัวนั้นก็หายไป เพราะใจไม่ได้นึกถึงสิ่งนั้น เราไปนึกถึงสิ่งที่เรียกว่าสูงสุด คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความกลัวก็หายไป อันนี้เป็นการเปลี่ยนอารมณ์ โดยเฉพาะคนที่กลัวผีอย่ากลัวผี เพราะผีไม่ทำร้ายเรา ไม่ทำอันตรายแก่เรา ถ้าหากว่าเราเห็นผีแล้วผีไม่ได้ทำร้ายเรา แต่ว่าความรู้สึกในเรื่องกับผีนี่มันรับมาตั้งแต่เด็กๆ เขาเล่าเรื่องผีให้ฟัง ผีหักคอบ้าง ผีทำอย่างนั้น ผีทำอย่างนี้ ควักตับ ไต ไส้พุง ออกมากินเสียบ้างเลยก็กลัว เขาเล่าให้เด็กๆฟัง เมื่อสมัยเป็นเด็กอยู่วัดคนก็ชอบเล่าเรื่องผีให้ฟัง ถ้าคืนไหนได้ฟังเรื่องผีแล้วก็นอนฝันร้าย ละเมอเพ้อพกไปด้วยประการต่างๆก็มีความกลัว ไม่รู้ว่ากลัวอะไร ครั้นว่าเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ มาศึกษาธรรมะก็รู้จักทำใจ อารมณ์กลัวนั้นมันก็หายไป เพราะเราเปลี่ยนอารมณ์ คือไปคิดถึงเรื่องที่มันไม่น่ากลัว เช่น
นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงพระธรรม นึกถึงพระสงฆ์ ความกลัวเหล่านั้นก็จะหายไป พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนพระ ว่าไปอยู่ในป่าดงเงียบๆ ไอ้ที่เงียบนี่มันมันน่ากลัว มันจะคิดอะไรไปในเรื่องหลอกตัวเอง ด้วยประการต่างๆ อ่า..ความคิดของตัวนั่นแหละมันหลอกตัวเอง เพราะงั้นท่านจึงกล่าวว่า อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด ความคิดที่จะหลอกตัวเอง ทำให้เกิดความหวาดความกลัวขึ้นในจิตใจด้วยประการต่างๆ เราระวังความคิดอันนั้น จึงควรคิดแต่เรื่องที่ถูกต้อง โดยเฉพาะก็คือภาวนานึกถึงพระพุทธคุณไว้ เช่น ภาวนาว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ ติดต่อกันไป ใจมันไม่ว่างไปคิดเรื่องอื่น ความคิดถึงเรื่องผีก็ไม่มีเรื่องกลัวอื่นก็ไม่มี เพราะใจอยู่กับพระพุทธเจ้าความกลัวนั้นก็หายไป พระองค์สอนหลักให้พระเป็นอย่างนั้น ญาติ โยม ชาวบ้านก็เหมือนกัน เวลาไปอยู่ในที่บางแห่งเราอาจจะมีความสะดุ้งกลัว ขนพอง สยองเกล้า เราก็นึกถึงพระพุทธเจ้า นึกถึงพระธรรม พระสงฆ์ ความกลัวนั้นก็จะหายไป เมื่อพระองค์ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้า อยู่ในป่าที่สงัดเงียบ เงี๊ยบที่สุด แม้ว่านกจับกิ่งไม้ คือดังได้ยินเสียง เรียกว่ากิ่งไม้หล่นก็ได้ยิน ตลอดเวลานั้นเกิดความกลัวขึ้นในน้ำพระทัย เกิดความกลัวขึ้น อันนี้พระองค์แก้ความกลัวอย่างไร ถ้าเกิดความกลัวเวลายืน ก็ยืนนิ่งอยู่ที่นั่น เพื่อคิดค้นในเรื่องว่ากลัวอะไร ถ้าเกิดความกลัวในขณะนั่ง ก็นั่งนิ่งไม่เปลี่ยนอิริยาบถ เกิดความกลัวในขณะนอนก็นอนอยู่ด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยความคิดในเรื่องที่กลัวนั้น ตั้งปัญหาขึ้นถามตัวเองว่า กลัวอะไร กลัวทำไม กลัวเพราะอะไร เราจะแก้ความกลัวนี้ได้อย่างไร พระองค์ทรงกระทำอย่างนั้น สมัยนั้นยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าก็ย่อมมีความกลัว แต่เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ความกลัวก็ไม่มี ความสะดุ้งในเรื่องอะไรก็ไม่มี เพราะเมื่อบรรลุความเป็นพุทธะ ตัวไม่มีแล้ว ไม่มีตัวจะกลัว คนเราที่เป็นปุถุชนนี่ยังมีตัวให้กลัวอยู่ เพราะยังยึดถือว่าตัวฉันมี ตัวฉันเป็น แล้วก็มีอะไรมาทำร้ายฉัน แล้วก็เกิดความกลัว หรือเกิดความเป็นทุกข์ในเรื่องเกี่ยวกับตัว เช่น ใครมาด่า เราก็นึกว่ามันด่ากู เอาเอาตัวเข้าไปรับ ถ้าไม่มีตัวจะรับมันก็ไม่มีอะไร ไม่มีเรื่องน่ากลัว ไม่มีเรื่องน่าหวาดเสียว เราก็ต้องคิดในแง่ธรรมะ ถ้าคิดในแง่ธรรมะ ใจมันก็สบาย ไม่มีเรื่องอะไรที่เป็นปัญหา อ่า..นี่เป็นเรื่องหนึ่ง เล่าให้ฟังก่อน ทีนี้ชาวอินเดียเขาเมื่อคนถึงแก่กรรมไปแล้ว เขาก็ทำบุญตามประเพณี เช่น ทำบุญ ๗ วัน นี่เขาก็ทำเหมือนกัน แล้วทำบุญ ๕๐ วันก็ทำ ทำบุญในรอบปี ทำบุญกับพวกไหน เอาพราหมณ์มาฉันอาหารที่บ้าน เลี้ยงอาหารแล้วเอาไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ถึงแก่กรรมไป เช่นไปเซ่นไหว้ตามป่าช้าอะไรต่างๆ พระองค์ไปเห็นเข้า ที่เขาทำมันมากมายเหลือเกิน อาหารที่เอาไปเซ่นไหว้นี่มากมายกองเป็นเนินเหมือนกับหัวปลวก (14.43 เสียงไม่ชัดเจน) เนินน้อยๆ เกิดขึ้นในสถานที่นั้น พระองค์ไปเห็นก็ถามว่าทำอะไรกัน พวกนั้นก็ตอบว่าทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย ผู้ตายเขาเรียกว่า เปต(เป-ตะ) เปตชน หมายถึงคนที่ละโลกนี้ไปแล้ว เรามาเรียกภาษาไทยว่า เปรต(เปด) คำว่าเปรตไม่ใช่คำหยาบคายอะไร แต่ว่าหมายถึงคนที่ละโลกนี้ไปแล้วเรียกว่าเปรต(เป-ตะ)ในภาษาบาลี แต่มาเพี้ยนเป็นภาษาไทยว่าเปรต(เปด) ทำบุญอุทิศให้แก่เปรต (เป-ตะ)คือเปรตที่ล่วงลับไปแล้ว เอาไปกองไว้อย่างนั้น พระองค์ก็บอกว่าทำอย่างนี้ไม่ถูกต้อง อารยชนเขาไม่ได้ทำอย่างนี้ พวกนั้นก็ถามว่าทำอย่างไร
พระองค์ก็บอกว่าเอาอาหารนี้ไปแจกคนยากคนจน หรือเอาไปให้แก่สมณะชีพราหมณ์ ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ ๒ เรื่อง เอาไปให้คนจนก็ได้ การเอาไปให้แก่คนจนเรียกว่าเป็นการสงเคราะห์ให้คนเหล่านั้นได้มีอาหารการกิน มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม มีความสุขความสบายตามสมควรแก่ฐานะ อีกประการหนึ่งเอาไปถวายแก่สมณะชีพราหมณ์ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบ ก็สมณะชีพราหมณ์ผู้ประพฤติดีประพฤติชอบนั้น มีชีวิตอยู่เพื่อสังคม อยู่เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ผู้อื่น ช่วยชี้ทางทุกข์ทางสุขให้คนทั้งหลายได้เข้าใจ ช่วยแก้ปัญหาชีวิต เป็นบุคคลประเภทที่อยู่เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ท่านไม่มีการทำมาหากิน เรามีอาหารเอาไปถวาย (16.30 เสียงไม่ชัดเจน) ผ้านุ่งผ้าห่มเอาไปถวาย ทำที่อยู่ที่อาศัยพออยู่ได้ถวายท่าน อย่างนี้เป็นการทำที่ถูกต้อง แล้วเราก็อุทิศส่วนบุญ ที่ได้กระทำนั้นไปให้แก่ผู้ที่ถึงแก่กรรมลงไป การปฏิรูปของพระผู้มีพระภาคเจ้าในเรื่องนี้ ก็เพื่อจะทำสิ่งที่เราเอาไปตั้งไว้อย่างนั้นให้เกิดประโยชน์ เป็นคุณเป็นค่าแก่เพื่อนมนุษย์ที่ควรจะได้กระทำในแง่ว่าบูชาบ้าง อ่า..สงเคราะห์บ้าง ถ้าเป็นคนยากคนจนก็เรียกว่าเป็นการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ถ้าเป็นคนมีจิตใจสูงก็เรียกว่าเป็นการบูชาคุณงามความดีของท่านผู้นั้น จึงจะเป็นการชอบการควร ชาวอินเดียเค้าทำมากันก่อนอย่างนั้น เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่เหมือนกัน แต่ว่าดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนเพราะพระองค์ได้ทรงแก้ไขไว้ การทำบุญต่างก็เป็นการทำเพื่อผู้ที่ถึงแก่กรรมไป
ที่เมืองคยานั้น มีสระน้ำอยู่แห่งหนึ่ง แล้วก็ถือว่าเป็นสระสำคัญ ชาวฮินดูที่เกิดมาเป็นฮินดูนั้นต้องไปอาบน้ำเมืองพาราณสีครั้งหนึ่ง ต้องมาเมืองคยาครั้งหนึ่ง บ่า (17.51 เสียงไม่ชัดเจน) มาเมืองคยาก็เพื่อมาทำบุญอุทิศให้แก่บรรพบุรุษ เขามาที่สระนั่งริมสระน้ำใหญ่ แล้วก็เอาข้าวแป้งเนี่ยมาปั้นเป็นก้อนๆ เรียกว่า ปิณฑะ (ปิน-ดะ) ปิณฑะ แปลว่าก้อนข้าวที่เราเรียกว่า บิณฑบาตร บิณฑบาตรก็คืออาหารที่เราใส่ลงไปในบาตร ถ้าเขาทำเป็นก้อนเล็กๆ แล้วก็มีการสวดกรรมพิธีพราหมณ์เป็นผู้นำให้สวด คนมากๆ เคยไปเห็นแล้วก็สวดกันเสียงดังว่าพร้อมๆกันเขานำให้ว่าแล้วก็โยนก้อนข้าวลงไปสระก้อนนึง ว่า ว่า แล้วก็โยนลงไปก้อนนึง เรานึกถึงญาติได้กี่คนก็เอาก้อนข้าวนั้นโยนลงไปในสระนั้น เรียกว่าอุทิศให้แก่บรรพบุรุษของตัว เหมือนเราชาวพุทธที่ว่า นึกถึงบรรพบุรุษก็เขียนชื่อ การเขียนชื่อนี่ก็เป็นการระลึกชาติ ระลึกชาติก่อนของของญาติของเราว่าชื่ออะไร คุณพ่อชื่ออะไร คุณแม่ คุณปู่ คุณตา คุณย่า คุณยาย คุณชวด คุณลุง คุณน้า คุณอา เขียนกัน บางทีก็เต็มหน้ากระดาษเลย ญาติเยอะนึกได้ ปีนึงก็มานึกกันเสียครั้งหนึ่ง การมานึกครั้งหนึ่งนั้นก็เป็นการทบทวน ถึงบรรพบุรุษที่มีบุญคุณแก่ชีวิตของเรา ได้นึกถึงคุณงามความดีเหล่านั้นแล้วเอาชื่อนั้นมาให้พระบังสกุล การบังสกุลนี่เป็นประโยชน์แก่พระ เพื่อให้พระได้พิจารณาให้เห็นว่า คนเรานี้เกิดมาแล้วก็เหลืออยู่แต่ชื่อเสียง เหลือแต่คุณงามความดี เหลือแต่บุญบาปที่ได้ทำไว้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ นฺ ชีรติ" (รูปังชีระติมัจจานังนามะโคตตังนะชีระติ)
รูปร่างกายของสัตว์ทั้งหลายแตกสลายไป แต่ว่าคุณงามความดีไม่แตกสลาย ความชั่วมันก็อยู่ ความดีมันก็อยู่ แต่ความชั่วอยู่ไม่เป็นประโยชน์แก่ใคร ความดีอยู่นั้นเป็นเครื่องเตือนใจ ให้คนทั้งหลายได้นึกได้คิด เราก็มานึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ แล้วก็ทำการให้พระบังสกุลเล็กๆน้อยๆ แล้วก็ถวายปัจจัย มันสำคัญอยู่ที่ถวายปัจจัยบำรุงพระบำรุงกิจการศาสนา เราจะถวายพระเฉพาะองค์ก็ได้ ถวายเป็นทุนบำรุงวัดวาอารามก็ได้ ทางที่ดีนั้นถวายเป็นทุนบำรุงวัดดีกว่ามันอยู่ถาวรเป็นประโยชน์สิ้นกาลนาน แต่ถวายเฉพาะส่วนกลางท่านก็ใช้ของท่าน เรื่องนั้นเรื่องนี้ตามหน้าที่ที่จะต้องใช้ก็เป็นประโยชน์แก่พระศาสนาเหมือนกัน เหมือนกับถวายอาตมา อาตมาก็เอาไปใช้เป็นตีตั๋วเรือบินไปเชียงใหม่บ้างลงมากรุงเทพบ้าง ไปนั่นไปนี่ก็ใช้เพื่อพระศาสนา เพื่อกิจการพระศาสนา เพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน สิ่งที่เราทำนั้นก็เรียกว่าเป็นบุญเป็นกุศล เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมไปด้วยเหมือนกัน
การทำบุญสารทนั้น ชาวจีนเขาก็ทำกัน ไปเซ่นไหว้ เอาผลไม้บ้างอะไรบ้างโดยมากใช้ผลไม้ บางแห่งก็ใช้เนื้อปลากุ้งหรือว่าไก่เป็ดอะไรต่างๆไปเซ่นไหว้ ถ้าพวกกินเจก็เอาแต่ผักล้วนๆ ผลไม้ล้วนๆ ไปทำการเซ่นไหว้ ไอ้พิธีอยู่อย่างหนึ่งของชาวจีนก็เรียกว่าทิ้งกระจาด ทิ้งกระจาดนี่ก็ทำเป็นเรือนบันไดขึ้นไปสูงๆ แล้วก็ข้าวสาร ปลาแห้ง ปลาเค็ม เครื่องกินเอาใส่กระสอบ แล้วก็ทิ้งลงมาเอาให้คนแย่งกัน สมัยก่อนนี้เข้าไปแย่งกันก็เหยียบกัน มีเจ็บกันไรไปตามๆกันก็หามส่งโรงพยาบาลก็มี เป็นการกระทำที่มันไม่ถูกต้อง เหมือนกับเราหว่านกัลปพฤกษ์ อ่า..กัลปพฤกษ์ เวลามีงานบวชนาค เวลามีงานศพชอบหว่าน เอาสตางค์ใส่ลูกมะนาวบ้าง ใสในหมากบ้าง เงินเหรียญใส่ในลูกมะนาว ไอ้เพิ่น (22.09 เสียงไม่ชัดเจน) ก็โปรยทาน คนก็แย่งกัน คนบางคนก็เอาเปรียบคนอื่น มีร่มกางร่มเลย พอเขาโปรยลงมาเอาร่มรับได้มากๆ ไม่ต้องไปเก็บ อันนี้แสดงความเห็นแก่ตัว ไม่ใช่เรื่องอะไร เห็นแก่ตัวว่ากูจะเอามากๆกางร่มรับเลย อย่างนั้นก็ไม่ถูกต้อง อันนี้ถ้าเราหว่านไปให้คนเก็บ เด็กๆก็เก็บกันผู้ใหญ่ก็เก็บเหมือนกัน มันไม่ค่อยจะเรียบร้อยเป็นการให้ที่ไม่สุภาพ เพราะคนต้องแย่งกัน บางทีแย่งกันก็เกิดโมโหโทโสทุบตีกันก็มี
ในบางแห่งนั้นเด็กมันก็มาซุกซน เช่นว่ามีการบวชนาค นาคนี้เข้าโบสถแล้วหว่านแล้ว แต่มีนาคเดือนนี้เด็กมันรู้นะว่าบวชวันละกี่นาค นาคหลังมาก็โปรยอีกเด็กก็มา มา ทีนี้เด็กบางคนมัน มัน ไม่ค่อยเรียบร้อย มามัน มันเก็บลูกกัลปพฤกษ์ไม่ได้ มันก็เก็บรองเท้าไปมั่ง เมื่อญาติโยมถอดรองเท้าทิ้งไว้รองเท้าหาย (23.13 เสียงไม่ชัดเจน) หาและไม่มีใครที่ไหนเอาไป เอาไปบ้างในงานศพ งานศพก็สว่างอย่างนั้น (23.19 เสียงไม่ชัดเจน) วัดในกรุงเทพเวลามีงานศพเด็กเข้ามาวุ่นวายมาก อาตมาก็บอกว่าพวกนี้มาแย่งทาน ถ้าเราเลิกให้ทานก็จะไม่ยุ่ง เลยบอกกับสมภารบอกว่าบอกญาติโยมอย่าให้ทำทานแบบนั้นให้ทำทานอย่างอื่น เช่นว่ารวบรวมไว้แล้วเอามาถวายสมภาร บอกว่าให้ช่วยแจกเด็กยากจน ให้เด็กวัดก็ได้แจกเขาเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือว่าเอาไปให้เด็กพิกลพิการ เช่นที่วัดนี้ถ้ามา เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีแล้ว เพราะว่าหลวงพ่อประกาศห้ามบอกว่าไม่ควรจะหว่าน หว่านโปรยทาน จะทำให้เด็กมาแย่งกันแล้วก็จุ้นจ้าน ทำให้เสียหายก็เลยไม่มีใครบวชนาคก็ไม่มีงานศพก็ไม่มีแล้ว แต่ถ้าใครไม่รู้เอามาเห็นเข้าเราก็ว่านั่นเอามาทำอะไร เอามาโปรยทานบอกไม่ต้อง อย่าโปรย เอามาให้อาตมา อาตมาจะเอาไปให้เด็กน้อยหน้าวัด เด็กพิการมี เด็กปัญญาอ่อนมี เอาไปแจกให้เขา อ่า..ไปบำรุงสถานที่เหล่านั้นเป็นประโยชน์กว่าดีกว่าโปรยทานออกไป แต่คนอยากสนุก คนอยากเห็นคนมาแย่งทานกัน แย่งทานกันแล้วสนุกชวนกันโกยกันกับไปการใหญ่ อันนี้มันไม่ค่อยดีไม่ใช่วัฒนธรรม ไม่ใช่สิ่งที่ควรจะรักษาไว้ แต่เราควรรักษาการให้ทานแบบอื่นดีกว่า ถึงจะเป็นการถูกต้อง
ทีนี้การทำบุญสารทในเมืองไทยเรานี้ก็ทำไม่เหมือนกัน ปักษ์ใต้นี่ทำอย่างหนึ่ง ภาคกลางก็ทำอย่างหนึ่งคือ ภาคกลางนี่ทำวันเดียวคือทำในวันเพ็ญเดือน ๑๐ วันเพ็ญเดือน ๑๐ ทำวันเดียว แต่ทางภาตใต้นั้นทำ ๒ วันคือทำวันเพ็ญแล้วก็ทำวันดับ วันเพ็ญนี่เขาเรียกว่าวันรับ วันดับนี่เรียกว่าวันส่ง หรือเขาถือว่าวัน วันสารทนี่ ท่านพญายมนี่เรียกว่าให้อภัยแก่ผู้ที่ไปตกทุกข์ได้ยากอยู่ในเมืองนรกคือพวกเปรตน่ะ เปรตทั้งหลาย อ่าได้รับการปลดปล่อย ตานี้เปรตเหล่านั้นก็มาหาญาติ มาเที่ยวยืนอยู่ข้างฝาบ้างที่ประตูบ้านบ้างที่รั้วบ้าง ยืนคอยรับทานที่ญาติโยมอุทิศไปให้ ถ้าหากว่าญาติทั้งหลายนึกไม่ได้ ไม่ได้ทำบุญสุนทาน พวกเหล่านั้นก็มีความเสียอกเสียใจ มีแล้วโยมไม่ต้องมีแล้วมี (25.54 หลวงพ่อพูดกับโยมที่น่าจะนำยาอมแก้ไอมาถวาย) พวกเหล่านั้นก็มีความเสียอกเสียใจ ว่าญาติไม่ได้นึกถึงไม่ได้ให้ทาน มีความโทมนัสน้อยใจ จึงเป็นธรรมเนียมว่าในฤดูสารทนี้ ควรจะทำบุญ ทำบุญต้อนรับ
ปักษ์ใต้เขาทำบุญต้อนรับนี่ เขาทำขนมประเภทหนึ่ง (26.15 เสียงไม่ชัดเจน) ขนมที่ทอดด้วยน้ำมันมะพร้าวนั้น อ่าคนที่จะทำบุญก็ไปเตรียมหามะพร้าวมา เอามาเคี่ยวน้ำมันก่อน เคี่ยวน้ำมันแล้วก็ทำขนม ขนมจ่อหู ขนมกง เป็นวงๆนี่ เขาเรียกว่าขนมจ่อหู แต่ปักษ์ใต้เขาเรียกว่าขนมเมชำ ได้มาจากในภาษาเมชำ ก็ให้ (26.36 เสียงไม่ชัดเจน) นี่ขนมจ่อหูถ้าทำเป็นกลมๆ เรียกว่าขนมสะบ้า ทำเหมือนลูกสะบ้ากลมๆ แล้วก็ทำ... (26.45 เสียงไม่ชัดเจน) เหมือนกับลูกธนูกลม คลุกน้ำตาล ทอดแล้วก็ไปคลุกน้ำตาลอาบน้ำตาลโตนด ให้มันหวานหน่อยเป็นขนม แล้วก็มีขนมลา ขนมลานี่ทำเป็นเส้น วิธีทำลาก็เอามาละลายแล้วก็ใส่ลงไปในกระชอนแล้วก็เร่งกระชอนให้มันไหลลงไป ไหลแล้วก็ขยับไปขยับมามันก็ลอยออกมาเป็นแผ่นลา เป็นแผ่นกลมก็มีแล้วมาพับเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลาบางอย่างก็แข็ง บางอย่างก็อ่อน มันขึ้นอยู่กับแป้ง ถ้าทำด้วยแป้งข้าวเหนียวมันก็แข็งหน่อย ถ้าแป้งข้าวเจ้าก็อ่อนหน่อย ทำขนมลา ขนมจ่อหู ขนมสะบ้า ขนมลูกธนู ขนมอย่างนี้ ขนมอย่างนี้มันเก็บได้นานก็เป็นขนมทอดน้ำมัน
ทำบุญเดือน ๑๐ นี่ตามวัดต่างๆ เก็บใส่โอ่งใส่อ่างไว้ โน่นได้ไปกินถึงเดือนอ้าย เดือนอ้ายนี่ฝนมันตกไปไหนก็ไม่สะดวกก็ไปเอาขนมเดือน ๑๐ เนี่ยมาฉันกัน (27.51 เสียงไม่ชัดเจน) เขาทำไว้อย่างนั้น ทำขนมแล้วพอถึงวันเพ็ญก็ไปวัดกัน วัน วันเพ็ญไปวัด ไม่ได้ไปวันเพ็ญไปวันแรมค่ำ ๑ อ่าแรมค่ำ ๑ ไปทำบุญที่วัด ทำบุญถวายพระส่วนนึง แล้วก็มีส่วนนึงก็ไปตั้ง อ่าบูชาภาษาปักษ์ใต้เรียกว่าตั้งเปรต ก็ต้องทำเป็นร้านขึ้นมา บางแห่งทำเป็นร้านสูงเพียงตา เอาข้าวของไปวางไว้บนนั้น แต่บางแห่งก็เอาไปวางกับพื้นดิน เอาเสื่ออะไรปูแล้วก็เอาขนมอะไรวางไว้ จุดธูปจุดเทียนบูชา ระลึกถึงบรรพบุรุษ อันนี้พอจุดธูปจุดเทียนบูชาเสร็จแล้ว เด็กมันก็แย่งกันแบ่งแย่งกันไปกินเรียนกว่าชิงเปรต เด็กก็ไปจ้องอยู่แล้วกูจะจองอันนั้นกูจะเอาขนมนั้น อันนี้เค้าเรียกว่าชิงเปรตกันสนุกสนาน ตามธรรมเนียมที่เขาทำกันอย่างนั้น (28.50 เสียงไม่ชัดเจน) อุทิศส่วนบุญไปให้แก่บรรพบุรุษที่ได้ถึงแก่กรรมไปในวันรับ อันนี้วันส่งนี่มีของใช้ก็ถวายสังฆทาน มีข้าวสาร มีหอม มีกระเทียม มีกะปิ มีน้ำปลา เรียกว่าสะเบียงกัง จะกลับบ้านแล้วเอาสะเบียงกังไปกินมั่งให้เอาไปถวายใส่กะละมังบ้าง สมัยก่อนก็ทำเป็น อ่า..กระเช้าทำด้วยไม้ไผ่ ชะลอมอ่ะ ชะลอม ทำเป็นชะลอม เป็นชะลอม ชะลอม ของครอบครัวนั้นครอบครัวนี้ มีเครื่องใช้ไม้สอยครบ มีข้าวสาร มีกะปิ น้ำปลา เครื่องกินพร้อม ก็เอาไปถวายพระตามวัด พระก็เลยเก็บไว้ขบฉันต่อไป นี่เป็นการไป ไปส่ง ส่งวิญญาณบรรพบุรุษที่จะลับไปสู่นรกต่อไป ได้มาเที่ยวอยู่ในโลก ๑๕ วัน เรียกว่าปลดปล่อยให้เป็นอิสระ แล้วก็มารับส่วนบุญที่ญาติอุทิศให้ แล้วกลับไปสู่ภาวะเดิมต่อไป จนกว่าจะหมดกรรมที่ตัวได้กระทำไว้ ที่จริงจะจุติไปเกิดใน มาเกิดเป็นมนุษย์บ้าง ไปเกิดในสวรรค์บ้าง อะไรตามเรื่องที่เขากล่าวไว้อย่างนั้น รวมความว่า
การจะทำบุญแบบนี้ เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที กตัญญูกตเวทีนี้ว่าเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิต มีความสำนึกในบุณคุณของบรรพบุรุษ เขาจึงได้ทำบุญอุทิศไปให้ เรื่องนี้ไม่มีในตะวันตก ประเทศยุโรป ประเทศอเมริกา ไม่ค่อยจะย้ำในเรื่องความกตัญญูกตเวที เพราะฉะนั้นพ่อแม่ ปู่ตา ย่ายาย ตกอยู่ในสภาพว้าเหว่ลำบาก พอแก่ตัวลงก็ ลูกหลานก็ไม่ยุ่งต่างคนต่างไป พอมีปีกกล้าขาแข็งแล้วก็ไปหมด ไปทำมาหากินที่อื่น ไม่ค่อยมาเยี่ยมพ่อแม่ มาเยี่ยมสักทีก็โน่นวันปีใหม่ วันคริสต์มาส ก็มาเยี่ยมเอาดอกไม้ สักช่อหนึ่งก็เท่านั้น แล้วก็ไปอีกทำมาหากินต่อไป คนแก่ได้รับความทุกข์ทางใจ ไม่ค่อยมีความสุขความสบาย
แต่ว่าคนแก่ของเอเชียเรานั้น มีความสุขอยู่กับลูกกับหลานเพราะว่าอยู่ในครอบครัวเดียวกัน พ่อแม่ก็ไม่ทอดทิ้ง แล้วก็ระบบคนที่อยู่ในเอเชียนี้คนพวกเกษตรส่วนมาก ก็มักจะอยู่รวมกันในครอบครัวเดียวกัน ในบ้านเดียวกัน ในบริเวณเดียวกัน พ่อแม่อยู่หลังหนึ่ง ลูกอยู่อยู่กันลูกหลายคนก็อยู่กันคนละหลัง คนละหลัง ในบริเวณเดียวกัน ได้เห็นหน้ากันทุกวัน เป็นความสุขเป็นความสบายใจของคนเฒ่าคนแก่ คนแก่ได้เห็นหน้าลูกหลานก็มีความสบายใจ ถ้าไม่เห็นเลยก็มีความเป็นทุกข์ มีความเดือดร้อนใจ นี่เป็นอยู่อย่างนั้น เป็นสภาพธรรมดาของชีวิต แต่ถ้าลูกหลานเป็นคนดีมีความสำนึกรู้บุญคุณของพ่อแม่ก็หมั่นไปเยี่ยม ไปเยียน ไปไตร่ถามสารทุกข์สุขดิบเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องเอาใจใส่ดูแลรักษานั่นเป็นการกระทำที่ถูกต้อง
ในการทำบุญสารทอะไรนี่ก็เหมือนกัน ก็เพื่อฝึกคนให้รู้จักมีความกตัญญูกตเวที ได้ระลึกถึงพ่อแม่ ปู่ตา ย่ายาย แล้วก็ทำคุณงามความดีตอบแทนท่าน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เมื่อใดเรานึกถึงพ่อแม่ ปู่ตา ย่ายาย หรือใครก็ตามที่ทำประโยชน์แก่ชีวิตเราให้เราทำดี ทำดี ท่านสั่งให้ทำดี ทำดีก็เรียกว่าทำบุญ ตานี้ทำบุญนั้นมันทำได้หลายอย่าง เช่นทำบุญด้วยการให้ทาน ทำบุญด้วยการรักษาศีล ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ทำบุญด้วยการแสดงธรรม ทำบุญด้วยการฟังธรรม ทำบุญด้วยการเอาบุญไปแจกให้คนอื่น ทำบุญด้วยการอนุโมทนาในบุญของคนอื่น เวลาเขามาแจกบุญให้เราก็ยกมือ สาธุ... อนุโมทนาก็เป็นความดี ทำบุญด้วยการช่วยเหลือแก่กันและกันในระหว่างเพื่อนบ้าน ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน ทำบุญด้วยการทำจิตให้ตรง ...... (33.31 เสียงไม่ชัดเจน) หมายความว่าทำใจให้ตรงให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่ให้เป็นคนมิจฉาทิฏฐิมีความเห็นผิด เห็นห่างไปจากหลักธรรมะในทางพระศาสนา อันนี้เรียกว่าเป็นบุญทั้งนั้น
ตานี้เราจะทำบุญอะไรก็ได้ สมมติว่าเรานึกถึงพ่อแม่ ปู่ตา ย่ายาย วันไหนเวลาไหนก็ได้ไม่เฉพาะแต่วันสารท แต่วันสารทนี้เค้าตั้งไว้เป็นธรรมเนียมทุกคนจะต้องทำ ปักษ์ใต้เรียกว่าทำบุญตายาย ตายาย ปู่ตา ย่ายาย เรียกว่าตัดสั้นท่านให้เอาเพียงตากับยายความจริงก็ปู่ด้วย กรรมตามคำที่สมบูรณ์เรียกว่า ปู่ตา ย่ายาย เราเอาแต่ตอนท้ายว่าตายาย ถึงวันก็ต้องไปทำ ไม่ได้ทำนี่รู้สึกไม่สบายใจเป็นทุกข์อ่ะ กลัว กลัวตายายจะแช่ง อ่าไม่ได้ทำนี่กลัวถูกแช่ง ถูกแช่งว่าเป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณพ่อแม่ ปู่ตา ย่ายาย เขากลัวการแช่งชักหักกระดูก อ่า..กลัวสิ่งเหล่านั้นก็มาทำบุญกัน ตามธรรมเนียม ไปอยู่ไหน อยู่ไหน พอถึงวันสารทก็กลับบ้าน มาทำบุญร่วมกัน ไปทำบุญตามวัดที่ใกล้บ้านของตัว อ่า..บรรพบุรุษเคยไปทำบุญที่วัดไหนก็ไปทำบุญที่วัดนั้น ความจริงทำที่อื่นก็ได้แต่ว่ามันไม่ดี ไม่ดีเหมือนกับมาที่บ้าน เพราะการกลับมาที่บ้านก็เรียกว่าเป็นการรวมญาติ ได้เห็นหน้ากันได้รู้สุขรู้ทุกข์แก่กันและกัน มีอะไรก็จะช่วยเหลือกันได้ก็จะช่วยเหลือกัน
อ่า..มันเป็นการ เป็นการประชุมระหว่างญาติ พอถึงวันเดือน ๑๐ ก็มาพบกันทีนึง วันสงกรานต์ก็มาพบกันทีนึง อ่าเป็นการจะเกิดความรักความสามัคคี ความร่วมแรงร่วมใจกันในการเป็นอยู่ มีอะไรควรจะช่วยเหลือกันก็จะได้ช่วยเหลือกัน อ่า..เป็นเรื่องดีเรื่องงาม เพราะงั้นทุกคนจึงกลับบ้านได้มาพบหน้าค่าตากัน มีลูกมีเต้าก็เอาขนกลับบ้านกันทีนึง ไปพบคุณตา คุณยาย คุณปู่ คุณย่า คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยายก็จะรู้ว่ามีหลานกี่คนแล้วเป็นหญิงหรือเป็นชาย ท่านมีความสุขมากคนแก่ๆเนี่ย พอได้เห็นหลาน โอ๊ย..มีความสุข มีอะไรเก็บไว้ก็ไปลื้อเอามาแจกหลานให้กินกัน แจกเงินแจกทอง แจกโน่นแจกนี่ อ่า..เป็นความสุขของคุณ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย เรามีหน้าที่จะทำให้คนแก่เป็นสุข อย่าไปทำอะไรให้คนแก่ต้องเป็นทุกข์เดือดร้อน ทำเนียมเขาตั้งไว้ก็เพื่อประโยชน์อย่างนี้ เพื่อให้เกิดความรักเกิดความสามัคคี เกิดความรวมกลุ่มรวมหมู่รวมคณะในหมู่ญาติจะได้มาพบปะกัน ชาวจีนเขามีการฝังศพไหว้ ก็มีธรรมเนียมว่าต้องไปเชงเม้ง เชงเม้งก็คือไปทำความสะอาดบริเวณศพ เพราะว่าทิ้งไว้ก็หญ้าคาขึ้นบ้างต้นไม้ขึ้นบ้าง หินมันแตกปูนมันแตกชำรุดเสียหาย แล้วก็พอถึงฤดูใกล้วันเชงเม้งก็ต้องไปดูก่อน มีอะไรเสียก็ไปซ่อมไปแซม ในวันเชงเม้งก็เป็นวันนัดญาติมาพบกัน มากินอาหารร่วมกัน มาเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เป็นโอกาสที่คนเกิดในชั้นหลัง จะได้รู้ว่าเทือกเขาเหล่ากอของเราเป็นคนอย่างไร คนที่นอนอยู่ในฮวงซุ้ยนี้คือใคร อ่า..เกิดมาอยู่อย่างไรมีข้อปฏิบัติประจำชีวิตอย่างไร สร้างตัวสร้างตนมาอย่างไร เราได้อาศัยทรัพย์สมบัติของท่านเหล่านี้ ได้กินได้อยู่ได้มีความสุขความสบาย อ่า..ควรจะพูดให้ฟัง ผู้ที่เป็นหัวหน้าเป็นผู้อาวุโสในวงศ์สกุลนั้นต้องพูดให้เด็กๆฟัง ทุกคนต้องนั่งเงียบๆแล้วเราพูดให้ฟัง พูดดีดีก็พวกเด็กเด็กคือพวกเหล่านั้นก็จะตื้นตันใจ น้ำตาไหลอาบเบ้าตา แสดงว่าเกิดความตื้นตันใจก็ระลึกนึกถึงบุญคุณของท่านเหล่านั้น
แค่ว่าเราบอกว่าบรรพบุรุษของเราเป็นคนซื่อสัตย์ เราก็ต้องเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต บรรพบุรุษของเราเป็นคนขยันในการทำมาหากิน เราก็ต้องเป็นคนขยันในการทำมาหากิน บรรพบุรุษของเราเป็นผู้เสียสละเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่ลูกหลาน เราก็ต้องรับความงามความดีนั้นมาใส่ไว้ในใจของเรา ทำดีกันต่อไปอันนี้เรียกว่าสืบวงศ์สกุล การสืบวงศ์สกุลนี้เป็นกิจอันหนึ่ง ในกิจ ๕ ประการที่บุตรธิดาจะพึงกระทำแก่พ่อแม่ กิจ ๕ ประการก็คือ
๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ
๒. ช่วยทำกิจของท่าน
๓. ช่วยรักษาเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย อ่า..
๔. ประพฤติตนให้ท่านเบาอกเบาใจ อย่าทำอะไรให้ท่านหนักอกหนักใจ แล้วเมื่อท่านตายไปแล้วก็ทำบุญอุทิศให้ท่าน แล้วก็อีกอันนึงว่า
๕. ดำรงวงศ์สกุลของท่านไว้ คำว่าดำรงวงศ์สกุลหมายความว่าสืบต่อคุณงามความดีของบรรพบุรุษ
บรรพบุรุษเราเป็นคนดีอย่างไร เป็นคนประพฤติมีศีลมีธรรมอย่างไร เป็นอยู่อย่างไร สิ่งเหล่านั้นควรถ่ายทอดเอามาไว้ในจิตใจของเรา ถ้าเราถ่ายทอดคุณงามความดีของบรรพบุรุษมาไว้ในใจของเราก็เหมือนกับว่าท่านอยู่กับเรา วิญญาณของท่านอยู่กับเรา วิญญาณก็หมายถึงคุณธรรมความงามความดีนั่นแหละไม่ใช่หมายถึงอะไรมาอยู่ในใจของเรา ลูกหลานที่ประพฤติตามแนวทางของบรรพบุรุษย่อมเป็นคนเจริญเป็นคนก้าวหน้า
พระพุทธเจ้าท่านจึงสอนว่า จงเดินตามทางที่ผู้ใหญ่เดินแล้ว อย่าล้างฝ่ามืออันเปียกชุ่มเชีย (39.32 เสียงไม่ชัดเจน) ในกาลไหนๆไม่ควรประทุษร้ายมิตร อ่า..เป็นหลักธรรมข้อปฏิบัติสำหรับคนทั่วไป ว่าจงเดินตามทางที่ผู้ใหญ่เดินแล้ว หมายความว่า พ่อแม่ ปู่ตา ย่ายาย เราเดินทางไหน เดินในทางศีลทางธรรม ทางดีทางเจริญอย่างไร เราก็ควรเดินตามทางนั้น อย่าออกนอกทาง อย่าออกนอกทาง ถ้าออกนอกทางแล้วก็จะเสื่อมจะเสียหาย อ่า..คนไทยเราจึงพูดว่าเดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด เดินตามหลังผู้ใหญ่ในที่นี้หมายความว่าผู้ใหญ่มีคุณธรรม อ่า..เป็นผู้ประพฤติธรรม เจริญด้วยคุณงามความดี ไม่ใช่เจริญด้วยอายุ ไม่ใช่เจริญด้วยชาติแต่เจริญด้วยคุณ เขาเรียกว่าคุณวุฒิทู หมายความว่าเจริญด้วยคุณงามความดี เราก็เดินตามท่านผู้นั้น เดินตามรอยเท้าของท่านผู้นั้น ภัยมันไม่เกิดหมาไม่กัด หมาหมายถึงความทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนไม่เกิดแก่เราผู้เดินตามผู้ใหญ่ และการเดินตามผู้ใหญ่นั้นเป็นเกราะคุ้มครองชีวิต ทรัพย์สมบัติ ครอบครัว ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยดีงามต่อไป อ่า..ท่านจึงสอนว่าอย่างนั้น อย่าล้างฝ่ามือที่เปียกชุ่ม คือฝ่ามือที่ตักอาหารให้เรา สมัยโบราณนี่เขาหยิบอาหารด้วยมือ เอามือชุบน้ำแล้วก็หยิบอาหาร หยิบข้าวหยิบแกงใส่ให้เรากัน นี่เรียกว่าฝ่ามือที่เปียกชุ่ม เปียกชุ่มอยู่ด้วยน้ำก็หยิบอาหารให้เรากิน อย่าล้างอย่าทำร้ายบุคคลนั้น
บุคคลใดทำคุณทำประโยชน์แก่เราแม้เล็กน้อย เราต้องจำไว้ พระองค์ตรัสสั่งว่า คนใดทำอะไรแก่เราแม้เล็กน้อย เราต้องจำไว้อย่าลืม แต่ถ้าเราทำอะไรแก่ใครแม้ใหญ่โตเท่าภูเขาไม่ต้องจำก็ได้ แต่ว่าให้ผู้รับจำผู้ให้ไม่ต้องจำก็ได้ ผู้ให้ไม่ต้องไปทวงว่าจะเอาอะไร ให้ไปแล้วก็แล้วไปแต่มันเป็นหน้าที่ของผู้รับที่จะต้องนึกอยู่เสมอว่า คนๆนั้นให้อะไรแก่เราแนะนำเราอย่างไร ช่วยเหลือเราอย่างไรทำประโยชน์แก่เราอย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องจำใส่ใจ จำใส่ใจแล้วก็หาโอกาสที่จะตอบแทนคุณงามความดีนั้นๆ เรียกว่า กตเวที กตัญญูกตเวทีเป็นคำคู่กัน กตัญญูแปลว่ารู้บุญคุณของผู้ที่ทำคุณแก่ตน กตเวทีก็ทำการตอบแทน รู้คุณแล้วแต่ไม่ทำการตอบแทน ก็ไม่เป็นรูปธรรม คนอื่นไม่เห็นมันอยู่แต่ในใจแต่ไม่แสดงออก อันนี้เราแสดงออกด้วยการทำอะไรตอบแทนนี่เรียกว่าเป็นเรื่องดีเรื่องงาม เป็นเรื่องที่ควรกระทำบ่อยๆ ตามโอกาสที่จะทำได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีอยู่วันหนึ่งเขาเรียกว่าพระป้าย เป็นวันทำบุญพระป้าย พระป้ายคือพระชื่อ สมัยก่อนนี้ไม่มีลูกชาย คนชาวจีนโบราณเขาจะเขียนชื่อลงในไม้ สลักชื่อไว้ในไม้แล้วไปตั้งไว้บนโต๊ะบูชา บนโต๊ะบูชา ที่ อ่า..ในโบสถ์พระแก้วน่ะก็เรียกว่าที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ บรรพบุรุษในนั้น เวลาถึงฤดูเดือนนึงก็ไปสรงน้ำ ไปสรงน้ำพระป้าย แล้วก็ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ นั้นก็เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที หรือว่าเดือนนึงเราเอากระดูกบรรพบุรุษที่ใส่โกฏิไว้ เอามาแล้วก็สรงน้ำให้ลูกหลานได้สรงน้ำ อ่าสรงน้ำอบน้ำหอม อ่า..ดอกไม้เครื่องสักการะ อย่าไปสรงน้ำเฉยๆ อย่าเพียงแต่ทำตามนั้น แต่ต้องพูดให้คนทุกคนเข้าใจว่านี่อะไร กระดูกอะไรทำไมเราต้องเก็บไว้ที่บ้าน กระดูกนี้เป็นกระดูกของใคร เป็นกระดูกของคุณพ่อคุณแม่เป็นปู่เป็นตาเป็นย่ายายของเด็กๆ ท่านเป็นผู้มีประโยชน์แก่ชีวิตของพวกเรา ท่านสร้างที่ดินให้เราได้อยู่ สร้างบ้านให้เราได้อยู่ มีทรัพย์สมบัติให้เราได้ใช้ ให้คุณงามความดีแก่เรา ให้สร้างชีวิตจิตใจของเราทุกคน เป็นผู้มีบุญคุณเหนือหัวของพวกเราทุกคน เราต้องระลึกถึง ต้องกราบไหว้ ต้องบูชาสักการะ
อ่า..ต้องฝึก ต้องสอน สอนเด็กๆ ให้รู้จัก อ่า..บุญคุณของบรรพบุรุษ ถ้าเราสอนลูกหลานของเราให้รู้จักบุญคุณของบรรพบุรุษ เวลาเราแก่เราจะไม่เดือดร้อน เราจะไม่ต้องนั่งเอาน้ำตาเช็ดหัวเข่า เพราะว่าลูกของเราจะเคารพเรา นับถือเรา บูชาเรา ถ้าเราทำให้เขาเห็น อันนี้การแสดงออกของพ่อแม่ต่อพ่อแม่ เราทำให้ท่านเห็นให้ลูกเห็นทุกวัน เช่นเรายกอาหารไปให้กิน อาบน้ำให้ดูแลซักผ้า ปัดที่หลับ ปัดที่นอน ซักหมอน ซักหมอกมุ้งให้เรียบร้อย เด็กๆมันเห็น มันเป็นจารีตเป็นประเพณี ที่เกิดขึ้นในครอบครัวในวงศกุล เด็กมันเห็นมันจำได้ พอโตขึ้นมันก็ทำกับเราต่อไป กิจกรรมอันใดที่เราทำกับพ่อแม่ ปู่ตาย่ายาย มันได้ผลทันตา ได้เห็นผลทันตา
สมมติว่าคนใดจิตใจโหดร้ายทุบตีพ่อแม่ ด่าพ่อด่าแม่ พอไปมีลูก ลูกพอโตขึ้นมันก็ทำอย่างนั้น ตอบแทนเรียกว่าด่าพ่อด่าแม่ ทุบตีพ่อแม่เป็นบาปกรรมที่ตัวได้ทำไว้ได้รับผลทันตา ถ้าคนใดบูชาพ่อแม่ เคารพพ่อแม่ ปฏิบัติดีต่อพ่อแม่ ลูกหลานมันก็เห็นแล้วก็ทำตอบแก่เราอย่างนั้น
ราชวงศ์ของอชาตศัตรู อชาตศัตรูเป็นพระเจ้าแผ่นดินจับพ่อคือพระเจ้าพิมพิสารไปขังคุก ขังคุกจนกระทั่งตาย ขั้นแรกก็ขังไว้ อ่า..ไม่ให้กินอาหาร แต่พระนางเวเทหิ มารดาของอชาตศัตรูนั่ะ เอาอาหารมาบดเป็นแป้งทาตัวแล้วก็ไป ...... (46.04 เสียงไม่ชัดเจน) ให้เลีย เลียอาหารที่ผิวหนังมีชีวิตอยู่ได้ พอรู้ว่าแม่ทำอย่างนั้นห้ามแม่ไม่ให้ไปเยี่ยม แลก็ไม่ได้กินอาหาร แต่ว่ายังมีชีวิตสดชื่นเพราะเดินจงกลม เดินจงกลม อยู่แล้วก็มองไปที่ภูเขาขาคิชฌกูฏได้เห็น อ่า..นึกถึงพระพุทธเจ้าใจก็สบาย ลูกชายก็นึกว่าพ่อยังมีชีวิตสบายเพราะเดินจงกลมได้ เอามีดไปผ่าเท้าซะเลย ผ่าเท้าไม่ให้เดินจงกลมให้นั่งอย่างเดียวแล้วผลที่สุดก็พ่อตาย เวลาพ่อตายอ่ะมเหสีเกิดลูกพอดี อำมาตย์ ๒ คนเข้าไปเฝ้า เลยคิดซิเราจะบอกเรื่องอะไรก่อน เรื่องตายกับเรื่องเกิดจะบอกอันไหนก่อน อะ..ต้องบอกเรื่องเกิดก่อนดิ เรื่องเกิดมันเป็นเรื่องเป็นมงคลเป็นที่ชื่นใจเรื่องตายบอกทีหลัง ก็เลยบอก บอกว่าพระมเหสีของพระองค์คลอดพระโอรสแล้วพะยะค่ะ ความรู้สึกเกิดขึ้นในใจทันที เกิดความรู้สึกกว่าเป็นพ่อนี่มันเกิดขึ้นในใจ ใครเคยเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมมีความรู้สึก แม่น่ะรู้แล้วพอลูกเกิดมาก็รู้ลูกจับท้องก็รู้แม่รู้ก่อน แต่พ่อน่ะพอลูกเกิดเสียงเปรี้ยงเกิดความรู้สึกในใจว่า อ้อ..เรานี่เป็นพ่อคนแล้ว ความรู้สึกเกิดขึ้น พระเจ้าอชาตศัตรูเกิดความรู้สึกว่าคนที่เป็นพ่อรักลูก พอเกิดความรักลูกก็นึก เอ..พ่อรักเราเหมือนกับเรารักลูก เวลานี้พ่อถูกทรมานนึกว่าจะไปปล่อย พอดีอำมาตย์อีกคนหนึ่งเข้ามากราบทูลว่าพระราชบิดาที่ถูกขังอยู่ในคุกสวรรคตแล้วพระยะค่ะ พระเจ้าอชาตศัตรูก็เรียกว่าเหมือนกับสลบไปแน่นิ่งไปเลยทีเดียว ก็มาเป็นหนามยอกอกอยู่ตลอดเวลามีความทุกข์มีความไม่สบายใจ นี่อ่ะเรียกว่าตกนรกตั้งแต่ยังไม่ตาย เป็นอยู่ก็ตกนรกตลอดเวลา เวลาไปเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งแรกไปเฝ้าเดินขาสั่นเลย เดินขาสั่นตัวสั่นเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้นเพราะว่ามีความทุกข์หนักอยู่ในใจ ว่าเราเป็นผู้ประทุษร้ายต่อพ่อ ทำร้ายพ่อ พระพุทธเจ้าก็ทักให้ใจชื้น พอเห็นเข้าก็ โอ้ (48.35 เสียงไม่ชัดเจน) จงมาเถิดอชาตศัตรูใจก็สบายขึ้นหน่อย แล้วก็ไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแต่ว่าไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไรเพราะทำบาปหนักเสียแล้ว ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ก็เรียกว่าเป็นอนันตริยกรรม เป็นกรรมอันหนักของของชาวโลก ก็ตัดมรรค ตัดผล ตัดนิพพาน แต่ว่าก็เกิดความเลื่อมใส อ่า..ทีหลังมาก็ได้เป็น อ่า..อุปถัมภ์ในการสังคายนาครั้งที่ 1 ของพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ที่ถ้ำสัตบรรณคูหา ใต้ภูเขาเวภารบรรพต อันนี้ต่อมาลูกที่เกิดมานั่นแหละ พอมันโตขึ้นมันก็เล่นงานพ่อ ฆ่าพ่อเหมือนกัน แล้วก็หลานก็ฆ่าลูกอีก ฆ่ากันมา ๒ - ๓ ชั่วกษัตริย์ ชาวบ้านชาววัง เอ..กษัตริย์วงศ์นี้ไม่ไหว ประทุษร้ายต่อพ่อทั้งนั้นฆ่าพ่อมาทั้งนั้น เลยทำการปฏิวัติรัฐประหาร อ่า...ปลดพระเจ้าแผ่นดินออกมา สมัยก่อนมันก็มีเหมือนกัน รัฐประหารนี่ ปลดพระเจ้าแผ่นดินออกแล้วตั้งวงศ์กษัตริย์ขึ้นใหม่ สืบต่อมาจนถึงพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เป็นคนสำคัญในทางพระพุทธศาสนานี้
บาปกรรมที่ทำกับพ่อแม่มันรุนแรง แต่ถ้าทำดีแล้วบุญมันก็ช่วยเหลือสนับสนุน คนมีความกตัญญูกตเวทีนี้ไม่ตกต่ำ ชีวิตไม่ตกต่ำ มีการมีงานอะไรเจริญก้าวหน้า ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะอาศัยคุณธรรม คือความกตัญญูกตเวที เพราะงั้นในเดือนกันยายนนี้ อย่าถือว่าเป็นกันยายนทมิฬ สมัยนั้นเขาพูดกันว่ากันยายนทมิฬ เพราะมีการฆ่าการแกงกันในประเทศหนึ่ง แต่เราก็ถือว่าเดือนกันยาเป็นเดือนแห่งความกตัญญูกตเวที เป็นเดือนที่เราทั้งหลาย ควรจะหาเวลานั่งสงบจิตสงบใจ นึกถึงพ่อแม่ ปู่ตา ย่ายาย ครูบาอาจารย์ พระเจ้าพระสงฆ์ ที่มีบุญคุณแก่เรา และเราคิดว่าเราควรจะตอบแทนท่านเหล่านั้นอย่างไร การตอบแทนที่ดีที่สุดก็คือว่า ยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้นให้ประณีตขึ้น ตามทาน ศีล สมาธิ ปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า อ่า..เราทำได้อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นการตอบแทน
ในเรื่องวัตถุนั้นเราก็พิจารณาว่าควรให้อะไร แก่ท่าน ก็เช่นควรให้อะไรแก่คุณพ่อคุณแม่ก็คอยดูคอยแลเอาใจใส่ การกินการอยู่ การนุ่งการห่ม ห้องน้ำห้องท่า คนแก่นี่ล้มไม่ได้ต้องกระทำความสะอาดห้องน้ำให้สะอาดให้เรียบร้อย จะลุกจะนั่งก็ต้องระวัง คอยประคับประคองให้ท่านลุกนั่งเรียบร้อย เอาใจใส่เข้าไปไตร่ถามสารทุกข์สุขดิบให้ท่านสบายใจ ถ้าเราไปเยี่ยมไปเยียนไตร่ถาม เอ้อ ... ลูกหลานมันยังคิดถึงข้า ยังอยากให้ข้าอยู่ต่อไป อ่า..เจ็บหนักเจ็บหน่อยก็ไม่เป็นไร อ่า..อยากจะอยู่กำลังใจมันมี แต่ถ้าลูกหลานทอดทิ้ง เห้อ..ข้านี่ไม่มีใครสนใจแล้ว จะอยู่ไปทำไมตายซะดีกว่า เอ่อ..เจ็บหนักเจ็บนิดเจ็บหน่อยก็จะตายเอาไปซะเลย อันนี้ถ้าเราทำอย่างนั้นก็เหมือนกับว่าทำลายชีวิตพ่อแม่ไม่เป็นการสมควรไม่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกแก่หลาน อ่า..จึงขอฝากแนวคิดนี้ไว้กับญาติโยมทั้งหลาย พูดมาก็สมควรแก่เวลา ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขออวยพรให้ญาติโยมทั้งหลายจงเจริญงอกงาม ในความสำนึกในความกตัญญูกตเวทีจงทั่วกันทุกท่านทุกคนเทอญ สาธุ