แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ณ บัดนี้ ถึงเวลาของการฟังปาถกฐาธรรมะ อันเป็นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดีเพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการฟังตามสมควรแก่เวลา
วันนี้ได้ยินเสียงนก เสียงแสก เอ่อ แควกๆๆๆ เห็นนกที่มาใหม่ หมู่นี้นกมาเยอะ เพราะเป็นฤดูหนาว นกมันมีการอพยพจากไซบีเรียซึ่งเป็นถิ่นหนาว บินผ่านประเทศจีน มาจนถึงประเทศไทย ตรงไหนมีหนองมีน้ำนกก็มาอยู่มาอาศัย นกนี่อพยพไกลมาก บินได้ไกลๆ คงจะพักมาเป็นระยะๆ หาที่สะดวกสบาย เมืองไทยเป็นเมืองที่สบาย สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายก็มาอยู่กันมาก ที่วัดนี้เมื่อวันก่อนนี้มีกามาตัวเดียว เดี๋ยวนี้มี ๔ ตัวแล้ว แล้วก็เที่ยวเกาะข้างกุฏิขี้ไว้เพ่นพ่านไปหมด จะบอกว่าอย่าขี้ตรงนี้มันก็ฟังไม่รู้เรื่อง แล้วมันมาเที่ยวบินไปบินมาโฉบไปโฉบมา วันอาทิตย์มันก็บินเกือบเหยียบหัวคนน่ะ เพราะว่ามันเชื่องมันไว้ใจ (01.46 เปลี่ยน "อานี่" เป็น "เรา") เราอาศัยธรรมะนกมันก็อาศัยธรรมะเหมือนกัน ที่ไหนมีธรรมะที่นั่นก็มีความสุข ที่ไหนไร้ธรรมะที่นั่นก็มีความทุกข์มีความเดือดร้อน คนมีธรรมะก็มีความสบาย คนไร้ธรรมะก็มีแต่ปัญหา มีความทุกข์อยู่ตลอดเวลา ถ้าเราอยากจะได้ความสุขเราก็ควรหันหน้าเข้าหาธรรมะ เอาธรรมะไปเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันต่อไป
วันนี้เป็นวันอาทิตย์แรกของเดือนธันวาคม เป็นวันที่ ๒ วันที่ ๓ วันที่ ๔ วันที่ ๕ ก็จะถึงวันสำคัญที่คนไทยเราได้ทำการเฉลิมฉลองกันเป็นการใหญ่ คือวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นประมุขของชาติ ชาวไทยทุกถ้วนหน้าที่อยู่ในประเทศไทย แม้คนชาติอื่นที่มาอยู่ในประเทศไทยก็ได้รับความสะดวกสบายมีความสุขในการทำมาหากิน เพราะว่าประเทศไทยนั้นไม่เบียดเบียนใคร เป็นคนใจดีใจงามมีการต้อนรับคนต่างถิ่นใครจะเข้ามาอยู่ในเมืองไทยอยู่ได้ทั้งนั้น เราไม่กีดกันไม่ขัดขวาง แม้คนที่มาสอนศาสนาต่างๆในประเทศไทยเราก็ไม่ได้คิดทำร้าย ไม่ได้คิดประทุษร้ายต่อเขา ถือว่าเขามาสอนสิ่งที่เป็นประโยชน์
คนไทยมีเสรีภาพที่จะไปนับถืออะไรก็ได้ตามกฎรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีกีดกันกัน เขาจะไปสร้างโบสถ์ สร้างมัสยิด สร้างโรงเกี่ยวกับศาสนาที่ไหนเราก็ไม่ว่า ยังดีกว่าประเทศอื่นอีกหลายประเทศที่รังเกียจรังแกกันในเรื่องศาสนา คนศาสนาอื่นเข้ามาทำอะไรในบ้านเมืองเขาไม่ได้ เขากีดกัน พระพุทธศาสนาของเรานั้นสอนให้เป็นคนใจกว้างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจรังงอนกัน ด้วยชาติ ด้วยภาษา ด้วยหลักศาสนา ด้วยผิวพรรณอะไรทั้งนั้น เราเข้ากันได้เป็นปี่เป็นขลุ่ย อยู่กันได้อย่างสะดวกสบาย
เมืองไทยเรามีพระเจ้าแผ่นดินเป็นประมุขของชาติ บ้านเมืองที่มีพระเจ้าแผ่นดินนี่มันดีอย่างหนึ่ง คือว่ามีประมุขเป็นที่เคารพ เป็นที่บูชาของประชาชน เหมือนกับร่างกายของคนเราถ้ามีทุกส่วนเรียบร้อยแต่ว่าไม่มีศรีษะ จะเป็นผู้เป็นคนอยู่ได้อย่างไร เราจะต้องมีศรีษะ ที่ศรีษะนั้น มีสมอง มีหู มีตา มีจมูก มีปาก ส่วนที่เป็นเรื่องสำคัญอยู่ที่ศรีษะทั้งนั้น ถ้าหากว่าถูกตัดศรีษะก็หมดชีวิตไม่มีความหมาย หรือแม้มีศรีษะอยู่แต่ว่าสมองพิกลพิการก็ไม่สามารถจะบังคับบัญชาร่างกายได้ ร่างกายก็ผิดปกติ อยู่ได้ไม่มีความสุขไม่เรียบร้อย ปัญหาจึงสำคัญอยู่ที่ศรีษะฉันใด ประเทศชาติก็เหมือนกับร่างกาย พระเจ้าแผ่นดินเป็นประมุขของชาติก็เหมือนกับศรีษะของคน เป็นสมอง เป็นสติ เป็นปัญญาให้แก่ประชาชน
เมืองไทยเรานั้นที่อยู่มาได้ด้วยความสุข ด้วยความสบาย ก็เพราะมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติตั้งแต่โบราณกาลมาจนถึงกาลบัดนี้ ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ของชาติไทยให้ดีแล้ว ก็จะเห็นว่าความสำคัญอยู่ที่ประมุขของชาติ เพราะในสมัยก่อนประชาชนพลเมืองมีการศึกษาน้อย มีความรู้น้อย ไม่สามารถที่จะช่วยตัวเองได้ ก็ต้องอาศัยผู้นำ ผู้นำก็คือองค์พระมหากษัตริย์ ได้นำชาติประเทศให้พ้นยุคเข็ญ มีความสุข ความสบายตลอดมาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
เรามีพระมหากษัตริย์มากมายตั้งแต่ยุคสุโขทัย จนกระทั่งยุคกรุงเทพมหานคร มีพระมหากษัตริย์หลายร้อยองค์ ในหมู่พระมหากษัตริย์เหล่านั้น ที่ดีเป็นประโยชน์ทำประโยชน์แก่ชาติแก่บ้านเมืองเป็นส่วนมาก ที่เสียไปบ้างก็มีจำนวนเล็กน้อย แต่ที่เสียก็ไม่เสีย (06.32 เติม "ถึง" ลงไปเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น) ถึงกับทำลายชาติทำลายบ้านเมือง แต่ว่าเป็นผู้สร้างสรรค์กิจกรรมในชาติในบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันได้ทรงกระทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นคุณ เป็นค่า แก่ชาติ แก่บ้านเมือง ทุกแง่ ทุกมุม
ในด้านในแง่ของพระศาสนาก็ทรงเป็นพุทธบริษัทที่ดีส่งเสริมบำรุงกิจการพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้า ทรงสร้างวัดวาอาราม สร้างเจดีย์ สร้างพระพุทธรูปใหญ่ๆไว้ให้คนได้เคารพได้สักการะบูชา ฟื้นฟูธรรมะแก่ประชาชน ส่งเสริมการแพร่หลายของธรรมะ เช่น การพิมพ์พระไตรปิฎกให้คนได้อ่านได้ศึกษา แปลออกมาเป็นภาษาไทยให้คนได้ศึกษากันถ้วนหน้า ก็เป็นการสร้างชีวิตจิตใจให้คนเจริญด้วยคุณธรรม เพราะว่าคุณธรรมเป็นหลักสำคัญของ (07.44 ตัด "พระศาส" ออก หลวงพ่อพูดแก้ไขเป็น"ชีวิต") พระศาสชีวิต คนเราถ้าไม่มีธรรมะชีวิตก็ไม่มีความหมายไม่มีราคาค่างวดอะไร แต่ถ้ามีธรรมะเป็นหลักครองใจสภาพชีวิตก็จะดีขึ้น เพราะฉะนั้นทุกพระองค์จึงส่งเสริมบำรุงพระศาสนา
พระมหากษัตริย์ของไทยเรานั้นส่วนมากได้ (08.05 เปลี่ยน "บวช" เป็น ทรงพระผนวช) ๑ทรงพระผนวชในพระพุทธศาสนาชั่วระยะหนึ่งของชีวิต ๒ทรงพระผนวชก่อนเสวยราชย์ก็มี เสวยราชย์แล้ว๓ทรงพระผนวชก็มีเหมือนกัน เช่น สมัยกรุงศรีอยุธยา พระบรมไตรโลกนาถซึ่งเป็นกษัตริย์สำคัญองค์หนึ่งของกรุงศรีอยุธยาก็ได้๔ทรงพระผนวชเมื่อได้เสวยราชสมบัติแล้ว (เปลี่ยน "ไปบวชอยู่" เป็น เสด็จฯ ออกผนวช) ๕เสด็จฯออกผนวชที่พิษณุโลก อยู่วัดจุฬามณี แต่ต่อมาก็กลายเป็นวัดร้างไป แต่เดี๋ยวนี้มีพระไปอยู่ ฟื้นฟูไปเป็นวัดใหญ่โตขึ้นต่อไป
เขาเล่าว่าสมัยพระเจ้าแผ่นดิน๖ทรงพระผนวชนี่ แล้วก็มีพวกข้าราชการผู้หลักผู้ใหญ่บวชตามเสด็จเป็นจำนวนมาก กุฏิเล็กๆตั้งแต่ตัววัดจนถึงแม่น้ำ (08.55 ซ้ำ ตัด"แม่น้ำ" ออก) แม่น้ำ แม่น้ำยมเป็นกุฏิที่พระอยู่อาศัย แสดงให้เห็นว่าพระราชามหากษัตริย์ก็ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา บางองค์ (09.09 เปลี่ยน "บวช" เป็น ทรงพระผนวช)๑ทรงพระผนวช ถึง ๒ ครั้ง ๒ หน เช่น พระเจ้าจักรพรรดิ จนได้นามว่า "ขุนหลวงหาวัด" แปลว่าถ้ามีเรื่องมีอุปสรรคมีข้อขัดข้อง ท่านก็แอบ (เปลี่ยน "ไปบวช" เป็น เสด็จฯออกผนวช) ๒เสด็จฯออกผนวช ซะ เรียบร้อยแล้วก็มาครองบ้านเมืองต่อไป จึงได้ชื่อว่า "ขุนหลวงหาวัด" มีปัญหากระไรก็เข้าวัด ก็ยังดี ไปวัดดีกว่าไปที่อื่น ไปหาความสงบใจ เหตุการณ์เรียบร้อยก็มาครองราชย์กันต่อไป
ทุกพระองค์ได้ (เปลี่ยน "บวชเรียน"เป็น ทรงพระผนวช) ๓ทรงพระผนวชในพระพุทธศาสนา รัชกาลปัจจุบันก็ได้ ๔ทรงพระผนวชชั่วระยะหนึ่ง ๕ทรงพระผนวชอย่างเคร่งครัด (09.50 เติม"ทรง") ๑ทรงปฏิบัติชอบ ๒ทรงปฏิบัติตามธรรมวินัยทุกประการ เป็นเวลา ๑ เดือนแล้วก็ออกมาครองราชย์ครองบ้านเมืองต่อไป
บางองค์ก็ (10.01 เปลี่ยน "บวช" เป็น ทรงพระผนวช) ๑ทรงพระผนวชก่อนเสวยราชย์ เช่น รัชกาลที่ ๕ ได้ ๒ทรงพระผนวชเป็นสามเณร เมื่อ (10.06 ตัด "เป็น" ออก) เป็นทรงพระเยาว์ก็ได้ (10.09 เปลี่ยน "บวช" เป็น ทรงพระผนวช) ๑ทรงพระผนวช ๒ทรงพระผนวชเป็นเพียงสามเณร เมื่อแรก (เปลี่ยน "บวช" เป็น ทรงพระผนวชเป็น) ๓ทรงพระผนวชเป็นเณร ต่อมาก็ได้ ๔ทรงพระผนวชเป็นพระอีกครั้งหนึ่ง ก็ได้ ๕ทรงพระผนวชเหมือนกัน ทุกองค์เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ได้หันหน้าเข้าหาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เอาธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวัน
รัชกาลที่ ๔ ๖ทรงพระผนวชนานกว่าใครๆ คือ๗ทรงพระผนวชอยู่ถึง ๒๗ พรรษา ๒๗ ปี (10.37 เติม "ทรง") ทรงสึกออกไปเสวยราชสมบัติเมื่อพระชนมายุ ๔๗ พระชันษา ครองบ้านครองเมืองตรงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะว่าฝรั่งกำลังมาเที่ยวแสวงหาเมืองขึ้น เค้าอยากได้ประเทศไทยเหมือนกัน เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์มีทรัพย์ในดินสินในน้ำมาก เขาก็อยากได้ แต่ว่าพระเจ้าแผ่นดินไทยท่านฉลาด เอาฝ่าเอาตัวรอดจากพายุแห่งการแสวงหาเมืองขึ้นมาได้ด้วยความเรียบร้อยไม่เสียหาย
อันนี้เป็นบุญคุณแก่ชาวไทยเราทุกถ้วนหน้า ที่ควรจะได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้าแผ่นดินเหล่านั้นทุกพระองค์ โดยเฉพาะองค์ปัจจุบันนี้ ได้ทรงทำประโยชน์แก่ชาติแก่บ้านเมืองอย่างมากหลาย แม้ว่าพระองค์จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ไม่มีหน้าที่ที่บริหารราชการบ้านเมือง เพราะการบริหารบ้านเมืองนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลซึ่งประชาชนเลือกตั้งกันขึ้นมา แต่พระองค์ก็ทรงนิ่งเฉยไม่ได้เมื่อเห็นเหตุการณ์บ้านเมืองเป็นไปไม่ค่อยจะปกติ ไม่เรียบร้อย มีเรื่องที่จะต้องจัดต้องทำหลายเรื่องหลายอย่าง พระองค์ก็ทรงเข้าไปข้องแวะด้วยการแนะนำช่วยเหลือให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ จึงมี ... เขาเรียกว่าโครงการในพระราชดำริ มีมากมาย โครงการสร้างเขื่อน สร้างอ่างเก็บน้ำ พัฒนาสถานที่ แนะนำประชาชนให้รู้จักทำมาหากิน
ทั้งสองพระองค์ช่วยกันจัดช่วยกันทำ สมเด็จพระบรมราชินีนาถก็ทรงช่วยพัฒนาทางด้านศิลปาชีพ อะไรต่างๆให้เกิดขึ้น ฟื้นฟูสิ่งที่เก่าๆซึ่งกำลังจะหมดไปให้เกิดมีขึ้นในบ้านเมืองของเรา เช่น การทอผ้า การฝีมืออะไรต่างๆ เสื่อมโทรมไปเพราะความเจริญทางด้านวัตถุ มีการอุตสาหกรรมมากขึ้น ของที่ทำด้วยฝีมือเป็นของสวยของประณีตก็จะหมดไปสิ้นไป เวลาพระองค์เสด็จไปต่างจังหวัดได้ไปเห็นผ้านุ่ง ก็ของคนแก่ๆที่นุ่งมาต้อนรับเสด็จ เห็นสวยงามเรียบร้อยก็ทรงถามว่า "ผ้านี้ได้มาอย่างไร" ก็บอกว่า "ทอเอง แต่ว่าเดี๋ยวนี้แก่แล้วไม่ได้ทอ" ก็ทรงเสียดายว่าสิ่งนั้นจะหมดสิ้นไป จึงได้จัดตั้งองค์การขึ้นเพื่อให้มีการเลี้ยงไหม มีการทอผ้าไหม มัดหมี่บ้าง ผ้าไหมอย่างอื่นบ้าง ทำให้เกิดความฟื้นฟูขึ้น แล้วก็ทรงนำไปขายต่างประเทศเป็นการโฆษณาไปในตัว ทำให้ฝรั่งมังค่ารู้จักของมีค่าของประเทศไทย
ในหลวงก็เสด็จไปไหนก็ไปเพื่อประโยชน์ ไปเพื่อความสุขแก่ประชาชนทั้งนั้น เสด็จขึ้นทางภาคเหนือก็ไปช่วยพัฒนาชาวเขาให้เป็นชาวเรา ให้ชาวเขาได้รู้บุญคุณของแผ่นดินที่ตนมาอยู่อาศัย เพราะว่าชาวเขานั้นเขาอยู่บนดอยเป็นชาวเขาจริงๆ แล้วก็ถางป่าปลูกไร่เลื่อนลอย ทำไร่ฝิ่น ถางป่าเป็นหย่อมเป็นวงเป็นวง ทำลายมาก เวลานั่งเรือบินไปจังหวัดแม่ฮ่องสอนครั้งแรก บินผ่านยอดภูเขาตกใจ ก็เห็นว่าภูเขาเตียนเป็นวงเป็นวงไปหมด นั่นเป็นฝีมือของชาวเขาทั้งนั้น แต่ปีนี้ทำตรงนี้ ปีต่อไปทำตรงโน้น ถางไปเรื่อยๆ ป่าก็ค่อยหมดไปสิ้นไป แล้วก็ถาง แล้วก็ทิ้ง ปลูกเพียงครั้งเดียว ปลูกฝิ่น...ส่วนมาก ไม่ได้ปลูกพืชอย่างอื่น
อันการปลูกฝิ่นนั้นก็เป็นการปลูกสิ่งมอมเมาประชาชน ทำให้คนติดฝิ่นกันงอมแงมไป พระองค์เสด็จไปเห็นก็ทรงคิดว่าต้องเปลี่ยนแปลงพัฒนาชีวิตชาวเขาไม่ให้ถางป่ามากเกินไป แต่ให้อยู่เป็นที่เป็นทางแล้วก็ให้ปลูกพืชถาวร ทรงแสวงหาพืชเมืองหนาวเอามาให้ชาวเขาปลูก เช่นว่า ผลไม้เมืองหนาว พืชผักเมืองหนาว ให้เขาปลูกให้เขาทำกัน ไม่ต้องถางป่าต่อไป เดี๋ยวนี้ชาวเขาก็ไม่ต้องถางป่า แต่ว่าอยู่ในเนื้อที่จำกัด ให้พัฒนาที่นั้นปลูกพืชต่างๆ แล้วก็เอามาขายในเมือง ขายตามโรงแรม ขายตามตลาดต่างๆ ชาวเขาก็ดีขึ้น
แล้วก็มีการจัดตั้งโรงเรียนชาวเขา ให้พวก ตชด. เป็นครูสั่งสอนให้มีความรู้ตามหนังสือ ถ้าใครเรียนดีเรียนเก่งก็เอามาเรียนในบ้านในเมือง วิทยุประเทศไทยก็มีภาษาชาวเขาพูดด้วย ได้พูดกับคนเหล่านั้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ให้รู้จักคุณค่าของแผ่นดิน ให้รู้จักความเป็นไทย ให้มีความสำนึก ได้จดทะเบียนสำมะโนครัวอยู่กันเรียบร้อยเป็นพลเมืองของชาติต่อไป พวกชาวเขาก็สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง รู้จักเคารพต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำอะไรดีขึ้น
คราวหนึ่งไปที่แม่จัน ที่นิคมแม่จันซึ่งอยู่เชิงดอย เราก็ตื่นเช้าก็เดินขึ้นไปบนดอยไปเที่ยวตามหมู่บ้านของชาวเขาเป็นพวกเผ่า พวกอีก้อ พวกเผ่าอีก้อเป็นเผ่าหนึ่งของชาวเขา เขามีบ้านใต้ถุนสูงใหญ่ ขึ้นไปดูบนบ้านไม่มีสมบัติพัสถานอะไร มีเสื้อผ้าแขวนอยู่ ๒-๓ ตัวเท่านั้น แล้วก็มีที่นั่งข้างนอก เขามีน้ำ น้ำชา ขึ้นไปถึงเขาก็รินน้ำชามาถวาย แล้วก็บอกว่า "ในหลวงเคยมานั่งตรงนี้แล้วมากินน้ำชาด้วยถ้วยเหล่านี้" เลยบอกว่า "โอ๊ะ! ถ้วยนี้ในหลวงเสวยแล้ว" เราก็ดื่มตามถ้วยนั้น เป็นถ้วยใบเล็กๆ
ในหลวงท่านไม่ถือพระองค์ ไปคลุกคลีกับชาวเขา ไปนั่งคุยกับชาวเขา ไปดื่มน้ำชาของชาวเขา ทำความสนิทสนมเป็นกันเองไม่ถือพระองค์ อันคนเราที่จะทำให้คนอื่นรักนั้นต้องปฏิบัติตามหลักการ ๔ ประการคือ (17.34 เติม "๑", "๒" ลงไปเพื่อความชัดเจนในการอ่าน) ๑) ทาน การให้ ๒) ปิยวาจาพูดจาอ่อนหวานสมานใจ ๓) ไม่ถือตัว ๔) ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่เขา พระเจ้าอยู่หัวท่านประพฤติธรรมใน ๔ ข้อนี้ เวลาไปอยู่กับพวกชาวเขาก็ไปให้ ให้ความสนิทสนมกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วก็ให้พืชพรรณธัญญาหารเพื่อให้เขาปลูก แล้วก็แนะนำให้เขาปลูก ทุกปีต้องเสด็จไปเยี่ยมไปดูว่าเขาทำกันอย่างไร มีความก้าวหน้าขนาดไหน เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง มีอะไรขัดข้องที่มันเกิดเป็นอุปสรรคที่จะแก้ไขไม่ได้ก็ช่วยจัดการแก้ไขอุปสรรคเหล่านั้นให้ผ่านพ้นไป
ไปที่บ้านอีก้อคราวนั้นก็ไปเห็นฝูงวัวประมาณ ๑๐ ตัว อ้วนๆทั้งนั้น เลยถามว่า "วัวใคร?" คนพ่อบ้านบอกว่า "วัวนายหลวง" ถามว่า "นายหลวงไหน?" เขาเรียกว่านายหลวงนะ บอกว่า "นายหลวงไหน?" บอกว่า "นายหลวงที่อยู่บางกอกโน่น มาเยี่ยมหมู่เฮาทุกปี แล้วเอาวัวมาให้ ให้ช่วยกันเลี้ยงไว้" พวกนั้นก็เลี้ยงอย่างดี เติบโตแข็งแรง แล้วก็มีแกะด้วย มีแพะ มีวัว เลี้ยงไว้เป็นของในหลวง เขาช่วยกันดูแลรักษา ไม่มีการทำลาย เลี้ยงไว้ ในหลวงท่านก็ขึ้นไปดู ช่วยแนะนำในการเลี้ยงการอะไรต่อไป ค่อยขยายพันธุ์ให้มันกว้างขวางขึ้น
บนเขามีหญ้าเยอะ วัวก็เลยกินสะดวกสบาย เขาก็ทำอย่างเรียบร้อย ในหลวงก็พัฒนาชาวเขาให้เป็นชาวบ้าน ให้เป็นชาวเราขึ้นมา พวกเราก็พลอยได้สบายเพราะเขาไม่ทำลายป่า พวกอยู่บนภูเขานี่ทำลายป่า ทำลายป่าก็เหมือนกับทำลายทุ่งนา เพราะว่าป่าเป็นที่เกิดแหล่งน้ำ ถ้าไม่มีน้ำ ทุ่งนาแถวภาคกลางก็จะแห้งแล้งไม่มีน้ำสำหรับทำนา พระองค์ทรงเห็นอนาคตว่าจะเกิดปัญหาเลยเข้าไปพัฒนาชาวเขา ไม่มีใครคิดเรื่องนี้มาก่อน แต่ว่าในหลวงท่านทรงคิดได้และก็ลงมือทำ ทำให้ชาวเขาดีขึ้น การถางป่าทำลายป่าก็ลดน้อยลงไป ก็ให้ปลูกพืชถาวร พวกพืชผักของพวกชาวเขาเอามาขายในเมือง ขายที่สนามบินเชียงใหม่ ก็เรียกว่าสวนจิตรลดา โครงการจิตรลดาเอามาขายคนก็ได้ซื้อไปกินไปใช้กัน มีหลายอย่างเป็นประโยชน์ นี่เป็นทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็เสด็จไปประทับที่ตำหนักภูพานราชนิเวศน์ ในหลวงไปประทับที่ไหนไม่ได้ไปเที่ยวเล่นนะ คนบางคนไม่เข้าใจนึกว่าในหลวงท่านไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ไม่ได้พักนะ เวลาไปอย่างนั้นกลับเหนื่อยกว่าอยู่ที่กรุงเทพฯ เพราะอยู่กรุงเทพฯนี่อยู่แต่ในวัง แต่เวลาไปพักหัวเมืองท่านไม่ได้ไปอยู่ที่วังเฉยๆ แต่ออกทุกวัน ขับรถยนต์เอง ด้วยพระองค์เอง ไปตามถนนต่างๆ ไปดูที่นั่น ไปดูที่นี่ ไปเยี่ยมเยียนประชาชน ไปถามสารทุกข์สุกดิบแก่เขาเหล่านั้น ถามปัญหาชีวิต มีอะไรขัดข้อง? มีอะไรลำบาก? ไม่มีอะไร? เป็นอย่างไรบ้าง?..ทรงทราบ สมเด็จพระเทพฯก็ตามเสด็จคอยบันทึกเรื่องที่พระองค์สนทนากันกับในหลวง พระเทพฯทำหน้าที่เป็น (21.22 ควรใช้ "ราชเลขานุการ" หรือ "ราชเลขาธิการ" หลวงพ่อพูดว่า "ราชเลขานุธิการ") ราชเลขานุ/ธิการ จดเรื่องราวไว้ทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็เอามา ในหลวงก็บอกกับราชการ บอกให้ช่วยทำสิ่งนั้น ช่วยทำสิ่งนี้ เรียกว่าเป็นโครงการพระราชดำริ สร้างอ่างเก็บน้ำตามที่ต่างๆที่กันดารน้ำ สร้างเขื่อนกั้นน้ำเพื่อให้น้ำได้ไหลไปสู่อ่างน้ำ เป็นประโยชน์แก่ชาวนาชาวไร่
การพัฒนาทุกอย่างดีขึ้น แล้วภาคตะวันออกแห้งแล้งมาก หน้าฤดูแล้งไม่มีสีเขียวก็ทรงพิจารณาว่าต้องทำให้ภาคอีสานเป็นสีเขียว แล้วก็โครงการนี้ก็มอบแก่ทหาร ทหารก็ไปจัดไปทำโครงการนี้ขึ้น อันจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อไป พระองค์ไปบ่อยๆ ปีนี้ก็เสด็จไปแล้ว เพิ่งกลับมาเมื่อวานนี่เอง กลับมาเรือบินถึงกรุงเทพฯเมื่อวาน ก็มาในงานเฉลิมพระชนมพรรษาต่อไป จากนั้นก็มักจะไปปักษ์ใต้ ปักษ์ใต้นั่นมีปัญหาโดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาศ ที่มีปัญหา ปัญหาค่อนข้างมาก เพราะว่าคนสามจังหวัดนั้นเป็นคนไทยโดยชื่อ แต่ว่าเขาเองไม่ค่อยสมัครเป็นคนไทย เขาจะเป็นชาวมลายูเรื่อยไป ที่เราเรียกกันในภาษาชาวบ้านว่าเป็นแขกไม่ใช่เป็นไทย คือเป็นคนเชื้อชาติมลายูแต่เป็นสัญชาติไทยอยู่ในปกครองของเมืองไทย
ไทยปกครองจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาศ สตูลด้วย มาเป็นเวลานานแล้ว แม้สมัยฝรั่งมายึดมลายูไปเป็นเมืองขึ้น ๓ จังหวัด ๔ จังหวัดนั้นก็ยังอยู่กับไทย คนในจังหวัดสตูลนี่พูดไทยทั้งนั้น แม้จะนับถือศาสนาอิสลามแต่ก็พูดไทยชัด ในครอบครัวนี่เขาพูดภาษาไทยกัน มีอยู่เพียงตำบลเดียวที่พูดเป็นภาษามลายู ตำบลนั้นติดกับเมือง (23.33 เสียงไม่ชัดเจน) ...... เขาพูดภาษามลายูกัน แต่ก็ได้เรียนหนังสือไทย อ่านหนังสือไทยได้ ปัญหาไม่ค่อยจะมีเท่าใด
แต่ว่าจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาศ ๓ จังหวัดนี้มีปัญหามาก เพราะมีพวกก๊ก พวกแก๊ง พวก ขจก. บ้าง จคม. บ้าง เกิดขึ้น และทำการรังควานราชการการเมือง เช่นว่า จับครูไปเรียกค่าไถ่ เพราะว่าครูนี่ไม่มีอาวุธมีแต่ชอล์กเท่านั้นเอง จะไปสู้รบปรบมือกับใครได้ พวกนั้นก็บุกเข้าไปในโรงเรียนแล้วก็จับครูไป จับครูผู้ชายบ้าง จับครูผู้หญิงบ้าง เอาไปเพื่อเรียกค่าไถ่ ทางราชการก็เสียค่าไถ่ให้ ได้ตัวกลับมา แล้วก็ทำบ่อยๆ แล้วก็เที่ยวเขียนจดหมายขู่ไปติดไว้ตามประตูบ้านคนไทย คนไทยมีสวนยาง มีสวนเงาะ มีสวนทุเรียน อะไรต่างๆ เขาเรียกว่า เรียกค่าคุ้มครอง ไอ้โจรที่เรียกค่าคุ้มครองนี่เป็นพวกโจรเบ็ดเตล็ด ไม่ใช่โจรก๊กใหญ่อะไร ใครๆก็ทำได้ เขียนหนังสือแล้วก็มาติดไว้หน้าบ้านบอกว่าเรียกค่าคุ้มครองเท่านั้นเท่านี้ ถ้าไม่ให้ก็ให้ระวังตัวจะถูกฆ่า คนก็กลัวเอาเงินไปให้ อย่างนี้มีอยู่บ่อยๆ ทำการรังควานไม่ให้บ้านเมืองสงบสุขเป็นไปด้วยดี เป็นปัญหาแก่บ้านเมืองอยู่
ในหลวงทรงเห็นว่ามันมีปัญหา ก็ไปสร้างวังทักษิณราชนิเวศน์ขึ้นที่เมืองนราธิวาศ ก็เรียกว่าตันหยง ภูเขาตันหยง เป็นภูเขาอยู่ใกล้ชายทะเล มีหาดทรายสวย สร้างตำหนักอยู่ที่นั่น ในหลวงก็ไปประทับ ในหลวงไปประทับที่ตำหนักไม่มีโอกาสไปเดินเล่นชายทะเลเหมือนกับพวกชาวเมืองทั้งหลายที่ไปเที่ยวหัวหินบางแสน ไปอาบน้ำทะเลบ้าง ไปเดินเล่นตามชายหาด ไปกินอาหารปิคนิคอะไรกันสนุกสนาน แต่ในหลวงไม่ได้ทรงทำอย่างนั้นเลย เสด็จไปประทับที่นั่น ออกทุกวัน ขับรถไปที่นั่นไปที่นี่ ไปแล้วก็ไปเยี่ยมตามหมู่บ้าน ขึ้นไปบนบ้านเขาเลย ไปหยุดรถแล้วก็ขึ้นไปบนบ้าน เจ้าของบ้านจะเป็นลมเสียให้ได้เพราะในหลวงขึ้นบ้าน ไม่ใช่ตกใจแต่เป็นเรื่องของความปลื้มใจดีใจว่าในหลวงให้เกียรติมาจนถึงบ้านของตัว
คราวนี้เวลาพูดกัน พูดกันไม่รู้เรื่อง ในหลวงพูดไทยคนเหล่านั้นพูดภาษามลายู ก็พูดกันไม่เข้าใจ แต่ว่ามีล่ามไปด้วย ก็ได้ล่ามแปลให้ นานๆคนเหล่านั้นคิดว่า "เรานี่ในหลวงมาเยี่ยมบ่อยๆ ไม่ได้พูดภาษาของในหลวง เห็นจะต้องเรียนภาษาไทยเสียแล้ว" คนเหล่านั้นก็สนใจเรียนภาษาไทย เปิดโรงเรียนผู้ใหญ่ ชาวบ้านชาวเมืองก็มาเรียนกัน ข้าราชการพูดบังคับให้เรียนเขาก็ไม่มาเรียน ให้ทำงานเขาก็ไม่ทำเพราะว่าเขาไม่ได้รัก แต่ว่าความจริงมันรักไม่ถูก คือรักแต่องค์ในหลวง
ความจริงข้าราชการก็เป็นตัวแทนในหลวง แต่เขาก็ไม่รักซาบซึ้งอะไร แต่ในหลวงไปเขารักซาบซึ้ง จนเขาเรียกกันว่า..สมัยก่อนนี้เขาเรียกพระเจ้าแผ่นดินไทยว่า "รายอ-ซีแย" "รายอ-ซีแย" แปลว่าพระเจ้าแผ่นดินสยาม เรียกเป็นคำอย่างนั้น ต่อมาเมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปบ่อยๆ เกิดความคุ้นเคยกัน เขาเรียกว่า "รายอ-กีตอ" "รายอ-กีตอ" หมายความว่าพระเจ้าแผ่นดินของเรา เปลี่ยนคำพูดไป ครั้งก่อนพูดอย่างหนึ่ง แต่เมื่อไปเยี่ยมบ่อยๆก็เลยเรียกว่า "รายอ-กีตอ"
พระองค์เสด็จไปนราธิวาศทุกปี เมืองนราธิวาศเดี๋ยวนี้สะอาดสะอ้านเรียบร้อยเพราะว่าเป็นเมืองที่ในหลวงไป เขาก็ต้องรักษาความสะอาดตลอดเวลา เพราะไม่รู้ว่าในหลวงจะมาเมื่อไหร่ ถนนหนทางก็ดีขึ้น บ้านช่องประชาชนก็ดีขึ้น แล้วก็ทรงพัฒนาที่ลุ่มให้กลายเป็นที่ดอน คือมันมีพรุใหญ่อยู่ ๒ แห่ง ที่อำเภอบาเจาะ กับอำเภอตันหยง อำเภอสุไหงปาตี อำเภอสุไหงโกลก อำเภอตากใบ ๔ อำเภอนี่ มีบึงใหญ่ที่สุด...ใหญ่ เป็นพรุใหญ่ มีต้นไม้ใหญ่ๆ แล้วก็มีจระเข้ มีปลา มีตัวผึ้ง ผึ้งไปจับต้นไม้ใหญ่ ทำน้ำผึ้งแต่น้ำผึ้งในพรุนั้นเป็นสีขาว ไม่ได้เป็นสีแดงเหมือนกับที่เรากินกันทั่วไป เป็นสีขาว เมื่อคราวไปเทศน์ที่อำเภอตากไป เวลาจะกลับนี่โยมก็เอาน้ำผึ้งมาถวาย ถามว่า "อะไรโยม?" ตอบว่า "น้ำผึ้ง" "โอ้! โยมสิหยิบขวดมาผิดละมั้ง เอาน้ำส้มมาถวายละมั้ง?" น้ำส้มคือน้ำตาลโตนดที่แช่ไว้ทิ้งไว้นาน นานๆ มันก็กลายเป็นน้ำส้มเปรี้ยว เอาไปแกง ใส่แกงได้ แทนส้มมะขามได้ บอกว่า "ไม่ใช่นี่น้ำผึ้ง" "ทำไมสีเป็นอย่างนั้นล่ะ?" บอกว่า "ดอกไม้แถวนี้มันสีขาว เช่น ดอกเสม็ด ดอกไม้ริมทะเล ดอกลำพู พวกนี้สีมันขาว ทั้งนั้น เลยน้ำผึ้งก็กลายเป็นสีขาว" มีอยู่ในพรุนั้นเยอะ
เอ๊! ในหลวงไปอยู่ที่นราธิวาศนั่งเรือบิน-เฮลิคอปเตอร์ ดูบริเวณนั้นมันกว้างใหญ่เนื้อที่หลายแสนไร่ทีเดียว ใหญ่มาก ก็ทรงคิดว่า น่าจะทำการพัฒนาที่นี้ให้เป็นที่มีประโยชน์ได้ ก็เลยถามพวกเจ้าหน้าที่ชลประทานที่ไปด้วยน่ะ บอกว่า "ที่นี้พัฒนาให้เป็นที่เกิดประโยชน์ทำมาหากินได้หรือไม่?" ก็ชลประทานก็ตอบว่า "ต้องสำรวจดูก่อน ถ้าหากทำได้ก็ดี" เลยต้องมีการสำรวจขึ้นว่าที่ดินบริเวณนั้นมีความสูงต่ำอย่างไร ควรจะทำอย่างไร
ทีนี้มีอยู่คราวหนึ่ง คือท่านไปนราธิวาศท่านมักจะไปเยี่ยมวัดต่างๆ มีวัดอยู่วัดหนึ่งเรียกวัดพระพุทธ วัดพระพุทธนี่อยู่อำเภอตากใบ เรียกว่าวัดพระพุทธ เพราะมีพระพุทธรูปทำด้วยไม้ เป็นของเก่าแก่สวยงามมาก คนทั้งอำเภอทั้งจังหวัดนี่ไปไหว้ ไปวัดพระพุทธ และวัดพระพุทธนี่เป็นที่เกิดของพระสงฆ์ที่จะไปเป็นสมภารตามวัดต่างๆในเมืองนราธิวาศ สมภารที่อยู่ในจังหวัดนราธิวาศนี่มาจากวัดพระพุทธทั้งนั้น เจ้าคณะจังหวัดก็มาจากวัดพระพุทธ เจ้าคณะอำเภอก็มาจากวัดพระพุทธ สมภารก็มาจากวัดพระพุทธ คนชอบไปบวชที่วัดนั้น บวชได้อยู่นานๆจนได้เป็นสมภารท่านเจ้าวัด
ในหลวงท่านก็เสด็จไป ไปเยี่ยมทุกปี เวลานี้เขากำลังสร้างโบสถ์ให้พระพุทธอยู่ใหม่ ในหลวงท่านก็ไปทรงช่วยด้วยทุนทุกปี ทีนี้มีอยู่วัดหนึ่งห่างจากวัดพระพุทธไปไกล เรียกว่าวัดตอหลัง ท่านสมภารก็เป็นพระยังไม่แก่เท่าใด ในหลวงเสด็จไปที่วัดนั้น สมภารก็ต้อนรับที่ลานวัดน่ะ ลานวัดทางใต้มันเป็นดินทรายสะอาดเรียบร้อย เอาเสื่อปูให้ในหลวงประทับนั่งได้ แล้วท่านสมภารก็มานั่งคุยกับในหลวง ในหลวงถามท่านสมภารว่า "เป็นยังไงหลวงพ่อ ประชาชนแถวนี้สะดวกสบายดีอยู่รึ?" ท่านหลวงพ่อองค์นั้นก็ตอบว่า "ไม่ค่อยจะสบายเท่าใด" ในหลวงว่า "มันเป็นอย่างไรจึงไม่สบาย?" ก็ว่า "ทำนาไม่ได้ผล" "ทำไมไม่ได้ผลน่ะ? " "น้ำมันมาก" ในหลวงบอก "ปักษ์ใต้นี่ฝนมันชุก น้ำก็ต้องมากเป็นธรรมดา" ท่านสมภารเลยบอกว่า "มันมากเกินไป" "แล้วจะทำอย่างไร?" ในหลวงถามท่านสมภารว่าจะทำอย่างไร สมภารบอกว่า "เอาน้ำไปทิ้งทะเลเสียบ้าง มันก็จะได้เหลือน้อย ที่ก็จะแห้ง แล้วก็จะทำนาได้สะดวก" ในหลวงบอกว่า "เอาไปทิ้งทะเลมันต้องใช้เงินเป็นหลายสิบล้านนะ ต้องขุดคลองระบายน้ำนะ" ท่านสมภารว่า "ไม่เท่าใด ระยะทางมัน ๘ กิโลกว่าเท่านั้นเอง มันต้องใช้เงินไม่มากเท่าใด"
ในหลวงเลยชวนสมภารลงเรือ ลงเรือไปดูตามลำคลองในพรุนั้น ไปเห็นต้นข้าวน้ำจมหมด ปลูกไม่ขึ้น ก็เลยทรงดำริที่จะทำประตูระบายน้ำ ขุดคลอง แล้วก็ในการไปคราวนั้นถวายเงินบำรุงวัด ๑๐,๐๐๐ ก็ท่านกำลังสร้างโบสถ์ให้เสร็จ (33.35 ซ้ำ ตัด"ท่านสมภาร" ออก) ท่านสมภาร ท่านถามสมภารว่า "โบสถ์นี่สร้างกี่ปีแล้ว?" "สร้างมา ๔-๕ ปีแล้วไม่เสร็จสักที เพราะชาวบ้านไม่ค่อยมีสตางค์ ทำนาไม่ค่อยได้ผล" ในหลวงไปเยี่ยม ๓ ปี ให้ปีละ ๑๐,๐๐๐ ก็เป็น ๓๐,๐๐๐ แล้ว ๓ ปีก็โครงการเสร็จ เขาระบายน้ำออกได้ ขุดไหลออกทะเลหมด ท่านก็ปิดไว้ให้เหลือพอสมควร
ที่ดินก็เป็นประโยชน์ไปตั้งนิคมให้คนอยู่ เวลาคนไปอยู่นี่ ขุดดิน ขุดสระน้ำนี่ ขุดลึกลงไปก็ได้ลูกรัง แต่ว่าก่อนจะถึงลูกรังนี่ ๒ เมตรนี่ เต็มไปด้วยดินดำที่มันสะสม ใบไม้ที่สะสมๆเป็นพันๆปี หนาตั้ง ๒ เมตร เวลาปลูกอะไรปลูกพืชปลูกผักไม่ขึ้น (34.29 ตัด "มันๆ" ออก) มันๆ ดินมันใหม่ มันไม่ขึ้น มันมีกรดมีด่างมากเกินไป ต้องพัฒนากันไปอีก เดี๋ยวนี้พอใช้ได้แล้ว ที่ดินมีประโยชน์ คนกรุงเทพฯไปขุดเอาดินที่นั่นน่ะมาใส่กระสอบขายเป็นปุ๋ย เอาผสมพวกปุ๋ยเล็กๆน้อยๆ แล้วก็ใส่กระสอบขาย ร่ำรวยกันไปหลายราย ทำปุ๋ยขาย เอาดินที่นั้นนะ ชาวบ้านก็เลยเข้าไปอยู่เป็นนิคม เรียกว่านิคมสร้างตนเอง มีวัดวาอาราม มีอะไรขึ้น นี่เป็นโครงการของในหลวงท่าน
และอย่างที่อำเภอบาเจาะก็มีพรุใหญ่เช่นเดียวกัน ก็ทรงทำแบบขุดคลองระบายน้ำและมีประตูปิดเปิดได้ กักน้ำได้ ปล่อยน้ำได้ เวลาน้ำมากก็ปล่อยไหลไปหมด ถ้าเป็นฤดูแล้งก็กักน้ำไว้ให้อยู่ในคลอง ชาวบ้านก็เลยเอาน้ำในคลองนั้นขึ้นมาปลูกพืชปลูกผัก แต่ว่าหญ้า ทุ่งหญ้าที่นราธิวาศนี่ดินมันเปรี้ยว เลี้ยงโคก็ไม่ได้ เลี้ยงโคก็ไม่ได้เพราะว่าหญ้า (35.36 ซ้ำ ตัด "มัน" ออก) มัน มันกินแล้วโคมันไม่สบาย เลยไม่สามารถจะเลี้ยงได้ ก็ต้องพัฒนาต่อไป
ในหลวงเสด็จไปไหนก็ไปทำแต่ประโยชน์ ทำความสุขแก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้นทั้งนั้น ไม่ได้ทรงเสด็จไม่เที่ยวไปเตร่ แม้เสด็จไปประทับหัวหินก็ไปทำประโยชน์ เข้าไปใน (35.58 เสียงไม่ชัดเจน) ...... เข้าไปในภูเขา แถวจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี มันมีคนพบพวกกระเหรี่ยง ชาวกระเหรี่ยงนี่มันอยู่ ๒ ประเทศ กระเหรี่ยงประเทศไทยไม่ค่อยยุ่งกับใคร แต่กระเหรี่ยงประเทศพม่ายุ่ง เพราะฝรั่งเขาฉลาด เขาไปจับเอาพวกกระเหรี่ยงมาอบรมศึกษาให้เป็นทหารบ้าง ให้เป็นตำรวจบ้าง ควบคุมพม่า เพราะในพม่ามีคนหลายเผ่า ฝรั่งเขาก็เอาเผ่านี้มาทำอย่างนั้น เผ่านั้นมาทำอย่างนี้ จะได้อยู่กันได้ ปกครองกันได้ ไม่ได้รวมตัวกัน คอยคุมกันไปในตัว
เวลาฝรั่งกลับไป ได้อิสระภาพ พม่าก็เลยแตกกัน แตกกัน แต่พวกที่ฝรั่งเลี้ยงไว้ได้เป็นนายพลนายทหาร มันก็แข็งข้อไม่ยอมขึ้นกับรัฐบาลพม่า โดยเฉพาะพวกกระเหรี่ยงเป็นนายพล ชื่อนายพลโบเมียะ แกก็ตั้งตัวเป็นก๊กหนึ่ง อยู่ดินแดนพม่ากับไทย แล้วมันจะเกิดปัญหา พวกกระเหรี่ยงพม่าน่ะ จะมาชวนกระเหรี่ยงไทยให้เป็นกบฏบ้าง ให้ก่อความวุ่นวาย เป็นก๊กเป็นเหล่าขึ้น
ในหลวงท่านทรงห้าม ทรงเห็นเหตุการณ์อนาคตก็เลยไปช่วยไปผูกมิตรกับพวกกระเหรี่ยง เสด็จไปเยี่ยมไปเยียน เอาผ้าไปแจก เอาหยูกยาไปแจก เอาเครื่องมือเครื่องใช้ไปแจก ผูกมิตรกันไว้ อันคนป่านี่ ทุกเผ่าเค้ามีความซื่อสัตย์ มีความจงรักภักดี ถ้าเขารักใครและก็รักจริงๆ ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะงั้นพระองค์ไปปลูกให้เขารักเสียก่อน แล้วใครจะมาชวนให้เปลี่ยนก็ไม่เปลี่ยน เพราะว่าเขารักในหลวง ได้ทรงทำอย่างนั้น เป็นประโยชน์
แล้วก็ไปสร้างนิคมแห่งหนึ่งเรียกว่า นิคมบ้านอะไรที่ปลายเขาอำเภอชะอำ? เป็นนิคมใหญ่..? หุบกะพง! หุบกะพงนี่เป็นนิคมใหญ่ ชาวบ้านก็ไปอยู่ปลูกพืชปลูกผัก ทำไร่ พืชผักไร่ออกมาขายในตลาดมากมาย อยู่ดีกินดีแล้วนะประชาชนที่ไปอยู่ที่นั้น เมื่อก่อนมันเป็นที่แห้งแล้ง เป็นดินทรายแห้ง ไม่มีน้ำมีท่า อันนี้เมื่อมีเขื่อน เขื่อนเพชรขึ้น เขื่อนกระจานขึ้น น้ำก็ส่งผ่านขึ้นหุบกะพงได้ไปจนถึงหัวหิน ชาวหัวหินก็สบายขึ้น ได้น้ำบริโภคใช้สอย ได้น้ำกินน้ำใช้สะดวกสบาย ชาวหุบกะพงก็ได้ทำการเพาะปลูก
ในหลวงไปเยี่ยมบ่อยๆ พวกที่อยู่นิคมนี่ ส่วนมากมันจะขอแต่ในหลวงนะ ขออะไรมันก็ไปขอในหลวงทั้งนั้นน่ะ เพราะว่าขอจากในหลวงมันง่ายดี ก็เลยไม่ค่อยยุ่งกับราชการที่ประจำ มักจะไป...ผ่านไปถึงในหลวง ในหลวงก็สั่งมาพวกนั้นก็ต้องทำให้ตามต้องการ กลายเป็นคนที่เล่น (39.08 เสียงไม่ชัดเจน) ...... ไปหน่อย เพราะเห็นว่าในหลวงทรงสงสาร เป็นปัญหาอยู่เหมือนกัน อันนี้เป็นเรื่องความงามความดีของในหลวงที่ทรงกระทำเป็นประโยชน์แก่ชาติแก่บ้านเมือง หลายอย่างหลายประการ ควรที่เราทั้งหลายจะแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่าน
ทีนี้ในการแสดงความจงรักภักดี เพียงแต่เราจะเขียนตัวหนังสือว่าขอให้ทรงพระเจริญติดไว้ตามหน้าบ้านทุกบ้าน หรือว่ายกธงตามประทีปโคมไฟสว่างไสว มันก็ไม่พอ เพียงทำเท่านั้นไม่พอ เพราะการแสดงความรักเพียงเท่านั้นมันอยู่ในประเภทที่เรียกว่าอามิสบูชา พระพุทธเจ้าสอนว่ามีบูชาอยู่ ๒ ประการ อามิสบูชา บูชาด้วยวัตถุสิ่งของ แล้วก็ปฏิบัติบูชา บูชาด้วยการปฏิบัติ
ในวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพานมีคนเอาดอกไม้มาบูชาพระองค์มากมาย กองสูงจนมองไม่เห็นพระพุทธเจ้าก็ว่าได้ พระพุทธเจ้าเห็นดอกไม้มากมายเช่นนั้นก็เลยบอกกับพระอานนท์ว่า "อานนท์เอ๋ยการบูชาด้วยดอกไม้มากมายอย่างนี้ไม่ชื่อว่าเป็นการบูชาตถาคตอย่างถูกต้องแท้จริง เป็นการบูชาที่เป็นการสิ้นเปลืองไม่ค่อยได้ประโยชน์คุ้มค่า" แล้วพระองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใดประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมะอยู่ ผู้นั้นแลได้ชื่อว่าเคารพสักการะตถาคตด้วยการบูชาสูงสุด" การบูชาสูงสุดต้องเป็นการปฏิบัติบูชา แต่ว่าการบูชาด้วยอามิสก็ต้องทำเหมือนกัน เช่น เรามีพระพุทธรูปเป็นรูปเปรียบ แทนพระคุณของพระพุทธเจ้า เราก็จัดที่บูชาไว้ มีดอกไม้ มีธูป มีเทียนเป็นเครื่องสักการะ แต่ก็ไม่ทำมากเกินไป เอาแต่พอดีๆ
ญาติโยมที่มาวัดนี่ไม่จำเป็นจะต้องซื้อดอกไม้มาเสมอไป เวลามาถวายสังฆทานก็เอาแต่เครื่องสังฆทานก็พอ ไม่ต้องเอาดอกไม้ก็ได้ ทีนี้เครื่องสังฆทานที่ถวายนี่มันซ้ำๆกัน คนนั้นก็ซื้อมาคนนี้ก็ซื้อไป ซื้อจากตลาดเขาจัดไว้ให้เสร็จ ชุดหนึ่ง ๒๐๐ บาท เราก็ไปซื้อมา เอามาถวายเหมือนๆกัน ถ้าเราจะเปลี่ยนไม่ถวายของ ถวายเป็นปัจจัย แต่ว่าไม่ใช่ถวายแก่พระ ถวายเป็นส่วนรวม เช่นว่า เอาปัจจัยมาถวายเป็นทุนสำหรับสร้างตึก ๘๐ ปีปัญญานันทะ อันนี้มันเป็นสังฆทานใหญ่ เป็นสังฆทานที่ถาวรอยู่ได้นาน เป็นประโยชน์แก่คนมาก เพราะว่าสังฆทานนั้นพระพุทธเจ้าสอนให้ทำ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่คนมาก
บุคลิกทานแปลว่าทานเฉพาะคน ให้องค์นั้นให้องค์นี้เป็นทานเฉพาะกัน นั่นมีผลน้อย มีผลน้อยเพราะว่ากินคนเดียวใช้คนเดียว แต่ถ้าเราให้แก่เป็นส่วนรวม เช่น ถวายเป็นกองกลางได้ใช้กันมากๆ เช่น สร้างกุฏิก็เป็นของสงฆ์เป็นกองกลาง สร้างสระน้ำ สร้างศาลาพักร้อน สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล มันก็เป็นสังฆทานทั้งนั้นน่ะ แต่ว่าที่เราทำสังฆทานโดยมากมุ่งถวายพระ แล้วก็ทำแบบเหมือนๆกัน ซ้ำๆซากๆกัน บางทีเอามาตั้ง ๑๐ ชุด ถวายพระ ๑๐ องค์ ก็ซ้ำกัน แทนที่เราจะเอาเงินไปซื้อเครื่องสังฆทานชุดละ ๒๐๐ บาท (๑43.20 เติม "บาท" ลงไปเพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น) ๑๐ ชุดมันก็ (๒ซ้ำ ตัด "ชุดละ ๒๐๐ ๑๐ชุด" ออก) ชุดละ ๒๐๐ ๑๐ ชุด ๒,๐๐๐ บาท เราเอาเงิน ๒,๐๐๐ บาทนั้นมาเข้าส่วนสร้างตึก ๘๐ ปีมันก็จะได้ประโยชน์มากกว่า เป็นประโยชน์ถาวรสิ้นกาลนานด้วย หรือว่าเอามาถวายวัดก็ตั้งเป็นทุนสมทบทุนมูลนิธิของวัด อย่างนี้มันก็ได้ประโยชน์มากกว่า แต่ว่าญาติโยมยังติดของเก่า ทำตามแบบเก่า ทีนี้วันอาทิตย์นี่ก็นำดอกไม้มาเยอะแยะก็กองเต็มหน้าพระพุทธรูป ไม่รู้จะเอาไปไหน นอกจากว่าทิ้งไว้ให้เหี่ยวแล้วก็ไปทิ้งเท่านั้นเอง เราไม่จำเป็นอะไรที่จะเอาดอกไม้มามากอย่างนั้น มาแต่ตัวนำปัจจัยมาเข้าส่วนเป็นกองกลางของวัดอะไรไปตามเรื่อง จะได้ประโยชน์มากกว่า
หากต้องการทำอะไรต้องมุ่งประโยชน์ ถ้าทำแล้วมันเกิดประโยชน์น้อยก็ไม่จำเป็นจะต้องทำก็ได้ อันนี้ขอทำความเข้าใจ พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญการบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนมากมายอย่างนั้น แต่สรรเสริญการปฏิบัติบูชา ตามที่ตรัสว่า "ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใด ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมะอยู่ ผู้นั้นแลได้ชื่อว่าสักการะเคารพนับถือบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันสูงสุด"
ทีนี้พระเจ้าแผ่นดินของเราเป็นปูชนียบุคคล แปลว่าบุคคลที่ควรเคารพสักการะ เราจะเอาดอกไม้ไปถวายมันก็ไปไม่ถึง เข้าไปไม่ได้ หรือว่าจะเอาอะไรไปให้มันก็ไม่ได้ แต่ว่าเราทำได้ด้วยการปฏิบัติบูชา การปฏิบัติบูชานั้นจะทำอย่างไร คือว่าเดินตามรอยเท้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวท่านเดินในทางไหน พระองค์ทรงบำเพ็ญพระองค์ให้เป็นประโยชน์เป็นความสุขแก่ผู้อื่น เราก็ทำตามพระองค์
อะไรที่จะช่วยให้คนอื่นเป็นสุขได้เราทำสิ่งนั้น เราคิดเรื่องนั้น เราพูดเรื่องนั้น เราทำเรื่องนั้น ตื่นแต่เช้าเราก็ต้องพิจารณาว่าวันนี้เราควรจะทำอะไรอันจะเป็นประโยชน์เป็นความสุขแก่เพื่อนมนุษย์ เอาเพื่อนมนุษย์ในวงแคบก่อน ในครอบครัว เราจะทำอะไรแก่คุณพ่อคุณแม่ของเราได้บ้าง แก่พี่แก่น้องของเราได้บ้าง ให้เป็นประโยชน์แก่กันและกัน อยู่เพื่อทำตนให้เป็นประโยชน์แก่กันและกัน อย่าทำลายประโยชน์กัน อย่าริษยากัน อย่าโกรธ อย่าเกลียดกัน อย่าหึง อย่าหวงกัน ในเรื่องที่ไม่จำเป็น อยู่กันอย่างพี่น้องโดยธรรม พี่น้องโดยสายโลหิตมันก็เปลี่ยนได้ แต่เป็นพี่น้องกันโดยธรรมนี่มันถาวร เพราะว่าจิตใจนี่เป็นธรรมะ แล้วก็รักกันโดยธรรม ถ้าใครทำดีทำถูก เราก็รัก ยกย่องบูชา เคารพนับถือ ทำไม่ดีไม่ถูก ก็เรียกมาเตือน มาสอน มาขอร้อง ว่าอย่าทำอย่างนั้น อย่าทำอย่างนี้ มันเป็นการกระทบกระเทือนจิตใจกัน ทุกคนฟังเสียงกัน ฟังคำแนะนำกัน ฟังคำตักเตือนกัน แล้วประนีประนอม หันหน้าเข้าหากัน ช่วยเหลือกันฉันพี่น้อง
แล้วเราค่อยแผ่ออกไปถึงบ้านใกล้เรือนเคียง ว่าเราจะทำประโยชน์อะไรแก่เพื่อนบ้านของเราได้บ้าง อย่าให้เพื่อนบ้านรำคาญ อย่าพูด อย่าทำอะไรให้เพื่อนบ้านรำคาญ เกรงอกเกรงใจกัน หมายความว่า อยู่กันด้วยความเกรงใจ คำว่าเกรงใจกันนี้มันมีความหมายลึกซึ้งมากในภาษาไทย ทำอะไรเกรงใจเขา เช่น เราจะเปิดวิทยุดังก็เกรงใจบ้านใกล้เรือนเคียงจะหนวกหูหรือว่าเราทำอะไรทะเลาะเบาะแว้งกันในครอบครัว ด่ากันเสียงดัง คนบ้านใกล้เรือนเคียงจะตกใจ เป็นที่หวาดเสียว เป็นการไม่สมควร เราเอาขยะไปทิ้งไว้หน้าบ้านทำให้เกิดความรำคาญแก่คนที่เดินไปเดินมา ทำให้เกิดมลพิษ มลภาวะ ก็เป็นการไม่สมควร เราไม่ควรกระทำอย่างนั้น เราไปเที่ยวตามสวนสาธารณะก็ไม่ไปทิ้งเศษขยะมูลฝอยไว้ให้เพ่นพ่าน ตามสนามหญ้า ตามในหนองในคลองที่เขาทำไว้สวยๆงามๆ มักจะมีถุงพลาสติกบ้าง ใบไม้บ้าง เศษกระดาษหนังสือพิมพ์บ้าง ปลิวลงไป ตกลงไปในสระ นี่เกิดจากความมักง่ายทำลายสิ่งแวดล้อม
ในหลวงท่านทรงกำจัดสิ่งแวดล้อม พยายามที่จะช่วยให้มีน้ำสะอาดขึ้นในคูคลองต่างๆ เช่น ในเมืองกรุงเทพฯนี่ บึงมักกะสันเป็นบึงใหญ่ ก็อยู่กันอย่างนั้น อยู่กันมานาน ไม่เคยมีความคิดความอ่านที่จะทำให้มันดีขึ้น ในหลวงท่านทรงพิจารณาเห็นว่าบึงมักกะสันควรจะเป็นที่รองรับน้ำจากกรุงเทพฯได้ แต่ว่ามันสกปรกมีอะไรๆถ่ายลงไปในบึงนั้นทั้งนั้น ก็ทรงกระทำให้น้ำสะอาด ให้มีผักตบอยู่บ้างเพื่อดูดของเสียจากน้ำ แต่ไม่ให้อยู่เต็มหนอง ถ้าเต็มหนองไปมันก็เสียมาก แสงแดดส่องไม่ถึงน้ำ ขาดออกซิเจน จึงรื้อผักตบออก เหลือไว้พอสมควร จำกัดให้มันอยู่แต่เพียงเท่านั้น ทรงกระทำให้บึงมักกะสันสะอาดขึ้น
เรื่องน้ำท่วมกรุงเทพฯ พระองค์ก็วางแผนให้ กทม.จัดทำ ทำที่กั้นน้ำบ้าง ทำอะไรให้ระบายน้ำไปที่นั่นที่นี่...ทรงพิจารณา อยู่ในวังพระองค์ก็ไม่ได้นั่งนิ่งนั่งเฉย ทรงใช้ความคิดความอ่านดูแผนที่ของกรุงเทพฯของประเทศไทยทั่วประเทศ เพราะท่านปกครองคนทั้งประเทศไม่ใช่ปกครอง ๒ คน เฉพาะเมืองใดเมืองหนึ่ง ทำประโยชน์ก็ต้องทำแก่คนทั่วไป เพราะฉะนั้นพิจารณาจัดสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้ดีขึ้น
เราก็เดินตามรอยเท้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหมือนที่เค้าพูดว่าเดินตามรอยเท้าพ่อ คือพระเจ้าอยู่หัวเป็นเหมือนพระบิดาของคนทั้งชาติ เราก็เดินตาม อะไรพระองค์ทรงกระทำเป็นประโยชน์เป็นความสุขแก่เพื่อนมนุษย์ เราก็ช่วยกันจัดช่วยกันทำสิ่งนั้น อย่าทำสิ่งอะไรที่จะสร้างสิ่งไม่สบายให้เกิดขึ้นในสังคม อยู่ด้วยจิตเมตตาปรารถนาความสุขความเจริญแก่ผู้อื่น อยู่ด้วยความกรุณาสงสารเอ็นดูคนอื่น มีอะไรที่จะช่วยใครได้ก็ต้องช่วย
ถ้าเราช่วยอะไรไม่ได้ก็ช่วยตัวเองให้พ้นจากความยุ่งยาก พ้นจากปัญหา ก็ถ้าตัวเราทำปัญหามันกระทบกระเทือนคนอื่น เช่น เราเป็นบุตรธิดาของพ่อแม่ ถ้าเราสร้างปัญหา พ่อแม่ก็เดือดร้อน พี่น้องก็เดือดร้อน เพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงก็เดือดร้อน เราจะไม่ทำความเดือดร้อนอย่างนั้นให้เกิดขึ้นแก่ใครๆ
เราจะไปนั่งตรงไหนจะไปยืนตรงไหน จะไปทำอะไรที่ใดก็ต้องคิดก่อนว่าสิ่งที่เราจะกระทำนี้มันจะกระทบกระเทือนใครบ้าง จะสร้างปัญหาให้แก่ใครบ้าง ถ้าเราคิดอย่างนั้นเราก็เกิดความสำรวมตนระมัดระวังมีการบังคับตัวเอง มีความอดกลั้นอดทนไม่กระทำอะไรโดยอารมณ์ ด้วยความเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ แต่เราทำอะไรก็ต้องคิดถึงคนอื่น ถึงคนที่อยู่ใกล้เคียง คนที่จะรับผลประโยชน์ร่วมกัน อย่างนี้มันก็ดีขึ้น เช่น คนอยู่ตามริมคลองชอบทิ้งขยะลงในคลอง นั่นคือการไม่ประพฤติตนตามในหลวงแล้ว เพราะว่าช่วยกันเพิ่มความสกปรกให้แก่แม่น้ำลำคลอง
แม่น้ำลำคลองในกรุงเทพฯนี่ เมื่อสมัยก่อนนะ ๒๔๗๕ หลวงพ่อมากรุงเทพฯครั้งแรก มาครั้งแรกก็เขาพาไปพักที่วัดบวรนิเวศ มาคราวนั้นก็จะเดินทางไปกับพระฝรั่งที่เรียกพระโลกนาถ พระโลกนาถแกพักอยู่ที่นั่นเลยไปพักที่นั่นด้วย ไปพักวัดบวรนี่นอนไม่มีมุ้ง ไม่มีมุ้งกาง แหมยุงกัดซะหน้าปรุเหมือนกับคนเป็นไข้ทรพิษอย่างนั้นนะ นอน ๓ คืนนี่หน้าเต็มไปด้วยแผลเลย ... ยุงมาก
ทีนี้ก็จะอาบน้ำก็ถามพระในวัด เพิ่งมาถึงวันแรก ถามว่า "อาบน้ำที่ไหน?" พระตอบว่า "นั่นแหละ น้ำในคูน่ะลงไปอาบได้" ก็นึกในใจว่า "เรามาจากบ้านนอกพระกรุงเทพฯคงจะต้ม จะหลอกให้ลงไปอาบน้ำในคู" ก็เลยไม่อาบนะ สงวนท่าทีไว้ก่อน อย่าให้ถูกหลอกถูกต้ม แต่พอตอนเย็นลง ทั้งพระทั้งเณรลงไปอาบน้ำในคูกันทั้งนั้น ก็นึกในใจว่า "โอ้! กรุงเทพฯนี่เมืองสวรรค์เมืองฟ้าอมร แต่ว่าน้ำอาบก็แย่ สู้น้ำบ้านเราไม่ได้ มันไหลไปในเหมือง ไหลอยู่ตลอดเวลา อาบก็มันสะอาดดี น้ำกรุงเทพฯเป็นอย่างนี้" แต่ก็ยังอาบได้
คลองบางลำพูน้ำยังสะอาด คลองเทเวศน์น้ำก็ยังสะอาด แต่เวลานี้ถ้าท่านนั่งเรือด่วนเจ้าพระยา (53.35 หลวงพ่อพูดแก้ไขให้แล้ว ตัด "จากปากเกร็ดหรือจากเมืองนนท์ ที่ปากเกร็ดไม่มี เราก็นั่ง" ออก) จากปากเกร็ดหรือจากเมืองนนท์ ที่ปากเกร็ดไม่มี เราก็นั่งจากเมืองนนท์ พอไปถึงปากคลองเทเวศน์เหม็นหึ่งเลย หรือว่าไปถึงคลองบางลำพูก็เหม็นหึ่ง เหมือนกับนั่งรถยนต์ผ่านเมืองนครปฐมสายนอก พอผ่านนครปฐมก็รู้ทันทีเพราะว่าเหม็นขี้หมู
เมืองนครปฐมนี่เป็นเมืองหมู หมูชุกชุม เขาเลี้ยงหมูมาก แล้วก็หมูย่างนครปฐมก็มีชื่อเหมือนกัน คนชอบรับประทานหมูย่างตัวน้อยๆ ลูกหมูเขาก็ย่างทั้งตัวกินกรอบ กินจนกระทั่งหนังมัน หนังหมูกินหมด เนื้อหมูก็กินหมด แต่ว่าขี้หมูนี่ไม่มีใครกิน ก็นั่งรถผ่านก็กินฉุยตลอดเวลา แม้นั่งรถติดแอร์ก็กลิ่นยังเข้าไป ถ้าว่านั่งหลับมาพอกลิ่นหมูก็ อ๋อ! ถึงนครปฐมแล้ว ตื่นได้แล้ว ยกมือไหว้พระเจดีย์นครปฐมได้แล้ว มันเหมือนกัน
คราวนี้เมื่อปากคลองเทเวศน์นี่ก็เหม็น บางลำพูก็เหม็น ทุกคลองมีกลิ่นเหม็นทั้งนั้น ใครเป็นผู้ทำให้น้ำเน่าเหม็น ก็คือคนที่มักง่ายนั่นเอง ชอบทำอะไรง่ายๆ ชอบเอาขยะทิ้งลงไปในคลอง ถ่ายน้ำโสโครกลงไปในคลอง ต่อไปแม่น้ำเจ้าพระยาจะเน่าแล้วนะ ในหลวงท่านทรงดำริเรื่องนี้เหมือนกัน กลัวแม่น้ำเจ้าพระยาจะเน่า เลยก็...ยุรัฐบาลให้คิดกำจัดน้ำเสีย รัฐบาลก็ตื่นตัวพอในหลวงสะกิดแล้วก็ตื่นตัวขึ้นทีนึง ถ้าในหลวงไม่สะกิดก็หลับต่อไป พอในหลวงสะกิดก็ลุกขึ้นมาเบิ่งตามองแล้วก็สั่งทำนั่นทำนี่กันเป็นการใหญ่ ทีนี้เราอยู่ริมคลองริมหนองที่ใดก็ตาม ริมถนนหนทาง ไม่ทำให้ถนนหนทางสกปรก ไม่ทำคลองให้สกปรก ไม่ทำแม่น้ำให้สกปรก อย่าถ่ายของโสโครกลงไปในแม่น้ำ ของโสโครกภายในบ้านถ้ามีรถขนขยะก็มัดใส่ถุง ใส่ถุงดำๆ เดี๋ยวนี้เขาใส่ถุงกันดี
ไปต่างประเทศไปเวลานั่งรถไปเช้าๆเห็นถุงวางหน้าบ้านเป็นแถว ถุงสีชมพูเสียด้วยนะ สีๆ ไม่ใช่สีดำถุงสีชมพู นึกในใจว่า "ถุงอะไร? ทำไมมันมาวางไว้หน้าบ้าน?" เลยถามพระฝรั่งว่า "ถุงอะไรเอามาวางไว้หน้าบ้านสวยๆ?" บอกว่า "ถุงขยะมูลฝอย" เอามาวางไว้เป็นกองไว้หน้าบ้าน รถบรรทุกขยะมาถึงก็ยกขึ้นไปๆ ไอ้คนขนขยะเขาไม่สะอิดสะเอียนเพราะเขาใส่ถุงมัดปากเรียบร้อย ยกถุงใส่ลงไปในรถได้ง่าย ของเราเอามาเทกองไว้หน้าบ้านไม่ใส่ถุง เดี๋ยวนี้เขามีถุงพลาสติกขาย กะว่าใส่ถุงแล้วก็สะดวกสบาย
ที่วัดนี้ (56.38 ซ้ำ ตัด "ก็" ออก) ก็ ก็ซื้อถุงมาใช้เหมือนกัน ใส่ถุงไว้ในถัง โยมใส่ขยะไว้ในถัง พอเต็มถุงก็พระทิวาก็มาเก็บไปตอนเย็น เอาไปกองไว้แห่งหนึ่งให้รถขยะมาเอา แต่รถขยะปากเกร็ดนี่ไม่ค่อยขยันเท่าใด ไม่ค่อยมาเอา แต่นี้สุนัขมันเอาก่อน มันเที่ยวตะกุยตะกายทำให้เกิดเพ่นผ่านเหม็นอยู่เหมือนกัน ไม่ค่อยสบายใจ เพราะว่าเจ้าหน้าที่ไม่ค่อยปฏิบัติ อำเภอปากเกร็ดนี่เขาค่อนข้างจะสกปรก บนถนนทิ้งขยะมูลฝอยเต็มไปหมด แม้หน้าอำเภอก็สกปรก เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยจะเอาใจใส่ในการขนขยะให้เรียบร้อย เขาเรียกว่าเพิ่มมลภาวะให้แก่ประชาชน ทำให้เกิดความเสียหาย
เราจะมาจงรักภักดีต่อในหลวง ช่วยกันทำบริเวณบ้านให้สะอาด ทำหน้าบ้านให้สะอาด ปลูกต้นไม้ หน้าบ้านของเราหาต้นไม้มาปลูกสักต้นหนึ่ง จะเป็นต้นไม้มีผล เช่น ต้นขนุน ต้นอะไรก็ได้ หรือปลูกไม้เป็นร่ม เช่น ต้นประดู่ ต้นไม้ประเภทต่างๆปลูกไว้หน้าบ้าน แล้วหมั่นรดน้ำใส่ปุ๋ยให้มันหน่อย รดน้ำทุกวันให้ต้นไม้เติบโตขึ้นก็เป็นร่มเป็นเงา แล้วช่วยกันฝุ่นที่ถนนไม่ให้เข้าบ้าน ต้นไม้มันรับไว้แทนเพราะว่าต้นไม้มันชอบของสกปรกมันก็รับไว้ แล้วถ่ายของดีออกมาให้แก่เราได้หายใจกันต่อไป
ช่วยปลูกต้นไม้หน้าบ้าน ตกแต่งหน้าบ้านให้สวยๆงามๆ ถ้ามีเนื้อที่เล็กน้อยก็ปลูกไม้ดอก ไม้อะไรต่ออะไร เป็นการออกกำลังแล้วก็มีความเพลิดเพลินตาเพลิดเพลินใจ ตื่นมาถึงดูหน้าบ้านเห็นไม้ดอกและไม้ใบสวยๆใจก็สบาย ดีกว่าเห็นกองขยะ ถ้าเห็นกองขยะนี่ใจมันก็ห่อเหี่ยวแห้ง อารมณ์เสีย แล้วก็เดี๋ยวพูดกันไม่ถูกคอก็ขัดคอกันเพราะอารมณ์เสีย
ช่วยจัดบ้าน จัดถนนหนทาง บริเวณบ้านของเรา ในตรอกในซอย ให้สะอาดให้เรียบร้อยก็เป็นการบูชาองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงกระทำเช่นนั้นอยู่ตลอดเวลา เราก็เดินตามรอยพระยุคลบาทด้วยการช่วยกันกำจัดสิ่งแวดล้อมให้มันดีขึ้น ก็เป็นการทำที่ถูกต้องประการหนึ่ง
ในวาระที่ใกล้จะถึงวันมงคลคือวันที่ ๕ ให้เราทั้งหลายตั้งจิตอธิษฐานอวยพรให้ในหลวงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน จะได้ดำรงชีวิตอยู่เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่ประเทศไทยทุกถ้วนหน้าต่อไป แสดงมาวันนี้ก็พอสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ต่อนี้ไปก็ขอเชิญญาติโยมนั่งสงบใจ กำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นเวลา ๕ นาที
- วันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓