แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ญาติโยมและพุทธบริษัททั้งหลาย ณ บัดนี้ ถึงเวลา ของการฟัง ปาฐกถาธรรมมะ ในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบ ตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้น จากการฟัง ตามสมควรแก่เวลา ถ้าเราดูเหตุการ์ณต่างๆที่เกิดขึ้น ในโลก ในปัจจุบันนี้ ก็จะเห็นว่า สิ่งทั้งหลาย ไม่เที่ยง ตรงตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เรื่องอะไร อะไร ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่มีใครรู้ว่าจะเกิด แล้วมันก็เกิดขึ้น จะเป็นเรื่องส่วนบุคล เรื่องประเทศชาติ หรือเรื่องของรูป มันก็เกิดขึ้นได้ ตามธรรมชาติของมัน เราไม่ได้กำหนดโลก สิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้อง มันเกิดขึ้นก็ทำความเสียหาย ให้แก่ประชาชนที่อยู่ในที่นั้นๆ ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นในประเทศ แมกซิโก เป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงมาก ตึกหลายๆชั้น สูงถึง ๑๕-๑๖ ชั้น พังเรียบลงมา ทับคนตาย เป็นจำนวนมากมาย คือคนที่ถูกตึกพังทับตายไปนี่ เป็นจำนวนตั้ง พันสองพัน ฟังข่าวแล้ว ก็นึกในใจว่า เออ นี่แหล่ะ รูปมันเป็นอย่างนี้ โลกมันไม่เที่ยง มันมีความเปลี่ยนแปลง แล้วมันมีอะไรที่เรามองไม่เห็น เกิดขึ้นได้ พอบอกว่าที่มันไหวนี่ มันไหวในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นมหาสมุทรใหญ่ ลึกมาก แล้วก็เกิดไหวขึ้นมา ในใต้ทะเล แล้วคลื่นมันนี่มาไกลมาจนถึงเกือบประเทศญี่ปุ่น คนญึ่ปุ่นเขารู้ว่าคลื่น แผ่นดินไหวนี่มาจะกระทบต่อญี่ปู่น ให้ระวังกัน โดยเฉพาะที่อยู่ ชายทะเล แต่ว่า ไม่เป็นไร มาไม่ถึง คนญี่ปุ่นก็ปลอดภัยไป เรื่องแผ่นดินไหวนี่เคยได้ยินข่าวบ่อยๆ สมัยเป็นเด็กนักเรียนนี่ ก็เคยได้ยินข่าวแผ่นดินไหว ที่ประเทศญี่ปุ่น เสียหายมาก ครูที่โรงเรียนเรี่ยไรสตางค์เด็กนักเรียน เพื่อส่งไปช่วยบรรเทาภัย อาตมาจำได้ว่า ได้ช่วยไป ๒๕ สตางค์ คือ สลึงนึง ในสมัยนั้น สมัยนั้นเรียนอยู่ชั้น มธัยม ๑ เขาเรี่ยไรไป ก็เลยให้ไป ๒๕ สตางค์ เพื่อช่วยคนที่ได้รับภัยธรรมชาติ ที่เกิดจากแผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นในประเทศ แมกซิโก นี่ก็ทุกชาติ ทุกภาษา แสดงความจำนง จะช่วยเหลือกัน อันนี้ก็เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า คนมีธรรมะในใจ ก็มีอยู่มากเหมือนกัน มาเห็นภัยอะไรเกิดขึ้นกับเพื่อนผู้ร่วมทุกข์ เขาก็ยินดีจะส่งสิ่งของไปช่วยเหลือ ก็เป็นเรื่องของการมีธรรมประจำจิตใจ คนที่ธรรมประจำใจ ย่อมมีความสุขทางใจ มีสงบทางใจเป็นธรรมดา แต่ถ้าไม่มีธรรมะ ก็มีแต่เรื่องร้อนอกร้อนใจ วุ่นวายใจด้วยประการต่างๆ เราเห็นเหตุการ์ณอย่างนี้ ได้่ข่าวประเภทอย่างนี้ ก็มานึกในแง่ธรรมะ แล้วก็ต้องเอาสิ่งเหล่านั้น มาเป็นเครื่องเตือนจิตสะกิดใจ ให้เกิดปัญญา ให้รู้จักปลง ให้รู้จักวาง ไม่ต้องเป็นทุกข์มากเกินไป แต่ให้เข้าใจว่าเรื่องมันเป็นอย่างนี้ ธรรมชาติมันก็มีอาการเป็นเช่นนี้ จะมีอะไรเกิดขึ้นอีกเราก็ไม่รู้ เวลานี้เขามีข่าวว่าดาวหาง มันจะมาใกล้โลก คนที่เชื่อไปในทางโชคลาง ก็วิตกกังวลไป ว่าดาวหางมา แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น ก็เมื่อ ๗๖ ปีมาแล้ว ดาวหางเข้ามาใกล้โลก ประเทศไทยเราก็สูญเสียพระเจ้าแผ่นดิน ที่น่ารักน่าบูชา คือในหลวงรัชกาลที่ ๕ คือท่านมาสิ้นพระชนม์ ในปีนั้น ปีที่มีดาวหาง
ความจริงอาจจะไม่เกี่ยวกับดาวอะไรก็ได้ แต่ว่า ร่างกายของท่านทรงพระชรา ก็มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน แล้วก็สวรรคตไป มันไปบังเอิญตรงกับปีนั้น เลยก็พูดกันว่า ดาวหางมาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ปีนี้ดาวหางมันจะเข้ามาใกล้โลก เดือนมีนาคม ศกหน้า แต่คนก็เอาเหตุการ์ณต่างๆไปบวกกันเข้า กับเรื่องดาวหาง เช่นบอกว่า ปีนี้เรือบินตกบ่อย คนตายกันเป็นจำนวนมากๆ ตั้ง ๕๐๐ ในประเทศญี่ปุ่น แล้วเรือบินตกที่ประเทศไอร์แลนด์ ตกที่นั่นที่นี่ เรือบินตกคนก็ตายกันมากๆ ก็ไปบวกกับเหตุการ์ณว่า ดาวหางมันจะมาใกล้โลก ความจริงมันไม่เกี่ยวอะไรกัน แต่ว่า เหตุการ์ณของโลกนี่มันก็เกิดอยู่ตามธรรมดา เหมือนคนนั่งรถยนต์นี่ มันก็ต้องมีอุบัติเหตุบ้างเป็นธรรมดา คนใดประมาทก็ได้รับอุบัติเหตุ คนใดไม่ประมาทก็ไม่ได้รับอุบัติเหตุ เมื่อเราอยู่ในบ้าน ก็มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในบ้าน เช่นลุกขึ้นเดิน บางทีก็ล้มลงไป บางทีก็ไปล้มในห้องนำ้ ศรีษะฟาดฝาผนัง ต้องไปนอนโรงพยาบาล บางทีล้มลงก็เอาแขนไปรับ นำ้หนักตัว ซึ่งแขนมันก็ทำหน้าที่ของมัน แต่มันไม่รู้ว่า นำ้หนักตัวนี่มันเท่าไร มันออกไปรับตามธรรมชาติ ทานไม่ไหว ก็แขนหักไปก็มี ขาหักไปก็มี มันก็เรื่องในบ้าน ไม่ใช่เรื่องที่ไหน คนนั่งรถยนต์ไปไหน ก็มีเรื่อง แต่ถ้าเราไปด้วยความมีธรรมะ เรื่องมันก็น้อย ไม่ค่อยจะเกิดขึ้น เพราะคอยคุมไว้ มีสติ มีความระวังในเหตุการ์ณที่จะเกิดขึ้น เช่น ฝนตกนี่ถนนมันก็ลื่น ก็ขับไปช้าๆสะหน่อย ถ้ามานั่งรถไปไหน ถ้าฝนตกก็บอกคนขับว่าฝนตกมันลื่นน่ะ ระวังน่ะ มันก็เบาไป แทนที่วิ่ง ร้อยกิโล ต่อชั่วโมง มันลดลงมาเพียง ๕๐ ก็ไปได้สบายไม่เดือดร้อน ก็อาศัยธรรมะ คือความไม่ประมาท แต่ถ้าเราเป็นผู้ประมาทเลินเล่อ เผลอเนื้อเผลอตัว ไม่ได้คิดขึ้นในขณะนั้น ว่าสภาพถนนเป็นอย่างไร ขับไปด้วยความเร็วสูง พอจะเกิดอุบัติเหตุ มันก็ยั้งไม่ได้ หยุดไม่ได้ ก็เกิดอันตราย เกิดความเสียหายได้ อันนี้มันเป็นเรื่องที่จะเกิด แต่ถ้าเราเอาธรรมะมาใช้ ไอ้เรื่องที่จะเกิดมันก็ลดน้อยลงไป ธรรมะจึงช่วยไว้ได้ เหตุการ์ณในชีวิตของเรา ในครอบครัว เหตุการ์ณของโลก ถ้าเราใช้ธรรมะช่วยไว้ มันก็เบาลงไป ไม่รุนแรง จึงควรจะได้ใช้ธรรมะเป็นหลักไว้ เพื่อเป็นสิ่งช่วยประคับประคองชีวิตให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยเฉพาะโยมที่อายุมาก จะลุกจะนั่ง ทำอะไรต้องมีสติไว้เสมอ คือมีสติ คือให้รู้ว่า ฉันกำลังจะลุกขึ้น ฉันกำลังจะก้าวเดิน จะนั่ง จะทำอะไร ให้มีสติค่อยกำหนดรู้ เรียกว่ามีสติปัฏฐาน เอาสติมาคุมในการเปลี่ยน อริยาบทไว้ ความผิดพลาดก็จะไม่มี หรือจะทำอะไรก็ต้องมีสติในการกระทำ คอยกำหนด คอยรู้ไว้ อะไรที่จะเป็นพิษเป็นภัย มันก็ไม่เกิด เช่นเดินก็จะไม่ล้ม เวลาลุกขึ้นก็ไม่เสียหาย จะนั่งก็ไม่เสียหาย เราใช้สติเป็นเครื่องกำหนด
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้ว่า สติสัมพัชชะปชัญญา (06.02) สติที่ต้องใช้ทุกเมื่อ ไม่ว่าเราจะทำอะไรต้องมีสติกำกับไว้เสมอ สติก็คือการกำหนดรู้ก่อนที่จะเคลื่อนไหว ก่อนจะทำอะไร จะพูดอะไร ก็ให้มีสติคอยกำหนดรู้เสียก่อน ให้รู้ว่ากำลังจะทำอะไร เช่น นั่งๆอยู่จะลุกขึ้น ก็ให้รู้ว่าจะลุกขึ้น และจะลุกขึ้นที่ท่าไหน จะไม่ล้ม จะเดินท่าไหนจะไม่เสียหาย จะทำอะไรอย่างไร จึงจะไม่เสียหาย อย่างนี้เรียกว่ามีสติคอยคุมไว้ ความผิดพลาดมันก็ไม่มี แม้แต่ในเรื่องอื่นก็เหมือนกัน เช่นเรื่องการติดต่อกับคนอื่น จะต้องมีสติระมัดระวัง ว่าคนที่มาติดต่อกับเรานั้นเป็นคนประเภทใด เขาต้องการอะไรจากเรา คนบางคนมาถึงก็ยอเราด้วยคำพูดต่างๆ คนที่มาถึงยอเรานั้น ให้รู้ไว้ล่วงหน้าว่า มันคงต้องการอะไรจากเราสักอย่าง ถึงได้มายอเรา แบบชูชกเนี้ย ชูชกเวลาไปหาพระเวชสันดรเนี้ย ก็ไปถึงก็ยอพระเวชสันดรว่า แหมใจเหมือนแม่นํ้าทั้ง ๕ ไหลไม่ขาดสาย ลงมาสู้แม่นํ้าใหญ่เต็มฝั่งบริบูรณ์ คนจะกินก็ได้ จะอาบก็ได้ จะเอาไปทำไร่ไถนาก็ได้ นี่ก็ยอ ให้พระเวชสันดร สบายใจ พอยอเสร็จก็ขอลูกทั้งสองเอาไปเป็นคนใช้ พระเวชสันดรก็รู้ ไอ้นี่ยออีกแล้ว จะเอาอะไรอีกแล้ว รู้แต่ก็ต้องให้ เพราะได้สัญญาไว้กับใจว่า เมื่อใครขอะไรก็ให้ จะขอเลือด ขอเนื้อ ขอดวงตา ขอดวงใจ ให้ทั้งนั้น เมื่อเขาขอก็ต้องให้ แม้จะไม่ยอก็ต้องให้ คนเราสมัยนี้ ถ้ามาต้องการอะไรก็ต้องมายอก่อน พระเดชพระคุณอย่างนั้น พระเดขพระคุณอย่างนี้ พอขึ้นต้นอย่างนั้น บอก พอแล้ว ฉันรู้แล้ว เธอจะมาขออะไร ไม่ต้องยอล่ะ หยุดเท่านี้พอแล้ว จะต้องการอะไร บอกมาสิ เวลาเขาต้องการอะไร เราก็ให้เขาได้ แต่บางทีก็ให้ไม่ได้ ไม่มีจะให้ ก็บอกเขาว่า หมู่นี้ไม่มีจะให้ ให้ไม่ได้ เพราะไม่มี มันก็ไม่ได้ยอต่อไป ที่บ้านช่อง คนที่บ้านนี่ก็เหมือนกัน คนบางคนมาถึงก็ต้อง ยอ แหมคุณนายอย่างนั้น คุณหญิงอย่างนี้ ระวังเถอะเดี๊ยวมันจะขอ แต่ที่นี่ถ้าเรากินลูกยอเขาไปมันก็มึน พอมันขออะไรก็ต้องให้ ลืมไปว่าอะไรเป็นอะไร ก็ต้องให้ ก็ตามที่เขาขอ นี่เขาเรียกว่า เพลินไปกับคำเยินยอ คำสรรเสริญ คำนินทา มันเป็นเรื่องธรรมดา เราอย่าไปถือมันเป็นเรื่อง อารมณ์ ใครจะว่าอะไรเรา ก็ช่างเขา เมื่อวันก่อนนี่ไปเทศน์ที่โคราช พอไปถึงที่วัด นั่งลงพัก โยมคนหนึ่ง เอาหนังสือมาให้ดู ถ่ายมาจากเล่มตัวจริง ถ่ายมาหมดทุกหน้าเลย แล้วก็มีรูป ทำเป็นรูปพระ แต่ว่า หูเป็นหมา แล้วก็ตีนก็เป็นหมา แล้วก็มีคนนั่งฟังหมาเทศน์อยู่ นี่เขาก็บอกว่า นี่เขาว่าเจ้าคุณมาน่ะ ก็เออะโยมรู้ได้ยังไงละ ว่าเขาว่าฉัน เขาเอ่ยชื่อฉันหรือป่าว เขาเอ่ยชื่อว่า หมาปัญญานันทะ หรือป่าว ก็ไม่มี อ้าวแล้วโยมรู้ได้ยังไง ว่าเขาว่าฉันละ ถ้าสมมุติว่าใครว่าฉันอย่างนั้น ฉันไม่รับน่ะ ฉันไม่เอา ใครว่าก็เอาคืนไปเอง เพราะว่าเราไม่รับ เหมือนกับเราไปบ้านใครๆ เขาจัดขนม นม เนยมาเลี้ยง ถ้าเราไม่รับของนั้นมันจะไปไหน เจ้าของบ้านก็ต้องเอาไปเก็บไว้ให้ลูกหลานกินต่อไป นี่ก็เหมือนกัน ฉันไม่รับ เขาไม่ได้ด่าฉัน ฉันไม่รับรู้เรื่องคำด่า ของคนอื่น ฉันไม่สนใจ เลยจะบอกว่า โอ้ ผมเอามาให้หลวงพ่อดู เพื่อทดสอบ มาสอบไล่ท่านปัญญา ว่าจะเกิดอารมณ์อะไร บอกว่าไอ้อย่างนี้โยมไม่ต้องสอบ เพราะมันชินสะแล้ว คนเขาด่าบ่อย ด่ามาทางจดหมายบ้าง อะไรต่ออะไรบ้าง เขาด่าฉันบ่อยๆ แต่ฉันก็บอกว่า ไอ้ที่ด่ามาทั้งหมดนี่ ฉันไม่รับน่ะ ส่งคืนให้แก่คุณไป เขาเลยหยุดเพียงเท่านั้น นี่เขาเรียกว่า ด่าทางหนังสือ ด่าเขียนลงไปในหนังสือ เขาก็ไม่ออกชื่อ อะไร แต่ว่าคนอ่าน เขารู้ว่า อาตมา เลยบอกโยมว่า เที่ยวเขวไปเอง คิดกันไปเอง ไอ้คนเรามันยุ่งตรงนี้น่ะ เที่ยวคิดไป เที่ยววิตกกังวลไปต่างๆนาๆ เมื่อเช้านี้ก็เหมือนกัน แหม ร้อนมาเลย ขึ้นกุฏิมา เอาไฟมาด้วย มาถึงก็แหม มันว่าหลวงพ่อ อย่างนั้น อย่างนี้ ก็อ้าว ใครบอกว่าเขาว่า หลวงพ่อละ นี่ไง หนังสือนี่ไง อ้าว แล้วเขาเอ่ยชื่อฉันหรือป่าว เขาเอ่ยนิดหน่อย เขาเล่านิทาน แล้วก็เอ่ยชื่อว่า เป็นนายปั่น ปั่นไปปั่นมา บอกเอ้ย นี่ไม่ได้ว่าฉันนิ มันเรื่องนิทาน แล้วจะไปร้อนอกร้อนใจอะไร เขาเล่านิทาน เขาไม่ได้ว่า ท่านปัญญาสักหน่อย แม้แต่ชื่อเดิมชื่อปั่นเขาก็ไม่เกี่ยวข้อง ฉันเปลี่ยนชื่อมานานแล้ว เปลี่ยนเป็น ปัญญานันทะ มานานแล้ว เขาด่าไอ้ปั่น แล้วจะไปเจ็บแสบอะไรละ เราไม่ได้เป็นปั่นแล้ว เรามันเป็นปัญญาสะแล้ว ไอ้คนมีปัญญาจะไปเจ็บเพราะคำด่า มันก็โง่นั่นเอง มันเรื่องอะไร แหมก็ผมเจ็บใจ อ้าว เจ็บใจอย่างไร มาฟังเทศน์ทุกอาทิตย์ยังเจ็บใจอยู่อีกเหรอ มันเรื่องอะไร เลยก็เงียบไป มันก็งี้ ไอ้เรื่องอะไรที่ใคร เขาว่าอะไรเรา อย่าไปทุกข์ร้อน อย่าไปสนใจ เราเฉยๆ มันก็หมดเรื่อง แล้วเขาด่านี่ ก็ด่าไม่นาน เขาก็หยุดเองละ
พระผู้มีพระภาคเมื่อสมัยหนึ่งนั่น มีคนไปด่า คือ นางมัญคนียา (09.52) แกโกรธพระพุทธเจ้าว่า รูปร่างอย่างนี้ อย่าว่าจะแตะด้วยมือเลย แม้แต่เท้าก็ไม่แตะ ก็เลยโกรธแค้นในใจ เออ วันใดวันหนึ่งเรามีฐานะดีขึ้น ไปกว่านี้ จะเล่นงานพระองค์นี้สักที จับพลัดจับพลูได้เป็นพระมเหสีพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอุเทนเข้า ก็เลยมีอำนาจพอสมควร เป็นพระสนม เลยก็จ้างคนให้ไปด่าพระพุทธเจ้า ว่าพระองค์ไปทางไหนก็มีคนไปดักด่า พระอานนท์ก็รำคาญ เลยบอกว่า เมืองนี้ไม่ไหว มีคนที่ด่ามากเหลือเกิน ย้ายไปอยู่เมืองอื่นเถอะ แล้วพระองค์ก็ถามว่า แล้วไปเมืองอื่น ถ้าเขาอีกละ อานนท์ แล้วไม่ต้องย้ายกันทั่วประเทศอินเดียเหรอ ถ้าเขาด่ากันทุกบ้านทุกเมือง เหตุมันเกิดที่ไหนต้องให้ดับที่นั่น คนที่ด่า ตถาคต นั้น จะด่าได้อย่างมา ๗ วัน เพราะ ตถาคต ไม่ด่าตอบ แล้วพระองค์ก็ตรัสว่า เรา ตถาคต เหมือนช่างศีก ช่างศึกเวลาออกสงคราม ลูกศรมาเหมือนกับห่าฝน ยิงมารอบตัว ช่างไม่ถอย ช่างยืนนิ่ง ให้เขายิงตามสบาย ไม่มีถอย เรียกว่า ตายด้วยพิษลูกศรอยู่ตรงนั้น ไม่มีถอยหนี เรา ตถาคต แม้จะถูกใครวิพากษ์วิจาร์ณอย่างไร เราก็จะไม่ท้อถอย เราจะไม่ยึดติดในคำนั้นๆ เราเป็นเหมือนกับช่างออกศึก ท่านพระองค์ตรัสอย่างนั้น พระอานนท์ก็เลยได้ธรรมะ ก็เลยเงียบไป ไม่ว่าอะไร เวลาไปเจอใครเขาด่าอะไร พระอานนท์ก็บอกว่า เราไม่เอา ท่านเอาคืนไป พวกนั้นก็ละอายใจ ในการที่จะไปด่าว่าอย่างนั้น อย่างนี้ ตัวอย่างก็มี อย่างที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ ในชีวิตของพระองค์ ฉะนั้น เราที่เป็นพุทธบริษัท ใครจะวิพากษ์วิจาร์ณ กระทบกระเทือนผู้ที่เรานับถือ อย่าไปหวั่นไหว อย่าไปวิตกกังวัลด้วย กับปัญหานั้น และอย่าไปโต้เถียง คนไทยเราพูดไว้ตั้งแต่โบราณ เป็นโครงลูกนิติน่ะ แต่นึกไม่ออกโคลงเวลานี้ มันว่าไว้นาน จำเลือนสะแล้ว ใจความว่า หมากัดอย่าไปกัดตอบหมา คือคนที่ว่าเราน่ะ มันเป็นคนเลวทั้งนั้น ถ้าไม่ใช่คนเลวน่ะก็ว่าไม่ได้ คนมีคุณธรรมนี่ด่าใครไม่ได้ เพราะมีธรรมะเป็นเครื่องประคับประคองใจ แต่ถ้าเขาด่าออกมาแสดงว่า เวลานั้น ขาดคุณธรรม ขาดสติ ขาดปัญญา เราก็อย่าไปโต้ตอบ ให้นึกว่า ถ้าหมากัดเรา เราจะไปกัดตอบหมาได้อย่างไร หมากัดแข้ง เราก็คลานไป อ้าวมึงกัดกู กูกัดมึงบ้างน่ะ มันก็เสียท่า เท่านั้นเอง มันไม่ใช่เรื่องที่เราจะกระทำเช่นนั้น อันนี้โยมจำไปใช้ด้วย ใครเขาว่าอะไรก็เฉยๆ หูนี่ทำตึงเสียบ้างแล้วมันก็สบาย ปิดหู ปิดตา ปิดปากเสียมั้ง นั่งสบาย ที่หน้ากุฎิ ก็มีรูปเรื่องปิด เรื่องเปิด เขียนไว้ ให้คนอ่าน ปิดหู ปิดตา ปิดหน้า ปิดตัวเสียบ้าง ก็สบาย เหมือนพระพุทธรูป เขาเรียกว่า พระขวาง (11.40) ชาวบ้านเรียก พระขวัม (11.42) ก็พระขวางนั้นละ เรียกกลายไปพระขวัม หรืออีกนัยนึงที่เรียกว่า พระปิดทวารทั้ง ๙ ทวารทั้ง ๙ ก็คือ ตา ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ หู ๒ แล้วก็ทวารหนัก ทวารเบา เรียกว่า ทวาร ๙
พระพุทธรูปแบบนั้นปิดหมด เอามือปิดหู ปิดหน้า ปิดหมด ทุกประการ คนที่เชื่อไปในไสยศาสตร์ บอกว่า ถ้าได้พระองค์นี้แขวนคอแล้ว ยิงไม่เข้า อยากได้ล่ะ ไอ้พวกค้าขายพยายามทำพระแบบนี้ขึ้นขาย บอกว่าปิดหมด มันเข้าไม่ได้ ไอ้ความจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น ไม่ใช่ว่า พระปิดทวารนี่จะช่วยป้องกันกระสุน กันหอก กันดาบ นี่ไม่ใช่ แต่ว่า เป็นการ กันอารมณ์ ไม่ให้เข้ามากระทบใจ ท่านให้สอนให้เราปิดจากอวัยวะ อายตนะ ต่อเรี่องนี้เสียบ้าง อย่าไปรับ ตามีก็อย่าไปรับเรื่องรูป หูมีอย่าไปรับเสียง จมูกอย่าไปรับกลิ่น ลิ้นอย่ารับรส กายอย่าไปรับสิ่งถูกต้องทางกายประสาท อย่าให้มันเข้า แม้เขายิงมาเราก็ปัดออกไป ปัดออกด้วยสติ ด้วยปัญญา ตัวสติ ตัวปัญญานี่เป็นเครื่องปัด เครื่องป้อง ไม่ให้สิ่งเหล่านั้นมากระทบใจของเรา ใจเราสงบน่ิง คล้ายกับเต่าน่ะ มีเต่าชนิดหนึ่งที่เขาเรียกว่า เต่าหับ เต่าหับนี่มันพอมีอะไรเข้ามา ข้าศึกมา มันปิดหมดเลย ปิดหน้าปิดหลัง แคะไม่ออก แม้เสือจะกินก็ลำบาก เราจึงพูดว่า ถ้าเราทำงานอะไรลำบาก เรามักจะพูดว่า แหม ยากเหมือนเสือกินเต่า คือเต่าประเภทปิดน่ะ แต่ถ้าเต่าปิดไม่ได้ เสือมันกินได้ มือข้างหน้ายื่นมา เท้ายื่นมา เสือมันกัดได้ มันกัดจนขาดละ แต่เต่าชนิดนั้น มันปิดหมด พอมีอันตรายมันปิดหมด แคะไม่ออกเลย ยากเหมือนเสือกินเต่าจริงๆ เราก็เหมือนกัน เราปิดตาของเราสะ ไม่สนใจ ปิดหู ปิดปาก ปิดจมูก ปิดใจ ไม่รับรู้ในอารมณ์นั้น ไม่เอามือปิด เอามือปิดแล้วมันก็เดินไม่ได้ ปิดจมูก หายใจไม่ได้ ปิดปากก็กินอะไรไม่ได้ มันก็ลำบาก นั้นเป็นภาษาคนที่ให้เรารู้ว่าปิด แต่ถ้าปิดที่แท้จริงคือ ด้วยสติ ด้วยปัญญา เอาสติมากั้นไว้ เพราะสตินี่เป็นเครื่องกันกระแสของกิเลส คือกระแสภายในและภายนอกไม่ให้มันต่อกัน เอามากั้นไว้ เป็นฉนวนไฟฟ้า เปรียบแบบไฟฟ้าเขาเรียกว่าฉนวน สตินี่เป็นฉนวนป้องกันไฟไม่ให้ไฟมันเดินต่อไป เรามีสติเวลาเห็นรูป เวลาได้ยินเสียง เวลาดมกลิ่น ลิ้มรส กายถูกต้องเรื่องอะไร สิ่งใดมากระทบมีสติ ทันท่วงที สิ่งนั้นก็จะไม่ปรุงแต่งใจเรา อย่างนี้เขาเรียกว่า ยิงไม่เข้า มันยิงไม่เข้า อย่างนี้ ไม่ใช่ว่า กระสุนยิงไม่เข้า กระสุนนั้นมันต้องเข้า เมื่อวันก่อนนี้ คุณหมอสงคราม เอากระสุนมาให้ดู ว่ากระสุนปืนใหญ่ ที่เขายิงกันวันที่ ๙ นี่ มีลูกหนึ่งไปตกที่ กรมชลประทาน สามเสน เข้าไปในห้อง ฝ่ายกฏหมาย แล้วก็มีเด็กหญิงคนหนึ่งเขานั่งอยู่ แหมมันลุกขึ้นพอดีเลย ถ้านั่งนี่ต้องเขาสะเอว ถ้าเข้าสะเอวนี่ คงไขประสาทสันหลัง ต้องเป็นอัมพาตตลอดชีวิต เวลากระสุนพุ่งแกก็ไม่รู้หรอก แต่แกยืนพอดี กระสุนเฉียดขา เนื้อขานี่ทะลุไป ทะลุไปนี่ก็ต้องรักษา ถามหมอเย็บได้ไหม หมอบอกเย็บไม่ได้ เนื้อมันเน่า ต้องปล่อยไว้เป็นธรรมชาติไปก่อน ค่อยทำอย่างอื่น มันเฉียดขา ดีกว่า เข้าสันหลัง แต่แกยืนพอดี กระสุนมายืนพอดี ไม่รู้มันเรื่องอะไรนี่ ยืนพอดีนี่ ไม่เป็นไร แล้วกระสุนนั้น ก็พ้นไปตกอยู่ในลิ้นชัก ไปนอนนิ่งอยู่ในลิ้นชักนั่นแหล่ะ คุณหมอจับได้ เอามาใส่ถุงพลาสติก เอามาให้ดู ว่านี่น่ะหลวงพ่อ กระสุนที่เขายิงกันวันนั้น โอ้ว ลูกเท่านี้เอง ปืนใหญ่ทำไมมัน ทำไมถึงออกแค่นี้ อ๋อ มันใส่ไว้หลายลูก ในนั้นน่ะ ในรังกระสุนนั้นมันหลายลูก แล้วมันออก มันก็แตกออกไป กระทบคนนั้น คนนี้ แล้วมันแข็งมาก กระสุนน่ะ แม้ว่าเราจะมีพระอะไรกัน มันก็เข้านั้นละ
ฉะนั้นไอ้เรื่องยิงไม่เข้านี่ไม่เรื่องกระสุนไม่เข้า แทงไม่เข้า ฟันไม่เข้า แต่หมายความว่า เราไม่ให้อารมณ์มากระทบใจของเรา ไม่ให้เกิดการปรุงแต่ง ไม่ให้มีสังขารถ้าพูดตามภาษาธรรมะ ไม่ให้มีสังขาร ก็คือไม่ให้มันปรุงแต่ง ไม่ให้ปรุงแต่งเป็นความรัก ความชัง เป็นความยินดียินร้าย นี่ยิงไม่เข้า เป็นผู้มีอาการมั่นคงทางจิตใจ ใครจะยิงมาเหมือนห่าฝน มันก็ไม่เข้า เพราะเราป้องกันไว้ด้วยสติ ด้วยปัญญา นี่แหล่ะ ยิงไม่เข้า ที่ถูกต้อง ที่เขามอบพระเครื่องอยู่ยงคงกระพันน่ะ พระเครื่องไหนๆก็ไม่สู้ พระสติ พระปัญญาหรอก สติกับปัญญานี่ เป็นพระเครื่องศักด์ิสิทธิ์ ที่จะช่วยให้เราปลอดภัย เราก็ต้องสร้างพระองค์นี้ไว้ในใจของเราตลอดเวลา มันก็ไม่เข้า ไม่เป็นอันตรายแก่เรา เราก็ปลอดภัย นี่ให้เข้าใจอย่างนี้ ไม่ใช่เพราะอะไรอื่น พระพุทธเจ้าของเรานั้น ทรงเป็น โลกะวิทู ที่เราสวดมนต์ว่า โลกะวิทู ผู้รู้แจ้งรู้ เป็นโลกะวิทู รู้แจ้งรู้ โลกะ ก็คือโลก วิทู ก็แปลว่า รู้ รู้แจ้งรู้ รู้จักโลกตามที่มันเป็นจริง ไม่ใช่รู้เฉยๆแต่ว่ารู้ว่าความจริงของโลกมันเป็นอย่างไร แล้วพระองค์ก็ไม่ได้เพลิดเพลิน หลงไหลในโลก แต่ว่า มองโลกด้วยตามสภาพที่เป็นจริง หลักธรรมของพระพุทธเจ้า ท่านสอนว่า ให้เรามองดูทุกสิ่งทุกอย่างตามสภาพที่มันเป็นอยู่จริง ไม่ว่าจะใช้ตา ใช้หู ใช้จมูกใช้มือจับต้องอะไร ให้รู้ว่า ไอ้เนื้อแท้ของมันเป็นอย่างไร ความจริงของสิ่งนั้นเป็นอย่างไร ให้รู้ให้เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้ง ก็ไม่มีความหลง ไม่มีความมัวเมา ไม่เพลิดเพลินในสิ่งนั้น เราก็สบายใจ ความเป็นโลกะวิทูของพระพุทธเจ้า ก็คือรู้โลก รู้โลกมันก็มีหลายแบบ โลกคือแผ่นดิน หมายถึงภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์ อันนี้เขาเรียกว่าเป็นโลกแบบหนึ่ง โลกในอีกแบบหนึ่ง ก็คือกายของเรา ชีวิตของเรา ที่ประกอบด้วย กายใจ นี่มันก็เป็นโลกๆหนึ่งเหมือนกัน หรือว่าสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลก ก็เป็นโลกประเภทหนึ่ง พึช ต้นไม้ ก็เป็นโลกประเภทหนึ่งเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ สำหรับผู้มีปัญญาใช้ ให้โทษสำหรับบุคคลที่ขาดปัญญา บรรดาสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ มันให้โทษก็มี ให้คุณก็มี ถ้าว่าเราใช้เป็น มันก็ได้ไม่ให้ทุกข์ ใช้ไม่เป็นมันก็ให้ทุกข์แก่เรา มันเป็นพิษแก่เรา แต่ถ้าเรารู้จักใช้ มันก็ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นภัยแก่เรา ไม่ว่าอะไร มันเหมือนกันอย่างนี้ทั้งนั้น แม้สิ่งที่เรียกว่าเป็นพิษ ถ้าเราใช้เป็น มันก็เป็นประโยชน์เหมือนกัน เป็นประโยชน์แก่ร่างกายได้ เช่นยาฝิ่นนี่ มันเป็นของไม่ดีละ แต่ก็ยาบางอย่างก็คล้ายฝิ่นเหมือนกัน เช่น บางทีมันเจ็บมาก เขาก็ทนไม่ไหว เขาก็ฉีดมอร์ฟีนเข้าไป ระงับความเจ็บปวด เขาไม่ฉีดมาก ฉีดนิดหน่อย พอระงับความเจ็บปวดเท่านั้น ถ้าฉีดมากคนไข้ก็จะติด มอร์ฟีนอีก เลยต้องฉีดกันบ่อยๆ มันก็ให้โทษแก่ผู้นั้น อันนี้เป็น เรื่องเห็นง่ายๆว่า สิ่งทั้งหลาย อยู่ที่ผู้ใช้ ถ้าใช้เป็น มันก็เป็นคุณ ใช้ไม่เป็นมันก็เป็นโทษ เราจึงต้องรู้ว่า อะไรเป็นอะไร ถูกต้อง แล้วควรจะใช้อย่างไรจึงจะเป็นคุณ ใช้อย่างไรมันจะเป็นโทษแก่เรา แม้สิ่งที่เป็นคุณเช่นอาหารนี่เป็นคุณแก่ร่างกาย แต่ถ้าเรารับทานมากเกินไป มันก็เป็นโทษเหมือนกัน ทำให้อึดอัดแน่นท้อง ทำให้ง่วงนอน ทำให้กระเพาะอาหารมันทำงานหนักเกินไป มันก็เกิดโทษแก่ร่างกายของเรา เพราะว่าเราใช้มากเกินไป แต่ถ้าใช้พอดีมันก็เป็นคุณแก่ร่างกาย นำ้ อาหาร อะไรทุกอย่าง ถ้าเรารู้จักใช้ มันก็ไม่ให้โทษ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มะตันยุตตา กะฑาสาธุ (17.46) ความรู้จักพอดีในส่ิงนั้นๆ เป็นเหตุให้เกิดให้ความสุข รู้จักประมาณพอดี เป็นเหตุให้เกิดความสุข ทำอะไรก็ต้องพอดี แล้วมันก็เป็นสุขแล้ว แต่ถ้าทำเกินพอดีไป มันก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน เพราะงั้นเราจึงต้องศีกษาเรื่องอย่างนี้ ให้เข้าใจ แล้วก็รู้จักใช้สิ่งนั้นๆ ให้พอเหมาะพอควร การที่ว่าอะไรพอเหมาะ พอควรนั้น มันก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาของเรา เกิดจากความรู้กับประสพการ์ณที่เราเคยเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น แล้วก็รู้ว่า อะไรสักเท่าไร เช่นการออกกำลังนี่ ถ้าออกมากเกินไป มันก็ไม่ได้ น้อยไปมันก็ไม่ดี ต้องพอดีๆ คนมีอายุออกกำลังบ้างนิดหน่อย เช่น เดินนิดหน่อย อย่าเดินให้เหนื่อย อย่าไปเดินแข่งกับคนที่ยังไม่แก่เหมือนเรา นึกว่า เออ ฉันไม่แก่ ฉันจะเดินแข่ง เดี๊ยวไปล้ม ล้มแล้วลุกไม่ขึ้นเสียด้วยน่ะ แล้วมันเกินไป ทำอะไรเกินไปไม่ได้ แม้แต่การเจริญภาวนา ถ้าเรานั่งเกินไป ก็ไม่ได้ จิตใจมันฟุ้งซ่าน
ดูพระอานนท์นี่ พระอรหันต์ทั้งหลายบอกว่า ท่านอานนท์ต้องเจริญภาวนา ต้องปฏิบัติ เพื่อให้ได้ บรรลุมรรคผลชั้นสูง จะได้เข้าร่วมสังคายนากัน เพราะในการทำสังคายนาครั้งที่หนึ่งนั้น ๕๐๐ นีเป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น ได้แล้ว ๔๙๙ องค์แล้ว จำเป็นต้องเอาพระอานนท์ไปด้วย เพราะท่านอานนท์นั้นเป็นคลังศาสนา อยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคสอนอะไรท่านได้ยินทั้งนั้น แม้ไปสอนที่อื่น ท่านไม่อยู่กลับมาก็ต้องเล่าให้ฟัง ว่าไปสอนเรื่องอะไร ท่านจึงเป็นเหมือนตู้หรือคอมพิวเตอร์ที่เก็บอะไรข้อมูลไว้ เยอะแยะ ถ้าขาดท่านแล้ว การสังคายนาก็ไม่สำเร็จ พระอรหันต์มีพระอัตตทัตถเถระ เป็นประธาน ก็บอกพระอานนท์ว่า ให้รีบเร่งปฏิบัติ เพื่อนให้บรรลุมรรคผลชั้นสูง แล้วจะได้ร่าวสังคายนากัน พระอานนท์ก็ไปเอาใหญ่เลย ทีเดียว ทำใหญ่ ไม่หลับไม่นอน เลยก็นึกว่า เอ้ มันชักจะมากไปเสียแล้ว จิตใจฟุ้งซ่าน เลยนอนสะหน่อยเถอะ ทีนี่จะเอนหลังลงจะนอน พอหลังยังไม่ทันถึงพื้นเลย ก็จิตมันวูบขึ้นมา เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ในสรรพสิ่งทั้งหลาย ได้บรรลุมรรคผลขึ้นในตอนนั้น ท่านก็เลยไปเข้าหมู่ทำสังคายนา กับเขาได้ ทำอะไรมากเกินไปมันก็เป็นทุกข์
มีพระองค์หนึ่งชื่อ ท่านพระโสณะ (18.44) เดินจงกลมจนธาตุแตก เลือดไหล พระพุทธเจ้าก็ไปบอกว่า เธอทำอะไรมันเกินไป เหมือนกับว่า พิณนี่ ถ้าว่ามันหย่อนเสียงมันก็ไม่เพราะ ตึงเกินไปมันก็ไม่เพราะ ต้องขันให้พอดี เสียงมันถึงจะเพราะ การปฏิบัติก็เหมือนกัน ถ้าหนักไป มันก็ไม่ถูก หย่อนไป มันก็ให้โทษ ต้องพอดี พอดี อย่าทำให้เกิดความทุกข์ ปฏิบัติธรรมอย่าทำให้เกิดความทุกข์ บางคนก็ทำเอาเหลือเกิน อดหลับอดนอน แต่มันก็ไม่ได้อะไรชึ้นมา นี่ร่างกายมันจะนอนก็นอนเสียหน่อย นอนแล้วก็ลุกขึ้นทำอะไรต่อไป มันก็เกิดความพอดี เช่นเราเรียนหนังสือ ไม่อยากนอน เรียน ง่วง นัตถุ์ยา อ้าว กลายเป็นคนติดยานัตถุ์ไป ไปไหนก็ ซื้อขวด ฟี้ดๆอยูตลอดเวลา เยื่อในจมูกเสียหมด พ่นฝุ่นเข้าไปนี่ ยานัตถุ์ จะไปได้เรื่องอะไร ฝุ่นที่เป็นพิษด้วยน่ะ ที่เราพ่นเข้าไป ถามว่า ทำไมนัตถุ์มากอย่างนั้น มันติดสมัยเรียนหนังสือ เรียนหนังสือ มันง่วง ง่วงก็เลยเป่ายานัตถุ์ ตาก็สว่าง ว่าต่อไป เดี๊ยวง่วง เป่าอีก มันก็ไม่ได้อะไร เหมือนคนขับรถ ดื่มไอ้นํ้าขวดเล็กๆ พอชักจะเหนื่อย ดื่ม เหนื่อย ดื่ม พอหมดฤทธิ์ยา โครมเดียว ลงไปนอนอยู่ในกองแล้ว มันไม่ได้ไง มันเกินความพอดีไป ทำอะไรมันก็ต้องพอดี พอดี มันจึงจะสบาย พระองค์จึงสอนว่า มะตันยุตตา (20.29) คือความรู้จักพอดี ยังประโยชน์ให้สำเร็จ นี่เจ้าต้องรู้ว่า มันขนาดไหน พอดีขนาดไหน ก็ร่างกายมันอยู่ในตัวเราแล้ว ถ้าเราแค่สังเกตุ เราก็รู้ได้ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ควรจะเข้าใจไว้
ความรู้แจ้งในโลกมันมี ๒ แบบ แบบรู้ตามแบบชาวโลก รู้ตามแบบชาวธรรมะ รู้ตามแบบชาวโลก ก็รู้แบบภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เรื่องมนุษยชาติ เรื่องภาษา เรื่องอะไรๆต่างๆ พระผู้มีพระภาคของเรานั้น ทรงศืกษานาน ตอนนั้น ทรงรอบรู้ในเรื่อง อย่างนี้ เช่นรู้เรื่อง ภูมิประเทศของประเทศอินเดีย รัฐไหน ภูมิประเทศเป็นอย่างไร ดินฟ้าอากาศเป็นอย่างไร ประชาชนมีรสนิยมอย่างไร พูดภาษาอะไร ศาสนาก็นับถืออะไร เป็นเรื่องอย่างไร ทรงเข้าใจในเรื่องอย่างนี้ เรียกว่า ในเรื่องเกี่ยวกับวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ท่านทรงทราบ ทรงเข้าใจ เพราะนั้นเวลาเราจะไปทำงานที่ไหน เราไปสอนใครนี่ ก็มักจะสอน เหมาะแก่นิสัยของคนเหล่านั้น คนเหล่านั้น เขาประพฤติอะไร ชอบใจอะไร ก็เอาสิ่งนั้นแหล่ะ เป็น ฐาน แล้วก็ไปสอนสิ่งอื่นลงไปบนฐานนั้น ให้เขาได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องนั้นๆ แต่ว่าถ้าฐานนั้นมันใช้ไม่ได้ พระองค์ก็ต้องไปรื้อฐานทิ้ง อันนี้ว่า ไอ้ที่ควรทิ้งน่ะคืออะไร ทรงทราบ อะไรมันไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ปฏิบัติแล้วเพื่อทุกข์ เพื่อโทษ ไม่เกิดความสงบในทางจิตใจ ก็ต้องไปอธิบายให้เขาเข้าใจ ว่า มันให้โทษอย่างไร ทำอย่างนั้น มันผิดอย่างไร ให้โทษอย่างไร เพราะพระองค์ทรงทราบเรื่องอย่างนั้นดี พระองค์ทรงสามารถที่จะชี้แจงให้เขา เข้าใจได้ เป็นความสะดวก ในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนาแก่ชุมชนเหล่านั้น พระองค์ไปที่ไหน จึงไม่เป็นพิษเป็นภัยกับคนเหล่านั้น แต่ไปเข้ากับคนเหล่านั้นได้ เพราะทรงทราบดีว่า คนเหล่านั้นเขาอยู่อย่างไร เขานับถืออะไร เขาคิดกันอย่างไร เขานิยมชมชอบในเรื่องอะไร ต้องไปอธิบายเรื่องนั้นให้เขาเข้าใจ ในทางที่ถูกที่ชอบ แม้จะทรงเปลี่ยนความคิดความเห็น ก็ทรงรู้ว่า อันนั้นมันไม่ดีอย่างไร อธิบายกันจนเข้าใจแจ่มแจ้ง คนเหล่านั้น ก็ยอมรับนับถือ พระองค์ เป็นความสะดวกแก่การเผยแพร่ธรรมะ ในพระพุทธศาสนา ให้คนได้รับเอาไปใช้ ในชีวิตประจำวันต่อไป นี่ก็เป็นเรื่องโลกะวิทู ของพระองค์ คือรู้จักคนเหล่านั้น สถานที่ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี ที่เข้าถือ เขาปฏิบัติกันมา ทำอะไรมันก็ เข้ากันได้กับคนเหล่านั้น จะแก้ไขอะไร ก็แก้ไขง่าย เพราะทรงทราบ ทรงเข้าใจอย่างนี้ อันนี้ก็ยังเป็นโลกียะ หรือว่า เป็นความรู้โลกแบบชาวโลกทั่วไป ที่เขาเรียน เขาศึกษากันอยู่ในเวลานี้ ยังไม่ประเสริฐอะไร แต่ก็เป็นบันไดขั้นต้น ที่จะช่วยให้คนก้าวขึ้นไปอีกขั้น ถึงขั้นสูง พ้นโลกไปเลยทีเดียว ความรู้โลกของพระองค์ที่ลึกซึ้ง เป็นประโยชน์ แก่การปฏิบัติอย่างแท้จริงนั้น คือ ทรงทราบชัดถึง ธรรมชาติ ธรรมดา ของโลก ว่ามันเป็นอยู่อย่างไร โลกนี้คืออะไร มันเป็นอยู่อย่างไร พระองค์ก็จะได้สอนให้คนเหล่านั้น เข้าใจ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนไปถึงว่า โลกนี้มาจากไหน ใครเป็นผู้สร้างโลก ไม่ได้สอนอย่างนั้น คือไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะสอน เพราะเราไม่ได้สร้างโลกแล้ว โลกมันมีอยู่แล้ว เรามีหน้าที่ แต่เพียงว่า ทำโลกให้มันดีขึ้นกว่านี้ ทำสังคมให้สงบขึ้นกว่านี้ ให้ทุกคนเข้าหาธรรมะ มากยิ่งขึ้นไปกว่านี้ นี่เป็นกิจที่มนุษย์ ควรทำ แต่เราไม่มีหน้าที่ ที่จะไปสร้างอะไรอีกแล้ว เขาสร้างไว้มันก็ดีแล้ว แล้วก็สร้างมาตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่มีใครรู้ ถ้าใครไปถามเรื่องอย่างนี้ พระองค์ก็จะไม่ตอบ
เช่นไปถามว่า โลกมาจากไหน ใครเป็นผู้สร้าง แล้วต่อไปมันจะเป็นอย่างไร พระองค์ก็จะบอกว่า นั่นไม่ใช่ทางแห่งความพ้นทุกข์ ไม่ใช่เบื้องต้นแห่งการประพฤติ พรมจรรย์ ใช้คำว่า ไม่ใช่ อธิพรมจรรย์ อธิพรมจรรย์ (22.32) ก็คือว่าไม่ใช่จิตเบื้องต้นแห่งการประพฤติ พรมจรรย์ การประพฤพิ พรมจรรย์ ก็คือการกระทำ กาย วาจา ใจ ให้ถูกต้อง เพื่อความหลุดพ้นจากปัญหา คือความทุกข์ ความเดือดร้อนใจ พระองค์ก็เข้าใจอย่างนั้น ชี้ให้เขาเข้าใจ ไม่ต้องถามปัญหานั้นยุ่งยาก สลับซับซ้อน ซึ่งมันไม่เกี่ยวข้องกับความพ้นทุกข์ แต่ทรงชี้ไปในจุดที่ว่า เราไปเกี่ยวข้องกับโลกอย่างไร สภาพโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ มันมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างไร อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ คือถ้าในหลักที่ว่าอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา หลักนี้มันเป็นธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นก็ตาม ไม่เกิดขึ้นในโลกก็ตาม สิ่งที่เรียกว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มันมีอยู่เป็นอยู่ ตลอดเวลา แม้ในทุกๆสิ่ง ในต้นหญ้า ในดอกหญ้า ในต้นไม้ ในใบไม้ ในเสื้อผ้า ในเนื้อในตัวของเรา มันมีสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลา เพราะนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ไม่ต้องไปหาธรรมะที่ไหน หาเอาในตัวของเธอเอง ในตัวก็คือ ใน กายวายนา (23.10) คืบกว้างศอกหนึ่งนี้มันมีอะไรอยู่พร้อม ให้มองข้างใน มองที่ตัว อย่าไปมองที่อื่น มองที่อื่นมันยุ่ง แต่ถ้ามองที่ตัวแล้ว มันก็ไม่ยุ่ง ท่านจึงสอนให้มองที่ตัว มองด้านใน ให้ญาติโยมเข้าใจข้อนี้ไว้ให้ดี ว่า พุทธศาสนา สอนให้เรามองด้านใน คือมองที่ตัวเรา มีอะไรเกิดขึ้น อย่าไปโทษใคร แต่ต้องนึกว่า ตัวเรานี้ บกพร่องอะไร ทำอะไร คิดอะไร คบหาสมาคมกับใคร จึงได้เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นใน วิถึชีวิตของเรา เราต้องมองอย่างนั้น ต้องคิดอย่างนั้น ถ้ามองในตัวนี่มันแคบหน่อย ยาววา หนาคืบ กว้างศอก นี่มันแคบ แต่ถ้ามองกว้างออกไป นู้น ทั่วสากล จักรวาล นี่มันมองไม่ไหว ยิ่งมอง ยิ่งเลอะ ยิ่งมองยิ่งไม่รู้อะไร ก็มันไกลเกินขอบเขตที่เราจะมอง เราจึงควรจะมองที่เนื้อที่ตัวของเรา มองให้เห็น สิ่งที่มีอยู่ในเนื้อในตัวของเรา เช่นว่า พระพุทธเจ้าท่่านทรงทราบ ว่าร่างกายนี้เป็นอย่างไร ทรงมองเห็น รู้จักโลก คือ ร่างกาย ชีวิตของคนนี้ ว่ามันไม่เที่ยงอย่างไร มันเป็นทุกข์อย่างไร มันเป็นอนัตตา ไม่มีสาระแก่นสารอย่างไร ทรงทราบ ทรงเข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้ง แล้วจีงได้นามว่าเป็น พุทธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้มีความเบิกบาน แจ่มใส เพราะมองเห็นอะไรชัดแจ๋ว ตามสภาพที่เป็นจริงอยู่ตลอดเวลา พวกเราทั้งหลายที่เป็นปุถุชน คำว่า ปุถุชนนั้นแปลว่า ผู้มีสติน้อย ปัญญาน้อย ยังไม่สมบูรณ์ ยังไม่พอที่จะใช้แก้ปัญหาในชีวิต เรียกว่า ปุถุชน ปุถุชนเรานั้น มองอะไรก็มองไม่ชัด เพราะมองผิวเผิน มองเห็นแต่สิ่งที่เป็นมายา คำว่า มายา หมายความว่า มันคือเปลือกนอกของสิ่งนั้น เช่นเราเห็นอะไรที่เป็น มายา คือสิ่งที่เขาฉาบ เขาทาไว้ เช่นเห็นเรือนนี้เราเห็นสี อย่างนั้น สีอย่างนี้ นั่นเขาเรียกว่า เป็น มายา เป็นของปรุงแต่ง ไม่ได้ดูเข้าไปถึงแก่นใน ว่ามันมีอะไร
ดูคนก็เหมือนกัน เราดูแต่ความเป็นมายา ดูจากภายนอก เหมือนการประกวด นางสาวไทยอะไรนี่ เขาเรียกว่า ประกวดสิ่งภายนอก ไม่ได้ประกวดด้านจิตใจอะไรหรอก ประกวดดูว่า เนื้อหนังใคร สวยกว่าใคร แข้งขาใครสวยกว่าใคร ของใคร อวัยวะเป็นอย่างไร เขาดู นั่งดู ไอ้พวกที่นั่งดู เขาดูคนมามากทั้งนั้น ดูให้กลุ้มทั้งนั้น ไม่ได้ดูให้หมดทุกข์อะไร ยิ่งดูยิ่งกลุ้ม ทำไมมันกลุ้ม ดูแล้วมันอยากได้ สืบว่ามันอยู่ที่ไหน ตั้งราคาสักเท่าไรดี จะไปซื้อเอามา มีเงินแล้วนึกว่าจะซื้อเอามาได้ทุกอย่าง เอามาใช้ เหมือนมันไปซื้อตุ๊กตามาไว้นั่งดูเล่น แต่พอตุ๊กตาเก่า ก็เปลี่ยนซื้อตัวใหม่ ต่อไป แล้วมันก็ไม่รู้จักจบจักสิ้นน่ะเรื่องอย่างนี้ นี้เขาเรียกว่า ดูภายนอก ไม่เห็นของจริงอันเป็นเนื้อแท้ พระผู้มีพระภาคจึงสอนว่า ดูลงไปให้ลึก แพน (25.40)ลงไปให้ตลอด ของสิ่งนั้นๆว่า จะเห็นชัดว่ามันคืออะไร คล้ายกับเราเห็นลูกมะพร้าวนี่ ถ้าไปเห็นก็เห็นสีข้างนอก ว่ามันเป็นสีอย่างไร สีอย่างนี้บอกว่า แก่ สีอย่างนี้บอกว่า ห้าว หรือ สุกแล้ว แต่เราไม่รู้ว่า ข้างในมะพร้าวมีอะไร เราก็ต้องปลอกเปลือกออก ปลอกเปลือกออกเพื่อเข้าไปถึงแก่นของเปลือกมะพร้าว กะลามะพร้าว กะลานี่ก็กินไม่ได้ เปลือกนี่ก็กินไม่ได้ ก็ต้องตอกกะลามะพร้าวให้แตก พอแตกมันก็มีนำ้ แต่ถ้าตอกไม่เป็น นำ้ไหลออกไปหมด ตอกเป็นก็พอดีๆ ทุบโป๊ะ แตกพอดี ข้างในไม่แตก เอามีดผ่าลงไป แล้วก็นำ้ออกมาใส่แก้ว เอาไปกินได้ ถ้าเราเปิดเข้าไปเราก็เห็นเยื่อมะพร้าว เยื่อมะพร้าว ก็ยังไม่ใช่เนื้อแท้ของมัน ถ้าเรากินเนื้อมันเราก็กินทั้งกาก ทั้งเนื้อแท้ มันหนักท้องปล่าวๆ ต้องเอาเยื่อนั้น ไปเข้าโรงงาน อัดให้นำ้มัน มันไหลออกมา มันเป็นเนื้อแท้ของมะพร้าว คือ นำ้มัน ไขมัน เอาไขมันนั้น มาปรุงเป็นอาหาร เอาไปทำสบู่ ถูเนื้อ ถูตัว ก็ยังได้ ทำอะไรอย่างอื่นก็ได้ หลายเรื่อง หลายประการ ต้องเจาะให้ลึก ลงไปอย่างนั้น จึงจะเห็นสิ่งนั้นชัดเจนแจ่มแจ้ง
คนนี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราเห็นเพียงผิวเผิน นี่ไปลงมติว่า นี่คนนี้ดี ยังไม่ได้ อย่าไปพูดว่าดี หรือว่าชั่ว ก็ยังไม่ได้ ต้องดูต่อไปอีกหน่อย ดูต่อไป ดูนานๆ จึงจะรู้ว่า สภาพคนนั้น ที่แท้จริงเป็นอย่างไร คนเราเวลาเจอหน้ากันอยู่มากๆ อาจจะควบคุม อารมณ์ตนเอง ไม่แสดงความโกรธได้ แต่ถ้าหากว่า มันมีอะไร อาจจะแสดงออกมาก็ได้ ข้างในเราไม่รู้ เพราะงั้น ดูนานๆเราก็รู้ว่า คนนี้มีความมั่นคงทางจิตใจหรือมีความไม่มั่นคง มีความอ่อนไหวง่าย ต่อ อารมณ์ที่มากระทบ เราก็รู้ได้ โดยเฉพาะ เด็กหนุ่ม สาว นี่ มักจะดูกันเพียงผิวเผิน จะดูภายนอก รูปร่าง หน้าตา กิริยา ท่าทาง แต่ไม่ได้ดูลึก แล้วก็ตัดสินรักง่ายๆ พอใจง่ายๆ ที่นี้เกิดเป็นปัญหา พออยู่ไปอยู่ไป ก็เอ๊ะ ฉันนึกว่าเธอนี่พอจะใช้ได้ มันไม่เข้าท่าเสียเลย อ้าว ผู้หญิงว่าอย่างนั้น ผู้ชายก็ว่า ฉันก็เห็นว่าดูเธอแล้วว่าจะได้เรื่องได้ราว แต่ก็ไม่เอาไหน ประเดี๊ยวมันก็เกลียดกันงั้นเอง เพราะมันไม่ได้ดูกันถึงเนื้อแท้ ดูแต่เรื่องภายนอกผิวเผิน พอยู่ไป อยู่ไปก็ชักจะเบื่อจืดจาง เขาเรียกว่าก้นหม้อยังไม่ทันดำ ก็เลยหย่ากันแล้ว นี่เพราะว่า ดูกันไม่นาน คนเรามันต้องดูกันนานๆ คนโบราณเขาว่าอย่าดูผิวเผิน ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ดูให้แท้ต้องดูไปถึงคุณย่า คุณยายด้วย นี่เขาเรียกว่าดูลึก ว่าอย่างนั้นละ ดูไปเรียกว่า สืบเอาพันธุ์วงศ์มาหมดเลย ว่าลูกเต้าเหล่าใคร เป็นมาอย่างไร พันธุ์แท้หรือว่า พันธุ์เทียม ก็ต้องดูละเอียด แล้วก็จึงจะยกลูกสาวให้แต่งงานกันได้ หรือว่าฝ่ายชายจะไปแต่งงานกับฝ่ายหญิง ก็ดูละเอียด แล้วแต่งงานกันแล้วก็อยู่กันจนแก่ จนเฒ่า เขาไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่ต้องขึ้นโรง ขึ้นศาล ไม่จดทะเบียน แต่เขาก็ไม่มีอะไร อยู่กันมาได้ จนจากกันด้วยความตาย อย่างนี้ เพราะเขามันใจเย็น ไม่ใจร้อน เหมือนกันคนปัจจุบัน คนสมัยปัจจุบันใจร้อน อยากจะได้ไวๆ มันก็ไม่ค่อยดีละ ได้ไวๆ แต่ถ้าช้าๆ คนโบราณว่า ช้าๆได้พร้าเล่มงาม ทำพลีพลาม มักจะขาดทุน เงินอยู่ในหนอง ทองอยู่ในหนอง มันก็ไม่ไปไหนละ ไม่ต้องร้อนใจ ค่อยๆ นำ้มันปิดอยู่ คนมันไม่เห็น ค่อยๆเอาก็ได้ คนโบราณ เขาก็เตือนไว้ดี สมัยนี้เราก็ไม่ค่อยได้เอามาใช้ คำโบราณ โอ๊ย คำโบราณ สมัยเก่า เอามาใช้ไม่ได้ ไม่ทันสมัย ครำ่ครึก เป็นไดโนเสาร์ เต่าล้านปี เต่านี้ถ้ามันอยู่ได้ล้านปี มันก็เก่งไม่ใช่น้อยเหมือนกันน่ะ ถ้าเป็นเต่าล้านปี มันต้องเก่งน่ะ มันจึงอยู่ได้ตั้งล้านปีน่ะ แต่ว่ามันดูไม่ได้น่ะ ธรรมชาติมันอยู่ไม่ถึง เรามันจึงต้องคิด ให้มันละเอียด ในเรื่องชีวิตของเรานี่ ต้องมองให้ลึก มองให้ละเอียด
พระผู้มีพระภาคท่านมองลึก จนเห็นแจ้งแทงตลอดในสิ่งนั้น แล้วก็เห็นว่า ไม่มีอะไรที่น่าจะรัก ไม่มีอะไรที่น่าจะเอา ไม่มีอะไรที่น่าหลงไหล มัวเมา เพลิดเพลินเจริญใจ มองอะไรก็เห็นตามสภาพที่เป็นจริง นี่เป็นเรื่อง รู้แจ้งรู้ ในแง่ธรรมะ พูดสั้นๆว่า รู้แจ้งโลก ในภาษาธรรมเนื้อๆ คือรู้จักร่างกายของเราอย่างถูกต้อง อย่าไปรู้จากคนอื่น รู้จากตัวเราเองก่อน ว่าตัวเรานี่ ร่างกายนี้ มันก็เป็นอย่างนั้น เป็นของปรุงแต่ง ไม่มีอะไรถาวร ของปรุงแต่งมันอยู่ได้เมื่อเครื่องปรุงแต่งมันพร้อม แต่เครื่องปรุงแต่งทั้งหลาย มันก็แตกดับไป ไม่มีอะไรคงทน ถาวรอะไร ให้รู้อย่างนี้ อันนี้สภาพจิตใจของเรานี่ มีสภาพอย่างไร มีอะไรเป็นเจ้าเรือน เป็นเจ้าเรือนหมายความว่า ทำบ่อยๆ เกิดบ่อยๆ เช่นมีความโกรธเป็นเจ้าเรือน ก็หมายความว่า เป็นคนใจร้อน ขี้โกรธ กระทบนิด กระทบหน่อย โกรธ นี่เขาเรียกว่า มีความโกรธเป็นเจ้าเรือน มีความริษยาเป็นเจ้าเรือน ไม่เห็นดีเห็นงามกับใครทั้งนั้น มีแต่เรื่องจะริษยาเขา คิดจะทำลายเขา มีโมหะเป็นเจ้าเรือน คือเป็นคนเชื่อง่ายเชื่อดาย ไม่ใช่ปัญญา ไม่พิจารณาด้วยเหตุด้วยผลอะไรทั้งนั้น ใครบอกว่า กระต่าย ๓ ขา ก็เชื่อ นี่เชื่อง่ายเกินไป อย่างนี้เขาเรียกว่า มีโมหะ เป็นเจ้าเรือน เป็นผู้นำในชีวิต มันก็ใช้ไม่ได้ ถ้ามีอย่างนั้น มันก็ไม่ไหว เราต้องทำลายสิ่งนั้น ไม่ให้เกิดอยู่ในใจของเรา แล้วก็ปรับปรุงใหม่ ให้มีปัญญา ให้มีสติ ให้มีความเชื่อ ถูกต้อง ความคิดถูกต้อง การกระทำที่ถูกต้อง ในชีวิตประจำวัน แล้วก็ยังต้องคอยสังเกตุต่อไป ว่ามีอะไรหลงเหลืออยู่ในชีวิต ของเราบ้าง สิ่งใดที่มันเคยทำร้ายเรา มันยังมีหลงเหลืออยู่ในตัวเราบ้างหรือไม่ อย่าให้มันเหลืออยู่ แม้แต่ สักนิดเดียว ถ้ามีเหลืออยู่สักนิดเดียวมันก็เจริญได้ ยาพิษนิดเดียวมันก็ทำลายชีวิตคนได้ ความชั่วแม้นิดเดียวมันก็ค่อยเจริญขึ้นในจิตใจ ของเรา ในที่สุดมันก็ทำลายเราให้มีความผิดเสียหาย เราจึงไม่ยอมให้สิ่งนั้นอยู่ อันนี้ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติ คือต้องคอยสังเกตุ กำหนด จดจำ ดูแลตัวเราอยู่ตลอดเวลา คอยจับว่ามันบกพร่องอะไร เรามีความผิดในเรื่องอะไร คอยแก้ คอยไข ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดไป จนกว่าเราจะภูมิใจตัวเองว่า เรียบร้อย ไม่มีอะไรมาทำให้จิตใจเราหวั่นไหว โยกโคลง กับอารมณ์อะไร อะไร อีกต่อไป อันนี้ก็ช่วยให้สภาพจิตของเราดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น มีความสบายมากขึ้น นี่เรียกว่ารู้โลกคือร่างกายและจิตใจ เป็นการรู้ที่ถูกต้อง ส่วนเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติดินฟ้า อากาศ เราก็รู้ ว่า อุตุเขาบอกอยู่ เราก็ว่า จะมีฝนตก จะมีฟ้าร้อง จะไปไหน จะทำอะไรก็ระมัดระวัง เหมือนชาวเรือ จะออกเรือเนี้ย ถ้าเขาบอกว่า คลื่นลมแรง ชาวเรือต้องระมัดระวัง อ้าวจะดันไปทำไม นอนสะดีกว่า อยู่บ้านเสีย แต่ถ้าเขาไม่บอกอย่างนั้น คลื่นลมปกติ ทะเลเรียบ อ่ะ ไปได้ อย่างนี้เป็นตัวอย่าง ในชีวิตเราก็เหมือนกัน มีเหตุการ์ณอะไรเกิดขึ้น ควรไปดูไม่ควรไปดู เช่นเขาแสดงปฏิวัติแบบมีเกกัน อ้าวเราจะไปดูทำไม อยู่บ้านดีกว่า ไปเดินๆ เผลอๆโป้งเข้าให้ อ้าวก็ได้ไปวัดกันสะแล้วนี่ ไม่ใช่ว่ามาฟังเทศน์น่ะ ไปนอนในหีบใบน้อย จะไปดูเขาทำไม ไอ้อย่างนั้น ไม่ต้องไปดูแต่คนมันชอบดู ชอบร้อง เขาเรียกว่า ไทยมุง ไทยมุงนี่ใช้ไม่ได้ ไปยุ่ง มีอะไรก็ต้องไปยุ่ง แทรกเข้าไป แทรกเช้าไป จะไปดูให้ถึงหน่อย เดี๊ยวก็ได้เรื่องนั้นเอง
อันนี้ก็ไม่จำเป็น อยู่กับบ้าน ถ้าเห็นว่ามีอะไรยุ่งก็อ่ะ ปล่อยเขา ให้เขายุ่งกันไปตามเรื่อง เราอย่าไปร่วมยุ่งกับเขา อย่าไปหุ้นกับเขาในเรื่องยุ่ง อยู่ให้สบาย เดี๊ยวนี้มีวิทยุ เปิดฟังได้ ไม่ต้องไป ข่าวมาก็เปิดแต่เช้า ฟัง ๒ สถานี อ้าว นีกในใจ จะกวดเพลงกันแล้ว ไม่รู้ฝ่ายในจะชนะ ไอ้ ๒ เพลงนี้ นี่ก็เปิด นั่นก็เปิด สู้กันไป สู้กันมา พอเห็นหน้านายอาคม นายอุทาน ก็อ้าว เสร็จแล้ว ฝ่ายนี้มันต้องชนะเด็ดขาด ถ้า ๒ คนนี้ออกมา แล้วก็จบเรื่องกันแล้วนี่ เรามานั่งฟังอยู่ที่วัด มันก็ได้เหมือนกัน ไม่ต้องไปเดินให้เขายิงพุงเล่น มันได้เรื่องอะไร ไอ้คนที่ไปตาย ยังจะไปฟ้องเรียกค่าเสียหายเขาอีก ไปฟ้องอะไร เขาเชิญให้เราไปเมื่อไร ถ้าเขาเชิญให้เราไปดู ก็จะไปฟ้องได้ อันนี้เขาไม่ได้เชิญ เรามันเป็นเสือ ก เข้าไปเอง ไปข้องอะไรเขาเอง ไม่ได้อะไร เราไปเที่ยวหาเรื่องเอง มันจะไปฟ้องอะไร แต่ว่าคนมันอยากดัง อยากดังว่าฉันฟ้องได้ ฟ้องน่ะ มันฟ้องได้ แต่ว่าเขาจะคิดว่ายังไง มันอีกเรื่องหนึ่ง มันไม่จำเป็นอะไรที่จะต้องทำอย่างนั้น เราสงบๆสะดีกว่า จะออกจากบ้าน ก็ถามไปไหน ไปทำไม ไปเรื่องอะไร ไปแล้วมันจะได้อะไร เอ๊ะ ไม่ได้เรื่องแล้วจะไปทำไม อยู่บ้านดีกว่า อย่างนี้ไม่ควรไป แต่ถ้าวันอาทิตย์เช้านี่ จะไปไหน ไปวัดชลประธาน รังสิต หน่อย เออไปเถอะ ไปเถอะ ไอ้นี่ดี ไปฟังเทศน์ มันได้ปัญญา เราก็ต้องมา ขับรถมา ฝนไม่ตกฟ้าไม่ร้องก็มา ตามสบาย แต่ถ้าวันไหนนํ้าท่วมฝนตกโยมไม่ต้องมาก็ได้ ถ้ามาก็จะได้พักไม่ต้องเทศน์ อ่ามันเป็นอย่างนี้ เรามันต้องรู้กาละเทศะ อะไรควรไม่ควร อาตมาก็พูดสมควรแก่เวลา ขอจบแต่เพียงเท่านี้ ต่อนี้ไปก็เชิญญาติโยม สงบใจ นั่งสงบใจ กำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นเวลา ๕ นาที อ้าวเชิญได้