แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ญาติโยม พุทธบริษัททั้งหลาย ณ บัดนี้ ถึงเวลาของการฟังปาฐกถาแล้ว ขอให้ทุกคนนั่ง ณ ที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งสามารถจะได้ยินเสียงชัดเจน แล้วจงตั้งอกตั้งใจฟังให้ดี อย่าเดินไปเดินมาให้วุ่นวาย เป็นเวลานั่งแล้ว นั่งพัก ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วตั้งใจฟังเพื่อให้เกิดประโยชน์จากการฟังตามสมควรแก่เวลา
วันนี้เป็นวันอาทิตย์แรกของฤดูการเข้าพรรษา พระสงฆ์ได้อธิษฐานอยู่จำพรรษา เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันแรมค่ำ ๑ เดือน ๘ หลัง ปีนี้มัน ๘ สองหน เลยเรียกว่าเดือน ๘ หลัง พวกเราที่เป็นญาติโยม พุทธบริษัทก็มาทำบุญกันในวัน ๑๕ ค่ำ และวันแรมค่ำหนึ่ง วันแรมค่ำ ๑ ปีนี้ คนมามากกว่าปีก่อน แล้วธรรมชาติช่วย คือวันเพ็ญนี่ฝนตกกำลังแสดงปาฐกถา แต่ว่าวันแรมค่ำ ๑ นี่ฝนไม่ตก ญาติโยมก็นั่งตามใต้ร่มไม้ สนามหญ้า สะดวกสบาย ร่าเริง ได้บุญได้กุศลถ้วนหน้ากัน และวันนี้ก็เป็นวันอาทิตย์แรก ก็ใคร่ที่จะทำความเข้าใจในเรื่องบางอย่างที่เราควรจะรู้ ควรจะเข้าใจ เอาเรื่องเบื้องต้นกันไปเป็นลำดับ ก็ตั้งใจว่าจะพูดไปตามลำดับในฤดูกาลเข้าพรรษา เพื่อจะได้เป็นหนังสือ เป็นตำรับตำราสำหรับผู้ที่จะเอาไปอ่านไปศึกษาต่อไป จะได้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรถูกต้อง
. เบื้องต้นนี่ก็จะพูดถึงเรื่องการบูชาพระรัตนตรัย อันเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรจะเข้าใจให้มันชัดเจน แจ่มแจ้ง การบูชาก็คือ การกราบไหว้ การสักการะด้วยดอกไม้ ด้วยธูป ด้วยเทียน ที่เราทำๆ กันอยู่ทั่วๆ ไป เรียกว่าบูชาด้วยวัตถุ บูชาอีกอย่างหนึ่งนั้น ยิ่งกว่าวัตถุ ก็คือการบูชาด้วยการปฏิบัติกาย วาจา ใจของเราให้ถูกตรง ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่าการปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการะนั้น เป็นการบูชาที่ทำให้เราสบายใจ ให้เราทุกคนสบายใจ ตัวอย่างเช่นว่า มีโต๊ะบูชาอย่างนี้ มีพระพุทธรูป และก็เราวางดอกไม้ เครื่องสักการะไหว้ เรามาเห็น เราก็สบายใจ ถ้าไม่มีดอกไม้ เครื่องสักการะ หรือว่าโต๊ะบูชามีแต่ขี้ฝุ่น สกปรก เราก็ไม่สบายใจ ดูแล้วมันไม่ชื่นใจ ใจเศร้าหมอง เพราะขี้ฝุ่นที่มาเปื้อนพระ เปื้อนโต๊ะบูชา เพราะฉะนั้นจะต้องเช็ดถูให้สะอาด ให้เรียบร้อย ให้เราสบายใจ ดอกไม้ก็เอามาบูชาตามสมควร ไม่ต้องมากมายเกินไป เอาแต่พอดีพองาม บูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการะ
สิ่งที่เอามาบูชานี้มันก็มีความหมายแตกต่างกัน คือว่าเทียน ๒ เล่มนี่ ธูป ๓ ก้านนี่ เราบูชาแตกต่างกัน คือธูปนี่จุดบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า พระคุณของพระพุทธเจ้าสำคัญยิ่งสามประการ คือ กรุณา ปัญญา สุทธิ กรุณาก็คือความสงสารชาวโลก ปัญญาก็คือความรู้ ความเข้าใจในทางดับทุกข์ และเหตุให้เกิดทุกข์ สุทธิก็หมายถึงความบริสุทธิ์ในน้ำพระทัยของพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องสำคัญ ๓ อย่าง เราก็จุดธูปบูชาสักการะสิ่งทั้ง ๓ ประการนั้น ธูปแค่ ๓ ก้าน แต่บางคนก็ใช้เข้าไป ๕ ก้าน ถามว่าทำไมเอา ๕ บูชาพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์มันมากไปหน่อย พระพุทธเจ้าองค์เดียวที่เราบูชาสักการะไอ้ที่ ๕ องค์นั่นผ่านไปแล้ว ยังไม่มาถึง มันเป็นเรื่องเก่าไป เราเอาเฉพาะหน้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่นามว่าโคตมะ สิทธัตถะเนี่ย เราไหว้องค์นี้ จึงบูชาพระคุณ ๓ ประการ ด้วยธูป จุดธูปแล้วไฟมันก็เผาไหม้ เมื่อไฟไหม้ธูป เราก็ต้องศึกษาว่า อ่อ ธูปนี้เมื่อถูกไฟไหม้แล้วก็หมดไป หมดไป ชีวิตของเรานี้ก็ถูกไหม้เหมือนกัน ถูกไหม้ด้วยความแก่ ความเจ็บ ความไข้ อันเป็นเรื่องของธรรมชาติ เราก็ค่อยผ่านไป ผ่านไป วันหนึ่งเราก็จะเหลือแต่ก้าน คือกระดูก ธูปก็เหมือนกัน เมื่อไฟไหม้หนักเข้า หนักเข้าก็เหลือแต่ก้านธูป ก้านธูปนี่สมัยก่อนยังใช้ประโยชน์ได้ คนแก่มาวัดเก็บก้านธูปไปบ้าน ถามว่าโยมเอาไปทำอะไร เอาไปทำไม้กลัด ตัด (03.27) ห่อของใส่บาตรพรุ่งนี้ ยังเป็นประโยชน์ก้านธูป แต่ว่าคนเราตายแล้วเหลือแต่กระดูก ใครเอาไปไหนบ้าง ไม่ค่อยได้เรื่องอะไรใส่ที่บรรจุไว้ ก็อย่างนั้นแหละ ใส่โกฐิน้อย ๆ ไว้ก็เอามาให้พระพิจารณาเป็นครั้งคราว เรียกว่าบังสุกุล ก็ได้ประโยชน์ตรงนั้น นอกนั้นก็ไม่ได้เรื่องอะไร ต่างกันจากก้านธูปยังได้ประโยชน์กว่า
คนเรามันจะมีประโยชน์ก็เมื่อยังเป็น ก็ใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์ มีเงิน มีทอง ก็เรียกว่าใช้ให้เป็น หาเงินได้ใช้เงินเป็น เงินมันก็มีค่า หาได้ใช้ไม่เป็นมันก็ไม่มีค่า ได้แล้วก็มาเก็บฝังดิน มันก็ไม่มีค่าอะไร มันไม่ได้ประโยชน์ แต่เอาไปใช้ก็ต้องใช้ให้เป็น ให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ แก่พระศาสนา เรียกว่าใช้เงินเป็น เงินก็มีค่า เงินมีค่าอยู่ที่ปัญญาของผู้ใช้ ถ้าว่าเงินไม่มีค่า ก็เพราะคนใช้ไม่มีปัญญา ถ้าเราใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์เสียก่อนหมดลมหายใจ อย่างนี้ก็ได้กำไรจากสิ่งที่เราเห็น ควันธูปมันก็มีกลิ่นหอมบ้าง ตามยี่ห้อ มากน้อยตามสมควร แต่ถ้าธูปนี่จุดมากเกินไป มันก็ทำให้เพดานดำเหมือนกัน ให้เสียหาย ครั้งหนึ่งไปเทศน์พระแก้ว วัดพระแก้วครั้งแรก เค้าเอากระถางธูปไปวางไว้ในโบสถ์ อาตมาไปเห็นก็นึกว่า นี่เรากำลังทำลายศิลปะอันมีค่าที่บรรพบุรุษสร้างไว้ ก็เลยเทศน์ให้โยมเข้าใจว่า เอากระถางธูปมาวางในโบสถ์ และจุดกันมากเหลือเกินทำให้เพดานดำ เหมือนกับในครัวไฟ รูปภาพสวยๆ ลางเลือนหายไป และอีกอย่างหนึ่งก็ควันมันมาก เข้าจมูก เข้าปากพระนักเทศน์ ไปบ่อยๆ เหมือนกับโยมเอายาพิษมาเป่าพระอย่างนั้น มันเป็นโทษ ไม่ดี ไปบอกเจ้าหน้าที่ว่าให้ยกมาไว้หน้าโบสถ์ ใครอยากจุดธูปก็ไปจุดกันที่หน้าโบสถ์ เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้วในโบสถ์วัดพระแก้ว อาตมาไปแก้ให้ เขาจุดกันอย่างนั้นไม่รู้นานเท่าไหร่แล้ว พออาตมาไปพูดอะไร สั่งอะไรที่ไม่ถูกต้อง เอาธูปมาจุดมาก ทำลายศิลปะ วัตถุมีค่า รูปภาพดำไปหมด อะไรๆ ก็เสียไป ไปดูตามโบสถ์วัดจีน วัดเล่งเน่ยยี่ อะไรนั่น พระพุทธรูปก็ถูกรมด้วยควันธูป เปลี่ยนสีไปเยอะแยะ และสมัยนั้นก็สีทาไว้ดี ๆก็ดำเลือนไปหมด นี่ดูความเสียหาย ไม่ให้จุดมากเกินไป
ที่วัดนี้ก็ไม่ค่อยนิยมให้จุดธูป ให้จุดแต่เทียน เพราะธูปมันเป็นควัน เหมือนในโบสถ์นี่ เวลาพระไปทำกิจ สวดมนต์อะไร อาตมาไม่จุดธูป จุดแต่เทียน เทียนควันมันน้อย เพราะมันลุกเป็นเปลว ควันธูปที่ …… (09.39) กันไปนั้นมันมีกลิ่นหอม ก็เป็นบทเรียนว่าความหอมของธูปนั้นมันหอมนิดหน่อย หอมไม่ไกล ไม่นาน สิ่งใดหอมกว่าธูป กลิ่นหอมของศีล สมาธิ ปัญญาที่เราประพฤติ ปฏิบัติเนี่ย มันหอมไกล หอมนาน หอมทน เช่น เป็นผู้มีศีล ประพฤติดี ประพฤติชอบนี่มันหอม ดังไปไกล ใคร ๆก็อยากพบหน้า อยากเข้าใกล้ อยากฟังเสียง กลิ่นนั้นมันสำคัญกว่า และเราแต่ละคนนี่ต้องพิจารณาตัวเองว่าเรามีกลิ่นอะไรบ้าง กลิ่นหอมหรือว่ากลิ่นไม่ค่อยจะดี ถ้าเรามีความชั่วอยู่ในตัว เขาเรียกว่ากลิ่นไม่ดี ถ้าเราไม่มีความชั่ว ก็เรียกว่าเรามีกลิ่นดี เราจึงควรจะได้เอากลิ่นหอมของธูปเป็นเครื่องเตือนใจ ทำตัวเราให้มีกลิ่นดีขึ้น อบรมให้มีกลิ่นดีขึ้น อบรมด้วยการปฏิบัติธรรม ด้วยการรักษาศีล ด้วยการเจริญสมาธิ ด้วยการศึกษาให้เกิดปัญญา ให้รู้จักสิ่งทั้งหลายตามสภาพที่เป็นจริง เราก็มีกลิ่นดีขึ้น นั่งใกล้ใครเขาก็ไม่รังเกียจ เพราะว่าเป็นผู้มีศีล มีธรรมประจำจิตใจ อันนี้ก็เป็นบทเรียนได้ จากควันธูปที่เราเห็น
ทีนี้เทียน ๒ เล่มนั้นเราจุดบูชาคุณของพระธรรม พระธรรมในพระพุทธศาสนานั้นมี ๒ อย่างเรียกว่าธรรมพระวินัย พระพุทธเจ้าตรัสว่า …… (11.27) เอ๋ยธรรมวินัยอันใดที่เราได้สอนแล้ว บอกแล้ว บัญญัติไว้แล้วแด่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั่นแหละจะเป็นศาสดาแทนเราต่อไป คำสอนของพระผู้มีพระภาค ก็คือตัวธรรมะ กับตัววินัย ธรรมะเป็นคำสอนทั่ว ๆ ไป เป็นหลักปฏิบัติขัดเกลาจิตใจให้สะอาด ปราศจากสิ่งเศร้าหมอง เป็นเหมือนแผนที่บอกทางให้เราเดินไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็นคำสอนที่มีอยู่ในคัมภีร์ …… (12.08) หรือ …… (12.10) เป็นหลักคำสอนทั้งนั้น เป็นสิ่งประเสริฐสำหรับชีวิต พระผู้มีพระภาคไปสอนในที่ต่างๆ สอนใคร เขาก็จำกันไว้ ผู้ที่จำคำสอนของพระพุทธเจ้ามากที่สุดคือพระอานนท์ พระอานนท์นี่เป็นพระเถระที่สำคัญมากในพระพุทธศาสนา เพราะว่าท่านอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค ความจริงพูดกันโดยสายโลหิตก็เป็นน้องนั่นเอง คือบิดาของพระอานนท์เป็นพระเจ้าอาของพระพุทธเจ้า น้องพระเจ้าสุทโธทนะ อานนท์ก็เรียกว่าเป็นน้อง ออกบวชพร้อมกันหลายคน พวกศากยะทั้งนั้น บวชแล้วท่านก็ปฏิบัติธรรมได้เพียงขั้นโสดาบัน และมาเป็นอุปฐากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่มาเป็นเอง พระท่านเลือก เลือกว่าพระอานนท์ เหมาะที่จะเป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้า พูดในสมัยนี้ เขาเรียกว่าเป็นเลขาพระพุทธเจ้าก็ได้ อยู่ใกล้ชิดรองลงไป ไปไหนไปด้วย แต่พระอานนท์นี่ท่านฉลาดมาก เวลาพระสงฆ์เลือกให้ท่านเป็นผู้อุปฐากพระผู้มีพระภาค ท่านขอพรหลายข้อ เช่นขอพรว่า อย่าประทานจีวรอันประณีตให้แก่ข้าพระองค์ อย่าประทานอาหารประณีตให้แก่ข้าพระองค์ อย่าพาข้าพระองค์ไปในกิจนิมนต์ที่สำคัญ ๆ ท่านขออย่างนั้นเพื่ออะไร กันคำครหา ว่าพระอานนท์ไปอุปฐากพระผู้มีพระภาคก็เพื่อจีวร เพื่ออาหาร เพื่อกิจนิมนต์ ท่านกันไว้ซะ สร้างรั้วกันตัวเองไว้ไม่ให้เกิดความเสียหายจากเรื่องลาภสักการะ เพราะท่านไปปฏิบัติไม่ใช่เพื่อลาภ เพื่อสักการะ แต่เพื่อความสะดวกสบายของพระผู้มีพระภาค และก็ขออีกหลายเรื่อง เช่นขอว่า เมื่อพระองค์ไปเทศนาที่ไหน ข้าพระองค์ไม่ได้นั่งฟังอยู่ด้วย กลับมาต้องเล่าให้ฟังว่าไปเทศน์เรื่องอะไร อันนี้สำคัญมาก สำคัญที่สุด เพราะว่าเมื่อไปเทศน์แล้วก็ต้องมาเล่าให้ฟังไว้ พระอานนท์ก็จำไว้ได้ พระอานนท์ก็เป็นเหมือนตู้ใส่คำสอนของพระผู้มีพระภาค
เพราะฉะนั้นเวลาที่พระองค์เสด็จนิพพานไปแล้ว เขาทำการสังคายนาเรียบเรียงร้อยกรอง พระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ เขาจึงเลือกพระอานนท์นั่นแหละให้เป็นผู้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องพระสุตตันตะ (15.16) แต่ว่าพระอานนท์นี่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ถ้าผู้ที่เข้าร่วมสังคายนาเป็นพระอรหันต์ล้วนจำนวน ๕๐๐ รูป แต่ถ้าไม่เอาพระอานนท์เข้าไปมันก็ไม่ได้ เพราะว่าตู้พระไตรปิฏกอยู่ที่นั่น ก็เลยบอกว่าให้ไปฝึกเรื่องความเพียรภาวนาให้บรรลุพระอรหันต์ทันวันสังคายนา พระอานน์ก็ไปทำอย่างจริงจัง ทำกันใหญ่ จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้เข้าร่วมในการสังคายนาในเรื่องพระสุตตันตะ (15.58) ส่วนเรื่องพระวินัยนั้นเป็นเรื่องของพระอุบาลี พระอุบาลีนี่ก็บวชพร้อมกับพระอานนท์นั่นแหละ แต่ว่าเวลาบวชนี่ให้บวชก่อน เพราะอะไร พวกศากยะทั้งหลายคิดว่า อุบาลีนี่เป็นผู้รับใช้พวกเรา เมื่อเป็นคฤหัสน์นี่เป็นผู้รับใช้พวกเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าจะบวชก็ให้เขาบวชก่อน พวกเราจะได้เคารพเขาบ้าง เป็นความคิดที่ใจกว้าง ให้คนใช้เดินหน้าบวชก่อน จะได้เคารพนับถือกัน ถ้าให้บวชทีหลังก็อยู่ในฐานะตามหลังอีก อยู่บ้านตามหลังแล้ว มาอยู่วัดยังตามหลังต่อไปรับใช้ต่อไป พวกศากยะก็คิดถูก ให้บวชก่อน พระอุบาลีจึงเป็นผู้มีอาวุโสสูงกว่าพระอานนท์ สูงกว่าพระอนุรุททะ และพระ …… (17:05) หลายองค์ที่เป็นพวกศากยะ เมื่อบวชมาแล้ว ท่านเป็นผู้ทรงจำเรื่องวินัยมาก มีปัญหาเรื่องวินัยบางครั้ง พระผู้มีพระภาคก็สั่งพระอุบาลีว่าไปแก้ไข ท่านก็จัดการเรียบร้อย ไม่มีปัญหา เช่น พระมหา …… (17.27) เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งเหมือนกัน มารดาท่านนี่เป็นภิกษุณี และก็เกิดท่านออกมา และทีนี้ก็เกิดปัญหาว่าภิกษุณีมีลูกได้อย่างไร ชาวบ้านก็ซุบซิบนินทากันเป็นการใหญ่ พระผู้มีพระภาคว่าอุบาลีไปจัดการเรื่องนี้ พระอุบาลีท่านก็ไปสืบสวน สอบสวนเรื่อง คือว่านางนี่มีท้องก่อนบวช ตั้งท้องก่อนบวช ทีนี้คำนวณว่าเวลาที่อยู่ในท้องอะไรต่ออะไร ท่านก็บอกว่า ถ้าความจริงพระผู้มีพระภาคทรงทราบดีแล้ว แต่ว่าเพื่อให้เป็นหลักฐานการสอบสวนก็เลยให้พระอุบาลีทำการสอบสวนเรื่องนี้ ท่านก็สอบสวนละเอียด เสนอพระผู้มีพระภาคว่านางภิกษุณีมารดาท่าน …… (18.28) นี้มีท้องมาก่อนบวช เลิกจากสามีแล้วก็มาบวช เลยมีท้องติดมา เลยมาปรากฏท้องขึ้นเมื่อเป็นภิกษุณี เกิดลูกมาก็คือ …… (18.37) ลูกก็บวชเหมือนกันเป็นพระอรหันต์ที่มีชื่อเสียงเหมือนกัน พระอุบาลีท่านไปจัดการอย่างนี้ เพราะมีความรู้ เชี่ยวชาญในเรื่องพระวินัย เวลาทำสังคายนา ก็เลือกเอาพระอุบาลีเป็นผู้เล่าเรื่องเกี่ยวกับพระวินัยให้พระทั้งหลายฟัง ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ นี้มีแต่ธรรมพระวินัย ไม่มีอภิธรรม แสดงว่าอภิธรรมนี่เกิดทีหลัง เกิดหลังพุทธปรินิพพานหลายร้อยปี ครั้งแรกมีแต่ธรรมวินัย เวลาพระท่านพูด ท่านก็พูดว่าเราจะมาพร้อมใจกันสังคายนาธรรมวินัย แต่ไม่มีคำว่าอภิธรรม ไม่มีคำว่าพระไตรปิฏกในสมัยนั้น แต่มีคำนี้เพิ่มขึ้นทีหลัง แต่ถ้าพูดอย่างนี้ นักอภิธรรมฟังแล้วเขาโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง นักอภิธรรมนี่ใจน้อย ขี้โกรธ พูดกระทบนิดก็ไม่ได้ โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงไปเลยทีเดียว ยิ่งเรียนก็ยิ่งมีอุปาทาน ยิ่งเรียนก็ยิ่งยึดถือมาก ไม่ได้เรียนเพื่อถูกเกลา เรียนเพื่อพอกพูนความยึดมั่น ถือมั่นในคัมภีร์มากขึ้น จึงมักจะมีปัญหากันบ่อยๆ ในเรื่องนี้ อันนี้เอามาเล่าให้ฟังว่าการ …… (20.13) นี้สำคัญอย่างไร
พระผู้มีพระภาคตรัสกับพระอานนท์ว่า ธรรมวินัยเป็นสิ่งแทนพระองค์เมื่อพระองค์นิพพานไปแล้ว วินัยก็คือระเบียบของพระ ทำไมจึงได้มีวินัยขึ้น คนอยู่กันมาก ๆ ถ้าไม่มีระเบียบมันก็ยุ่ง เมื่อก่อนนี้พระน้อย พระพุทธเจ้ากับสาวก ๕ องค์เนี่ยจึงไม่มีวินัย ไม่บัญญัติอะไรก็เรียบร้อยกัน แต่ว่าพอมีคนบวชมามากๆ องค์นั้นทำเรื่องนั้น องค์นั้นทำเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าก็บัญญัติพระวินัย พระองค์ตรัสว่าตถาคตจะไม่บัญญัติพระวินัยเมื่อยังไม่มีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงบัญญัติพระวินัยขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเสียหายขึ้นในหมู่สงฆ์ต่อไป พระวินัยก็เกิดมากขึ้น ที่เราเรียกว่าพระวินัยของพระ ศีล ๒๒๗ ศีล ๒๒๗ นี่ก็คือตัวพระวินัยนั่นเองเป็นเรื่องที่ผู้อยู่ในหมู่ต้องปฏิบัติตามระเบียบนั้น เพื่อจะให้อยู่เหมือนกัน เขาเรียกว่าศีลรักษามัญตา (21.22) มีความเสมอกันด้วยศีล …… มัญตา (21.27) อยู่เสมอกันด้วยความคิด ความเห็น เห็นตรงกันไม่เถียงกัน ไม่ขัดคอกัน อยู่ร่วมกันเป็นสุข คนเราถ้าเห็นไม่ตรงกัน ก็เถียงกันทุกวัน สามีภรรยาเวลากินข้าวก็เถียงกัน เพราะความเห็นไม่ตรงกัน เถียงกันบ่อยๆ เกิดอารมณ์ไม่ดีเลยหย่ากันไป มันเป็นอย่างนี้เรียกว่าความเห็นไม่ตรงกัน ไม่มีทิฐิฐามัญตา (21.57) อันนี้ไม่มีศีลรักษามัญตา (22.02) ระเบียบไม่เหมือนกัน คนหนึ่งทำอย่างหนึ่ง คนหนึ่งทำอย่างหนึ่งมันก็ยุ่ง คนหนึ่งจะกินข้าวกับช้อนส้อม คนหนึ่งถนัดเปิบ ก็ไปนั่งเปิบแข่งกับคนกินช้อนส้อม มันขวางหูขวางตากันไม่ค่อยเรียบร้อย มันก็ยุ่ง คนยิ่งมากมันต้องมีวินัย ชาติใหญ่ๆ ที่เขามีความเจริญนั้น เขามีวินัยในหมู่คน คนเขาเคร่งครัดตามวินัย เขาปฏิบัติตามระเบียบของสังคมจึงอยู่เรียบร้อย ไปต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอังกฤษนี่คนเขาเรียบร้อย เขาขับรถเรียบร้อย เดินเรียบร้อย ทำอะไรเรียบร้อย เขามีระเบียบมีวินัย เขาเคารพในสิทธิของกันและกัน เขาไม่ล่วงล้ำในสิทธิของใครๆ มันก็ดีอยู่กันด้วยความสุข แต่อย่าเข้าใจว่าไม่มีขโมยซะเลยนะ มันก็มีเหมือนกันแหละ ขโมยขึ้นบ้านนั้น ตัดช่องบ้านนี้ อะไรมันก็มีเหมือนกัน มีมีบ้าง แต่ไม่รุนแรง บางทีก็รุนแรงเหมือนกัน แต่ว่าตำรวจเขาเก่ง เอาจับมาได้ ลงโทษกันไปตามเรื่อง นี่เรื่องวินัยมันเป็นประโยชน์ เหมือนเรามาวัดก็ต้องมีวินัย ญาติโยมมาวัดก็ต้องถือวินัย ถืออะไรบ้างเช่นว่าไม่ทิ้งขยะให้กลิ่น …… (23.38) ใส่ไปในถังที่เขาวางไว้ ทำอะไรก็อย่าให้สกปรกในบริเวณวัด เพราะเขากวาดไว้สะอาดเรียบร้อย เราก็ต้องช่วยกันรักษาความสะอาด รับประทานอะไรแล้วอย่าเที่ยวทิ้งเปลือก ทิ้งถุงพลาสติกเพ่นพ่านให้หัดเอาไปทิ้งในกระถางให้เรียบร้อย เป็นเรียกว่ารักษาวินัย สนามหญ้า เขาตัดไว้เรียบๆ อย่าเอารถยนต์เข้าไปจอดในสนาม เพราะถ้ารถยนต์เข้าไปจอดในสนาม หน้าฝนสนามมันก็เป็นหลุมลึก เป็นรอย ต้องไปหาดินมาถมสนามมันไม่สวย เราต้องช่วยกันรักษาสนามหญ้า ช่วยกันรักษาต้นไม้ เอาเด็กเล็กๆมาก็ต้องอย่าให้เที่ยวไปปีนป่ายบนต้นไม้ หักกิ่งหักก้าน เด็ดดอกไม้ ให้สอนลูกให้รู้จักรักษาของที่เป็นประโยชน์ส่วนรวม มีวินัยทั้งนั้นมีวินัย ที่เรานั่งฟังธรรมกันเรียบร้อยนี่เราเรียกว่าอยู่ในวินัย มีระเบียบแต่ถ้าหากว่ามีใครสักคนยืนแล้วก็ลุกขึ้นทำท่า พูดเสียงดังขึ้น มันก็ยุ่งแล้ว ทำให้ผู้ที่นั่งยุ่ง เพราะว่าขาดระเบียบวินัย
นี่คนเราอยู่กันสองคนนี่ต้องถือระเบียบแล้ว อยู่คนเดียวไม่เป็นไร อยู่คนเดียวในห้องจะทำอะไรก็ได้ จะนุ่งผ้าไม่นุ่งผ้าก็ไม่ว่าอะไร นอนท่าไหนเขาก็ไม่ว่า แต่ว่าพอออกมาข้างนอกห้อง มีคน ต้องเรียบร้อย ต้องนุ่งเรียบร้อย ห่มเรียบร้อย นั่งเรียบร้อย พูดจาเรียบร้อย มันเป็นระเบียบของคนดี มีวัฒนธรรมประจำจิตใจ สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องที่จำเป็น ถ้าเราดูพระวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้เพื่ออะไรหลายอย่าง เพื่อความเรียบร้อย เพื่อสุขภาพ เพื่ออนามัย มีมากมาย ยกตัวอย่างเรื่องอนามัยง่าย ๆ เช่นว่า ฉันอาหารแล้วต้องแปรงฟัน พระพุทธเจ้าบัญญัติมาตั้งแต่ ๒๕๐๐ ปี แต่ไม่ได้บอกว่าต้องแปรงด้วยคอลเกตหรือว่าอะไรก็แล้วแต่ เพราะสมัยนั้นมันไม่มียาถูฟัน แต่ว่าต้องแปรงฟัน และก็ไม้ที่แปรง ก็เป็นไม้ธรรมดาเอามาเคี้ยวและถูฟัน ชาวอินเดียใช้อย่างนั้น เวลาเข้าห้องน้ำนี่ ไม่ให้บ้วนน้ำที่ติดไม้สีฟันลงไปในทุ่ง บัญญัติถึงขนาดนั้น ถ่ายอุจจาระแล้วต้องล้าง ถ้าไม่มีน้ำให้ขอใช้วัตถุเช็ดได้ แต่ไปเจอน้ำที่ไหนให้ล้างที่นั่น บัญญัติอย่างนั้นเพื่ออะไร เพื่อสุขภาพอนามัย เพื่อไม่ให้เป็นโรคริดสีดวง คนที่มันเป็นเพราะเรื่องอย่างนี้ อุจจาระที่มันเที่ยวค้างอยู่เช็ดไม่เรียบร้อย มันก็เกิดอักเสบอะไรขึ้น ท่านจึงให้ล้าง ใช้น้ำ เราจึงใช้น้ำล้างอยู่ตลอดเวลาตามพระวินัย น้ำที่ดื่มต้องสะอาด อาหารก็ต้องสะอาด ไม่ให้กินของดอง ไม่ให้เป็นของดิบ ของดิบเขาไม่ให้ฉัน ต้องให้สุกด้วยไฟ เช่นว่าของดอง พวกหอยดอง กุ้งดองอะไรอย่างนี้ เอามาถวายพระไม่ได้ ต้องเอาไปต้มให้สุกซะก่อน แต่ว่าบางวัดทำง่ายๆ เช่น ของดองให้ลูกศิษย์เอาไม้ขีดไฟมาจ่อ เอามาจ่อลงไปในนั้น แล้วบอกว่า ตะติยังภัณเต แปลว่าฉันได้ นี่มันหลอก เชื้อโรคมันไม่ตาย เรากินตัวจี๊ดเข้าไป มันก็เป็นอันตราย เหมือนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ …… (27.38) จ่อกิน เอาไฟจ่ออย่างนั้น มันก็มีเชื้อโรคเข้าไป อันตรายแก่สมอง แก่ร่างกาย ไม่เป็นการถูกต้องตามพระวินัย หลายเรื่อง เรียบร้อย จะขบ จะฉันก็เรียบร้อย ไม่ให้ฉันเสียงดัง ไม่ให้ดังจุ๊บๆ จั๊บๆ ไม่ให้ซดน้ำแกงดังวูดๆ แต่คำบาลีว่าซุดๆ ไม่ให้มีเสียงดังซุดๆ เวลาเคี้ยวอาหารต้องปิดปากเคี้ยว เยอะแยะถ้าเราไปอ่านดู ละเอียด พระพุทธเจ้าบัญญัติพระวินัยไว้เพื่อให้พระสงฆ์ของพระองค์ไม่มีที่ติ เป็นผู้ดี นี่ถ้าเราไปดูว่าทำไมต้องบัญญัติอย่างนั้น ไปดูประเทศอินเดียมันรุ่มร่าม จะกิน จะอยู่มันรุ่มร่าม ทุกอย่างน่ะ ต้องบัญญัติให้มันเรียบร้อยขึ้น ให้โกนหนวดโกนเคราให้เรียบร้อย ให้ตัดเล็บมือ เล็บเท้าเรียบร้อย ไม่ให้ไว้ผมยาว ก็นักบวชอินเดียบางคนก็ไว้ผมเป็นกระเซิง เหมือน …… (28.41)ไว้ผมทรงอะไรก็ไม่รู้ คนไทยอุตส่าห์ไปไหว้อยู่ได้ แต่ว่าแขกเล่นกล ไม่ใช่เรื่องอะไร แล้วเราก็ได้ขี้เถ้ามาคนละกำ คนละกำ เวลากลับมา เขาเรียกว่าผงวิภูสิ (28.56) ไอ้ผงวิภูสิ (28.58) เนี่ย มันก็คือขี้ธูปนั่นเอง ใส่กระดาษห่อให้ แหมดีใจว่าไปได้ขี้เถ้ามาจากไสบาบา (29.05) มันจะเป็นคนวิเศษขึ้นมาได้อย่างไร ยิ่งโง่หนักลงไปอีกด้วยซ้ำไปถ้าไปเอามาอย่างนั้น นี่คือความไม่รู้ พระพุทธเจ้าท่าน แหมแต่งตัว (29.18) อย่างนั้น เรียบร้อย นั่งเรียบร้อย เดินเรียบร้อย ทุกอย่าง
คราวหนึ่งท่าน …… (29.25) คิดจะไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤต (29.28) สมัยนั้นพระยังน้อย ท่านสารีบุตรยังไม่ได้บวชในพระพุทธศาสนา เป็นปริพาชก เป็นนักบวชประเภทหนึ่งเหมือนกัน เดินมาเห็นเข้า อืม น่าดู น่าดู เจ้านี่น่าดู นุ่งห่มเรียบร้อย จะเดินไปข้างหน้า จะถอยมาข้างหลัง จะเลี้ยวขวา จะเลี้ยวซ้าย จะคู้แขน จะเหยียดแขน มันเรียบร้อยไปหมด ทำเป็นจังหวะ ทำด้วยสติ ไม่ใช่ทำด้วยความผลุนผลัน ท่านเห็นแล้ว โอ ไม่เหมือนนักบวชใดๆ ที่เราพบมาในประเทศ มาพบนี้ เดินตามไปหา สะกดรอย ตามไป ตามไปดู ประทับใจ ประทับใจเพราะอะไร เพราะท่านเรียบร้อย ทุกอย่างเรียบร้อย ก็ประทับใจ เดินตามไปห่าง ๆ ไม่รบกวน มีมรรยาท พอท่านได้อาหารพอสมควร ท่านก็ออกนอกเมือง ท่านก็ตามไป ไปถึงก็ปูอาสนะให้ ให้นั่ง หาน้ำมาถวาย นั่งดูเวลาฉันอาหาร ท่านก็ฉันเรียบร้อย น่าดู ไม่เหมือนกับนักบวชอื่น ๆ ไม่เหมือนคนอินเดียทั่วไป พระสารีบุตรประทับใจ แล้วก็พอฉันเสร็จ ก็ถามว่าพระคุณเจ้านี่ดูหน้าตาผ่องใส เรียบร้อยทุกอย่าง ชอบธรรมะของใคร เป็นลูกศิษย์ของใคร ท่าน …… (31.10) ก็บอกว่าเราชอบใจในธรรมะของพระสมณะโคดม (31.13) สัมมาสัมพุทธะ เราเป็นลูกศิษย์ของพระผู้นั้น แล้วพระสารีบุตรก็ถามว่าพระอาจารย์สอนเรื่องอะไร ท่านก็พูดถ่อมตัวว่าเรายังบวชไม่นาน ไม่สามารถจะพูดเรื่องลึกซึ้งให้ฟังได้ ท่านบอกว่าไม่ต้องเอามาก เอาแต่ข้อใหญ่ใจความที่เป็นหลักคำสอน คืออะไร ท่านก็กล่าวให้ฟังเป็นคาถาเดียว เรื่องหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เห็นชัด ท่านสารีบุตรฟังแล้วมันโพลงขึ้นในใจ เรียกว่าแสงสว่างปัญญามันเกิดขึ้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิด สิ่งนั้นต้องมีความดับไม่เคยรู้มาก่อน ไม่เคยทราบมาก่อน ทราบจากคำสอนของพระพุทธเจ้า เลยพอรู้เช่นนั้นก็พูดว่า พระผู้มีพระภาคอยู่ที่ไหน …… (32.10) ก็บอกว่าอยู่ที่เวรุวัฬ (32.12) ใกล้ๆ เมืองราชคฤ (32.14) เนี่ย อาจารย์ไปก่อนเถอะ ผมจะตามไปทีหลัง แหมเรียกอาจารย์แล้ว เลื่อมใสแล้ว ถึงธรรมะขั้นต้นแล้ว เพราะว่าจะมีสหายที่จะต้องบอกอีกคน เลยไปบอกพระโมคคัลลานะ (32.24) โมคคัลลานะก็รู้ธรรมทันทีเหมือนกัน เลยไปลาอาจารย์สญชัย (32.30) อาจารย์สญชัย (32.32) ทิฐิมากไม่ยอมไป บอกว่าเราอยู่นี่ เหมือนอยู่ในมหาสมุทร ถ้าไปอยู่กับพระสมณะโคตมโคดม ก็เหมือนกับจระเข้ไปอยู่ในโอ่งน้อย ๆ มันอึดอัด ไม่ได้แสดงเต็มที่ มันอึดอัด ไปเถอะ ฉันจะอยู่กับคนโง่ เพราะคนโง่มันมาก คนฉลาดมันน้อย เลยไม่ยอมไป ยอมโง่ต่อไป ท่านก็ไปกับบริวาร เลือกในพระพุทธศาสนา ที่ได้บวชนั่นเพราะอะไร เพราะมันยาก การนุ่งห่ม การประพฤติปฏิบัติที่เรียบร้อย น่าเลื่อมใสอันนี้มันสำคัญ เราเห็นพระที่เรียบร้อยนี่เราก็สนใจ นุ่งห่มเรียบร้อย นั่งเรียบร้อย เดินเรียบร้อย สงบๆ เนี่ยเราสนใจ อันนี้สำคัญ ท่านเป็นอย่างนั้น ท่านบัญญัติพระวินัยไว้ เพื่อความเรียบร้อยของหมู่ของคณะ
พระเราก็ต้องปฏิบัติตามพระวินัยที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ แต่ว่าพระวินัยบางอย่างสมัยปัจจุบันนี้ เช่นพระไปอยู่ต่างประเทศ อากาศไม่เหมือนบ้านเรา ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง เช่นไปอยู่ประเทศอังกฤษ หน้าหนาวนี่มันต้องเพิ่มบริขาร ต้องเพิ่มถุงเท้า ต้องเพิ่มรองเท้าที่หุ้มได้ หุ้มส้นได้ และก็ต้องเพิ่มหมวกสำหรับคลุมหัวเข้าไป แต่ไม่มีปีกนะ หมวกเหมือนเด็กใช้ ถักด้วยไหมพรม หรือด้วยอะไรสวมหัวไม่ให้มันเย็นเกินไป และก็ต้องมีอังสะข้างใน แต่ว่าปิดแต่ส่วนนี้ก็ไม่พอ ห่มจีวรแล้วเนื้อที่โปร่งมันมาก มันก็ยังหนาวเดี๋ยวจะเป็นโรคปอดบวม ก็ต้องเปลี่ยนทำให้เป็นคล้ายกับเสื้อมีแขน และมีอะไรใส่ไว้ในเสื้อดูเรียบร้อย กันหนาวได้ อันนี้มันต้องปรับให้เหมาะแก่ดินฟ้าอากาศ สัตว์เดรัจฉานที่อยู่เมืองร้อน ขนมันสั้น แต่ไปอยู่เมืองหนาวขนยาว แกะเมืองร้อนขนสั้น ตัดไม่ได้เท่าใด แต่เมืองหนาวมันยาว ก็ตัดขายกัน สัตว์เดรัจฉานยังปรับตัวเหมาะแก่ดินฟ้าอากาศ ถ้าเราต้องไปไม่รู้จักปรับตัว ก็เป็นปอดบวมตาย ไม่ต้องสอนธรรมะกันเท่านั้นเอง อันนี้มันต้องเป็นไปตามเรื่อง ตามดินฟ้าอากาศ เปลี่ยนบ้างไม่ถึงกับเสียหาย เพราะวินัยนั้นมันมีสองอย่าง เขาเรียกว่าวินัยที่เนื่องจากธรรมะต้องเคร่ง วินัยที่เนื่องจากธรรมเนียม ไม่ต้องเคร่งเท่าใด เนื่องจากธรรมเนียมนี่ไม่ต้องเคร่ง เช่น สวมรองเท้า พระพุทธเจ้าบัญญัติว่าภิกษุไม่ควรสวมรองเท้าเข้าบ้าน บ้าน เรือนนั่นแหละคือบ้าน เดินไปบนถนนนี่มันไม่ใช่บ้าน ทีนี้ถ้าเราถือตามตัวหนังสือก็ไม่สวมรองเท้าออกจากวัด ถนนลาดยางมันร้อน ถ้าพองไปเกิดเป็นปัญหาเจ็บเท้า เรื่องอะไรล่ะ เรามันถือตามตัวหนังสือมากเกินไป เคร่งไม่เข้าเรื่อง อย่างนั้นก็สวมไปได้ เมื่อจะเข้าบ้านก็ต้องถอดไว้หน้าบ้าน มันไม่ผิดพระวินัยอะไร อย่างนี้ทำได้ แต่ว่าเมื่อถือไปอย่างนั้นแล้วก็ถือดันไปเรื่อยไป จะเปลี่ยนมันก็ไม่ได้มันจะเสียหน้า ทิฐิมันมากไม่ใช่เรื่องอะไร แล้วก็เคร่งด้วยอำนาจกิเลสก็มีเหมือนกัน ไม่ใช่เคร่งด้วยความถูกต้อง อันนี้มันต้องรู้ว่าอะไรเป็นอะไร มันเปลี่ยนแปลงได้ คนอินเดียน่ะไม่ได้รังเกียจรองเท้า เขารังเกียจหนังวัว ถ้ารองเท้าหนังสัตว์นี่ไม่ได้ เข้าบ้านไม่ได้เป็นอัปมงคล เขาหุงข้าวอยู่กลางแจ้ง เราใส่รองเท้าหนังไปเดินรอบหม้อข้าวเขาเททิ้งเลย ถ้าอาหารสมบูรณ์นะ ถ้าอาหารขาดแคลนมันก็ไม่เท มันก็กินจนหมดนั่นแหละ เรียกว่าขืนกินของอัปมงคลอยู่นั่นแหละแต่มันไม่สบายใจ เคย อาตมาเคยพบเรื่องนี้ เขารังเกียจ แต่ถ้าเราสวมรองเท้าไม้ เกี๊ยะ เขาเรียกว่าจ๋าเกี๊ยะ (37.00) คือเกือกไม้เดิน …… (37.02) ขึ้นไปถึงแท่นบูชา มันก็ไม่ว่าอะไร แขกมันก็งั้นนะ ไปพักอยู่ที่เมืองนิวเดลี (37.08) ใกล้วัดใหญ่ของฮินดูนะ พอเราจะขึ้นไป มันบอกให้ถอดรองเท้ากองไว้ ก็ต้องถอดแหละ ธรรมเนียมเขาอย่างนั้น ตื่นเช้าไปยืนดู ไอ้นี่มันให้เราถอด แต่มันเดินสวมเกือกไม้ขึ้นไปจนถึงแท่นบูชา เดินโก้งๆ ไป ทำไมอย่างนั้น ทีนี้มาถามพระลังกาที่อยู่นานแล้ว บอกว่าไม่เป็นไรถ้าเราสวมรองเท้าไม้ นี่เข้าโบสถ์ไหนก็ได้ วัดไหนก็ได้ ขึ้นไปถึงแท่นก็ได้ เลยได้ปัญญาว่าเขาไม่ได้รังเกียจรองเท้า แต่เขารังเกียจหนังสัตว์ คือหนังวัว เพราะวัวนี่เป็นพาหนะพระอิศวร เอาหนังมาเที่ยวใช้อย่างนั้นไม่ได้ ใช้ที่อื่นได้ ใช้ที่วัดไม่ได้ เป็นอย่างนั้นอันนี้เป็นธรรมเนียม
พระพุทธเจ้าไม่อยากให้พระถูกติฉินนินทาในเมืองนั้น ก็เลยบัญญัติอย่างนั้น แต่มาบ้านอื่นเมืองอื่นมันก็ต้องเปลี่ยนไปตามภูมิประเทศเหตุการณ์ ไม่เป็นการหักล้างพระวินัยอะไร ขอให้เข้าใจอย่างนี้ ธรรมะกับวินัยเป็นสธุศาสตร์ (38.35) คือเป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เราจะต้องบูชาสักการะ ธรรมวินัยเป็นแสงสว่าง เราจึงจุดเทียนให้สว่าง เมื่อเทียนสว่างแล้ว เราจะต้องเตือนต่อตัวเราว่าต้องทำใจให้สว่างด้วยแสงธรรม เอาธรรมะมาไว้ที่ใจ ให้ใจสว่าง อย่าให้ใจมืด ด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง ความริษยา อาฆาต พยาบาทจองเวรอะไรต่างๆ ให้มันสว่าง ให้รู้เห็นอะไรตามสภาพที่เป็นจริงอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้เรียกว่าเรามีแสงธรรมส่องใจ แสงเทียนส่องตา แต่แสงธรรมส่องใจ เมื่อเราได้แสงเทียนส่องตาแล้ว เราต้องเอาแสงธรรมมาส่องใจ แสงธรรมจะส่องใจก็เพราะเราศึกษาธรรมะด้วยการฟัง ด้วยการอ่าน ด้วยการคิดการค้น ให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น จึงจะเป็นการถูกต้อง ให้เข้าใจอย่างนี้ ดอกไม้นี่เอามาบูชาพระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะดอกไม้เราเก็บมาจากที่สูง จากที่ต่ำที่นั่นที่นี่ เอามามัดเรียบร้อย จัดแจกันสวยงามเหมือนกับพระที่มาจากสกุลต่าง ๆ เมื่อมาบวชแล้วเท่าเทียมกัน พระพุทธเจ้าไม่ถือวรรณะไม่เหยียดผิว เดี๋ยวนี้ประเทศในแอฟริกาใต้กำลังยุ่งที่สุด เรื่องเหยียดผิวนี่ไม่ใช่เรื่องอะไร กีดกันผิวนี่ แล้วก็ประกาศภาวะฉุกเฉินประเทศต่าง ๆ ในโลกหลายประเทศคว่ำบาตรแอฟริกา เพราะว่าประเทศนี้เหยียดผิวแรง ในอเมริกาเขาก็รังเกียจคนผิวดำแต่ว่าไม่รุนแรง เวลานี้ไม่เหมือนเมื่อก่อน ยังอยู่ในบางรัฐ นักเรียนผิวดำไปเรียนร่วมกับผิวขาวไม่ได้ ให้เรียนต่างหาก คนเรามันไม่ได้ชั่วที่ผิว และก็ไม่ได้ได้ดีที่ผิว ไม่ใช่ผิวขาวแล้วมันจะวิเศษขึ้นมา ไม่ใช่ว่าผิวดำแล้วมันจะไม่ได้เรื่อง คนผิวดำเป็นเศรษฐีก็มีเหมือนกัน ที่เมืองชิคาโกเขาพาไปดูบ้าน บ้านเศรษฐีนิโกร บ้านใหญ่มีภรรยาเป็นผิวขาวซะด้วยนะ แล้วก็เป็นที่ปรึกษาของธนาคารใหญ่ที่มีชื่อเสียงในเมืองนั้น เมื่อก่อนแกทำงานอะไร เมื่อก่อนแกกวาดขยะ ขนขยะ ทำงานทำความสะอาดบ้านเมืองนี้ แล้วแกก็เฝ้าหน้า จนเป็นเศรษฐีได้ และเวลานี้มีเกียรติเป็นที่ปรึกษาของธนาคารใหญ่ มีชื่อในเมืองชิคาโกบ้านใหญ่โต เขาเรียกว่าแมนชั่น เป็นวิมานแล้ว วิมานของคนผิวดำ ไปไหนก็นั่งรถคาดิแลค (41.33) คันใหญ่ มีคนฝรั่งขับรถให้ด้วยนะ แกต้องเอาฝรั่งขับของแก ขับไปไหนๆ เข้าไปในห้างไหนคนงานในห้างต้องโค้ง ไม่เหยียดผิวแล้ว สตางค์แกเยอะ แล้วก็หายไป
พระพุทธเจ้าของเราบอกไม่ถือเรื่องอย่างนี้ ใครมาบวชแล้วถือว่าเท่าเทียมกัน มีศีลเสมอกัน มีความเห็นเสมอกัน อยู่กันด้วยกันได้ ไม่เหยียดไม่หยามอะไร หลักการของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้น ต่อให้พระสงฆ์แม้จะมาจากที่ต่างชั้น ก็อยู่ร่วมกัน อยู่ร่วมกันด้วยวินัย วินัยเหมือนเชือกที่ร้อยดอกไม้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พวงมาลัยถ้าไม่มีเชือกร้อยมันดอกไม้มันก็กระจายหมด แต่มีเชือกร้อยแล้วพวงมาลัยสวยงาม มีอะไรเป็นระเบียบ คนไทยทำเก่ง พวงมาลัยเอาคล้องคอไป ทำสวยก็สวยเพราะมีด้ายร้อย ดอกไม้จะสวยงามก็เพราะเราจัดมัน ดูดอกบานไม่รู้โรยมาจัดเป็นพุ่มสวยงาม ฝรั่งจัดไม่เป็นหรอก อย่างนี้คนไทยเท่านั้นทำเก่ง อินเดียก็ทำไม่เป็น แขกลังกาก็ทำไม่เป็น แขกลังกาเอาดอกไม้ไปบูชาไปโรยๆ ไว้บนแท่นหิน เอาไปโรยไว้อย่างนั้นเอง โรยไว้อย่างนั้นเอง จัดไม่เป็น คนไทยนี่มีศิลปะในการจัดดอกไม้ให้เป็นรูปเป็นร่างต่างๆ สวยๆงามๆ เขามีงานบุปผชาติแล้วอวดฝีมือกัน ดอกไม้เป็นศิลปะ การทำได้อย่างนั้นมันสวยงาม พระสงฆ์เราอยู่ได้ด้วยพระวินัย เป็นเครื่องร้อยรัด เหมือนกับดอกไม้ แต่ดอกไม้เปรียบด้วยพระสงฆ์ ถ้าเอาดอกไม้มาบูชาพระก็ต้องพิจารณาว่าดอกไม้นี่สวยเพราะแสงสว่าง เราเห็นสีดอกไม้เพราะแสงสว่าง ถ้าดอกไม้อยู่ในความมืด มันไม่มีสีอะไร ตาเราก็ไม่เห็นสีดอกไม้ในความมืด พอมีแสงปุ๊บ มันก็มีสีสวยงามขึ้นมา แต่ว่าถึงจะสวยจะงามสักเท่าใด มันก็เหี่ยวแห้ง ร่วงโรย ผลที่สุดก็หล่นไปกองอยู่ที่พื้น ก็กวาดไปทิ้ง เห็นความเป็นอนิจจังของดอกไม้ แล้วก็นึกถึงตัวเราเองว่าเรานี่ก็เหมือนดอกไม้ เมื่อเด็กๆก็สดชื่น ร่าเริง ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักร้อน จะร้องไห้เมื่อไม่ได้ดังใจเท่านั้น พอได้แล้วก็ยิ้มได้ทันที โกรธใครก็ไม่รู้จักเก็บความโกรธ โกรธเดี๋ยวเดียว ฉันไม่ยุ่งกับเธอแล้ว หันหลังให้ ประเดี๋ยวเดียวหันมายิ้ม เล่นกันต่อไป เด็กมันดี ผู้ใหญ่เราก็เป็นเด็กเสียมั่งก็ดี คือไม่โกรธนานๆ ไม่เกลียดกันนานๆ มีอะไรเกิดขึ้นก็รู้จักให้อภัยกัน ไม่ถือโทษโกรธต่อกัน มันดีนะโยมลองคิดดู นี่บางคนโกรธกูตายมึงอย่ามาเผาผีนะ แล้วถ้าเขามาเผาจะลุกขึ้นไปเตะเขาได้อย่างไร ก็นอนอยู่ในหีบไม้เล็ก จะไปเตะเขาได้อย่างไร นี่เขาเรียกว่าผูกโกรธเกินไป เก็บความโกรธไว้ทำไม เก็บความโกรธไว้ในใจก็เหมือนเก็บตัวตัวอสรพิษไว้ในใจ ว่างๆโกรธเสียที ว่างๆโกรธเสียทีนี่มันเรื่องอะไร เราควรจะอยู่สงบใจ รู้จักให้อภัยกัน มีอะไรเกิดขึ้น ก็ให้อภัยกัน ไม่ถือโทษโกรธตอบ คิดว่าตัวเราก็ไม่ใช่ยั่งยืนถาวรอะไร ไม่เท่าไรก็เหี่ยวแห้งร่วงโรย ความจริงมันเหี่ยวลงไปทุกวินาที แต่เราไปเห็นคนเขาก็แหม ดูไม่แก่เลย พูดยอเขา ไม่ใช่เรื่องอะไรให้เขาสบายใจ เพราะคนเราถ้าแหมดูแก่ไปเยอะ เดี๋ยวก็โกรธกันเท่านั้นเอง ถ้าเราจะไปขออะไร ถ้าไปขึ้นคำอย่างนั้นเขาก็ไม่ให้แล้ว เราไปว่าเขาแก่ เพราะฉะนั้นต้องพูดว่าดูไม่แก่ ดูยังสดชื่น นี่เป็นคำยอกันเท่านั้นเอง แต่เนื้อแท้แก่ทุกวินาที ทุกลมหายใจเข้าออก หายใจเข้ามันก็แก่ลงไป หายใจออกมันก็แก่ลงไป แต่ว่าบางคนแก่ช้า แก่ช้าเพราะปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง อากาศบริสุทธิ์ สถานที่อยู่เรียบร้อย กินอาหารเป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ไม่ได้กินมาก แต่ว่ากินของเป็นประโยชน์ รู้จักกิน แต่ว่ามีหลักการในการกินว่าควรจะกินอะไร ร่างกายมันก็แข็งแรง โรคน้อย อายุมั่นขวัญยืน แต่ยืนนักมันก็ไม่ดี โยมอย่าดีใจ ถ้าใครเขาอวยพรอายุมั่นขวัญยืน หาเรื่องให้เราลำบากแล้ว ลำบาก ยิ่งยืนมันยิ่งลำบาก เพราะแก่มากช่วยตัวเองไม่ได้มันก็เดือดร้อน ดูคนแก่ๆ
อาตมารู้จักคนแก่หง่อมหลายคน น่าสงสาร ลำบากจะลุกก็ลำบาก จะนั่งอะไรก็ลำบาก ไปบอกว่านี่นะโยม สมัยก่อนนี่เขาให้พรอายุยืนแล้วยกมือสาธุ โอยเดี๋ยวนี้อย่าให้พรอย่างนั้นเลยวะ เบื่อแล้ว เบื่อแก่แล้ว เบื่ออายุยืนแล้ว นี่เป็นอย่างนี้ ไม่มีใครรู้เรื่องความจริงของชีวิต ถ้าเราคิดได้ อ๋อ ธรรมดามันเป็นอย่างนี้ อยู่ไปพอสมควร บางคนมาให้พรอาตมา ขอให้หลวงพ่ออยู่นานๆ โอ๊ย อย่า เอาแต่พอสมควร ให้มันอยู่ไปตามเรื่องของมัน ถ้ามันจะตายก็ตายไปตามเรื่องของมัน ไม่ต้องให้อายุยืนเกินไปแล้ว อยู่ยืนไปก็โอยจับไปไว้โรงพยาบาล เจาะท้อง เจาะคอ เจาะไส้ แหม เอายางใส่จมูกมั่ง ใส่ปากมั่ง ไปดูแล้วมันก็สงสาร อาตมาไปเยี่ยมคนไข้แบบนั้น แล้วดูไม่ได้ นั่งดูนานไม่ได้ รีบลาแล้ว แหมสังเวช เอาคนไข้ไปทรมาน ใส่สายยางใส่อะไร ดูเป็นมนุษย์อะไรก็ไม่รู้ ลำบาก แต่ว่าแผนใหม่ก็อย่างนั้น ใส่ไว้อย่างนั้น ไม่ใช่ว่าใส่ให้อยู่นะ ใส่ให้ตายช้าหน่อย ให้ทรมานต่อไป ทีนี้ถ้าเป็นคนมีเงินมากๆ ก็รักษานานๆ เพราะว่าหนึ่งมันราคาแพง ค่านอน ค่าโรงพยาบาล เขาเรียกว่าไม่ได้รักษาคนนะ รักษาลูก ให้ลูกอยู่กับคนป่วยและจะได้เงินนานๆ ไม่ใช่เรื่องอะไร มันเป็นงั้น อันนี้มันก็หนีไม่พ้น คนเรามันก็ต้องเป็นอย่างนั้น โยมต้องคิดไว้ พิจารณาไว้ ว่าร่างกายเรานี้มันไม่แก่ ไม่เที่ยงแท้ถาวร มันเปลี่ยนไปเหมือนกับดอกไม้ยามเช้าก็สดชื่น สายขึ้นมาก็ค่อยเปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนแปลงไปผลที่สุดก็ร่วงผล็อยลงที่โคนต้น ชีวิตเราก็เป็นอย่างนั้น พิจารณาไว้บ่อยๆ จะได้มองเห็นสภาพชีวิตถูกต้อง แล้วจะไม่ได้หลงใหลเพลินเพลินในอะไรมากเกินไป ทำอะไรก็ทำไปตามหน้าที่ ตามเรื่องตามราว ที่เราจะต้องจัดต้องทำ ไม่ใช่ทำด้วยความยึดถือแล้วมันก็เกิดความเป็นทุกข์มากเกินไป ทำอะไรมันรุนแรงมันก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เป็นทุกข์หนักเข้ามันก็เครียด เครียดหนักเข้าก็ฆ่าตัวตาย นี้เป็นตัวอย่าง เพราะว่ามันเครียด ไม่รู้จักแบ่ง ไม่รู้จักเบา ไม่รู้จักปลง ไม่รู้จักวาง
พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ปลง ให้วาง เวลาเราสวดมนต์ก็มีบทว่า ปาราหะเว ปัญจักขันทา (49.24) ขันธ์ ๕ ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนักเน้อ ปาราหะโร จักปุคคโล (49.31) บุคคลนั้นแหละแบกของหนักไป พารานิคเคปัญนังสุขขัง (49.37) วางภาระเสียได้ก็เป็นสุข อันยังพารังอะนาติยะ (49.42) ไม่ไปแบกอันอื่นเข้ามาอีก ลิขิตสิตะวา จะรุงพารัง (49.48) วางลงให้หมดนั้นก็สบายใจ ท่องมากๆ บทนั้นดีนะ ปาราหะเว ปัญจักขันทา (49.56) น่ะ มันอยู่ในนั้นแล้ว ท่องให้จำ แล้วก็ท่องไว้บ่อย ๆ อย่าไปแบกเข้า อย่าไปหนักเข้า ให้รู้จักปลง รู้จักวาง พอพูดเรื่องปลง เรื่องวาง บางคนก็แหม หลวงพ่อท่านสอนให้ปลง ให้วาง ทีนี้ไม่ทำอะไรแล้ว วางมันหมดเลย มันก็ไม่ได้ อย่างนั้นมันก็ไม่ถูกนะ เรามีหน้าที่จะต้องบริหาร บริหารตัว บริหารครอบครัว บริหารการงานในหน้าที่ ทำตามหน้าที่ แต่ทำหน้าที่ด้วยจิตใจที่ไม่ยึดมั่น ถือมั่นตามคำสอนของพุทธทาส ที่ท่านพูดเป็นองค์แรกในเมืองไทยว่าทำงานด้วยจิตว่าง ทำงานด้วยจิตว่าง คือว่างจากความเข้าไปยึดถือ ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเราเป็นเขา ไม่ยึดถืออะไรเกินไป แต่ถือว่าทำตามหน้าที่ ขายรถยนต์ไปตามหน้าที่ ขายอะไรไปตามหน้าที่ ได้เงินมาก็เก็บไปตามหน้าที่ ใช้ไปตามหน้าที่ บางทีมันก็ขาดไปมั่ง ขาดไปก็อย่าไปเสียใจ เรื่องธรรมดา ถ้ามันได้มากทุกวันๆ ก็คนมันแย่แล้ว จะเมากันใหญ่ อันนี้มันต้องขาดบ้าง เกินบ้าง ฝนตกบ้าง แดดออกบ้าง ให้เห็นธรรมชาติว่ามันเปลี่ยนแปลง ไม่เที่ยงไม่แท้ จิตใจก็สบาย เราฟังธรรมะแล้วต้องเอาไปใช้ เป็นเครื่องมือ เป็นเครื่องทุ่นแรง สำหรับปลงสำหรับวาง อย่าให้มันหนักใจ นั่ง ๆ หนักใจบ้างไหม โยมทั้งหลาย หนักใจ หนักอึ้ง หนักอะไร ถามตัวเองหนักอะไร กลุ้มอะไรเป็นทุกข์เรื่องอะไร แยกเข้าไป วิเคราะห์ วิจัย เรื่องปัญหาที่เรานั่งกลุ้มใจ แยกไปแยกมาก็แหมไม่เข้าเรื่อง กลุ้มไม่เข้าเรื่อง หนักใจไม่เข้าเรื่อง มันก็เรื่องธรรมดา สิ่งใดเกิดมามันก็เป็นไปตามเรื่องของมัน เราเที่ยวยุ่งกับมันเอง คือเอาใจเข้าไปจับเข้าเอง ไปฉวยมันเข้าเอง ถ้าเราไม่ไปจับ ไม่ฉวยมัน เพียงแต่นั่งดูมันไปตามเรื่อง มันก็ไม่มีเรื่องอะไรขึ้นมา นี่ต้องฉลาด ต้องใช้ปัญญา ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าต้องอยู่ด้วยปัญญา อยู่ด้วยความคิดที่เห็นอะไรถูกต้อง ตามสภาพที่มันเป็นจริงๆ คือเห็นชัด แล้วเราก็ไม่เข้าไปยึดถือ เรามีบุตรมีธิดา มีทรัพย์มีเงิน มีอะไรมีก็ได้ มีไปตามหน้าที่ที่เราจะต้องทำ แต่ถ้าหากสิ่งเหล่านั้นเสียหายไป เราก็ไม่เสียใจ เราปลงได้ วางได้ เพราะเรารู้ว่ามันไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เที่ยงแท้ถาวร มันเป็นแต่สิ่งซึ่งเกิดขึ้น ไหลไปตามอำนาจของการปรุงแต่ง คล้ายกับกระแสน้ำมันก็ไหลเรื่อยไป ไหลไปตามอำนาจของกระแสน้ำ ไปดูน้ำตกไนการาที่อเมริกา นานแล้วอยากจะไปดู
ไปคราวนี้ก็พอดี คุณ …… (53.19) ก็บอกว่าหลวงพ่อมาคราวนี้จะพาไปดูน้ำตก บอกเออไปดูซะหน่อย ไม่ใช่มันจะบรรลุมรรคผล เมื่อได้เห็นน้ำตกไนการา แต่ว่าของมันประหลาด คนมันชอบไปดูกัน ก็นำเงินเข้าประเทศเยอะ ไปดูเสียหน่อย ไปแล้วมันก็ไปใต้แล้ว นั่งรถไปเสียหน่อย ก็พารถยนต์ขับไป ตั้งวัน กว่าจะถึงจากนิวยอร์กไปถึงเมืองมัฟฟาโล่ (53.43) ก็ตั้งวัน ไปถึงเมืองไนการาที่อยู่กับน้ำตกนั่นสามทุ่ม แต่สามทุ่มมันยังไม่มืดที่นู่นนะ ก็ได้หาที่พักอะไรรุ่งเช้าก็เรียกว่าไปเสียหน่อยให้มันไปเห็นเสียหน่อย ดูให้มันครบชุด เขาดูอะไรบ้าง ไปดูเดินดูบริเวณ ดูเสร็จแล้วลงไปในอุโมงค์ดู ถ้าไม่ลงอุโมงค์ก็ไม่ได้ดู ในอุโมงค์ ไปดูกะเขา ลงเรือไปดู เวลาลงอุโมงค์ยังต้องสวมเสื้อคลุมสีเหลือง คลุมหมด หัวก็คลุม เดินไป เหมือนกะไอ้โม่ง เดินไปดู ทำไมจะต้องสวมอย่างนั้น ไม่สวมก็เปียกสิ น้ำมันตกลงนี้ไปดูใต้นี้ ไปดูใต้น้ำ อุโมงค์เจาะไปดูตรงนี้ มันก็เปียกหมดแหละ จีวรเปียกก็เดี๋ยวเป็นหวัดตาย ต้องสวมเสื้อ สวมทุกคน ไปดู ดูเสร็จแล้ว ต้องลงเรือดูอีก ลงเรือดูยังต้องสวมชุดดำ เสื้อคลุมนะ แต่สีดำ เห็นคนในร้อง แต่งตัวยังไง พอเรือมาจ้า ลงได้ สวมเสื้อ อ้อ เราก็เหมือนเขา สวมแล้วก็เรือวิ่งไป ไปใกล้ที่น้ำมันตกซ่า เรืออยู่ตรงนั้น ซู่ให้เราเปียกเล่นอยู่ตรงนั้น ดูไปมันก็เท่านั้นแหละ ดูหมดคิดแล้วก็นึกขำในใจมันก็เท่านี้ แต่ว่าคนยังไม่ได้ดูก็อยากไปดู ไอ้ไปดูแล้วก็ไม่มาบอกใคร ก็บอกแหมมันใหญ่เหลือเกิน น่าดู มันก็เท่านั้น แล้วคนก็ไปดูอีก ในด้านอเมริกามันเป็นน้ำตกหน้าผา ตกหน้ากระดานไม่สวย แต่ด้านแคนาดาเป็นกรีดม่าน โค้งมันแรง น้ำที่ลงมันแรงดังซ่า แล้วก็ฝอยขึ้นไปเป็นฟองเป็นหมอกไปเลย มันมาจากไหน นึกสงสัยน้ำมาจากไหน ข้ามมาฝั่งอเมริกา ไปดูหน่อย อ๋อ ทะเลนี่เอง ทะเลสาบน้ำจืดใหญ่ที่สุดในโลก ลึกที่สุดในโลก ลึกตั้ง ๔๐๐ เมตร น้ำนั้น มันก็ไหลมา ไหลแรงมา ตกลงไปตรงข้างใน ตกลงเป็นหน้าผา เป็นน้ำตกใหญ่มันไม่รู้จักจบ แต่ถ้าไปดูหน้าหนาว มันไม่ได้เรื่องนั้น มันน้ำมันไม่ตก มันแข็งหมดเลย หน้าร้อนมันก็ตก ไปดูที่ตรงนั้นมีเกาะเล็ก ๆ เขาเรียกว่า Three sister island เขาเขียนบอกไว้ว่าสาวสามคนพี่น้อง ลูกนักหนังสือพิมพ์มาจมเกาะตรงนี้แล้วก็ตกกระแสน้ำ ไหลไปสู่น้ำตกไนการา ตายไปเลย ไอ้คนบางคนมันก็ชอบหาชื่อเสียงนะ มันเอาถังน้ำมันมา แล้วก็ลงไปอยู่ในถังให้ลอยไป แล้วก็ไปตกลงในกระแสน้ำ ถ้าไม่ตายก็ได้ชื่อเสียง ตายก็ได้ชื่อเหมือนกันว่าไปตายบนน้ำตก ฝรั่งมันชอบทำอะไรแปลกๆ อยากตายให้มันดัง ตายปกติมันไม่ดัง ต้องไปตายที่น้ำตกมันดังหน่อย ไปดูก็เท่านั้น น้ำตก แต่ก็ได้ความคิดในทางธรรมะว่านี่ชีวิตเหมือนกับกระแสน้ำที่ไหลอยู่ตลอดเวลา ไม่มีหยุด ไหลอยู่ตลอดเวลา ไหลไปจนกระทั่งตกลงไป ตกลงไปก็คือตายนั่นเอง ไหลๆ ไปก็ตายปิดฉากชีวิตกันไปตอนหนึ่ง หมดเรื่องแสดง เหมือนละครเข้าโรง ชีวิตเราก็เหมือนกับละครตัวหนึ่งที่ออกมาแสดง อาตมานี่ก็แสดงเป็นพระเทศน์เรื่อยไปที่นั่น ที่นี่ โยมก็แสดงเป็นคนฟังเรื่อยไป ฟังๆ แล้วก็ทำบุญกับหลวงพ่อบ้าง มีอะไรก็ทำบุญกันไปตามเรื่อง แสดงเป็นบทเป็นบาทตามเรื่องตามราว นี่คือละครทั้งนั้น แล้วทุกคนก็ปิดฉากเท่ากัน แต่ใครจะปิดก่อน ใครจะปิดหลังนั้นว่าไม่ถูก เพราะมันไม่เที่ยงทุกไป ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง นี้เป็นเรื่องที่เราควรจะได้พิจารณาเตือนจิตสะกิดใจไว้เพื่อเป็นบทเรียน สำหรับวันนี้ก็เอาเพียงเท่านี้ก่อน อาทิตย์หน้าต่อใหม่ ว่ากันต่อไป ต่อนี้ไปก็ขอเชิญญาติโยมทำสมาธิสงบใจเป็นเวลา ๕ นาที นั่งสงบใจ คือนั่งตัวตรง หายใจสะดวก แล้วหายใจแรงหน่อย หายใจเข้าแรง หายใจออกหมดลม เป็นการผายปอดไปในตัว ได้สุขภาพทางกาย คนเราถ้าหายใจแรงๆ บ่อยๆ ได้สุขภาพดี หัดหายใจแรงเสียมั่ง นั่งๆ ลุกขึ้นยืนหายใจแรงๆ สัก ๑๐ ครั้ง ช่วยอะไรดีขึ้น เกิดอารมณ์ไม่ดี หายใจแรงๆ อารมณ์ไม่ดีก็หายเหมือนกัน ความโกรธก็จะเบาลงไป อะไรก็เบาเพราะหายใจ อันนี้เราหายใจ ใช้ลมหายใจให้เป็นประโยชน์แก่การฝึกจิต ด้วยการนั่งสงบใจ เอาสติมาคอยกำหนดรู้ที่ลมเข้า ลมออก หายใจเข้ารู้ตาม หายใจออกรู้ อย่าให้ไปไหน ๕ นาที เอ้าเชิญได้