แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ญาติโยม พุทธบริษัททั้งหลาย ณ บัดนี้ถึงเวลาการฟังปาฐกถาของธรรมะ อันเป็นหลักธรรมสอน ในทางพุทธศาสนาแล้ว ขอให้ทุกท่านอยู่ในอาการสงบตั้งอกตั้งใจฟังด้วยดี เพื่อให้ได้ประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการฟัง ตามสมควรแก่เวลา วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่๒๘ เดือน ตุลาคม อีก๓ วันก็หมดเดือนแล้ว เดือนหนึ่งแป๊บเดียวหายหมดไปแล้ว ก็จะขึ้นเดือนใหม่ ไม่จากนั้นก็ผ่านพ้นไปอีก กาลเวลา นี่มันเดินไปเรื่อยๆอย่างรวดเร็วเหลือเกิน แต่ว่ากาลเวลาไม่ได้ผ่านไปเฉยๆ ทำให้ชีวิตจิตใจร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงไปด้วย เด็กก็เติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็เปลี่ยนแปลงไปในทางชรา ชำรุด ทรุดโทรม เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ (01.14 เสียงไม่ชัดเจน) ก็แตกดับกันไปตามนิสัยของสังขารร่างกาย เพราะกายนั้นเป็นเรื่องไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้เตือนเราทั้งหลายว่าให้คำนึงถึงเวลาเอาไว้ให้มาก ให้คิดว่าเวลานี้เป็นของ (01.35 เสียงไม่ชัดเจน) ผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน เราจึงควรจะให้เวลาให้เป็นประโยน์ ด้วยการดำเนินชีวิต ในทางที่ถูกที่ชอบ ตามหลักธรรมในทางพระศาสนา เพื่อให้ชีวิตมีคุณมีค่า จะได้เป็นประโยชน์แก่ตน แก่ท่าน ตามสมควรแก่ฐานะ อันนี้เป็นเรื่องที่ญาติโยมจะต้องสำนึกไว้ในใจบ่อยๆ และโดยเฉพาะวันนี้ วันที่๒๘ พวกเรามาประชุมกันมากเป็นพิเศษในหอประชุมนี้ ก็ไม่พอนั่ง แต่ไม่เป็นไร ญาติโยมนั่งใต้กอไผ่ ปูเสื่อไว้เรียบร้อย และก็ได้ยินเสียงชัดเจน ขอให้นั่งตั้งใจฟัง
วันนี้ไม่มีรถวิ่ง จากสายถนนหน้าโรงเรียนที่เรานั่งกันอยู่ เพราะต้องการให้ที่มันโล่งมันกว้าง ญาติโยมมากันมากๆจะได้นั่งได้โดยสบายใจ ไม่อึดอัดด้วยรถที่ผ่านไปผ่านมา ใจจะได้เป็นสมาธิ จิตใจที่เป็นสมาธิ นั่นและเหมาะแก่การรับฟังธรรมะ ถ้าจิตใจฟุ้งซ่านก็จะฟังอะไรไม่เข้าใจ จึงได้จัดที่ให้ได้สะดวกในวันนี้ เป็นพิเศษ เพราะว่าเรามาประชุมกันเพื่อทำบุญประจำปี แล้วก็ทอดกฐินซึ่งก็จะทอดกันในตอนบ่าย สำหรับในตอนเช้านี้ ก็เป็นการเทศนาตามปกติ แต่ว่าบังเอิญวันนี้ก็เป็นวันพระด้วย ญาติโยมจึงได้มาประชุมร่วมกัน ในเรื่องเกี่ยวกับธรรมะ ในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามหลักพระศาสนา การปฏิบัติตนตามหลักธรรมะในหลักพระศาสนา เรียกว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยการปฏิบัติบูชา ด้วยพระองค์เมื่อใกล้จะปรินิพพาน พวกชาวบ้าน ชาวเมืองในประเทศอินเดีย มาบูชาพระองค์มากมาย มีดอกไม้ กองสูงทีเดียว พระพุทธองค์ท่านทรงมองแล้วบอกพระอานนท์ว่า การบูชาด้วยดอกไม้เพื่อสักการะ ยังไม่ชื่อว่าเป็นการบูชาแท้ เพราะพระองค์ตรัสว่า ภิกษุ ภิษุณี อุบาสก อุบาสิกา ใด เป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบอยู่ ปฏิบัติตามธรรมะอยู่ ผู้นั้นได้ชื่อว่าบูชาตถาคต ด้วยการบูชาสูงสุด การบูชาที่สูงสุด คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติเป็นการเกิดจากศาสนา พระศาสนาจะมีอายุมั่นขวัญยืนเพียงใดได้ก็โดยอาศัยพุทธบริษัทช่วยกันปฏิบัติ พระศาสนาก็จะอยู่ในตัวของบุคคลนั้น จิตใจของบุคคลนั้นเมื่อผนึกอยู่กับธรรมะ เมื่อจิตใจเริ่มผนึกอยู่กับธรรมะ ก็เรียกได้ว่าเราอยู่กับพระ เมื่อใจเราอยู่กับพระ เราก็มีความสงบใจ มีความสุขใจ เราก็เป็นคนเจริญ ครอบครัวก็เจริญ การงานก็เจริญก้าวหน้า
คนเราในสมัยปัจจุบันนี้ อาจจะคิดไขว้เขวไป คิดว่าการประพฤติธรรมนั้นเป็นเรื่องล้าสมัย เป็นเรื่องที่ไม่ทันสมัย อะไรต่างๆนานา ไม่เคยคิดด้วยความไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่ได้เคยซึมรสของพระธรรม คำสอนของพระศาสนา เราเกิดการหลงผิดไปด้วยประการต่างๆ ก็เมื่อเกิดการหลงผิดอย่างนั้นๆแล้ว ก็ไม่สนใจศึกษา ไม่สนใจปฏิบัติ ไม่แนะนำคนอื่นให้ปฏิบัติ ทีนี้มันก็เกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว ปัญหายุ่งยากที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะไม่มีธรรมะคุ้มครองรักษา เหมือนเราอยู่ในบ้านที่ไม่มีหลังคา ฝนตกก็เปียก แดดออกก็ร้อน อันตรายร้อยแปดเข้ามาเพราะไม่มีหลังคาคุ้มกัน อันนี้มันไม่เป็นความสุขในชีวิตฉันใด ชีวิตของเราเมื่อไม่มีธรรมะเป็นเครื่องคุ้มกัน มันก็ไปไม่รอดเหมือนกัน คนสมัยใหม่บางคนก็เขวไป หลงไป เพราะว่าไปนิยมกันแต่เรื่องสิ่งที่เป็นวัตถุ แต่ไม่ได้คิดว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่า ก็ต่อเมื่อมีธรรมะเข้าไปกำกับ ถ้าไม่มีธรรมะกำกับ การซื้อวัตถุนั้นก็จะยิ่งยาก เสียหาย ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ที่เขาคิดขึ้นกันใช้ในการสงคราม ถ้าประเทศใด ฟากใด ประชาชนพลเมือง หรือว่าผู้ปกครอง ได้แก่ นักการเมือง เป็นผู้มีศีลธรรมประจำใจ มีความเมตตา ปราณี ไม่เบียดเบียนใครให้เกิดความคิด ความเดือดร้อน เขาก็จะไม่ซื้ออาวุธนั้นเพื่อรุกรานใคร แต่จะมีไว้เพียงเพื่อป้องกันตนเท่านั้น ถ้ามีใครมารุกรานก็จะได้ป้องกัน แต่ว่าจะไปรุกรานคนอื่นนั้น หาได้คิดไม่
แต่นี้จะพูดไปแล้ว ในเมืองไทยเรานี่ พอจะชื้นใจอยู่บ้าง ตั้งแต่โบราณมาจนถึง กาลบัดนี้ ประเทศไทยไม่เคยไปรุกรานชาติใดเลย เว้นแต่ชาติอื่นมารุกรานเราก่อน และเราก็ต้องต่อสู่ป้องกันตัว ก็ในประเทศชาตินั้นให้รู้สึกตัวว่าทำกับเขาอย่างไร ก็จะได้รับอย่างนั้น คนอื่นนั้นมาก่อเรื่อง พระมหากษัตริย์ของเรานั้นไม่ก่อเรื่อง ไม่สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นแก่เพื่อนบ้าน ตั้งอยู่ในสุจริตธรรม ตั้งอยู่ในธรรมะของความเป็นกษัตริย์ เพราะว่านับถือในพระพุทธศาสนา กลัวบาปและบุญ จึงไม่ได้สร้างปัญหาอะไร แต่ว่าถ้าใครมารุกรานประเทศไทย ก็ต่อสู่กันเต็มเหนี่ยวเหมือนกัน เพื่อให้ข้าศึกพ้นไปจากบ้าน พอไล่ศัตรูไปได้แล้ว เราก็หยุดเพียงเท่านั้น หาได้รุกรานต่อไปไม่ กลับบ้านรักษาบ้าน รักษาเมืองต่อไป เหมือนกันถ้าเรามีปืนอยู่ในบ้าน เราก็ใช้ยิงแต่โจรที่เข้าบ้าน ถ้าไม่มีโจรเข้ามาในบ้าน เราก็ไม่ใช้ปืน เราเก็บไว้เฉยๆ อย่างนี้เรียกว่าคนมีธรรมะ ใช้สิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์ วัตถุอันใดก็ตาม ถ้าเรามีสำนึกเราใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่นเงินทอง นี่เป็นต้น ทรัพย์สมบัติ ข้าวของเงินทอง เพชรนิลจินดา เรามีไว้ แต่เรามีธรรมะเราก็ใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ใช้ในทางที่เสียหาย เช่นมีเงิน ก็ใช่ในทางที่เป็นคุณเป็นค่า ไม่เอาเงินไปทำสิ่งที่เป็นความทุกข์ เป็นความเดือดร้อนแก่ใครๆ ไม่ส่งเสริมความฟุ้งเฟ้อทะเยอทะยานของใครๆ เรียกว่าเป็นผู้ใช้เงินเป็น เรื่องการกินการอยู่ก็เรียกว่าเพียงพอสัณฐานประมาณ ไม่ให้มันเกินไปจนกระทั่งว่า เป็นตัวอย่างให้คนอื่นทำตามไปในทางที่สุรุ่ยสุร่าย ช่วยกันประหยัด ช่วยกันอดออม ก็เพราะอาศัยคุณธรรม เป็นหลักพื้นฐานทางจิตใจ จึงเกิดความเหนี่ยวรั้ง เกิดความบังคับตัวเอง อยู่กันด้วยความสุข ความสงบ แต่คนมักจะมองไม่เห็น เพราะคนเรานั้นไม่ค่อยคิดถึงความสุขทางใจ มักคิดถึงความสุขทางร่างกาย เอาความสบายกันในทางวัตถุ ให้มีสิ่งนั้นให้มีสิ่งนี้ ว่าเป็นเครื่องประกอบความสุข
(10.06 เสียงไม่ชัดเจน) ว่าสุขในชีวิตมนุษย์นั้น มีอยู่ ๒ อย่าง อนิจจสุข ที่เที่ยวด้วยอานิจจเอวสุข (10.15 เสียงไม่ชัดเจน) อาศัยวัตถุเป็นเครื่องล่อเครื่องจูงใจ คนเราในสมัยนี้ โดยมากต่างวิ่งเข้าหาวัตถุเป็นเครื่องประกอบความสุขด้วยกันทั้งนั้น เพราะบางทีก็มีมากเกินไปจนเกิดปัญหา เกิดความลำบากขึ้นมา โดยสมัยหนึ่งอาจจะไม่ลำบาก แต่มาอีกสมัยหนึ่งมันเกิดปัญหา ขึ้นได้ เพราะว่าอะไรๆมันก็เข้าขั้นขึ้นมาได้ในที่เรียกว่าคับขัน มันไม่พอกิน มันไม่พอใช้ มีการขาดแคลน เราจะใช้ในสิ่งที่มันเคยมากเกินไปก็ไม่ได้ เพราะมันจะไม่มีใช้ จะเกิดเป็นความทุกข์ในภายหลัง นี่ก็เพราะว่าเราใช้วัตถุเยอะไป จึงได้เกิดเป็นปัญหา แต่ถ้าเราใช้วัตถุนั้นอย่างผู้มีธรรม ผู้มีธรรมนั้นจะต้องมี (มัตตังยิตตา มัตติยิตตา (11.15 เสียงไม่ชัดเจน) แปลว่ารู้จักประมาณ ในการแสวงหา ในการเก็บ ในการใช้ เพื่อให้เกิดความพอดี พอดี ไม่ให้จนเกินไป ชีวิตจะได้ไม่ลำบากยุ่งยาก ยามเดือดร้อน ไม่ใช่ว่าทางศาสนาจะไม่ให้มีเสียเลยนะ มันไม่ได้ แต่ให้มีเพียงพอแต่สมควร ไม่ใช่ว่ามากมายเกินไป หรือว่ามันจะส่วนเกินมากเกินไป ให้มีแต่พอดีๆ อย่างนี้มันก็ไม่ยุ่ง ไม่สร้างปัญหา แต่ว่าคนเราคิดไม่ค่อยได้ เพราะว่าเคยมาในรูปวัตถุ ตั้งแต่เป็นเด็กตัวน้อยๆ พ่อแม่ ก็ให้หาวัตถุตลอดเวลา หานั่นให้เด็ก หานี่ให้แก่เด็ก จนกระทั่งว่ามันมากไป มีหลายชื้น หลายอัน ของเล่น ก็มีหลายชิ้น เสื้อผ้าก็มีหลายชิ้น ตุ๊กตาก็มีหลายตัว รถน้อยๆก็มีหลายคัน และก็มีอะไรแปลกๆ พอจะหาซื้อมาให้ลูกเล่นได้ เราก็ซื้อมาให้เขาเล่น โดยไม่คิดว่าสิ่งเหล่านั้นมันจะมากเกินไป ก็เป็นการพอกพูนนิสัยฟุ้งเฟ้อ ทะเยอทะยานให้เกิดขึ้นในจิตใจของเด็ก เราไม่ค่อยคำนึงถึงในเรื่องอย่างนี้ ก็เลยเกิดเป็นปัญหาเมื่อเด็กโตมาเป็นผู้ใหญ่ เมื่อโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่เขาก็มีแต่ความปราถนา ที่จะมีสิ่งนั้น จะมีสิ่งนี้ จะมีสิ่งโน้น และใครเป็นคนเดือดร้อน ก็พ่อแม่เป็นผู้เดือดร้อน ต้องควักสตางค์จ่าย เรื่อยไปไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น
เมื่อโตเป็นหนุ่มแล้ว จบการศึกษา ทำการทำงานแล้ว เขาก็ยังอยากได้ของต่อไป แต่ว่าไม่เป็นของถูกๆ เมื่อสมัยเด็กยังได้ของไม่แพงเท่าใด แต่พอเป็นผู้ใหญ่อยากได้รถยนต์ใช้ อยากได้ของที่เขาจำเป็นที่จะต้องใช้ในชีวิต ต้องเอายี่ห้อดีๆ นาฬิกาก็ต้องดี อะไรก็ต้องดีขึ้น เราก็ต้องแสวงหาให้เขา ถ้าไม่ให้เขาก็แสดงอาการเป็นทุกข์เป็นร้อน พ่อแม่ไม่ได้อยากเห็นลูกเป็นทุกข์ แต่เราต้องหาให้ เขาต้องการวัตถุ เราก็ให้วัตุถเพื่อไม่ให้เขาเป็นทุกข์ แต่ลืมนึกไปว่ายิ่งให้ ยิ่งเพิ่มความทุกข์ แก่เขา เพราะว่าเขาไม่อิ่ม ไม่พอในสิ่งเหล่านั้น เหมือนไฟไม่เคยอิ่มเชื้อ มหาสมุทรก็ไม่เคยอิ่มน้ำ ความอยากของคนก็ไม่เคยอิ่มในเรื่องของวัตถุสิ่งของ ที่ตนจะมีจะได้อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่เป็นปัญหา ยิ่งครอบครัวใด มีลูกหลายคน ก็ต้องหาให้เขาเหมือนๆกัน ต้องมีของเหมือนๆกัน ต้องมีนาฬิกาเหมือนกัน ต้องมีรถยนต์ให้คนละคัน ก็คนนั้นก็จะไปคนนี้ก็จะไป มันไม่ทันอกทันใจ เลยซื้อมันคนละคันเลย มีลูก8คนก็รถ8คัน ในบ้านต่างคนต่างวิ่งกันไปการใหญ่ (14.42 เสียงไม่ชัดเจน) ปัญหาอะไรต่างๆ ลูกคนไหนที่สุภาพหน่อย ก็ถนอมของใช้รถดี ไม่เอาเที่ยวไปกระทบเสาไฟฟ้าไปกระทบกับคันอื่น เพราะว่าไม่ชอบทะเลาะกับใคร ขับเรียบร้อย ไปตามสบาย ไม่คิดแต่มีเรื่องกับใคร ไม่ใช่ว่าพอใครมา (15.02 เสียงไม่ชัดเจน) ปัดโธ่ไอ้รถบุโรทั่ง มันขึ้นหน้าจึงไม่ยอมใคร เอาแล้ว เกิดการแข่งขันกัน จะแข่งความเลวกัน เลยเกิดอุบัติเหตุ เสียหาย เสียแข้ง เสียขา เสียเลือด เสียเนื้อไป พ่อแม่ก็จะต้องเดือดเนื้อร้อนใจ บางคนขับไปถึงกับเสียชีวิตไป พ่อแม่ก็เศร้าโศกเสียใจ ไอ้ความเศร้าโศกเสียใจ นั้นมาจากอะไร ก็มาจากการที่เราให้เขามากเกินไป ในเรื่องที่ไม่จำเป็นอะไร เราไม่มีโอกาสที่จะพูดอธิบาย ที่จะทำความเข้าใจ ว่าอย่าเอาเลยสิ่งนั้น อย่าเอาเลยสิ่งนี้ มันไม่จำเป็นแก่อะไรอย่างนี้ พูดไม่ได้ เพราะว่าเสียนิสัยมาตั้งนานแล้ว
เพราะว่าเราเคยให้เขาไปเรื่อยๆมา และเขาก็รู้จักแต่ว่าจะเอานู่น จะเอานี่แต่ท่าเดียว ถ้าพ่อแม่ไม่ให้ก็หาว่าพ่อแม่ไม่รักหนูมั่ง รักคนนั้นมั่ง รักคนนี้มั่ง บ่นกระปอดกระแปด จนพ่อแม่รำคาญ ด้วยความรำคาญก็เลยโยนเงินมัน เอาไป ลูกก็ยิ้มแปร้เท่านั้นเอง (16.21 เสียงไม่ชัดเจน) นี่คือปัญหาทั้งนั้น เพราะว่าเป็นปัญหาในทางด้านวัตถุ ที่ไม่รู้จักจบไม่รู้จักสิ้น เพราะไม่มีการรู้จักประมาณ ในการมี ในการใช้สิ่งเหล่านั้น จึงได้เกิดเป็นปัญหาด้วยประการต่างๆ เพราะในเรื่องวัตถุนั้นต้องมีอะไรมาคุมอีกตัวหนึ่ง สิ่งที่คลุมวัตถุนั้นก็คือ ธรรมะในศาสนา เอามาใช้เป็นเครื่องคลุมวัตถุ ร่างกายของเรานี้มันมีใจอยู่ภายใน ถ้าเราปล่อยไปตามเรื่องตามราวแล้วก็จะไปกันใหญ่ ดังนั้นใจต้องคลุมร่างกาย แต่ว่าใจธรรมดา มันจะคุมไม่ได้ เพราะไม่มีเครื่องมือมาช่วย ธรรมะนี่เป็นเครื่องมือประกอบกำกับจิตใจ เพื่อให้จิตใจ มีปัญญา มีสติ มีรอบครอบ ในเรื่องอะไรต่างๆ คิดหน้า คิดหลัง ไม่เป็นคนตามอารมณ์ ตามสิ่งแวดล้อมมากเกินไป แต่ว่าคิดเป็นว่าอะไรเป็น อะไรควร ไม่ควร ยับยั้งชั่งใจ ไม่ปล่อยไปตามอารมณ์ รู้จักหยุด รู้จักยั้ง คนเราถ้าไม่รู้จักหยุด ไม่รู้จักยั้งก็จะไปกันใหญ่ ธรรมะเหมือนมาเป็นการห้ามล้อชีวิต ค่อยๆเบรคค่อยๆห้ามไว้ ไม่ให้มันไหลเลื่อนเร็วจนเกินไป ที่ไหนควรหยุด ที่ไหนควรไป รู้จักเวลา เหตการณ์ บุคคล ถ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็พอจะหยุด จะยั้งได้ เพราะมีความคิดในทางเหตุทางชอบ เป็นต้นกำกับ ซึ่งภาษาธรรมะเรียกว่า คนสัมมาทิฏฐิบุคคล สัมมาทิฏฐิบุคคลนั้น เขามีความคิดความเห็น ในทางที่เหตุที่ชอบ เพื่อตนเอง เพื่อประโยชน์แก่ในสิ่งนั้นๆอยู่ตลอดเวลา จึงไม่มีการจะทำอะไรที่ไปในทางที่เหลวไหล ล่วงเกินออกไปในเส้นทางอันชอบ เพราะมีตัวสัมมาทิฏฐิคอยกำกับ
ธรรมะมีอยู่ในใจ ย่อมได้ประโยชน์ ได้คุณได้ค่า ทำให้ชีวิตมีราคาเช่นอย่างนี้ จึงใคร่ขอฝากญาติโยมทั้งหลายว่า อย่าได้เผลอปฏิบัติดังบุคคลบางคนเป็นอันขาด ที่เห็นว่าธรรมะไม่เป็นสิงจำเป็น หรือมองเห็นว่าศีลธรรมไม่จำเป็น เป็นสิ่งล้าสมัย (19.06 เสียงไม่ชัดเจน) จนเป็นคนไม่มีศีลธรรมล้าสมัย แต่เป็นคนมีศีลธรรม จะไม่เก่า เป็นคนที่เรียกว่าทันเหตุทันการณ์ เพราะอะไร เพราะเขาเป็นคนที่มีธรรมะคุ้มครองจิตใจ มีสติคุ้มครอง มีปัญญาคุ้มครองจิตใจ อะไรจะเกิดขึ้นก็รู้จักปัจจุบันทันท่วงที สามารถเข้าใจสิ่งนั้นถูกต้อง แล้วจะเป็นคนล้าหลังไปได้อย่างไร เล้าสมัยไปได้อย่างไร อะไรเกิดขึ้นก็รู้ได้ทันที ว่าไอ้นี่ดี ไอ้นี่ชั่ว อันนี้เป็นทางเกิดแห่งความชั่ว อันนี้เป็นทางเกิดแห่งความเจริญ อันนี้เป็นทางการเกิดทุกข์ อันนี้เป็นทางเกิดสุข อันนี้เป็นทางให้เกิดความรัก ความพึงพอใจ อันนี้จะเป็นเหตุให้เกิดความเกลียดชัง ไม่อยากจะมองดูหน้าเราต่อไปอีก อย่างนี้เข้ารู้ทันในเรื่องนั้นๆ ปัญหาที่จะเกิดจะมีขึ้นมันก็น้อยเป็นธรรมดา เพราะว่ามีปัญญารู้อยู่ในเรื่องอย่างนี้
ทีนี้คนไม่รู้ก็จะทำอะไรตามอารมณ์ (20.14 เสียงไม่ชัดเจน) กระทบกระทั่งกันเลยทีเดียว ต้องเกิดทันใจ อยากได้ทันใจ ทันใจอย่างนั้นมันล้าสมัย ล้าหลัง เพราะว่าเราจะไม่มีความสุขเหมือนคนอื่นเขา แต่เราจะตกอยู่ในความมืดบอด จะมีความทุกข์ มีความเดือดร้อนใจ จะมีปัญหา อยู่ในจิตใจตลอดเวลา (20.41 เสียงไม่ชัดเจน) เมื่อคิดว่าจิตใจไม่ดี แล้วเราไปคิดว่าการงานจะดีหรือไม่ คนที่จะเป็นนักธุรกิจนั้นจะต้องมีจิตใจสงบพอสมควร มีสมาธิอยู่พอสมควร พอที่จะคิดวางแผนทำการทำงานอะไรได้ แต่ถ้าจิตใจไม่สงบมีปัญญาวุ่นวายสะสมอยู่ตลอดเวลา เราจะไปนั่งวางแผนอะไร จะวางโครงการอะไรมันก็วางไม่ได้ เพราะใจมันยุ่งมันก็ตีกันอยู่อย่างนั้น มันก็ไม่ไม่ไหว การงานที่จะดำเนินก็เกิดเป็นปัญหาขาดทุนวุ่นวาย พอพบคนบางคนเขาบอกว่า จิตใจมันวุ่นวาย อะไรๆก็วุ่นวายไปหมด การงานตกต่ำ การทำอะไรก็ไม่เรียบร้อย นี่ก็มันมาจากภายใน จากใจของคนทั้งนั้นไม่ได้มาจากอะไรอื่น เพราะว่าจิตใจสับสนวุ่นวาย การงานก็ไม่ดีขึ้น อะไรเกิดขึ้นก็หงุดหงิดงุ่นง่าน ไม่สบายอกไม่สบายใจ จะวางแผนคิดอะไรมันก็เสีย ขี้เกียจพูด ขี้เกียจคิด แต่ถ้าคนใจเย็น ใจสงบ เขาก็จะนั่งคิดนั่งนึกในเรื่องอะไรต่างๆ คนเราถ้าใจสงบนั้น ปัญญามันเกิด ใจสงบปัญญามันเกิด เพราะว่ามีสมาธิ จะคิดอะไรมันก็เกิดปัญญาขึ้น เพราะว่าถ้าใจไม่สงบ มันคิดอะไรก็ไม่ได้ อารมณ์มันพลุ มันกระทบอยู่ตลอดเวลา คล้ายๆ กับเรานั่งอยู่ในท่ามกลางเสียงอึกทึกครึกโครม เราจะคิดอะไรจะตรองอะไรมันก็ไม่ได้ (22.29 เสียงไม่ชัดเจน) ในขณะใดที่ใจเรากระทบด้วยอารมณ์อย่างนั้น อารมณ์อย่างนี้ เราคิดเกิดคนนั้น คิดเกิดเป็นคนนั้น คิดเกิดเป็นคนนี้ ไม่มีคนก็คิดเกิดเป็นฟ้า อากาศ ทำไมฝนจะตกกันมาวันนี้ ทำไมต้องมีอย่างนั้น ทำไมต้องมีอย่างนี้ ฟุ้งไปหมดเลย แล้วเราจะคิดอะไรได้ ทำการทำงานก็ไม่ได้
บางทีพอไปติดต่อกับใคร พอเขาเข้ามาก็นั่งบึ้งไป ซัดเข้าให้เลย ทีนี้ก็ต้องออกไป บ่นคนอย่างนี้ เข้าหาไม่ได้ มันก็เสียหายแล้ว ถ้าเป็นคนคุ้นกันเขารู้นิสัยกัน ไม่เป็นไร พอให้อภัยกันได้ แต่ถ้าเป็นคนมาใหม่ มากระทบอารมณ์ของเราไม่ดีเข้า เขาก็นึกว่าเออกูไม่มาหาอีกต่อไปแล้ว (23.20เสียงไม่ชัดเจน) ไปถึงก็เจอของดีเข้า พอแบบนี้ก็เสียผู้เสียคนไป เสียงานเสียการไป ทำให้เกิดความเสียหาย ก็เพราะว่าใจเราไม่ดี ไม่มีอะไรเป็นเครื่องประคับประคอง มันได้ผลในทางการงาน และก็เสียผลในทางการงานเหมือนกัน เพราะว่ามีใครมายั่วมายุเรา มายั่วให้เราโกรธ มายั่วให้เราเกิดโทสะขึ้นในขณะนั้น ให้อารมณ์เสีย ถ้าเราเป็นคนไม่มีความควบคุมตัวเอง บังคับตัวเองไม่ได้ พอเขายั่วมาก็โกรธขึ้นมาเป็นฟืนเป็นไฟ เขาเรียกว่าคนแบบดินประสิว ดินประสิวนี่ใกล้ใครไม่ได้ ระเบิดตูมตาม กันมาเลยทีเดียว คนประเภทนั้นก็เหมือนกัน พอเรื่องนิดหน่อยก็หูแดงหน้าแดงขึ้นมา ปากสั่น มือสั่น (0:24:17.2)ก็ยิ้มเอาล่ะเสียท่ากูแล้ว สมาธิเสียแล้ว การคิดการอ่านไม่ดีแล้ว ก็เสียเปรียบคนนั้น ไม่ว่าจะคิดตาม จะเล่นกัน การจะโต้วาที อย่าไปสู้เสียงปัญหาในธุรกิจการงานอะไรก็ตาม เขามักจะยั่วเราให้ได้ง่ายๆเสียก่อน แล้วเราก็จะเสียหลัก
เขาบอกว่าไปติดต่อการงานในประเทศญี่ปุ่น กับคนญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมันมี (24.45 เสียงไม่ชัดเจน) ต่างๆนานา มันจะคุยอะไรกับเราว่าเรา (24.52 เสียงไม่ชัดเจน) ว่ารถจราจรติดขัด ไปมาไม่สะดวก (25.08 เสียงไม่ชัดเจน) ให้เราไม่สบายใจ คนที่ไปประชุมก็ใจไม่ดี (25.17 เสียงไม่ชัดเจน) ต้มซะสุขไปเลยทีเดียว กว่าจะรู้ทำให้เกิดความเสียหาย เพราะว่าตัวเขาเองนั้นจิตใจเขาเข้มแข็ง มั่นคงอยู่ตลอดเวลา ก็เพราะว่าคนญี่ปุ่นนั้น เราอย่าเพียงนึกแต่เพียงว่าเขาเป็นนักธุรกิจธรรมดา คนญี่ปุ่นนั้นสนใจฝึกสมาธิแบบเซนกันเป็นส่วนมาก เขาฝึกใจสมาธิกันเป็นแบบเซน เมื่อคราวที่เดินทางผ่านประเทศญี่ปุ่นคราวที่แล้วมาแล้ว ก็ไปที่ร้านขายนาฬิกา ที่ถนนกินซ่า ที่กินซ่าเป็นตลาดใหญ่ ใหญ่คล้ายๆกับเยาวราช เจริญกรุงของเรา แต่ว่ามันใหญ่กว่า (26.00 เสียงไม่ชัดเจน) ด้านนอกนี่ขายนาฬิกามากมายก่ายกอง ถ้าไปครั้งแรกนี่ไม่พบข้าวของ เพราะว่า (26.08 เสียงไม่ชัดเจน) ต้องไปตอนกลางคืน และก็ได้ไปพบกับเจ้าของ เจ้าของนั้นใจดี พอรู้ว่าเราเป็นคนไทย และคุ้นเคยกับท่านทูต เขาก็คุ้นกับท่านทูตเหมือนกัน ก็พาขึ้นไปข้างบน พาไปที่ห้องพิเศษที่เขาจัดไว้ ในห้องนั้นมีพระพุทธรูป วางไว้เต็มตู้ไว้เคารพ สักการะบูชา เจ้าของเขาก็บอกว่าตัวเขานี่นับถือพุทธสาสนานิกายเซน เขานั่งสมาธิทุกวัน พอตอนเช้าเขาก็ตื่นตีสี่ ฝึกสมาธิ ทำจิตใจให้สงบแล้วก็มาทำงานทำการ ดูกริยาท่าทางเขาสุภาพเรียบร้อย พูดจามีน้ำมีนวล อารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใส แล้วก็เลยถามว่าทานอาหารเย็นแล้วหรือยัง (27.00 เสียงไม่ชัดเจน) ก็เลยบอกว่าสองคนไทยนั้นน่ะ (27.08 เสียงไม่ชัดเจน) แล้วก็ทานที่นี่เดี๋ยวจัดการ แต่ก็บอกไม่ต้องๆ เดี๋ยวก็๋ทานที่สถานทูต เขาจะจัดให้ แล้วเขาก็มาคุยเรื่องธรรมะ เรื่องศาสนา
เขาบอกว่ากำลังสั่งโต๊ะบูชาจากประเทศไทยหนึ่งชุด เขาทำสวยดี จะเอาไปไว้ที่บ้าน จะเอาไว้ในห้อง (27.30 เสียงไม่ชัดเจน) ก็ไม่มีปัญหา (27.28 เสียงไม่ชัดเจน) ทางจิตใจ ถ้าไว้นี่พุ่งไปที่พระพุทธรูป ทำจิตใจให้สงบ ทุกวัน ทำบ่อยๆ จิตใจเขาก็มั่นคงเข้มแข็ง มีความเป็นตัวเอง ซึ่งความเป็นตัวเองนั้นก็มาจาก เพราะว่ามีจิตใจสงบ สุข ถ้าใจวุ่นวายมันไม่เป็นตัวเอง ใจมืดก็ไม่เป็นตัวเอง ใจที่เกิดความมืด ความโกรธ ความความหลงชอบ นั้น มันก็ไม่เป็นตัวเอง (28.00 เสียงไม่ชัดเจน) มันเป็นตัวมืด ตัววุ่นตัววาย อะไรไปต่างๆ มันก็เป็นปัญหา ไม่มีอะไรที่จะเรียบร้อย เขาจึงฝึกสติ โดยปกติในวันหยุดการหยุดงานนี่ เขาก็มีสถานที่ ห้องประชุมใหญ่ แล้วมีเบาะวางไว้เป็นแถว เพื่อให้คนไปรู้ฝึกสมาธิ นั่งบนเบาะ อันนั้นเขาเอาไว้รองก้นเพื่อให้สูงขึ้นหน่อย เพราะเวลานั่งทำสมาธินั้น ด้วยทว่า มีอะไรรองนั่งให้สูงขึ้นหน่อย จะได้สบาย ดีกว่าจะนั่งกับพื้นเฉยๆ ก็ทำไว้อย่างนั้นแล้วก็คิดกันอย่างจรืงจัง ทำสม่ำเสมอ ตลอดเวลา จิตของเขาก็เป็นสมาธิ
จิตที่เป็นสมาธิ มีกำลังมาก พระพุทธเจ้าจึงเคยตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฝีกจิตให้เป็นสมาธิเถิด จิตที่เป็นสมาธินั้น เป็นยอดเป็นเด่นชัดในเรื่องอะไรต่างๆที่เป็นจริงได้มากขึ้น คือมากกว่าคนที่ไม่ได้ฝึกมาเสียเลย เพราะว่า เราได้ฝึกแล้ว คล้ายกับนักกีฬา ถ้าได้ซ้อมบ่อยๆ เวลาลงสนามมันก็ดีกว่าปกติ ดีกว่าคนไม่ฝึกไม่ซ้อม คนที่ไม่ฝึกไม่ซ้อมเลย ขึ้นไปบนเวทีก็ถูกโค่นยับไปเท่านั้นเอง เพราะอ่อนซ้อม ชีวิตของคนเรานี้ก็เหมือนกัน เรามาอยู่บนเวทีตอนนี้ มีข้าศึกมากมาย ทั้งภายนอกทั้งภายใน คอยส่งหมัดแย็บให้เราอยู่ตลอดเวลา ถ้าสมมุติเราไม่มีการฝึกฝนอบรมจิตใจเพียงพอ ถูกแย๊บบ่อยๆ ถูกท้องบ้าง ถูกตรงนั้น ถูกตรงนี้ ถูกฟัน ถูกตา ถูกล้วนอารมณ์เสียหมด พออารมณ์เสียก็เกิดความไม่สบายใจ เป็นปัญหาขึ้นมา นี่คือความคิดทางใจ ที่เกิดเพราะเราไม่ได้มีธรรมะคุ้มครองเป็นเครื่องรักษา แต่ถ้าเรามีธรรมะเราก็จะมองเห็นด้วยตัวของเราเอง สมมุติว่าเรามีข้าวมีของ มีเงินอะไรอยู่กับเนื้อกับตัว ซึ่งเงืนมันหายไปหรือนับได้แล้ว กำลังใจก็ทำได้ทันทีว่า (0:30:30) อย่างไร เราเสียใจมากไหม เป็นทุกข์เพราะเงินก้อนนั้นมากไหม อาจจะมีนิดหน่อย เรียกว่ามันกระทบนิดหน่อย พอกระทบปุ๊บก็รู้ได้ทันทีว่า รู้ถึงผลของธรรมะได้ทันทีว่า สิ่งทั่งหลายไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา หรือว่าเรามีแล้ว หรืออาจจะไม่มีเมื่อใดก็ได้ หรือนึกได้ว่าไอ้เงินนี้มันไม่ใช่ของเรา เป็นของกลาง เราเอามาใช้ชั่วครั้งชั่วคราว เผลอไปหน่อยเขาก็เอาไป ช่างหัวมันเถิด
พอนึกได้อย่างนั้น ก็ยิ้มได้ ปล่อยได้ วางได้ ไม่ต้องมานั่งกลุ้มใจอยู่ตลอดเวลา (31.10 เสียงไม่ชัดเจน) และเราต้องซ้อมไปได้เรื่อยๆ หมั่นปล่อยวาง (31.30 เสียงไม่ชัดเจน) มีอะไรเกิดขึ้นก็พอนึกได้ แต่พอนานๆมานึกไม่ออก มันไปติดอยู่ในวัตถุมากเกินไป (31.41 เสียงไม่ชัดเจน) กลุ้มอกกลุ้มใจเพราะไม่มีใครจะช่วยด้วย มันก็ลำบาก แล้วยิ่งคนที่อยู่ในวัยหนุ่มวัยฉกรรจ์ เมือมีปัญหามาก ถ้าเราไม่นำเขาเข้าหาธรรมะเสียบ้าง มันเกิดปัญหา อนาคตปัญหาบ่อยๆกับคนพวกนี้ ก็ห้นำมามีปัญหาอย่างนั้น มีปัญหาอย่างนี้ เกิดขึ้นในจิตใจ ปัญหาเรื่องความรักบ้าง เรื่องการงานบ้าง เรื่องเพื่อนฝูงมิตรสหายบ้าง กลุ้มใจจนอยากจะฆ่าตัวตาย ไม่อยากจะอยู่ในโลกต่อไป ในความจริงเรื่องมันไม่ได้ใหญ่มโหฬารอะไรหรอก เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่ถ้าจิตใจเขาไม่มีอะไรเป็นเครื่องคุ้มครอง ไม่มีปัญญาสำหรับคิดสำหรับกรองเรื่องเหล่านั้น พอเกิดอะไรขึ้นก็แหม เรานี่มันแย่เนอะ เสียท่าเนอะ พอเราคิดไปเรื่อยๆ ร้ายไปเยอะ เรื่องดีไม่ค่อยคิดเลย คิดมากก็กลุ้มใจ ไม่อยากจะดูหน้าใคร ไม่อยากให้ใครดูหน้าต่อไป จะไปยิงตัวตาย จะไปกระโดดน้ำตาย เอาแล้ว (32.52 เสียงไม่ชัดเจน) นี่กว่าจะโตก็เสียเงินเสียทองไปก็ว่าเยอะแยะจะได้ฝากผีฝากไข้ นี่ก็เดือนร้อนทำให้เกิดปัญหา ต้องลากตัวมา เอามารับคำสอน คำเตือน
อย่างนี้เค้าเรียกว่า (33.11 เสียงไม่ชัดเจน) ลูกป่วยนี่ไปโรงพยาบาล พอจะไปโรงพยาบาลก็ใส่เปลหาม ใส่รถพยาบาลไปเลย เข้าขั้นโคม่า พอไปถึงก็ห้องไอซียูกันอีก ให้อ๊อกซิเยนกันไปการใหญ่ (33.32 เสียงไม่ชัดเจน) ก็เขาจะเอาไปเสียมากกว่าถ้าอย่างนั้น คือ ประมาทนั่นเอง ไม่สนใจว่าอะไรเป็นสิ่งจำเป็น สำคัญสำหรับชีวิต เราไม่ได้คิดอย่างนั้น เราอาจจะคิดแต่ว่าไม่เป็นไร เรามีเงินมีทองให้เขากิน มีอะไรๆให้เขาใช้ ยิ่งอันตรายใหญ่เลย ยิ่งมีเงินมีทองมากๆ ยิ่งอันตรายใหญ่ อันตรายอย่างไร เดี่ยวอาตมาจะให้เห็นเพราะว่า คนมีเงินมีทองเป็นเหตุให้คนเราเมาในวัตถุ เมาในความมั่งมี เมาในสิ่งที่ตนมีตนได้ ยิ่งเมื่อไม่คิดถึงธรรมะใหญ่ พอเกิดมาเป็นปัญหาขึ้นมาแล้ว ไม่รู้จะแก้อย่างไร จนช่วยไม่ได้ พ่อแม่ก็ช่วยไม่ได้ นั่งกลุ้มอยู่คนเดียว ไม่พูดกับใครได้ ถามเท่าไหร่ๆก็๋ไม่พูด นั่งกลุ้มเมินเฉย บอกบุญไม่รับแล้ว (34.33 เสียงไม่ชัดเจน) อย่างนี้มันก็ไม่ไหวนะ อารมณ์มันขุ่นอยู่อย่างนั้น เห็นคนก็ไม่ดี เห็นอะไรก็ไม่ดี ใครก็ว่า อย่างนี้มองโลกในแง่ร้าย ไม่ได้มองโลกในแง่ความจริง ก็เลยทำให้กลุ้มใจ ไม่บอกใคร ไม่ระบายเฉยๆก็ไป หายไป ปรากฎว่าลอยน้ำงอนตุบป่องๆไปทางโน้นแล้ว นี่มันคือความผืดอะไร ความผิดตรงที่ว่า เราไม่ได้นำเขามาหาสิ่งที่ถูกต้อง ให้แต่เรื่องอื่น ให้การเรียน ให้ทรัพย์เขาใช้ ให้แต่อาหารเพื่อบริโภค เพื่อสนุกสนานเฮฮากับเขา แต่ไม่ได้ให้สิ่งเป็นเครื่องประคับประคองแก่จิตใจ ถ้าจะพูดกันง่ายๆละว่า (35.27 เสียงไม่ชัดเจน) บ่อยๆ แต่เราไม่ให้เขากินยาเสียเลย เมื่อยานั้นเจริญในทางโรคภัยไข้เจ็บทางด้านจิตใจ หมอรักษาไม่ค่อยจะไหว อย่างนี้ก็มี บางคนก็ (35.43 เสียงไม่ชัดเจน) คนรุ่นที่เข้ามาบวชนี้ มาบอกว่าเสียดาย มาพบหลวงพ่อช้าไปหน่อย บอกว่าโยมมาไม่ช้าหรอก โยมมาขนาดนี้ก็ดีแล้ว เขาก็ว่าถ้ามาอย่างนี้เสียก่อนก็ดี มาพบการศึกษาในเรื่องธรรมะ มาพบการฝึกจิต กำหนดใจ เวลามาบวชแล้วจิตใจก็สงบสุขสบาย ให้นึกเสียดายว่าถ้ามาพบก่อนก็จะดี เราก็บอกว่าอย่าเสียดายมันผ่านพ้นมาแล้ว ขนาดได้มาเท่านี้ก็ดีแล้ว ขอให้นำเอาสิ่งที่ดีที่ได้เอาไปต่อสู้กับปัญหาชีวิตประจำวันต่อไปเถอะ และเขาก็ได้เอาไปใช้ในชีวิตต่อไป
เราก็ได้ตักเตือนว่าอย่าละเลยให้อ่านหนังสือบ่อยๆ มารับบ้าง ถ้าว่างๆก็แวะมาวันอาทิตย์ไม่ทำการทำงานปลีกตัวมาหน่อย ได้มามองเห็นสถานที่ เห็นที่อยู่อาศัย เราจะได้มีสติครั้งหนึ่งในชีวิตของเรา เรามาเป็นนักบวช เคยนั่งภาวนา เคยนั่งฟังคำสอนของอาจารย์ เคยมีการฝึกกายฝึกใจ เวลานี้เราออกไปอยู่บ้าน สิ่งกระทบกระเทือนใจมันเยอะ จะต้องการสิ่งนี้ต่อไป ยามสงครามต้องการทหารฝีมือดีฉันใด ยามอารมณ์มืดเข้ามามีกระทบก็ต้องการสติปัญญา ต้องการมิตรที่ดีเข้ามาช่วยเหลือ มิตรที่จะเข้ามาช่วยเหลือเรานั้น ต้องมิตรในด้านธรรมะ มิตรอื่นมันช่วยไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะช่วยกันได้อย่างไร จะปลอบใจเพื่อนก็ไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะเอาอะไรมาปลอบ มีแต่ว่าชวนไปเที่ยว ไปกินไปเล่นต่อไป (37.30 เสียงไม่ชัดเจน) ไปเที่ยวบาร์ที่นู้น เที่ยวไปดูเต้น (37.41 เสียงไม่ชัดเจน) อะไรต่างๆ อย่างนี้เขาเรียกว่าพาไปกินของแสลง (37.51 เสียงไม่ชัดเจน) มันเลยมากขึ้นเข้าไปอีกไม่มีทางหาย เพื่อนช่วยได้แบบนั้น แต่ถ้าเราได้กัลยาณมิตร พาไปธรรมะ ไปไหว้พระสงฆ์ องค์เจ้า ที่มีความรู้ที่มีความเข้าใจ ในวิถีการดำเนินชีวิต แก้ไขปัญหาถูกต้อง เพราะรู้ว่าปัญหามันเกิดภายใน มันไม่ได้เกิดจากภายนอก อะไรๆมันอยู่ในตัวเธอทั้งนั้น เธอทุกข์ของเธอเอง เธอสร้างของเธอขึ้นมาเอง เกิดขึ้นจากใจของเธอเอง อย่างนั้นก็ต้องสงบใจ เพื่อให้เขาได้พบว่า ใจนี้มันสงบได้ ใจนี้มันเย็นได้ ไม่ใช่ร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เย็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่มืดอยู่ตลอดเวลา มันสว่างได้ มันสงบได้ มันสะอาดได้ แต่เขาไม่เคย ไม่เคยนั่งลงทำใจอย่างนั้น เพราะไม่เคยคิดว่าจะมีอย่างนี้เสียด้วยซ้ำไป แต่พอมารู้เข้า เออมันมีมันดี มันมีความสงบได้ มันมีความเยือกเย็น มันมีความสุขทางจิตใจ เขาก็พอจะรู้แล้วว่า อ่อสิ่งนี้มันมีอยู่ เชื่อได้ เขาจะรู้ทำต่อๆไป พอรู้จักสุขก็รู้จักให้ธรรมะ หรือวิธีการของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าพุทธวิธี ในการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน เขาก็นำสิ่งนี้ไปแก้ไขกับคนต่อไป เขาก็มีความสุข คนที่เข้าถึงธรรมะ ก็เหมือนกับว่าได้ชีวิตใหม่ ที่ก่อนนั้นมันเป็นชีวิตที่วุ่นวายสับสน มีปัญหา มีความทุกข์ มีความเดือดร้อน แต่พอหันหน้าเข้าหาพระธรรม ก็ได้ความดี ความสุขขึ้นมา เรียกว่าได้ชีวิตใหม่ขึ้นมา ชีวิตใหม่ก็คือชีวิตที่อยู่กับพระอยู่กับธรรมะนั่นเอง ไม่ใช่เรื่องอะไร เขาก็เห็นประโยชน์ของสิ่งนี้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของชาวเราทั้งหลาย ที่ได้พบสิ่งนี้แล้ว อย่าเก็บไว้ใช้คนเดียว อย่ากินคนเดียว เพื่อนฝูงของเรามีไหม ที่ยังจมปลักอยู่ในความทุกข์ความเดือดร้อน ยังอยู่กับปัญหาวุ่นวายสับสนด้วยปัจจัยต่างๆ ถ้ามีก็อย่าชักช้าไปดึงเข้ามา ชวนไปเที่ยวหน่อย เอารถไปรับเลย ถ้าเรามีรถก็เอารถไปรับถึงบ้านไปจอดรับที่บันไดบ้านเลยทีเดียว ไปกันหน่อย ไปกินยากันหน่อย พูดๆกับเขาอย่างนี้ ชวนมาเที่ยวหน่อย มาวัดมาวา ขอให้มากินสักหน่อย มาพักในที่สงบๆสักหน่อย การบุญอย่างนี้เรียกว่าเป็นการทำบุญอันยิ่งใหญ่ เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ เป็นการช่วยอันที่จะเกิดสุขยิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา
เราเกิดมาเป็นผู้นับถือพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติตนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้เห็นผลของธรรมะพอสมควรแล้ว แล้วเราได้เอาสิ่งที่ได้พบได้เห็นนี้ ไปให้คนอื่นได้พบได้เห็นต่อไป ได้ชื่อว่าไม่เสียทีแล้ว ที่เราได้ชื่อว่าเป็นพุทธบริษัท เพราะอย่างน้อยเราก็ดึงเพื่อนคนหนึ่งเข้าหาความจริงได้แล้ว เข้าหาธรรมะได้แล้ว อย่างวันก่อนก็มีคนๆหนึ่งมาคุย บอกว่าเพื่อนหนูคนหนึ่งเขาเป็นผู้หญิง มีความทุกข์สับสนวุ่นวายอยู่ตลอดเวลา เลยนัดให้บอกว่าจะพาไปพบท่านเจ้าคุณปัญญา ก็เออว่าท่าจะดี แต่ก็ยังไม่มาสักที เพราะว่ามันติดงานนั่นนี่ก็บอกโยมมีงานตลอดเวลาไม่มีวันหยุดวันว่าง ระบบการปฏิบัติงานในเมืองไทยนี้มันยังไม่ดี ที่มันไม่ดีเพราะมันไม่มีวันหยุดนี่เอง วันอาทิตย์นี่มันก็ยังต้องทำงาน วันเสาร์ก็จะต้องทำงาน วันอื่นๆแล้วก็ยังจะต้องทำงานกันอยู่ อย่างนี้มันตายไม่ไหว ร่างกายไม่ได้พักผ่อน จิตใจก็ไม่ได้พักผ่อน มีเงืนมีทองแต่ใจไม่เป็นสุขจะมีทำไม ก็ไม่ได้พักผ่อนมันก็ไม่ดี เรามีเงินร้อยๆล้านนอนไม่หลับ เป็นโรคเบาหวาน ต้อง (42.17 เสียงไม่ชัดเจน) เดินขึ้นเดินลง (42.20 เสียงไม่ชัดเจน) โยมมองรอบๆตัวสิมีอะไรได้ไหม มีเงินมีทองช่วยได้ไหม มีอะไรๆอยู่รอบข้างช่วยเราได้หรือ เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราควรจะปลีกตัวได้บ้าง (42.30 เสียงไม่ชัดเจน) พักผ่อนเสียบ้าง การพักผ่อนที่ถูกต้อง คือ การมาหา มารับธรรมะ คนในสมัยก่อนนั้น เศรษฐี คหบดี พระราชา มหากษัตริย์ (42.47 เสียงไม่ชัดเจน) ในยุคพระพุทธเข้า (42.52 เสียงไม่ชัดเจน) ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราช ได้เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย เป็นจักรพรรดิตัวอย่างของโลก (43.06 เสียงไม่ชัดเจน) เขายกย่องว่าเป็นจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ของโลก เป็นจักรพรรดิที่ไม่ใช้ดาบเป็นอาวุธ ไม่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน แต่ความจริงนั้นเบียดเบียนมาก่อน ก่อนจะยิ่งใหญ่นั่นเบียดเบียนมาก่อน เกิดความสำนึกเกิดขึ้นในใจ เขาเรียกว่ามโนธรรม คือ ภาษา (43.25 เสียงไม่ชัดเจน) มโนธรรมนี่มันเกิดขึ้นในใจ เมื่อไปเห็นคนมันตายนะสิ คราวนั้นยกทัพไป (43.35 เสียงไม่ชัดเจน) เดี่ยวนี้เรียกโอริสสา โอริสสาเป็น (43.40 เสียงไม่ชัดเจน) เป็นนครหลวงในเวลานั้น (43.45 เสียงไม่ชัดเจน) ไปทำพิธีครั้งใหญ่ (43.50 เสียงไม่ชัดเจน) รวมมาเป็นพุทธบริษัท ๕ แสนคน ในสนามหญ้าใหญ่ ที่เมืองนั้น เขาถือว่าที่สนามหญ้าใหญ่ที่เมืองนั้นเป็นสิ่งรวมใจ เป็นอนุสรณ์แห่งความเป็นพุทธบริษัท (44.00 เสียงไม่ชัดเจน) เป็นผู้นำ (44.09 เสียงไม่ชัดเจน) พระเจ้าอโศกยกกองทัพมาย่ำยีเพราะนี่ คนตาย ถ้าพูดกันแบบภาษาเขาว่า เลือดท่วมท้องฟ้า คนตายเลือกท่วม (44.20 เสียงไม่ชัดเจน) พระองค์ได้เห็นแล้วเกิดสลดในใจ นึกในใจว่าเราทำเพื่ออะไร ทำไมต้องฆ่าคนมากมายอย่างนี้ อ๋อ เราต้องการเป็นใหญ่ ต้องการมีอำนาจเหนือดินแดนทั้งหลาย แต่ว่าเราใช้ดาบฆ่าคนตายมากมาย มโนธรรม มันเกิดขึ้น เพราะคนอินเดียนั้นเขาถือหลักการไม่เบียดเบียนก้นอยู่ แต่เผลอพระองค์ไป (44.48 เสียงไม่ชัดเจน) อยากได้ความเป็นใหญ่ อยากได้ความเป็นจักรพรรดิเลยยกทัพไปย่ำยีเขามากมาย สลดใจ ไม่สบายใจ มีดาบอยู่ในใจตลอดเวลา(0:45) ตั้งแต่นี้ต่อไปจะไม่รุกรานใคร (45.11 เสียงไม่ชัดเจน) ก็เลยมาศึกษาธรรมะ
การศึกษาศาสนา คำสอน เขาเรียกว่าอริยธรรมของอินเดีย ที่มีอยู่ในสมัยนั้น ของพราหมณ์บ้าง ของพวกเจนละ บ้าง ของฤาษีประพฤติตนทั้งหลาย ที่มี (45.28 เสียงไม่ชัดเจน) ตำรับตำราอยู่มากมายก่ายกองนั้น ก็เอามาศึกษามากมายแต่ยังไม่เป็นที่พอพระทัย ครั้นต่อมาก็ได้มาพบพระโมคลีบุตร (45.41 เสียงไม่ชัดเจน) ซึ่งเป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในสมัยนั้น มีความรู้ในทางธรรมะสูง (45.51 เสียงไม่ชัดเจน) ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน ได้พูดธรรมะด้วยกัน ก็เลยพอใจ ว่าธรรมะของพระพุทธเจ้านี่นะเป็นไปด้วยความสุข ความสงบอย่างแท้จริง ตั้งแต่นั้นก่อให้เกิดแสนยานุภาพทางธรรม ธรรมานุภาพ ไม่เอาวาวุธานุภาพต่อไป (46.11 เสียงไม่ชัดเจน) ธรรมะ สนับสนุนพระที่ประพฤติดีประพฤติชอบ เพื่อให้เผยแพร่ธรรมะต่อไป เพราะว่าในยุคนั้นสมัยนั้น ก็มีพระเหลวไหล เข้ามาบวชในพระศาสนา เพราะว่าพุทธศาสนาเจริญด้วยลาภด้วยปัจจัยแล้ว คนเคารพนับถือมาก คนก็เข้ามาบวช เมื่อเข้ามาบวชแล้ว ไม่ตั้งใจศึกษาไม่ตั้งใจปฏิบัติ เอาแต่ลาภผลสักการะ พระผู้มีปัญญาทั้งหลายมองเห็นแล้วว่า ไม่ไหวแล้ว ลวดหนามเกิดขึ้นในพระศาสนาเหลือเกินแล้ว แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร (46.50 เสียงไม่ชัดเจน) มีแต่พระคุณไม่มีพระเดช จะไปขัดลาภคนเหล่านั้นก็ไม่รู้ว่าขัดไปไหน ขัดไปแล้วเราจะไปตั้งตัวอย่างไรต่อไป มันก็วุ่นวายกันใหญ่ พระโมคลีบุตรกับพระเถระหลายองค์ เข้าไปถวายพระพรพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าพระองค์เป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ประพฤติธรรม ต้องช่วยส่งเสริมธรรมะ ต้องกำจัดสิ่งที่เป็นอธรรม กำจัดกากเดนพระศาสนา ท่านก็ถามว่าจะทำอย่างไร พระท่านก็บอกว่าต้องทำสังฆายนา พระธรรมบาลีใหม่ แล้วก็เอาพระทั้งหลายเหล่านั้นมาสอบมาถาม ถึงความคิดความเห็น ถ้าไม่ตรงกับพระพุทธศาสนา ไล่สึกหมดเลย ทั้งพระทั้งเณรคราวนั้น เอามาถาม ทั้งเถระผู้ใหญ่บ้างเอามาถาม พระพุทธศาสนาสอนอย่างไร พระพุทธศาสนา มีตัวตนไหม พระพุทธศาสนาเป็น (47.50 เสียงไม่ชัดเจน) หรืออะไร ถามเลย ตอบผิดไล่ ตอบผิดไล่สึกหมดเลย ให้ออกหมดกำจัดเสี้ยนหนามออกจากพระพุทธศาสนาหมดเลย ก็เหลือแต่พระที่เรียบร้อย ส่งเสริมธรรมของพระพุทธเจ้า จากนั้นก็สังฆายานาเป็นการใหญ่ ครั้งที่3 แล้วจัดการส่งพระธรรมาทูต ออกไปเผยแพร่ศาสนาในต่างประเทศ รวมทั้งแคว้นอื่นๆในประเทศอินเดีย (48.32 เสียงไม่ชัดเจน) แล้วก็ส่งมาถึงประเทศไทย สุวรรณภูมิ พระเถระ พระอุตตระ มาชมพูทวีป มาแหลมทอง มาขึ้นจากตรงไหนก็ไม่รู้ คนไทยว่ามาขึ้นแถวนครปฐม พม่าบอกมาขึ้นที่เมือง (48.43 เสียงไม่ชัดเจน) พระเถระมาที่นี่ (48.49 เสียงไม่ชัดเจน) คุยหนักคุยหนา เลยถามว่ามีอะไร เป็นหลักฐานบ้าง ว่าพระสององค์นั้นมาขึ้นที่นี่ มีเห็นจาริกบ้างไหม มีวงล้อธรรมจักร มีเครื่องหมายอะไรเป็นพระแสดงบ้าง (49.00 เสียงไม่ชัดเจน) ก็เลยบอกว่าคอยดู มีวงล้อธรรมจักรมาที่นี่ มีรูปกวาง มีคาถาธรรมาสลักฝังอยู่บนแผ่นหิน (49.11 เสียงไม่ชัดเจน) ฝังอยู่ที่นครปฐม พม่านี่ไม่มี (49.16 เสียงไม่ชัดเจน) พม่านี่มันไม่ยอม (49.20 เสียงไม่ชัดเจน) มีฐิถิ (49.28 เสียงไม่ชัดเจน) นี่ก็แสดงว่าพระเจ้าอโศกทำงานหนัก ทำงานตามภาระมาก ท่านไปอยู่กับพระในป่า ๑๕ วัน (49.40 เสียงไม่ชัดเจน) และจิตใจก็ดีขึ้น เมื่อจิตใจดีขึ้นก็กลับมาทำงานต่อไป นี่คนโบราณเขาทำงานกันอย่างนั้น (49.50 เสียงไม่ชัดเจน) เขาก็ทำกันอย่างนั้นเหมือนกัน เวลาเจอภาระ
เป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องไปที่เมืองมิทถิลี อยู่บนยอดภูเขา ขึ้นไปนั่งอยู่คนเดียว ทหารไปอยู่ข้างนอกอย่ามายุ่งกับข้า ข้าอยากอยู่คนเดียวไปฝึกโยคะ ทุกวันเข้าไปฝึกโยคะทุกวัน แล้วก็นั่งสงบจิตสงบใจ อยู่พักหนึ่ง๗ วัน ก็มาบริหารบ้านเมืองต่อไปนี่ คือการไปพักผ่อน ต้องไปอยู่กับพระ ถ้าลองไปพักผ่อน ถ้าจะนึกไปพักผ่อนไปพัทยา (50.30 เสียงไม่ชัดเจน) แล้วก็มีคนเยอะแยะแวดล้อม ห้อมล้อม มันจะสงบได้อย่างไร มันจะคิดอะไรได้ ต้องมาสงบใจ ไปนั่งตามวัดเงียบๆ ไปพักผ่อน ไปนั่งคนเดียว บนยอดภูเขาเสียมั่ง แล้วจะได้มามองบนยอดภูว่ามันมีอะไรเละเทะแค่ไหน บ้านเมืองมันวุ่นวาย เดือดร้อน จะช่วยอย่างไร มองปัญหาอะไรที่ควรแก้ก่อน มองปัญหาอะไรที่ควรแก้ที่หลัง ประชาชนเดือดร้อนอย่างไร ถ้าอย่างนี้แล้วมันก็ได้ปัญญา คือเมื่อใจมันสงบมันได้เห็นตัวเอง เห็นปัญหาถูกต้อง เพราะว่าถ้าใจมันวุ่นวายสับสน มันไม่เห็นปัญหา การไปพักผ่อน คือ จึงต้องไปพักอย่างสงบ ไม่ใช่ไปพักเพื่อเปลี่ยนอารมณ์ อยู่ที่นี่อารมณ์อย่างหนึ่ง อยู่ที่นั่นอารมณ์อย่างหนึ่ง อย่างนั้นมันไม่ใช้การพักผ่อน แต่ต้องไปอยู่ในที่สงบเงียบตามธรรมชาติ ไม่มีอะไรรบกวนจิตใจ อย่างนั้นจึงจะเป็นการพักผ่อนที่ถูกต้อง แต่คนไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของการพักผ่อนแบบนี้ คือ เขาไม่รู้ว่าการพักผ่อนทางจิตใจนั้น มีอานิสงส์อย่างไร มีผลอย่างไร ก่อนนี้ไปพักผ่อนทางอื่นๆ ไปเล่นกีฬา ตีกอล์ฟ ดื่มด่ำเบียร์ อย่างอื่นไปตามเรื่องตามราว อย่างนี้มันไม่ได้พักนี่ ร่างกายมันทรุดโรม ใช้จิตใจอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าไม่ได้พักกายพักใจ คนที่มีปัญญานั้นเขาพักใจ เขาทำสมาธิ เขาทำจิตให้มันสงบขึ้นมา จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการพักกายใจในทางพระพุทธศาสนา อันนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่ญาติโยมจะได้ส่งเสริมให้ลูกหลานได้มีการพักผ่อนกันทั้งด้านจิตใจ คือให้เขาได้มา (52.30 เสียงไม่ชัดเจน) หรือว่าเขาไม่ได้มา เรามีเทปมาเปิดไว้ในบ้าน มันเดินไปเดินมาเข้าหูบ้าง ได้ยินบ้าง (52.45 เสียงไม่ชัดเจน) ก็ให้เปิดไว้ให้เขาได้ยินได้ฟัง เวลารับประทานอาหารก็รับประทานไป เปิดเทปขึ้นบ้างให้ดังๆ อย่างนี้เรียกว่าเพื่อฝึกวันละเล็กวันละน้อย เดี๋ยวนี้มันสะดวก ข้อมูลมันเยอะ (53.04 เสียงไม่ชัดเจน) เวลาเอาไปเปิดในบ้าน เปิดสู่กันฟัง เพื่อนฝูงมาเยี่ยมมาเยือน แทนที่จะเปิดเหล้า เปิดเบียร์เลี้ยงกัน (53.17 เสียงไม่ชัดเจน) เราก็มาเปิดเทปธรรมะให้ฟัง บางคนนั้นก็อาจจะไม่เคยฟัง แต่พอได้ฟังเข้า เมื่อเข้าหู (53.28 เสียงไม่ชัดเจน) คนมีปัญหา นี่ก็จะ (53.30 เสียงไม่ชัดเจน) เพราะอะไรโยมความคิด ความติดๆกัน ความลำบากใจ อะไรมันเยอะแยะ พอได้ฟังคนอื่นเหมือนกับเรา ปัญหานี้มันเหมือนกับเรา (53.47 เสียงไม่ชัดเจน) แล้วก็ค่อยๆสนใจ เมื่อสนใจฟังไป ฟังไปก็เลยสนใจมากขึ้น เขาก็ได้สิ่งที่ประเสริฐขึ้นเพราะว่าได้ของดีที่เป็นประโยชน์กับชีวิต
ของดีอย่างนี้ต้องต้องแจกกันมากๆ (54.07 เสียงไม่ชัดเจน) เรื่องที่น่าเสียใจในเมืองไทยเรา ไม่ค่อยแจกธรรมะ แจกแต่พวกเครื่อง (54.10 เสียงไม่ชัดเจน) กันในเวลานี้ (54.16 เสียงไม่ชัดเจน) แจกพระเครื่องราง ของขลังศักดิ์สิทธิ์ ไปเข้าเจ้า (54.20 เสียงไม่ชัดเจน) เวลาจะให้ก็ทำท่าให้ก็ระริกๆเหมือน (54.28 เสียงไม่ชัดเจน) ในความจริงมันไม่ได้เรื่องไม่ได้ได้ราว (54.47 เสียงไม่ชัดเจน) เพราะไปรับไว้ด้วยความโลภ ไม่ได้รับด้วยความฉลาด หลวงพ่อไม่เคยสอนธรรมะเลย (54.58 เสียงไม่ชัดเจน) อยู่ในศีล ในธรรมแล้ว อย่าไปเบียดเบียนใคร ให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน อย่ากินเหล้า อย่าเล่นการพนัน (55.00 เสียงไม่ชัดเจน) มันเป็นเรื่องงมงายกัน ไม่เปิดเผยของจริง ของแท้ ให้คนได้รู้ได้เข้าใจ เวลานี้มันถึงเวลาแล้ว ที่เราจะมางมงายอยู่ต่อไปไม่ได้ เพราะปัญหามันอยู่กับพ่อแม่ ญาติโยมก็คงจะเห็นว่าปัญมาจากพ่อแม่ มันมีอยู่ปรากฎอยู่ ความลำบากของมนุษย์มีอย่างไร ก็เห็นกันอยู่ แต่ว่าคนเหล่านั้นไม่มีน้ำใจเหมือนพระเจ้าอโศกเลย (55.49 เสียงไม่ชัดเจน) พวกนั้นไม่สลดใจ (55.56 เสียงไม่ชัดเจน) ไม่มีมโนธรรม ไม่มีพื้นฐานทางธรรมะจิตใจเลยแม้แต่น้อย (56.00 เสียงไม่ชัดเจน) สร้างบ้านสร้างเมืองพัฒนามากเหมือนกัน แต่ว่ามันนานเกินไป (56.29 เสียงไม่ชัดเจน) นานเกินไป คนเดียวอยู่กันตั้ง๑๘ ปี มันก็ต้องมี คนก็รำคาญ ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็คือ ตัวของเราเอง (56.46 เสียงไม่ชัดเจน) หนามยอกอกเลย หรือว่าหอกข้างแคร่ พอข้างแค่มันตำตัวเอง เพราะว่ามันวุ่นวายสับสน (56.52 เสียงไม่ชัดเจน) คนเรามันต้องรู้จักเปลี่ยนกันบ้าง รู้จักหยุดเสียบ้าง ให้คนอื่นเขาทำบ้าง (57.00 เสียงไม่ชัดเจน) มันไม่ไหว
กระทบ ๗ วันมันตายแน่ อะไรๆมันก็ต้องเปลี่ยนเสียบ้าง เมื่อคนเรามันไม่ยอมเปลี่ยน ความจริงประชาธิปไตยยังต้องเปลี่ยน ทุกๆ4ปีมันต้องเปลี่ยน เพราะบางทีก็เขียนมาไม่ให้เปลี่ยน กูจะเป็นอย่างนี้เรื่อยๆไปอย่างนี้ก็ไม่ได้ มันเกิดปัญหาแล้ว โดยในรอบปีนี้ควรจะเป็นปีที่ดวงชะตาเผด็จการทั้งหลาย (57.41 เสียงไม่ชัดเจน) ลามมาถึงเกาหลีแล้ว มันก็จะลามไปเกาะใดเกาะหนึ่ง (57.45 เสียงไม่ชัดเจน) เพราะว่ามันนานเกินไป เรามันยึดเกินไป หวงอำนาจเกินไป ราวกับว่าในแผ่นดินนี้ มีแต่ข้าคนเดียว ไม่ได้ มั้นต้องมีคนอื่นเขายืนบ้าง มันต้องให้คนอื่นเขาแสดงฝีมือบ้าง (58.00 เสียงไม่ชัดเจน) เรียกว่ารู้จักพัก ถ้ารู้จักพักมันก็เรียบร้อย ถ้าไม่รู้จักพัก มันก็จะเกิดปัญหาเหมือนกัน (58.10 เสียงไม่ชัดเจน) การไม่รู้จักธรรมะ ทำให้ไม่รู้จักประมาณตัว ไม่มองสังขารร่างกาย ไม่เจียมตัว เจียมสังขาร อะไรมันก็เกิดทั้งนั้น (58.25 เสียงไม่ชัดเจน) คนอื่นเขาทำดีบ้าง เราเป็นส่วนแนะนำธรรมศึกษา อย่างนี้มันก็มีเจตนารมณ์ พ่อแม่พอเกิดมาก็ให้ลูกทำบ้าง หัดลูกบ้าง แต่พอโยมยังไม่ทันตายก็ไม่รู้ว่าลูกเราทำได้ (58.45 เสียงไม่ชัดเจน) มันก็ได้สอนได้เตือน ถ้าเราทำเสียคนเดียวจนกระทั่งหมดลมหายใจ ลูกก็ทำไม่ถูก ถ้าไม่ได้รับบ่มเพียรจนเป็นนิสัย คนที่ฉลาดนั้นเค้าสอนให้ลูกทำงาน และก็คอยบอกคอยเตือน คอยบอกนโยบาย ให้ทำอย่างนั้น ให้ทำอย่างนี้ จากประสบการณ์ชีวิตในที่ผ่านมา (59.05 เสียงไม่ชัดเจน) เราก็ทำเองจนตายลูกทำ ก็ไม่รอด เพราะไม่เคยทำ ลูกก็นึกว่าทำสบาย ทำไว้เผื่อหมดแล้ว เราก็ประมาทเสียหาย การบ้านฉันใด การเมืองก็ฉันนั้น มันต้องอาศัยการรู้จักประมาณ ในการเป็นการอยู่ทั้งนั้น ธรรมะเอาไปใช้ก็ได้บุญได้ค่า แต่ถ้าไม่ใช้ก็เกิดเป็นปัญหาวุ่นวายสับสน ในวันนี้จึงนำเรื่องนี้มาพูดกับญาติโยมทั้งหลาย ว่าจะได้นำไปนึกคิด นึกพิจารณา เตือนให้สะกิดใจแก่ลูกแก่หลาน แก่คนที่เรารู้จักมักจี่ ว่าเราควรจะทำอะไรกันบ้าง ในทางที่พักผ่อนทางด้านจิตใจ หรือว่าทำอะไรที่จะเกิดความสุขที่แท้จริงในชีวิตประจำวัน เราก็มาได้แก่สมควรแก่เวลา ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอเชิญญาติโยมนั่งสงบจิตใจ เป็นเวลา ๕ นาที