แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันศุกร์ที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง เข้าพรรษาเข้าหาธรรม ตอนที่ ๑๗ ได้เกิดเป็นมนุษย์สักครั้ง ต้องตั้งเป้าหมายชีวิตที่สูงสุดคือดับทุกข์ให้ได้
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
ประชากรที่มีอยู่ในโลกนี้ ณ ปัจจุบันเกือบ 8,000 ล้านคน
ให้พากันมีความเห็นถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง
การดำเนินชีวิตของเราจะได้เอาความถูกต้อง
การดำเนินชีวิตของเราก็จะได้เอาความถูกต้องความเป็นธรรมความยุติธรรม
ไม่มีตัวมีตน ไม่มีอคติ เพราะว่าเราเกิดมาจากความไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์
แล้วก็ยังไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
เพราะแบบนี้ชีวิตเราทุกคนถึงได้มีปัญหา มันเป็นโครงสร้างที่มาจากสีดำสีเทา
ทุกท่านทุกคนก็ให้พากันเข้าใจ เพราะทุกอย่างมันแก้ไขได้ ปฏิบัติได้
เราต้องเอาความเป็นธรรมความยุติธรรม ไม่ได้เอาตัวเอาตน
ทุกท่านทุกคนต้องมีสติสัมปชัญญะ มีความเห็นถูกต้อง มีความเข้าใจถูกต้อง
ปฏิบัติถูกต้อง ทุกท่านทุกคนก็มาแก้ไขที่ตัวเอง เมื่อเราแก้ไขที่ตัวเราเองแล้ว
ถ้าแก้พร้อมกันทั้งโลก ไม่กี่ชั่วโมงมันก็ได้ ชีวิตของเราก็จะได้แก้ปัญหาที่ถูกต้อง
ความผิดก็คือความผิด ความถูกต้องก็คือความถูกต้อง
หมู่มวลมนุษย์ต้องพัฒนาเรื่องเหตุเรื่องผลให้ถูกต้อง ต้องมีความเห็นถูกต้อง
และต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน พร้อมทั้งกายและจิตใจ
มนุษย์เราส่วนใหญ่เกิดมาอายุก็ไม่เกิน 100 ปี เราเกิดมาก็ต้องมีความเห็นถูกต้อง
เราจะไปทำตามใจตามอารมณ์ตัวเองไม่ได้ เราต้องมีความสุข
เราต้องเริ่มจากผู้ที่เกิดก่อน
ก็เหมือนกับวิทยาศาสตร์คนรุ่นก่อนพัฒนาวิทยาศาสตร์มา เราก็ต้องพัฒนาต่อ
2
บางทีเป็นพวกสัตว์เดรัจฉานมันก็ไม่พัฒนา
เราพัฒนาวิทยาศาสตร์ก็เพื่อดำรงชีพเรา แต่ว่าเราก็ต้องพัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน
เพราะว่าทุกอย่างมันก็ต้องพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เป็น
ผู้ที่มีความเห็นถูกต้องมาเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง และพัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน
ความดับทุกข์มันถึงจะมีอยู่กับเราทุกหนทุกแห่ง จะได้หยุดอบายมุขของตัวเอง
เราทุกคนไม่ต้องรวยเป็นมหาเศรษฐีเพียงแค่ไม่มีหนี้ไม่มีสิน มีธรรมมีคุณธรรม
ถ้าเรามีความเห็นผิดเราก็จะเห็นแต่วัตถุ มันก็เป็นการทำลายโลก
เป็นการทำร้ายผู้อื่น มันเป็นอคติ มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ทุกท่านทุกคนต้องพากันเข้าใจ ความสุขความดับทุกข์มันมีได้อยู่ทุกหนทุกแห่ง
เพียงแต่ทุกท่านทุกคนมีสติสัมปชัญญะมีความสงบ รู้อะไรผิดรู้อันไหนถูก
เราจะได้ Control ตัวเอง ในหนทางที่ประเสริฐ นี่มันคือกิจกรรม
กิจกรรมคือการดำรงชีพ เรียกว่าศีล ศีลคือความถูกต้อง
ศีลก็เปรียบเสมือนกับรถกับเครื่องบินเป็นยานพาหนะที่จะพาเราออกจากวัฏสงสา
ร เพราะความประพฤติของเรา เราอย่าไปมองข้ามเรื่องกรรมเวร
เพราะว่ากว่าจะรู้กรรมรู้เวรมันก็ตั้งหลายปี เราไม่มีปัญญาญาณ
เราก็ต้องอาศัยพระพุทธเจ้าก่อน ต้องอาศัยพ่อแม่เป็นพระอริยเจ้าอยู่ในครอบครัว
ความประพฤติของเราก็เริ่มจากความมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง
ปฏิบัติถูกต้อง เราจะได้เข้าใจเรื่องความสุขความดับทุกข์
ว่ามันอยู่ทุกคนทุกแห่งอย่างนี้ ทุกคนไม่ต้องไปน้อยอกน้อยใจว่า โชคไม่ดี
ไม่ได้มีบารมีมาแต่ก่อน ไม่ได้เกิดมาในพ่อแม่รวย อย่าพากันคิดอย่างนั้น
เพราะมนุษย์ไปตกอยู่ในความหลงความรวยกันเป็นส่วนใหญ่
3
พวกเทวดาก็หลงในความสุข ก็ตกลงไปอยู่ในนรกก็เป็นส่วนใหญ่ ผู้ที่มีความผิด
ต้องมีความเห็นถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง มีสติสัมปชัญญะ
การแก้ปัญหามันก็จะดับทุกข์ได้ อยู่ทุกคนทุกแห่ง ไม่ต้องไปไหนหรอก
มันอยู่ในอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะสิ่งที่มี สิ่งนั้นมันถึงมี ที่มันเป็นศีลเป็นปัญญา
มันเป็นสติสัมปชัญญะ มีสติมีทั้งปัญญา ทุกคนถึงได้ก้าวไปด้วยความพอดี
ใจของเราก็ต้องอยู่ในสมาธิ ที่เรียกว่า ขณิกสมาธิ
แล้วมันจะเป็นสมาธิขึ้นไปอีกระดับหนึ่งที่เป็นอุปจารสมาธิ
ที่เราจะต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ทุกท่านทุกคนอย่าไปพากันหลง
อย่าไปพากันอยู่ในความประมาท ทุกท่านทุกคนต้องพากันจัดการตัวเอง
ให้มีสติสัมปชัญญะ กลับมาหาศีลหาธรรม สิ่งแวดล้อมมันเล้าโลมเรา
ทำให้เราต้องร้องโอ๊ยๆๆ อย่างนั้นไม่ได้ เพราะว่าความเป็นพระอยู่ที่ตัวเรา
อยู่ที่มีสติสัมปชัญญะ คำว่า พระ นี้ หมายถึงพระโสดาบันจนไปถึงพระอรหันต์
ประชาชนเราไม่ได้บวช ก็เป็นพระได้ ผู้ที่มาบวชก็เป็นพระได้
เพราะสิ่งนี้มีสิ่งต่อไปมันถึงจะมี มันถึงจะพัฒนาไปอย่างนี้
ทุกคนอย่าไปว่ามันปฏิบัติยาก ถ้าปฏิบัติตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง
มันก็เป็นการปฏิบัติยาก เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่ถูกทาง
เพราะพื้นฐานเราเป็นคนสีดำสนิทมาแต่เก่าก่อน
พระพุทธเจ้าท่านถึงไม่ให้เรามีสักกายทิฏฐิไม่ให้มีตัวตน
เหมือนคนที่เป็นบ้ามันไม่มีสติ คนที่มีสติอย่างเดียวมันก็ยังไม่พอ
มันต้องมีสัมปชัญญะมีปัญญา เพราะว่าเราทำแบบนี้มันเห็นทุกข์
มันเป็นเหตุแห่งการดับทุกข์ ทุกคนต้องหยุดตัวเอง ไม่คิดไม่พูดไม่ทำอย่างนี้
4
พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสว่า เธอทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด
พรหมจรรย์ก็หมายถึงความเป็นธรรม ความยุติธรรม ทุกคนก็อย่าไปพากันหลง
อย่าพากันไปประมาท เพราะความประมาทมันก็เหมือนได้ฝนนี่แหละ
เวลาฝนมันตกมันก็ไม่เล็กๆ อ่ะ
ตกลงมาตกลงมาแต่ถ้ามันตกไม่หยุดมันก็จะกลายเป็น depression นะ
มันก็ทำให้ท่วมบ้านท่วมเมืองได้ เราต้องรู้จักต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก
เอาธรรมเป็นหลักเอาความถูกต้องเป็นหลัก อย่าไปเอาตัวเอาตน
ต้องพากันอยู่ที่ไหนขอให้ดึงความดับทุกข์ อย่าอยู่กับเขาฟุ้งซ่าน อย่าอยู่การ LINE
โทรศัพท์ เล่น facebook ถ้าเราจะเล่นโทรศัพท์มันก็จะยุ่งอยู่แต่ภายนอก
ไม่มีสติสัมปชัญญะ ไม่มีความสุขอยู่กับการทำงาน การทำงานคือความสุข
วันหนึ่งคืนหนึ่งมี 24 ชั่วโมง ก็ให้พากันนอน 6 ชั่วโมงอย่างหลับสนิท อย่างมากก็
8 ชั่วโมง ถ้ามากกว่านี้ก็จะเบลอนะ เบลอมากก็จะเป็นอัลไซเมอร์
เราต้องทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ความทุกข์มันจะมีอยู่กับเราทุกหนทุกแห่ง
มันไม่ได้อยู่ที่ไหนหรอก มันไม่ต้องไปวิ่งหา ไปเรื่อยร้องโอ๊ยๆๆ
เราต้องพากันเข้าใจอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ ถือว่าทุกคนน่ะผิดพลาดมาทุกๆ คน
ต้องรู้ว่าความผิดพลาดมันอยู่ที่ไหน ความผิดพลาดมันอยู่ที่มิจฉาทิฏฐิ
แล้วก็ไม่ยอมรับตัวเองว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ที่เราเป็นบ้าก็ไม่ยอมรับตัวเองว่าเราเป็นบ้า เพราะว่าอวิชชาความหลง
เราสะสมมันมาหลายชาติ ไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนกี่ล้านชาติ เราหลงมองไปข้างๆ
มันก็หลงเหมือนกัน ก็เลยเป็นประชาธิปไตยไปกันหมดทั้งบ้านทั้งเมือง
เราก็ให้พากันเข้าใจ เราจะได้พากันปฏิบัติถูกต้อง
5
บ้านเมืองเราจะได้สงบอบอุ่นจะได้ไม่แตกสามัคคีกัน
คนเราทุกคนเกิดมาไม่กี่สิบปี ไม่เกิน 100 ปี ก็จากกัน
ทุกคนต้องรักกันต้องสงสารกัน
การหลงเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้ไม่ใช่ของดีไม่ใช่ของน่าเพลิดเพลิน
เราจะพากันหลงจะพากันรับจ้างมาเกิดอย่างนี้ไม่ได้
เห็นไหมพระพุทธเจ้าท่านเผยแผ่พระธรรม 45 พรรษา
พญามารก็พยายามนิมนต์ให้พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน
อยู่ไปนานจะสั่งสอนประชาชน เราต้องเข้าใจ ความไม่เข้าใจของเรา
มันทำให้เราหยาบกระด้าง ขอตัวตนเป็นหลักไม่ได้เอาความถูกต้องเป็นหลัก
ไม่ได้เอาความยุติธรรม ทุกท่านทุกคนอยู่ที่ไหนก็ต้องเอาธรรมเป็นหลัก
เราจะได้นอนหลับมีความสุข ทำงานจะได้มีความสุข
มันจะเป็นธรรมเป็นปัจจุบันน่ะ
องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเปรียบเทียบไว้เป็นบุคคล ๔
ประเภทในโลกนี้ ซึ่งในพระบาลีมีแสดงไว้ว่า
“ตโม ตมปรายโน” ผู้มืดมามืดไป “ตโม โชติปรายโน” ผู้มืดมาสว่างไป
“โชติ ตมปรายโน” ผู้สว่างมามืดไป “โชติ โชติปรายโน” ผู้สว่างมาสว่างไป
ทั้ง ๔ ประเภท เปรียบเทียบคนเราทั้งหมด จะเป็นหญิงก็ตาม ชายก็ตาม
เกิดมาแล้วในโลกมีลักษณะเป็น ๔ ประการ
ประการที่ ๑ “ตโม ตมปรายโน”
6
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มืดมาแล้ว มีมืดต่อไปเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูลช่างสาน
ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างเย็บหนัง หรือในตระกูลคนเทหยากเยื่อ
อันเป็นตระกูลเข็ญใจ มีข้าว น้ำและโภชนะน้อย เป็นอยู่โดยฝืดเคือง
หาของบริโภคและผ้านุ่งห่มได้โดยฝืดเคือง อนึ่ง เขามีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู
เป็นคนแคระ มีโรคมาก เป็นคนตาบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก
หรือพิการไปแถบหนึ่ง ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป ตามสมควร
เขาซ้ำประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจาและด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา
ใจแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลเป็นผู้มืดมาแล้ว
มีมืดต่อไปอย่างนี้แล ฯ
ผู้มืดมามืดไป คนทั้งหลายเหล่าใด ไม่มีศีลธรรมประจำใจ
เป็นชายก็ตามหญิงก็ตาม อยู่ในสกุลใดก็ตาม จะเป็นผู้สูงศักดิ์หรือต่ำต้อยก็ตาม
เกิดมาแล้วส่วนตนไม่ได้กระทำคุณงามความดี
ไม่ประกอบกรรมอันเป็นบุญเป็นกุศล ไม่คิดดี ไม่พูดดี ไม่ทำดี ไม่คบหาคนดี
ไม่ส่งเสริมคนอื่นให้กระทำคุณความดี มีแต่ความคิดอ่านสิ่งที่เป็นบาป
คิดร้ายต่อคนอื่น พูดจากล่าวหาว่าร้ายผู้อื่น ใจบาปหยาบช้า
ทำร้ายทำลายชีวิตผู้อื่นหรือสัตว์อื่นอยู่เนื่องนิตย์ ในที่สุดแม้มีอายุมากแล้ว
ก็ยังไม่กลับเนื้อกลับตัว ประพฤติตนอยู่อย่างนั้นไม่จบไม่สิ้น
ครั้นสิ้นชีพไปแล้วจะไปสู่อบายภูมิ อันนี้ท่านเรียกว่า “ผู้มืดมามืดไป”
7
ท่านเปรียบไว้กับบุคคลอย่างนี้ว่า “ต้นก็คด ปลายก็คด” ตลอดชีวิตหาความดีไม่ได้
และหาความสุขไม่เจอ (คนใจบาปหยาบช้าต่ำต้อยน้อยวาสนา)
ประการที่ ๒ “ตโม โชติปรายโน”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มืดมาแล้ว มีสว่างต่อไปเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล...
อันเป็นตระกูลเข็ญใจ มีข้าว น้ำและโภชนะน้อย เป็นอยู่โดยฝืดเคือง
หาของบริโภค และผ้านุ่งห่มได้โดยฝืดเคือง อนึ่ง เขามีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู
เป็นคนแคระ มีโรคมาก เป็นคนตาบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก
หรือเป็นคนพิการไปแถบหนึ่ง ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ
ระเบียบดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป ตามสมควร
แต่เขาประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจาและด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย
วาจา ใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ บุคคลเป็นผู้มืดมาแล้ว
มีสว่างต่อไปอย่างนี้แล ฯ
ผู้มืดมาสว่างไป บุคคลชายก็ตามหญิงก็ตาม บางคนในโลกนี้เกิดมาแล้ว
ในตระกูลที่ต่ำต้อยประกอบกรรมอันเป็นบาปหยาบช้าลามก
ไม่มีศรัทธาในสิ่งที่เป็นความดีงาม ไม่เคารพในบุญทานการกุศลใด ๆ
อยู่ในสิ่งแวดล้อมด้วยความไม่ผ่องใส โดยประการทั้งปวง ในเบื้องต้นฯ
แต่เมื่อมีชีวิตเติบโตขึ้นได้รับการศึกษาพอสมควร
หรือได้รับคำแนะนำอบรมพร่ำสอนถอนตนออกให้ไกลจากบาป
พิจารณากลับตนเสียใหม่จากร้ายให้กลายเป็นดี จากมืดให้เป็นสว่าง
8
หมั่นประกอบคุณงามความดีที่ยังไม่มี ให้มีขึ้น กุศลเจตนาใดๆ ที่มีอยู่แล้ว
เพราะเพิ่มเสริมสร้างให้มากยิ่งขึ้น บริบูรณ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
จนเกิดความร่มเย็นเป็นสุขในบั้นปลายในชีวิต
ได้รับความผาสุกด้วยประการต่างๆ ครั้นเมื่อสิ้นชีพไปแล้วก็ไปสู่สุคติ
ซึ่งท่านเปรียบเทียบบุคคลเช่นนี้ไว้ว่า “ต้นคดแต่ปลายตรง”
เรียกว่าในชีวิตนี้เกิดมาใช้ได้ไม่เสียที ไม่เสียชาติเกิด
ประการที่ ๓ “โชติ ตมปรายโน”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้สว่างมาแล้ว มีมืดต่อไปเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลสูง คือ ตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันเป็นตระกูลมั่งคั่ง
มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย
มีทรัพย์สินเหลือล้น อนึ่ง เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส
ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก เป็นผู้มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม
ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย
และประทีป แต่เขาประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และด้วยใจ
ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้ว มีมืดต่อไปอย่างนี้ ฯ
ผู้สว่างมามืดไป บุคคลบางคนที่เกิดมาแล้ว
ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากสิ่งแวดล้อมดี เบื้องต้นมีความประพฤติดี
มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ประพฤติตนตามคลองธรรม มีจิตใจเป็นกุศล
9
มีความคิดความตั้งใจดี ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี อ่อนน้อมถ่อมตน
เคารพต่อความดีของบรรพชน
แต่บั้นปลายแห่งชีวิต ละทิ้งบุญกุศลและวาสนาบารมีของตน
ไปประพฤติในอกุศลเกลือกกลั้วตนอยู่ในสังคมบาป ประพฤติตัวชั่วช้า
คือละบุญไปบำเพ็ญบาป ครั้นสิ้นชีพแล้ว จิตใจก็เศร้าหมองสู่อบายภูมิ นี้เรียกว่า
“สว่างมามืดไป” แม้มีชีวิตอยู่ก็ลำบาก จึงเรียกผู้นี้ว่า “ผู้สว่างมามืดไป” หรือ
“ต้นตรงปลายคด”
ส่วนประการที่ ๔ “โชติ โชติปรายโน”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้สว่างมาแล้ว มีสว่างต่อไปเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลก เกิดมาในตระกูลสูง คือ ตระกูลกษัตริย์มหาศาล ตระกูล
พราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันเป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย
มีทรัพย์สินเหลือล้น อนึ่ง เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส
ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม
ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย
และประทีป เขาย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และด้วยใจ
ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และใจแล้ว เมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้ว มีสว่างต่อไปอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
10
ผู้ที่สว่างมาสว่างไป บุคคลนี้กล่าวโดยสั้นๆ ก็คือ
ผู้มีบุญญาธิการถึงแม้เกิดมาแล้วจะมีภาวะอย่างไร
ครอบครัวจะตกอยู่ในสภาวะยากจนอย่างไร แต่ก็ไม่ท้อถอย มีสติปัญญา
มีมานะอุตสาหะรู้จักประมาณในสิ่งต่างๆ ได้ดี
ทำให้ชีวิตของตนได้รับความราบรื่นร่มเย็นเป็นสุข มีแก่นสารในชีวิตบั้นปลาย
ทั้งในฐานะและในคุณธรรม สร้างสมคุณงามความดี
ให้เป็นประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมเป็นต้น บุคคลเช่นนี้ ชื่อว่าหายากที่สุด ได้นามว่า
“โชติ โชติปรายโน” หรือ “ต้นก็ตรงปลายก็ตรง”
คนเรานะสติสัมปชัญญะไม่ค่อยจะสมบูรณ์
มันทำอะไรตามความเคยชินที่ผ่านๆ มา สติสัมปชัญญะมันมีน้อย กำลังสติ สมาธิ
ปัญญายังไม่เพียงพอ เหมือนกับคนที่เค้าป่วย ร่างกายที่เดินเหินไม่ได้คล่องแคล่ว
เขาก็มีความต้องการที่จะให้มันเดินเหินคล่องแคล่วแข็งแรง
แต่มันเป็นไปไม่ได้เพราะว่าเขาเป็นคนป่วย จิตใจของคนเราก็เหมือนกัน
จิตใจที่ไม่มีสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์เพียงพอ เขาก็หยุดตัวเองไม่ได้
เบรกตัวเองไม่ได้ ชอบทำตามอะไรที่ผ่านๆ มา
ความรู้ท่วมหัวมันก็เอาตัวไม่รอด...
พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เรามีเมตตาตนเอง กลับมารู้ตนเองนะ
ว่าตัวเองกำลังคิดอะไรอยู่ ว่าตัวเองกำลังพูดอะไรอยู่ ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่
มันตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วหรือยัง ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า
"การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตใจให้ขาวรอบ"
11
ท่านให้เราตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เราจะไปเก่งกว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้...!
ถ้าสิ่งไหนพระพุทธเจ้าท่านว่าไม่ดีไม่ถูกต้อง เราก็ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพูด ไม่ต้องทำ
ทุกคนติดสุข ติดสบาย ติดขี้เกียจ ติดทำตามความเคยชิน
มันติดอันไหนมันก็ชอบคิดอันนั้น มันติดอันไหนก็ชอบพูดอันนั้น
มันติดอันไหนก็ชอบทำอันนั้น ทุกคนต้องมาเปลี่ยนแปลงตัวเองนะ...
ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง ตัวเองก็ได้ชื่อว่าเราไม่ได้เป็น ผู้ปฏิบัติธรรม'
ความอยากความต้องการของคนเรามันกดดันนะ เพราะว่ามันเป็นสิ่งเสพติด
มันติดมามาก ติดจนเห็นผิดก็เป็นถูก เห็นสิ่งที่ดีๆ ก็เฉยๆ กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าไป
ถ้าไม่ได้ทำตามใจตนเอง ไม่ได้ทำตามความอยากของตนเอง จิตใจมันจะขาด
จิตใจมันกระวนกระวาย จิตใจเหมือนกับคนถูกน้ำร้อนลวก
การหยุดตัวเอง...การเบรกตัวเอง...เห็นคุณค่าในการที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง
ไม่มีใครที่จะมาเปลี่ยนแปลงตัวเองได้แก้ไขตัวเองได้นอกจากตัวเรา
นี่มันเป็นเรื่องของเราปัญหาของเรา เราจะหลบไปไหน หนีไปไหนมันก็ไม่พ้น
เมื่อรู้แล้วว่าเราจะหลบไปไหน...หนีไปไหน...ก็ไม่พ้น
พระพุทธเจ้าไม่ให้เราเสียเวลาที่จะต้องผัดวันประกันพรุ่ง มันผัดไม่ได้อีกแล้ว
เพราะวันเวลามันเปลี่ยนไปทุกวัน มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่เวลา
เรื่องการเจริญสติสัมปชัญญะมันจำเป็นนะ เช่น เราเดินอยู่
ก็ให้ใจอยู่กับการเดิน เวลานั่งก็ให้ใจของเราอยู่กับการนั่ง
เวลานอนก็ให้ใจของเราอยู่กับการนอน
พระพุทธเจ้าท่านให้เราเจริญสติสัมปชัญญะ เราจะทำการทำงานอะไร
ให้ใจของเราอยู่กับการกับงานที่เรา กำลังทำอยู่ ทำตามอย่างนี้ดี
12
ทำให้สติสัมปชัญญะของเรามันดีขึ้น ทำให้ใจของเราเย็นขึ้น
พยายามอย่าส่งใจออกไปภายนอกเพราะจิตใจที่ส่งออกไปภายนอก เค้าเรียกว่า
'คนฟุ้งซ่าน' คนสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว
เป็นคนจิตใจชอบท่องเที่ยว
พวกเราทุกๆ คนนี้มันติดท่องเที่ยวนะ ใจมันชอบไปเที่ยว
มันอยู่กับบ้านไม่เป็น มันติดเที่ยว
ใจของเราอยู่กับเนื้อกับตัวไม่ค่อยจะได้สติสัมปชัญญะมันถึงไม่ค่อยสมบูรณ์
"จิตไม่มีพลัง จิตละกิเลสไม่ได้"
ส่วนใหญ่คนเราน่ะ... ทำการทำงานใจมันก็จะไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เท่าที่ควร
มันชอบส่งออกภายนอก มันเลยเอาการเอางานเป็นการปฏิบัติธรรมไม่ได้
พระพุทธเจ้าท่านสอนเรานะ เวลาทำงานให้ใจของเราอยู่กับเนื้อกับตัว
จะได้เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติธรรม
คนเรามันต้องทำงานตั้งแต่เช้าจนนอนหลับ ถ้าเราทำตามความชินเฉยๆ
เราไม่ได้ฝึกจิตใจของเราให้อยู่กับเนื้อกับตัว
ไม่ฝึกตัวเองให้มีความสุขในการทำงาน ก็ชื่อว่าเราทำตามความเคยชิน
เราไม่ได้พัฒนาจิตใจเอาการทำงานเป็นการปฏิบัติธรรม
เราเลยคิดว่าตัวเองทำแต่งานไม่ได้ปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าท่านสอนเรา
เอาการทำงานเป็นการปฏิบัติธรรม ให้ใจของเราอยู่กับเนื้อกับตัว
ให้ใจของเราเป็นผู้เสียสละ เพราะคนเรามันติดสุขติดสบาย ติดขี้เกียจขี้คร้าน
เราต้องเสียสละนะ
13
เมื่อเราทำงาน ใจของเราก็พออยู่กับการงานอะไรได้ แต่ถ้าเรา
ว่างงานเราจะทำอย่างไร..? ส่วนใหญ่...คนเรามันอยู่กับการกับงาน
อยู่กับการพูดการคุยกับเพื่อน แต่มันอยู่กับตัวเองไม่ค่อยเป็น
พระพุทธเจ้าท่านสอนเรานะให้ฝึกอานาปานสติ
ฝึกหายใจเข้าก็พักผ่อนใจให้มันสบาย ฝึกหายใจออกก็พักผ่อนใจให้มันสบาย
ลมเข้าก็ให้รู้สบาย... ลมออกก็ให้รู้สบาย... การหายใจเข้าก็รู้สบาย
หายใจออกก็รู้สบาย นั่นคือการทำงานชนิดหนึ่ง เพื่อให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว
เพราะคนเรามันไม่ได้อยู่กับการทำงานภายนอกตลอดไป
มันต้องว่างจากงานภายนอกบ้าง เมื่อว่างจากงานภายนอกแล้วมันจะฟุ้งซ่าน
พระพุทธเจ้าท่านก็สอนเราให้มาอยู่กับงานภายในตัวเราเอง
คืองานหายใจเข้าก็รู้สบายหายใจออกก็รู้สบาย พยายามหายใจเข้าให้มีปีติ มีสุข
มีเอกัคคตา หายใจออกให้มีปีติ มีสุข มีเอกัคคตา ให้จิตใจของเราเป็นหนึ่ง
มีความสุขในการหายใจเข้าหายใจออกจนจิตใจมันสงบ
จิตใจเราก็จะเป็นสมาธิเอง
การฝึกอานาปานสติระดับพื้นฐานนี้ไม่ใช่ฝึกได้เฉพาะการนั่งนะ
เวลาเราเดินไปเดินมา เวลาเราทำงานก็ฝึกหายใจเข้าสบายออก
เพื่อผ่อนคลายทุกขเวทนาออกจากจิตจากใจของเรา
พระพุทธเจ้าท่านให้เราพิจารณาตัวเองนะว่า ตัวเรานั้นมันอยู่ที่ไหน
มันอยู่ที่ผมนี่เหรอ หรือว่าอยู่ที่ขน อยู่ที่หนัง อยู่ที่เนื้อ อยู่ที่เอ็น ที่กระดูก
ตับไตไส้พุงนี่เหรอ? ส่วนไหนมันเป็นของเรา? ให้เราพิจารณาเป็นชิ้นเป็นส่วน
14
เหมือนกับเค้ารื้อรถยนต์คันหนึ่ง ร่างกายก็เปรียบเสมือนรถยนต์คันหนึ่ง
ที่เค้าประกอบกัน ให้เราแยกออกเป็นชั้นส่วน พิจารณาส่วนประกอบต่างๆ
จนมันหมดทุกชิ้น...ทุกส่วน ส่วนไหนมันสวยมันงาม ส่วนไหนมันจีรังยั่งยืน
พยายามให้มันชัดเจนนะ โครงสร้างสรีระร่างกายของเราเค้าดำเนินชีวิตด้วย
เค้าถึงอยู่ได้...?
คนเรามันต้องบริโภคอาหาร ต้องพักผ่อน ต้องจิตใจสงบ ชีวิตมันถึงอยู่ได้
พระพุทธเจ้าท่านบอกสอนเรานะว่า คนเรามีความทุกข์ทั้งทาง ร่างกาย ต้องแก่
ต้องเจ็บ ต้องตาย ต้องพลัดพราก มีความทุกข์ทั้งทางจิตใจ
เพราะส่วนใหญ่ทุกอย่างมันไม่ได้เป็นไปตามความต้องการของเราเลย
มันขัดใจของเราทั้งนั้น
เป็นทุกข์ในการประกอบอาชีพทำมาหาเลี้ยงชีพตั้งแต่ทำงานได้จนตาย
การทำมาหาเลี้ยงชีพนี้ก็ยากลำบากเหลือเกิน... แล้วก็มาทุกข์มายากกับญาติพี่น้อง
วงศ์ตระกูล เพื่อนฝูง ลูกน้องพ้องบริวารอีก
คนเราเกิดมามันมีทุกข์อย่างนี้
พระพุทธเจ้าท่านถึงเมตตาสอนเราไม่ให้เราตามใจตัวเอง ไม่ตามอารมณ์ตนเอง
อย่าได้ไปติดสุขติดสบาย ติดขี้เกียจขี้คร้าน เพราะการทำตามความอยาก
มันเป็นบาป เป็นกรรม เป็นเวร มันเปรียบเสมือนแมลงเม่ามันบินเข้ากองเพลิง
ให้เจริญสติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์ พยายามอย่าตามอารมณ์ไป ตามมความคิดไป
ให้เอาศีลเป็นที่ตั้ง เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง ฝึกจิตฝึกให้มันมีพลัง
เหมือนคนป่วยร่างกายมันเสื่อมโทรม ต้องพักผ่อน ออกกำลังกาย
เพื่อให้ร่างกายมีกำลัง
15
การมาฝึกจิตใจมีกำลัง คือฝึกจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว
มามีความสุขในการฝึกตัวเองปฏิบัติตัวเอง อย่าได้เห็นแก่รสอร่อยของโลก 'โลก'
ก็คือความหลงที่ผูกจิตผูกใจเรา สิ่งต่างๆ อยู่ในโลกนี้
ถ้าเรารู้จักพัฒนาตัวเองมันก็เกิดคุณ
พัฒนาตัวเองอย่างไร...? 'การพัฒนาตัวเอง'
ก็คือไม่ทำตามความต้องการของตัวเอง ต้องเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
เอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เอาพระธรรมเป็นที่พึ่ง เอาพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง
เป็นทางประพฤติปฏิบัติ
ครูบาอาจารย์ท่านอยากให้พวกเราได้เจริญสติสัมปชัญญะให้มันสมบูรณ์
เพื่อจิตใจจะได้มีกำลัง มีพลัง เพราะแต่ละคนแต่ละท่านรู้ว่าสิ่งนั้นมันไม่ดี
แต่ว่ายังทำอยู่ แสดงว่าสติสัมปชัญญะมันยังอ่อน สติสัมปชัญญะมันไม่สมบูรณ์
เมื่อปัญหามันมีอย่างนี้เราก็ต้องกลับมาแก้ที่ตัวเรา
การขึ้นภูเขาสูงก็เป็นสิ่งที่ยากลำบาก การข้ามทะเลทรายก็เป็นสิ่งที่ยากลำบาก
การฝืนจิต ฝืนใจ ฝืนอารมณ์ของตัวเองที่มันติดมันหลงมันก็ลำบากอย่างนั้นนะ
การสร้างบารมันต้องยากลำบาก ถ้าไม่ยากลำบากก็ไม่ได้ชื่อการสร้างบารมี
พระพุทธเจ้าท่านสร้างบารมีมาหนักกว่าเราตั้งเยอะนี่เราเพียงขี้ปะติ๋วของพร
ะพุทธเจ้านะ แค่นี้ถ้าเราว่ายากลำบาก...มันใช้ไม่ได้
'ความยากลำบาก' เค้าเรียกว่าการสร้างศีล สร้างสมาธิ สร้างปัญญา
ศาสนา ก็แปลว่า การสร้างบารมี การฝืนใจตัวเอง ฝืนอารมณ์ ถ้าเรารู้เฉยๆ
เราเข้าใจเฉยๆ เราไม่ประพฤติปฏิบัติตาม มันยังไม่ใช่ศาสนา
16
มันเป็นปรัชญามันยังใช้ไม่ได้ ทุกท่านทุกคนต้องเข้าถึงศาสนา
เข้าถึงการประพฤติปฏิบัตินะ ถ้าเราอยู่เฉย ๆ อยู่โดยไม่ได้ฝืน ไม่ได้อดไม่ได้ทน
ศีล สมาธิ ปัญญา มันจะเกิดขึ้นกับเราได้อย่างไร...? เราเป็นคนอ่อนแอ
เป็นคนไม่มีศักยภาพนี้มันไม่ได้นะ
พระพุทธเจ้าท่านหวังว่า เราทุก ๆ คนจะเข้มแข็ง กระตือรือร้น สร้างความดี
สร้างบารมีนะ ความสุขความดับทุกข์ที่แท้จริง อยู่ที่เราเอาชนะใจตัวเอง
เอาชนะกิเลสของตัวเอง เพราะปัญหาต่าง ๆ
ที่เราไปดิ้นรนภายนอกมันเป็นเรื่องทางกาย เรื่องภายใน
ก็คือการสร้างบารมีทางจิตทางใจนี้แหละ
ถือว่าเราได้ทำงานในสิ่งที่ประเสริฐแล้วนะ
หวังว่าทุกคนทุกท่านจะมีความสุขในการประพฤติปฏิบัติ สร้างความดี
สร้างบารมีกันนะ
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee