แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พุทธะที่แท้จริง ตอนที่ ๓๑ ย้อนมองประวัติศาสตร์ความเจริญความเสื่อมของพระศาสนา เพื่อกลับมาแก้ไขปรับปรุงตนเอง
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
คำเทศนา วันเสาร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๗
พระพุทธศาสนาเจริญขึ้นเสื่อมลงตามเหตุตามปัจจัย ได้มีการสังคายนาหลายครั้งหลายครา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ ได้ผนวชเป็นพระภิกษุ ใน พ.ศ.2367 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ฉายานามในทางธรรมว่า “พระวชิรญาณ” ประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ อันเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราชผู้เป็นอุปัชฌาย์ ภายหลังจากที่ทรงผนวชได้ 15 วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถคือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยองค์รัชกาลที่ 2 ได้เสด็จสวรรคตโดยไม่ได้ดำรัสสั่งมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ว่ากันตามนิตินัยแล้วผู้มีสิทธิขึ้นครองราชย์ต่อจากรัชกาลที่ 2 ก็คือ พระวชิรญาณ (เจ้าฟ้ามงกุฎ) เพราะเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสองค์ใหญ่อันเกิดแต่พระอัครมเหสี แต่เนื่องจากพระวชิรญาณทรงตัดสินพระทัยที่จะผนวชต่อไป ที่ประชุมพระราชวงค์และเสนาบดีจึงถวายราชสมบัติแก่กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ซึ่งเป็นพระองค์เจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ ผู้เจริญพระชันษากว่าพระวชิรญาณถึง 17 ปี เมื่อกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3 พระวชิรญาณได้ผนวชต่อไปจนสิ้นรัชกาลแล้วจึงลาผนวชออกไปขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4
ขณะประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุนั้น พระวชิรญาณทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค ต่อมาได้ทรงเลื่อมใสในความเคร่งครัดวินัยของพระเถระชาวมอญรูปหนึ่งชื่อ ชาย พุทธวังโส หรือพระสุเมธมุนี วัดบวรมงคล มีพระประสงค์จะปฏิบัติวินัยเคร่งครัดตามแบบอย่างพระมอญ จึงเสด็จย้ายจากวัดมหาธาตุไปประทับ ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือ วัดราชาธิราช เมื่อ พ.ศ.2372 ทรงเข้ารับการอุปสมบทซ้ำ โดยมีพระสุเมธมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและข้อวัตรปฏิบัติจากพระสุเมธมุนีแล้วเผยแพร่การปฏิบัติเคร่งครัดวินัยแบบมอญ ต่อมาใน พ.ศ.2379 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเทียบเท่ารองเจ้าคณะใหญ่แล้วเสด็จไปเป็นเจ้าอาวาสครองวัดบวรนิเวศวิหาร วัดบวรนิเวศวิหารนับว่าเป็นวัดคณะสงฆ์ธรรยุติกนิกายเป็นวัดแรกที่สมบูรณ์แบบ
พระวชิรญาณเถระ เป็นเจ้าอาวาสครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ 14 ปี สร้างความเจริญให้กับธรรมยุติกนิกายเป็นอันมาก สุดท้ายหลังพระบาทสมเด็จพระนั่งกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ได้ทรงสวรรคต พระองค์ได้ลาผนวชและเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 รวมเวลาที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุได้ 27 พรรษา
ดำเนินชีวิตที่ประเสริฐของเราทุกคนต้องเอาธรรมนำชีวิตเอาธรรมนำกฎหมายบ้านเมือง พระมหากษัตริย์คือผู้ทรงทศพิธราชธรรม ประธานาธิบดีคือผู้มีทศพิธราชธรรม ความเป็นพระเป็นได้ทั้งนักบวชเป็นได้ทั้งฆราวาส เพราะว่าพระนั้นคือผู้มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องทั้งกายวาจาใจกิริยามารยาทตลอดถึงอาชีพ มายกเลิกสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ความเป็นพระนั้นจึงมีอยู่กับเราทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ วันหนึ่งคืนหนึ่งของมนุษย์ สำหรับฆราวาสเราพากันนอน 6-8 ชั่วโมง สำหรับเด็กๆที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตวัยเรียนวัยศึกษาพักผ่อน 8-10 ชั่วโมง สำหรับนักบวชพากันนอน 5-6 ชั่วโมง สำหรับผู้แก่เฒ่าชราก็ประมาณ 7 ชั่วโมง
เราที่เป็นมนุษย์พากันคิดพูดทำได้ทีละอย่าง ให้เราจับหลักให้ได้ ปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญ เราต้องคอนโทรลตัวเองในปัจจุบัน ประพฤติปฏิบัติตัวเองในปัจจุบัน การปฏิบัติก็ได้แก่คิดถูกต้องพูดถูกต้องการกระทำถูกต้องกิริยามารยาทอาชีพถูกต้องในปัจจุบัน ต้องเน้นที่ปัจจุบัน เพราะอดีตก็ปฏิบัติไม่ได้อนาคตก็ปฏิบัติไม่ได้ต้องเน้นที่ปัจจุบัน ต้องเห็นความสำคัญ ตั้งใจตั้งเจตนา ให้มีฉันทะมีความพอใจ มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ ถ้าเราไม่มีฉันทะไม่มีความสุขไม่มีความพอใจในการประพฤติในการปฏิบัติ เราก็จะเป็นโรคจิตโรคประสาทโรคซึมเศร้า สุขภาพกายก็ไม่ดีสุขภาพจิตก็ไม่ดี
คำว่าบำบัด บำบัดก็หมายถึงว่า เราไปติดเราไปหลง เราจึงต้องเข้าสู่ภาคบำบัด ยกเลิกสิ่งที่เราติดเราหลง เพื่อให้การเกิดความวิเวก ยกเลิกตาไม่ได้เห็นรูป หูไม่ได้ฟังเสียง ไม่ได้รู้กลิ่นรู้รสรู้สัมผัสอย่างนี้เป็นต้น ผู้ที่มาบวชถึงต้องมาเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เข้าสู่ภาคบำบัด อุปกรณ์ทำงานใช้งานได้แก่พระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ ที่มาในพระไตรปิฎก 21,000 พระธรรมขันธ์ ที่มาในภิกขุปาฏิโมกข์ 227สิกขาบท เป็นอุปกรณ์ในการทำงานใช้งาน กายวาจาใจกิริยามารยาทตลอดถึงอาชีพนั้นทำได้ทีละอย่าง เน้นการประพฤติเน้นการปฏิบัติ เราต้องเข้าสู่ภาพประพฤติภาคปฏิบัติ เน้นมาที่ตัวเราทุกคน เรียกว่าบารมี บารมี 10 ทัศ 20 ทัศ 30 ทัศ เน้นมาเฉพาะเจาะจงที่ตัวของเราเอง เรามายกเลิกตัวยกเลิกตน มาถือพระธรรมถือพระวินัยถือนิสัยของพระพุทธเจ้า ทั้งภาคปฏิบัติทั้งภาคบำบัด อย่างตอนเป็นเด็กๆเรายังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็ต้องอาศัยพ่ออาศัยแม่ พ่อแม่ถึงเป็นผู้ให้ดีเอ็นเอทั้งกายวาจากิริยามารยาทจนถึงอาชีพ พ่อแม่จึงเป็นแบบเป็นพิมพ์ของลูกทุกๆคน ผู้ที่เป็นพ่อแม่จึงต้องเป็นแบบเป็นพิมพ์ให้กับลูกทั้งกายวาจากิริยามารยาทตลอดถึงอาชีพ
การเรียนการศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญของมนุษย์ มนุษย์เราต้องมีสัมมาทิฏฐิทั้งกายวาจาใจกิริยามารยาทตลอดถึงอาชีพ การเรียนการศึกษาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การเรียนการศึกษาถึงเป็นดวงตาเป็นแสงสว่าง ทางความรู้ความเข้าใจ เราศึกษาจากพ่อจากแม่จากคุณครูที่โรงเรียน มีความเข้าใจอ่านออกเขียนได้ เข้าใจความหมาย เราก็สามารถเอาไปใช้เอาไปปฏิบัติอยู่ทุกหนทุกแห่งในปัจจุบันนั่นเอง เพื่อเอาความถูกต้องนำชีวิต ปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง เหมือนลมหายใจในร่างกายที่ติดต่อต่อเนื่อง เรามีตาหูจมูกลิ้นกายใจ ให้เราจับหลักไว้ที่พระพุทธเจ้าบอกสอนไว้ ซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าของบ้าน เรียกว่าอายตนะภายในที่เปรียบเสมือนเจ้าของบ้าน ให้เรารู้หลักการเพื่อเข้าสู่ภาพประพฤติภาคปฏิบัติ ในชีวิตประจำวันก็จะมีรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์มาผัสสะหรือว่ามากระทบ ที่เป็นอายตนะภายนอก ท่านเปรียบเหมือนกับแขกที่มาเยี่ยมเราเยี่ยมบ้านเรา แล้วเขาก็ต้องจากไป ให้พวกเราเข้าใจแล้วยกสิ่งเหล่านี้เข้าสู่พระไตรลักษณ์ มากระทบแล้วก็จากไป ไม่ใช่นิติบุคคลไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน หากเป็นแต่ผัสสะที่อายตนะภายในภายนอกกระทบกัน ที่มากระทบมาผัสสะอย่างนี้ พระพุทธเจ้าให้เราพิจารณาสิ่งเหล่านี้ เพื่อความว่างจากตัวตน ถ้าเราไม่ภาวนาไม่ปฏิบัติ ชื่อว่าเราตั้งอยู่ในความเพลิดเพลินตั้งอยู่ในความประมาท เราก็จะมีความผิดเพราะไม่ได้พิจารณาสู่ไตรลักษณ์ ตั้งแต่อาบัติทุกกฏจนถึงอาบัติถุลลัจจัย เพราะสิ่งเหล่านี้คือข้อสอบคือข้อตอบคือภาคปฏิบัติ สำหรับผู้ที่ติดที่หลงคือการบำบัด ใหม่ๆมันก็จะเป็นของยาก ถ้านานๆไปก็จะเป็นของง่าย ก็เป็นเรื่องธรรมดาอย่งสถานที่ที่เรายังไม่เคยไปไปครั้งเดียวก็ยังจำไม่ได้ ไป 2-3 ครั้งหลายๆครั้งเราก็จะจำได้ เราต้องเอาใจใส่ เหมือนเราเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลมันก็ยาก เราเรียนไปเรื่อยๆปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายก็จบปริญญาตรีโทเอก เราต้องก้าวไปอย่างพุทธะทั้งกายทั้งวาจากิริยามารยาทตลอดจนถึงอาชีพอย่างนี้ จึงเป็นสายกลางไม่สุดโต่ง
การประพฤติการปฏิบัติน่ะ เป็นสิ่งที่ทันโลกทันสมัยทันการณ์ทันเวลา เราพัฒนาการวาจากิริยามารยาทตลอดถึงอาชีพ เราก็ไม่ติดในความหลง ทุกอย่างนั้นก็จะมีแต่คุณมีแต่ประโยชน์ ทุกคนทำได้ปฏิบัติได้ ทั้งผู้ที่ไม่ได้บวชและผู้ที่มาบวช เพราะความเป็นพระนั้นอยู่กับเราทุกคนอยู่แล้ว เรามาบวชมาปฏิบัติ พากันมาเป็นพระกัน คือมาเป็นพระธรรมเป็นพระวินัย ให้ทุกท่านทุกคนพากันเข้าใจ เข้าสู่ภาคปฏิบัติภาคบำบัด เอามาอยู่ร่วมรวมกัน ผู้ที่เป็นนักบวชในประเทศไทยเรามีสิทธิพิเศษ ไม่ต้องทำงานเหมือนฆราวาส ได้รับการแต่งตั้งที่เป็นสมมุติบัญญัติ ปลงผมนุ่งห่มผ้าผ้ากาสาวพัสตร์สีเหลืองหม่นได้แก่สีแก่นขนุนเป็นหลัก หลายปีก่อนใช้สีจีวรสะเปะสะปะกันเยอะ จึงได้เอาสีพระราชทานเป็นหลัก เสียพระราชทานก็จะอ่อนกว่าสีแก่นขนุน สีแก่นขนุนจะออกเข้มกว่า คนรุ่นใหม่สมัยใหม่จึงไม่ค่อยรู้จักแก่นขนุน เพราะไม่ได้ตัดเย็บซักย้อมเหมือนสมัยครั้งพุทธกาล จะมีหลงเหลืออยู่บ้างในสายวัดป่าวัดกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น แต่เดี๋ยวนี้ก็เริ่มจะกลายพันธุ์แล้ว เพราะทางโรงงานเขาได้ทำสีใกล้เคียงสีแก่นขนุน ถ้าไม่สืบต่อ การตัดเย็บย้อมด้วยสีแก่นขนุนแบบครั้งพุทธกาล คงจะหายไปในที่สุด ศาสนาก็มีเจริญมีเสื่อมไปอย่างนี้แหละ สิ่งไหนที่เราพากันทำเป็นส่วนมากติดต่อต่อเนื่อง มันก็จะเป็นประชาธิปไตย ถ้าทำกันเยอะๆทั้งประเทศหรือว่าหลายๆภาคทำเหมือนกัน ก็จะเป็นกฎแห่งกรรมหรือว่าเป็นประชาธิปไตย ประชาธิปไตยก็จะกลายเป็นเผด็จการ ถ้าไม่ทำอย่างนี้เหมือนบุคคลส่วนมากไม่ได้ไม่ถูกต้อง การบัญญัติกฎหมายจึงต้องระมัดระวัง ต้องเอาธรรมนำกฎหมาย ถ้าอย่างนั้นมันเสียหาย เพราะมันออกมาเป็นกฎหมายแล้วก็จะเป็นเผด็จการ ถึงมี สส. สว. พากันสร้างกฎหมายกรองกฎหมาย เพราะกฎหมายนั้นเมื่อเราเอามาใช้เป็นประชาธิปไตยแล้ว ไม่อย่างนั้นจะเป็นเผด็จการ เช่นพวกเราพากันชอบเหล้าชอบเบียร์เหมือนๆกัน ก็เห็นพ้องต้องกันออกกฎหมาย กฎหมายนั้นก็เป็นเผด็จการเพื่อให้เหล้าเบียร์มันได้มาตรฐานถูกกฎหมาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันไม่ถูกต้อง กฎหมายบ้านเมืองต้องเอาธรรมนำชีวิต
เราไปบวชเราไปปฏิบัติเราต้องไปหานักปราชญ์ต้องไปหาบัณฑิต มีความรู้มีความเข้าใจยังไม่พอ ต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ในยุครัชกาลที่ 3 จากการที่เจ้าฟ้ามงกุฏได้เสด็จออกผนวชเพื่อปรับปรุงพระพุทธศาสนา ทั้งภาคความรู้ความเข้าใจและภาพประพฤติภาคปฏิบัติ ใช้เวลาถึง 27 ปี จึงได้ลาสิกขามาครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม เอาธรรมนำชีวิต ยุคของหลวงปู่มั่น ในช่วง ปี พ.ศ. 2,436 - 2,492 พระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองขึ้นมาจากหลวงปู่มั่นหลวงปู่เสาร์ ท่านได้พาหมู่คณะ เข้าสู่การประพฤติการปฏิบัติ ศาสนาจะเสื่อมจะเจริญอยู่ที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง การประพฤติการปฏิบัติธรรมเป็นทางสายกลาง มันเป็นเรื่องยกเลิกตัวยกเลิกตน เข้าสู่ภาคประพฤติเข้าสู่ภาคปฏิบัติเข้าสู่ภาคบำบัด ถ้าเราปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องมันก็ชำนิชำนาญ ท่านถึงบอกว่าเราพากันบวชมาต้องมาถือพระธรรมพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ให้ติดต่อต่อเนื่องสัก 5 ปี ให้พากันตั้งใจดีๆ พากันยกเลิกตัวตน
ท่านไม่ได้พูดถึงป่า ถึงในเมือง การประพฤติการปฏิบัติ เมื่อเราถือนิสัย ถือพระธรรมถือพระวินัย มันก็มีความสงบ มีความวิเวกไปในตัวอยู่แล้ว เพราะธรรมชาติคือสภาวะธรรม ตั้งแต่อายตนะภายนอกอายตนะภายในสัมผัสกัน เมื่อเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง จะเป็นที่ไหนก็มีความสุข จะเป็นที่ไหนก็มีความดับทุกข์ จะเป็นที่ไหนก็เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญา ให้พวกเราทั้งหลายพากันเข้าใจนะ การปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง เหมือนสายน้ำ ไหลสู่แม่น้ำ สู่ทะเลมหาสมุทร ต้องเข้าใจอย่างนี้ เพราะความสงบความดับทุกข์อยู่กับเราทุกคนทุกหนทุกแห่ง เพราะเราทุกคนน่ะมาแก้ที่ตัวเราเอง ไม่ได้แก้ที่คนอื่น พระพุทธเจ้าตรัสถึงความว่างคือต้องว่างจากความเป็นนิติบุคคลตัวตน ทุกๆ อย่างนั้นมันมีอยู่ตามปกติของมันอยู่อย่างนี้แหละ เมื่อเรายกเลิกตัวตน ที่นั่นมันก็สงบ ที่นั่นมันก็วิเวก ต้องพากันเน้นที่ปัจจุบัน ให้ทุกคนเอาหลักการของพระพุทธเจ้า ต้องยกเลิกตัวตน เมื่อเราไม่มีตัวไม่มีตน ในที่ทุกหนทุกแห่งก็จะมีแต่ความสงบมีแต่ความวิเวก ไม่ว่าจะมีตึกรามบ้านช่อง ตึกสูงตระหง่านฟ้า ประชากรหลายล้าน ที่นั้นก็มีแต่ความสงบความวิเวก
ให้เราเข้าใจพุทธะเป็นสิ่งที่ก้าวมาเป็นธรรมเป็นปัจจุบันธรรม สำหรับคนสมัยใหม่คนรุ่นใหม่คนปัจจุบัน ไม่ใช่คนรุ่นดึกดำบรรพ์ หลาย 100 หลาย 1000 ปีนู้นนะ มาเริ่มที่ปัจจุบัน เรามาพัฒนาทั้งกาย วาจา กริยามารยาท อาชีพ เพราะเราแก้ที่ตัวเราเองไม่ได้แก้ที่คนอื่น ที่เป็นข้าราชการนักการเมืองหรือนักบวชในปัจจุบันนี้ไม่ใช่ทางสายกลางนะ มันสุดโต่งทุกคนก็จะไปแก้แต่ภายนอก ไม่ได้แก้ที่ตัวเอง หรือไม่ได้แก้ตัวเองก็แก้นิดๆ หน่อยๆ มันเลยแก้ปัญหาไม่ได้ หมู่มวลมนุษย์ในปัจจุบันนี้ถึงได้พากันเป็นโรคจิต โรคประสาท โรคซึมเศร้า สารพัดโรค ทั้งโรคทางกาย และโรคทางใจ โรคทางกริยามารยาทตลอดถึงอาชีพ อาชีพที่ไม่ถูกต้องก็เรียกว่าเป็นโรคเหมือนกัน เพราะสร้างปัญหาให้กับคนอื่น เปรียบเสมือนไวรัสนี้แหละ มันระบาดทั่วโลก เราพากันมาบวชพากันมาปฏิบัติ แล้วรับการสนับสนุนจากประชาชนทุกๆ คน เราทุกคนก็ต้องเข้าใจความหมายในการบวช เข้าใจเรื่องพระธรรมพระวินัย เข้าใจในกฎหมาย สิ่งเหล่านี้น่ะต้องโฟกัส เพื่อเป็นหลักการ เป็นหลักประพฤติปฏิบัติ เพื่อทำความถูกต้อง จากพระวินัยบัญญัติ หรือว่ากฎหมายบ้านเมืองบัญญัติ โฟกัสเข้าหาความดับทุกข์ คือวิมุติคือความหลุดพ้น เพราะตัวตนนี้มันมีแต่ทุกข์เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์ดับไป
ผู้ที่มาบวชทั้งหลาย พระพุทธเจ้าให้หลักการหลักวิชาการว่าให้เรามาพิจารณาร่างกายของเรานี้ พิจารณาสู่พระไตรลักษณ์ ร่างกายของเรานี้มีชิ้นส่วนอยู่ 32 อย่างแยกออกทีละส่วนเลย ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แยกไปทีละส่วนเลยจนไม่เหลืออะไร เพื่อจะให้เรามีความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เพราะทุกอย่างนั้นมันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แล้วพระพุทธเจ้าก็ให้พิจารณาเรื่องอาหาร อาหารใหม่ อาหารเก่า เพื่อเราจะได้ดำรงทรงธาตุทรงขันธุ์อยู่ได้ เพื่อเราจะได้ไม่หลง ทำอย่างนี้ทุกวันไป เหมือนนักเรียนที่เรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงปริญญาเอก ถ้าเราทำอย่างนี้ทุกวัน จิตใจของเราจะเข้าสู่ความว่างจากความเป็นตัวเป็นตน อย่าไปเอาแต่เพียงศีล เอาเพียงความสงบ เราต้องเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวัน ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ไม่ปฏิบัติอย่างนี้ เราทุกคนบวชมาก็ต้องอาบัติ อาบัติตั้งแต่ทุกกฏจนถึงอาบัติถุลลัจจัย พระพุทธเจ้าก็เป็นลูกหลานของพารหมณ์มาก่อน สมัยปัจจุบันก็เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าฮินดู เน้นแต่ความสงบเน้นแต่สมาบัติ 8 คิดว่าความสงบคือนิพพาน แต่ไม่ใช่ เพราะว่าออกจากสมาบัติแล้วก็ยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลงอยู่ อาศัยความวิเวกภายนอกเป็นหลัก ยังไม่ใช่นิพพาน พวกมาบวชมาปฏิบัติถึงต้องพากันมาทำกรรมฐาน พิจารณาร่างกาย พวกที่มาบวชก็ไม่อยากพิจารณาหรอก เอาแต่ความสงบ มันถึงไม่มีการบรรลุธรรม มันเอาแต่ความสงบ เพราะไม่ได้มีการปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง ต้องพิจารณาร่างกาย ประการแรกก็เน้นที่ร่างกายของเรานี้แหละ อินทรีย์บารมีของเราแก่กล้าขึ้น พิจารณาร่างกายคนอื่นก็ได้ พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราพิจารณาคนที่ตายใหม่ๆ ตาย 1 วัน 2 วัน 3 วันอย่างนี้เป็นต้น เราอยู่ที่ไหนก็ภาวนาอยู่ที่นั่น ปฏิบัติที่นั่น เหมือนปัจจุบันนี้มันไม่มีป่าช้ามากเหมือนสมัยโบราณแล้ว พวกเมรุเขาก็ทันสมัยแบบไร้มลพิษแล้วปัจจุบันนี้ ต้องเน้นการประพฤติการปฏิบัติ
เราอยู่ที่วัดไหนก็ภาวนาอยู่ที่วัด ไม่ต้องไปหาไปที่ไหนหรอก มาหาที่เราในปัจจุบัน เราไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพเราก็ปฏิบัติที่ปรุงเทพ เราเรียนหนังสือภายในจังหวัดเราก็ปฏิบัติภายในจังหวัด ตามท่ามกลางตึกรามบ้านช่องนั่นแหละ ให้เข้าใจในการประพฤติในการปฏิบัติ ถ้าเราปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องก็เหมือนที่เราเดินไปแต่ละก้าวมันจะก้าวไปเอง เหมือนที่พวกทหารเกณฑ์ ปีหนึ่งๆ ประเทศไทยเราช่วงเดือนเมษาก็ไปเลือกทหารเกณฑ์ จับฉลากกันว่าใครจะได้ใบดำใบแดง ใบแดงก็ได้เป็นทหาร เป็นทหารมันก็ดี ได้ฝึกกาย ฝึกวาจา ฝึกกริยามารยาท ฝึกภาคปฏิบัติ เน้นฝึกตั้งแต่เบื้องต้นสักระยะหนึ่งเท่านั้น ไม่มีการปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องครบ 60 ปี การปฏิบัติการฝึกทหารมันไม่ติดต่อต่อเนื่อง มันไม่ดีที่มันไม่ติดต่อต่อเนื่องนี้แหละ ฝึกไม่กี่เดือนแล้วก็ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาตินี้ไม่ได้ มันต้องติดต่อต่อเนื่อง สิ่งไหนที่เราปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง มันเป็นการก้าวไปอย่างไม่หยุด พวกที่เรามาบวชเรามาปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง หลายปีเราก็เก่งชำนิชำนาญ ทั้งกายวาจากริยามารยาทตลอดถึงอาชีพ ก็ยิ่งชำนิชำนาญ การปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องที่เป็นปฏิปทาเป็นสิ่งที่สำคัญ การที่มาบวชมาปฏิบัติในประเทศไทย ในปัจจุบันนี้ไม่มีครูฝึก ปล่อยเป็นธรรมชาติเลย เพียงโฟกัสเรื่องปลงผม นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ไม่มีการเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ภาคบำบัด สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความบกพร่องความล้มเหลวนะ
ปี พ.ศ. 2567 เดือนกรกฎาคมถึงได้ลำลึกนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านได้ปรับปรุงแก้ไขประเทศไทย เพื่อเอาธรรมนำชีวิต ทรงผนวชอยู่ถึง ๒๗ พรรษา เพื่อเราจะได้นึกถึงความย่อหย่อนตามใจตามอัธยาศัยที่ทำให้ประเทศไทยเราเสียหาย ทุกคนต้องมีความสุขพร้อมๆ กันว่า เราทุกคนต้องพากันมาแก้ไขที่ตัวเรานี้แหละ ไม่ต้องไปแก้ไขที่คนอื่น เพื่อเอาธรรมนำชีวิต เอากฎหมายบ้านเมืองนำชีวิต เข้าหาธรรมะเข้าหาเวลา พากันมีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ เราเป็นนักบวชนิกายเถรวาท นิกายมหายาน นิกายวัชรยาน เราต้องสมัครสมานสามัคคีกัน เพื่อเอาธรรมนำชีวิต ไม่เอาตัวตนนำชีวิต เราเอาตัวเอาตนนำชีวิตมันเสียหายมาก มันไปกันไม่ได้ ถ้าเราไม่ยกเลิกตัวตน เรียกว่าทุจริต คำว่าทุจริตก็ได้แก่ตัวตนนี่แหละ ถ้าใครมีตัวมีตนโฟกัสไปหาใครคนนั้นก็มีความผิด ความผิดก็ได้เกิดขึ้น เพราะเราเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ตัวตนนั้นไม่ใช่ปัญญาธิคุณบริสุทธิคุณปัญญาธิคุณ นั่นคือความไม่ถูกต้องเป็นความยึดมั่น ทำลายความมั่นคงของหมู่มวลมนุษย์ ท่านพุทธทาสภิกขุ วัดสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิตของโลก ท่านถึงประพันธ์ออกจากใจออกจากพระนิพพานว่า เราเป็นมนุษย์ได้เพราะใจสูง…
ประเทศไทยเรามีหลายพระศาสนา ให้พวกเราทั้งหลายเข้าใจนะว่า ศาสนาทุกศาสนาก็คืออริยมรรค ถ้ามายกเลิกตัวตน ถ้าเราเอาตัวตนนั้นไม่ใช่พระศาสนา มันเป็นระบบตัวตนระบบคณะ เรียกว่า ระบบหมู่เฮา หมู่เรา หมู่เขา เราต้องเข้าใจอย่างนี้ ศาสนานั้นคือธรรมะ ธรรมะคือศาสนาให้เข้าใจอย่างนี้ เอาตัวตนคือความไม่ถูกต้อง ตัวตนนั้นมันผิดกฎหมายบ้านเมือน มันทะเลาะวิวาท มันแย่งขยะกัน เอาแต่ตัวแต่ตนเอาแต่วัตถุ เป็นคนไม่มีศาสนา ศาสนาไหนก็ไม่มี มีแต่ชื่อ แต่ตัวอักษร เราต้องเข้าใจอย่างนี้ ถ้าไม่เข้าใจอย่างนี้ เรามีตัวมีตนเราก็ว่าเราดีกว่าเขา เก่งกว่าเขา รวยกว่าเขา หรือว่าเราสู้เขาไม่ได้ เพราะว่าตัวตนนี้แหละ พาให้หมู่มวลมนุษย์เป็นได้แต่เพียงคน คำว่าคนคือสับสนวุ่นวาย มีแต่ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ ทุกข์ดับไป เขาเรียกว่าคน มันเป็นวัฏฏะสงสารเข้าใจง่ายๆ อย่างนี้ มันไม่ใช่เรื่องเข้าใจยาก ตัวตนต่างหากมันเข้าใจยาก ตัวตนนี้แหละมันปฏิบัติไม่ได้ มนุษย์ต้องเข้าใจการประพฤติการบังคับตัวเอง ต้องน้อมมาที่ตัวเรานี่แหละ เราอย่าไปคิดว่าเรียนหนังสือก็เพราะความจำเป็น ทำงานก็เพราะความจำเป็น ทำอะไรต่างๆ ก็เพราะความจำเป็น ด้วยความจำเป็นอย่างนี้ถึงพากันลงทุนในการเรียนการทำงาน ลองคิดอย่างนี้เราต้องเป็นทุกข์ เป็นโรคจิต โรคประสาท เป็นโรคซึมเศร้า เราเรียนเราประพฤติปฏิบัติเพื่อจะเป็นสัมมาทิฏฐิ หรือว่าเพื่อเป็นพุทธะ เพื่อพัฒนาทุกอย่าง ความสุขความดับทุกข์ ทั้งทางกาย วาจา กริยามารยาท ตลอดถึงอาชีพ ให้พวกเราเข้าใจอย่างนี้
การปฏิบัติธรรมถึงมีอริยมรรค เป็นหนทางเดินที่ประเสริฐอยู่กับเราทุกๆ คน เรามาบวช มาปฏิบัติต้องให้ชำนิชำนาญด้วยการปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง ด้วยการบำบัดติดต่อต่อเนื่อง อย่างนั้นเกิดความเสียหาย มันต้องเด็ดขาด เรามาบวชมาปฏิบัติบำบัดทางธรรมชาติ ที่ให้เราตื่นขึ้นตั้งแต่ตี 3 เพื่อนั่งสมาธิไหว้พระสวดมนต์ เน้นมาที่ตัวเรานี้แหละ เวลาเรานอนไม่ดึก 3 ทุ่ม ดึกก็ไม่เกิน 4 ทุ่ม เวลาเราปฏิบัติเราก็ตั้งใจทำเพื่อเราจะโฟกัสให้สิ่งนั้นมันสมบูรณ์ อย่าไปคิดว่ามาบวชวัดนี้ถ้าไม่ได้ตื่นตี 3 มันก็จะดีนะ ตี 3 นี้มันทรมานเกิน เพราะเป็นเวลากำลังหลับกำลังนอน เราไม่ต้องไปคิดอย่างนั้น ที่เรามีความทุกข์มันไม่ใช่ ตี 3 หรอก มันทุกข์เพราะเรามีตัวมีตนต่างหาก เราอย่าไปสนใจเรื่องตัวเรื่องตน เรามาบวชที่วัดที่ท่านเคร่งครัดพาประพฤติพาปฏิบัติมันดีแล้ว อย่างนี้หาได้ยาก พวกเราได้โอกาสได้เวลาเราก็ได้ฝึกได้ปฏิบัติ อันนี้ดีมาก อย่าไปคิดเหมือนนักปรัชญา คิดอย่างคนเก่งคนฉลาดที่เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง วัดนี้ดีมากเสียอย่างเดียว เรื่องตื่นตี 3 นี้แหละทำให้เขาลำบาก เมื่อเราได้นอน 5-6 ชั่วโมง ร่างกายของนักบวชไม่มีปัญหานะเพื่อเราจะได้พัฒนาใจของเรา มายกเลิกตัวตน ต้องมาใช้ความเพียรติดต่อต่อเนื่องเพื่อมายกเลิกตัวตน
เมื่อหลายปีก่อนต้นพุทธศักราช 2500 พระลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นพากันปฏิบัติเข้มข้น ครูบาอาจารย์พากันปฏิบัติขาขึ้นเข้มข้น ประชาชนให้ความนับถือให้ความศรัทธา พากันเอาลูกเอาหลานมาบรรพชาอุปสมบท ประชาชนพากันฟังเทศน์ฟังธรรมเข้าอกเข้าใจ ขอครูบาอาจารย์ พวกพระผู้สร้างวัดต่างสาขา ตามป่าช้าบ้าง ป่าสาธารณะประโยชน์บ้าง ตามป่าสงวน สมัยก่อนแบ่งป่าแบ่งเขาเป็นป่าสงวน มองดูแล้วก็ดี เพื่อจะได้ฉลาด ในการประพฤติในการปฏิบัติ ในการดำรงชีวิต มีวัดมีบ้านมีโรงเรียน ใหม่ๆ มันก็ดีอยู่หรอก 4 ปี 5 ปี 10 ปี พวกพระที่ส่งไป ได้รับการฝึกฝนจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ นานๆ ไปมันก็เสื่อมลงๆ เหมือนพวกทหารเกณฑ์ พวกไปเกณฑ์ทหารใหม่ๆ ฝึกได้ 5-6 เดือน หรือ 1 ปีนี้มันก็ดี หลังจากนั้นมันก็อ่อนกำลังลง พากันทำตามใจตามอัธยาศัยทำตามควมหลง พระสมัยก่อนเป็นพระฉันมื้อเดียวจริงๆ ฉันในบาตรแล้วก็เอาอาหารรวมเข้าในบาตร ไม่มีนมไม่มีโอวันติน ไม่มีปาท่องโก๋ ไม่มีอาหารว่าง เป็นการฉันมื้อเดียวในบาตร ไม่มีน้ำปานะ ตอนบ่ายตอนค่ำ มีการพัฒนาเรื่องจิตเรื่องใจ เดินจงกรมนั่งสมาธิ ทำวัตรสวดมนต์ ไม่มีการพูดการคุย มีแต่นั่งสมาธิเดินจงกรม สมัยก่อนไม่มีวิทยุ ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีโทรศัพท์มือถือ มีแต่ความสงบมีแต่ความวิเวก มีแต่เสียงจั๊กจั่น เสียงเรไร มาบวชด้วยกันหลายปี เห็นหน้าเห็นตาในเวลาบิณฑบาต เวลาฉัน ทำวัตรสวดมนต์ ไม่ได้คุยอะไรกันลึกซึ้ง รู้กันเพียงผิวเผิน น้ำหวาน น้ำตาล น้ำอ้อยก็ไม่มี ถ้ามีก็เฉพาะวันพระ เพราะว่าพระสมัยก่อน สมัยปี 2500 วันพระ 8 ค่ำ 15 ค่ำ พวกโยมทางบ้านพากันมาถือศีลอุโบสถกัน จึงมีน้ำหวาน น้ำตาลต้ม เป็นน้ำมะตูม น้ำตะไคร้ อย่างนี้เป็นต้น มีกาแฟดำ ที่เรียกว่าโอยั๊วะ กาแฟใส่น้ำตาล เพราะพระโยมส่วนใหญ่ก็เขาทำความเพียรกัน ถือเนสัชชิก อิริยาบถทั้ง 3 ยืน เดิน นั่ง ไม่มีนอน เขาก็ให้ดื่มกาแฟ ไม่เหมือนทุกวันนี้นะ คนละอย่างกัน พระที่พากันมาบวชฟังครูบาอาจรย์ ประธานสงฆ์อยู่ด้วยกัน 5 องค์ 10 องค์ หรือ 40-50 องค์ ก็เงียบทุกคน ฟังประธานสงฆ์ เพราะประธานสงฆ์เอาธรรมเอาวินัย เอาเวลา ไม่เอาใจตัวเอง ไม่เอาอารมณ์ตัวเอง ทุกคนก็วางใจถือพระธรรมถือวินัย ถือนิสัยของพระพุทธเจ้า ยกเลิกนิสัยของตัวเอง ปฏิปทาก็เป็นปฏิปทาเข้มข้นทุกคน ทุกคนอย่าพากันฟุ้งซ่าน ทางเรื่องจิตเรื่องใจมันจะแสดงออกทางภายนอก เน้นความสงบเน้นความวิเวก เน้นพระธรรมเน้พระวินัย เรื่องตนเองก็เรียนรู้แล้วเข้าอกเข้าใจ อาศัยระเบียบอาศัยวินัย ที่ไม่ได้เน้นคือมาอาศัยครูบาอาจารย์บอกสอน เป็นพระใหม่ปฏิบัติใหม่ ต้องเน้นภาคปฏิบัติ จะไปไหนก็ไม่ได้ไป พระเณรส่วนใหญ่มองดูแล้วร่างกายก็จะแข็งแรง แข็งแรงอดทนบึกบึน เพราะบิณฑบาตไกล เดินจงกรมมาก ทำข้อวัตรกิจวัตร น้ำใช้น้ำฉันก็ตักเอาจากบ่อโบราณ ลึกลงไป 5-10 เมตร ใช้ตักเอาใช้กะแป๋งใช้ปี๊บโบราณ เป็นปี๊บน้ำมันก๊าส เขาก็เอาไปทำเป็นปี๊บตักน้ำ ทำชักรอกดึงขึ้น พระก็ใช้เชือกผูก ใช้วิธีหามกัน เพราะเป็นพระเขาไม่ให้หาบกัน ทำอะไรเป็นระเบียบเป็นวินัย เขาเคารพกันตามผู้บวชก่อน ผู้บวชทีหลัง ไม่ถือทิฏฐิมานะ ไม่ถืออัตตาตัวตน การพูดกันก็ต้องพนมมือ ตามอายุพรรษา ประชาชนคนทั่วไปก็จะพากันบวชกัน 1 พรรษา พอออกพรรษารับกฐิน กรานกฐินเสร็จก็ลาสิกขากัน เพราะเขาไม่ตั้งใจบวชตลอดชีวิต เพราะเป็นหลักการหลักวิชาการ ทั้งความรู้ความเข้าใจ ทั้งทางภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ส่วนใหญ่ก็จะลาสิกขา เกือบหมดนี้แหละ ปีหน้าก็ว่ากันใหม่ ผู้ที่จะมาบวชใหม่ เขามาฝึกเป็นนาคเป็นตาปะขาวอยู่กันตั้งหลายเดือน ถึงได้บวชเป็นพระได้ วัดป่าวัดกรรมฐานนี้ พากันมาฝึกมาปฏิบัติเป็นตาปะขาว 100 คนนี้ก็จะพากันอยู่ได้ถึงบวชพระก็ไม่เกิน 30 คน เพราะผ่านการฝึกการปฏิบัติไม่ได้ เพราะสมัยก่อนสมัยโบราณปฏิบัติเข้มข้น เพราะว่ามาเป็นนาคเป็นตาปะขาวมันเหนื่อย ทานอาหารวันละครั้ง อาหารแต่ก่อนก็ไม่อุดมสมบูรณ์ ไม่มีขนมนมเนยเหมือนทุกวันนี้ ไม่มีน้ำปานะตอนบ่ายตอนเย็นเหมือนทุกวันนี้ ไม่มีใครโอ๋ไม่มีใครเอาอกเอาใจ ส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครมองหน้ากัน มองแต่เพียงผิวเผิน อย่างมากก็พระพากันยิ้มนิดๆ แสดงความยินดีกับทุกคน เพราะครูบาอาจารย์เขาเข้มข้นเข้มงวด เวลาเดินมาศาลา เดินกลับกุฏิก็ให้เดินห่างกัน ห่างกัน 10 - 20 -30 เมตรนู่น ไม่ให้จับคู่กัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน ต้องสงบต้องวิเวก ต้องเจริญสติต้องเจริญสัมปชัญญะ ถ้าเจตนาของผู้ที่มาบวชก็ยังคิดว่าออกพรรษาก็ต้องสึกอยู่ เราเพียงมาบวชสร้างบารมีเอาบุญเอากุศล จิตใจมันยังไม่ลง ไม่เหมือนครั้งพุทธกาล เขามาบวชเพื่อเอามรรคผลเอาพระนิพพาน เขาไม่ได้บวชเพื่อสร้างบารมีเหมือนทุกวันนี้ มาบวชเพื่อเอามรรคเอาผลเอาพระนิพพาน ในเรื่องปัจจุบันเน้นความดับทุกข์ ไม่บวชเอาความดีไม่บวชเอาประเพณีเหมือนเราทุกวันนี้ เจตนาความหมายมันต่างกัน เราลองคิดดูนะ การบวชที่ได้ผลต้องเน้นที่ปัจจุบัน ไม่เกี่ยวกับบวชสึกหรือบวชไม่สึก ต้องมาเน้นที่ปัจจุบัน มันถึงจะถูกต้องถึงจะใช้ได้ ไม่มีคำว่าสึกหรือไม่สึก ไม่มีคำว่าอยู่ในบ้าน ใน กทม. หรือ ต่างจังหวัด หรือว่าอยู่ในวัดป่า ต้องเน้นเข้ามาหาปัจจุบัน
ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ มันก็จะไม่ทันกาลทันสมัยทันเวลา มันจะไม่เป็นธรรมวินัย มันจะไม่เป็นธรรมเป็นปัจจุบันธรรม ผู้ที่มาบวชให้พากันเข้าใจอย่างนี้นะ เพราะเราจะได้พัฒนาเพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลของประเทศชาติบ้านเมือง เพราะโครงสร้างของประเทศเราเอาธรรมนำชีวิต การประพฤติการปฏิบัติที่ทำให้เราเกิดความสงบอบอุ่น ให้เราพากันเข้าใจอย่างนี้ เราทุกคนจะได้สงบอบอุ่น มันจะได้ไม่ว้าเหว่ มีสติสัมปชัญญะ เพราะโลกนี้สมัยนี้ในปัจจุบัน มีความทุกข์มากมีความฟุ้งซ่านมาก ไม่มีความสงบอบอุ่น เราทุกคนต้องพากันมาเน้นที่ปัจจุบันนี้แหละ เรารู้แล้วว่าเราทำตามใจตามอารมณ์ทำตามความรู้สึกมันทำให้เสื่อม เหมือนที่เรามองเห็นพระพุทธศาสนาที่ผ่านมา เอาตัวเอาตนเป็นที่ตั้งเหมือนพระนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยนาลันทายุคท้าย ผลสุดท้ายมันก็ถูกเผา ศาสนวัตถุสร้างใหญ่สร้างโตอลังการ ผู้ที่เผาใช้เวลาเผาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน เอาตัวตนมันเสียหาย เราต้องรู้ความบกพร่องความผิดพลาดนะ พระที่บวชมาเป็นครูบาอาจารย์ เขาก็พากันไปบ่นไปว่าพวกคนสมัยใหม่ สมัยปัจจุบันนี้ไม่มีใครอยากบวช ให้พวกเราพากันรู้ ทำไมเขาไม่อยากบวช เพราะการบวชในปัจจุบันนี้มันไม่ใช่พระพุทธศาสนาน่ะ มันเป็นตัวเป็นตนเป็นไสยศาสตร์เป็นสายมูเป็นพาณิช เพราะทุกคนมีการเรียนการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนถึงปริญญาเอก ตั้งแต่ น.ธ. ตรี จนถึง ป.ธ. 9 เพราะการมาบวชมาปฏิบัติทุกวันนี้คนไม่น่าจะมาบวช เพราะไม่มีการประพฤติไม่มีการปฏิบัติ สู้เขาไม่ได้บวชสู้เขาเป็นฆราวาสไม่ได้ มันดีกว่ามีประโยชน์กว่า เพราะว่าผู้ที่มาบวชเป็นตัวอย่างแบบอย่างไม่ได้พากันมุ่งมรรคผลมุ่งพระนิพพาน แต่จะพากันมาบวชเพื่อเอาศาสนาหาอยู่หาฉันหาเลี้ยงชีพ วัดต่างๆ คณะสงฆ์ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็มีแต่แก๊งค์มีแต่โจร กุลบุตรลูกหลานเขาเลยไม่อยากพากันมาบวช พากันมาคิดดูดีๆ โรงเรียนที่ดีๆ มีในประเทศไหนเขาก็พากันไปเรียน เทอมนึงหลายหมื่น หลายแสน หลายล้าน เขาก็พากันไปเรียน ถ้าวัดประจำหมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เหมือนพระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งกายวาจากริยามารยาท ตลอดถึงอาชีพ ทุกคนใครเขาจะไม่อยากจะบวชล่ะ เพราะการบวชเป็นความดีเป็นของที่ถูกต้อง เหมือนได้เข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ พวกที่ติดแล้วก็เข้าสู่ภาคบำบัด ที่เขาอยากมาบวช เพราะพระเก่าเป็นตัวอย่างแบบอย่างที่ดี ต้องเข้าใจ ผู้ที่เป็นพระเก่าต้องพากันมาพิจารณาตนเอง ปีนี้เป็นปีที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ที่ท่านทรงออกผนวช ใช้เวลา 27 พรรษา ถึงได้ทรงลาสิกขามาเป็นพระมหากษัตริย์ ทุกคนต้องมาปรับปรุงแก้ไข ความคิด ความประพฤติ ปฏิปทาต้องยกสู่การประพฤติการปฏิบัติของตัวเอง ท่านบอกพวกเราว่า ไม่เป็นไร เรามาจากวรรณะไหนๆ ไม่มีปัญหา ให้เรายกเลิกตัวตน กุลบุตรลูกหลานเขาจะได้รับเอาสิ่งที่ประเสริฐที่พวกเขาได้พากันมาเกิดเป็นมนุษย์ควรจะได้
วันนี้มีบวชพระ 2 รูปคือ... เพื่อเป็นพระในพระศาสนา เพื่อให้เป็นพระธรรมพระวินัย เป็นมรรคผลพระนิพพาน
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee