แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พุทธะที่แท้จริง ตอนที่ ๑๓ การปฏิบัติของพระพุทธเจ้าของพระอรหันต์ท่านเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ดูจากปฏิปทาหลวงปู่มั่นเป็นแบบอย่าง
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
คำเทศนา วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗
พระพุทธเจ้าท่านปฏิบัติธรรม ท่านเอาชีวิตเป็นเดิมพัน พระอรหันต์คือผู้ที่เอาชีวิตเป็นเดิมพัน ให้มันเป็น fight ในปัจจุบัน เป็นการต่อสู้ระหว่าง โลกกับธรรม เราทุกคนต้องเข้าใจอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ ยกตัวอย่างเช่น คนขับรถจากใต้สุดไปเหนือสุดของประเทศถามเขาว่าง่วงไหม เขาบอกว่าไม่ง่วง เพราะถ้าเขาง่วงเขาก็ตาย เขาหลับเขาก็ตาย เขาต้องเอาชีวิตของเขาไว้ การที่เราจะมีชีวิตที่ไปได้เราต้องเอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรมเป็นที่ตั้ง มีความสุขในอริยทรัพย์ ในการไม่ตามใจตัวเอง ไม่ตามอารมณ์ตัวเอง เอาอริยมรรคมีองค์แปดเป็นที่ตั้ง ใจของเราต้องมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ใจของเราจะมีสมาธิ ไม่ใช่เพราะกาแฟ เพราะกาแฟยังไง เช่น วัดป่าสมัย 40-50 ปีก่อน ถือเนสัชชิกกัน ทำวัตรสวดมนต์เสร็จ สองทุ่ม สามทุ่ม ก็เอากาแฟใส่กาใหญ่ๆเดินแจก พระได้ดื่มคนละแก้วก็ตาใสตัวตรง อันนั้นถือว่ายังไม่ใช่สมาธินะ เป็นสมาธิกาแฟ มันเพราะกาแฟนะ ยังไม่ใช่ fighting การปฏิบัติของเราก็เหมือนกัน ที่ไม่ดีต้องไม่คิด ถ้าไปคิดก็ตายจากคุณงามความดี ไม่ดีไม่พูด เพราะถ้าพูดก็ตายจากคุณงามความดี กิริยามารยาทไม่ดีไม่เอา เพราะมันตายจากคุณงามความดี ตายจากคุณธรรม มันทำให้พรหมจรรย์เราตกต่ำ ทำให้เราเศร้าหมอง
เพราะการปฏิบัติของเรามันระดับ fighting ระดับชิงแชมป์โลก ระหว่างโลกกับการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร เพราะดูแล้วการประพฤติปฏิบัติ มันเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ไม่ปรุงแต่ง เพราะทุกข์เป็นสิ่งที่กำหนดรู้ เรารู้จักก็ไม่ปรุงแต่ง เราพึ่งอะไรก็ไม่ได้ นอกจากธรรมะ พึ่งศีล พึ่งข้อวัตรปฏิบัติ อันนี้คือญาณที่แท้จริง กาแฟนั้นไม่ใช่สมาธินะ ญาณนี้คือศีล คือสมาธิ คือปัญญา อย่างแท้จริง เราต้องอาศัยญาณอย่างนี้ เราไม่ใช่ชีวิตเป็นเดิมพัน เราก็ลูบคลำในศีลในข้อวัตรปฏิบัติมันจะไปได้ยังไง เพราะมันผิดหลักการ ผิดหลักเหตุผล ผิดหลักอริยมรรคมีองค์แปด พรหมจรรย์เราจะสมบูรณ์ได้ยังไง อันนี้มันเป็น fight เราถึงเป็นผู้โชคดี ได้ขึ้น fight ในแต่ละวัน อานาปานสติของเราที่หลวงปู่มั่นบอก พุทโธ เราต้องหายใจเข้ามีความสุข หายใจออกมีความสุข เราต้องทำอย่างนี้ เพื่อสติสัมปชัญญะเราจะได้สมบูรณ์ ความปรุงแต่งมันจะได้น้อย ถ้าเราทำงาน เราก็ไปมีความสุขกับการเสียสละในการทำงาน ในอริยมรรคข้อต่างๆ เราต้องปิดรอยรั่ว ทุกคนต้องทำได้ ปฏิบัติได้ ทำไม่ได้ ก็ไม่สมควรที่จะหายใจ ไม่สมควรที่จะไปกินข้าว กินน้ำ
อย่างพระเราก็คือระบบเดียวกับส่วนราชการ แต่ค่าตอบแทนมันไม่เหมือนข้าราชการ ถ้าเราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้เป็นพระอริยเจ้า คนก็มากราบไหว้เยอะ ของกิน ของใช้ก็เยอะ เราก็เสียสละไปอย่างนี้ มันระบบเดียวกัน เราต้องเข้าสู่ระบบแห่งธรรม เราจะได้เป็นคนกตัญญูกตเวทีที่แท้จริง เพราะผู้มาบวชมีสองอย่าง บวชเพื่อมรรคเพื่อผลเพื่อพระนิพพาน กับบวชเพื่อมาอยู่มาอาศัย มาอยู่มาอาศัยยังไม่พอ ยังจะมาทำร้ายทำลายพระศาสนาอีก เราจะได้ปราบมหาโจรที่เป็นอวิชชาที่อยู่ในใจของเราทุกคน ใครจะแก่ขนาดไหน เดินไม่ไหวก็ไม่เป็นไร ให้ใจมีศีล 5 ให้ใจมีความละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป ถ้าใจไม่มีความละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป ใจของเราเสพกาม มันเสพทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เสพในความหลง เราไม่ต้องกลัวโลกธรรม เราต้องรู้จัก
คนที่มาว่าเรา ที่เราจะแคร์ก็คือพระพุทธเจ้า ถ้าพระพุทธเจ้าติเตียนถึงจะเสียหาย ถ้าพระอรหันต์ติเตียนถึงจะเสียหาย ถ้าโจรมาติเตียนคนไม่ดีไม่มีศีลมาติเตียน ก็เหมือนหมาเห่าเครื่องบิน เราทุกคนต้องจิตใจสง่างาม จิตใจที่มีความสุข มีความสุขยังไง ก็เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ตำแหน่งเรา (พระอริยเจ้า) ไม่มีใครมาแต่งตั้งให้ได้ ตัวเรานี้เองถึงจะต้องเสียสละ เราอย่าไปใจอ่อน หายใจเข้ามีความสุขให้มากๆสิ หายใจออกก็ให้มีความสุข ถ้าหายใจเข้าไม่มีความสุข หายใจออกไม่มีความสุข ท่านจะไปทำอะไรได้ คุณจะไปทำอะไรได้ แค่หายใจยังไม่มีความสุขเลย เพราะลมหายใจมันคู่กับชีวิตของเรา เราหายใจเข้าไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง มีแต่ความบริสุทธิ์อย่างนี้ มันก็ได้บุญ ได้กุศล เพราะสมควรที่เราจะประพฤติปฏิบัติ ทรัพยากรที่เราใช้สอยเราก็ทำลายทรัพยากร เราต้องทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้
เราจะไปย่ำอยู่ที่เก่า คืออันไหนที่มันยึดมั่นถือมั่นก็คือย่ำอยู่ที่เก่า มันไม่ได้ไปไหน มันอยู่ที่เก่า ถ้าคนเราทำตามใจของตัวเองก็เหมือนไปเติมเชื้อเพลิงอีก ไปเติมของปฏิกูลอีก เราต้องสละซึ่งตัวซึ่งตน ซึ่งการเวียนว่ายตายเกิด เราต้องหยุดมัน เราไม่ต้องให้มันทำงานได้ พระพุทธเจ้าคือพุทธะจะได้โผล่ขึ้นในใจของเรา ผุดขึ้นในใจของเรา จักษุจะได้เกิดแก่เรา แสงสว่างจะได้เกิดแก่เรา มันมืด มันตาบอด หูหนวดมาหลายภพ หลายชาติ เราต้องเสียสละ ความที่ยิ่งใหญ่ของเราอยู่ที่เสียสละ มีความสุขในการเสียสละอย่างนี้ เราไม่ต้องเอาคนพาลเป็นหลัก ต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก เราอย่าพากันโง่หลาย พระพุทธเจ้าพาเราฉลาด ถ้าเราไม่เอาชีวิตเป็นเดิมพัน รับประกัน 100% ไม่ได้มรรคได้ผลแน่นอน เราต้องเอาพุทธเจ้าเป็นหลัก ใครอยากได้ตาพระพุทธเจ้าก็เสียสละตา เสือไม่มีอาหารกินก็โดดให้เสือมันกิน คนนั้นไม่มีลูกมาขอลูกก็ให้ลูกไป คนนั้นไม่มีเมียมาขอเมียก็ให้เมียไป ต้องเสียสละ
เหมือนพระจักขุบาลให้โอวาทตนเองตกลงกับตนเองว่า" ขอให้มั่นคงในสัจจปฎิญาณ อย่าละทิ้งอุดมคตินั้นเสีย อย่านอน ยอมให้ตาแตกแต่อย่าทำลายความตั้งใจ ดวงตาหาได้ง่ายกว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า นานครั้งพระพุทธเจ้าจึงจะอุบัติขึ้นสักองค์หนึ่ง แต่การเกิดของเราพร้อมด้วยดวงตานั้นมีนับครั้งไม่ถ้วน" ท่านตกลงกับตนเอง แล้วคงทำความเพียรด้วยอิริยาบถ 3 ต่อไปไม่ยอมนอน เพราะความที่ท่านได้ตั้งสัตย์ไว้ว่าจะไม่นอนตลอดพรรษาจึงทำให้ท่านตัดสินใจไม่ทำตามหมอแนะนำแม้ตาทั้งสองจะแตกจะสลายไปท่านก็ยอมแต่ไม่ยอมทำลายความตั้งใจ พอล่วงมัชิมยามไป (เลยตีสองไปแล้ว) ดวงตาของท่านก็แตกไปพร้อมกับความดับโดยสิ้นเชิงแห่งกิเลสทั้งปวง ท่านเป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก (ผู้ดำเนินตามสายพระวิปัสสนาจนเป็นพระอรหันต์) ผู้หนึ่ง ท่านสู้จนตาระเบิด ไม่ได้ระเบิดเพราะสู้ แต่ระเบิดเพราะกรรมเก่า
ทุกคนต้องตั้งใจประพฤติปฏิบัติเอง ไม่ต้องให้ครูบาอาจารย์มากำหนด ไม่ต้องให้กฎระเบียบภายนอกมากำหนด เราต้องเหนือกฎระเบียบ ด้วยเจตนาด้วยความตั้งใจ เหนือกฎระเบียบยังไง กฎระเบียบมันเป็นสมมติ แต่ใจของเรามันไม่มีสมมติ ใจของเรามันเสียสละ มันไม่มีเข้า ไม่มีออก ธรรมะ ถ้าจะให้ได้ผล ปฏิบัติให้ได้ผล ต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการฝึก
"องค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่มั่น" ได้ปฏิบัติตนตามแนวทางคำสอนพระศาสดาอย่างเคร่งครัด และยึดถือธุดงควัตรด้วยจริยวัตรปฏิปทางดงาม จนได้รับการยกย่องจากผู้ศรัทธาทั้งหลายว่าเป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตร ท่านวางแนวทางในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนาตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าให้แก่สมณะประชาชนอย่างกว้างขวาง จนมีพระสงฆ์และฆราวาสเป็นลูกศิษย์จำนวนมากมุ่งมรรคผลมุ่งพระนิพพาน การรักษาศีลเดินจงกรม ท่านทำทุกอย่าง ท่านทำเพื่อนิพพาน ท่านทำเพื่อเสียสละที่เกิดจากปัญญา เกิดจากสัมมาทิฏฐิที่มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ท่านไม่ได้ลูบคลำในศีล ในข้อวัตร ข้อปฏิบัติ ไม่ลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เน้นมาที่การประพฤติปฏิบัติของท่าน สมัยก่อนย้อนไปเมื่อนับร้อยปี ประเทศไทยยังเต็มไปด้วยป่าเขาลำเนาไพร ท่านก็จาริกธุดงค์ไปที่ต่างๆ เพื่อทำความเพียร ท่านไม่สนใจในการสร้างวัด สร้างกุฏิ สร้างวิหาร สนใจแต่การทำข้อวัตรข้อปฏิบัติ ทางจิตใจท่านก็มีแต่ข้อวัตรข้อปฏิบัติเพื่อพระนิพพานอย่างแท้จริง พระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ท่านประพฤติปฏิบัติหมด เพื่อเน้นทางจิตทางใจ พระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ที่เป็นอุปกรณ์ในการเดินทางหรือไปยานในการที่จะช่วยเราข้ามวัฏฏะสงสาร
พระที่เป็นลูกศิษย์ที่ร่วมปฏิบัติกับท่าน หลายสิบหลายร้อยรูป ปฏิบัติเหมือนท่าน มันก็ไม่เหมือน 100% หรอก เพราะหลวงปู่มั่นท่านเป็นคนฉลาด เพราะปัญญาที่ท่านบำเพ็ญมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า ย่อมฉลาดกว่าพระอรหันตสาวกธรรมดา ใจของท่านเน้นมาหาตัวเอง ไม่ส่งออกไปข้างนอก เหมือนพระรุ่นใหม่ พระสมัยใหม่ ท่านเน้นลงที่กายวาจาใจของตัวเอง ท่านถึงเป็นเนื้อนาบุญของโลก พระเณรต้องแข่งขันกันรักษาศีลให้ใจบริสุทธิ์ แข่งขันกันเดินจงกรม นั่งสมาธิ ท่านเดินตามพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง
ท่านก็เป็นคนบ้านป่าเป็นคนชนบท ไม่มีการเรียนการศึกษา ไม่มีดีกรีทางโลก การประพฤติปฏิบัติธรรมไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการศึกษา ท่านศึกษาในชีวิตประจำในการประพฤติปฏิบัติ อิริยาบถทั้งสี่นั้นคือการประพฤติปฏิบัติธรรม ไม่มีอิริยาบถไหนไม่ใช่การประพฤติปฏิบัติธรรม ที่รวมกันเป็นอริยมรรคมีองค์แปด ท่านเป็นพระตัวอย่างแบบอย่าง ถึงแม้ท่านจะละธาตุขันธ์สู่พระนิพพานแล้ว ท่านก็ยังถือข้อวัตรข้อปฏิบัติ ท่านถือประโยชน์ส่วนร่วมเป็นหลัก เป็นแบบอย่างเพื่อเป็นประโยชน์แก่กุลบุตรลูกหลาน ตั้งแต่เบื้องต้นจนวาระสุดท้าย สมกับเป็นพ่อแม่ครูบาอาจารย์ สมกับเป็นผู้นำที่แท้จริง
๕ ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น
ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
๑. บังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้พักผ่อนให้คหบดีจีวรบ้างเพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒. บิณฑบาตกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวกบ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉันจนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักจึงงด
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ
ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราวที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่ เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัยเมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ใน เสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาตเป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนยำเกรงไม่รบกวน นัยว่าในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในดงพงลึกจน สุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์ จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือเป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้
พระอริยคุณคุณาธาร วัดเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น เรียบเรียง
"...พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านพาดำเนินอย่างถูกต้องแม่นยำ ถือเอาธุดงควัตร ๑๓ ("...ธุดงค์ ๑๓ แต่ละข้อมีความหมายในการปราบปรามกิเลสทุกประเภทได้อย่างอัศจรรย์ยากที่คาดให้ทั่งถึงได้ดังนี้ ๑.บิณฑบาตเป็นวัตร ๒.บิณฑบาตตามลำดับบ้าน ๓.ไม่รับอาหารที่ตามส่งทีหลัง ๔.ฉันในบาตร ๕.ฉันหนเดียวในวันหนึ่งๆ ๖.ถือผ้าสามผืน ๗.ถือผ้าบังสกุล ๘.อยู่รุกขมูลร่มไม้ ๙.อยู่ป่า ๑๐.อยู่ป่าช้า ๑๑.อยู่กลางแจ้ง ๑๒.อยู่ในที่เขาจัดให้ ๑๓.ถือไม่อยู่อิริยาบถนอน...") นี้เป็นพื้นเพในการดำเนิน และการประพฤติปฏิบัติจิตใจของท่านก็เป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่นอกลู่นอกทางทำให้ผู้อื่นเสียหาย และริจะทำเพื่อความเด่นความดังอะไรออกนอกลู่นอกทางนั้นไม่มี เป็นแนวทางที่ราบรื่นดีงามมาก นี่ละเป็นที่นอนใจ เป็นที่ตายใจยึดถือไว้ได้โดยไม่ต้องสงสัยก็คือปฏิปทาเครื่องดำเนินของท่าน
นี่ครูบาอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านก็มีจำนวนมาก พากันดำเนินมายึดถือหลักนั้นแหละมาปฏิบัติได้แพร่หลาย หรือกระจายออกไปแก่บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายเป็นแขนงๆ หรือแผลงๆ อะไรออกไปให้เป็นที่สะดุดตา ไม่แน่ใจอย่างนี้ไม่มี ท่านดำเนินอะไรเป็นที่เหมาะสมทั้งนั้น คือมีแบบมีฉบับเป็นเครื่องยืนยันไม่ผิดเพี้ยนไปเลย
นี่เพราะเหตุไร เพราะเบื้องต้นท่านก็ตะเกียกตะกายก็จริง แต่ตะเกียกตะกายตามหลักธรรมหลักวินัย ไม่ได้นอกเหนือไปจากหลักธรรมหลักวินัย หลักวินัยคือกฎของพระระเบียบของพระ ท่านตรงเป๋งเลย และหลักธรรมก็ยึดธุดงค์๑๓ ข้อนี้เป็นทางดำเนิน ไม่ได้ออกนอกลู่นอกทางนี้ไปอย่างทางอื่นบ้างเลย นี่จึงเป็นที่น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งมาตั้งแต่ขั้นเริ่มแรกของท่าน ต่อจากนั้นท่านก็ปรากฏเห็นผลขึ้นมาโดยอันดับลำดา
ดังเคยเขียนไว้แล้วในประวัติของท่านจนกระทั้งเป็นผู้ทรงมรรคทรงผลโดยสมบูรณ์ในหัวใจท่าน แล้วก็ประกาศสั่งสอนธรรมแก่บรรดาศิษย์ทั้งหลายพร้อมทั้งปฏิปทาเครื่องดำเนินด้วยความองอาจกล้าหาญ ไม่มีคำว่าสะทกสะท้านแม้นิดหนึ่งเลย นี่เพราะความแน่ใจในใจของท่านเอง ทั้งฝ่ายเหตุทั้งฝ่ายผล ท่านเป็นที่แน่ใจทั้งสองแล้ว
พวกบรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายที่เข้าไปศึกษาอบรมกับท่าน จึงได้หลักได้เกณฑ์จากความถูกต้องแม่นยำที่ท่านพาดำเนินมา มาเป็นเครื่องดำเนอนของตน แล้วถ่ายทอดไปโดยลำดับลำดา ไม่มีประมาณเฉพาะอย่างยิ่งภิกษุบริษัท มีกว้างขวางอยู่มากสำหรับลูกศิษย์ของพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น แตกกระจายออกไปการที่ได้ปฏิปทาเครื่องดำเนินจากท่านผู้รู้ผู้ฉลาด พาดำเนินมาแล้วเช่นนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก นี่ละเป็นที่ ให้ตายใจนอนใจ อุ่นใจได้ ผิดกับเราเรียนมาโดยลำพัง และปฏิบัติโดยลำพังเป็นไหนๆ
ยกตัวอย่างไม่ต้องเอาที่อื่นไกลที่ไหนเลย ผมเองนี่แหละเรียน จะว่าอวดหรือไม่อวดก็ตามก็เรียนถึงมหา แต่เวลาจะหาหลักหาเกณฑ์มายึดเป็นเครื่องดำเนิน ด้วยความอุ่นแน่ใจตายใจสำหรับตัวเอง ไม่มีจะว่ายังไงนั่น มันเป็นอย่างนั้น จิตเสาะแสวงหาแต่ครูอาจารย์อยู่ตลอดเวลาเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น..."
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จากหนังสือ"หยดน้ำบนใบบัว"
"...ที่ผมได้ความรู้ความฉลาด จนได้มาแบ่งปันพวกท่านทั้งหลายนั้น ก็เพราะผมได้ ไปกราบครูบาอาจารย์มั่น...ไปพบท่าน แล้วก็เห็นสภาพวัดวาอารามของท่าน ถึงจะไม่สวยงาม แต่ก็ สะอาดมาก พระเณรตั้งห้าสิบหกสิบ เงียบ! ขนาดจะถากแก่นขนุน (แก่นขนุนใช้ต้มเคี่ยว สำหรับย้อมและซักจีวร) ก็ยังแบกเอาไปฟันอยู่โน้น.. ไกล ๆ โน้น เพราะกลัวว่าจะ ก่อกวนความสงบของหมู่เพื่อน... พอตักน้ำทำกิจอะไรเสร็จ ก็เข้าทางจงกรม ของใครของมัน ไม่ได้ยินเสียง อะไร นอกจากเสียงเท้าที่เดินเท่านั้นแหละ
บางวันประมาณหนึ่งทุ่ม เราก็เข้าไปกราบท่านเพื่อฟังธรรม ได้เวลาพอ สมควรประมาณสี่ทุ่มหรือห้าทุ่มก็กลับกุฏิ เอาธรรมะ ที่ได้ฟังไปวิจัย... ไปพิจารณา เมื่อได้ฟังเทศน์ท่าน มันอิ่ม เดินจงกรมทำสมาธินี่... มันไม่เหน็ดไม่เหนื่อย มันมีกำลังมาก ออกจากที่ประชุมกันแล้วก็เงียบ! บางครั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน เพื่อนเขาเดิน จงกรมอยู่ตลอดคืนตลอดวัน จนได้ย่องไปดูว่าใครท่านผู้นั้นเป็นใคร ทำไมถึงเดิน ไม่หยุดไม่พัก นั่น... เพราะจิตใจมันมีกำลัง..."
หลวงปู่ชา สุภัทโท จากอัตตโนประวัติหลวงปู่ชา "ใต้ร่มโพธิญาณ"
--------------------------------------------------------------------------------
หลวงตามหาบัวท่านเคารพนับถือหลวงปู่มั่นมาก ท่านจาริกไปรับผ้าป่าช่วยชาติทุกแห่ง ผู้ที่รู้จักหลวงตามหาบัวถึงเอารูปของหลวงปู่มั่น มาจัดที่ใดที่หนึ่งเพื่อจะให้เห็นอาจารย์ของท่านที่สั่งสอนปฏิปทาสั่งสอนท่าน จนได้เป็นพระอริยะเจ้าเป็นพระอรหันต์ พระอริยะเจ้าท่านมีความกตัญญูกตเวที เดินตามรอยของพระพุทธเจ้า ทุกรูปทุกองค์ ปฏิปทาของท่านจะไม่เอาวัตถุ จะเอาแต่ธรรมวินัยเอาแต่มรรคผลพระนิพพาน ท่านจาริกไปอยู่ที่ต่างๆ ก็ไม่ให้สร้างอะไรใหญ่โต สร้างกระต๊อบเล็กๆ มีทางเดินจงกรม เพราะว่าพระพุทธศาสนาที่แท้จริง คือมรรค คือผล คือพระนิพพาน ไม่ใช่พระพุทธรูป ไม่ใช่กุฏิ วิหารหรูหรา ไม่ใช่รถสวยๆ คือให้เน้นเรื่องศีลเรื่องจิตเรื่องใจเรื่องสมาธิ เน้นที่ปัญญา สมัยก่อนพระผู้ประพฤติปฏิบัติแทบจะหมดไปแล้ว มีจำนวนพุ่งขึ้นสูงก็ในช่วงระยะหลวงปู่มั่น โลกเรามันได้พัฒนาจากป่าดงพงไพร เป็นตึกรามบ้านช่อง เป็นถนนคอนกรีต แต่ความเกิดแก่เจ็บตายพลัดพรากนั้นมันไม่ได้เปลี่ยนแปลง มรรคผลพระนิพพานก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ถ้าใครมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ก็ยังมีมรรคมีผลมีพระนิพพานอยู่
เมื่อโลกมันเปลี่ยนแปลงอย่างนี้ การพัฒนาของเราก็ต้องปฏิบัติให้เก่งให้เข้มข้นขึ้นอีก เราเน้นเรื่องจิตเรื่องใจเรื่องพระวินัย พร้อมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีไปพร้อมๆกัน ทำอย่างนี้้ มันถึงจะใช้ได้ เราไปแต่ทางโลกทางวัตถุอย่างเดียว เรื่องจิตเรื่องใจเราไม่เข้าใจเลย ถ้าทำแบบนี้ เราก็ไม่ได้เดินทางสายกลาง ไปแต่ทางวัตถุ วัตถุกับจิตใจมันต้องไปพร้อมๆกัน ชีวิตของเราถึงจะมีแต่คุณ เราต้องใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ทุกคนต้องตั้งใจ ต้องเข้มแข็งให้มากขึ้น ธรรมะต้องเน้นมาที่ปัจจุบันนะ ปัจจุบันเราต้องเคร่งครัดได้ ปฏิบัติได้ เพราะในอดีตเราก็หายใจเหมือนกัน ทานอาหารเหมือนกัน ปัจจุบันก็ต้องหายใจเหมือนกัน ทานอาหารเหมือนกัน ทุกท่านทุกคนต้องรู้จัก ต้องปฏิบัติต้องพัฒนาตน
เมื่อสมัยหลายปีก่อน ท่านทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ ปัจจุบันเราก็ต้องทำอย่างนั้นเหมือนกัน ครั้งสมัยพระพุทธเจ้าท่านก็ทำแบบนั้นเหมือนกัน เช่นว่าสังคมในพระธรรมวินัยทุกข้อเน้นที่จิตใจ เดินจงกรม นั่งสมาธิ ทำวัตรสวดมนต์ ทำกิจวัตรทั้งวัน มันก็อย่างเดียวกัน เรามีความเกี่ยวข้องกับสมัยใหม่ เราก็ต้องรู้จัก สิ่งเหล่านี้มันเพียงอำนวยความสะดวกความสบาย เพราะชีวิตของเรามันแก่ลงทุกวันๆ แล้วใจของเราต้องดี สมัยก่อนทางจงกรมไม่มีมุงหลังคานะ ไม่มีเทคอนกรีต มันก็เป็นดินธรรมดา แค่กวาดใบไม้ออก ที่มันเกิดจากการขวนขวาย จากการประพฤติปฏิบัติ พระเราถ้าไม่เดินจงกรม งานของพระมันก็ไม่มีนะ ถ้าไม่นั่งสมาธิ งานของพระมันก็ไม่มี ถ้าไม่ทำข้อวัตรกิจวัตร งานของพระก็ไม่มี เมื่อไม่มีงานมันก็เป็นคนตกงาน คนตกงานมันก็ฟุ้งซ่าน
ปฏิปทาของหลวงปู่มั่น เอาพระธรรมเอาพระวินัย เอาธุดงควัตร เอาข้อวัตรเอากิจวัตร หลวงปู่มั่นฉันอาหารเพียงวันละครั้งเดียว ฉันในบาตร ไม่ฉันในถ้วย ในจาน ในภาชนะอื่น กระทั่งจวบจนอวสานแห่งสรีระร่างกาย ถึงจะเป็นพระอริยเจ้าแล้วก็ยังสร้างประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นถึงได้รับปฏิปทาเต็มๆ จากปฏิปทาหลวงปู่มั่น สมัยก่อนวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ อะไรพวกนี้ยังไม่มี บ้านเมืองก็มีเพียงแต่การคมนาคม พวกรถจี๊ป รถจักรยาน มีแต่โทรเลข ความวิเวกโดยธรรมชาติ ปัจจุบันเหตุการได้ผ่านมาในการพัฒนาเทคโนโลยีพวกนี้ สมัยก่อนนี้การระมัดระวังมันน้อยกว่า ในปัจจุบันการระมัดระวังทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันต้องเพิ่มมากขึ้น เพราะเรามีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีใจ ก็เปรียบเสมือนเจ้าของบ้าน รูป เสียง กลิ่น รส โพฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันก็เหมือนแขกมาเยี่ยม เหมือนเราไปเดินธุงดงค์ในป่าก็มีความระมัดระวังมากกว่าข้างนอกน่ะ ในป่ามีทั้งขวากหนาม เราจะไม่มีโอกาสฟุ้งซ่านเลย ถ้าเราฟุ้งซ่านเมื่อไหร่หนามตำเท้า เตะหิน งูเงี้ยวเขี้ยวขอฉกกัด สัตว์ร้ายก็มี ไม้แทงหู แทงตา หนามเกี่ยว อะไรพวกนี้ต้องระมัดระวัง พวกนี้อยู่ภายนอกนี้ก็รักษาศีลหลวมๆ พอเข้าป่าก็ต้องรักษาศีลเคร่งครัด พวกพระหนุ่มๆ ที่สิวขึ้น พอเข้าไปในป่านี้ก็สิวหายหมด เพราะไม่ได้เอามือไปลูบหน้า ไปในป่า 2-3 อาทิตย์นี้สิวหายหมด เดินในป่า ป่ามันก็เป็นป่าดงดิบ พวกทากป่ามันเยอะ ต้องระมัดระวัง เผลอนิดเดียว ทากมันก็เป็นปลิงบนบก อยู่ตามพื้นดิน อยู่ตามใบไม้ กิ่งไม้ เราเดินผ่านไปก็ถ้ามันอยู่ที่พื้นมันก็เกาะที่เท้า ถ้ามันอยู่ระดับขามันก็เกาะขา ถ้ามันอยู่กิ่งไม้มันก็ร่วงมาใส่ ไปในป่ามันต้องระวังนะ เพราะอยู่ในป่ามีเทวดา เราก็ต้องระวัง เราไปคิดไปปรุงไปแต่งในสิ่งที่ไม่ถูกต้องนี้ไม่ได้ อันนั้นอันตรายอยู่ ในป่า ในเขา อะไรต่างๆ นี้
แต่เราอยู่ในบ้าน ในหมู่บ้าน ในเมืองในกรุง เราก็ต้องระมัดระวังการประพฤติ การปฏิบัติต้องให้เข้าใจว่า ที่มันมีผัสสะทั้งตาหูจมูกลิ้นกายใจ ที่มันเป็นอายตนะภายในผัสสะกระทบกับอายตนะภายนอก มันเป็นข้อสอบ ข้อตอบ ที่เราได้ประพฤติได้ปฏิบัติ พระที่อยู่ในวัดในกลางหมู่บ้านชุมชน ในเมือง ในกลางกรุง มันต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษต้องภาวนา ต้องปรับตัวเข้าหาธรรมะ เข้าหาพระธรรม เข้าหาพระวินัย เข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ มันไม่ได้ เสียหาย ตั้งอยู่ในความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ในความประมาท การประพฤติการปฏิบัตินี้มันปฏิบัติได้ทุกคน วัดบ้านวัดป่า อยู่ที่ไหนมันคือการประพฤติการปฏิบัติ เพราะการประพฤติการปฏิบัติคืออริยมรรคมีองค์ 8 มันเป็นสิ่งที่ทำได้ปฏิบัติได้ ต้องเข้าใจอย่างนี้ ถ้างั้นมันไม่ได้ จิตใจของเรามันจะตกต่ำ เอาตัวตนเป็นที่ตั้งเขาเรียกว่าอัธยาศัย อัธยาศัยมันคือเจ้าอารมณ์ ท่านถึงบอกว่าถ้าเรามองไปข้างหน้า ตาเห็นรูป หูฟังเสียง เป็นต้น เราไม่พิจารณาเข้าสู่พระไตรลักษณ์ เราก็ต้องอาบัติ ต้องอาบัติตั้งแต่ทุกกฏไปจนถึงถุลลัจจัย ถ้าไปทำคำพูดไปการกระทำ ก็เป็นอาบัติ สังฆาทิเสจนถึงอาบัติปาราชิกได้ ถ้าหัวใจเรามีตัวมีตน มันก็ยกเลิกความเป็นพระ เอาตัวเอาตนเป็นที่ตั้ง มันเป็นพระไม่ได้ เพราะตัวตนคือไม่ใช่พระ ต้องเอาหลวงปู่มั่นเป็นโมเดลนะ เอาตามที่ครูบาอาจารย์ที่เดินตามพระพุทธเจ้าเป็นหลัก
ประเทศไทยเราก็มีอยู่ 3 หมื่นกว่าวัด สำนักสงฆ์ด้วยก็ 4 หมื่นกว่าวัด เราต้องเอาสิ่งที่มันถูกต้อง ถึงแม้เราจะพากันปฏิบัติเหมือนๆ กันเป็นประชาธิปไตยก็ถือว่ามันยังไม่ได้ เพราะว่ามันยังไม่ใช่พระพุทธศาสนา ในปีนี้หลวงพ่อกัณหาถึงให้ ครูบาอาจารย์ที่เป็นเจ้าอาวาส ที่เป็นพระเถระ เป็นมหาเถระ มาพูดคุยกันว่าส่วนไหนมันไม่ถูกต้อง มันย่อหย่อนอ่อนแอก็มาปรับปรุงใหม่ เพราะมันอยู่ที่ผู้นำผู้ปกครอง เราจะแก้ที่ผู้นำที่ผู้ปกครอง มันถึงจะเข้าสู่ปัญญาธิคุณ บริสิทธิคุณ กรุณาธิคุณได้ เราจะได้ไม่ให้ธรรมะอยู่ในหนังสือในประไตรปิฎกอย่างเดียวน่ะ ต้องมาอยู่ในจิตใจอยู่ในปฏิปทาในการประพฤติปฏิบัติของเรา
วันหนึ่งคืนหนึ่งตามหลักการ มนุษย์ที่เป็นนักบวชก็นอน 4 ชั่วโมง ถึง 6 ชั่วโมง ฆราวาสที่ไม่ใช่นักบวชก็นอน 6 ชั่วโมง - 8 ชั่วโมง เข้าใจ เทคโนโลยีสมัยใหม่มันก็ดีนะ ก็ถูกต้องละ เราอย่าไปหลงงมงาย อย่าไปเซ่อไปเบลอไปงง เพราะทุกอย่างคือพระไตรลักษณ์ ทุกอย่างมันไม่แน่ไม่เที่ยงไม่ใช่ตัวตน เดี๋ยวมันก็ผ่านมา มาเพื่อให้พวกเราได้ประพฤติปฏิบัติ ให้เข้าใจ มาหลงตั้งแต่เช้าจนนอนหลับมันไม่ได้ เอาตัวตนเป็นที่ตั้งมันไม่ได้ หลงตั้งแต่เช้าจนนอนหลับ นอนหลับมันก็ยังฝันอยู่นะพวกนี้ เพราะมันเป็นสัญชาตญาณ มันเป็นความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน เราต้องยกเลิกความไม่ถูกต้อง ที่พระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ 2,1000 พระธรรมขันธ์ 227 ข้อในพระปาฏิโมกข์ ภิกษุณีก็ 311 ข้อ เราทุกคนก็เอาพระธรรมเอาพระวินัย ใครจะอยู่ที่ไหนก็เหมือนกัน ปฏิบัติพระวินัย โฟกัสที่พระวินัย พระวินัยที่เป็นสมมติบัญญัติที่โฟกัสไปว่า อันนี้คิดไม่ได้ พูดไม่ได้ ทำไม่ได้ เราต้องเอาอย่างนั้นน่ะ เอาความรู้สึกเอาตัวตนไม่ได้ อย่าคิดแบบนักศึกษาที่คิดว่า พระทำอะไรไม่มีเหตุผล ตอนเช้าก็ฉัน แล้วก็มาฉันตอนเพลอีก ทำไมไม่แบ่งเวลาไปฉันตอนบ่าย 3 อีก ต้องเข้าใจ ฉันเช้าแล้วไปฉันเพลครั้งหนึ่ง นั่นเป็นพระผู้เฒ่า เป็นพระป่วยที่ฉันอาหารไม่ได้ ต้องเข้าใจ เพราะพระธรรมพระวินัยเป็นการยกเลิก ยกเลิกแล้วก็ลงใจ ปลงใจ เมื่อเราลงใจปลงใจ มันก็ตัดกรรมตัดเวร เพื่อเข้าถึงสมมติสัจจะ เข้าถึงปรมัตถสัจจะ เพราะสมมติสัจจะมันจะส่งผลัดไปหาเรื่องจิตเรื่องใจ ไปหาปรมัตถสัจจะ ทุกคนน่ะต้องพากันประพฤติพากันปฏบัติ ให้เอาใหม่ทุกคนเอาใหม่ ให้รู้หลักรู้เกณฑ์ให้ได้ เราไม่ต้องไปหลงสิ่งภายนอก เรามีตัวมีตนเป็นทุกข์ เราอย่าไปถือค่านิยมที่มีวัดใหญ่ๆ โตๆ อย่าไปมีข้าวของเงินทอง อย่าไปมียศมีตำแหน่ง อันนั้นมันเป็นการที่ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ สิ่งภายนอกเราทำไป เราเสียสสละไป ญาติโยมก็ให้การอุปถัมภ์อุปัฏฐาก อย่าไปกลัวอดตาย ไม่ตายหรอก ตายก็เพราะฟุ้งซ่าน ตายเพราะคิดมาก ตายเพราะอวิชชามันหลง รูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสต่างๆ ทำให้หลงไม่มีที่จบ เราเอาปฏิปทาให้เหมือนพระพุทธเจ้า ปฏิปทาให้เหมือนพระอรหันต์สาวก ปฏิปทาให้เหมือนหลวงปู่มั่น ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นที่เข้มข้น พวกนาคมาเตรียมบวช พวกพระบวชใหม่ก็ให้เข้าอกเข้าใจ ให้ตั้งอกตั้งใจประพฤติพากันปฏิบัติ ไม่ต้องไปสู้กับใคร ไม่ได้ไปแข่งกับเพื่อน แข่งกับตัวเองนี้แหละ สู้กับอวิชชาความหลง ที่มันติดอยู่ หลงอยู่ ข้องอยู่ ถ้าเรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ธรรมะที่อยู่ในหนังสือ ในพระไตรปิฎก มันก็จะมาอยู่ในจิตใจในคุณธรรมของเรา
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee