แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วันอังคารที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง คุณของพระธรรม ตอนที่ ๕๔ วิทยาศาสตร์มุ่งปรับธรรมชาติ แต่พุทธศาสนธรรมมุ่งปรับจิตใจคน
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
ทุกท่านน่ะคือผู้ที่ประเสริฐที่มีร่างกายและเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นทั้งคนดีเป็นทั้งคนมีปัญญา ต้องมีความเห็นที่ถูกต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ถือว่าธรรมะเป็นสิ่งที่สำคัญ ธรรมะคือความถูกต้อง เวลาคือความถูกต้อง ทุกคนต้องยกเลิกตัวตน วันหนึ่งคืนหนึ่งพวกเราก็พากันนอนสัก ๖ ชั่วโมง เวลาตื่นอยู่อีก ๑๘ ชั่วโมง เรามีความสุขในการทำงานในการปฏิบัติธรรม เราจะเอาธรรมะเป็นหลัก เราอย่าเอาตัวตนเป็นหลัก เราอย่าไปคิดว่า ถ้าเอาธรรมะเป็นหลักนั้น มันจะรวยได้อย่างไร ขนาดไม่ได้เอาธรรมะเป็นหลักมันก็ยังยากจน ไม่จริงหรอก อันนี้มันเป็นความเห็นไม่ถูกต้องเป็นความเข้าใจไม่ถูกต้อง คนเราถ้ายกเลิกตัวตนมันจะมีความสุขในการเรียนหนังสือก็ดีในการทำงานก็ดีปฏิบัติธรรมก็ดี จะมีแต่ความสุข เรียกว่าเป็นผู้มีศีลเป็นผู้มีสมาธิเป็นผู้มีปัญญา รู้จักพระไตรลักษณ์ คืออนิจจังความไม่แน่ไม่เที่ยง ทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตาคือทุกอย่างไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มีแต่เหตุมีแต่ปัจจัย ทุกคนต้องเข้าใจอย่างนี้ ที่มันแล้วก็ให้แล้วไป เอาใหม่ หมู่มวลมนุษย์ที่เทศน์เมื่อวานว่า ได้พัฒนาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ก้าวไกลมาจนถึงระดับที่เราให้รู้เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน แล้วอนาคตก็ยังมีพัฒนาต่อยอดไปอีกเรื่อยๆ เพื่ออำนวยความสะดวกความสบายทางวัตถุ และต้องพัฒนาจิตใจเพื่อก้าวไปเสมอกันทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ
ทุกคนต้องรู้จักว่าศาสนาคือธรรมะ ธรรมะคือศาสนา ศาสนาไม่ใช่นิติบุคคลตัวตน ศาสนานั้นคู่กับวิทยาศาสตร์ ที่อำนวยความสะดวกความสบาย รู้เรื่องพระไตรลักษณ์ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นจึงมีแต่คุณมีแต่ประโยชน์ ท่านถึงบอกว่าสิ่งที่เราบริโภคด้วยพุทธะคือบริโภคด้วยสติสัมปชัญญะด้วยปัญญาจึงเป็นกามคุณ ถ้าเราเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ก็เป็นกามคุณไม่ได้ แต่มันเป็นกามโทษ เพราะไม่รู้ความจริงไม่รู้เรื่องอริยสัจ ๔
หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์มีทั้ง “ส่วนสอดคล้องกัน” และ “ส่วนที่แตกต่างกัน” ดังต่อไปนี้
๑. ความสอดคล้องกัน ๑.๑ ในด้านความเชื่อ วิทยาศาสตร์ถือหลักว่าก่อนจะเชื่ออะไรนั้นจะต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เสียก่อน วิทยาศาสตร์เชื่อในเหตุผล ไม่เชื่ออะไรลอยๆ และต้องการหลักฐานมายืนยัน วิทยาศาสตร์ไม่อาศัยศรัทธาแต่อาศัยเหตุผล เชื่อการทดลองว่าให้ความจริงแก่เราได้ แต่ไม่เชื่อการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกอย่างดำเนินอย่างมีกฎเกณฑ์ มีเหตุผล และวิทยาศาสตร์อาศัยปัญญาและเหตุผลที่ตัวตัดสินความจริง
พระพุทธศาสนาก็มีหลักความเชื่อเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ ดังหลักคำสอนที่ปรากฏในการลามสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า การจะเชื่ออะไรแก่ไหนนั้นจะต้องทดลองพิสูจน์ด้วยตนเอง โดยอาศัยสติ ปัญญาและเหตุผล แต่อย่างเชื่อโดยวิธีดังต่อไปนี้ คือ (๑) อย่าเพิ่งปลงในเชื่อเพียงเพราะการฟังตามกันมา (๒) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการถือสืบๆ กันมา (๓) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการเล่าลือ (๔) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการอ้างคัมภีร์ (๕) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะนึกคิดเอาเอง (๖) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการคาดคะเนเอา (๗) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการตรึกตรอง (๘) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะตรงกับความเห็นของตน (๙) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะรูปลักษณะน่าเชื่อ (๑๐) อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะท่านเป็นครูของเรา และพระองค์ทรงสอนต่อไปว่า เมื่อใดที่เราอาศัยปัญญาทดสอบด้วยตนเองแล้วเห็นว่าคำสอนใดเป็นคำสอนที่ดีมีคุณประโยชน์แล้วจึงค่อยเชื่อ ทรงสอนมิให้เชื่ออย่างงมงาย แต่เน้นการทดสอบและปฏิบัติ เมื่อทดสอบได้ผลทางปฏิบัติแล้วจึงเชื่อ
พระพุทธศาสนาสอนเรื่องศรัทธาเหมือนกัน แต่ศรัทธามิใช่วิธีสุดท้ายที่จะตัดสินว่าความจริงคืออะไร ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงเครื่องชักจูงให้คนเข้าไปทดสอบความจริง แต่ตัวที่ตัดสินความจริงคือ “ปัญญา” ในคำสอนเรื่องมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นหนทางที่จะพามนุษย์ไปสู่นิพพาน ซึ่งเป็นความจริงอันสูงสุดนั้น ไม่ปรากฏว่ามีศรัทธาอยู่ด้วย ในการสอนหลักธรรมต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนนั้น หากในหลักธรรมใดมีศรัทธาอยู่อยู่จะต้องมีปัญญากำกับอยู่เสมอ เช่น พละ ๕ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ในหลักอริยทรัพย์มีศรัทธา ศีล หิริโอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น
๑.๒ ในด้านความรู้ ทั้งวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนายอมรับความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ “ประสบการณ์” หมายถึง การที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้ประสบกับความรู้สึกนึกคิดบางอย่างด้วย เช่น รู้สึกดีใจ รู้สึกอยากได้ เป็นต้น วิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากประสบการณ์ คือ จากการที่ได้พบเห็นสิ่งต่างๆ แล้วเกิดความอยากรู้อยากเห็นก็แสวงหาคำอธิบาย วิทยาศาสตร์จะไม่เชื่อหรือยึดถืออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว แต่จะอาศัยการทดสอบด้วยประสบการณ์สืบสาวไปเรื่อยๆ จะไม่อ้างอิงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์และการทดลอง
พระพุทธองค์ก็ทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์ คือ ประสบการณ์ที่ได้เห็นความเจ็บ ความแก่ ความตาย และที่สำคัญที่สุดคือ ความทุกข์ พระองค์มีพระประสงค์ที่จะค้นหาสาเหตุของทุกข์ ในการค้นหานี้พระองค์มิได้เชื่ออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว ไม่ทรงเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ที่จะให้คำตอบได้ แต่ได้ทรงทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ของพระองค์เอง ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์มีส่วนหนึ่งที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้ คือ วิทยาศาสตร์เน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ทางจิตใจ
๒. ความแตกต่าง ๒.๑ มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
- วิทยาศาสตร์มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ต้องการรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุอะไรเป็นผลที่ตามมา เช่น เมื่อเกิดฟ้าผ่าขึ้น ต้องรู้ว่าอะไรคือสาเหตุของฟ้าผ่า และผลที่ตามมาหลังจากฟ้าผ่าแล้วจะเป็นอย่างไร
- พระพุทธศาสนาก็มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ เช่นเดียวกัน แต่ต่างตรงที่พระพุทธศาสนาเน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากกว่ากฎเกี่ยวกับสิ่งที่ไร้ชีวิต จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาคือสอนให้คนเป็นคนดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น
๒.๒ ต้องการเรียนกฎธรรมชาติ
- วิทยาศาสตร์ต้องการเรียนรู้กฎธรรมชาติและหาทางควบคุมธรรมชาติหรือเอาชนะธรรมชาติ พูดอีกนัยหนึ่ง วิทยาศาสตร์เน้นการควบคุมธรรมชาติภายนอก
- แต่พระพุทธศาสนาสอนให้คนควบคุมภายในจิตใจตัวเอง ลำดับแต่ความสามารถที่ควบคุมธรรมชาติได้ ไม่อาจทำให้ความสงบสุขเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ มนุษย์ต้องรู้จักควบคุมตัวเองให้มีจิตใจดีงามด้วย สันติสุขที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้
วิทยาศาสตร์มุ่งปรับธรรมชาติ แต่พระพุทธศาสนามุ่งปรับจิตใจคน
๓.๓ ยอมรับโลกแห่งสสาร
- วิทยาศาสตร์ยอมรับโลกแห่งสสารที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ว่ามีจริง โลกที่อยู่พ้นจากนั้นวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับ (ซึ่งความจริงวิทยาศาสตร์มิได้ปฏิเสธ เพียงแต่ยังไม่ยอมรับ เพราะวิทยาศาสตร์เชื่อว่าประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือสุดท้ายที่จะตัดสินความจริง
- ส่วนพระพุทธศาสนาชี้ว่ามีสัจธรรมสูงสุด (นิพพาน) ซึ่งเป็นสภาวะที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ปุถุชนที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหาไม่สามารถจะรับรู้ได้ พระพุทธศาสนาแบ่งสิ่งที่มีอยู่จริงสองพวกใหญ่ ๆ คือ “สังขตธรรม” (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง) และ “อสังขตธรรม” (สิ่งที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง) คือนิพพาน
วิทยาศาสตร์ยอมรับว่าสังขตธรรมนั้นมีจริง แต่อสังขตธรรมอยู่เหนือการรับรู้ของวิทยาศาสตร์ ส่วนสัจธรรมในพระพุทธศาสนานั้น มีทั้งที่สามารถแสดงให้ประจักษ์เป็นสาธารณะได้ และไม่สามารถแสดงให้ประจักษ์เป็นสาธารณะ แต่แสดงโดยการประจักษ์ใจตนเองได้ (หมายถึง มีทั้งที่เราสามารถรับรู้ด้วยตาและรับรู้ด้วยใจ) ความจริงระดับต้นๆ และรับกลาง ใครๆ ก็อาจเข้าใจและเห็นจริงได้ เช่น คนที่โลภมากๆ อิจฉาริษยาเขามากๆ ไม่มีความสงบสุขแห่งจิตใจอย่างไรบ้าง คนที่มีเมตตาไม่ปรารถนาร้ายต่อใครๆ มีความสุขไม่มีเวรไม่มีภัยอย่างไรบ้าง ความจริงเหล่านี้ล้วนสามารถแสดงให้ประจักษ์ได้ชี้ให้ดูตัวอย่างได้ แต่ปรมัตถธรรมอันสูงสุดนั้นผู้ที่ได้พบแล้วยากจะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ เป็นสภาวะที่ผู้รู้เองเห็นจะพึงประจักษ์เฉพาะตัว
๒.๔ มุ่งความจริงมาตีแผ่ วิทยาศาสตร์นั้นมิได้สนใจเรื่องศีลธรรมเรื่องความดีความชั่ว สนใจเพียงค้นเอาความจริงมาตีแผ่ให้ประจักษ์เพียงอย่างเดียว เช่น วิทยาศาสตร์ค้นพบเรื่องการระเบิด แต่ควรระเบิดอะไร ไม่ควรระเบิดอะไร ไม่อยู่ในขอบข่ายวิทยาศาสตร์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์จึงมีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์
ส่วนคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นเน้นเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว มุ่งให้มนุษย์มีความสุขเป็นลำดับขั้นไปเรื่องๆ จนถึงความสงบสุขอันสูงสุดคือนิพพาน
มนุษย์เราทุกวันนี้บางทีกำลัง “งมงายในเหตุผล” ที่มาพร้อมกับวิทยาศาสตร์และตรรกศาสตร์ ซึ่งมันน่ากลัวยิ่งเสียกว่าการงมงายในไสยศาสตร์เสียอีก
หลักการสำคัญของพุทธศาสนานั้น มันเลย “เวทนา ๖” ไปเสียอีก ซึ่งเป็นหลักสำคัญของปฏิจจสมุปบาท ความตอนหนึ่งว่า เมือมีอายตนะ ก็มีผัสสะ (การสัมผัส) ก็มีเวทนา ตัณหา อุปาทาน ...อุปาทานคือการยึดติด ในที่นี้ก็คือการยึดติดกับ “ความจริง” นั่นเอง
วิทยาศาสตร์นั้น เป็นเพียงบันไดขั้นแรกของพุทธศาสตร์เท่านั้นเอง คือ ในช่วงแรกศาสนาพยายามใช้เหตุผลชักจูง ชี้นำ เพื่อให้บุคคลเกิดศรัทธาในศาสนา พอมีศรัทธาแล้วก็จะปฏิบัติหนักขึ้นเรื่อยๆ จนหลุดพ้นในที่สุด สภาวะแห่งการหลุดพ้นนั้นมัน “นอกเหตุเหนือผล” ฝรั่งอาจเรียกว่า transcendental หรืออะไรก็แล้วแต่ ท่านพุทธทาสภิกขุก็บอกว่า “จงหลุดพ้นเสียจากการหลุดพ้น”
วันหนึ่งมีโยมมาถามท่านว่ายทวนน้ำว่า
โยม : หลวงพ่อชากล่าวว่า "ธรรมะที่แท้จริงเป็นเรื่องนอกเหตุเหนือผล" คำว่า "นอกเหตุเหนือผล" นี้หมายความอย่างไรครับ?
พระ : เหตุผลทั้งหลายล้วนเกิดจาก "ความคิด" ถ้าเราคิดมันจะมีเหตุผลมีผลขึ้นมา แต่ถ้าเรา "หยุดคิด" เหตุผลทั้งหมดจะไม่มี
คำว่า "นอกเหตุเหนือผล" คือ ไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง ไม่ให้ค่าให้ความหมายกับสิ่งใด ผลของการไม่คิด ไม่ปรุงแต่ง ไม่ให้ค่าให้ความหมาย นั่นแหละคือ "สุญญตา" (ความว่าง)
โยม : แต่การอยู่ทางโลกเราต้องใช้เหตุผลกันนะครับ?
พระ : นั่นสำหรับทางโลกจะใช้เหตุผลเป็นใหญ่ จะใช้เหตุผลในการตัดสิน ความเป็นเหตุเป็นผลของใครฟังดูดีกว่าคนนั้นก็ชนะ แต่มันไม่จบเพราะอีกฝ่ายเขาก็ถือว่าเขามีเหตุผลในมุมมองของเขาเหมือนกัน เหมือน 51 ต่อ 49 ฝ่ายที่ 49 เขาก็อ้างว่าเหตุผลเขายังมีน้ำหนักตั้ง 49 นะ ไม่ได้ 0 ซึ่งเหตุผลเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคสมัย ยุคแรกสังคมอาจไม่ยอมรับเหตุผลนี้ แต่ต่อไปภายหน้าสังคมอาจให้น้ำหนักเหตุผลทางนี้ดีกว่า ถึงได้บอกว่าเรื่องเหตุเรื่องผลนี้มันไม่จบไม่สิ้น
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่โยมไม่ปรุง ไม่ให้ค่าให้ความหมายกับสิ่งใด เมื่อนั้นก็จบ ไม่มีการทะเลาะ ไม่มีการโต้เถียง ไม่มีการเอาชนะ ไม่มีการก่อกรรม เราก็อยู่กับสุญญตาไปเรื่อยๆ อยู่แบบนอกเหนือเหนือผลกับทุกสิ่งไปเรื่อยๆ
โยม : ทำไมพระอาจารย์ถึงบอกว่าการมีเหตุผลเป็นเหตุให้ก่อกรรมครับ?
พระ : การใช้เหตุผลนี่มันมีทั้งคุณและโทษ แต่คนส่วนใหญ่จะใช้เหตุใช้ผลในทางที่เป็นโทษแก่ตัวเอง
การใช้เหตุผลที่เป็นคุณ คือใช้เหตุผลเพื่อทำให้เกิดการหยุดคิด ก็คือหา "ข้อคิดเพื่อหยุดคิด" นั่นแหละ เช่น ถ้าเรารู้ว่าฆ่าสัตว์มันเป็นกรรมนะ ต่อไปเราจะได้รับวิบากกรรมตัวนี้นะ ต่อไปเราจะหยุดฆ่า นี่คือตัวอย่างของการใช้เหตุใช้ผลเพื่อหาโทษของสิ่งต่างๆ และทำให้เกิดการหยุดคิดตามมา เหตุผลเหล่านี้จึงเป็นอุบายในการหยุดคิด
ส่วนการใช้เหตุผลที่เป็นโทษ คือใช้เหตุผลเพื่อทำให้เกิดการปรุงแต่งต่อไป การปรุงแต่งนั่นแหละจะทำให้เราก่อกรรม เช่น มีคนกินอาหารบนรถไฟฟ้า หรือจอดรถในที่ห้ามจอด ถ้าโยมเห็นแล้วโยมไปเพ่งโทษเขาว่าเขาทำไม่ดี ไม่ถูก ไม่ควร นั่นแหละคือการใช้เหตุผลในการก่อกรรมให้แก่ตัวโยมเอง ถูก-ผิด นั้นเป็นเรื่องของเหตุผล เหตุผลนั้นมาจากความคิด ถ้าโยมหยุดคิด ถูก-ผิดจะไม่มี แต่ถ้าโยมคิด ถูก-ผิดจะมีขึ้นมา ดังนั้น ถ้าโยมมีความเป็นคนนอกเหตุเหนือผล แม้โยมจะเห็นคนกินอาหารบนรถไฟฟ้าหรือจอดรถในที่ห้ามจอด โยมก็จะเพียงเห็นเฉยๆ ไม่เกิดการปรุงแต่ง ไม่เกิดการวิจารณ์เขา โยมก็จะว่างจากสิ่งที่เห็น ก็จะไม่ก่อกรรมใดๆ
หากโยมจะเป็นนักภาวนาผู้หาทางพ้นทุกข์ โยมจะเอาเหตุผลของคนทางโลกมาใช้ไม่ได้ ทางโลกเขาจะเอาเหตุผลไปตัดสินว่าแบบนี้ถูกแบบนี้ผิด ซึ่งนั่นเป็นการก่อกรรม แต่ทางธรรมต้องหยุดคิด ประคองการอยู่กับสุญญตาไปเรื่อยๆ วันทั้งวันไม่ก่อกรรมใดๆ เลย คนที่ภาวนาเป็นเขาจะไม่ทะเลาะกับใคร ไม่วิจารณ์ใคร ไม่โต้เถียงใคร ไม่เพ่งโทษใคร เห็นอะไร ได้ยินอะไร ได้กลิ่นอะไร ได้ลิ้มรสอะไร ได้สัมผัสอะไร ได้รู้สึกนึกคิดอะไร เขาก็จะแค่รู้เฉยๆ เพียงแค่รู้ ไม่ปรุงแต่ง ไม่ให้ค่าให้ความหมาย วันทั้งวันนักภาวนาจึงแทบไม่ก่อกรรมอะไรเลย เพราะเขาอยู่กับความนอกเหตุเหนือผลตลอดทั้งวี่ทั้งวัน โยมจำไว้ว่า เรื่องถูกเรื่องผิด เรื่องเหตุเรื่องผลนั้น เป็นเพียงความคิดที่หลอกให้สร้างกรรมเท่านั้นเอง...
วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ถูกต้องใช้ได้ เราต้องมีเหตุมีผลอย่างนี้ การเรียนการศึกษาถึงจำเป็นต่อหมู่มวลมนุษย์ คนที่เกิดมาต้องพากันเข้าใจ พากันประพฤติพากันปฏิบัติ การปฏิบัติมันก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้ตามใจตัวเอง ไม่ตามอารมณ์ตัวเอง มันเป็นสิ่งที่หยุดทำความเคยชินของเรา เพราะตาของเรามันก็ส่งออกข้างนอก หูของเรามันก็ส่งออกข้างนอก ทุกอย่างมันส่งออกข้างนอกหมด มันไม่ได้กลับมาปฏิบัติเอง มาเเก้ไขตัวเอง ถึงเราจะพัฒนาเทคโนโลยี เราก็สะดวกสบายเเบบไม่มีปัญญา ผู้ที่มีการเรียนการศึกษาก็มีความรู้เเต่ว่า มันพัฒนาตั้งเเต่ทางเทคโนโลยี คือการอยู่ดีกินดีสะดวกสบาย เเต่ว่าไม่ได้พัฒนาใจ เค้าเรียกว่า ยังไม่ใช่ทางสายกลาง พระพุทธเจ้าท่านบำเพ็ญพุทธบารมีมา เพื่อให้เรา พัฒนาทางสายกลาง พัฒนาทั้งเทคโนโลยี พัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน
เราต้องเข้าใจนะ คนรุ่นใหม่ คนสมัยใหม่ ให้เข้าใจเรื่องศาสนา วิทยาศาสตร์มันคืออันเดียวกัน ที่เหนือวิทยาศาสตร์คือมีความสุข ความสงบ ความสบาย เราไม่หลง เรามีดีกว่าสัตว์เดรัจฉาน ทำบ้าน ทำเมือง ทำรถ ทำเครื่องบิน ทำคอมพิวเตอร์ ออกมาใช้งาน สะดวก สบายได้ มันต้องฉลาด มันต้องเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทางธรรมไปทางหนึ่งทางเดียวกัน ความเป็นพระมันจะได้มีกับเราทุกคน เขาเรียกว่าพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี สำหรับประชาชนคนยังไม่ได้บวช ผู้ที่บวชแล้ว ผู้ที่เขาเคารพกราบไหว้มันก็น่าจะได้เป็นพระอรหันต์ อย่างนี้เป็นต้น ให้เข้าใจ ความสุข ความดับทุกข์ อยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง มีความสุขในการทำงาน ไม่ใช่ตามอารมณ์ ตามความคิด ตามสิ่งแวดล้อมมันไม่ได้ ให้รู้สัจธรรม รู้ความจริง รู้อริยสัจ ๔ ว่าต้องพากันทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ ต้องมีความสุขในการประพฤติปฏิบัติทุกคน ไม่มีใครทำให้ได้ ปฏิบัติให้ได้ ทุกคนถ้าไม่ทำตามใจตัวเอง ไม่ทำตามความรู้สึก มันเก่งทุกคน มันไม่เก่งก็เพราะว่ามันเอาความหลงเป็นที่ตั้ง อย่างนี้มันจะเก่งได้ยังไง ทำไป ทำไปก็มีแต่ปวดหัว เป็นโรคจิตโรคประสาท นอนไม่หลับ โรคภัยต่างๆ มันต้องเสียสละ มันต้องรู้จัก ดีท็อกซ์สิ่งที่เป็นอัตตาตัวตนออกไปจากใจของเรา เราจะเป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ เป็นไปเพื่อความหลงนี้ไม่ได้ ไม่ดี
ทุกๆ คนน่ะ ต้องเอาชีวิตที่ประเสริฐปรับเข้าหาธรรมะเราเข้าหาเวลา อยากได้สีลัพพตปรามาส ลูบคลำคือประมาทเพลิดเพลินหลงในตัวในตน ชีวิตของเราในชีวิตประจำวันต้องเป็นศีลสมาธิปัญญา ทุกๆ ศาสนาน่ะที่เป็นชื่อของศาสนาก็อันเดียวกันน่ะ เป็นภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เพราะเราทุกคนต้องรักกันมากที่สุดในโลก เมื่อเรายกเลิกตัวตนแล้ว มันก็จะรักกันด้วยบริสุทธิคุณ กรุณาธิคุณ ปัญญาธิคุณอย่างนี้ มันจะไม่เอาความสุขบนความทุกข์ของคนอื่น
จึงต้องตั้งมั่นในพระรัตนตรัย เอาแต่ตัวแต่ตนน่ะ ตั้งแต่เด็ก ๒-๓ ขวบจนถึงอากงอาม่า จนถึงพระคุณเจ้าทั้งหลาย บริโภคความหลงก็เล่นแต่โทรศัพท์ ไม่รู้จักเจริญสติสัมปชัญญะ ไม่มีความสุขในการทำงาน คิดแต่ว่าการทำงานก็เพราะจำเป็นเรียนหนังสือก็เพราะจำเป็น อันนี้ไม่ได้ คือไม่ถูกต้อง ไม่ใช่มนุษย์ผู้ฉลาด เป็นได้แต่เพียงคนเป็น ได้แต่เพียงอวิชชาความหลง ทุกคนต้องพากันมีความสุขนะ มีความสุขในการประพฤติปฏิบัติ เราอย่าไปคิดว่า เรานี้เก่งเรารู้เหตุรู้ผล มีความสามารถมีเงินมีสตางค์มีบ้านมีรถมีลาภยศตำแหน่งเกียรติยศชื่อเสียง เราอย่าไปหลงประเด็น เพราะความถูกต้องก็คือความถูกต้อง เราจะไปขอว่า ไม่ให้แก่ไม่ให้เจ็บไม่ให้ตายไม่ให้เป็นอย่างนู้นอย่างนี้ไม่ได้ เพราะทุกอย่างมันเป็นของมันอยู่เช่นนั้นเอง ตาก็ทำหน้าที่ของตา หูก็ทำหน้าที่ของหู ใจของเราไม่รู้ ก็ไปรับเอาสิ่งนั้นๆ มา เพราะใจเราไม่มีพุทธะ เพราะเราเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง พุทธะจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ให้พากันเข้าใจ พากันตั้งมั่นในพระรัตนตรัย เขามีเทคโนโลยีมีอะไรที่อำนวยความสะดวกความสบาย เราจะหลงไปเรื่อยไม่ได้ ทุกอย่างก็เพื่อให้รู้เรื่องจิตเรื่องใจรู้ในทางวิทยาศาสตร์ เพราะการพัฒนาจากเดินเท้าก็ไปเครื่องบินแล้ว จากที่ต้องเดินไปหากันจึงจะรู้ข่าวรู้คราวกัน เดี๋ยวนี้เพียงแค่ ๒-๓ นาทีก็รู้เรื่องกันหมดแล้ว เป็นวิวัฒนาการที่พัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน เมื่อรู้แล้วก็อย่าไปหลงอย่าไปเพลิดเพลินประมาท ต้องพัฒนาใจของตัวเองให้ได้ เพราะความหมายของสมาธิก็คือยกเลิกเรื่องอดีตยกเลิกเรื่องอนาคต ปัจจุบันก็เข้าสู่ความว่างจากตัวตน ศีลก็คือยกเลิกตัวตน กฎหมายบ้านเมืองระดับประชาธิปไตยที่คนส่วนรวมมีความเห็นพ้องต้องกัน แต่ก็ยังไม่สูงสุดเท่ากับศีลเท่ากับสมาธิเท่ากับปัญญา ต้องเป็นศีลที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ เป็นสมาธิที่เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นปัญญาสัมมาทิฏฐิ จึงต้องพากันเข้าใจว่า เราสามารถแก้ปัญหาได้ ไม่มีปัญหา ความเป็นพุทธะต้องคู่กับวัตถุเทคโนโลยีอย่างนี้ ใจเราจะเอาแต่ความสงบเอาแต่ความสุขอย่างนี้ ท่านถึงบอกว่า ผู้ที่เป็นมนุษย์รวยเป็นเทวดาหรือเป็นพรหม มันก็ยังมีตัวมีตนอยู่นะจึงต้องพัฒนาก้าวหน้าสู่เรื่องจิตใจเรื่องคุณธรรม พัฒนาใจพัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน
เราต้องฝึกการเข้าสมาธิ วันหนึ่งคืนหนึ่งเราควรเข้าสมาธิพักผ่อนทั้งกายทั้งใจ เข้าสู่ความว่างจากตัวตน ตอนเย็นก็ ๑ ชั่วโมง ตอนเช้าก็ ๑ ชั่วโมง วันหนึ่งคืนหนึ่งเราก็นอน ๖ ชั่วโมงอย่างนี้เป็นต้น สำหรับพระภิกษุสามเณรคุณแม่ชี สามารถทำได้ทั้งเช้ากลางวันเย็น ต้องเข้าใจอย่างนี้ ทุกคนจะได้มีสติมีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม ใจของเราน่ะ เราต้องรู้ เราจะไปรู้แต่เรื่องภายนอกมันก็ไม่มีประโยชน์ ต้องมารู้ตัวเองว่ามันฟุ้งซ่านขนาดไหน มีสติมีสัมปชัญญะโดยเอาธรรมเป็นหลัก อันไหนไม่ดีไม่คิดไม่พูดไม่ทำ รู้ตัวทั่วพร้อมอย่างนี้แหละ เอาตัวตนมากมันฟุ้งซ่าน
เราดูตัวอย่างแบบอย่างสิ พระพุทธเจ้าท่านยกเลิกตัวตนท่านมีความสุขอย่างยิ่ง วันหนึ่งคืนหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงบรรทมเพียง ๔ ชั่วโมง ทรงทำงานเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นวันละ ๒๐ ชั่วโมง เพราะต้องเข้าใจอย่างนี้ เราเป็นผู้หลักผู้ใหญ่เป็นพ่อเป็นแม่ก็ต้องทำให้ได้ปฏิบัติให้ได้ อย่าไปคิดว่าทำไม่ได้ เอาตัวตนเป็นที่ตั้งมันก็ไม่ได้ เพราะตัวตนมันคือความไม่ได้ เราดูตัวอย่างสิ พวกเด็กๆ เพราะว่าต้องมาตื่นแต่ตี ๓ มันยาก ตัวตนน่ะคือความยาก ดูตัวอย่างแบบอย่างหลวงปู่คำภาอายุเกือบ ๑๐๐ ปี ท่านก็ทำได้ หลวงตาจำรัสอายุ ๘๐ กว่าแล้ว ท่านก็ทำได้ ตัวตนนั้นคือทำไม่ได้ เพราะตัวตนนั้นมันทำให้พร่องอยู่ตลอดกาล เหมือนทะเลไม่อิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้ออย่างมี เราจึงต้องเข้าใจ เราอย่าผัดวันประกันพรุ่ง ต้องเจริญสติเจริญสัมปชัญญะให้สมบูรณ์
เราต้องปรับใจเข้าหาเวลาเข้าหาพระธรรมวินัย เพื่อเข้าถึงความเป็นพุทธะ เราจะได้ไม่ติดในอะไร ไม่ติดในความสุขความสะดวกความสบายความสงบ เราจะได้ไม่เอาความร่ำรวยทางวัตถุเป็นความดับทุกข์ ไม่เอาความสะดวกความสบายอารมณ์สวรรค์เป็นความดับทุกข์ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นทางผ่าน พระพุทธเจ้าให้เราก้าวไปด้วยสติสัมปชัญญะ เพื่อใจเราจะได้สงบเย็นเป็นพระนิพพาน
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee