แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วันจันทร์ที่ ๒๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง คุณของพระธรรม ตอนที่ ๕๓ ปัญญาของคนพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ความสะอาดของคนพึงรู้ได้ด้วยการทำงาน
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
ประเทศไทยของเราก่อนปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ยังเป็นป่าเขาลำเนาไพร จนวันนี้ได้พัฒนาเหมือนที่เห็นปัจจุบัน การสัญจรสมัยก่อนก็สัญจรด้วยเท้าระหว่างหมู่บ้าน ใช้เกวียน ใช้ม้า ใช้วัว ใช้ควายเป็นยานพาหนะ ประเทศอื่นๆ ในเอเชียก็มีความคล้ายๆ กัน พวกเด็กๆ รุ่นใหม่ สมัยใหม่คงจะไม่มีความรับรู้ในสิ่งเหล่านั้นได้ คิดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงนิยายไม่ใช่ความจริง
ในศตวรรษที่ 15 มีการเดินเรือสืบค้นประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ซึ่งทำให้มีการค้นพบแผ่นดินและทวีปใหม่ๆ ต่อจากศตวรรษที่ 16 พัฒนาการทางด้านการเขียน การพิมพ์ การเขียนตำราเป็นไปอย่างกว้างขวางรวดเร็ว เมื่อค้นพบและสามารถประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ได้ การประสานร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ที่อยุ่ในซีกโลกด้านตะวันออก กับซีกโลกตะวันตก ทำให้มีการส่งสาร ทำให้ความรู้และการสื่อสารแพร่หลายอย่างกว้างขวาง ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างยุคกลาง (Middle Age) กับยุคปฏิรูป (Renaiseauce) ตัวอย่างของบุคคลในยุคนี้ เช่น เลโอนาโด ดาวินซี นิโคลัส เป็นต้น
วิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน เพิ่งเริ่มต้นเมื่อต้นสตวรรษที่ 17 โดยมีนักวิทยาศาสตร์ เช่น กาลิเลโอ (Galileo Galilei) เคปเลอร์ ( Kepler) นิวตัน (Newton) ลินเนียส (Linnueus) และในระหว่างศตวรรษที่ 17-18 เป็นการค้นพบที่เป็นรากฐานทางวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ความก้าวหน้าและพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์เป็นไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทุกวิชา การค้นคว้าทดลอง การค้นพบประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นยุคปฏิวัติทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกือบทุกสาขา และมีการค้นพบ เอกซ-เรย์ (X-ray) การค้นพบกัมตภาพรังสี การค้นพบทฤษฎีสัมพันธภาพ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นรากฐานที่ทำให้มนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ และกำลังแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ในกาแลกซี
การพัฒนาประเทศและโครงสร้างประเทศไทยของเรา ได้มีการเอาธรรมนำชีวิต เพื่อพัฒนาธรรม พัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เป็นทางสายกลางเพราะเหมือนทุกๆ ประเทศที่เอาธรรมนำชีวิต นำการดำเนินชีวิต ในโลกนี้ถึงมีชาติ มีศาสนา และมีพระมหากษัตริย์ ปัจจุบันบางประเทศก็ไม่มีพระมหากษัตริย์มีแต่เพียงประธานาธิบดีแทน ใครอยู่ที่ไหนก็ตั้งชื่อประเทศนั้น ปัจจุบันนี้ในโลกของเรามีประเทศทั้งหมด ๑๙๕ ประเทศ เค้าตั้งชื่อแต่ละชาติเพื่อเอาสมมติมาใช้งาน ปัจจุบันก็มีหลายภาษาทั่วโลกมีมากกว่า ๗,๐๐๐ ภาษา โดยส่วนใหญ่เป็นภาษาถิ่น ที่ถูกสมมติเพื่อการสื่อสารให้สะดวกสำหรับการอยู่ร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้อง หมู่มวลมนุษย์ต้องพัฒนาสองอย่าง พัฒนาธรรมะ กับพัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน ยกเลิกตัวยกเลิกตน เพราะทุกอย่างที่ตั้งอยู่นั้นไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แต่เป็นเพียงเหตุเป็นเพียงปัจจัย ถ้าเราเอาแต่เรื่องจิตเรื่องใจ ชีวิตเราก็ไปไม่ได้ หรือถ้าเราเอาแต่เรื่องทางวัตถุทางตัวทางตน มันก็ไปไม่ได้ เพราะสองอย่างนี้ต้องไปพร้อมกัน จึงเป็นทางสายกลาง
ผู้ใหญ่ทุกคนให้พากันนอนหลับสนิท ให้ร่างกายได้พักผ่อนสมองให้ได้ ๖ ชม. เต็มๆ เวลาตื่นก็เป็นเวลา ๑๘ ชม. มนุษย์เราต้องมีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง และการปฏิบัติที่ถูกต้อง จะได้เอาธรรมนำชีวิต มีความสุขในการเสียสละ มีความสุขในการยกเลิกตัวตน กฏหมายบ้านเมืองก็คือการยกเลิกตัวตน เรื่องพระศาสนา ทุกพระศาสนานั้นก็คือเพื่อยกเลิกตัวตน และเพื่อเอาธรรมนำชีวิต การเรียนการศึกษาของเราเป็นสิ่งที่จำเป็น เราเกิดมาเราเริ่มศึกษาตั้งแต่อายุน้อยๆ ถึง ปริญญาเอก เพื่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นที่ถูกต้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง และการปฏิบัติที่ถูกต้อง ในทางธรรมะ และทางวัตถุไปพร้อมๆ กัน ให้ทุกคนเข้าใจง่ายๆ กันอย่างนี้นะ เน้นมาที่ตัวเรา โฟกัสมาที่ตัวเรา ทุกคนอย่าได้ขาดตกบกพร่อง อย่าตั้งอยู่บนความเพลิดเพลิน อย่าตั้งอยู่บนความประมาท เพราะสิ่งภายนอกมีอยู่มากมาย เราทุกคนอย่าได้ประมาทจะต้องมีสติสัมปชัญญะ และรู้เรื่องพระไตรลักษณ์ว่าทุกอย่างไม่แน่ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนเลย เป็นเพียงผัสสะที่ทำให้เราเกิดอารมณ์ เราตั้องรู้จักธรรมะรู้จักสภาวะธรรม มารู้จักความชอบใจ ความไม่ชอบใจนี้ก็เป็นอาการของตัวตนนะ เค้ามีผัสสะ มีอารมณ์ เพื่อให้เรามีโอกาสมาประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เราได้มาพัฒนาใจ และพัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน ชีวิตของเราจะได้เป็นศีลสมาธิปัญญา เป็นอัตโนมัติในปัจจุบัน เมื่อเรามีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง ความเข้าใจที่ถูกต้อง และการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทุกอย่างจะมีแต่คุณ ทุกอย่างจะไม่มีโทษ คนรุ่นใหม่คนสมัยใหม่ดีแล้ว เราได้พัฒนาต่อยอดมาถึงปัจจุบัน เพราะไม่ต้องเดินเท้าเปล่า ไม่ต้องทุกข์ยากลำบากในการดำเนินชีวิต มีบ้านอย่างดี มียานพาหนะที่สะดวกสบาย พากันมารู้จักว่านี่คือเหตุปัจจัยที่มนุษย์เราได้พัฒนาตามหลักเหตุหลักผล ตามหลักวิทยาศาสตร์
สมัยก่อนพืชนาไร่สวน หนึ่งไร่ ได้ผลผลิตเพียงเล็กน้อย แต่ในปัจจุบันนี้ผลผลิตทำได้มากมาย เพราะการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ เพราะเราได้พัฒนาตามหลักเหตุหลักผล การทำตามหลักวิทยาศาสตรทำได้ปฏิบัติได้ พัฒนาสิ่งที่บกพร่องให้มันดีขึ้นได้ เช่น พัฒนาเรื่องน้ำ พัฒนาเรื่องที่ดิน พัฒนาเรื่องอากาศ ทุกคนต้องมีความเห็นที่ถูกต้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง มีความสุขในการประพฤติการปฏิบัติ ที่เราพากันบอกว่าเราทำไม่ได้ อันนี้เพราะเรามีตัวมีตน ทำอะไรก็ยากลำบากไปหมด ตัวตนคือความยากลำบากนะ การที่เรายกเลิกตัวตนทำอะไรก็ไม่สะดุด ทำอะไรก็มีปัญหานะ ทุกคนน่ะต้องเดินไปด้วยความเป็นพุทธะทางด้านจิตใจ และพุทธะทางด้านวัตถุ ที่เรียกว่าเป็นศีลสมาธิปัญญาอย่างนี้ ความถูกต้องคือเราต้องพากันมาเสียสละยกเลิกตัวยกเลิกตน เอาตัวตนเป็นที่ตั้งเรียกว่าทุจริต ตัวตนคือโกงกิน คือคอรัปชั่น
เราทุกคนต้องพากันเข้าใจ พากันพร้อมเพียง มีความสมัครสมานสามัคคี พากันเข้าถึงความดับทุกข์ทางด้านจิตใจ และทางด้านวัตถุพร้อมๆกัน ถ้าเรามีตัวมีตน เมตตาที่บริสุทธิ์ กรุณาที่บริสุทธิ์ ก็จะไม่มีกับเรา เพราะความเป็นพุทธะทางด้านจิตใจ และทางวัตถุมันยังไม่ได้เกิดขึ้นกับเรา การศึกษาการทำมาหาเลี้ยงชีพก็ล้วนแต่เป็นไปเพื่อตัวเพื่อตน แบบนี้เป็นความไม่ถูกต้อง เพราะตัวเองยังไม่รักตัวเอง เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง คือไม่มีเมตตาตัวเอง เราจะมีเมตตากับผู้อื่นได้ยังไง เวลาเราบอกว่า เรารักผู้อื่น อันนี้มันไม่จริง มันยังเป็นเพียงความหลง ให้ทุกท่านพากันเข้าใจ พากันมีสติคือความสงบ และสัมปชัญญะคือปัญญาไปพร้อมๆ กัน
เรายังไม่เข้าใจชีวิต เราก็พากันทำมาหากินกันในที่ต่างๆ ทั้งในประเทศ ทั้งต่างประเทศ พระพุทธเจ้าให้เรารู้จักว่าความดับทุกข์อยู่กับเราทุกคน ไม่ต้องไปหาความดับทุกข์ที่ไหน ความดับทุกข์คือเราพัฒนาจิตใจ พัฒนาคุณธรรม พัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน ศาสนาพุทธต่อยอดจากความสงบ เพราะความสงบนั้นยังไม่ใช่ความดับทุกข์ที่แท้จริง ศีลก็ดับทุกข์ได้ระดับหนึ่ง สมาธิก็ดับทุกข์ได้ระดับหนึ่ง ปัญญาที่ประกอบด้วยสามอย่าง คือศีลสมาธิปัญญา จึงจะสามารถดับทุกข์ได้อย่างสูงสุด ความดับทุกข์ของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับสัมมาทิฏฐิ คือ การมีความเห็นที่ถูกต้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทุกอย่างจึงเป็นธรรม เป็นปัจจุบันธรรม เป็นความสมบูรณ์แบบของความดับทุกข์ ไม่ได้เพิ่ม ไม่ได้ตัดออก เป็นศีลสมาธิปัญญา หมู่มวลมนุษย์ต้องพากันมาปฏิบัติแบบนี้ มาทำกันแบบนี้ ทุกชาติศาสนาให้พากันเข้าใจนะ
ถ้าเรามีตัวมีตนเราจะพากันแย่งทรัพยากรกัน ความมีตัวมีตนมันทำให้เราเสียหาย ให้เราเข้าใจกันง่ายๆ แบบนี้ ถ้าเรามีความเห็นถูกต้อง มีความเข้าใจที่ถูกต้อง มีสติ มีสัมปชัญญะ สมองเราจะยกเลิกความสับสนทันที ตัวตนคือความขี้เกียจขี้คร้าน มันคู่กับความมีตัวตน ความถูกต้องคือการที่มีการพัฒนานาฬิกาบอกเวลา ให้เราปรับตัวเข้าหาธรรมะเข้าหาเวลา มีธรรมะเป็นบรรทัดฐาน
บุคคลไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ควรเป็นตัวของตัวเอง ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่ ไม่ควรกล่าวธรรมเพื่อต้องการทรัพย์ (ไม่พึงมีแผลประพฤติธรรม)
วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นแล้วประทับ ณ ภายนอกซุ้มประตู ครานั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จมาเฝ้า เมื่อพระองค์ประทับ ณ ที่สมควร และสนทนากับพระศาสดาเป็นสาราณียะอยู่นั่นเอง มีนักบวชหลายนิกาย กล่าวคือนิครนถ์ ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน อเจลกะ ๗ คน ปริพพาชก ๗ คน และชฎิลอีก ๗ คน รวม ๓๕ คน ซึ่งล้วนมีเครายาว มีขนรักแร้ยาว ถือบริขารต่างๆ เดินผ่านมา พระเจ้าปเสนทิโกศลเห็นนักบวชเหล่านั้นแล้ว จึงผินพระพักตร์จากพระผู้มีพระภาคหันไปทางนักบวชเหล่านั้น คุกพระชานุข้างหนึ่งลงทำผ้าห่มเฉวียงบ่า พลางประกาศพระนามและโคตรของพระองค์ว่า "ข้าแต่ท่านนักพรตผู้ประเสริฐ! ข้าพเจ้าคือพระเจ้าปเสนทิโกศล" ดังนี้ ๓ ครั้งเป็นการแสดงความเคารวะอย่างสูง นักบวชเหล่านั้นหยุดอยู่ครู่หนึ่งแล้วเดินเลยไป พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงหันมากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระจอมมุนี! นักบวชเหล่านั้นคงเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งซึ่งมีอยู่ปรากฏอยู่ในโลกเป็นแน่แท้"
พระสุคตเจ้ามีพระอาการสงบนิ่งอยู่ครู่หนึ่งก่อนจะตรัสว่า "มหาบพิตร! พระองค์เป็นคฤหัสถ์ยังบริโภคกาม บรรทมเบียดโอรสและชายา ทรงผ้าที่มาจากแคว้นกาสี ทัดทวงของหอม ลูบไล้ด้วยจุณจันทร์ จึงเป็นการยากที่จะรู้ได้ว่า นักบวชเหล่านั้นเป็นอรหันต์หรือไม่ มหาบพิตร! ปกติของคนเป็นอย่างไร อาจรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และต้องอยู่ร่วมกันนานๆ ต้องใส่ใจและมีปัญญาสอดส่องกำกับได้ด้วย ปัญญาของคนพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ความสะอาดของคนพึงรู้ได้ด้วยการทำงาน ความกล้าหาญและเรี่ยวแรงรู้ได้ในเวลามีอันตราย ทั้งหมดนี้ต้องใช้เหตุ ๓ อย่างประกอบคือ กาลเวลา ปัญญา และมนสิการ"
หลัก ๔ ประการ ในการอ่านคนให้ออก ดังนี้
๑. ศีล คือความประพฤติหรือปกติของคน เราจะพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน
๒. ความสะอาด พึงรู้ได้ด้วยการงานที่เขาทำ
๓. ความกล้าหาญ เรี่ยวแรงกำลัง พึงรู้ได้ในเวลามีอันตราย
๔. ปัญญา พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา
ทั้ง ๔ ประการนี้ ต้องใช้เวลานาน ต้องมีโยนิโสมนสิการ ต้องมีปัญญาจึงจะรู้ได้
พระผู้มีพระภาคทรงตอบอย่างบัวมิให้ช้ำน้ำมิให้ขุ่น ถ้าพระองค์จะตรัสตรงๆ ว่านักบวชเหล่านั้นมิได้เป็นอรหันต์ดอก ที่แท้ยังเป็นผู้ชุ่มไปด้วยกิเลส ก็จะเป็นการยกตนข่มผู้อื่น ถ้าพระองค์จะทรงรับรองว่านักบวชเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็จะพึงดูแคลนพระสัมพัญญุตญาณได้
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงกราบทูลว่า อัศจรรย์จริงพระเจ้าข้า! อัศจรรย์จริง! พระผู้มีพระภาคทรงเป็นสัพพัญญูโดยแท้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐ! ความจริงนักบวชเหล่านั้นคือจารบุรุษ ซึ่งข้าพระองค์ส่งไปสอดแนมเหตุการณ์บ้านเมือง ณ แคว้นต่างๆ เป็นการอำพรางตนโดยถือเพศเป็นนักบวช เมื่อกลับถึงบ้านแล้วพวกเขาจะเป็นคฤหัสถ์อย่างเดิม
พระสุคตเจ้าทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า “น วายาเมยฺย สพฺพตฺถ นาญฺญสฺส ปุริโส สิยา นาญฺญํ นิสฺสาย ชีเวยฺย ธมฺเมน น วณี จเรติ บุคคลไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ควรเป็นตัวของตัวเอง ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่ ไม่ควรกล่าวธรรมเพื่อต้องการทรัพย์ (ไม่พึงมีแผลประพฤติธรรม)”
บุคคลจะชื่อว่าเป็นคนดีด้วยเหตุเพียงรูปร่างผิวพรรณก็หามิได้ ไม่ควรไว้ใจคนที่เห็นกันเพียงครู่เดียว คนชั่วเป็นอันมากเที่ยวไปโดยรูปลักษณะแห่งคนดี เหมือนหม้อดินและหม้อโลหะซึ่งฉาบไว้ด้วยสุวรรณ มองแวววาวแต่เพียงภายนอก แต่ภายในไม่สะอาด คนชั่วในโลกนี้เมื่อบริวารแวดล้อมแล้ว ก็เที่ยวไปได้อย่างคนดี เขางามแต่ภายนอก แต่ภายในไม่บริสุทธิ์
จะเห็นได้ว่าพระพุทธภาษิตเหล่านี้คมคายเพียงไร เป็นพระดำรัสที่ถ้าจะมองว่าลึกซึ้งก็ลึกซึ้ง ถ้าจะมองว่าสามัญชนทั่วไปพอจะเข้าใจและปฏิบัติตามได้ก็ได้เช่นกัน ตอนแรกพระพุทธองค์ทรงย้ำว่า บุคคลไม่ควรพยายามไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง นั้นหมายความว่าก่อนใช้ความพยายามในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ควรจะสำรวจเสียให้ดีก่อนว่า ความพยายามที่ทำไปนั้นจะได้ผลคุ้มเหนื่อยหรือไม่ อุปมาเหมือนนักสำรวจทอง ก่อนที่จะลงมือขุดก็ควรจะใช้เครื่องมือสำรวจเสียก่อนว่าที่ๆ ตนจะขุดนั้นมีทองอยู่หรือไม่ มิใช่ว่าพอจะขุดทองก็เริ่มขุดไปแต่บันไดบ้านทีเดียว ถ้าทำอย่างนั้นก็เป็นการเสียแรงเปล่าได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า เป็นการลงทุนมากแต่ได้ผลน้อย
ส่วนเรื่องเป็นตัวของตัวเองก็มีความสำคัญมาก มนุษย์จะเป็นอย่างไรก็ช่างเถิด แต่ขอให้เป็นตัวของตัวเอง คนไม่เป็นตัวของตัวเองเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ (ไม่พึงเป็นคนรับใช้คนอื่น ในเพศบรรพชิต)
ส่วนข้อที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้เป็นคนเลี้ยงตัวได้ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีพนั้น มีความหมายว่า บุคคลเมื่อมีอายุพอสมควรจะเลี้ยงตัวได้แล้วก็ควรประกอบอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งเลี้ยงตน มิใช่คอยแต่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอยู่อย่างเดียว เพราะการอาศัยผู้อื่นในวัยที่ไม่ควรอาศัย เป็นการแสดงถึงความเป็นผู้ไร้ความสามารถ ส่วนสมณะผู้อาศัยอาหารจากเรือนของผู้อื่นแล้วยังชีพให้เป็นไปนั้น ก็เป็นเพราะสมณะเหล่านั้นอาศัยศีลของตน ถ้าประชาชนรู้ว่าเป็นผู้ไม่มีศีล ไม่มีกัลยาณธรรม เขาย่อมไม่เลี้ยง ไม่ถวายอาหาร เพราะฉะนั้น สมณะก็ชื่อว่าเป็นผู้พึ่งตนเอง กล่าวคือ อาศัยศีลและสัมมาจารของตนเป็นอยู่
ข้อต่อมาที่พระพุทธองค์ตรัสว่า (ไม่ควรกล่าวธรรมเพื่อต้องการทรัพย์) เพราะผู้แสดงแก่ชนเหล่าอื่นด้วยเหตุแห่งทรัพย์เป็นต้น ย่อมชื่อว่านำธรรมไปทำการค้า. อย่าเที่ยวเอาธรรมไปทำการค้าอย่างนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ทำกรรมมีการสอดแนมเป็นต้น เหมือนคนของพระเจ้าโกศล ทำการสอดแนมเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์ เป็นต้น ดำรงตามกิจมีการสมาทานเพศบรรพชาเป็นต้น โดยไม่ให้คนอื่นสงสัย ชื่อว่านำธรรมมาทำการค้า. เหมือนที่พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระสุบินว่า คนนำแก่นจันทน์ที่มีราคาแพง ไปแลกกับเปรียงเน่า (อ่านว่า เปรียง มี 3 ความหมาย คือ 1. นมส้มผสมน้ำแล้วเจียวให้แตกมัน 2. น้ำมันจากไขข้อวัว และ 3. เถาวัลย์เปรียง แต่ในที่นี้น่าจะหมายถึงเถาวัลย์เปรียง เทียบกับแก่นจันทน์)
พระพุทธองค์ตรัสว่า กาลภายหน้า พระภิกษุอลัชชีเห็นแก่ได้ทั้งหลาย แทนที่ จะนำธรรมะ ที่พระพุทธองค์สอน ไปสอนสั่งให้คนหลุดพ้นจากความทุกข์ และละความโลภ กลับใช้เป็นเครื่องมือเพื่อหากิน หาปัจจัยบริจาคเข้าตัวเอง เหมือนเอาแก่น จันทน์ (ธรรมะคำสอนที่ดี) ไปแลกเอาเถาวัลย์เน่า (ลาภอามิสที่ได้รับมา ซึ่งไม่จีรังและไม่ช่วย ให้พ้นทุกข์จริงๆ ได้)
ฝ่ายบุคคลใด แม้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ในศาสนานี้ ก็ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่านำธรรมมาทำการค้า. ไม่พึงประพฤติ ไม่ควรมีแผลประพฤติธรรม หมายความว่า ให้ประพฤติธรรมด้วยความสุจริตใจ มิใช่ประพฤติธรรมด้วยเจตนาที่จะหลอกลวงให้คนมานับถือ ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโปรดพระพุทธบิดา ณ กรุงกบิลพัสดุ์ว่า ควรประพฤติธรรมให้สุจริต อย่าประพฤติธรรมให้ทุจริต ผู้ประพฤติสุจริตย่อมมีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นอกจากนี้พระพุทธองค์เคยตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายอยู่เสมอในเรื่องนี้ และทรงแนะให้ถือพระองค์เป็นเนตติดังพระพุทธภาษิตต่อไปนี้ "ภิกษุทั้งหลาย! พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่เพื่อให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่ออานิสงส์ลาภสักการะและความสรรเสริญ มิใช่จุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้ใครรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสังวระคือความสำรวม เพื่อปหานะคือความละ เพื่อวิราคะคือความคลายกำหนัดยินดี และเพื่อนิโรธะคือความดับทุกข์"
ในตอนท้ายพระพุทธองค์ทรงย้ำว่า บุคคลจะเป็นคนดีเพราะชาติหรือผิวพรรณก็หามิได้ แต่จะเป็นคนดีก็เพราะความประพฤติดี คนชั่วเป็นอันมากปกปิดความชั่วของตัวไว้ เหมือนหม้อดินที่ฉาบทาด้วยทองแวววาวแต่เพียงภายนอกเท่านั้น สรุปว่าทรงย้ำให้คนทุกคนมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสดงอาการลวงผู้อื่นให้หลงเข้าใจผิดหรือหลงเคารพนับถือ ทั้งๆ ที่ตนเองเป็นคนเลว
เราจะปฏิบัติที่วัด ที่บ้าน ที่ทำงานก็ได้ ทุกคนปฏิบัติได้หมด การปฏิบัติธรรมกับการทำงานต้องไปพร้อมกัน เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ ทุกคนต้องมีความสุขในการประพฤติการปฏิบัติ เราต้องเข้าใจการปฏิบัติธรรมคือการเสียสละ เราไม่เอาที่เราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏกะสงสาร เพราะเราจะเอา เรามีความสุขเช่นในการเรียนหนังสือ มีความสุขในการทำงาน มีความสุขในการขยันรับผิดชอบ เรื่องสตางค์ ความรู้มันเป็นของมันเอง ทุกท่านต้องมีสติมีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าต้องชัดเจน หายใจออกต้องชัดเจน ทุกคนต้องตั้งมั่นในพระรัตนตรัยเพื่อมาเปลี่ยนเเปลงจากที่มันคว่ำ มันหงายขึ้น มันมืดจะได้สว่าง เราต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก เรียกว่า พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมีจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เอาพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เราทุกคนต้องพากันประพฤติปฏิบัติเอง เริ่มต้นจากความคิดก่อน เราไปตามใจตัวเองตามอารมณ์ตัวเอง ตามความอยากความหลงไม่ได้ ต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติทางจิตใจ
เราจะพากันอยู่ลอยๆโดยบริโภคความสุขในเรื่องการอยู่การกินการนอน เรื่องอาหาร เรื่องความอยู่สุขอยู่สบาย มันไม่ได้ เพราะนี้เป็นเรื่องบรรเทาทุกข์เฉยๆ มันไม่ใช่การดับทุกข์ที่เเท้จริง มันเป็นเรื่องทางกาย ทางจิตใจเราจะมาหลงในสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ เราต้องมีสติมีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าต้องรู้ชัดเจน หายใจออกต้องรู้ชัดเจน
อย่างเราอยู่วัดปรับตัวเข้าหาพระวินัย ตั้งเเต่ระบบความคิดคำพูดการกระทำ ข้อวัตรกิจวัตร เราถึงจะจัดการกับตัวเอง เลิกจากศาลา เรากลับกุฏิ ฝึกนั่งสมาธิที่กุฏิของเรา หายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน หายใจเข้าสบาย ออกสบาย เราไม่ต้องเอาอะไร ฝึกมีสติมีสัมปชัญญะ คนเรามันตามอารมณ์ตามความคิดไปใจมันไม่สงบ ใจมันเป็นสัมภเวสี การประพฤติการปฏิบัติให้มันเน้นที่ปัจจุบัน เห็นความสุข เห็นอนิจจัง ว่าทุกอย่างมันผ่านมา เเล้วก็ผ่านไปไม่มีอะไรเเน่ ไม่มีอะไรเที่ยงพิจารณาร่างกายของเราสู่พระไตรลักษณ์ เพราะร่างกายของเราเอามาใช้เเค่ชั่วคราว พระใหม่ก็พากันประพฤติปฏิบัติทางใจพากันปฏิบัติเต็มที่ สมาทาน พระเก่าก็พากันประพฤติปฏิบัติเต็มที่ โยมที่พากันมาอยู่วัด พากันประพฤติปฏิบัติเต็มที่ เเล้วผู้ที่อยู่ทางบ้านก็พากันประพฤติปฏิบัติเต็มที่ ทุกคนรู้ว่ามันดีอยู่ เเต่ว่ามันก็ไม่อยากปฏิบัติ อย่าไปเชื่อความคิด อย่าไปเชื่ออารมณ์
เราอย่าไปคิดว่าการปฏิบัติมันเป็นการทำให้ตัวเองยากลำบาก อันนี้มันเป็นความเห็นเเก่ตัว การรักษาศีลคิดว่ายากลำบาก มันเป็นความเห็นเเก่ตัว เราไม่อยากมีปัญหาอะไร ปัญหาต่างๆมันดี เพื่อให้เราทำใจ รูปสวยๆมันดีให้เราทำใจ เสียงเพราะๆ ให้เราทำใจ ทุกอย่าง ในชีวิตประจำวันให้เราทำใจ ทำใจเสียสละปล่อยวาง ทิ้งสู่พระไตรลัษณ์ว่าอันนี้มันไม่เเน่ มันไม่เที่ยง เราต้องเสียสละ เราต้องปล่อยมัน เราต้องวาง บางคนไม่อยากเหนื่อยอย่างนี้ มันก็ไม่ได้ทำใจ ถ้าเราคิดอย่างนั้น ไม่อยากหิว ไม่อยากร้อน มันก็ไม่ดี ไม่ได้ทำใจ เพราะสิ่งเหล่านี้ คือธรรมะ เราจะได้พัฒนาใจ
การปฏิบัติธรรมต้องก้าวไปอย่างนี้ ให้ทุกคนเปลี่ยนแปลงตัวเอง กิริยามารยาทต้องปรับปรุงใหม่หมด เพราะนี่คือคุณธรรมของคนดี ของผู้ปฏิบัติดี เราทุกคนอยู่ในสิ่งแวดล้อมของคน มันมีทิฏฐิมานะ มีอัตตาตัวตนมาก เราจึงต้องมาเสียสละตัวกูของกูไปอย่างนี้ ทุกคนต้องมาเป็นผู้นำ นำตัวเองออกจากทุกข์ ออกจากเหตุให้เกิดทุกข์ มาประพฤติปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ ต้องนำตัวเอง ต้องเป็นผู้นำของตัวเอง
ตัวเองมันคืออะไร? โดย...หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ
ตัวเองนี่คือสิ่งที่มันรู้จักได้ยากที่สุด ทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่าตัวเองมันต้องรู้จักตัวเอง แล้วตัวเองมันจะรู้จักตัวเองได้อย่างไร...มันเหมือนกับคนบ้าที่รู้จักตัวเองซึ่งกำลังบ้า มันจึงรู้จักยากที่สุด
รู้จักตัวเองนี่รู้จักได้ยากที่สุดกว่ารู้จักสิ่งใดๆ ตัวเองที่คนโง่ๆ ก็มักจะพูดว่า กูรู้จักมึงดี กูรู้จักตัวกูดี มันรู้จักผิดๆ ทั้งนั้น...
เราจึงได้เห็นคนจำนวนมากนี่ทำผิดๆ แล้วใครสอนก็ไม่เชื่อ กลับดื้อเสียอีก เขาแนะนำในทางที่ถูกต้อง มันก็ไม่เชื่อ มันก็ยิ่งดื้อดึงเอาเสียอีก นี่เพราะว่ามันไม่รู้จักตัวเอง ที่มันรู้อยู่นั้น หรือที่มันอวดว่ารู้อยู่นั้น มันไม่ถูกทั้งนั้นแหละ ถ้าว่ารู้จักตัวเองอย่างถูกต้องแล้ว จะทำอะไรๆ ถูกต้อง ก็เป็นไปราบรื่น
สรุปความว่า ไอ้ตัวกู ตัวฉัน ตัวอะไรที่รู้สึกนั้น นี้เป็นตัวที่ลวงที่หลอกลวง คือ รู้ไม่จริง รู้สึกไม่จริง ถ้ายังมีความรู้สึกว่าตัวตน ตัวกู ตัวเรา ตัวเขา อยู่เมื่อไหร่ ก็ยังเรียกว่ายังโง่อยู่เพียงนั้น เพราะมันไม่อาจจะมีตัวตนได้ ตัวตนที่แท้จริงมีไม่ได้ นอกจากตัวๆ เดียวเท่านั้น คือ ตัวธรรมะ ตัวสัจจะที่เป็นความจริงของธรรมชาติ นี่แหละตัวธรรมะ ไอ้ตัวนี่แหละจริง ไอ้ส่วนตัวตนตัวกูตัวเราตัวฉันตัวเขา ที่จิตมันรู้สึกคิดนึกได้ด้วยอำนาจของอวิชชานั้นไม่เป็นตัวจริง ไม่ใช่ตัวจริง มันเป็นตัวโง่ มันเป็นตัวมายา
เมื่อมันเป็นตัวที่ไม่จริงแล้วจะให้มันรู้จักตัวเองได้อย่างไรกัน มันเหลือวิสัย ที่จะให้ตัวที่ปรุงขึ้นมาจากอวิชชานี้รู้จักตัวมันเอง มันเป็นไปไม่ได้ นี่คำว่า ตัวเอง จึงเป็นคำประหลาด แทนที่ทุกคนจะรู้จัก มันกลายเป็นไม่รู้จัก มันไปรู้จักอันอื่นเสียมากกว่า ความคิดเกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว ก็เขียนเป็นคำกลอนไว้ว่า
สิ่งที่รู้จัก ยากที่สุด กว่าสิ่งใด ไม่มีสิ่ง ไหนไหน ได้ยากเท่า
สิ่งนั้นคือ ตัวเอง หรือตัวเรา ที่คนเขลา หลงว่ากู รู้จักดี
ที่พระดื้อ เณรดื้อ และเด็กดื้อ ไม่มีรื้อ มีสร่าง อย่างหมุนจี๋
เพราะความรู้ เรื่องตัวกู มันไม่มี หรือมีอย่าง ไม่มี ที่ถูกตรง
อันตัวกู ของกู ที่รู้สึก เป็นตัวลวง เหลือลึก ให้คนหลง
ส่วนตัวธรรม เป็นตัวจริง ที่ยิ่งยง หมดความหลง รู้ตัวธรรม ล้ำเลิศตน ฯ
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee