แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันศุกร์ที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง คุณของพระธรรมตอนที่ ๓๐ เข้าถึงความดับทุกข์ที่แท้จริงด้วยทางสายกลาง อย่าเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง อย่าเอาระบบเชิงเดี่ยว
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
การดำเนินชีวิตของเราทุกๆ คน ให้พากันเข้าใจ ต้องพากันพัฒนาใจ พัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน ทางใจก็ไม่ยิ่งหย่อน ทางวัตถุก็ไม่ยิ่งหย่อนไปพร้อมๆ กัน ในปัจจุบันในชีวิตประจำวัน ทุกคนต้องมีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นให้ถูกต้อง ความเข้าใจให้ถูกต้อง การปฏิบัติของเราก็ให้ถูกต้องเพื่อทำที่สุดแห่งความไม่มีความทุกข์ ทั้งทางจิตใจทั้งทางวัตถุ เราทุกคนก็พากันมาประพฤติมาปฏิบัติของตัวของเราเอง ปรับตัวเองเข้าหาธรรมมะ ปรับเข้าหา เวลา มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ ต้องมีสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องความเข้าใจถูกต้องนำชีวิตของเรา ทุกคนต้องไม่มีความทุกข์ทางจิตใจ ไม่สร้างเหตุสร้างปัจจัยให้ใจของเราเป็นทุกข์ ให้รู้ผัสสะ ให้รู้อารมณ์ ยกทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ มีความเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้น มีความเกิดขึ้น มีความตั้งอยู่ และก็จากไปเป็นธรรมดา เพื่อให้ใจของเราเกิดปัญญา เกิดสัมมาทิฏฐิ เพื่อใจของเราจะได้เป็นพุทธะนำชีวิต
เราทุกคนมีภาระที่เกิดมา มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เราทุกคนต้องบริหารให้ถูกต้อง ปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ทรงธาตุ ทรงขันธ์ ทรงอายะตะนะ ด้วยสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติให้ถูกต้อง เราต้องปฏิบัติต่อธาตุ ต่อขันธ์ ต่ออายตนะให้ดีที่สุด ในเวลา ๒๔ ชั่วโมง วันนึงกับคืนนึงเราต้องพากันนอนหลับสนิทอย่างน้อยก็ ๖ ชั่วโมง ผู้ที่นอนหลับยากเราอาจจะเพิ่มไปอีก ๗ ชั่วโมง ๘ ชั่วโมง อย่างนี้เป็นต้น เวลาตื่นขึ้นอยู่นี้ เป็นเวลาที่เราจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับจิตใจให้ถูกต้อง เกี่ยวกับร่างกายให้ถูกต้อง ๒ อย่างนี้ ต้องดำเนินไปพร้อมกันในคราวเดียวกัน ให้ทุกคนพากันเข้าใจ เราทุกคนต้องยกเลิกความเป็นนิติบุคคล เป็นตัวเป็นตน ถึงแม้เราทุกคนจะมีธาตุ มีขันธ์ มีอายตนะ มีความรู้สึก ทุกท่านทุกคนก็ต้องยกเลิก พระพุทธเจ้าให้เอาสิ่งเหล่านี้ ที่ปรากฏการณ์นี้สักแต่ว่า ไม่ให้มีความหลง ให้ใจของเราเกิดปัญญาสัมมาทิฏฐิ เราทุกคนจะได้อบรมบ่มอินทรีย์ไปเรื่อยๆ ให้พวกเรารู้จักธาตุ รู้จักขันธ์ รู้จักอายะตะนะ ว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน หากเป็นแต่เหตุเป็นแต่ปัจจัย ทุกอย่างนั้นมีแต่เหตุมีแต่ปัจจัย
มนุษย์เราได้มีการพัฒนาสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ได้รับความสะดวกสบายทางวัตถุ ต่างจากพวกสัตว์ทั้งหลาย มนุษย์เราต้องพัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน เพื่อไม่ให้หลงในวัตถุ วัตถุที่หมู่มวลมนุษย์สร้างขึ้นมานั้น มนุษย์จะได้ไม่พากันหลง ทุกคนทุกท่านไม่ได้ไปแก้ที่ใครเลย มีแต่แก้ที่ตัวเองนี่หละ ให้พวกเรารู้จักใจของตัวเอง ให้รู้จักวัตถุที่เกี่ยวข้องกับตัวของเราเอง จะได้ยกทุกอย่างสู่พระไตรลักษณ์ ว่าอันนี้คือเหตุคือปัจจัย ว่าทุกอย่างนั้นไม่เที่ยงไม่แน่ ว่าทุกอย่างนั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ให้พวกเราพากันรู้จักอนิจจัง คือความไม่แน่ไม่เที่ยง ให้รู้จักทุกขัง คือความทุกข์ ความทุกข์นั้นเกิดจากความคิดเห็นผิดเข้าใจผิด เกิดจากความทุกข์ ที่เอาใจมาเป็นตัวเราของเรา เอาร่างกายมาเป็นตัวเราของเรา มาเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มาเป็นตัวเราของเรา เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรา เราก็พากันหลงไปเรื่อยอย่างนี้ เรียกว่ามันไม่รู้ทุกข์
ทุกๆ ท่านทุกคน ต้องมีปัญญาว่าทุกอย่างมันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยทั้งนั้น ความเคยชินของเราได้ชำนิชำนาญเปรียบเสมือนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เปรียบเสมือนน้ำ เปรียบเสมือนสายน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลและมหาสมุทรด้วยความเร็วสูง ยากที่ทุกท่านทุกคนที่จะทวนกระแสได้ ความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง พวกเราให้พากันเข้าใจว่า เราได้มีความเห็นผิด เข้าใจผิด ปฏิบัติผิด เดินทางผิด เดินทางผิดก็คือเดินทางผิด เดินทางไม่ถูก ทุกท่านทุกคนต้องพากันเข้าใจ การเรียนการศึกษาตั้งแต่อนุบาลถึงปริญญาเอก เพื่อจะให้เรามีสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องทั้งทางใจทางวัตถุ การเรียนการศึกษาตั้งแต่นักธรรมตรี จนถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค ก็เพื่อให้เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้องทั้งทางจิตใจ ทั้งทางวัตถุไปพร้อมๆ กัน พระพุทธเจ้าบอกว่าให้เราเริ่มมาจากความคิด ต้องทบทวนตัวเองจากความคิดก่อน ความคิดอันใดที่จะให้เราเกิดความทุกข์ เราก็พากันยกเลิกในความคิดนั้น ไม่ว่าความคิดในเรื่องกาม ไม่ว่าความคิดในเรื่องพยาบาท ให้มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ในเรื่องของความคิด ในใจของเรามันคิดได้ทีละอย่าง ในวาระจิตของเรามันคิดได้ทีละอย่าง ทุกๆ คนต้องพากันมายกเลิกความคิดที่เป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ ไม่ว่าเรื่องกาม ไม่ว่าเรื่องพยาบาท เราทุกคนต้องมารู้จักความคิดของตัวเอง เรามาหยุดความคิดของตัวเองด้วยความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ในปัจจุบันการกระทำอย่างนี้แหละ การปฏิบัติอย่างนี้แหละ พระพุทธเจ้าให้เราปฏิบัติติดต่อๆ เนื่องกัน การปฏิบัติธรรม เรื่องจิตเรื่องใจ ได้แก่การอบรมบ่มอินทรีย์ เช่นเดียวกับไก่ฟักไข่ ๓ อาทิตย์ ถึงจะออกมาเป็นลูกไก่ การทำอย่างนี้ การปฏิบัติอย่างนี้ มายกเลิกความรู้สึกนึกคิดอย่างนี้ เรียกว่าศีล เรียกว่าสมาธิ เรียกว่าปัญญา ที่จะต้องเป็นเหตุเป็นปัจจัย
ทุกคนนั้นพากันประพฤติพากันปฏิบัติได้อยู่ทุกหนทุกแห่ง ทุกๆ อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน ต้องมีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ทำอย่างนี้เพื่อเป็นอริยมรรค ทางเดินทั้งทางจิตใจ ทั้งทางร่างกายของเรา ต้องมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ที่เป็นอริยมรรค ทุกท่านทุกคนต้องพากันปฏิบัติเอง เพราะเรื่องนี้มันเป็นเรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา มันเป็นการพัฒนาตัวเอง เราพึ่งพุทธะ คือความเห็นถูกต้อง คือความเข้าใจถูกต้อง พึ่งธรรมะคือยกเลิกตัวตน พึ่งการประพฤติ พึ่งการปฏิบัติของเราเอง ต้องตั้งใจด้วยความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ไม่มีความประมาท มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ ถ้าเราทุกคนยกเลิกตัวตน ทุกคนก็จะมีความสุข ถ้าเราไม่ยกเลิกตัวตน เราไม่มีความสุข ที่ว่าเรามีความสุขนั้นไม่ใช่ มันเป็นความหลง มันไม่เป็นความสุขนะ เป็นความหลง ตัวตนคือความทุกข์ ความทุกข์ต้องพากันเข้าใจแล้วปฏิบัติให้ถูกต้อง เราจะได้เอาธาตุ เอาขันธ์ เอาอายตนะนี้ เอาสมมตินี้มาปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วรู้จักสมมติว่านี้ไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน นี่คือธาตุ นี่คือขันธ์ นี่คืออายตนะ คนเราตัวตนมันทำให้เรามืด ทำให้เรามีความเห็นแก่ตัวจัด
การที่เราเอาสมมติมาใช้มันก็ไม่ถูกต้อง สมมตินั้นเปรียบเสมือนหนัง เสมือนละคร เสมือนนิยาย หาใช่นิติบุคคลตัวตนไม่ หากเป็นเพียงสมมติ ละครแต่ละเรื่อง ภาพยนตร์แต่ละเรื่อง มันคือสมมติ ไม่ใช่นิติบุคคลตัวตน เราก็เช่นกัน เราก็คือเหตุ คือปัจจัยที่เขาเอามาแต่งตั้งให้เรา ชื่อนายนั้น นางนั้น วัตถุต่างๆ นั้นเป็นเพียงสมมติ ล้วนแต่เป็นเหตุเป็นปัจจัยทั้งนั้น เรามาหลงสมมติ เรามองเห็นภาพมั้ย พระธรรมกถึกกับพระวินัยธร ทะเลาะกันเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตจนทำให้สงฆ์แตกกัน เพราะเราเอาตัวเอาตนเป็นที่ตั้งเลยหลงสมมติใหญ่เลย พระพุทธเจ้าห้ามก็ไม่ฟัง
เรามีตาเราก็เห็นรูปอย่างนี้แหละ เรามีหูเราก็ได้ยินเสียงอย่างนี้แหละ เรามีกายเราก็สุขทุกข์อย่างนี้แหละ ทุกอย่างมันคือเหตุคือปัจจัย ว่าทุกอย่างนั้นไม่แน่ไม่เที่ยง มันเป็นทุกขัง เป็นความทุกข์ เป็นอนัตตตา ทุกอย่างไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ให้มายกเลิกตัวยกเลิกตน ว่าเรากำลังเล่นภาพยนตร์ เล่นหนังละคร มันไม่ใช่เรื่องจริง พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าให้ว่างจากสิ่งที่มีอยู่ ว่างจากที่เราหลงในสมมติ ที่เราหลงในตัวในตน รูปมันก็มีอยู่อย่างนี้แหละ เวทนามันก็มีอยู่อย่างนี้แหละ สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็มีอยู่อย่างนี้แหละ นี่ไม่ใช่บุคคลตัวตน มันคือเหตุคือปัจจัย ทุกคนต้องรู้จักอริยสัจ ๔ อย่าไปเอาสมมติเป็นตัวเป็นตน เพราะเป็นตัวเป็นตนมันคือสมมติ ถ้าเราไม่รู้อริยสัจ ๔ มันก็มีปัญหา ไม่รู้สมมติ ไม่รู้ผัสสะ ไม่รู้อารมณ์ เราต้องรู้จัก เราจะได้รู้จักอริยสัจ ๔ รู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ทุกคนจึงพากันยกเลิกความทุกข์ของตัวเอง เรามีความทุกข์ใจหนะ ไม่มีใครทุกข์ให้เรา เราทุกข์เอง เราจะไม่ให้ร่างกายของเรามีความสุข ความทุกข์มันก็ไม่ได้ เพราะนี้เป็นธรรมเป็นสภาวะธรรม ไม่ใช่ตัวตน มันก็ต้องมีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก เพราะอันนี้คือบทละคร
พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าหมู่มวลมนุษย์ต้องมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ทุกๆ คนก็จะแก้ปัญหาได้ ไม่ได้ไปแก้ที่คนอื่นมันแก้ที่ตัวเรา เรารู้จักสมมติ เหมือนกับคนที่ส่องกระจกเงา คนที่ไม่ส่องกระจกเงาก็ไม่เห็นตัวตน การที่รู้อริยสัจ ๔ คือคนที่ส่องกระจกเงาก็รู้จักตัวเอง ไม่ส่องกระจกเงา เราก็ไม่เห็นตัวเอง เราก็ไม่เห็นคนอื่น ไม่เห็นตัวเอง ทุกคนไม่เห็นตัวเอง ถ้าไม่ส่องกระจกเงา เราต้องยกเลิกตัวตน เราถึงจะรู้อริยสัจ ๔ รู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เราถึงจะเป็นคนมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา ไม่ใช่ร้องโอ้ยๆ มีจิตใจที่มีความทุกข์ไปเรื่อย
ชีวิตของเราเต็มไปด้วยความร้อนที่เรียกว่าโลกร้อน โลกร้อนมันร้อนทั้งภายนอกร้อนทั้งภายใน ความทะยานอยาก คือการไม่รู้อริยสัจ ๔ คือโลกร้อน ที่มันเป็นสีดำ สีเทา สีสกปรก คือเมื่อรู้อริยสัจ ๔ นั่นหนะ คือ โลกร้อน มันร้อนถึงโลกที่เราพากันตัดไม้ทำลายป่า ฆ่าสัตว์ป่านานาพันธุ์ ไปเอาความสุขบนความทุกข์ของคนอื่น นี่มันเป็นภาพรวมที่ออกมา ที่เราไปแก้ตั้งแต่ภายนอกอย่างเดียว เราไม่ได้แก้ที่ใจของเราให้มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ทำให้ใจของเราร้อน โลกก็ร้อน เขาเรียกว่า การพัฒนาเชิงเดี่ยว ไม่ได้เอาใจพัฒนาธรรมะไปด้วย เอาแต่ตัวตน เรียกว่า การพัฒนาเชิงเดี่ยว ไม่ได้พัฒนากาย พัฒนาจิตใจไปด้วย ไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์ เรียกว่าเชิงเดี่ยว ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ท่านให้พัฒนาใจพัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน ไม่อย่างนั้นใจมันก็ร้อน โลกก็ร้อน ในหลวงท่านจับหลักได้ ท่านพาพสกนิกรพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาใจ พัฒนาวัตถุ ไม่ให้เป็นเชิงเดี่ยว ต้องเอา ๒ อย่างไปพร้อมๆ กัน ชีวิตของเราเป็นเชิงเดี่ยวไม่ได้ มันต้องทางสายกลาง ไม่งั้นมันไม่ไปสู่ทางสายกลาง มันเชิงเดี่ยวไม่ได้มันต้องทางสายกลาง พัฒนาทั้งใจ พัฒนาวัตถุ
เราทุกคนโชคดี มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้มาบอกมาสอน ให้มีศูนย์รวมคือ สัมมาทิฏฐิ ทางบ้าน ทางวัด ทางโรงเรียน บ้านมันต้องเป็นบ้านทั้งทางกาย บ้านทางใจ มีโรงเรียนเป็นที่พัฒนาจิตใจ พัฒนาวัตถุ มีวัดที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นวัดภายนอก วัดภายใน ต้องเดินทางสายกลางไม่ใช่เชิงเดี่ยว ต้องปรับตัวเรา อย่างนี้เราต้องพากันเข้าใจ เราเอาแต่ตัวตนตั้งแต่เด็กจนถึงคุณตาคุณยาย พากันเล่นแต่โทรศัพท์ อย่างนี้เรียกว่าเชิงเดี่ยว เอาแต่ตัวตน เอาแต่วัตถุ พัฒนาแต่ตัวตน พัฒนาแต่วัตถุ ไม่ได้พัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน เราจะเอาแต่พวกวัตถุอย่างนี้มันก็ทำลายความถูกต้อง มันไม่รู้อริยสัจ ๔ ชีวิตก็เต็มไปด้วยความหลงความไม่รู้ เราเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง เราก็เป็นคนขี้เกียจ คนมีตัวตน คือความขี้เกียจ ไม่ปรับเข้าหาเวลา เข้าหาธรรมะ คือตัวคือตน ไม่มีความสุขในการทำงาน เห็นแก่ตัว เน้นแต่วิตามิน เน้นแต่โปรตีน เน้นแต่เนื้อ นม ไข่ อยู่นั่นแหละ หลงในเชิงเดี่ยวอยู่นั่นน่ะ เราเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง เราจะมีอยู่มีกินมีใช้ได้ยังไง ความหลงมันคือความขี้เกียจ ความหลงมันคือคนไม่ปรับตัวเข้าหาเวลา คือเอาแต่จะปรับตัวเพื่อที่จะเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง การเรียนการศึกษา เข้าสู่ความพินาศ การทำงานเข้าสู่ความพินาศ เป็นข้าราชการ เป็นนักการเมือง เป็นนักบวชไม่ได้ เป็นได้แต่เพียงสมมติ เป็นได้แต่ตัวตน เรายังไม่เข้าใจอริยสัจ ๔ ที่เขาแต่งตั้งเพื่อให้เรามาเสียสละตัวตน มีความสุขในการทำงาน เมื่อเราหลงเราก็ทะเลาะกันอยู่อย่างนี้ ไม่ต่างอะไรกับพระธรรมกถึกกับพระวินัยธร ทะเลาะกันเรื่องของสมมติ แต่ในปัจจุบันนี้ ประชาชนคนส่วนใหญ่ทะเลาะวิวาทกันเรื่องแย่งวัตถุกัน ความหลงมันทำให้เราแย่งวัตถุ มันทำให้ใจของเรามันร้อน มันทำให้โลกของเรามันร้อน
เราจะพากันหลงเสพอวิชชา เสพความหลง นี่ไม่ใช่นะ อันนี้มันเป็นอวิชชาความหลง ถ้าเอาความหลงเป็นที่ตั้ง การบังคับที่จะใช้สมมติมันก็ไปไม่ได้ กฎหมายถ้าเอาความหลงเป็นที่ตั้ง เราไม่รู้จักใช้สมมติให้เป็นประโยชน์ กฎหมายก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะเอาความหลงเป็นที่ตั้ง เราจะเอาความหลงเป็นบรรทัดฐาน เป็นประชาธิปไตยไม่ได้ เราต้องปรับตัวเราเข้าหาตำแหน่งที่เขาแต่งตั้ง มาประพฤติ มาปฏิบัติ เพื่อให้เป็นทางสายกลาง เพื่อกฎหมายจะได้ศักดิ์สิทธิ์ นี่กฎหมายบ้านเมืองไม่ศักดิ์สิทธิ์ เราจะเอาตัวตนนำพาความหลงไม่ได้ ระดับกฎหมายบ้านเมืองเป็นเพียงระดับแต่งตั้ง ระดับประชาธิปไตย ระดับสังคมนิยม เมื่อเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง แม้แต่สมมติยังทำไม่ได้ เรื่องจิตเรื่องใจของเรามันยิ่งไม่ได้ เพราะเราต้องเข้าถึงเรื่องจิตเรื่องใจ ต้องมีความสุขในการทำงาน ในการปฏิบัติธรรม เพื่อเราจะได้เข้าถึงความดับทุกข์ที่แท้จริงที่เรียกว่าทางสายกลาง ต้องเดินทางสายกลาง อย่าเอาตัวตน อย่าเอาเชิงเดี่ยว
พระพุทธเจ้าเมื่อได้ตรัสรู้แล้ว ทองบอกว่า ที่สุดสองทางอย่าไปอย่าเดิน ทางนึงจะเอาแต่เรื่องจิตเรื่องใจ อีกทางนึงจะเอาแต่เรื่องวัตถุ พระพุทธเจ้าให้พัฒนาใจ พัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน ให้รู้จักสมมติ ให้รู้จักอริยสัจ ๔ ให้รู้จักวิมุตติ เราจะได้ยกเลิกความไม่ถูกต้อง จะได้พัฒนาวัตถุพัฒนาจิตใจเพื่อดับทุกข์ เพื่อเป็นทางสายกลาง ทุกคนไม่ต้องไปหนักอกหนักใจ ไม่ไปแก้ที่ใคร มาแก้ที่เรา วันนึงคืนนึงพักผ่อนให้เพียงพอ มีความสุขในการทำงาน เมื่อเรายกเลิกตัวตน ความรู้สึกทางสมองมันก็ไม่มี มันอย่างนี้นะ ไม่รู้จักตา ไม่รู้จักสมมติ มันเป็นเชิงเดี่ยว ตัวตนมันมีที่ไหน เกิดมาก็เห็นแต่ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก เราก็พากันเห็นแต่ภายนอก เพราะเราไปตามสมมติ ไปตามความหลง ต้องยกเลิกตัวตน มันก็จะเป็นกระจกเงา มองเห็นตัวเอง ชีวิตของเราเปลี่ยนไปขนาดไหน แล้วแต่อายุของตัวเอง มันอยู่ที่เหตุปัจจัย ให้เรารู้จักอริยสัจ ๔ เราต้องมีความสุขในการทำงาน เหมือนพระพุทธเจ้าที่ท่านเดินทางสายกลาง เหมือนพระอรหันต์ที่ท่านเดินทางสายกลาง ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน มีความสุขในการเสียสละ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ มันใช้ได้ที่ไหนหละ เมื่อเราไม่พัฒนาใจ ไม่พัฒนาวัตถุ เราจะมีความสุขได้ยังไง มีแต่ร้องโอ้ยๆๆ ไปเรื่อย คนที่เจ็บปวดก็เรานี่เอง เราต้องมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ต้องพัฒนาใจของเรา พัฒนาวัตถุสิ่งอำนวยความสะดวก ด้วยความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ที่มีกับเราในชีวิตประจำวัน เมตตาบริสุทธิคุณ กรุณาบริสุทธิคุณ มุทิตาบริสุทธิคุณ อุเบกขาบริสุทธิคุณ ให้มีกับเรา สิ่งเหล่านี้จะมีกับใครได้ถ้าไม่เดินทางสายกลาง เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ไม่รู้อริยสัจ ๔ เสียเลย สิ่งที่ว่า เรารักลูก รักพ่อ รักแม่ รักหลาน ไม่จริงหรอก เราหลงตัวเอง เรามัวแต่หลงคนอื่น ให้เข้าใจเรื่องสมมติ เรื่องวิมุตติ
“ดิฉันผายลมอยู่ในบ้าน ได้กุศลมากกว่าพวกคุณไปสร้างโบสถ์สร้างวิหาร”
คำของท่านอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ เคยฟังเทปที่ท่านบรรยายนานแล้ว ท่านพูดอยู่ครั้งหนึ่ง อยากจะถ่ายทอดเป็นประโยคประทับใจ ท่านบอกว่า “ดิฉันผายลมอยู่ในบ้าน ได้กุศลมากกว่าพวกคุณไปสร้างโบสถ์สร้างวิหาร” ฟังแล้วตกใจไหม ฟังแล้วเหมือนดูถูกเนอะ
คนก็ถามอาจารย์แนบว่า “ทำไมอาจารย์แนบพูดแบบนั้น ?”
อาจารย์แนบบอกว่า “สังเกตสิคะ ว่าคนไปทำบุญสร้างโบสถ์สร้างวิหาร ส่วนใหญ่ก็จะแต่งตัวงามๆ ตีกระบัง ตีโป่ง แต่งชุดผ้าไหมอย่างสวย ถามว่าทำแบบนั้นเป็นโลภะหรือเป็นกุศล ?
แล้วเวลาไปสร้างโบสถ์สร้างวิหาร เวลาเขาประกาศชื่อว่าคุณคนนั้นคนนี้สร้างโบสถ์สร้างวิหาร มันเป็นตัวตนหรือมันไม่ใช่ตัวตน ?”
นั้นถ้าส่วนใหญ่เป็นตัวตนถึงเป็นกุศล
อาจารย์แนบก็บอกว่ามันเป็นกุศลที่เรียกว่า วัฏฏคามินีกุศล คือยังเป็นกุศลที่ยังเป็นไปกับวัฏสงสาร ยังทำให้เราต้องเกิดเป็นเทพเป็นเทพธิดาอยู่ในสวรรค์ ผลทานนั้นยังทำให้ต้องเกิดในภูมิต่างๆ แต่ดิฉันผายลมเนี่ย ดิฉันเห็นวาโยมันตึง และพอมันผายออกไป วาโยก็หย่อน และดิฉันก็เห็นว่าวาโยนั้นไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล นั้นกุศลของดิฉันทำเนี่ย เป็นวิวัฏฏคามินีกุศล เป็นกุศลที่ตัดวัฏสงสาร เป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นดิฉันผายลมอยู่ในห้อง ได้กุศลกว่าคนที่ไปทำโบสถ์สร้างวิหาร
เมื่อชาวโลกมิได้กำหนดรู้สภาวธรรมขันธ์ ๕ จึงมีความหลงในสมมุติบัญญัติเหมือนถูกอวิชชาห่อหุ้มไว้ ทำให้ไม่อาจที่จะดันพบความจริงของชีวิตภายในร่างกายที่ยาววา หนาคืบ กว้างศอก และมีใจครองได้ นอกจากนั้นชาวโลกยังไม่เข้าใจเหตุเกิดของทุกข์ ความดับทุกข์ และทางแห่งความดับทุกข์อีกด้วย ตราบใดที่บุคคลยังไม่อาจหยั่งเห็นอริยสัจ ตราบนั้นเขาต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏภพแล้วภพเล่า ดังพระพุทธดำรัสว่า "จตุนนํ ภิกฺขเว อริยสจฺจานํ อนนุโพธา อปฺปฏิเวธา เอวมิทํ ทีฆมทฺธานํ สนฺธาวิตํ สริตํ มมญฺเจว ตุมหากญฺจ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏ ตลอดกาลนานอย่างนี้"
ครั้งหนึ่งพระยามิลินท์ถามพระนาคเสนว่า “พระคุณเจ้ามีนามว่ากระไร”
“เพื่อนพรหมจรรย์ (คือเพื่อนพระด้วยกัน) เรียกอาตมาภาพว่า “นาคเสน บิดา มารดา เรียกอาตมาภาพว่า สีหเสนบ้าง วีรเสนบ้าง สุรเสนบ้าง” ภิกษุหนุ่มตอบ
“ที่ว่านาคเสน อะไรคือนาคเสน ผมหรือคือนาคเสน” พระราชารุก
“หามิได้ มหาบพิตร” ภิกษุหนุ่มตอบ “ขนหรือคือนาคเสน” “หามิได้ มหาบพิตร
“เล็บ ขน หนัง ตา หู จมูก ลิ้น ตับ ไต ไส้ พุง ฯลฯ หรือ” “หามิได้ มหาบพิตร”
“ร่างกายทั้งหมดอันประชุมด้วยธาตุสี่ขันธ์ห้านี้หรือ” “หามิได้ มหาบพิตร”
“ถ้าอย่างนั้น นาคเสนก็มีนอกเหนือจากร่างกายอันประกอบด้วยธาตุสี่ ขันธ์ห้านี้หรือ” “หามิได้ มหาบพิตร”
เมื่อมาถึงตรงนี้ พระยามิลินท์ก็หันไปพูดกับประชาชนที่มาประชุมว่า “ท่านผู้ฟังทั้งหลาย ท่านได้ยินไหม เมื่อกี้ภิกษุหนุ่มรูปนี้บอกว่าตนเองชื่อนาคเสน ครั้นถามว่า ผม ขน เป็นต้น คือนาคเสนหรือ ก็ตอบว่า มิใช่ ครั้นถามว่า นาคเสนมีนอกเหนือจากร่างกายอันประชุมด้วยธาตุสี่ขันธ์ห้านี้หรือ ก็บอกว่าไม่ใช่อีก ท่านทั้งหลายเห็นหรือยังว่า พระหนุ่มรูปนี้โกหกต่อที่ประชุมนี้ ทีแรกบอกว่ามีนาคเสน ต่อมาบอกว่าไม่มี”
พระหนุ่มจึงถามพระราชาว่า “มหาบพิตรเสด็จมาสู่ที่ประชุมนี้อย่างไร”
“นั่งรถมา ขอรับ” พระราชาตอบงงๆ ว่า พระถามทำไม ไม่เห็นจะเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังสนทนา
“ที่ว่ารถนั้น อะไรคือรถ ล้อมันหรือ ดุมมันหรือ แอกมันหรือ โครงรถหรือ หลังคาหรือ ฯลฯ” “หามิได้ พระคุณเจ้า”
“รถมีอยู่นอกเหนือจากส่วนประกอบเหล่านี้หรือ” พระหนุ่มซัก
“หามิได้ พระคุณเจ้า” พระราชาตอบ “ถ้าเช่นนั้นรถอยู่ที่ไหน” พระหนุ่มซักต่อ พระยามิลินท์อธิบายว่า เพราะอาศัยส่วนประกอบต่างๆ อาทิ ล้อดุม กงกำ ตัวรถ หลังคารถ ฯลฯ ประกอบกันเข้า คำว่า “รถ” จึงมี ถ้าไม่มีส่วนประกอบเหล่านั้นประชุมกัน ก็ไม่มี “รถ” ขอรับ
พระนาคเสนจึงอธิบายว่า ฉันใดก็ฉันนั้นแหละ มหาบพิตร อวัยวะต่างๆ มีตาหู เป็นต้น มิใช่นาคเสน แต่นาคเสนก็มิได้มีนอกเหนือจากอวัยวะ มีตาหูเป็นต้น เพราะอวัยวะเหล่านั้นประกอบกันเข้า บัญญัติว่า “นาคเสน” จึงมี ท่านจึงกล่าวเป็นโศลกว่า “ยะถา หิ อังคะสัมภารา โหติ สัทโท ระโถ อิติ เอวัง ขันเธสุ สัตเตสุ โหติ สัตโตติ สัมมะติ = เพราะมีองค์ประกอบทั้งหลาย เสียงเรียกว่า “รถ” จึงมี เพราะมีขันธ์ทั้งหลายรวมกันอยู่ จึงมีบัญญัติเรียกว่า “สัตว์”
เพราะฉะนั้น “นาคเสน” จึงเป็นสมมติ ไม่ใช่ของมีอยู่จริง ดุจ “รถ” ไม่มีจริงฉันนั้น คาถานี้ไม่ต้อง “แปลไทยเป็นไทย” ก็คงพอจะเข้าใจ ที่เราเรียกว่า “รถ” นั้น รถมันไม่มีดอก เพราะมีล้อ มีพวงมาลัย มีคลัตช์ มีเบรก มีโครงรถ มีเครื่องยนต์ เป็นต้น เราจึงเรียกมันว่ารถ ลองแยกชิ้นส่วนเหล่านั้นออก คำว่ารถก็ยังพอมีอยู่บ้าง เช่น ล้อรถ พวงมาลัยรถ เครื่องยนต์รถ แต่ถ้าแยกชิ้นส่วนเหล่านั้นให้ละเอียด คำว่ารถก็จะหายไป คงเหลือแต่เหล็ก ยาง อะไรอย่างนี้เป็นต้น
ในกรณีของคนก็เช่นเดียวกัน เพราะร่างกายมีอวัยวะต่างๆ รวมกันอยู่จึงเรียกว่าคน คนนี้ชื่อนั้นชื่อนี้ แต่ถ้าลองหั่น (สมมติ) โดยมีดคือปัญญา ออกเป็นชิ้นๆ คำว่าชื่อนั้น... ก็หายไปแล้ว พอเหลือแต่ “คน” เช่น ขาคน หัวคน แขนคน แต่ถ้าสับให้ละเอียด คำว่า “คน” ก็คงหายไป เหลือแต่กระดูก (กระดูกหมา หรือกระดูกคน) “เนื้อ” (เนื้อหมู หรือเนื้ออะไร) อย่างนี้เป็นต้น
พระพุทธเจ้าให้เรารู้จักอริยสัจ ๔ ทุกๆคนต้องรู้จักว่า อันนี้เป็นสภาวธรรม ถ้าเราเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เอาแต่อายตนะ ๖ ชีวิตของเราก็ตกอยู่ในสัญชาตญาณ ต้องเอาปัญญาสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เพื่อจะได้รู้อริยสัจ ๔ ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปตามเหตุปัจจัย หาใช่ตัวใช่ตนไม่ ทุกคนต้องมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง จะได้ไม่ไปตาม เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่เป็นเรา มันเป็นสภาวธรรม เป็นแค่กระบวนการที่ติดต่อต่อเนื่อง ถ้าเรามีปัญญา มีสัมมาทิฏฐิ มันก็จะตัดในปัจจุบัน เพราะปัจจุบันเป็นการตัด มันตัดยังไงล่ะ เมื่อเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง เราตัดด้วยอนิจจัง เพราะมันไม่แน่ไม่เที่ยง ตัดด้วยทุกขัง เพราะถ้าเราตามไป อันนี้ต้องทุกข์แน่ เพราะอันนี้เกิดขึ้น อันนี้ตั้งอยู่ เราต้องตัดไป ไปตามมันไม่ได้ เราต้องเอาศีลมาใช้ เอาสมาธิมาใช้ เอาปัญญามาใช้ในปัจจุบัน
เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้ เป็นอุปกรณ์ตัวผู้รู้ ในชีวิตประจำวันเราเรียนเราศึกษาอย่างนี้ ก็เพื่อเป็นอุปกรณ์เพื่อรู้ ทุกคนต้องพากันสนใจเอาใจใส่เป็นพิเศษ เราจะได้ถึงศาสนา ถึงภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เพราะว่าคำว่าศาสนา คือตัวผู้รู้ รู้อริยสัจ ๔ ถึงเป็นศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธก้าวไกลไปถึงที่สุดคือพระนิพพาน ถ้าเราไม่รู้ก็ทำทั้งผิดทั้งถูกทั้งดีทั้งชั่ว เราก็เป็นได้แต่เพียงคน ปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ เป็นการประพฤติการปฏิบัติเพราะอดีตก็ปฏิบัติไม่ได้ อนาคตก็ปฏิบัติไม่ได้ มันอยู่ที่ปัจจุบัน ปัจจุบันเราต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันพระนิพพาน ปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด เพราะรูปมันก็สวย เสียงมันก็เพราะ อาหารมันก็อร่อย ที่อยู่ที่อาศัยก็สะดวกสบาย อันนี้มันเป็นมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติหรือว่าความสุขสงบที่เป็นพรหมโลกก็ว่ายังไม่มีทุกข์อะไร แต่พวกนี้ก็ยังเวียนว่ายตายเกิด มันเป็นเพียงถนนผ่าน เราทุกคนต้องเอาพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานมา มาเสียสละ การประพฤติปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันที่ก้าวไป การปฏิบัตินี้ทุกแง่มุมเรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘
ทุกคนอย่าไปใจอ่อน ใจอ่อนไม่ได้ เพราะมันเสียหายทั้งบ้าน เราต้องเข้าสู่ระบบความคิดที่ดี พูดดีๆ ทำดีๆ อย่างนี้แหละ เพื่อพัฒนาตัวเอง เพราะชีวิตของเรามันผ่านไป ผ่านไปแล้วนั้น มันเอากลับมาไม่ได้นะ อย่างนี้เราดูบรรพบุรุษของเราก็หายไปจากไป เราดูตัวเองมันก็เปลี่ยนแปลงมาเยอะ สุดท้ายก็ต้องจากไปใช่ไหม การเวียนว่ายตายเกิด ถ้าเรายังมีความหลงมีอวิชชาอยู่มันก็ยังมีการเวียนว่ายตายเกิด เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนั้นมันจึงมี รับรู้เข้าถึงมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติตั้งแต่ปัจจุบันนี้แหละ เราต้องเข้าถึงทั้งภาคประพฤติและภาคปฏิบัติ เพื่อให้เป็นศีลเป็นสมาธิ เป็นปัญญาในปัจจุบัน
แต่ก่อนเราไม่เข้าใจปล่อยให้ชีวิตของเราผ่านไปโดยไร้ประโยชน์เสียเวลา เราตามหาความสุขความดับทุกข์ แต่ว่ามันผิด มันไม่ได้เอาธรรมเป็นหลัก ไม่ได้เอาธรรมเป็นใหญ่ ไม่เอาธรรมเป็นที่ตั้ง การดำเนินชีวิตมันเป็นการทำร้ายตัวเอง ทำร้ายญาติพี่น้องวงศ์ตระกูล ด้วยเราไม่เข้าใจหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ประเสริฐ ชีวิตของเราก็ไม่มีความสุข ไม่มีความอบอุ่น ให้พากันเข้าใจเราจะได้พัฒนาให้มันถูก มันไม่ยากลำบาก มันอยู่ที่เข้าใจตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติเพราะอันนี้เป็นของดี ดีจริง ดีอย่างประเสริฐ ดีอย่างไม่มีโทษ เพื่อความดับทุกข์ในที่สุด
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee