แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง คุณของพระธรรม ตอนที่ ๕ พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสถึงพระนิพพานว่า เป็นบรมธรรม
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
เราทุกคนไม่มีใครยกเว้น ต้องพากันมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง เรียกว่าพุทธะ เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอันประเสริฐ เพื่อยกเลิกสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่มันเป็นไปเพื่อประกอบความทุกข์ ชีวิตของเราจะประกอบด้วยพุทธะ เราทุกคนโชคดีมากๆ ที่มีพระพุทธเจ้าได้มาตรัสรู้ได้มาบอกมาสอนแนวทางหลักการประพฤติหลักการปฏิบัติ ที่เรียกว่าอริยสัจ ๔ คือรู้ทุกข์รู้เหตุเกิดทุกข์รู้ความดับทุกข์รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คนเราทุกคนเมื่อมีความเห็นถูกต้องเข้าใจทุกถูกต้อง ทุกคนก็ปฏิบัติได้เหมือนๆ กัน นอกจากคนที่ระบบสมองเสียสมองพิการ การดำเนินชีวิตของเราถึงเป็นสัมมาทิฏฐิ จะทำอะไรก็ต้องประกอบด้วยพุทธะหรือว่าสัมมาทิฏฐิ เราทุกคนที่พาการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเราเอาความไม่รู้เอาความไม่เข้าใจดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตของเรา เราจะเป็นนักบวชหรือเป็นประชาชนผู้ที่ครองเรือน ก็ต้องพากันเอาพุทธะเอาสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องเป็นการดำเนินชีวิต ทั้งความรู้ทั้งภาคปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน มีข้อสอบมีข้อสอบในปัจจุบัน ที่เป็นของใหม่ของสดที่เป็นธรรมเป็นปัจจุบันธรรม พัฒนาทั้งใจพัฒนาทางวัตถุไปพร้อมๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เรียกว่าทางสายกลาง ไม่ถ่วงความเจริญทางจิตใจไม่ถ่วงความเจริญทางวัตถุ ทุกท่านทุกคนไม่ต้องเอาความถูกใจ ให้เอาความถูกต้อง ปรับเข้าหาธรรมะ ปรับเข้าหาเวลา ทางจิตใจที่เราไปติดอกติดใจไม่พออกพอใจในอดีต ให้เป็นเลขศูนย์ อดีตนั้นเป็นประสบการณ์เพื่อปรับปรุงแก้ไขในปัจจุบัน ตั้งเป้าหมายไว้ในอนาคตคือพระนิพพาน
พระนิพพานคืออะไร พระนิพพานเป็นธรรมที่มีอยู่ที่เกิดจากเหตุเกิดจากปัจจัยเป็นสภาวะธรรมที่เป็นพุทธะ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ไม่ได้เพิ่มไม่ได้ตัดออก เป็นการยกเลิกจากความเห็นไม่ถูกต้องเข้าใจไม่ถูกต้องปฏิบัติไม่ถูกต้อง
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสพระนิพพานว่า เป็นบรมธรรม. จุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน ที่ชาวพุทธมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด มนุษย์ทุกคนปรารถนานิพพาน เพราะนิพพานเป็นความต้องการของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ต้องการดับทุกข์ เมื่อมนุษย์ประสบความทุกข์มากหรือน้อยก็ตาม จิตใจจะปฏิเสธไม่ต้องการประสบสิ่งนั้น พูดง่ายๆ ก็คือไม่อยากมีความทุกข์ แต่มนุษย์โดยมากไม่รู้หนทางแห่งการดับทุกข์ มีคนไม่น้อยเข้าใจผิดคิดว่าบรรลุนิพพาน ตายแล้วสูญ จึงกลัวไม่อยากไป ที่จริงแล้ว นิพพานไม่ได้แปลว่าตายสูญ แปลว่าดับ หมายถึงดับกิเลส ดังพุทธพจน์ว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานสูญอย่างยิ่ง” คำว่าสูญในพุทธพจน์นี้ หมายถึง สูญจากราคะ โทสะ โมหะ หรือสูญจากนามรูป นิพพานเป็นสภาวะดับกิเลส มีสภาพสงบระงับ มีชีวิตชีวา มีปัญญา เรียกว่า สะอาด สว่าง สงบ ปลอดโปร่ง แจ่มใส เบิกบาน ว่องไว เยือกเย็น เบาสบาย
เมื่อทุกคนเกลียดทุกข์ ชอบสุขด้วยกันทั้งสิ้น นิพพานจึงเป็นเรื่องจำเป็น ใจที่ปลอดโปร่ง เยือกเย็น เบาสบาย ไม่อยู่ในอำนาจความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็จะพบความสุข ความสุขคือใจที่สงบ ดังพุทธพจน์ว่า “นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” ความสงบนี้แหละเป็นเรื่องของนิพพาน นิพพานเป็นยอดแห่งความสุข ด้วยพุทธพจน์ว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”
สุขแบบโลกกับนิพพานแตกต่างกัน ด้วยว่าความสุขแบบโลกเป็นความสุขที่เจือด้วยความทุกข์ ความวุ่นวาย มีสุขระยะสั้นๆ ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ผิดกับความสุขในนิพพาน เป็นความสงบความสุขอย่างแท้จริง ไม่เจือด้วยความทุกข์ ความวุ่นวาย มีความยั่งยืน ท่านจึงเปรียบความสุขทั้งสองอย่าง ความสุขแบบโลก เหมือนคนเป็นโรคผิวหนัง เช่น โรคหิด คนที่เป็นหิดจะรู้สึกว่าเป็นสุขเมื่อได้เกา ยิ่งคันยิ่งเกา ดูเหมือนยิ่งมีความสุข แต่สุดท้ายเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนเกิดความทุกข์ติดตามมา ส่วนความสุขในนิพพาน อุปมาเหมือนคนที่หายจากโรคหิดแล้ว มีความสุขคือสุขไม่ต้องเกา และไม่ปวดแสบปวดร้อนต่อไป
ความจริงผู้เข้าถึงนิพพาน สูญสิ้นเฉพาะกิเลสและภพชาติ แต่ยังคงสภาวะ สภาวะนั้นไม่อาจเรียกหรืออธิบาย เพราะอยู่เหนือสมมุติบัญญัติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคปัญญานิเทศขยายความว่า ในขณะที่จิตจะก้าวขึ้นสู่อริยะภูมินั้น นิพพานจะปรากฎในใจ เสมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ แต่ถ้าขังถูกกิเลสครอบงำ นิพพานก็ขังไม่ปรากฏ ดุจหมู่เมฆบดบังดวงจันทร์ ไม่ให้เห็น ฉันนั้น
พระพุทธเจ้าได้ตรัสความมีอยู่แห่งนิพพานไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) อันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยอะไรๆ ไม่กระทำแล้ว ไม่สร้างสรรค์แล้ว มีอยู่นะ ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า อายตนะอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยอะไรๆ ไม่กระทำแล้ว ไม่สร้างสรรค์แล้ว มีอยู่ เพราะฉะนั้นการออกไปของสิ่งที่เกิด ที่ถูกปัจจัยกระทำ ที่ปัจจัยสร้างสรรค์จึงปรากฎ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงนิพพานไม่ใช่เรื่องมโนภาพ ได้อรรถาธิบายว่า นิพพานเป็นภูมิที่มีอยู่จริง ไม่เป็นเรื่องที่จิตเนรมิตขึ้นเป็นมโนภาพ กล่าวคือ ไม่เป็นเพียงมโนภาพ ที่จิตคิดขึ้นเอง ไม่เป็นอย่างหนวดเต่า เขากระต่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่เลยไม่ว่าในกาลไหน แต่นิพพานมิได้เป็นอย่างหนวดเต่าเขากระต่าย หากแต่มีอยู่จริงๆ เพียงแต่มีอยู่อย่างไม่มีปรากฏการณ์
ส่วนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเรื่องลักษณะของสังขารทั้งปวง สำหรับนิพพานแล้ว การเกิดขึ้นไม่ปรากฎ การแตกดับไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ความเป็นอยู่อย่างนั้น ตลอดอนันตกาล เพราะนิพพานไม่ใช่จิตและจิตก็ไม่ใช่นิพพาน นิพพานไม่อยู่ในจิตแยกอยู่ต่างหากจากจิต ผู้บรรลุนิพพานต่างหากที่ยึดเหนี่ยวนิพพานเป็นอารมณ์อยู่เป็นนิจตลอดนิรันดร ดังนั้นนิพพาน จึงเป็นอนัตตา ดังพุทธพจน์ที่ว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ไม่มีตัวตน ไม่มีใครสร้าง ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ไม่อยู่ในอำนาจใคร
สำหรับผู้เข้าใจว่า นิพพานเป็นอัตตา ก็เพราะเข้าใจผิดคิดว่า นิพพานกับจิตเป็นอย่างเดียวกัน หรือนิพพานมีอยู่ในจิต โดยคิดไปว่า จิตที่หลุดพ้นจากกิเลสาสวะโดยเด็ดขาดสิ้นเชิงแล้วเป็นจิตบริสุทธิ์ จิตนั้นก็คือนิพพาน เมื่อเข้าสู่นิพพานก็ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดต่อไป ทั้งเป็น นิจจัง คือ คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแปรปรวน ชวนให้เข้าใจว่า นิพพานเป็นอัตตา
พระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้ อย่าสำคัญนิพพานว่าเป็นตัวเรา ข้อนี้พราหมณ์พาวรีได้ผูกปัญหาให้อชิตมาณพผู้เป็นหนึ่งใน ๑๖ คน ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปัญญา สติ และนามรูปย่อมดับสนิท ณ ที่ไหน พระพุทธเจ้าตรัสแก้ว่า นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ณ ที่ใด ปัญญาและสติ ก็ย่อมดับสนิท ณ ที่นั้น ทั้งนี้ ก็เพราะวิญญาณดับสนิท
สรุปได้ว่า สติและปัญญาเป็นสังขตธรรม ย่อมจะต้องดับไปในที่สุด ผู้ที่ยึดมั่นในสติปัญญามากเกินไป ย่อมหลุดพ้นทุกข์ถึงที่สุดมิได้ วิญญาณดับสนิท หมายถึง วิญญาณที่มีอวิชชานั้นเอง เมื่อวิญญาณที่มีอวิชชาดับแล้ว วิญญาณก็เข้าถึงนิพพาน เป็นวิญญาณที่มีวิชชาปรากฏแจ่มกระจ่าง มิได้ดับอย่างวิญญาณที่มีอวิชชา
ดังนั้น นิพพานไม่ใช่จิต เพราะนิพพานเป็นอสังขตธาตุ หรืออสังขตธรรม นิพพานจึงเป็นสภาพที่อยู่นอกจิต แต่จิตยึดนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ ไม่ควรคิคว่านิพพานเป็นของตน ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในมูลปริยายสูตรว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว มีประโยชน์ตนถึงที่สุดแล้ว กำจัดกิเลสเครื่องผูกมัดให้ติดอยู่ในภพได้หมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้น ครั้งบรรลุนิพพาน โดยความเป็นนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญว่า นิพพานเป็นของตน ย่อมไม่ยินดีซึ่งนิพพานนั้น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร ก็เพราะเรากล่าวว่า นิพพานนั้นเป็นเรื่องที่เธอควรกำหนดรู้เท่านั้น"
นิพพานเป็นสภาวธรรมอันไม่จำกัดสถานที่ และไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา เพราะฉะนั้นจึงบอกไม่ได้ว่า นิพพานนั้นอยู่ที่ไหนแน่ ถ้าขืนบอกว่าอยู่ที่นั่นที่นี่ ก็เท่ากับไปจำกัดขอบเขตของพระนิพพานไป ซึ่งเป็นการผิด เช่นเดียวกับการบรรยายคุณลักษณะของนิพพาน นิพพานมีคุณลักษณะซึ่งไม่มีคุณลักษณะใดๆ ที่เรารู้แล้วเหมือน ฉะนั้นการบรรยายคุณลักษณะของนิพพาน จึงเท่ากับไปจำกัดคุณลักษณะของนิพพาน ซึ่งเป็นการผิเพราะนิพพานมีความไม่จำกัดขอบเขตนี้เอง พระพุทธเจ้าจึง
ทรงบอกที่อยู่ของนิพพานด้วยการปฏิเสธ เช่นในขุททกนิกายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (สภาวะ) นั้นมีอยู่ที่ ดิน น้ำ ไฟ ลมไม่มีแล อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ไม่ใช่ โลกนี้ก็ไม่ใช่ โลกอื่นก็ไม่ใช่ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทั้งสองก็ไม่ใช่ อนึ่งภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้น ว่าเป็นการมา การไป เป็นการตั้งอยู่เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั่นแล ที่สุดแห่งทุกข์"
พระนิพพานแม้จะเป็นเรื่องอธิบายได้ยากยิ่ง ผู้ที่บรรลุนิพพานแล้วจะรู้ได้เฉพาะตน แต่ถึงกระนั้น ผู้ที่บรรลุพระนิพพานจะมีความรู้สึกตรงกันว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ นี้สงบจริงหนอ นี้ประณีตจริงหนอ นี้เองเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืออุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส นี่แหละคือนิพพาน” พร้อมกับความรู้สึกว่า “อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย การเกิดใหม่จะไม่มีอีกแล้ว” และ “ขีณา ชาติ วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ กตํ กรณียํ นาปรํ อิตฺถตฺตาย ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่พึงทำก็ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่มีอีกแล้ว”
นิพพานเป็นธรรมชาติที่เห็นได้ยากอย่างยิ่ง เหตุที่เห็นได้ยาก ก็เพราะนิพพานเป็นธรรมชาติอันละเอียดลึกซึ้ง ไม่เหมือนกับสิ่งที่มนุษย์รู้เห็นอยู่ในภพทั้ง ๓ ความรู้ ความคิด การคาดคะเนของมนุษย์ ย่อมจำกัดขอบเขตอยู่ในภพทั้ง ๓ เกี่ยวข้องอยู่กับอารมณ์ในภพทั้ง ๓ เท่านั้น ถ้าสิ่งใดอยู่นอกเหนืออารมณ์ของภพทั้ง มนุษย์ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ แม้ผู้ที่บรรลุถึงนิพพานแล้ว เช่นพระอรหันต์ที่ไม่สามารถจะอธิบายหรือบรรยายคุณลักษณะของนิพพานให้คนธรรมดาเข้าใจได้ เพราะไม่มีคำพูดใดๆ ในภาษามนุษย์จะอธิบายลักษณะของนิพพานได้ถูกต้อง เพราะคำพูดของมนุษย์ย่อมถูกบัญญัติขึ้นตามประสบการณ์ของมนุษย์เท่านั้น
นิพพานเป็นภาวะที่พ้นจากสภาพทั้งหลายที่ปุถุชนรู้จัก นอกเหนือออกไปจากการรับรู้ที่ถูกอวิชชา ตัณหา อุปาทานครอบงำ เป็นภาวะที่เข้าถึงทันที พร้อมกับการละกิเลสที่เคลือบคลุมใจ หรือพ้นจากภาวะลักษณะต่างๆ ที่เป็นวิสัยของปุถุชน เหมือนเลื่อนฉากออก ก็มองเห็นท้องฟ้า นิพพานไม่มีลักษณะอาการเหมือนสิ่งใด ที่ปุถุชนเคย รู้เคยเห็น ปุถุชนจึงไม่อาจนึกเห็นหรือคิดเข้าใจได้ แต่จะว่านิพพานไม่มี ก็ไม่ถูก มีผู้กล่าวอุปมาบางอย่างไว้ เพื่อให้ปุถุชนพอสำนึกได้ว่า สิ่งที่ตนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ ไม่จำเป็นต้องไม่มี
ข้อเปรียบเทียบที่น่าฟังเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องปลาไม่รู้จักบก มีความย่อของนิทานว่า ปลากับเต่าเป็นเพื่อน สนิทกัน ปลาอยู่แต่ในน้ำ รู้จักแต่เรื่องราวความเป็นไปในน้ำ เต่าเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก รู้จักทั้งบกทั้งน้ำ
วันหนึ่งเต่าไปเที่ยวบกมาแล้ว ลงในน้ำพบปลา ก็เล่าให้ปลาฟัง ถึงความสดชื่นที่ได้ไปเดินเที่ยวบนผืนดิน แห้ง ในท้องทุ่งโล่งที่ลมพัดฉิว ปลาฟังไปได้สักหน่อย ไม่เข้าใจเลย อะไรกันนะที่ว่าเดิน อะไรกันพื้นดินแห้งอะไร กันทุ่งโล่ง อะไรกันลมพัดผิว แม้แต่ความสดชื่นอย่างนั้น ปลาก็ไม่รู้จัก ความสุขโดยปราศจากน้ำ จะเป็นไปได้ อย่างไร มีแต่จะตายแน่ๆ
ปลาทนไม่ได้ จึงขัดขึ้น และซักถามหาความเข้าใจ เต่าเล่าและอธิบายด้วยศัพท์บก ปลาซักถามด้วยศัพท์ น้ำ เต่าก็ได้แต่ปฏิเสธ ปลาจะให้เต่าอธิบายด้วยศัพท์น้ำ เต่าก็อธิบายไม่ได้ เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาเทียบ
ในที่สุด ปลาก็ลงข้อสรุปว่า เต่าโกหก เรื่องที่เล่าไม่จริงทั้งสิ้น เดินก็ไม่มี ผืนดินแห้งก็ไม่มี ทุ่งโล่งก็ไม่มี ลมพัดฉิวต้องตัวแล้วสดชื่น ก็ไม่มี
ตามเรื่องนี้ ความจริงปลาเป็นฝ่ายผิด สิ่งที่เต่าเล่า มีอยู่จริง แต่พ้นวิสัยแห่งความรู้ของปลา เพราะปลา ยังไม่เคยขึ้นไปอยู่บก จึงไม่อาจเข้าใจได้
ข้อเทียบอีกอย่างหนึ่ง คือ ความรู้ทางอายตนะที่ต่างกัน ธรรมดาว่า ความรู้ทางอายตนะคนละอย่าง ย่อม มีลักษณะอาการที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง และไม่อาจเทียบกันได้ รูปกับเสียงไม่มีอะไรเทียบกันได้ เสียงกับกลิ่นไม่มีอะไรเทียบกันได้ ดังนี้เป็นต้น
สมมติว่า คนผู้หนึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ไม่เคยมีสัญญาเกี่ยวกับรูป ย่อมไม่มีใครสามารถไปอธิบายสี เขียว สีแดง สีส้ม สีชมพู หรือลักษณะอาการต่างๆ ของรูป ให้เขาเข้าใจได้ด้วยความรู้จากสัญญาที่เขามีทางอายตนะอื่นๆ ไม่ว่าจะอธิบายว่า รูปนั้นดัง เบา หุ้ม แหลม เหม็น หอม เปรี้ยว หวาน อย่างไร หรือถ้าใครไม่มี ประสาทจมูกมาแต่เกิด ใครจะอธิบายให้เขาเข้าใจ เหม็น หอม กลิ่นกุหลาบ กลิ่นส้ม กลิ่นมะลิ ได้อย่างไร เพราะคง จะต้องปฏิเสธ เขียว เหลือง แดง น้ำเงิน หนัก เบา อ้วน ผอม ดัง เบา ขม เค็ม เป็นต้น ที่เขาใช้ซักถามทั้งหมด
ยิ่งกว่านั้น มนุษย์มีอายตนะขั้นต้นสำหรับรับรู้ลักษณะอาการต่างๆ ของโลก ที่เรียกว่าอารมณ์ เพียง ๕ อย่าง ถ้ามีแง่ของความรู้ที่นอกเหนือจากนั้นไป มนุษย์ย่อมไม่อาจรู้ และแม้แต่ห้าอย่างที่รู้ ก็รู้ไปตามลักษณะอาการด้านต่างๆ เท่านั้น การไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น หรือนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจของมนุษย์เพียงอย่างเดียว จึงยัง มิใช่เครื่องชี้ขาดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มี
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ก่อนที่จะทรงประกาศธรรม ได้ทรงมีพุทธดำริว่า“ธรรมที่เราเข้าถึงแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นยาก หยั่งรู้ตามยาก สงบ ประณีต ตรรกะหยั่งไม่ถึง (ไม่อยู่ในวิสัยของตรรกะ) ละเอียดอ่อน เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงทราบ”
และมีข้อความเป็นคาถาต่อไปว่า “ธรรม เราลุถึงโดยยาก เวลานี้ ไม่ควรประกาศ, ธรรมนี้ มิใช่สิ่งที่สัตว์ผู้ถูกราคะโทสะ ครอบงำ จะรู้เข้าใจได้ง่าย, สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองความมืด (อวิชชา) ห่อหุ้ม จักไม่ เห็นภาวะที่ทวนกระแส ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง เห็นยาก ละเอียดยิ่งนัก”
พระนาคเสนมหาเถระ พระอรหันต์สมัยพุทธปรินิพพานไป ๕๐๐ ปี ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชาว่า
ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพานพระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรม ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ที่ตั้งของนิพพานไม่มี นิพพานไม่ได้ตั้งอยู่ในทิศใด แต่นิพพานมี ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไปของสังขารทั้งหลายด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดังเช่น ไฟมีอยู่ แต่ที่ตั้งแห่งไฟไม่มี เมื่อบุคคลเอาไม้มาสีกันเข้าก็ได้ไฟ ฉะนั้น
1- นิพพานไม่ใช่ภพภูมิหรือแดนดินถิ่นฐานซึ่งมีอยู่แล้วในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ณ เวลานี้ แล้วก็พยายามจะไปกันให้ถึง แต่นิพพานเป็นสภาวะหรือคุณภาพของจิตใจ ซึ่งมีอยู่ในตัวของแต่ละคน
2- นิพพานเป็นสัจธรรม ไม่ขึ้นกับความเชื่อ ความเห็น หรือความเข้าใจของใคร ไม่ว่าใครจะเชื่ออย่างไรหรือไม่เชื่ออย่างไร นิพพานก็เป็นจริงอย่างที่นิพพานเป็น
3- นิพพานเข้าใจได้ด้วยการสัมผัสของจริง ไม่ใช่ด้วยการอ่านหรือฟังคำบรรยาย เหมือนรสอาหาร ต่อให้พรรณนาหยดย้อยเพียงไรก็รู้ไม่ได้ แต่เมื่อได้ลิ้มรส แม้ไม่ต้องพรรณนาก็รู้ได้เอง
4- ผู้บรรลุนิพพานไม่ต้องออกไปอยู่นอกสังคมหรือนอกโลก พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านบรรลุนิพพานแล้วทั้งนั้น แต่ท่านก็ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติ
วิธีวัดผลง่ายๆ : 1- ไม่ติดทั้งดีทั้งชั่ว 2- รู้ตัวทั่วพร้อมผ่องใส
3- รู้ควรไม่ควรทำอันใด 4- กระทบแต่ไม่กระเทือน
การดำรงชีวิตของเราเป็นอริยมรรค การรักษาศีลของเราเป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องความเข้าใจถูกต้องแล้วก็ปฏิบัติถูกต้อง เพื่อเราจะได้ยกเลิกที่มีความคิดเห็นผิดความเข้าใจผิดปฏิบัติผิด การรักษาศีลถึงเป็นการยกเลิกความประกอบทุกข์ ทั้งผู้ที่มาบวชทั้งผู้ที่เป็นประชาชนที่ครองเรือนต้องพากันเข้าใจอย่างนี้ การรักษาศีลการปฏิบัติศีลมันเป็นเรื่องของเราทุกคน เพราะเราทุกคนต้องยกเลิกตัวยกเลิกตน ทุกท่านทุกคนต้องมีพุทธะอย่างนี้ให้เต็มที่ การรักษาศีลคือการที่จะยกเลิกการเวียนว่ายตายเกิดของเราเอง เพราะการเวียนว่ายตายเกิดมันเรื่องของเรา ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น พระโอวาทปาฏิโมกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นหลักการ ทุกๆ คนต้องมาหยุดมายกเลิกโรงงานของวัฏสงสาร พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ยังไม่ได้บัญญัติพระวินัยว่า อันไหนไม่ถูกต้อง ต้องพากันยกเลิกให้หมด ผู้ที่รักษาศีลถึงต้องมีสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง การรักษาศีลของเราเป็นไปเพื่อนิพพาน ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง มันก็คือความถูกต้อง เนื้อในที่เป็นสัมมาทิฏฐินี้ มันมาจากจิตใจที่มีพุทธะ มันจะเป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญาเพราะเราทั้งหลายได้พากันยกเลิกตัวยกเลิกตน การปฏิบัติธรรมถึงเป็นเรื่องที่เด่นมากในปัจจุบัน ทุกคนก็รู้ที่ปัจจุบันของตนเอง การปฏิบัติธรรมก็เหมือนที่เราเอาต้นไม้ไปปลูกที่กลางแจ้งที่ว่างๆ โล่งๆ เราเอาต้นไม้ต้นเล็กๆ ไปปลูกที่กลางแจ้ง ไม่มีอะไรมาครอบงำ สัมมาทิฏฐิหรือว่าพุทธะมันก็จะเกิดเป็นอย่างนั้น ทุกท่านทุกคนต้องสร้างพุทธะให้เป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปเอาเรื่องผิดเรื่องถูกเ หมือนพระธรรมกถึกทะเลาะกับพระวินัยธร ถ้าเรามีตัวตนก็มีการทะเลาะกัน เหมือนพระธรรมกถึกกับพระวินัยธรนี่แหละ ถ้าเราเอาตัวเอาตนมันไม่ใช่ธรรม มันเป็นตัวเป็นตน มันจะเป็นโลกธรรม โลกครอบงำธรรม ถ้าเรามีตัวมีตนเมื่อไหร่ พุทธะนี้จะมัวหมองมันจะเศร้าหมอง
ศีลนี้คือสละคืนซึ่งตัวตน สมาธิคือสละคืนซึ่งตัวตน ปัญญาคือสละคืนซึ่งตัวตน เราทุกท่านทุกคนไม่ต้องไปหาพระพุทธเจ้าที่ไหน ตัวพุทธะย่อมเกิดขึ้นกับเราทุกคนที่ไม่มีตัวตน ที่มาดำรงธาตุดำรงขันธ์ พุทธะเป็นสิ่งที่มีการพัฒนาใจพัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน เป็นความงามในเบื้องต้น เป็นความงามในท่ามกลาง เป็นความงามในที่สุด เรียกว่าสง่างาม ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง เราไม่ต้องไปถามใคร เพราะว่าพุทธะมันอยู่ที่เรา เพราะใจของเรามันคิดได้ทีละอย่าง เมื่อเรายกเลิกตัวตนอย่างนี้แหละ
ชีวิตของเราต้องดำเนินไปด้วยความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของเราเอง พุทธะนั้นก็จะเกิดขึ้นแก่เรา ให้พากันเข้าใจอย่างนี้ การเรียนการศึกษานั้นสำหรับตำราเป็นหลักการเป็นหลักวิชาการ แต่ตัวพุทธะมันเป็นเรื่องของปัจจุบัน คือทุกคนถึงเป็นทั้งคนฉลาดเป็นทั้งความถูกต้อง ที่เรียกว่าเป็นทั้งคนมีปัญญาเป็นคนดี มันจะเป็นความสง่างามอยู่ในท่ามกลางทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ว่างจากอวิชชาว่างจากความหลง ว่างจากนิติบุคคลว่างจากตัวว่างจากตน มันเป็นการพัฒนาทั้งใจทั้งวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง เราไม่ต้องถามใคร พระพุทธจะอยู่ในตัวของเราอยู่แล้ว ธรรมะจะอยู่ในตัวของเราอยู่แล้ว ผู้ประพฤติปฏิบัติเรียกว่าอริยมรรค หรือว่าสงฆ์สาวกก็คือตัวของเรานี่แหละ ไม่ต้องไปหาที่ไหน เพราะอยู่ที่ไกลอยู่ที่ใจของเราในปัจจุบัน ที่เป็นพุทธะ มีความสง่างาม การประพฤติการปฏิบัติจะก้าวไปอย่างนี้ นี้คือรู้ทุกข์รู้เหตุเกิดทุกข์รู้ความดับทุกข์รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์
ประชากรของโลกต้องพากันมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง เราทุกคนจะได้ดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ ได้เข้าหาโครงสร้างที่มั่นคง จะได้เข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่มีสัมมาทิฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง ที่ท่านพุทธทาสภิกขุที่เป็นนักปราชญ์ของโลกที่ท่านประพันธ์เป็นตัวอักษรว่า เป็นมนุษย์ได้เพราะใจสูง… เราทุกคนพากันเข้าใจ เราทุกคนเป็นพระเป็นพุทธะได้ทุกคนไม่มีใครยกเว้น เพราะความถูกต้องคือความถูกต้อง จะมีข้อยกเว้นได้ยังไง เพราะเราจะได้เข้าถึงความเป็นมนุษย์เป็นเทวดาเป็นพรหมเป็นพระอริยเจ้าได้ในปัจจุบัน ถ้ารอตอนตายมันนานเกิน พระพุทธเจ้าให้พวกเราเข้าถึงนิพพานในปัจจุบันที่เราตายที่เราหมดอายุขัย เป็นการตายทางร่างกายในการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบันมันมีผัสสะผัสสะภายนอกกับภาษาภายในมันเกิดอารมณ์นี้คือข้อสอบและข้อต่อถ้าเราไม่รู้จักเราก็จะหลงทางตอนนี้แหละพระพุทธเจ้าถึงให้เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องเพื่อจะได้ยกเลิกอวิชชายกเลิกความหลงยกทุกอย่างขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ส่วนใหญ่พวกเราทุกคนไม่อยากภาวนาไม่อยากพิจารณาสู่พระไตรลักษณ์เพราะความกําหนักยินดีในความสุขในความเอร็ดอร่อยที่เกิดจากผัสสะไม่มีใครอยากภาวนาสู่พระไตรลักษณ์ จึงคิดอยากจะได้รูปสวยๆ เสียงไพเราะ อยากจะบริโภคความสุขความหลงอย่างเต็มที่ เพราะความหลงก็คือความหลงความหลง คือไม่จบ เหมือนทะเลไม่อิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ ความหลงไม่อิ่มด้วยตัณหา
เราทุกคนจึงต้องพากันมามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง พากันมายกเลิกความหลงของตัวเอง ไม่ใช่ความหลงของคนอื่น คนอื่นก็เป็นเรื่องของคนอื่น ทุกคนต้องดำเนินชีวิตด้วยพุทธะ ที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ไม่ให้เต็มไปด้วยอวิชชาด้วยความหลง ถ้าเราไม่เข้าใจการเรียนการศึกษา การทำงานมันก็คือความหลง ความเห็นแก่ตัวเป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ มันไม่ใช่ความสง่างามของศีล มันไม่ใช่ความสง่างามของสมาธิ มันไม่ใช่ความสง่างามของปัญญา การเรียนการศึกษานั้นเรียนเพื่อมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องแล้วเราจะได้ปฏิบัติถูกต้อง
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
คำเทศนา วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
เราทุกคนไม่มีใครยกเว้น ต้องพากันมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง เรียกว่าพุทธะ เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตอันประเสริฐ เพื่อยกเลิกสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่มันเป็นไปเพื่อประกอบความทุกข์ ชีวิตของเราจะประกอบด้วยพุทธะ เราทุกคนโชคดีมากๆ ที่มีพระพุทธเจ้าได้มาตรัสรู้ได้มาบอกมาสอนแนวทางหลักการประพฤติหลักการปฏิบัติ ที่เรียกว่าอริยสัจ ๔ คือรู้ทุกข์รู้เหตุเกิดทุกข์รู้ความดับทุกข์รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คนเราทุกคนเมื่อมีความเห็นถูกต้องเข้าใจทุกถูกต้อง ทุกคนก็ปฏิบัติได้เหมือนๆ กัน นอกจากคนที่ระบบสมองเสียสมองพิการ การดำเนินชีวิตของเราถึงเป็นสัมมาทิฏฐิ จะทำอะไรก็ต้องประกอบด้วยพุทธะหรือว่าสัมมาทิฏฐิ เราทุกคนที่พาการเวียนว่ายตายเกิด เพราะเราเอาความไม่รู้เอาความไม่เข้าใจดำเนินชีวิต การดำเนินชีวิตของเรา เราจะเป็นนักบวชหรือเป็นประชาชนผู้ที่ครองเรือน ก็ต้องพากันเอาพุทธะเอาสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องเป็นการดำเนินชีวิต ทั้งความรู้ทั้งภาคปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน มีข้อสอบมีข้อสอบในปัจจุบัน ที่เป็นของใหม่ของสดที่เป็นธรรมเป็นปัจจุบันธรรม พัฒนาทั้งใจพัฒนาทางวัตถุไปพร้อมๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เรียกว่าทางสายกลาง ไม่ถ่วงความเจริญทางจิตใจไม่ถ่วงความเจริญทางวัตถุ ทุกท่านทุกคนไม่ต้องเอาความถูกใจ ให้เอาความถูกต้อง ปรับเข้าหาธรรมะ ปรับเข้าหาเวลา ทางจิตใจที่เราไปติดอกติดใจไม่พออกพอใจในอดีต ให้เป็นเลขศูนย์ อดีตนั้นเป็นประสบการณ์เพื่อปรับปรุงแก้ไขในปัจจุบัน ตั้งเป้าหมายไว้ในอนาคตคือพระนิพพาน
พระนิพพานคืออะไร พระนิพพานเป็นธรรมที่มีอยู่ที่เกิดจากเหตุเกิดจากปัจจัยเป็นสภาวะธรรมที่เป็นพุทธะ ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ไม่ได้เพิ่มไม่ได้ตัดออก เป็นการยกเลิกจากความเห็นไม่ถูกต้องเข้าใจไม่ถูกต้องปฏิบัติไม่ถูกต้อง
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสพระนิพพานว่า เป็นบรมธรรม. จุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน ที่ชาวพุทธมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด มนุษย์ทุกคนปรารถนานิพพาน เพราะนิพพานเป็นความต้องการของมนุษย์ทุกรูปทุกนาม โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ต้องการดับทุกข์ เมื่อมนุษย์ประสบความทุกข์มากหรือน้อยก็ตาม จิตใจจะปฏิเสธไม่ต้องการประสบสิ่งนั้น พูดง่ายๆ ก็คือไม่อยากมีความทุกข์ แต่มนุษย์โดยมากไม่รู้หนทางแห่งการดับทุกข์ มีคนไม่น้อยเข้าใจผิดคิดว่าบรรลุนิพพาน ตายแล้วสูญ จึงกลัวไม่อยากไป ที่จริงแล้ว นิพพานไม่ได้แปลว่าตายสูญ แปลว่าดับ หมายถึงดับกิเลส ดังพุทธพจน์ว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานสูญอย่างยิ่ง” คำว่าสูญในพุทธพจน์นี้ หมายถึง สูญจากราคะ โทสะ โมหะ หรือสูญจากนามรูป นิพพานเป็นสภาวะดับกิเลส มีสภาพสงบระงับ มีชีวิตชีวา มีปัญญา เรียกว่า สะอาด สว่าง สงบ ปลอดโปร่ง แจ่มใส เบิกบาน ว่องไว เยือกเย็น เบาสบาย
เมื่อทุกคนเกลียดทุกข์ ชอบสุขด้วยกันทั้งสิ้น นิพพานจึงเป็นเรื่องจำเป็น ใจที่ปลอดโปร่ง เยือกเย็น เบาสบาย ไม่อยู่ในอำนาจความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็จะพบความสุข ความสุขคือใจที่สงบ ดังพุทธพจน์ว่า “นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี” ความสงบนี้แหละเป็นเรื่องของนิพพาน นิพพานเป็นยอดแห่งความสุข ด้วยพุทธพจน์ว่า “นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”
สุขแบบโลกกับนิพพานแตกต่างกัน ด้วยว่าความสุขแบบโลกเป็นความสุขที่เจือด้วยความทุกข์ ความวุ่นวาย มีสุขระยะสั้นๆ ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ผิดกับความสุขในนิพพาน เป็นความสงบความสุขอย่างแท้จริง ไม่เจือด้วยความทุกข์ ความวุ่นวาย มีความยั่งยืน ท่านจึงเปรียบความสุขทั้งสองอย่าง ความสุขแบบโลก เหมือนคนเป็นโรคผิวหนัง เช่น โรคหิด คนที่เป็นหิดจะรู้สึกว่าเป็นสุขเมื่อได้เกา ยิ่งคันยิ่งเกา ดูเหมือนยิ่งมีความสุข แต่สุดท้ายเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนเกิดความทุกข์ติดตามมา ส่วนความสุขในนิพพาน อุปมาเหมือนคนที่หายจากโรคหิดแล้ว มีความสุขคือสุขไม่ต้องเกา และไม่ปวดแสบปวดร้อนต่อไป
ความจริงผู้เข้าถึงนิพพาน สูญสิ้นเฉพาะกิเลสและภพชาติ แต่ยังคงสภาวะ สภาวะนั้นไม่อาจเรียกหรืออธิบาย เพราะอยู่เหนือสมมุติบัญญัติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคปัญญานิเทศขยายความว่า ในขณะที่จิตจะก้าวขึ้นสู่อริยะภูมินั้น นิพพานจะปรากฎในใจ เสมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ แต่ถ้าขังถูกกิเลสครอบงำ นิพพานก็ขังไม่ปรากฏ ดุจหมู่เมฆบดบังดวงจันทร์ ไม่ให้เห็น ฉันนั้น
พระพุทธเจ้าได้ตรัสความมีอยู่แห่งนิพพานไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (นิพพาน) อันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยอะไรๆ ไม่กระทำแล้ว ไม่สร้างสรรค์แล้ว มีอยู่นะ ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า อายตนะอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยอะไรๆ ไม่กระทำแล้ว ไม่สร้างสรรค์แล้ว มีอยู่ เพราะฉะนั้นการออกไปของสิ่งที่เกิด ที่ถูกปัจจัยกระทำ ที่ปัจจัยสร้างสรรค์จึงปรากฎ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึงนิพพานไม่ใช่เรื่องมโนภาพ ได้อรรถาธิบายว่า นิพพานเป็นภูมิที่มีอยู่จริง ไม่เป็นเรื่องที่จิตเนรมิตขึ้นเป็นมโนภาพ กล่าวคือ ไม่เป็นเพียงมโนภาพ ที่จิตคิดขึ้นเอง ไม่เป็นอย่างหนวดเต่า เขากระต่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่เลยไม่ว่าในกาลไหน แต่นิพพานมิได้เป็นอย่างหนวดเต่าเขากระต่าย หากแต่มีอยู่จริงๆ เพียงแต่มีอยู่อย่างไม่มีปรากฏการณ์
ส่วนการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเรื่องลักษณะของสังขารทั้งปวง สำหรับนิพพานแล้ว การเกิดขึ้นไม่ปรากฎ การแตกดับไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ความเป็นอยู่อย่างนั้น ตลอดอนันตกาล เพราะนิพพานไม่ใช่จิตและจิตก็ไม่ใช่นิพพาน นิพพานไม่อยู่ในจิตแยกอยู่ต่างหากจากจิต ผู้บรรลุนิพพานต่างหากที่ยึดเหนี่ยวนิพพานเป็นอารมณ์อยู่เป็นนิจตลอดนิรันดร ดังนั้นนิพพาน จึงเป็นอนัตตา ดังพุทธพจน์ที่ว่า "สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา" ไม่มีตัวตน ไม่มีใครสร้าง ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ไม่อยู่ในอำนาจใคร
สำหรับผู้เข้าใจว่า นิพพานเป็นอัตตา ก็เพราะเข้าใจผิดคิดว่า นิพพานกับจิตเป็นอย่างเดียวกัน หรือนิพพานมีอยู่ในจิต โดยคิดไปว่า จิตที่หลุดพ้นจากกิเลสาสวะโดยเด็ดขาดสิ้นเชิงแล้วเป็นจิตบริสุทธิ์ จิตนั้นก็คือนิพพาน เมื่อเข้าสู่นิพพานก็ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดต่อไป ทั้งเป็น นิจจัง คือ คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแปรปรวน ชวนให้เข้าใจว่า นิพพานเป็นอัตตา
พระพุทธเจ้าตรัสเตือนไว้ อย่าสำคัญนิพพานว่าเป็นตัวเรา ข้อนี้พราหมณ์พาวรีได้ผูกปัญหาให้อชิตมาณพผู้เป็นหนึ่งใน ๑๖ คน ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปัญญา สติ และนามรูปย่อมดับสนิท ณ ที่ไหน พระพุทธเจ้าตรัสแก้ว่า นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือ ณ ที่ใด ปัญญาและสติ ก็ย่อมดับสนิท ณ ที่นั้น ทั้งนี้ ก็เพราะวิญญาณดับสนิท
สรุปได้ว่า สติและปัญญาเป็นสังขตธรรม ย่อมจะต้องดับไปในที่สุด ผู้ที่ยึดมั่นในสติปัญญามากเกินไป ย่อมหลุดพ้นทุกข์ถึงที่สุดมิได้ วิญญาณดับสนิท หมายถึง วิญญาณที่มีอวิชชานั้นเอง เมื่อวิญญาณที่มีอวิชชาดับแล้ว วิญญาณก็เข้าถึงนิพพาน เป็นวิญญาณที่มีวิชชาปรากฏแจ่มกระจ่าง มิได้ดับอย่างวิญญาณที่มีอวิชชา
ดังนั้น นิพพานไม่ใช่จิต เพราะนิพพานเป็นอสังขตธาตุ หรืออสังขตธรรม นิพพานจึงเป็นสภาพที่อยู่นอกจิต แต่จิตยึดนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ ไม่ควรคิคว่านิพพานเป็นของตน ดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในมูลปริยายสูตรว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว มีประโยชน์ตนถึงที่สุดแล้ว กำจัดกิเลสเครื่องผูกมัดให้ติดอยู่ในภพได้หมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้น ครั้งบรรลุนิพพาน โดยความเป็นนิพพานแล้ว ย่อมไม่สำคัญว่า นิพพานเป็นของตน ย่อมไม่ยินดีซึ่งนิพพานนั้น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร ก็เพราะเรากล่าวว่า นิพพานนั้นเป็นเรื่องที่เธอควรกำหนดรู้เท่านั้น"
นิพพานเป็นสภาวธรรมอันไม่จำกัดสถานที่ และไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา เพราะฉะนั้นจึงบอกไม่ได้ว่า นิพพานนั้นอยู่ที่ไหนแน่ ถ้าขืนบอกว่าอยู่ที่นั่นที่นี่ ก็เท่ากับไปจำกัดขอบเขตของพระนิพพานไป ซึ่งเป็นการผิด เช่นเดียวกับการบรรยายคุณลักษณะของนิพพาน นิพพานมีคุณลักษณะซึ่งไม่มีคุณลักษณะใดๆ ที่เรารู้แล้วเหมือน ฉะนั้นการบรรยายคุณลักษณะของนิพพาน จึงเท่ากับไปจำกัดคุณลักษณะของนิพพาน ซึ่งเป็นการผิเพราะนิพพานมีความไม่จำกัดขอบเขตนี้เอง พระพุทธเจ้าจึง
ทรงบอกที่อยู่ของนิพพานด้วยการปฏิเสธ เช่นในขุททกนิกายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (สภาวะ) นั้นมีอยู่ที่ ดิน น้ำ ไฟ ลมไม่มีแล อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ไม่ใช่ โลกนี้ก็ไม่ใช่ โลกอื่นก็ไม่ใช่ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ทั้งสองก็ไม่ใช่ อนึ่งภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้น ว่าเป็นการมา การไป เป็นการตั้งอยู่เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั่นแล ที่สุดแห่งทุกข์"
พระนิพพานแม้จะเป็นเรื่องอธิบายได้ยากยิ่ง ผู้ที่บรรลุนิพพานแล้วจะรู้ได้เฉพาะตน แต่ถึงกระนั้น ผู้ที่บรรลุพระนิพพานจะมีความรู้สึกตรงกันว่า “เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ นี้สงบจริงหนอ นี้ประณีตจริงหนอ นี้เองเป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่สละคืออุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส นี่แหละคือนิพพาน” พร้อมกับความรู้สึกว่า “อยมนฺติมา ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย การเกิดใหม่จะไม่มีอีกแล้ว” และ “ขีณา ชาติ วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ กตํ กรณียํ นาปรํ อิตฺถตฺตาย ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่พึงทำก็ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ไม่มีอีกแล้ว”
นิพพานเป็นธรรมชาติที่เห็นได้ยากอย่างยิ่ง เหตุที่เห็นได้ยาก ก็เพราะนิพพานเป็นธรรมชาติอันละเอียดลึกซึ้ง ไม่เหมือนกับสิ่งที่มนุษย์รู้เห็นอยู่ในภพทั้ง ๓ ความรู้ ความคิด การคาดคะเนของมนุษย์ ย่อมจำกัดขอบเขตอยู่ในภพทั้ง ๓ เกี่ยวข้องอยู่กับอารมณ์ในภพทั้ง ๓ เท่านั้น ถ้าสิ่งใดอยู่นอกเหนืออารมณ์ของภพทั้ง มนุษย์ก็ไม่สามารถจะรู้ได้ แม้ผู้ที่บรรลุถึงนิพพานแล้ว เช่นพระอรหันต์ที่ไม่สามารถจะอธิบายหรือบรรยายคุณลักษณะของนิพพานให้คนธรรมดาเข้าใจได้ เพราะไม่มีคำพูดใดๆ ในภาษามนุษย์จะอธิบายลักษณะของนิพพานได้ถูกต้อง เพราะคำพูดของมนุษย์ย่อมถูกบัญญัติขึ้นตามประสบการณ์ของมนุษย์เท่านั้น
นิพพานเป็นภาวะที่พ้นจากสภาพทั้งหลายที่ปุถุชนรู้จัก นอกเหนือออกไปจากการรับรู้ที่ถูกอวิชชา ตัณหา อุปาทานครอบงำ เป็นภาวะที่เข้าถึงทันที พร้อมกับการละกิเลสที่เคลือบคลุมใจ หรือพ้นจากภาวะลักษณะต่างๆ ที่เป็นวิสัยของปุถุชน เหมือนเลื่อนฉากออก ก็มองเห็นท้องฟ้า นิพพานไม่มีลักษณะอาการเหมือนสิ่งใด ที่ปุถุชนเคย รู้เคยเห็น ปุถุชนจึงไม่อาจนึกเห็นหรือคิดเข้าใจได้ แต่จะว่านิพพานไม่มี ก็ไม่ถูก มีผู้กล่าวอุปมาบางอย่างไว้ เพื่อให้ปุถุชนพอสำนึกได้ว่า สิ่งที่ตนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ ไม่จำเป็นต้องไม่มี
ข้อเปรียบเทียบที่น่าฟังเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องปลาไม่รู้จักบก มีความย่อของนิทานว่า ปลากับเต่าเป็นเพื่อน สนิทกัน ปลาอยู่แต่ในน้ำ รู้จักแต่เรื่องราวความเป็นไปในน้ำ เต่าเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก รู้จักทั้งบกทั้งน้ำ
วันหนึ่งเต่าไปเที่ยวบกมาแล้ว ลงในน้ำพบปลา ก็เล่าให้ปลาฟัง ถึงความสดชื่นที่ได้ไปเดินเที่ยวบนผืนดิน แห้ง ในท้องทุ่งโล่งที่ลมพัดฉิว ปลาฟังไปได้สักหน่อย ไม่เข้าใจเลย อะไรกันนะที่ว่าเดิน อะไรกันพื้นดินแห้งอะไร กันทุ่งโล่ง อะไรกันลมพัดผิว แม้แต่ความสดชื่นอย่างนั้น ปลาก็ไม่รู้จัก ความสุขโดยปราศจากน้ำ จะเป็นไปได้ อย่างไร มีแต่จะตายแน่ๆ
ปลาทนไม่ได้ จึงขัดขึ้น และซักถามหาความเข้าใจ เต่าเล่าและอธิบายด้วยศัพท์บก ปลาซักถามด้วยศัพท์ น้ำ เต่าก็ได้แต่ปฏิเสธ ปลาจะให้เต่าอธิบายด้วยศัพท์น้ำ เต่าก็อธิบายไม่ได้ เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาเทียบ
ในที่สุด ปลาก็ลงข้อสรุปว่า เต่าโกหก เรื่องที่เล่าไม่จริงทั้งสิ้น เดินก็ไม่มี ผืนดินแห้งก็ไม่มี ทุ่งโล่งก็ไม่มี ลมพัดฉิวต้องตัวแล้วสดชื่น ก็ไม่มี
ตามเรื่องนี้ ความจริงปลาเป็นฝ่ายผิด สิ่งที่เต่าเล่า มีอยู่จริง แต่พ้นวิสัยแห่งความรู้ของปลา เพราะปลา ยังไม่เคยขึ้นไปอยู่บก จึงไม่อาจเข้าใจได้
ข้อเทียบอีกอย่างหนึ่ง คือ ความรู้ทางอายตนะที่ต่างกัน ธรรมดาว่า ความรู้ทางอายตนะคนละอย่าง ย่อม มีลักษณะอาการที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง และไม่อาจเทียบกันได้ รูปกับเสียงไม่มีอะไรเทียบกันได้ เสียงกับกลิ่นไม่มีอะไรเทียบกันได้ ดังนี้เป็นต้น
สมมติว่า คนผู้หนึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ไม่เคยมีสัญญาเกี่ยวกับรูป ย่อมไม่มีใครสามารถไปอธิบายสี เขียว สีแดง สีส้ม สีชมพู หรือลักษณะอาการต่างๆ ของรูป ให้เขาเข้าใจได้ด้วยความรู้จากสัญญาที่เขามีทางอายตนะอื่นๆ ไม่ว่าจะอธิบายว่า รูปนั้นดัง เบา หุ้ม แหลม เหม็น หอม เปรี้ยว หวาน อย่างไร หรือถ้าใครไม่มี ประสาทจมูกมาแต่เกิด ใครจะอธิบายให้เขาเข้าใจ เหม็น หอม กลิ่นกุหลาบ กลิ่นส้ม กลิ่นมะลิ ได้อย่างไร เพราะคง จะต้องปฏิเสธ เขียว เหลือง แดง น้ำเงิน หนัก เบา อ้วน ผอม ดัง เบา ขม เค็ม เป็นต้น ที่เขาใช้ซักถามทั้งหมด
ยิ่งกว่านั้น มนุษย์มีอายตนะขั้นต้นสำหรับรับรู้ลักษณะอาการต่างๆ ของโลก ที่เรียกว่าอารมณ์ เพียง ๕ อย่าง ถ้ามีแง่ของความรู้ที่นอกเหนือจากนั้นไป มนุษย์ย่อมไม่อาจรู้ และแม้แต่ห้าอย่างที่รู้ ก็รู้ไปตามลักษณะอาการด้านต่างๆ เท่านั้น การไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น หรือนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจของมนุษย์เพียงอย่างเดียว จึงยัง มิใช่เครื่องชี้ขาดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มี
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ก่อนที่จะทรงประกาศธรรม ได้ทรงมีพุทธดำริว่า“ธรรมที่เราเข้าถึงแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นยาก หยั่งรู้ตามยาก สงบ ประณีต ตรรกะหยั่งไม่ถึง (ไม่อยู่ในวิสัยของตรรกะ) ละเอียดอ่อน เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงทราบ”
และมีข้อความเป็นคาถาต่อไปว่า “ธรรม เราลุถึงโดยยาก เวลานี้ ไม่ควรประกาศ, ธรรมนี้ มิใช่สิ่งที่สัตว์ผู้ถูกราคะโทสะ ครอบงำ จะรู้เข้าใจได้ง่าย, สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองความมืด (อวิชชา) ห่อหุ้ม จักไม่ เห็นภาวะที่ทวนกระแส ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง เห็นยาก ละเอียดยิ่งนัก”
พระนาคเสนมหาเถระ พระอรหันต์สมัยพุทธปรินิพพานไป ๕๐๐ ปี ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชาว่า
ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพานพระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรม ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ที่ตั้งของนิพพานไม่มี นิพพานไม่ได้ตั้งอยู่ในทิศใด แต่นิพพานมี ผู้ปฏิบัติชอบ เมื่อเห็นความตั้งขึ้นและเสื่อมไปของสังขารทั้งหลายด้วยโยนิโสมนสิการแล้ว ก็กระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ดังเช่น ไฟมีอยู่ แต่ที่ตั้งแห่งไฟไม่มี เมื่อบุคคลเอาไม้มาสีกันเข้าก็ได้ไฟ ฉะนั้น
1- นิพพานไม่ใช่ภพภูมิหรือแดนดินถิ่นฐานซึ่งมีอยู่แล้วในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ณ เวลานี้ แล้วก็พยายามจะไปกันให้ถึง แต่นิพพานเป็นสภาวะหรือคุณภาพของจิตใจ ซึ่งมีอยู่ในตัวของแต่ละคน
2- นิพพานเป็นสัจธรรม ไม่ขึ้นกับความเชื่อ ความเห็น หรือความเข้าใจของใคร ไม่ว่าใครจะเชื่ออย่างไรหรือไม่เชื่ออย่างไร นิพพานก็เป็นจริงอย่างที่นิพพานเป็น
3- นิพพานเข้าใจได้ด้วยการสัมผัสของจริง ไม่ใช่ด้วยการอ่านหรือฟังคำบรรยาย เหมือนรสอาหาร ต่อให้พรรณนาหยดย้อยเพียงไรก็รู้ไม่ได้ แต่เมื่อได้ลิ้มรส แม้ไม่ต้องพรรณนาก็รู้ได้เอง
4- ผู้บรรลุนิพพานไม่ต้องออกไปอยู่นอกสังคมหรือนอกโลก พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านบรรลุนิพพานแล้วทั้งนั้น แต่ท่านก็ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติ
วิธีวัดผลง่ายๆ : 1- ไม่ติดทั้งดีทั้งชั่ว 2- รู้ตัวทั่วพร้อมผ่องใส
3- รู้ควรไม่ควรทำอันใด 4- กระทบแต่ไม่กระเทือน
การดำรงชีวิตของเราเป็นอริยมรรค การรักษาศีลของเราเป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องความเข้าใจถูกต้องแล้วก็ปฏิบัติถูกต้อง เพื่อเราจะได้ยกเลิกที่มีความคิดเห็นผิดความเข้าใจผิดปฏิบัติผิด การรักษาศีลถึงเป็นการยกเลิกความประกอบทุกข์ ทั้งผู้ที่มาบวชทั้งผู้ที่เป็นประชาชนที่ครองเรือนต้องพากันเข้าใจอย่างนี้ การรักษาศีลการปฏิบัติศีลมันเป็นเรื่องของเราทุกคน เพราะเราทุกคนต้องยกเลิกตัวยกเลิกตน ทุกท่านทุกคนต้องมีพุทธะอย่างนี้ให้เต็มที่ การรักษาศีลคือการที่จะยกเลิกการเวียนว่ายตายเกิดของเราเอง เพราะการเวียนว่ายตายเกิดมันเรื่องของเรา ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น พระโอวาทปาฏิโมกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสเป็นหลักการ ทุกๆ คนต้องมาหยุดมายกเลิกโรงงานของวัฏสงสาร พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ยังไม่ได้บัญญัติพระวินัยว่า อันไหนไม่ถูกต้อง ต้องพากันยกเลิกให้หมด ผู้ที่รักษาศีลถึงต้องมีสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง การรักษาศีลของเราเป็นไปเพื่อนิพพาน ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง มันก็คือความถูกต้อง เนื้อในที่เป็นสัมมาทิฏฐินี้ มันมาจากจิตใจที่มีพุทธะ มันจะเป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญาเพราะเราทั้งหลายได้พากันยกเลิกตัวยกเลิกตน การปฏิบัติธรรมถึงเป็นเรื่องที่เด่นมากในปัจจุบัน ทุกคนก็รู้ที่ปัจจุบันของตนเอง การปฏิบัติธรรมก็เหมือนที่เราเอาต้นไม้ไปปลูกที่กลางแจ้งที่ว่างๆ โล่งๆ เราเอาต้นไม้ต้นเล็กๆ ไปปลูกที่กลางแจ้ง ไม่มีอะไรมาครอบงำ สัมมาทิฏฐิหรือว่าพุทธะมันก็จะเกิดเป็นอย่างนั้น ทุกท่านทุกคนต้องสร้างพุทธะให้เป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปเอาเรื่องผิดเรื่องถูกเ หมือนพระธรรมกถึกทะเลาะกับพระวินัยธร ถ้าเรามีตัวตนก็มีการทะเลาะกัน เหมือนพระธรรมกถึกกับพระวินัยธรนี่แหละ ถ้าเราเอาตัวเอาตนมันไม่ใช่ธรรม มันเป็นตัวเป็นตน มันจะเป็นโลกธรรม โลกครอบงำธรรม ถ้าเรามีตัวมีตนเมื่อไหร่ พุทธะนี้จะมัวหมองมันจะเศร้าหมอง
ศีลนี้คือสละคืนซึ่งตัวตน สมาธิคือสละคืนซึ่งตัวตน ปัญญาคือสละคืนซึ่งตัวตน เราทุกท่านทุกคนไม่ต้องไปหาพระพุทธเจ้าที่ไหน ตัวพุทธะย่อมเกิดขึ้นกับเราทุกคนที่ไม่มีตัวตน ที่มาดำรงธาตุดำรงขันธ์ พุทธะเป็นสิ่งที่มีการพัฒนาใจพัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน เป็นความงามในเบื้องต้น เป็นความงามในท่ามกลาง เป็นความงามในที่สุด เรียกว่าสง่างาม ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง เราไม่ต้องไปถามใคร เพราะว่าพุทธะมันอยู่ที่เรา เพราะใจของเรามันคิดได้ทีละอย่าง เมื่อเรายกเลิกตัวตนอย่างนี้แหละ
ชีวิตของเราต้องดำเนินไปด้วยความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องของเราเอง พุทธะนั้นก็จะเกิดขึ้นแก่เรา ให้พากันเข้าใจอย่างนี้ การเรียนการศึกษานั้นสำหรับตำราเป็นหลักการเป็นหลักวิชาการ แต่ตัวพุทธะมันเป็นเรื่องของปัจจุบัน คือทุกคนถึงเป็นทั้งคนฉลาดเป็นทั้งความถูกต้อง ที่เรียกว่าเป็นทั้งคนมีปัญญาเป็นคนดี มันจะเป็นความสง่างามอยู่ในท่ามกลางทุกสิ่งทุกอย่าง ที่ว่างจากอวิชชาว่างจากความหลง ว่างจากนิติบุคคลว่างจากตัวว่างจากตน มันเป็นการพัฒนาทั้งใจทั้งวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่ ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง เราไม่ต้องถามใคร พระพุทธจะอยู่ในตัวของเราอยู่แล้ว ธรรมะจะอยู่ในตัวของเราอยู่แล้ว ผู้ประพฤติปฏิบัติเรียกว่าอริยมรรค หรือว่าสงฆ์สาวกก็คือตัวของเรานี่แหละ ไม่ต้องไปหาที่ไหน เพราะอยู่ที่ไกลอยู่ที่ใจของเราในปัจจุบัน ที่เป็นพุทธะ มีความสง่างาม การประพฤติการปฏิบัติจะก้าวไปอย่างนี้ นี้คือรู้ทุกข์รู้เหตุเกิดทุกข์รู้ความดับทุกข์รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์
ประชากรของโลกต้องพากันมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง เราทุกคนจะได้ดำเนินชีวิตที่ประเสริฐ ได้เข้าหาโครงสร้างที่มั่นคง จะได้เข้าถึงความเป็นมนุษย์ที่มีสัมมาทิฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง ที่ท่านพุทธทาสภิกขุที่เป็นนักปราชญ์ของโลกที่ท่านประพันธ์เป็นตัวอักษรว่า เป็นมนุษย์ได้เพราะใจสูง… เราทุกคนพากันเข้าใจ เราทุกคนเป็นพระเป็นพุทธะได้ทุกคนไม่มีใครยกเว้น เพราะความถูกต้องคือความถูกต้อง จะมีข้อยกเว้นได้ยังไง เพราะเราจะได้เข้าถึงความเป็นมนุษย์เป็นเทวดาเป็นพรหมเป็นพระอริยเจ้าได้ในปัจจุบัน ถ้ารอตอนตายมันนานเกิน พระพุทธเจ้าให้พวกเราเข้าถึงนิพพานในปัจจุบันที่เราตายที่เราหมดอายุขัย เป็นการตายทางร่างกายในการดำเนินชีวิตของเราในปัจจุบันมันมีผัสสะผัสสะภายนอกกับภาษาภายในมันเกิดอารมณ์นี้คือข้อสอบและข้อต่อถ้าเราไม่รู้จักเราก็จะหลงทางตอนนี้แหละพระพุทธเจ้าถึงให้เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องเพื่อจะได้ยกเลิกอวิชชายกเลิกความหลงยกทุกอย่างขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ส่วนใหญ่พวกเราทุกคนไม่อยากภาวนาไม่อยากพิจารณาสู่พระไตรลักษณ์เพราะความกําหนักยินดีในความสุขในความเอร็ดอร่อยที่เกิดจากผัสสะไม่มีใครอยากภาวนาสู่พระไตรลักษณ์ จึงคิดอยากจะได้รูปสวยๆ เสียงไพเราะ อยากจะบริโภคความสุขความหลงอย่างเต็มที่ เพราะความหลงก็คือความหลงความหลง คือไม่จบ เหมือนทะเลไม่อิ่มด้วยน้ำ ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ ความหลงไม่อิ่มด้วยตัณหา
เราทุกคนจึงต้องพากันมามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง พากันมายกเลิกความหลงของตัวเอง ไม่ใช่ความหลงของคนอื่น คนอื่นก็เป็นเรื่องของคนอื่น ทุกคนต้องดำเนินชีวิตด้วยพุทธะ ที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ไม่ให้เต็มไปด้วยอวิชชาด้วยความหลง ถ้าเราไม่เข้าใจการเรียนการศึกษา การทำงานมันก็คือความหลง ความเห็นแก่ตัวเป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ มันไม่ใช่ความสง่างามของศีล มันไม่ใช่ความสง่างามของสมาธิ มันไม่ใช่ความสง่างามของปัญญา การเรียนการศึกษานั้นเรียนเพื่อมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องแล้วเราจะได้ปฏิบัติถูกต้อง
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee