แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วันจันทร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง มนุษย์ที่สมบูรณ์ ตอนที่ ๙๕ จิตที่ตั้งไว้ชอบย่อมทำให้เข้าถึงฐานะอันประเสริฐ ยิ่งกว่าที่มารดาบิดาจะพึงให้ได้
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
พระพุทธเจ้าให้เราพากันรู้พากันเข้าใจการดำเนินชีวิตของเราทุกๆ
คน ต้องไม่เอาความรู้สึกที่ชอบใจจะได้ไม่ชอบใจ
ให้เราพากันยกเลิกความชอบใจและความไม่ชอบใจ
เพราะความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นคือความไม่ถูกต้อง
ทุกคนต้องพากันมีปัญญาความชอบใจและความไม่ชอบใจนั้นมันคือตัวมัน
คือตน ในชีวิตประจำวันของเรา
เราก็จะมีผัสสะภายนอกผัสสะกับผัสสะภายในกระทบกัน
เมื่อมีผัสสะเมื่อมีการกระทบเราก็จะเกิดอารมณ์ตามผัสสะที่มากระทบเป็น
ข้อสอบเป็นข้อตอบในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าสอนเราให้เรามีปัญญา
สิ่งที่มาผัสสะสิ่งที่มากระทบนั้นล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่แ
ล้วก็ดับไป ให้เราเข้าใจว่าเมื่อเรามีตาสิ่งภายนอกก็มีรูป ๒
อย่างนี้สัมผัสกันถึงมีอารมณ์อย่างนี้เป็นต้น
เราทุกคนอย่าพากันไปหลงเมื่อมันเกิดผัสสะเกิดอารมณ์
เราก็ภาวนาสู่พระไตรลักษณ์ เราอย่าพากันขี้เกียจขี้เกียจภาวนาน่ะ
ถ้าเราพิจารณาสู่พระไปไตรลักษณ์ทุกๆ ครั้ง
ความชอบใจและความไม่ชอบใจมันจะค่อยๆ เบื่อหน่าย
คลายความยินดียินร้าย
เราไม่เข้าใจเรื่องความวิเวก เราก็อยากจะหนีไปอยู่สถานที่วิเวก
ไม่อยากจะอยู่ที่ที่ตัวเองรับผิดชอบ
อยากจะไปอยู่ในที่ไม่มีรูปไม่มีเสียงไม่มีกลิ่นไม่มีรส ไม่มีการไม่มีงาน
ไม่อยากรับภาระอะไร ไม่อยากทำงานอะไร ไม่อยากรักษาศีล
ไม่อยากทำข้อวัตรกิจวัตร
ความเข้าใจเช่นนี้มันเป็นความเข้าใจจากความว่างจากสิ่งที่ไม่มี
มันไม่ใช่ความว่างจากตัวจากตน มันเป็นความว่างจากสิ่งที่มีอยู่
มันเป็นความเห็นผิดเข้าใจผิด
เหมือนเด็กเล็กที่มันติดความสุขที่ไม่อยากเรียนหนังสือ
เหมือนผู้ที่มาพากันมาบวชแต่ไม่อยากรักษาศีลไม่อยากทำข้อวัตรข้อปฏิบั
ติ กับพระเราก็ต้องฟังเทศน์ฟังพระที่กำลังเทศน์ เอาแต่นั่งหลับ
ฟังเทศน์ก็จะเอาแต่นั่งหลับ ไม่เข้าใจที่ทำจิตทำใจให้เป็นหนึ่งเป็นสมาธิ
ใจสงบก็ไม่อยากพิจารณาพระไตรลักษณ์
เพราะเราได้เอาความรู้สึกนั้นเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นของเรา
ทำไมเขาถึงมีตราชั่งเอาไว้ชั่งน้ำหนัก
เพราะเราจะเอาความรู้สึกของเราไม่ได้ ต้องเอาตราชั่งมาชั่งน้ำหนัก
เราเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง เราเป็นคนไม่มีศีลไม่มีสมาธิไม่มีปัญญานะ
ทำไมเขาถึงมีนาฬิกา นาฬิกาที่เอาไว้ดูเวลา เพราะนาฬิกาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ไม่ใช่ความรู้สึกที่เป็นเราเป็นของเรานั้นถูกต้อง
นาฬิกาก็เปรียบเสมือนตัวเรานี่แหละ ที่เราเอาเป็นตัวเป็นตนน่ะ
มันไม่ถูกต้อง มันผิด ถ้าเรามีตัวมีตน มันผิด
คนมีตัวมีตนถึงเป็นคนที่ไม่มีศีลไม่มีสมาธิไม่มีปัญญา เรียกว่ามิจฉาทิฏฐิ
มีความเห็นผิดเข้าใจผิดเราได้พากันปฏิบัติผิด
เมื่อมีความเห็นผิดเข้าใจผิดแล้วก็พากันปฏิบัติผิด
ถ้าเราทำอะไรตามใจนึกว่ามันถูกต้อง เขาถึงได้พัฒนาเรื่องนาฬิกาขึ้นมา
สมัยโบราณเขาเอาดวงอาทิตย์เป็นเวลา เขาถึงได้พัฒนานาฬิกา
เป็นนาฬิกานาฬิกาตั้งโต๊ะ นาฬิกาข้อมือ
เพื่อปรับตัวเองเข้าหาเวลาฉันใดก็ฉันนั้น
ให้เราปรับตัวเองเข้าหาความถูกต้อง
เราทุกคนต้องพากันมาแก้ที่ตัวเองที่มีความเห็นผิดเข้าใจผิดได้ปฏิบัติผิด
มิจฉาทิฏฐิ หรือความเห็นผิดนั้น เป็นภัยร้ายแรงในสังสารวัฏ
ถ้าไม่ยอมสละ ละทิ้งออกไปจากใจ ย่อมจะเกิดโทษมากมาย
ยิ่งถ้าเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิแล้ว เท่ากับเป็นตอในวัฏฏะ
ชีวิตจะไม่มีวันเจริญงอกงามได้ เพราะฉะนั้น
เราต้องหมั่นไปหาผู้รู้ที่เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ที่แท้จริง
ที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ทางด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ
สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิปัญญา เราจึงจะสามารถเข้าใจ
และสละทิฏฐิอันไม่ถูกต้องนั้นได้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่า "นาหํ
ภิกฺขเว อญฺญํ เอกธมฺมํปิ สมนุปสฺสามิ ยํ เอวํ มหาสาวชฺชํ ยถยิทํ ภิกฺขเว
มิจฺฉาทิฏฺฐิ มิจฺฉาทิฏฺฐิปรมานิ ภิกฺขเว วชฺชานิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง"
เมื่อมีความคิดเห็นผิดเข้าใจผิดปฏิบัติผิดเราก็ไปแก้แต่คนอื่นน่ะ
มันไม่ได้อยู่ที่อื่น
อยู่ที่เรามีความเห็นไม่ถูกต้องเข้าใจไม่ถูกต้องปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ปัญหาต่างๆ เราทุกคนต้องพากันมาแก้ที่ตัวเอง
ถ้าไปแก้ที่คนอื่นสิ่งภายนอกมันเป็นความว่างจากสิ่งที่ไม่มีอยู่
ความคิดเห็นเข้าใจอย่างนี้ เป็นความรู้ที่เราไม่รู้อริยสัจ ๔
ถึงไม่รู้ทุกข์ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ไม่รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์
ความรู้ความเข้าใจนี้มันจะแก้ปัญหาได้ยังไง?
คนเราจะไปเอาแต่สิ่งที่ชอบๆ สิ่งที่ชอบกับสิ่งที่ไม่ชอบคือสิ่งเดียวกัน
คือตัวคือตน เมื่อปัญหามันเกิดที่เรา ก็ต้องมาแก้ที่เรา
ศีลจึงเป็นสิ่งที่ยกเลิกตัวยกเลิกตน สมาธิจึงเป็นสิ่งที่ยกเลิกตัวยกเลิกตน
ปัญญาจึงเป็นสิ่งที่ยกเลิกตัวยกเลิกตน การที่ไม่มีตัวไม่มีตนนั่นแหละคือศีล
นั่นแหละคือสมาธิ นั่นแหละคือปัญญา เมื่อเรามีตัวมีตนก็กลัว
กลัวข้อวัตรข้อปฏิบัติ อยากจะหาแต่ความวิเวกความสงบ
อยากจะทำตามใจตามความหลง อย่างนี้เขาเรียกว่าเป็นบุคคลที่ไม่รู้อริยสัจ
๔
พระพุทธเจ้าบอกพวกเราให้ดูสุนัขจิ้งจอกขี้เรื้อนมันไปอยู่ที่ไหนมันก็ไม่มี
ความสุข ไปอยู่ที่ไหนมันก็ไม่สงบ เพราะมันเป็นขี้เรื้อน
ภิกษุท.! พวกเธอเห็นสุนัขจิ้งจอกตัวที่อาศัยอยู่เมื่อตอนย่ำรุ่ง
แห่งราตรีนี้ไหม? “เห็น พระเจ้าข้า”
ภิกษุ ท.! สุนัขจิ้งจอกตัวนั้น เป็นโรคหูชัน (โรคเรื้อนสุนัข)
วิ่งไปบนแผ่นดินก็ไม่สบาย ไปอยู่ที่โคนไม้ก็ไม่สบาย
ไปอยู่กลางแจ้งก็ไม่สบาย. มันไปในที่ใด มันยืนในที่ใด มันนั่งในที่ใด
มันนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับทุกข์ทรมาน ในที่นั้นๆ
ภิกษุ ท.! ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ก็เหมือนกัน
ครั้นถูกลาภสักการะและเสียงเยินยอครอบงำเอาแล้ว
มีจิตติดแน่นอยู่ในสิ่งนั้นๆ ไปอยู่สุญญาคารก็ไม่สบาย
ไปอยู่โคนไม้ก็ไม่สบาย ไปอยู่กลางแจ้งก็ไม่สบาย เธอไปในที่ใด
เธอยืนในที่ใด เธอนั่งในที่ใด เธอนอนในที่ใด ล้วนแต่ได้รับทุกข์ทรมาน
ในที่นั้นๆ
ภิกษุ ท.! ลาภสักการะและเสียงเยินยอ
เป็นอันตรายที่ทารุณแสบเผ็ดหยาบคาย ต่อการบรรลุพระนิพพาน
อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ด้วยอาการอย่างนี้
เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ดังนี้ว่า
“เราทั้งหลายจักไม่เยื่อใยในลาภสักการะและเสียงเยินยอที่เกิดขึ้น อนึ่ง
ลาภสักการะและเสียงเยินยอ ที่เกิดขึ้นแล้ว
ต้องไม่มาห่อหุ้มอยู่ที่จิตของเรา”.
ภิกษุ ท.! พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้ แล.
เมื่อเรามีตัวมีตนมันก็เปรียบเสมือนสุนัขจิ้งจอกขี้เรื้อนนี่แหละ
การดำเนินชีวิตที่เราเอาตัวตนเป็นที่ตั้งมันไปไม่ได้นะ
จะเป็นนักบวชก็ไปไม่ได้ ฆราวาสก็ไปไม่ได้
ศีลสมาธิปัญญาเป็นสิ่งที่ยกเลิกตัวยกเลิกตน
การยกเลิกตัวยกเลิกตนเป็นการหยุดประกอบความทุกข์
เราไปอยู่ไหนจะไม่มีความทุกข์ ไม่มีความทุกข์คือที่ไม่มีตัวไม่มีตน
มีแต่พระธรรมมีแต่พระวินัย ที่สละคืนเสียซึ่งตัวซึ่งตน
การหยุดตรึกนึกคิดในกาม การหยุดตึกนึกคิดในพยาบาท
นั่นคือการยกเลิกตัวยกเลิกตน ที่เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญา
นี้คือการบรรพชาการอุปสมบท มันเป็นการอบรมบ่มอินทรีย์
ทุกท่านทุกคนต้องมีความสุขในการหยุดตรึกนึกคิดในกาม
ทุกท่านทุกคนต้องมีความสุขในการหยุดตรึกนึกคิดในพยาบาท
ทุกคนต้องการความเป็นอิสระ แต่ไม่รู้จักความเป็นอิสระคืออะไร
ความอิสระก็คือยกเลิกความเป็นทาส ความเป็นตัวเป็นตนนี่แหละคือทาส
เขาเอาทาสไปใช้แรงงาน เราเอาตัวตนเป็นที่ตั้งเรากำลังเป็นทาส
เป็นทาสของอวิชชาเป็นทาสของความหลง
เราไม่ต้องไปหาทาสที่ไหนหรอก
การที่เรามีตัวมีตนคือทาสรับใช้ของความหลง
ความหลงนี้มันสั่งให้เราทำอะไรได้ทุกอย่าง
ความหลงทำให้เราทั้งความผิดได้ทุกอย่าง
เราย้อนมาระลึกถึงชีวิตของทุกคนสิ
มีการฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ประพฤติผิดในกาม โกหกหลอกลวง
กินเหล้ากินเบียร์ เล่นการพนัน โกงกินคอร์รัปชั่น
นี่คือผลงานของความหลง เมื่อความหลงมันได้เกิดขึ้นแก่ใคร ใจมันหยาบ
ใจมันสกปรก
ทางออกดีที่สุดน่ะ
ไม่มีอะไรประเสริฐไม่มีอะไรยิ่งกว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็ได้แก่ศีลศีลนี้เป็นการบอกหยุดยกเ
ลิกความหลง เป็นสิ่งที่น่ากลัว ทำให้หมู่มวลมนุษย์ท่องเที่ยวในวัฏสงสาร
ทำให้จิตใจไม่อายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป เห็นบาปเป็นสิ่งประเสริฐ
ไม่ยินดีในการเสียสละไม่ยินดีในการรักษาศีลประพฤติปฏิบัติธรรม
พระผู้พระภาคเจ้าตรัสแสดงถึงจิตที่ตั้งไว้ผิดว่า “ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กริยา
เวรี วา ปน เวรินํ มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร - โจรเห็นโจร
คนมีเวรต่อกันพบคนมีเวรด้วยกัน จะพึงทำความพินาศอันใดต่อกัน
จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด ยังสามารถทำความพินาศให้บุคคลมากกว่านั้นเสียอีก”
คำว่า จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด ในพระคาถานี้ ท่านหมายถึงตั้งไว้ใน
อกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาต เป็นต้น และมิจฉาทิฏฐิเป็นปริโยสาน
หมายความว่า มีความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น
เห็นว่าความดีไม่มี ความชั่วไม่มี ทำดีสูญเปล่า ทำชั่วสูญเปล่า ดังนี้เป็นต้น
จิตที่ตั้งไว้ผิดอย่างนี้ให้โทษมาก ทำความวอดวายให้มาก
มากกว่าโจรและคนมีเวรต่อกันจะพึงกระทำแก่กัน
ท่านว่าคนพวกนี้ทำความพินาศให้แก่กันอย่างมากก็เพียงชาติเดียว
แต่จิตที่ตั้งไว้ผิดย่อมให้ทุกข์ให้โทษนานกว่า สามารถให้เสวยทุกข์ในอบาย
๔ ไม่รู้จักจบสิ้น
พระผู้พระภาคเจ้าตรัสแสดงถึงจิตที่ตั้งไว้ชอบว่า “น ตํ มาตา ปิตา
กยิรา อญฺเญ วาปิ จ ญาตกา สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ เสยฺยโส นํ ตโต กเร - มารดาบิดา
หรือญาติทั้งหลาย ย่อมกระทำสิ่งนั้นให้ไม่ได้
แต่จิตที่ตั้งไว้ชอบย่อมทำให้ได้ และทำบุคคล
ให้เข้าถึงฐานะอันประเสริฐยิ่งกว่าที่มารดาบิดาจะพึงให้ได้”
คำว่า สิ่งนั้น ในพระคาถานี้หมายถึง ความประเสริฐหรือคุณความดี
ตั้งแต่เบื้องต่ำถึงเบื้องสูง กล่าวคือ นิพพานสมบัติ
จริงอยู่มารดาบิดาหรือญาติอันเป็นที่รัก
อาจมอบทรัพย์ให้เลี้ยงชีพสบายไปชาติหนึ่ง แต่ก็ชาติเดียวเท่านั้น
ไม่สามารถให้ข้ามภพข้ามชาติได้
แต่จิตที่บุคคลตั้งไว้ถูกแล้ว ย่อมทำให้ได้สมบัติทั้งที่เป็นโลกียะ
โลกุตตระ ให้ได้สักการะความนับถือ เกียรติยศ และอื่นๆ อีกมากมาย
อันอยู่เหนือวิสัยที่มารดาบิดาจะพึงให้ได้ จิตที่ตั้งไว้ถูกจึงมีคุณค่ามาก
บุคคลจะได้สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ ก็เพราะจิตที่ตั้งไว้ถูก
แม้มนุษย์สมบัตินี้ก็เหมือนกัน
พระศาสดาตรัสพระพุทธพจน์นี้ขณะที่ประทับอยู่ ณ เมืองสาวัตถี
ทรงปรารภพระโสไรยเถระ ผู้มีประวัติแปลกพิสดาร มีเรื่องย่อดังนี้
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี
ลูกชายของเศรษฐีคนหนึ่งในโสไรยนคร
นั่งบนยานน้อยกับสหายรักไปสู่ท่าน้ำ
เพื่ออาบขณะเดียวกันนั้นพระมหากัจจายนเถระ
เข้าไปบิณฑบาตในนครโสไรยะเหมือนกัน
ลูกชายเศรษฐีเห็นพระมหากัจจายนะผู้มีผิวเพียงดังทองคำจึงเกิดความคิดขึ้
นว่า "พระเถระรูปนี้ สวยจริงหนอ ควรเป็นภรรยาของเรา
หรือภรรยาของเรา พึงมีผิวงามอย่างพระเถระรูปนี้"
พร้อมกับความคิดนั่นเอง เพศชายของเขาหายไป เพศหญิงปรากฏขึ้น
เขาละอายจึงลงจากยานน้อยหนีไป-หนีไปยังเมืองตักศิลา
แม้สหายของเขาที่นั่งไปด้วยกันและชนบริวารก็จำไม่ได้ เพียงแต่พูดกันว่า
"อะไรนั่นๆ"
สหายของเธอเมื่อไม่เห็นเธอก็เที่ยวค้นหา
แต่ไม่เจอคนทั้งหลายช่วยกันค้นหาเท่าไรก็ไม่เจอ
มารดาบิดาของเธอจึงคิดว่า บุตรชายของตนตายแล้ว
จึงร้องไห้และทำมตกภัตร์ (อาหารถวายแก่สมณะอุทิศแด่ผู้ตาย)
นางเห็นพวกเกวียนไปสู่ตักศิลาหมู่หนึ่งจึงเดินตามเขาไป
พวกเกวียนเห็นแล้วจึงกล่าวว่า "นางเดินตามพวกเราไปทำไมเล่า
พวกเราไม่รู้จักว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร"
นางบอกว่าขอให้เขาขับยานไปเถิด เธอจักเดินตามไปเรื่อยๆ
แต่พอเดินนานเข้าก็เหนื่อย นางจึงถอดแหวนออกจากนิ้ว
ส่งให้นายเกวียนเป็นค่าโดยสารขออาศัยไปด้วย
ชาวเกวียนเห็นนางอย่างประจักษ์แล้ว คิดว่า
"บุตรชายเศรษฐีนายของพวกเรา ยังไม่มีภรรยา
สตรีนี้เหมาะสมกับบุตรแห่งนายของเรา หากเราเสนอสตรีผู้นี้
และนายชอบพวกเราคงจักได้รางวัลงาม"
เมื่อไปถึงนครตักศิลา พวกชาวเกวียนก็ทำอย่างที่คิด
ลูกชายเศรษฐีขอดูตัว เมื่อเห็นนางมีวัยเหมาะกับตนและมีรูปงามน่าพึงใจ
มีความรักเกิดขึ้น จึงรับไว้เป็นภรรยาตน
พระอรรถกถาจารย์กล่าวแทรกไว้ตอนนี้ว่า "ชาย ชื่อว่าไม่เคยเป็นหญิง
หรือหญิงไม่เคยเป็นชาย ย่อมไม่มีในสังสารวัฏอันยาวนานนี้
ชายประพฤติผิดในกามล่วงละเมิดในภรรยาของผู้อื่นแล้ว
เมื่อตายย่อมตกนรกนานปี
เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ย่อมเกิดเป็นหญิงร้อยๆ ชาติ
แม้พระอานนทเถระเอง ผู้มีบารมีอันบำเพ็ญมาแล้วตั้งแสนกัปป์
ท่องเที่ยวในสงสาร คราวหนึ่งเกิดในตระกูลช่างทอง
ได้กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ตกนรกแล้ว
ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลือต้องเกิดเป็นหญิงถึง ๑๔ ชาติ และถึงการถอนพืช
(คือเป็นหมัน) ถึง ๗ ชาติ"
ส่วนหญิง เมื่อต้องการเป็นชาย พึงทำบุญทั้งหลายมีทาน เป็นต้น
คลายความพอใจในความเป็นหญิงตั้งจิตอธิษฐานว่า
"ด้วยอานุภาพแห่งบุญนี้ ขอข้าพเจ้าพึงกลับได้อัตตภาพเป็นชาย"
เมื่อทำกาละแล้วย่อมได้อัตตภาพเป็นชาย
อนึ่ง หญิงที่ปฏิบัติสามีดี
ประพฤติต่อสามีประหนึ่งเขาเป็นเทวดาของตน เมื่อต้องการเป็นชาย
บุญกุศลนั้นย่อมอำนวยให้เป็นชายสมปรารถนา"
ส่วนบุตรชายเศรษฐีเมืองโสไรยะนี้
ยังจิตอกุศลให้เกิดขึ้นในพระเถระจึงกลับอัตภาพเป็นหญิงในทันที
ในการแต่งงานใหม่ครั้งนี้ นางได้บุตรอีก ๒ คน รวมกับบุตรอีก ๒ คน
เมื่อสมัยเธอเป็นชาย เป็น ๔ คน
ต่อมาบุตรชายเศรษฐีผู้เป็นสหายของนางเดินทางด้วยเกวียน
จากโสไรยะไปยังตักศิลา นางยืนดูอยู่ที่ปราสาทมองเห็นแล้วจำได้
จึงให้คนใช้ไปเชิญมา ต้อนรับเป็นอันดีด้วยเครื่องบริโภคอันมีรสเลิศต่างๆ
เมื่อเสร็จแล้วผู้เป็นอาคันตุกะจึงถามว่า "นางผู้เจริญ!
ท่านต้อนรับข้าพเจ้าเป็นการใหญ่ ท่านรู้จักข้าพเจ้ามาก่อนหรือ?
ส่วนข้าพเจ้าเองขอสารภาพว่าไม่เคยเห็นท่านมาก่อนเลย"
"ท่านเป็นชาวโสไรยะ มิใช่หรือ?" นางถาม
"ใช่, นางผู้เจริญ!" นางได้ถามถึงบิดามารดา
ภรรยาของนางและบุตรชายทั้งสอง อาคันตุกะตอบว่า
ท่านเหล่านั้นอยู่สบายดี และถามต่อว่า นางรู้จักท่านเหล่านั้นได้อย่างไร?
นางได้เล่าเรื่องแต่หนหลังให้ฟังโดยสิ้นเชิง
อาคันตุกะเชื่อและกล่าวว่า "สหาย! เธอทำกรรมหนักเสียแล้ว
ทำไมเธอไม่บอกฉันเล่า? ก็เธอให้พระเถระยกโทษให้แล้วหรือ?"
"ยังเลย ฉันยังไม่เคยพบท่านอีก หลังจากนั้น เธอทราบไหมว่า
เวลานี้ท่านอยู่ที่ไหน?" "ท่านอยู่ที่โสไรยนครนี้เอง" อาคันตุกะตอบ
"ฉันจะจัดการให้เธอขอขมาท่าน"
เขาไปนิมนต์พระมหากัจจายนเถระเพื่อฉันที่บ้านของสหายในวันรุ่งขึ้น
พระเถระรับนิมนต์แล้ว วันรุ่งขึ้นได้ไปยังเรือนนั้น
สหายผู้เป็นอาคันตุกะอังคาสท่านแล้ว
นำหญิงสหายมาหมอบลงแทบเท้าพลางกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ!
ขอได้โปรดให้อภัยแก่หญิงสหายของข้าพเจ้าด้วย"
"อะไรกันนี่?" พระเถระถาม เขาเล่าเรื่องทั้งปวงให้ท่านทราบ
พระเถระกล่าวว่า "จงลุกขึ้นเถิด อาตมาภาพยกโทษให้" เพศชายเดิม
ปรากฏขึ้น สามีของเธอ คือบุตรเศรษฐีเมืองตักศิลากล่าวว่า
"สหายผู้ร่วมทุกข์! เด็กชาย ๒ คนนี้เป็นบุตรของเราทั้งสอง
เขาออกจากท้องของเธอ และอาศัยฉันเกิด
เราทั้งสองจักเป็นเพื่อนกันอยู่ในนครนี้แหละ เธออย่าคิดอะไรมากเลย"
ผู้กลับเพศกล่าวว่า "ผู้ร่วมทุกข์ของฉัน! ฉันถึงความแปลกกว่าผู้อื่นถึง
๒ ครั้ง คือเดิมเป็นผู้ชายแล้วกลับเป็นผู้หญิง
แล้วเป็นชายอีกในอัตภาพเดียว เมื่อก่อนนี้บุตร ๒ คนอาศัยฉันเกิดแล้ว
มาบัดนี้ บุตรอีก ๒ คนเกิดจากท้องฉัน สหาย!
ฉันคิดถึงเรื่องนี้แล้วไม่อยากอยู่ครองเรือนอีกต่อไป
ฉันอยากบวชในสำนักของพระเถระ ขอให้เด็ก ๒ คนนี้เป็นภาระของเธอ"
ดังนี้แล้ว จูบบุตรทั้งสอง ลูบหลังแล้วมอบให้บิดาของเขา
ออกบวชในสำนักของพระเถระ
พระมหากัจจายนเถระให้เธอบวชแล้ว
พาจาริกไปโดยลำดับจนถึงเมืองสาวัตถีราชธานีแห่งแคว้นโกศล
คนทั้งหลายเรียกท่านว่า "พระโสไรยเถระ"
เรื่องของท่านแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็ว
คนทั้งหลายเห็นเป็นเรื่องแปลก จนพากันมาถามท่านพวกแล้วพวกเล่าว่า
เรื่องที่เกิดขึ้นนั้น จริงหรือ?
ท่านตอบว่าจริง เขาถามต่อไปว่า ในบรรดาบุตร ๒ ประเภท
คือประเภทที่อาศัยท่านเกิด และประเภทที่เกิดในท้องของท่าน
ท่านรักลูกประเภทไหนมากกว่า ท่านตอบว่ารักลูกในท้องมากกว่า
เมื่อถูกถามอยู่เนืองๆ และตอบอยู่เนืองๆ ในเรื่องนี้
ท่านก็เกิดความรำคาญ เอือมระอา จึงพยายามปลีกตนออกไปจากหมู่
อยู่แต่ผู้เดียว ทำความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งความสิ้นความเสื่อมในอัตภาพ
ไม่นานนักได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย
หลังจากนั้น เมื่อมีคนมาถามท่านว่า ในบุตร ๒ พวก
ท่านรักบุตรพวกไหนมากกว่า ท่านตอบว่า
ความสิเนหาในบุตรไม่มีแก่ท่านแล้ว
ภิกษุทั้งหลายสดับเรื่องนั้นแล้วเข้าใจว่า
พระโสไรยะพูดพยากรณ์อรหัตต์ คืออวดมรรคอวดผล
จึงนำความกราบทูลพระศาสดา พระตถาคตเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย!
บุตรของเราพูดอวดมรรคอวดผลก็หามิได้
เพราะตั้งแต่บุตรของเราเห็นมรรคด้วยจิตที่ตั้งไว้ชอบแล้ว
เธอก็หมดความสิเนหาในบุตร
ภิกษุทั้งหลายจิตที่ตั้งไว้ชอบย่อมให้สมบัติที่มารดาบิดามิอาจให้ได้"
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถาว่า "น ตํ มาตา ปิตา กยิรา" เป็นอาทิ
มีนัยดังได้พรรณนามาแล้วแต่ต้น
ชีวิตคนเราไม่นานมันก็ตาย มันตายทางร่างกาย มันก็เป็นตามอายุขัย
แต่จิตใจของเราถ้ามันไม่หมดกิเลสไม่สิ้นอาสวะ
มันต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร เพราะกิเลสเรามี วัฏสงสารมันจึงมี
ถ้ากิเลสเราไม่มี วัฏสงสารก็ไม่มี
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าเพราะสิ่งนั้นมีสิ่งนั้นจึงมี
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงมีเหตุมีปัจจัย ถ้ามีเหตุผลมันก็ถึงมี
ที่เรามีความเป็นอยู่ทุกวันนี้ล้วนมาจากเหตุจากปัจจัย ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นลอยๆ
โดยไม่มีเหตุ
ท่านจึงให้สร้างเหตุสร้างปัจจัยให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
คนเราที่มันได้เกิดเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นพี่ เป็นน้อง
ได้ประพฤติปฏิบัติร่วมกันได้เคยสร้างเหตุสร้างปัจจัยมาร่วมกัน
คนเราคนเก่าถ้าปฏิบัติอย่างเก่าๆ มันก็จะเป็นอย่างเก่าๆ
มันต้องปฏิบัติให้ดีมากกว่าเก่าๆ ต้องดีอย่างสม่ำเสมอ
คนเรานี่คิดดูมันก็แปลก อยากให้คนอื่นเคารพรักนับถือ
แต่การประพฤติปฏิบัติมันไม่สมเหตุสมผล ทุกๆ
คนพร้อมจะเคารพนับถือเรา พร้อมที่จะให้ความไว้วางใจ
ขอให้เราเป็นผู้เสียสละ เป็นผู้มีศีล
ประพฤติกายวาจาใจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
เป็นคนที่มีสมาธิตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
ให้มันตั้งอยู่และดับไป ไม่หวั่นไหว มีพระธรรมคำสั่งสอนเป็นจุดยืน
มีความสุขมีความสงบ
มีจิตใจเปรียบเสมือนแอร์คอนดิชั่นเนอร์อยู่ในตัวในจิตใจ
มีสติมีปัญญารู้จักรู้แจ้งว่าความโลภ ความโกรธ
ความหลงนี้เราจะทำตามไม่ได้ ถึงจะมาในภาพสวย ภาพเอร็ดอร่อย
สุขสบาย น่าเพลิดเพลิน ก็มีความรู้จักรู้แจ้งว่านี่แหละทุกข์
ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ทุกคนจะให้ความเคารพไว้วางใจ
ทุกคนเขาจะแต่งตั้งเราเอง
ทุกคนจะเคารพกันได้ก็ต้องมีความดีมีคุณธรรมมีศีลมีธรรม
คนเรานั้นปัญหาต่างๆ ในโลกนี้มี
แต่ว่ามันไม่มีถ้าจิตใจของเราไม่มีปัญหา
ทำไมจิตใจจึงมีปัญหาก็เพราะจิตใจมีอัตตามีตัวมีตน มันมีเรา
มันมีตัวของเรา เราพยายามละสักกายทิฏฐิ เราอย่าไปถือว่าร่างกายเป็นเรา
ว่าเวทนา ว่าสุขว่าทุกข์เป็นเรา ความจำได้หมายรู้เป็นเรา
เราจะเอาความคิดโน่นคิดนี่เป็นเรา เราอย่าไปเอา
เราพยายามคืนธาตุคืนขันธ์นี้สู่ธรรมชาติ เราพยายามรู้จักรู้แจ้ง
มันจะได้หลับสนิท มันจะมีนิพพานในอกในใจ
มันจะได้รู้ว่าทำจิตใจแบบนี้มันดี มันสงบมันเย็น
คนไม่ตายไม่มีความทุกข์ทางจิตทางใจ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็มารวมอยู่ที่จิตใจของเรานั้นแหละ
เราพยายามสร้างกายของเรา สร้างวาจาของเรา สร้างใจเราให้มันเป็นพระ
พระแปลว่าผู้เสียสละ เห็นภัยในวัฏสงสาร พระคือผู้ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีพี่
ไม่มีน้อง ไม่มีลูก ไม่มีหลาน ไม่มีทรัพย์สมบัติ อะไรๆ
ที่มันมีอยู่มันเป็นของชั่วคราว เหมือนลมผ่านมาผ่านไป
เหมือนพยับแดดเดี๋ยวมันก็ไม่มี
พระพุทธเจ้าให้เราฝึกใจอย่างนี้ๆ ทุกๆ วัน
อินทรีย์บารมีของเราจะค่อยๆ แก่กล้าขึ้น
นี่เป็นงานของเราทั้งทางกายทางจิตใจในชีวิตประจำวัน
เราปฏิบัติแบบนี้ชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติธรรม
ทุกๆ คนต้องตั้งใจประพฤติปฏิบัติ ไม่มีใครมาปฏิบัติแทนเราได้
เราถือว่าเราเป็นคนมีบุญ มีชีวิตอยู่ที่เรายังไม่ตาย
มัจจุราชคือความตายยังให้โอกาสเราได้ทำความดี สร้างบารมี
ด้วยเหตุนี้เราถึงต้องปฏิบัติเดินตามรอยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้า
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee