แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วันศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง มนุษย์ที่สมบูรณ์ ตอนที่ ๙๙ พระวินัยจัดเป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยดำรงอยู่ พระพุทธศาสนาก็ดำรงอยู่ด้วย
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
การดำรงชีพดำรงชีวิตดำรงธาตุดำรงขันธ์ ให้ทุกท่านทุกคนพากันรู้นะ
ถ้าไม่รู้แล้วมันผิด เพราะการกระทำของเรามันเป็นเหตุเป็นผล
ทุกอย่างมันอยู่ที่เหตุ เพราะสิ่งนี้มีสิ่งต่อไปจึงมี
พระพุทธเจ้าถึงบอกให้รู้ทุกข์ที่จะเกิดจากเหตุ ให้รู้ในการประพฤติการปฏิบัติ
เราทุกท่านทุกคนจะได้เข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติให้เห็นความดับทุกข์
จะได้เข้าถึงความดับทุกข์ทุกๆ คน
เมื่อเรามีความเห็นถูกต้องมีความเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง
การดำรงชีพของเรามันจะไม่ผิดความคิดเห็นผิดคือการประกอบความทุกข์ให้กั
บตัวเอง การกระทำทุกอย่างมันเป็นไปเพื่อประกอบความทุกข์ให้กับเรา
การรักษาศีล ถ้าเรามีความเห็นไม่ถูกต้องก็เป็นไปเพื่อประกอบความทุกข์
การทำสมาธิถ้าเรามีความเห็นไม่ถูกต้องก็เป็นไปเพื่อประกอบความทุกข์
การเจริญปัญญาถ้าเรามีความเห็นไม่ถูกต้องก็เป็นไปเพื่อประกอบความทุกข์
การทำงานทุกอย่างถ้าเรามีความเห็นไม่ถูกต้องก็เป็นไปเพื่อประกอบความทุกข์
การเรียนหนังสือและเรามีความเห็นไม่ถูกต้องก็เป็นไปเพื่อประกอบความทุกข์
พระพุทธศาสนาเป็นสัมมาทิฏฐิความคิดความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องแล้วปฏิ
บัติถูกต้อง เบื้องต้นต้องพากันรู้อริยสัจ ๔ การรักษาศีลให้ทุกๆ
คนพากันเข้าใจต้องประกอบด้วยปัญญา การทำสมาธิต้องประกอบด้วยปัญญา
การเจริญปัญญามีความเห็นถูกต้องถูกต้อง เพราะปัญญาของเราทุกคนมันมี ๒
อย่างคืออย่างที่ ๑ เป็นไปเพื่อตัวเพื่อตนเพื่อประกอบความทุกข์ อย่างที่ ๒
เป็นไปเพื่อความถูกต้องเป็นธรรมะเป็นปัญญาที่หยุดความทุกข์
ปัญญานี้ต้องเป็นปัญญารู้เรื่องอริยสัจ ๔
รู้เรื่องทุกข์หรือเหตุเกิดทุกข์รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์
การดำรงชีวิตของเราถึงดำเนินไปด้วยศีลสมาธิปัญญา
แห่งการดำรงชีพดำรงชีวิตดำรงธาตุดำรงขันธ์ดำรงอายตนะ
ศีลนี้เป็นการหยุดเป็นการยกเลิกไม่ผลิตผลผลิต ศีลนี้ถึงเริ่มต้นหยุดตรึกในกาม
หยุดตรึกในพยาบาท
พระพุทธเจ้าท่านให้เราเข้าใจความหมายของคำว่าศีล
เพราะใจของเราทุกคนมันคิดได้ทีละอย่าง
เราจะเอาความคิดที่ตรึกในกามตรึกในพยาบาท มันเป็นสิ่งที่ประกอบความทุกข์
ศีลถึงจะเป็นสิ่งยกเลิก จะหยุดโรงงานการผลิตในการเวียนว่ายตายเกิด
ทุกคนต้องเข้าใจในเรื่องศีล จะได้สมาทานจะได้ตั้งใจ
ศีลนี้เอาไปใช้งานได้หลายอย่าง เอาไปใช้เพื่อตัวเพื่อตนก็ได้
อย่างแบรนด์เนมที่เป็นบรรพชิตเป็นนักบวช
ก็สามารถที่จะเอาไปใช้ทำมาหาเลี้ยงที่อาศัยพระศาสนาหาอยู่หาฉัน
ไม่ได้มุ่งมรรคผลนิพพาน เป็นเพียงอาศัยพระศาสนาประกอบอาชีพ
อย่างแบรนด์เนมข้าราชการนักการเมืองก็ทำมาหาเลี้ยงชีพ
โดยเอาแบรนด์เนมนั้นๆ หาเลี้ยงชีพที่ ที่เป็นนักการเมืองข้าราชการสีดำสีเทา
เพราะศีลนั้นยังไม่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องแล้วป
ฏิบัติถูกต้อง เพราะสมาธินั้นไม่ใช่สัมมาสมาธิ มันเป็นไปทางโลกธรรม
ทางโลกทางโลกีย์ ทางตัวทางตน ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง
3
ศีลนี้แหละจะเป็นการหยุดยกเลิกโรงงานในการผลิตภพผลิตชาติ
พระพุทธเจ้าท่านได้บำเพ็ญพุทธบารมีท่านมีพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ
และพระมหากรุณาธิคุณ มาบอกมาสอนพวกเรา
พวกเราต้องพากันทำเองพากันปฏิบัติ เน้นที่ตัวของเราเอง
เพราะว่ามันเป็นเรื่องของเรา ไม่เกี่ยวกับคนอื่น
ให้พวกเราพากันมีศรัทธาพากันมีปัญญา
เพราะอันนี้เป็นความสุขเป็นความดับทุกข์ที่พระพุทธเจ้าได้พระบัญญัติพระวินั
ยสิกขาบทน้อยใหญ่ ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่มีมาในพระวินัยปิฎก
ที่มีมาในภิกขุปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ
พระพุทธเจ้าเพิ่งมาบัญญัติในภายหลังเมื่อผู้มาบวชพากันทำความผิด
พระพุทธเจ้าบอกให้เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องพากันปฏิบัติถูกต้อง
เอาอย่างพระพุทธเจ้า เน้นที่เราที่ตัวเรา ให้เราทุกคนพากันรู้ปัญหา
ปัญหาอยู่ที่เราไม่รู้ทุกข์ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ไม่รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์
ทุกท่านทุกคนไม่ต้องพากันวิตกกังวล ไม่ต้องพากันปลิโพธ
พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
เราไปเข้าใจว่าคนทั้งโลกไม่พากันประพฤติปฏิบัติเลย
คนเราจะปฏิบัติแค่เราคนเดียว มันจะถูกต้องเหรอ
การประพฤติการปฏิบัติมันเรื่องของเราคนเดียว
ที่มีสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าที่พากันมาบวชในพระศาสนามากมายก่ายกองห
ลายหมื่นหลายแสน ก็มีจุดประสงค์อย่างเดียวกันกับเรา
หลายคนก็ทำอย่างเดียวกับเรา มันถึงมีหลายร้อยหลายพันหลายหมื่นหลายแสน
แต่ละท่านท่านก็มุ่งตัวท่านเพียงรูปเดียว
ทุกวันนี้น่ะผู้ที่มาบวชส่วนใหญ่เขายังไม่เข้าใจในการประพฤติการปฏิบัติ
เราก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของเขา เรื่องของเราก็มาแก้ที่ตัวเรา มาปฏิบัติที่ตัวเรา
เราก็เอาพระพุทธเจ้าเจ้าเป็นตัวอย่างเป็นแบบอย่าง
ถ้าเราทำตามพระพุทธเจ้าทุกคนก็ได้พากันบรรลุธรรมหมด
ไม่มีใครไม่บรรลุหรอก
นอกจากคนนั้นระบบสมองเสียเป็นคนบ้าเป็นคนวิกลจริต
ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของสดเป็นของใหม่เป็นธรรมเป็นเรื่องปัจจุบันธรร
ม เป็นสิ่งที่ทันสมัย
เหมาะสำหรับคนยุคใหม่ที่พากันก้าวไปด้วยสัมมาทิฏฐิที่มีความเห็นถูกต้องเข้า
ใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง เราอย่าไปคิดว่า โอ้…ปฏิบัติธรรมอย่างนี้น่ะ
จะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร ปฏิบัติธรรมนี้น่ะ เราจะอยู่ได้อย่างมีความสุข
เพราะในโลกต้องการท่านผู้ไม่มีสักกายะทิฏฐิ ที่ไม่มีตัวไม่มีตน
อยู่ในประเทศไหนอยู่สังคมใด โลกนี้ก็ต้องการ
พวกถือระบบประชาธิปไตยก็ต้องการ พวกถือระบบคอมมิวนิสต์ก็ต้องการ
ทุกสถาบันก็ต้องการหมด เพราะการทำอย่างนี้การพัฒนาอย่างนี้
จะเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐจนเป็นพระอริยเจ้า
เพราะเป็นการพัฒนาทักษะทางจิตใจทั้งคุณธรรม
พัฒนาวัตถุวิทยาศาสตร์ให้มันเจริญทางจิตใจทางวัตถุไปพร้อมๆ กัน
เราทุกคนต้องพากันเข้าใจความจริง เราถึงจะได้รู้ข้อสอบและข้อตอบ
เพราะผัสสะในชีวิตประจำวันมันเป็นข้อสอบให้เราพากันรู้จัก
เราจะได้พากันรู้สิ่งที่มากระทบสู่พระไตรลักษณ์ ถ้าไม่รู้ข้อสอบข้อตอบ
เราก็จะปล่อยให้ความหลงมันทำงานไปเรื่อย เราเข้าใจเรื่องศีลแล้ว
ต้องเข้าใจเรื่องของสมาธิคือการพักผ่อนสมอง เพื่อให้ความปรุงแต่งน้อยลง
ร่างกายของเราก็จะมีบ้านมีที่พักผ่อนมีที่นอนมีที่อยู่อาศัย
ใจของเราทุกคนต้องมีที่พักผ่อนเช่นเดียวกัน อะไรเป็นใจน่ะ
ตัวผู้รู้นี่แหละเป็นใจ
ผู้ที่ไม่รู้อริยสัจ ๔ ผู้ที่เวียนว่ายไปเกิดเอาความหลงเป็นที่ตั้ง
เอาความรู้สึกเป็นที่ตั้ง ให้เราพากันเข้าใจให้ง่ายๆ เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าคือใจ
ถ้าเราเอาความรู้สึกที่เป็นเราเป็นของเราน่ะ ที่มันแก่มันเจ็บมันตาย
มันพลัดพราก
ความรู้สึกนั้นก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกเราทั้งหลายพากันเวียนว่ายตายเกิด
ความรู้ความเข้าใจที่มันครองธาตุครองขันธ์ครองอายตนะที่มันเป็นสังขารที่มัน
ปรุงแต่ง ที่มันเป็นสังขารที่มีใจครอง
พระพุทธเจ้าบอกว่าอันนี้มันเป็นความหลง
มันทำให้เราทุกคนพากันเวียนว่ายตายเกิด
ท่านบอกว่าทำตามความรู้สึกนึกคิดนี้ไม่ได้ เพราะนี้มันคือการเวียนว่ายตายเกิด
มันเป็นความหลง พระพุทธเจ้าถึงได้บอกพวกเรา ทางออกเป็นสิ่งที่มีอยู่
ทางออกนั้นได้แก่สัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง
ที่เป็นศีลน่ะ ศีลนี้ก็คือยกเลิกการเวียนว่ายตายเกิด
สัมมาสมาธิคือยกเลิกการเวียนว่ายตายเกิด
เราต้องมีบ้านพักของใจคือสมาธิ สมาธิธรรมดานี่คือสมาธิที่มีอยู่ทุกๆ
ศาสนา สัมมาสมาธิมีอยู่ในศาสนาพุทธ เมื่อใจของเราไม่มีที่พัก
พระพุทธเจ้าได้บอกเราว่าให้มาพักกับลมหายใจดีที่สุด
ลมหายใจมันไม่เป็นวัตถุที่ตั้งอยู่ในความกำหนัดยินดี
เพราะดินนั้นคือธาตุบริสุทธิ์ น้ำนั้นคือธาตุบริสุทธิ์
ลมไฟเป็นสิ่งที่คือธาตุบริสุทธิ์ เพราะลมหายใจออกหายใจเข้า
หรือว่าดินน้ำลมไฟมันอยู่กับเราทุกหนทุกแห่ง
ถ้าเอามาไว้กับลมมันจะดีมันจะง่าย
พระพุทธเจ้าสอนเราว่าให้เราทำอานาปานสติได้ทุกอิริยาบถ
อยู่ที่ทุกหนทุกแห่งที่เราอยู่ ให้เราหายใจเข้ายาวๆ ลึกๆ ให้เต็มอิ่มเต็มที่
ให้เราหายใจออกยาวๆ จะมีความสุขอย่างเต็มที่
อย่างนี้จนกว่าสติสัมปชัญญะของเราจะกลับมาชัดเจน
เมื่อสติสัมปชัญญะมันสมบูรณ์เต็มที่ เราค่อยปล่อยให้เป็นธรรมชาติ
หายใจเข้าก็รู้หายใจออกก็รู้ เพื่อให้ใจของเราได้อยู่กับลมเข้าลมออก
สมองเราจะได้หยุด สมองเราจะได้ไม่สับสน
อย่างฆราวาสที่มีงานเยอะมีภาระเยอะ
น่าจะพักผ่อนอยู่ในสมาธิที่ใจมันพักมันนิ่งและสิ่งภายนอกได้
วันหนึ่งสักครึ่งชั่วโมงก็ยังดี เวลาเช้าๆ ครึ่งชั่วโมง
หรือเวลาก่อนนอนสักครึ่งชั่วโมงน่าจะดี
ให้ใจเราพักผ่อนอยู่ในระดับอัปปนาสมาธินั้นดี
สมาธิคือการพักผ่อนสมองเป็นการซ่อมแซมสมอง
สำหรับนักบวชน่าจะเข้าสมาธิระดับอัปปนาสมาธิวันละ ๒ ครั้งเช้าเย็นครั้งละ
๑ ชั่วโมง สำหรับการนอนของคฤหัสถ์น่าจะนอนหลับคืนนึง ๖ ชั่วโมงถึง ๘
ชั่วโมง ถ้าใครนอนหลับลึกได้ ๖ ชั่วโมงก็เพียงพอ
ผู้ที่นอนยากหลับไม่ลึกก็ไม่เกิน ๘ ชั่วโมง
ถ้าเราฝึกสมาธิฝึกมีความสุขในการทำงานที่เราได้พัฒนาใจพัฒนาวัตถุไปพร้อม
ๆ กัน เพราะเรามีสัมมาทิฏฐิมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง
การดำเนินชีวิตของเรามันจะเป็นไปเพื่อไม่ประกอบทุกข์
ความเครียดจะลดน้อยลงตามลำดับ เพราะความกดดันมันหายเจือจางลงไป
ใจของเราลดระดับลง เหมือนเครื่องบินที่อยู่บนฟ้าลงสู่รันเวย์
เราผู้ที่ทำสมาธิ
ต้องมีสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง
เราทำสมาธิเพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัย ไม่หวังอะไรตอบแทน
ถ้าเราหวังอะไรตอบแทนการทำสมาธิของเราก็จะเป็นไปเพื่อโลกธรรม
การที่เราทำสมาธิเพื่อตัวเพื่อตน มันจะเข้าสมาธิไม่ได้ทุกครั้ง
เพราะสมาธินั้นมันเป็นเพียงที่เราเอาหินทับหญ้า มันเป็นเพียงโลกียะ
เป็นโรคที่ตัวตนครอบงำจิตใจเฉยๆ การทำสมาธินั้นจะทำให้เราเครียด
ทางที่ดีทางที่ถูกต้องเราไม่ต้องไปทำอะไร เราทำสมาธิเพื่อทำเหตุทำปัจจัย
เพื่อพักผ่อนสมองของเรา เราอย่าไปต้องการความสงบ
เราทุกคนถ้าต้องการพักผ่อนสมอง ก็หายใจเข้าสบายหายใจออกสบาย
มันก็สลบอยู่แล้ว เพราะความสงบเป็นสิ่งที่มีอยู่ ความดับทุกข์เป็นสิ่งที่มีอยู่
ความไม่วุ่นวายเป็นสิ่งที่มีอยู่ การที่ยกเลิกความปรุงแต่งเป็นสิ่งที่มีอยู่
เพียงแต่เราสร้างเหตุสร้างปัจจัย ความพร้อมอย่างนี้ก็จะสงบทุกครั้ง
เพราะลมหายใจเข้าหายใจออกเป็นสิ่งที่คอนโทรลของเราทุกคน
ให้ทุกคนพากันมีสติมีปัญญา เราปฏิบัติธรรมเพื่อจะมายกเลิกตัวยกเลิกตน
ไม่ใช่จะมาเอาอะไร เพราะทุกสิ่งทุกอย่างนั้นก็ไม่มีอะไรอยู่แล้ว
ทุกอย่างมันผ่านไป ศีลกับสมาธิกับปัญญามันต้องไปพร้อมๆ กัน
เราอาศัยลมหายใจควบคุมความฟุ้งซ่านของเราทุกคน เมื่อเราจะหยุดสมอง
สมองเราใช้ลมหายใจนี่แหละเป็นบ้านไว้พักผ่อน
เหมือนเราเดินทางตอนกลางวันตอนแดดร้อน
มีต้นไม้ใหญ่อยู่ข้างทางมีใบหนาเขียวชอุ่มเย็นเป็นแอร์ condition
การที่เรารู้จักทำใจให้เป็นสมาธิ เราก็ต้องพักผ่อนอยู่ที่ร่มไม้ใหญ่ที่มันเย็นๆ
นั่นแหละ ให้แดดมันอ่อนก่อนแล้วค่อยเดินทางต่อไป เราอย่าไปติดความสุข
เดี๋ยวเราจะเดินไม่ถึงจุดหมายปลายทาง เพราะสมาธิมันเป็นความสุข
สมาธิมันไม่อยากภาวนา
ภาวนาทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏทางตาหูจมูกลิ้นกายใจสู่พระไตรลักษณ์
เราก็ต้องอาศัยต้นไม้ระหว่างทางในการเดินทาง
การทำสมาธิตอนเช้าตอนเย็นก็เปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่
เพื่อที่จะพักอาศัยระหว่างทาง
ให้ทุกท่านทุกคนพากันเข้าใจเราต้องควบคุมตัวเองด้วยอานาปานสติ
สมาธิยังเอาไปใช้วิปัสสนาได้ให้เกิดปัญญาว่า
ลมหายใจเข้าก็ไม่เที่ยงลมหายใจออกก็ไม่เที่ยง มันเปลี่ยนแปลงทุกลมหายใจ
ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ทุกอย่างไม่ใช่นิติบุคคลไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
ไม่ใช่เอาแต่ความสงบอย่างเดียว ต้องเอาปัญญาด้วย
ปัญญาอย่างนี้เรียกว่าใจเราตั้งอยู่ในอุปจารสมาธิ
ศีลสมาธิกับปัญญาแยกกันไม่ได้ ถ้าศีลกับสมาธิกับปัญญามันแยกกัน
มันจะไม่เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘
ต้องเป็นศีลสมาธิปัญญาเสมอกันไปพร้อมกันในปัจจุบัน
ถ้าศีลสมาธิปัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งแยกกันคือความเสื่อม
การที่เราไม่รู้เรื่องวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ เราไม่เอื้อเฟื้อ
ความไม่เอื้อเฟื้อคือตัวตนเป็นที่ตั้ง ความเสื่อมก็จะเกิดแก่เรา
ที่มันจะเริ่มต้นจากเข้าไปตรึกในกามเข้าไปตรึกในพยาบาท
เพราะกามพยาบาทมันเป็นของอร่อยนั้น
แสดงถึงศีลสมาธิปัญญาที่มันจะเป็นนิติบุคคลตัวตน
มันจะเสื่อมเหมือนก้อนน้ำแข็งที่เอาออกมาวางไว้กลางแจ้ง แล้วจะละลาย
เราจะเห็นสำนักปฏิบัติบางแห่ง เน้นแต่เรื่องศีล
แต่ไม่เอาสมาธิไม่เอาปัญญา เอาแต่ศีลอย่างเดียว
ไม่กระตือรือร้นในการฝึกสมาธิ คิดว่ารักษาศีลจะได้บุญได้กุศล จะไม่ตกนรก
ศีลจะไปสู่นิพพาน ไม่เน้นเรื่องปัจจุบัน เน้นชาติหน้าชาติโน้น
คิดว่าชาตินี้ตัวเราปฏิบัติไม่ได้แล้ว บำเพ็ญบารมีไปก่อน ค่อยเป็นค่อยไป
พยายามรักษาศีลให้ดี บางสำนักคิดว่า ศีลเล็กๆ น้อยๆ ไม่เอา เอาเรื่องจิตเรื่องใจ
เน้นเรื่องสมาธิ เพราะสมาธิเป็นสิ่งที่สูงกว่าศีล เลยไปทิ้งเรื่องศีลเป็นส่วนใหญ่
ศีลเล็กๆ น้อยๆ นี้ไม่รักษ าเลยเอาแต่เรื่องสมาธิ เอาแต่เรื่องจิตเรื่องใจ
พยายามทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น รับกิจนิมนต์ต่างๆ
ไม่เน้นเหมือนครั้งพุทธกาลที่เน้นเอามรรคเอาผลเอานิพพาน
เมื่อพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ต่างๆ แทบจะไม่รักษาอะไร
มีแต่แบรนด์เนมเป็นพระก็คือปลงผมนุ่งห่มผ้าเหลืองรับกิจนิมนต์อย่างเดียว
การที่เราทิ้งศีลทิ้งวินัยทิ้งสิกขาบทน้อยใหญ่ที่เรารู้แล้ว เราไม่ได้ปฏิบัติ
จิตใจของเรามันเศร้าหมอง
เพราะศีลนั้นเป็นพื้นเป็นฐานที่จะให้เป็นที่ตั้งแห่งสัมมาสมาธิ
เพราะมันไม่มีที่ตั้ง เราจะสร้างบ้านสร้างเมืองก็ต้องมีสถานที่
มันเลยเป็นการปฏิบัติที่ผิดพลาด เป็นสมาธิมันก็เป็นเพียงหินทับหญ้า
ความคิดนี้เป็นประชาธิปไตยส่วนใหญ่ พากันทิ้งศีลทิ้งข้อวัตรกิจวัตร
เอาแต่เรื่องจิตเรื่องใจ ก็เป็นไปไม่ได้
เพราะศีลสมาธิปัญญาคืออันหนึ่งอันเดียวกัน ถึงเป็นอริยมรรคมีองค์ ๘
จิตใจของเราทุกคนที่เป็นสามัญชน มันไหลลงไปที่ต่ำอยู่แล้ว
ถ้าไม่เอาศีลไม่เอาข้อวัตรข้อปฏิบัติ มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ที่จะเกิดผล
เพราะเรายกเลิกมรรคยกเลิกผล
อันไหนเป็นศาสนาพุทธที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้นก็ไม่ได้
เป็นได้แต่นักจิตวิทยานักปรัชญา เพราะว่ามันขาดพื้นฐานคือศีล
เพราะเราไปยกเลิกเรื่องศีล
ศีลสมาธิปัญญาเราก็ต้องพากันประพฤติปฏิบัติอย่างละเอียด
เราจะไปแยกกันอันใดอันหนึ่งก็ไม่ได้
พระพุทธเจ้าก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ตรัสบอกว่า "อานนท์!
เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว เธอทั้งหลายอาจจะคิดว่า
บัดนี้พวกเธอไม่มีศาสดาแล้วจะพึงว้าเหว่ไร้ที่พึ่ง อานนท์เอย!
พึงประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้วบัญญัติแล้ว
ขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป
เธอทั้งหลายจงมีธรรมวินัยเป็นที่พึ่ง อย่าได้มีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย"
"อานนท์! อีกอย่างหนึ่ง
คือสิกขาบัญญัติที่เราได้บัญญัติไว้เพื่อภิกษุทั้งหลายจะได้อยู่ด้วยกันอย่างผาสุก
ไม่กินแหนงแคลงใจกัน มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอกัน
สิกขาบทบัญญัติเหล่านั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
สงฆ์พร้อมใจกันจะถอนสิกขาบทเล็กน้อย ซึ่งขัดกับกาลกับสมัยเสียบ้างก็ได้
กาลเวลาล่วงไปสมัยเปลี่ยนไป
จะเป็นความลำบากในการปฏิบัติสิกขาบทที่ไม่เหมาะสมัยเช่นนั้น
เราอนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้” เมื่อพระอานนท์มิได้ทูลถามอะไร
พระธรรมราชาจึงตรัสต่อไปว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้
ผู้ใดมีความสงสัยเรื่องพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ในมรรคหรือปฏิปทาใดๆ ก็จงถามเสียบัดนี้
เธอทั้งหลายจะได้ไม่เสียใจภายหลังว่า มาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาแล้ว
มิได้ถามข้อสงสัยแห่งตน" เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้
ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนั้นอีก
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคตรัสเช่นเดิมว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
ผู้มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ผู้ใดมีความสงสัยเรื่องพระพุทธเจ้า พระธรรม
1พระสงฆ์ ในมรรคหรือปฏิปทาใดๆ ก็จงถามเสียบัดนี้
เธอทั้งหลายจะได้ไม่เสียใจภายหลังว่า มาอยู่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาแล้ว
มิได้ถามข้อสงสัยแห่งตน"
แม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลายถ้าเธอทั้งหลายไม่กล้าถามเพราะความเคารพในศาสดา
ก็ขอให้ภิกษุผู้เป็นเพื่อนบอก (ความสงสัย) แก่ภิกษุผู้เป็นเพื่อนให้ (ถาม) ก็ได้๓
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ภิกษุเหล่านั้นได้นิ่งเงียบ
ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง
ไม่เคยปรากฏ ข้าพระองค์เลื่อมใสในภิกษุสงฆ์อย่างนี้ว่า
แม้ภิกษุเพียงรูปเดียวก็ไม่มีความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทา”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เธอกล่าวเพราะความเลื่อมใส
แต่ตถาคตมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ดีว่า ในภิกษุสงฆ์นั้น
แม้ภิกษุเพียงรูปเดียวก็ไม่มีความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในปฏิปทาในจำนวนภิกษุ ๕๐๐ รูป
ภิกษุผู้มีคุณธรรมขั้นต่ำสุด เป็นพระโสดาบัน๔ ไม่มีทางตกต่ำ
มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ๕ ในวันข้างหน้า
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลายบัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลาย
สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลาย
จงทำหน้าที่ให้สําเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด๖”
นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต
จะเห็นได้ว่า ความมั่นคงของศาสนานั้นคือศีลสมาธิปัญญา ถ้า ๓
อย่างนี้ย่อหย่อนอ่อนแอความมั่นคงของพระศาสนาย่อมไม่มีความมั่นคง
แต่โบราณมาท่านถือว่าพระวินัยนั้นมีความสำคัญอันดับต้นในการทำให้พระพุ
ทธศาสนาแพร่หลายขยายตัวได้อย่างรวดเร็วและมั่นคงดำรงอยู่ได้ดังเช่น
สังคมของสงฆ์ในสมัยพุทธกาลมีความแข็งแกร่งและยืนหยัดอยู่ได้อย่างอาจหา
ญ เป็นที่เกรงขามกันทั่วไป
แม้จะอยู่ในท่ามกลางเจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงจำนวนมากก็ตาม
ทั้งนี้เพราะอาศัยรากฐานสำคัญคือพระวินัย
สังคมสงฆ์ในครั้งนั้นส่วนใหญ่เป็นสังคมแห่งพระอริยสงฆ์ซึ่งมีวัตรปฏิบัติที่งด
งาม นำมาซึ่งความศรัทธาเลื่อมใสของประชุมชนทั่วไป
อนึ่ง แม้ในการประชุมพระอริยสงฆ์จำนวน ๕๐๐
องค์คราวทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก
พระมหากัสสปสังฆวุฒาจารย์ผู้เป็นประธานที่ประชุมได้ถามพระอรหันต์ทั้งนั้
นว่าจะสังคายนาอะไรก่อน
ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้สังคายนาพระวินัยก่อน ด้วยเหตุผลว่า
“วินโย นาม พุทฺธสาสนสฺส อายุ, วินเย ฐิเต พุทฺธสาสนํ ฐิตํ โหติ ฯ
อันพระวินัยจัดเป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยดำรงอยู่
พระพุทธศาสนาก็ดำรงอยู่ด้วย”
แสดงว่าท่านให้ความสำคัญแก่พระวินัยในกาลต่อมาจึงมีคำกล่าวว่า
“พระวินัยเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา”
พระมหาเถระอริยบุคคลสมัยต้นให้ความสำคัญแก่พระวินัยอย่างสูงสุด
เท่ากับเป็นอายุและเป็นชีวิตของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยยังดำรงอยู่
พระพุทธศาสนาก็จะยังดำรงอยู่ เหมือนต้นไม้ดำรงอยู่ได้ด้วยรากแก้ว
พระวินัยก็เป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนาซึ่งจะประคองให้พระพุทธศาสนา
ดำรงอยู่ได้นาน
อนึ่ง
พระวินัยเป็นบาทฐานคือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปตา
มลำดับ ดังเช่นที่ตรัสไว้ในจูฬสงคราม คัมภีร์บริวาร ว่า
“วินัยมีเพื่อความสำรวม (สังวร)
ความสำรวมมีเพื่อความไม่เดือดร้อนใจ (อวิปปฏิสาร)
ความไม่เดือดร้อนใจมีเพื่อความปราโมทย์ (ปาโมชชะ)
ความปราโมทย์มีเพื่อความอิ่มใจ (ปีติ) ความอิ่มใจมีเพื่อความสงบใจ
(ปัสสัทธิ)
ความสงบใจมีเพื่อความสบายใจ (สุข) ความสุขมีเพื่อความตั้งใจมั่น (สมาธิ)
ความตั้งใจมั่นมีความรู้เห็นตามเป็นจริง (ยถาภูตญาณทัสสนะ)
ความรู้เห็นตามเป็นจริงมีเพื่อความเบื่อหน่าย (นิพพิทา)
ความเบื่อหน่ายมีเพื่อความสำรอกกิเลส (วิราคะ)
ความสำรอกกิเลสมีเพื่อความหลุดพ้น (วิมุตติ)
ความหลุดพ้นมีเพื่อประโยชน์แก่ความรู้เห็นว่าหลุดพ้น (วิมุตติญาณทัสสนะ)
ความรู้เห็นว่าหลุดพ้นมีเพื่อความดับสนิทหาเชื้อมิได้ (อนุปาทาปรินิพพาน)”
แสดงว่า พระวินัยเป็นต้นเค้าให้ไต่เต้าสูงขึ้นไปจนถึงความดับสนิทหา
เชื้อมิได้ ซึ่งแปลความได้ว่าถ้าไม่มีพระวินัยเป็นต้นเค้า ก็ย่อมไม่มีความสำรวม
เมื่อไม่สำรวมก็เดือดร้อนใจ ฯลฯ เมื่อไม่รู้เห็นความหลุดพ้น
ก็ไม่มีความดับสนิทหาเชื้อมิได้
หลักสำคัญที่จะต้องยึดไว้ให้มั่นคงก็คือ คารวธรรม "ภิกษุทั้งหลาย!
ผู้เคารพหนักแน่นในพระศาสดา ในพระธรรม มีความยำเกรงในสงฆ์
มีความเคารพหนักแน่นในสมาธิ มีความเพียรเครื่องเผาบาป
และเคารพในไตรสิกขา และเคารพในปฏิสันถารการต้อนรับอาคันตุกะ
ผู้เช่นนั้นย่อมไม่เสื่อม ดำรงตนอยู่ใกล้พระนิพพาน"
เมื่อเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่า คนในโลกนี้มีหลายพันล้านคน สิ่งของ
เหตุการณ์ การงานในโลกนี้มีหลายแสนหลายล้านอย่าง
แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนให้เราสนใจอย่างจริงจัง ๖ อย่าง ดังนั้น
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษา ความไม่ประมาท และการต้อนรับ ทั้ง
๖ ประการนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวัน ใกล้พระนครกิมมิลา
ครั้งนั้น ท่านพระกิมมิละได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน
ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกิมมิละ
เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ในสิกขา
(การศึกษา) ในความไม่ประมาท ในปฏิสันถาร ดูก่อนกิมมิละ
นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน
ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
พระกิมมิละกราบทูลถามต่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไร
เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน
ในเมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว
พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ดูก่อนกิมมิละ พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา
ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในความไม่ประมาท ในการปฏิสันถาร
ดูก่อนกิมมิละ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน
ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว
จากเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่า
พระพุทธศาสนาหรือพระสัทธรรมจะสามารถดำรงอยู่ได้นานหรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับพุทธสาวกว่า มีความเคารพใน ๖ ประการข้างต้นหรือไม่เพียงใด
จึงเป็นสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาแล้วนำไปปฏิบัติกันให้ดี
สิ่งที่ควรเคารพทั้ง ๖ ประการนี้ เป็นแกนหลักของความเคารพทุกอย่าง
เมื่อเราสามารถตรองจนตระหนักถึงคุณของสิ่งที่ควรเคารพอย่างยิ่ง ทั้ง ๖
ประการนี้แล้ว ต่อไปเราก็จะสามารถตรองถึงความดีของสิ่งอื่นๆ
ได้ชัดเจนและละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น กลายเป็นผู้รู้จริงและทำได้จริงผู้หนึ่ง
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee