แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง มนุษย์ที่สมบูรณ์ ตอนที่ ๙๘ ผู้ที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องแล้วปฏิบัติให้ถูกต้อง
เพราะทุกอย่างนั้นคือเหตุคือปัจจัย เพราะสิ่งนี้มีสิ่งต่อไปถึงมี
เราทุกคนจะเอาความรู้สึกนี้เป็นเราไม่ได้ เพราะนี้มันคือสภาวะธรรม
นี้คือผัสสะแล้วก็จะเกิดอารมณ์สุขทุกข์ เราอย่าพากันหลงผัสสะ
เราทุกคนต้องหยุดผัสสะ
ด้วยมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องแล้วปฏิบัติให้ถูกต้อง
มันเป็นข้อสอบมันเป็นข้อตอบที่เราทุกคนจะต้องประพฤติจะต้องปฏิบัติใ
นปัจจุบัน ใจของเราจะได้มีพุทธะ ทุกท่านทุกคนต้องมีสติมีสัมปชัญญะ
ให้พากันประพฤติพากันปฏิบัติในปัจจุบันในชีวิตประจำวัน
วันหนึ่งคืนหนึ่งนั้น ๒๔ ชั่วโมง เราจะไปอยู่ที่ไหน
สำหรับประชาชนทุกคนพากันนอนหลับอย่างน้อยวันละ 6
ชั่วโมงอย่างมาก ๘ ชั่วโมงก็เพียงพอ เราอย่าพากันคอรัปชั่นเวลานอน
สิ่งที่เป็นอดีตเราต้องลบออกจากใจของเราให้หมด
สิ่งที่เป็นอนาคตไม่ต้องกังวล อยู่กับปัจจุบัน
ปัจจุบันเป็นอย่างไรอนาคตก็เป็นอย่างนั้น
เพราะปัจจุบันเป็นพื้นฐานของอนาคต
อานาปานสติทุกท่านทุกคนต้องเอามาทำงานเอามาใช้งาน
หายใจเข้าสบายหายใจออกสบาย
หายใจเข้ามีความสุขหายใจออกมีความสุข สำหรับเราตื่นขึ้นมาใหม่ๆ
เพราะเวลาเรานอนหลับสำหรับสามัญชน สติในช่วงนั้นยังไม่สมบูรณ์
เราตื่นขึ้นมาเราต้องเจริญสติสัมปชัญญะ โดยอานาปานสติ
หายใจเข้าให้ชัดเจนหายใจออกให้ชัดเจน หายใจเข้าออกยาวๆ ลึกๆ
มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ทิ้งอดีตทิ้งอนาคตอยู่กับปัจจุบัน ยกเลิกตัวตน
เพราะตัวตนของเราที่แท้จริงไม่มี เป็นเพียงสภาวะธรรม
เป็นเพียงเหตุเป็นเพียงปัจจัย
เพราะใจของเราทุกคนมันสับสนเรื่องอดีตที่มันเป็นกรรมเก่าที่มันเกิดจากผั
สสะเกิดจากสิ่งที่ผ่านมา พระพุทธเจ้าให้ทุกคนฝึกใจของเรา
ละอดีตให้เป็นเลขศูนย์ โดยศีลคือความหยุด ก็คือหยุดตรึกในสิ่งที่ผ่านมา
ศีลนี้คือความหยุดคือยกเลิกกรรมเก่าที่ผ่านมา
สมาธิคือความตั้งมั่นด้วยการมีสติสัมปชัญญะ
ที่ละอดีตที่ละอนาคตอยู่กับปัจจุบัน
ที่เรากำลังยกเลิกความเป็นตัวความเป็นตน เพราะศีลนั้นคือความหยุด
สมองของเราทุกคนจะได้ไม่สับสน
สมาธิเป็นการหยุดให้สมองเราไม่สับสน เรามีตัวมีตนสมองเรามันเลยสับ
อานาปานสตินี้มันช่วยเราได้นะ อานาปานสตินี้ที่มีอยู่กับเราทุกๆ คน
เราไปไหนก็ต้องมีลมหายใจไปด้วย
ลมหายใจเป็นสิ่งที่คอนโทรลตัวตนเราเพื่อให้หยุดฟุ้งซ่านนะ
เราต้องเอาอานาปานสติมาใช้ทุกๆ อิริยาบถ ไม่ใช่เฉพาะการนั่งสมาธินะ
เพราะการใช้ลมหายใจให้อยู่กับเราทุกๆ อิริยาบถ
การเข้าถึงธรรมเข้าถึงปัจจุบันธรรม เราต้องใช้อานาปานสติ
ชีวิตที่เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่ต้องมีสัมมาทิฏ
ฐิเพื่อเราทุกคนจะได้มีสติมีสัมปชัญญะสมบูรณ์
เพราะตัวตนของเราทุกคนมันมีมาก พลัง Power แห่งความหลงมันแรง
เพราะใจของเราทุกคนมันคิดได้ทีละอย่าง
เมื่อเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง
ใจของเราอยู่กับอานาปานสติ สมองเราก็จะหยุดสับสนน้อยลงไป
กำลังสติกำลังสัมปชัญญะก็จะมีมากขึ้น แต่ละคนสมองมันสับสนนะ
เต็มไปด้วยความปรุงแต่ง
การประพฤติการปฏิบัติของเราต้องเป็นธรรมเป็นปัจจุบันธรรมเราจะได้พั
ฒนาใจของเราให้มันถูกต้อง พัฒนาหลักเหตุหลักผลให้มันถูกต้อง
เราจะได้พัฒนาทั้งใจทั้งวัตถุให้เป็นทางสายกลางไปพร้อมๆ กัน
เป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าเราอยู่แต่กับอดีตมันไม่ได้
อดีตมันจะดีจะชั่วก็เป็นเพียงบทเรียนบทศึกษา ทุกๆ
ท่านทุกคนต้องกลับมาหาปัจจุบัน
ที่ทุกคนต้องเสียสละความเป็นนิติบุคคลเป็นตัวเป็นตน
ศีลเป็นสิ่งที่หยุดสมาธิเป็นสิ่งที่หยุดปัญญาเป็นสิ่งที่หยุด
ไม่เอาความหลงเป็นการดำเนินชีวิต เราจะได้แก้ปัญหาทางจิตใจของเรา
เราจะได้แก้ปัญหาทางวัตถุที่เราจะต้องอำนวยความสะดวกสบาย
ทุกอย่างจะได้มีแต่คนมีแต่ประโยชน์ในการดำรงชีวิต มันจะเป็น Soft
Power ที่ทรงคุณค่า
ทุกท่านทุกคนต้องพากันมาแก้ที่ตัวเอง ไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่นเลย
ทุกคนมีความเห็นผิดมีความเข้าใจผิดเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง มันไม่ถูกต้อง
มันไม่เป็นธรรมไม่เป็นความยุติธรรม
การดำรงชีวิตมันเป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์
ถ้าเราไม่รู้จักเหตุไม่รู้จักปัจจัยในเรื่องจิตใจในเรื่องวัตถุ
ความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องมันเป็นประโยชน์สูงสุดนะ
ที่เราเอาความถูกต้องเป็นหลัก ให้ทุกคนพากันเข้าใจ
เวลาเราตื่นขึ้นที่เราอยู่ปัจจุบัน
ต้องมีสติมีสัมปชัญญะเอาความถูกต้องเป็นหลัก
เพราะอิทธิพลของผัสสะที่มันกระทบเรานี้มันแรง
เปรียบเสมือนแม่เหล็กใหญ่ๆ มันดูดกัน
เราไม่มีสติสัมปชัญญะมันเอาตัวเองไม่อยู่ มันเอาธรรมะไม่ได้
เพราะฉะนั้นเราก็มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติธรรม
อย่างนี้คือความสุข ทำอย่างนี้คือความดับทุกข์ของเราทุกๆ คน
ปัจจุบันที่เรามันฟุ้งซ่าน
ความฟุ้งซ่านความซัดส่ายเหมือนรถยนต์วิ่งอยู่บนถนนขรุขระ
เหมือนเครื่องบินผ่านคลื่นกระแสลมตกหลุมอากาศ
เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องแล้วปฏิบัติถูกต้อง เราไม่ต้องกลัว
เพราะความปลอดภัยของเรามีอยู่แล้ว
ผัสสะทั้งหลายเป็นสิ่งที่ดีที่มันเป็นข้อสอบที่ตอบด้วยการเข้าสู่ภาคประพฤ
ติภาคปฏิบัติ ถ้าไม่มีผัสสะอย่างนี้ไม่มีสิ่งเหล่านี้
เราก็ไม่มีข้อสอบไม่มีข้อตอบ เราเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ
เพราะมีข้อสอบข้อตอบอย่างนี้แหละ ความไม่เข้าใจของเรา
เราพากันอยากจะว่างจากสิ่งที่ไม่มีหรือว่างจากใช้สมาธิกดข่มเหมือนหินทั
บหญ้า มันก็คืออันเดียวกันนั่นแหละ มันไม่ได้แก้ปัญหา
พระพุทธเจ้าถึงให้เรามีศีลสมาธิปัญญาในปัจจุบัน
นี้คือเกมส์คือการประพฤติการปฏิบัติ
ให้เรารู้หลักในการประพฤติการปฏิบัติ
เราไม่ต้องกลัวรูปไม่ต้องกลัวเสียงไม่ต้องกลัวอะไรต่างๆ
ไม่ต้องกลัวผัสสะ
เพราะศีลนี้น่ะคือความประพฤติทางปฏิบัติเป็นอุปกรณ์ยกเลิก
สมาธิมีความตั้งมั่น ปัญญาที่รู้ทุกข์รู้เหตุรู้ทุกข์รู้ข้อปฏิบัติความดับทุกข์
เขาจะจัดการเองในปัจจุบัน
ให้ทุกท่านทุกคนตั้งมั่นในความถูกต้องอย่าได้หลงผัสสะ
อย่าได้หลงอารมณ์
กลับมาหาสติคือความสงบกลับมาหาสัมปชัญญะคือตัวปัญญา
เราทุกคนให้พากันสง่างาม ถ้าเรามีตัวมีตน
เราก็มองรู้หน้าซีดหน้าเซียว เพราะตัวตนนี้แหละ
ได้แสดงออกเป็นนิวรณ์ทั้ง ๕
ทุกท่านทุกคนต้องยกเลิกความหลงของตัวเอง
เพื่อเข้าหาธรรมเข้าหาปัจจุบันธรรม
เพราะความทุกข์น่ะมีโอกาสพิเศษที่เราจะได้มาใช้ทรัพยากรที่ประเสริฐที่ไ
ด้เกิดมาเป็นมนุษย์ ชีวิตที่เอาตัวตนเป็นที่ตั้งเป็นชีวิตที่เจ็บปวด
เราคิดดูนะนี้มันเป็นชีวิตที่โง่มหาโง่ พระพุทธเจ้าบอกว่ามรรคเป็นสิ่งที่มี
อยู่ผลเป็นสิ่งที่มีอยู่ สมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ไม่ได้อยู่ที่ไหน
อยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องที่เป็นธรรมที่เป็นปัจ
จุบันธรรมอย่างนี้
เราทุกคนต้องพากันเข้าใจ
อย่าพากันหลงงมงายสร้างความทุกข์ไปเรื่อย
ที่พึ่งสูงสุดคือความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง
ความว่างของพระพุทธเจ้าคือมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง
ที่หยุดความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ที่ว่างจากนิติบุคคลว่างจากตัวจากตน
เป็นธรรมเป็นสภาวะธรรม
คำว่าบรรลุธรรมคือยกเลิกตัวตน
เอาการดำเนินชีวิตดำเนินไปด้วยความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้
อง อย่างนี้เขาเรียกว่าบรรลุธรรม ถามว่าบรรลุธรรมมันจะเป็นยังไง
คือไม่มีตัวไม่มีตน มีแต่สติมีแต่สัมปชัญญะ
มีแต่หยุดทุกข์ยกเลิกทุกข์ไม่ประกอบทุกข์อีก
ไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกเพราะการบรรลุธรรมคือการไม่มีตัวไม่มีตน
เราจะเอาตัวตนอย่างนี้เรียกว่านายทุน ลงทุนให้ตัวเองมีความทุกข์
ทำอะไรเพื่อให้มีทุกข์ คือลงทุนเพื่อความทุกข์
เรามีความเห็นถูกต้องเรามีความสุขในการประพฤติปฏิบัติในการปฏิบัติ
เราทำอย่างนี้มันก็จะชำนิชำนาญ ผัสะทั้งหลายจะมีแต่คุณไม่มีโทษ
ใจรู้อริยสัจ ๔ รู้ทุกข์รู้เหตุเกิดทุกข์รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์
จะร้องในใจว่า โอ้…ทำไมเรามีความสุขอย่างนี้ ใจของเราถึงเย็นอย่างนี้
ไม่ต้องไปถามใครเพราะการปฏิบัติไม่มีใครปฏิบัติให้เราได้
พระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีมาเป็นพระพุทธเจ้า
ท่านปฏิบัติตัวของท่านเองท่านถึงได้เป็นพระพุทธเจ้า
ท่านก็ทำหน้าที่ของท่านเป็นผู้บอกครูสอนการประพฤติการปฏิบัติให้เรา
เราไม่ต้องลังเลสงสัย นี้คือการดับทุกข์ที่แท้จริง
นี่คือการดับทุกข์ทำที่สุดของความทุกข์
หลวงตาบัวถึงบอกว่าเราติดกระดุมเม็ดแรกผิดกระดุมต่อไปก็ผิด
การเอาตัวตนเป็นที่ตั้งมันก็ผิดหมด เราต้องหยุดตรึกในกาม
ต้องหยุดตรึกในพยาบาท เราเสียสละอดีตไป ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่
พากันเจริญสติสัมปชัญญะให้สมบูรณ์ ที่เรียกว่าสติปัฏฐานทั้ง ๔
ถ้าเราไม่ยกเลิกคืนตัวตนเราก็เป็นได้แต่เพียงคน เราไม่ได้เป็นมนุษย์นะ
เราเป็นได้แต่เพียงคน คนนั้นคือทำทั้งดีทั้งชั่วทั้งผิดทั้งถูกคน
นั้นคือสรรพนามที่เรียกว่าคน
ทุกคนต้องมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องพากันปฏิบัติให้ถูกต้องเราจะได้
พากันเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ท่านพุทธทาสภิกขุถึงได้ประพันธ์ว่า
เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง…
เพราะธรรมะคือความถูกต้อง เราจะได้พากันเป็นมนุษย์
เราจะได้พัฒนาใจของเรา
อย่างโครงสร้างการดำเนินชีวิตที่เราอยู่ร่วมรวมกัน
ผู้ที่เขาตั้งให้เป็นพ่อแม่ก็ทำหน้าที่ของพ่อของแม่
ผู้ที่เขาตั้งให้เป็นข้าราชการนักการเมืองจะได้เป็นข้าราชการนักการเมือง
ไม่เหมือนที่เราเห็น ไม่ได้เป็นข้าราชการนักการเมือง
เป็นแต่นิติบุคคลเป็นตัวเป็นตน พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เรารู้อริยสัจ ๔
อย่างนี้ เขาแต่งตั้งให้ผู้ที่บวชเป็นพระก็ต้องเป็นพระ
เรามีผัสสะเป็นข้อสอบเราต้องตอบข้อสอบด้วยศีลสมาธิปัญญา
พระพุทธเจ้าบอกพวกเราว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปนะเราเอาคืนมาไม่ได้
เราต้องพากันประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน
ความแซ่บความรำความหรอยความอร่อยความนัวนี้มันไม่จบ
ให้เรารู้จักผัสสะให้เรารู้จักอารมณ์ ความรู้ความไม่เข้าใจมันเผาเราทุกคน
มันเผาเราตั้งแต่ยังไม่ตาย เรามีตาหูจมูกลิ้นกายใจเพื่อให้เราเกิดปัญญา
เพื่อให้เราจะได้มีข้อสอบข้อตอบเรา
เอาตัวตนเป็นที่ตั้งเราก็ยอมรับตนเองไม่ได้ คนอื่นเขาก็ไม่ยอมรับ
เมื่อปัญหาทุกอย่างมันอยู่ที่เรา ก็ต้องมาแก้ที่เรา ไม่ต้องไปแก้ที่ไหน
พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ท่านถึงแก้ที่ตนเอง
พระอรหันต์ทุกรูปแก้ที่ตนเอง
ถ้าไปแก้ที่คนอื่นก็เหมือนพระธรรมกถึกกับพระวินัยธรเรื่องมันถึงมีปัญหา
ไปเอาดีเอาชั่วกับคนอื่น เรื่องพระธรรมพระวินัยเป็นเรื่องแก้ไขตนเองใ
ห้ทุกคนพากันเข้าใจนะ
พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้นั้นจะเป็นของใหม่ของสดเป็
นธรรมเป็นปัจจุบันธรรม เหมาะกับเราทุกคน
ยิ่งคนสมัยใหม่พัฒนาเทคโนโลยีสมัยนี้เราจะได้เข้าใจถูกต้องปฏิบัติให้มัน
ถูกต้อง
โพชฌงค์ ๗ ถึงเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
พระพุทธเจ้าได้ปรารภได้พูดเรื่องโพชฌงค์ ๗
เราจะได้หายจากโรคทางกายทั้งโรคทางใจ
เพราะคนเราความเห็นไม่ถูกต้องเข้าใจไม่ถูกต้องมันป่วยทั้งกายทั้งใจ
คนป่วยคนเจ็บไข้ไม่สบายพระพุทธเจ้าถึงให้สาธยายโพชฌงค์ ๗ โพชฌงค์
๗ เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
เราเอาความรู้สึกเป็นเราเป็นของเรานี่แหละมันไม่ถูกต้อง
เราต้องยกเลิกด้วยโพชฌงค์ ๗
โพชฌงค์ แปลว่า องค์แห่งการตรัสรู้
เป็นองค์ประกอบที่ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญาหยั่งเห็นสภาวธรรมต
ามความเป็นจริง แล้วก่อให้เกิดวิชชาและวิมุตติในที่สุด
พระพุทธองค์ตรัสว่าโพชฌงค์เป็นธรรมที่น้อมไปสู่พระนิพพาน
เหมือนแม่น้ำคงคาที่ไหลไปสู่มหาสมุทรตามปกติ
องค์แห่งการตรัสรู้อย่างแรก คือ สติ
เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดตรงกับสัมมาสติในอริยมรรคมีองค์ ๘
ถ้าปราศจากสติเสียแล้วผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่อาจก้าวหน้าบนหนทางแห่งกา
รปฏิบัติได้ การเจริญสติระลึกรู้สภาวธรรมปัจจุบันเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
เมื่อสติปรากฏอยู่ นิวรณ์ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
แม้โพชฌงค์อื่นก็ปรากฏโดยความเป็นผลของสติ
"สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา
สติจำต้องปรารถนาใช้ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ"
เพราะเมื่อใดใจปราศจากสติเสียแล้ว
เมื่อนั้นงานทั้งปวงก็เสียเพราะความประมาทเข้ามาแทรก กิเลสเข้ามาแทรก
สตินั้นไม่ใช่ฝึกได้ง่าย อย่างที่ทุกท่านฝึกจิตอยู่ทุกวันนี้
พยายามแล้วพยายามอีกที่จะให้มีสติ แต่มันเผลอไปบ่อยที่สุด
จำเป็นจะต้องฝึกจิตให้มีสติ ใครมีสติสมบูรณ์มากผู้นั้นชื่อว่า
ประสพความสำเร็จในการฝึกมาก อย่างพระอรหันต์ทั้งหลายนั้น
ท่านมีสติสมบูรณ์ที่สุด ไม่พลั้งเผลอในการกำหนด นั้นคือ
ท่านได้ประสพความสำเร็จอย่างสูงสุดในการฝึกจิตของท่านให้มีสติ
ในจักกวัตติสูตร กล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นธรรมที่ปรากฏในโลก
เมื่อมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นเท่านั้น เปรียบได้กับรัตนะ ๗ คือ จักรแก้ว
ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณีรัตน์ นางแก้ว คหบดีแก้ว
และขุนคลังแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ อนึ่ง
ช้างแก้วเป็นต้นนั้นปรากฏขึ้นเมื่อจักรแก้วปรากฏขึ้นก่อน ฉันใด
โพชฌงค์ทั้งหลายย่อมปรากฏเมื่อมีสติปรากฏขึ้นก่อนฉันนั้น
องค์ประกอบต่อมา คือ ธรรมวิจัย แปลว่า
การรู้เห็นสภาวธรรมอันเป็นรูปนาม
เป็นปัญญาหยั่งเห็นอย่างแท้จริงว่านี้เป็นรูป นี้เป็นนาม นี้เป็นความเกิดขึ้น
นี้เป็นความดับไป เช่น ในขณะกำหนดรู้ลมหายใจ
ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าใจได้ว่าลมหายใจเป็นรูปที่รู้อารมณ์ไม่ได้
ส่วนจิตที่ตามรู้ลมหายใจเหมือนเงาติดตามตัว เป็นนามที่รู้อารมณ์ได้
ลมหายใจเข้าเกิดขึ้นแล้วดับไป จึงเกิดลมหายใจออก
ลมหายใจออกเกิดขึ้นแล้วดับไป จึงเกิดลมหายใจเข้า
และลมหายใจพร้อมทั้งจิตที่กำหนดรู้มีสภาวะเกิดดับอย่างรวดเร็ว
ธรรมวิจัยนี้ตรงกับสัมมาทิฏฐิในอริยมรรคมีองค์ ๘
ซึ่งไม่ใช่การพิจารณาใคร่ครวญด้วยปัญญาเรียนรู้หรือปัญญาติดรู้
แต่เป็นปัญญาหยั่งเห็นสภาวธรรมและเป็นปัญญาที่เกิดจากการเจริญสติ
เพราะธรรมวิจัยเป็นผลของการเจริญสติปัฏฐาน
ธรรมวิจัยยังก่อให้เกิดโพชฌงค์ประการที่ ๓ คือ วิริยะ
หรือความเพียร ซึ่งตรงกับสัมมาวายามะในอริยมรรคมีองค์ ๘
เป็นความเพียรทางกาย (กายิกวิริยะ) และความเพียรทางใจ (เจตสิกวิริยะ)
เหมือนเกวียนที่แล่นไปได้ต้องอาศัยล้อทั้งคู่
ความเพียรในที่นี้เป็นความอุตสาหะที่มีกำลังซึ่งเรียกว่า อาตาปะ คือ
ความเพียรเผากิเลส
ไม่ใช่ความเพียรที่ย่อหย่อนเพราะมีความเกียจคร้านเข้าครอบงำ
วิริยะนี้เป็นสภาพปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะโดยตรง
อันความเพียรนี้ย่อมเป็นไปทั้งทางกายและเป็นไปทั้งทางจิต
ความเพียรที่เป็นไปทางกาย คือ ขวนขวายด้วยการไม่ทอดธุระ เช่น
ขยันในการเดินจงกรม เป็นต้น ส่วนความเพียรอันเป็นไปทางจิต
ย่อมให้สำเร็จกิจในสัมมัปปธาน ๔ คือ ๑. สังวรปธาน
เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน ๒. ปหานปธาน
เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ๓. ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น ๔.
อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมไป
โพชฌงค์ประการต่อมาอันเป็นผลจากวิริยะ คือ ปีติ หรือความอิ่มใจ
เป็นความสุขเอิบอิ่มอย่างท่วมทันตลอดร่างกาย มีความดื่มด่ำซาบซ่าน
เต็มไปด้วยความสุข โดยรู้สึกว่ามีขนลุกหรือน้ำตาไหลบ้าง
เหมือนเห็นสายฟ้าแลบบ้าง
เหมือนมีคลื่นหรือกระแสไฟฟ้าปรากฏในร่างกายบ้าง
รู้สึกว่าตัวเบาสบายแล้วลอยไปในอากาศบ้าง
หรือมีความเย็นปรากฏทั่วร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง
ซึ่งเป็นลักษณะของปีติทั้ง ๕ คือ ปีติเล็กน้อย (ขุททกาปีติ) ปีติชั่วขณะ
(ขณิกาปีติ) ปีติซึมซับ (โอกกันติกาปีติ) ปีติโลดโผน (อุพเพงคาปีติ)
และปีติซาบซ่าน (ผรณาปีติ)
ปีติย่อมก่อให้เกิดโพชฌงค์ประการที่ ๕ คือ ปัสสัทธิ
เป็นความสงบกายสงบใจ เหมือนมีเราอยู่คนเดียวในโลก
และไม่มีเสียงดังรบกวน
แม้เสียงภายนอกจะปรากฏตามครรลองของธรรมชาติ
แต่จิตของผู้ปฏิบัติธรรมเหมือนปิดรับสัญญาณเสียงไว้ทำให้เกิดความสงบ
กายสงบใจไม่ถูกสิ่งภายนอกรบกวน มี ๒ ประการคือ กายปัสสัทธิ
ความสงบกาย และ จิตตปัสสัทธิ ความสงบจิต
กายปัสสัทธิ คือ
กายสงบนี่ไม่ได้หมายถึงร่างกายเรานั่งสงบนิ่งอยู่อย่างเดียว แต่คำว่า
สงบกายในที่นี้ทำให้จิตใจเยือกเย็น หมายถึงสงบเวทนา สัญญา และสังขาร
เวทนานี่ก็สงบ ไม่วุ่นวาย ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ไม่วุ่นวายใจ สัญญาต่างๆ
นี่มีลักษณะสงบ เรียบ ไม่ใช่กายสงบ ถ้ากายสงบไม่เป็นเจตสิก
เพราะเจตสิกไม่ใช่กาย แต่ท่านเรียก กายปัสสัทธิ กายตัวนี้หมายถึง สัญญา
เวทนา สังขาร
จิตตปัสสัทธิ ความสงบจิต อันนี้จิตแน่นอน คือ จิตนี่สงบ เยือกเย็น
บางคนเยือกเย็น ใครด่าใครว่าไม่อยากจะโกรธเลย
คือมันเย็นมากเหมือนกับว่า คนที่อยู่ในน้ำ เพราะมันเย็น
ใจนี้เย็นเหมือนกับว่าหินที่อยู่ใต้น้ำแข็งและเย็น
ใครจะมาให้หวั่นไหวนี่ก็ยาก มีลักษณะเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น ใครที่ได้ปัสสัทธินี่มันจะมีความเยือกเย็น
ที่บาลีท่านบอกว่า "สนฺโต มีความสงบ อเสจนโก ไม่รดน้ำก็เย็น"
บางคนรดน้ำเป็นตุ่มๆ ก็ยังไม่หายร้อนเลย เพราะมันไม่เกิดปัสสัทธิขึ้น
ปัสสัทธินี้เป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่านและความเดือดร้อนใจ
(อุทธัจจกุกกุจจะ) ทั้งก่อให้เกิดสมาธิในโอกาสต่อมา
องค์ประกอบที่ ๖ คือ สมาธิ หมายถึง ความตั้งมั่นของจิต
หรือความมีอารมณ์เดียว การเจริญสมาธิเพื่อบรรลุฌานมีหลายรูปแบบ เช่น
การเพ่งกสิณ หรือการเพ่งลมหายใจ เป็นต้น
แต่สมาธิดังกล่าวเป็นโลกิยสมาธิ หรือโลกิยฌาน
ซึ่งอาจเสื่อมได้ถ้าไม่รักษาไว้ให้ดี
และยังส่งผลให้เวียนตายเวียนเกิดอยู่ในภพต่อไป
แม้ผู้ที่เกิดเป็นพรหมในพรหมโลกก็มีชีวิตอยู่ด้วยแรงกรรมอันมีขอบเขตสิ้
นสุด เมื่อกรรมสิ้นแรงส่งก็อาจเวียนมาเกิดในโลกอื่นที่เป็นมนุษย์ เทวดา
ฯลฯ ส่วนสมาธิในโพชฌงค์ที่ตรงกับสัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์ ๙
เป็นสมาธิที่มีกำลังเสมอกับอุปจารสมาธิในขณะบรรลุวิปัสสนาญาณ
และเทียบเท่าปฐมฌานในขณะบรรลุมรรคผล มีชื่อว่า ขณิก สมาธิ คือ
สมาธิชั่วขณะ หมายความว่า มีอารมณ์หลากหลายตามปัจจุบันขณะนั้นๆ
ไม่ใช่หมายความว่า สมาธิที่ตั้งมั่นชั่วขณะ เพราะมีกำลังตามที่กล่าวไว้แล้ว
องค์ประกอบประการสุดท้าย คือ อุเบกขา หมายถึง
ความวางเฉยในการกำหนดรูสภาวธรรมปัจจุบันที่ปรากฏโดยสม่ำเสมอ
ไม่จำเป็นต้องปรับศรัทธากับปัญญาและปรับวิริยะกับสมาธิให้สมดุลกัน
เพราะอินทรีย์เหล่านั้นมีสภาวะสมดุลไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันด้วยอำนาจของโ
พชฌงค์ทั้ง ๖ ที่ได้บำเพ็ญมาไว้ดีแล้วตั้งแต่ตัน จึงส่งผลให้เกิดอุเบกขา
ข้อนี้เปรียบได้กับสารถีนั่งอยู่บนรถม้าที่แล่นไปตามคำสั่ง
โดยไม่ต้องลงแส้ แทงปฏักหรือบังคับรถ
แต่รถม้าก็แล่นไปสู่ที่หมายได้ตามที่สารถีสั่ง
สติ ความระลึกได้
ธรรมดาสตินั้นเป็นธรรมชาติทำลายโมหะคือความหลง
ท่านกล่าวว่าโมหะทำให้เกิดอวิชชา และอวิชชาทำให้เกิดโมหะเช่นกัน
ดังนั้นผู้เจริญสติจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำลายอวิชชาลงเสียได้
ธัมมวิจยะ
ความพิจารณาในธรรมจนเห็นชัดตามความเป็นจริงย่อมทำลายสักกา
ยทิฏฐิในตัวตนว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวกู (อหังการ) ของกู (มมังการ) ลงเสียได้
และย่อมทำลายสีลัพพัตตปรามาส การถือมั่นในศีลพรตอย่างผิดๆ
ด้วยการเห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกฎแห่งกรรม
วิริยะ ความแกล้วกล้าของจิต ที่เพียรพยายามด้วยศรัทธาที่มั่นคง
จนประสบผลจากการปฏิบัติจนสิ้นความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย
คือเป็นความศรัทธาในระดับวิริยะ คือมีความแกล้วกล้า (วิร ศัพท์
แปลว่ากล้า)
อันหมายถึงความเพียรอันเกิดจากความแกล้วกล้าเพราะศรัทธา
ปีติ ความสุขจากความแช่มชื่นใจของปีติ
ย่อมดับสิ้นซึ่งพยาบาทและปฏิฆะความไม่พอใจใดๆ ลงเสียได้
ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ
ย่อมทำให้กามราคะที่เกิดเมื่อเกิดย่อมต้องอาศัยการนึกคิดตรึกตรองในกาม
เมื่อสำรวมกายคืออินทรีย์ ๕ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
และสำรวมใจไม่ให้คิดตรึกตรองในกาม
ย่อมยังกามราคะที่จะเกิดไม่ให้เกิดเสียได้
สมาธิ ความตั้งใจมั่น
สมาธิระดับอัปปนาสมาธิย่อมกำจัดความฟุ้งซ่านรำคาญใจลงเสียได้
และสมาธิระดับอรูปราคะย่อมทำลายความยินดีพอใจในรูปราคะเสียเพราะ
ความยินดีในอรูปราคะ
และสมาธิระดับนิโรธสมาบัติย่อมต้องทำลายความยินดีพอใจในอรูปราคะเ
สียเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ (ในชั้นนี้
ผู้ปฏิบัติที่สามารถละปฏิฆะและกามราคะได้เด็ดขาด
ย่อมบรรลุเป็นพระอนาคามีที่มีปกติเข้าถึงนิโรธสมาบัติได้แล้ว )
อุเบกขา ความวางเฉย
คือวางเฉยในสมมุติบัญญัติและผัสสะเวทนาทั้งหลาย ทั้งหยาบ เสมอกัน
และปราณีต จนข้ามพ้นในความเลวกว่า เสมอกัน ดีกว่ากัน
จนละมานะทั้งหลายลงเสียได้
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว
ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์
๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ
ธรรมะทั้ง ๗ ประการ ในโพชฌงค์นี้มีความเกี่ยวพันกัน
คือตั้งแต่ข้อแรก ได้แก่ สติไปจนถึงอุเบกขานั้น
เป็นธรรมะที่หนุนการปฏิบัติต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ คือถ้ามีสติแล้ว
เป็นเหตุให้เกิดธัมมวิจยะ การสอดส่องธรรมขึ้น
เมื่อมีการสอดส่องธรรมแล้วก็เป็นเหตุให้เกิดความเพียรในการที่จะปฏิบัติ
ตามพระธรรมขึ้น
เมื่อมีความเพียรในการปฏิบัติตามพระธรรมแล้วก็เกิดปีติขึ้น
อย่างที่ผู้เจริญภาวนา
บางท่านเกิดปีติในการปฏิบัติธรรมหลังจากมีความเพียรมีความพยายามค่อ
นข้างหนัก เมื่อเกิดปีติแล้วก็เกิดมีความสงบกาย สงบจิตขึ้นที่เรียกว่า
ปัสสัทธิ เมื่อเกิดปัสสัทธิความสงบกายสงบจิตขึ้นแล้วก็เข้าสู่สมาธิ
คือความตั้งมั่น เมื่อจิตเข้าสู่สมาธิความตั้งมั่นแล้วจิตก็เข้าสู่ความวางเฉยคือ
อุเบกขา
เพราะฉะนั้นธรรมะเหล่านี้จึงหนุนส่งเนื่องกันไปสู่สภาวะความเป็นจริงขอ
งจิตใจที่จะให้ผู้นั้นได้รับความสงบ ได้รับการตรัสรู้ธรรม
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee