แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วันพุธที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง มนุษย์ที่สมบูรณ์ ตอนที่ ๙๗ การพากันรักพระนิพพานนั่นแหละ คือรักอันเหนือรักอย่างแท้จริง
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
ให้ทุกคนรู้อริยสัจ ๔ รู้ความจริง ถ้าเราไม่รู้อริยสัจ ๔ ไม่รู้ความจริง
เราก็พากันปฏิบัติไม่ได้ พากันปฏิบัติไม่ถูก เราก็ไม่รู้ข้อสอบที่ปรากฏแก่เรา
เราก็ตอบโจทย์ไม่ได้เราก็ตอบข้อสอบไม่ถูก
ชีวิตของเราในปัจจุบันที่เป็นเหตุเป็นปัจจัย มันเป็นผัสสะที่ภายนอกภายใน
ทุกท่านต้องพากันรู้จักในเรื่องนี้ในข้อนี้ เพราะนี้คือข้อสอบนี้คือข้อตอบ
พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เรารู้อริยสัจ ๔ ในเบื้องต้นอย่างนี้ก่อน
เราทุกคนจะได้มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องจะได้ปฏิบัติให้มันถูกต้อง
พระพุทธเจ้าถึงไม่ให้เราเอาความรู้สึกนี้เป็นเรา
เพราะความรู้สึกนั้นมันเกิดจากผัสสะภายนอกภายในกระทบกัน
ที่เป็นความหนาวเป็นความร้อนเป็นสุขเป็นทุกข์
อันนี้เป็นเพียงัสสะที่ให้เกิดอารมณ์
พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าไม่ให้ความรู้สึกเป็นเรา ถ้าเราเอาความรู้สึกเป็นเรา
การเวียนว่ายตายเกิดย่อมมี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งต่อไปถึงมี เพราะมีความหลง
การเวียนว่ายตายเกิดมันก็ต้องมี พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เรายกเลิกตัวเอง
ด้วยความเห็นถูกต้องความเข้าใจถูกต้อง เราจะได้ปฏิบัติให้มันถูกต้อง
เราทุกคนจะตามความหลงไปเรื่อยไม่ได้มันไม่จบ ความหลงคือความไม่จบ
ความหลงคือมันเป็นวัฏจักร ที่พระพุทธเจ้าบอกว่าผัสสะมันมีกับเราตลอด
ความหลงคือการตรึกในกาม ความหลงคือการตรึกในพยาบาท
ความหลงนั้นคือไม่รู้อริยสัจ ๔ ไม่รู้เหตุไม่รู้ปัจจัยแห่งความเกิด
ความหลงน่ะคือกำลังเพาะพันธุ์เพราะสายพันธุ์
ท่านถึงบอกให้เราให้ขอบคุณข้อสอบที่เราจะได้ตอบจะได้ปฏิบัติ
เราต้องมีสิ่งนี้ด้วยสมาธิ มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง
พระพุทธเจ้าบอกว่าศีลสมาธิปัญญานี้ สมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่๔ จะเกิดขึ้นได้
เพราะมีผัสสะเพราะมีอารมณ์ พระพุทธเจ้าถึงบอกให้เรายกเลิกสิ่งนี้โดยศีล
ยกเลิกสิ่งนี้ด้วยสมาธิ ยกเลิกสิ่งนี้ด้วยปัญญาสัมมาทิฏฐิ
ต้องรู้หลักการต้องมีจุดยืนในการรู้อริยสัจ ๔
เราเป็นผู้โชคดีที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์เป็นผู้มีโอกาส
ที่ได้มีข้อสอบเราจะได้มีข้อตอบ การดำรงชีวิตของเราเป็นเรื่องของสติ
สตินั้นคือศีลคือสิ่งยกเลิกอวิชชายยกเลิกความหลง
สัมปชัญญะคือตัวปัญญาคือรู้อริยสัจ ๔ การปฏิบัติมันต้องติดต่อต่อเนื่อง
เพราะการปฏิบัติธรรมมันเป็นเรื่องปัจจุบัน ทุกคนถ้าทำตามพระพุทธเจ้าบอก
ได้ผลทุกคน ไม่มีใครไม่ได้ผล เราจะทำตามตนเองไม่ได้ มันจะเสียหาย
เราทุกคนต้องปรับตัวเข้าหาเวลาเข้าหาธรรมะ
ต้องพากันมีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ
เพราะความถูกต้องมันเป็นการหยุดความทุกข์ยกเลิกความทุกข์
เราจะไปหาความดับทุกข์ที่ไหน
เพราะความดับทุกข์มันอยู่ที่ใจของเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง
อยู่ที่ปัจจุบันนี่แหละ เพราะความดับทุกข์ความหยุดทุกข์มันได้เกิดขึ้นแก่เรา
เราต้องรู้ข้อวัตรข้อปฏิบัติ
ศีลเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลก สมาธิคือความตั้งมั่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลก
ปัญญาที่เอาศีลเอาสมาธิมาใช้งานเพื่ออบรมบ่มอินทรีย์เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลก
มันเป็นความสุขมันเป็นความดับทุกข์ พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้อย่างนี้นะ
เราจะตามความหลงไปถึงไหน
ต่อให้เรารวยเป็นมหาเศรษฐีทางวัตถุมันก็แก้ปัญหาไม่ได้
ถ้าเรามีความเห็นไม่ถูกต้องเข้าใจไม่ถูกต้องปฏิบัติไม่ถูกต้อง
มันก็เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ทั้งหมด เราทำถูกต้อง
ความมั่นคงของเราที่เกิดมาเป็นมนุษย์มันถึงจะมีความมั่นคง
การตามใจตัวเองตามความหลง มันเป็นคนทำลายความมั่นคงตัวเอง
มันเป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ เพราะว่าตามความอร่อย มันก็ไม่จบนะ
ตามเสียงเพราะๆ มันก็ไม่จบนะ เราไปตามนินทาตามสรรเสริญ
มีที่จบที่ไหนล่ะ
เราพากันมองดูสิที่เรามองเห็นคนทั้งโลกเขาพากันวิ่งตามอวิชชาวิ่งตามความห
ลง มันไม่จบ เรามีโอกาสพิเศษก็พากันประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน
เราพัฒนาความถูกต้องให้มันเหนือความถูกใจ
พัฒนาใจให้พุทธะของเราได้สมบูรณ์ในปัจจุบัน
พัฒนาทั้งทางวัตถุในใจของเราในปัจจุบัน
เราเอาตัวตนเป็นที่ตั้งนั้นคือเผด็จการ
เพื่อไม่ให้มรรคผลนิพพานนั้นเกิดได้
แต่ศีลสมาธิปัญญาจะเป็นเครื่องเผด็จการอวิชชาความหลงของเรา
เป็นสมุจเฉทปหาน เราอย่าให้กิเลสมันประหารเรา
เหมือนพระมาถามหลวงพ่อว่ามาอยู่ที่นี่ดีมาก ถ้าไม่มีทำวัตรเช้าจะดีที่สุด
ความคิดอย่างนี้มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ผู้ที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง
จะนึกขอบคุณครูบาอาจารย์ที่ให้มีข้อวัตรข้อปฏิบัติเช่นนี้
จะได้ไม่ต้องพูดออกมาทางวาจาอย่างนี้
จะเอาความหลงนั้นเป็นเครื่องดับทุกข์ไม่ได้นะ
หรือว่าทำตามคำหลงแล้วมีความสุข มันไม่ถูกต้องนะ
ผู้ที่เอาความหลงเป็นที่ตั้งไม่อยากปรับตัวเข้าหาเวลาเข้าหาธรรมะ
เราโชคดีที่มีพระพุทธเจ้าคอยบอกสอน
มีครูบาอาจารย์พาเราทำข้อวัตรข้อปฏิบัติ
ให้ถือว่าเราโชคดีอย่างนี้มันถึงจะถูกต้อง เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง
ชื่อว่าไม่ได้ถือนิสัยของพระพุทธเจ้านะ เรียกว่าไม่ลงใจให้พระพุทธเจ้านะ
นั่นถือว่าเอาพระเทวทัตเป็นครูบาอาจารย์นะที่เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง
ทุกคนต้องเน้นกลับมาหาที่แก้ไขตนเอง พระพุทธเจ้าท่านขลังท่านศักดิ์สิทธิ์
เพราะว่าท่านเสียสละตัวตนยกเลิกตัวตน ที่เราไม่หลังไม่ศักดิ์สิทธิ์
เพราะว่าไม่เสียสละตัวตนไม่ยกเลิกตัวตน ตัวตนนั่นคือความไม่ศักดิ์สิทธิ์
พระพุทธเจ้าทรงเมตตาเราสงสารเราจึงได้บอกให้พากันประพฤติพากันปฏิบัติ
จึงเป็นความรักความเมตตาของพระพุทธเจ้าอย่างหาที่สุดหาประมาณไม่ได้
วันนี้เป็นวันที่ชาวโลกสมมุติกันว่า เป็นวันวาเลนไทน์
เป็นวันแห่งความรัก วันวาเลนไทน์เกิดขึ้นเพื่อระลึกถึงนักบุญเซนต์วาเลนไทน์
(Saint Valentine) ผู้รับโทษประหารในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270
เพราะในยุคนั้นมีกฎหมายห้ามไม่ให้มีการแต่งงานของพวกคริสเตียน
แต่เซนต์วาเลนไทน์ยังแอบจัดงานแต่งงานให้กับคู่รักคริสเตียนจนถูกจับขังและ
รับโทษ โดยในขณะที่ถูกคุมขังนั้น
เขาก็พบรักกับสาวตาบอดซึ่งเป็นลูกสาวของผู้คุม
ด้วยความรักและคำอธิษฐานของเขา
พระเจ้าได้ทรงโปรดให้ตาของสาวคนรักหายเป็นปกติ
แต่เมื่อความนี้ล่วงรู้ถึงหูกษัตริย์
เซนต์วาเลนไทน์จึงถูกประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะ
ต่อมาเมื่อคนทั่วไปทราบเรื่องราวจึงเกิดความประทับใจและยึดถือเอาวันที่ 14
กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันแห่งความรักนั่นเอง
คนเราเกิดมาต้องมีความเมตตาต่อตนเอง นำตัวเองประพฤติปฏิบัติอย่างนี้
เรียกว่ารู้อริยสัจ ๔ เมตตาญาติพี่น้องวงษ์ตระกูลของเราอย่างนี้แหละ
ไม่แตกสมานสามัคคี มีความรักมีความเมตตากันอย่างนี้ วางซึ่งศาสตราอาวุธ
คือ คิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี วางศาสตราพวกปืนผาหน้าไม้อะไรต่างๆ ออก
ที่ความเห็นแก่ตัว ที่ทำให้เรามีปืนมีระเบิดศาสตราอาวุธอย่างนี้
ความสมัครสมานสามัคคีก็เป็นเรื่องดีเรื่องใหญ่
การประพฤติการปฏิบัติมีกับเราทุกคนในทุกหนทุกแห่ง
ไม่ว่าเราจะเป็นนักบวชหรือจะว่าเป็นประชาชน เราก็ปฏิบัติได้เหมือนกัน
เค้าเรียกว่าเป็นพรหมจรรย์ระดับประชาชน
สำหรับนักบวชทุกคนต้องทำอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ คำว่าวาเลนไทน์
เราอย่าไปคิดแต่เรื่องทางเพศ พอถึงวันวาเลนไทน์ ทุกคนก็ยิ้ม มันไม่ใช่
คือมันต้องมีเมตตาอย่างที่มีปัญญาเพื่อจะได้ข้ามสัญชาตญาณไป
เพราะในครอบครัวเรา
เราต้องมีความเมตตาพ่อแม่ลูกหรือว่าญาติพี่น้องวงษ์ตระกูล
เพื่อจะได้มีความสงบอบอุ่นและประกอบด้วยปัญญา
สมบัติของเมตตา คือ ระงับพยาบาท วิบัติของเมตตา คือ การเกิดสิเนหะ
(เสน่หา ความรักใคร่เยื่อใยเฉพาะบุคคล เช่น ความรักอย่างบุตร ภริยา เป็นต้น)
เป็นเหตุให้เกิดความลำเอียง ทำให้ช่วยเหลือกันในทางที่ผิดได้
ซึ่งเป็นความวิบัติของเมตตามากกว่า หาใช่เมตตาไม่
ความรักแบบที่ปรัชญาอินเดียใช้คําว่า “อัตตะ” และ “กามะ”
และพุทธเถรวาทใช้คำว่า “อหังการ” และ “มมังการ”
ส่วนพุทธทาสภิกขุใช้คำว่า “ตัวกู” และ “ของกู” นั้น
แนวคิดแบบ “อัตตา” (oneself, อัตตา) หรือแบบ “กามะ” (himself, กามะ)
ตรงกับคำที่ใช้ในพุทธปรัชญาเถรวาทว่า “อหังการ” และ “มมังการ”
ที่พุทธทาสภิกขุเรียกว่า “ตัวกู” (อัตตา) และ “ของกู” (กามะ) โดยตัวกูคือขันธ์ 5
อันประกอบด้วยรูปและนามประกอบกันอันนำไปสู่การยึดถือว่าเป็นบุคคล ตัว
ตน เรา เขา ขณะที่ของกูนั้นเกี่ยวข้องกับด้วยวัตถุหรือกาม
เมื่อมีกามแล้วก็ประกาศตนเป็นเจ้าของกาม
ความรักในลักษณะดังกล่าวจะอธิบายควบคู่กับความทุกข์
ซึ่งในพุทธเถรวาทอธิบายภายใต้คำเหล่านี้คือ
๑. ราคะ หรือ สิเนหะ ราคะเป็นความรักแบบกิเลส
เช่นเดียวกับสิเนหะที่เป็นความรักแบบตัณหาคือยางเหนียว
โดยพื้นฐานความรักดังกล่าวเป็นความรักตัวเอง รักชีวิต ไม่อยากตาย รักสุข
เกลียดทุกข์
ความรักในตัวเองนี้แสดงออกภายใต้แนวคิดแบบอัตตาหรือที่เรียกว่า
อัตตานุปาทาน คือ ความถือมั่นในตัวเอง
ทำให้เกิดความทุกข์อย่างเดียวด้วยเป็นความรักที่เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว
ทำให้เกิดกิเลสอย่างอื่น เช่น ความตระหนี่, อคติ เป็นต้น ฉะนั้น
พระภิกษุผู้บวชแล้วจำต้องละความรักในลักษณะนี้ก่อนเป็นอันดับแรก
ด้วยการไม่น้อมใจไปในสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟังได้ลิ้มรส การถูกต้องทางกาย
รวมถึงสิ่งที่ใจคิดถึงจนเกิดอารมณ์ความรักขึ้น
ข้อสังเกตของความรักแบบราคะหรือสิเนหะนั้น
เป็นความรักที่มีลักษณะแสดงปฏิกิริยาบางอย่างกับจิตคือเปลี่ยนจิตให้มีส
ภาพที่มีคุณภาพแย่ลง เพราะเข้าไปย้อมจิต (ราคะ) ธรรมดาจิตจะใสสะอาด
เมื่อถูกย้อมก็จะเปลี่ยนจิตให้หมองลง
ความหมองของจิตนั้นจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตนั้นจะยากขึ้น
หรือความรักแบบสิเนหะนั้นเป็นลักษณะใจที่มีลักษณะเป็นยางเหนียวพร้อมจะเ
กาะทุกอย่าง
การพัฒนาคุณภาพของจิตซึ่งถูกย้อมไว้และมีลักษณะดังกล่าวนั้นยาก ฉะนั้น
เมื่อกล่าวถึงลักษณะการพัฒนา
พุทธปรัชญาเถรวาทมองว่าความรักระดับนี้ยากต่อการพัฒนาต่อ
เนื่องจากตราบที่คนยังเกี่ยวข้องกันด้วยความรักดังกล่าวจะยิ่งทำให้จิตมีคุณภาพ
ต่ำลง หนาแน่นด้วยกิเลสมากขึ้น ทำให้ประเสริฐหรือใสได้ยากขึ้น
และฝึกได้ยาก ไม่นำไปสู่ประโยชน์
ความรักชนิดนี้จึงเหมือนกับไม้ที่แช่อยู่ในน้ำเป็นระยะเวลานาน
ไม่ว่าจะจุดอย่างไรก็ยากจะติดไฟได้
ไม่เหมาะแก่การพัฒนานอกจากทำความเข้าใจความรักในระดับที่ ๒
๒. เปมะ ความรักใคร่หรือความรักแบบโรแมนติก ซึ่งเกิดจากสาเหตุ ๒
ประการ (๑) บุพสันนิวาส หญิงชายเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน
เมื่อเกิดใหม่มาพบกันในชาตินี้จึงเป็นเนื้อคู่กันและรักกัน (๒)
การดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชาติปัจจุบันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความรัก
แม้หญิงชายจะไม่เคยอยู่ร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน
ทั้งคู่ก็รักกันได้เพราะความมีน้ำใจของอีกฝ่ายหนึ่งที่คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
ดังพระบาลีในสาเกตชาดกว่า
โก นุ โข ภควา เหตุ เอกจฺเจ อิธ ปุคฺคเล อตีว หทยํ นิพฺพาติ จิตฺตญฺจาปิ ปสีทติ ฯ
ปุพฺเพ ว สนฺนิวาเสน ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา เอวนฺตํ ชายเต เปมํ อุปฺปลํ ว ยโถทเก ฯ
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุไรหนอ
เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้พอเห็นกันเข้าก็เฉยๆ หัวใจก็เฉย
บางคนพอเห็นกันเข้า จิตก็เลื่อมใสชอบพอ
ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
๑.ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ที่เรียกว่า บุพเพสันนิวาส ๒.
ด้วยความช่วยเหลือเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน เหมือนดอกอุบลและชลชาติ
เมื่อเกิดในน้ำย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ น้ำและเปือกตม ฉะนั้น"
ลักษณะการสร้างเงื่อนไขความรักด้วยการสร้างเหตุที่ดี
คือการเคยอยู่ร่วมกันในอดีต และการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน
ความรักในลักษณะนี้จึงเป็นความรักที่นำไปสู่ความผูกพันในแง่หนึ่งคือในฐาน
ะของสามีภริยา อีกแง่หนึ่งคือในฐานะของญาติ มิตรสหาย เป็นต้น
ซึ่งมีแนวโน้มจะนำไปสู่ความทุกข์เช่นกันหากเกิดการสูญเสียหรือประสบกับกา
รพลัดพราก
เพราะเหตุความรักในแง่นี้เต็มไปด้วยความดีที่กระทำต่อกันจึงทำให้เกิดทุกข์ตา
มมา ดังกรณีของนางวิสาขาที่สูญเสียหลานสาว
พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เกี่ยวกับความรักแบบนี้ว่า “ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็มีทุกข์
ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์” โดยความรักชนิดนี้ก็ยังสร้างทุกข์ให้
แต่เป็นความทุกข์เพราะความดี
ข้อสังเกตหนึ่งของความรักแบบเปมะนี้ แม้จะสร้างความทุกข์ให้ก็จริง
แต่ก็สามารถนำไปสู่การพัฒนาธรรมบางอย่างได้ชัดเจนกว่าความรักในระ
ดับราคะและสิเนหะ กล่าวคือ
ก. พัฒนาในแง่แก้ไขกิเลสสำคัญ คือ โทสะ หรือความโกรธ
โดยให้นึกถึงความรักในลักษณะดังกล่าวว่าถ้าใครมาทำให้เราโกรธก็ให้ย้
อนคิดว่าคนๆ นั้นอาจเคยเป็นพ่อ แม่ ญาติ พี่น้องเราในอดีตก็เป็นได้ เป็นต้น
ข. เพื่อพัฒนาความรักที่สูงขึ้นไป ในกรณีที่เราประสงค์จะพัฒนาตัวเอง
เช่น ถ้าเรารักตัวเราอย่างไร ผู้อื่นก็รักตัวเองเช่นกัน
เราจะได้ไม่คิดเบียดเบียนคนอื่น เป็นต้น
๓. เมตตา เป็นความรักแบบไร้เงื่อนไข
เป็นผลจากการสร้างความบริสุทธิ์ที่มีในจิตใจก่อน
จึงกลายเป็นความรักที่ไม่มีสมมติเป็นเครื่องบ่งบอกว่าคนนี้เป็นพ่อ เป็นแม่
เป็นญาติพี่น้อง เป็นความรักที่บริสุทธิ์ที่รักได้แม้กระทั่งศัตรูของเรา
โดยปกติความรักชนิดนี้จะพัฒนาจากความรักแบบสามัญธรรมดา
พ่อแม่รักลูกไปสู่ความรักแบบพระโพธิสัตว์ที่รักสัตว์ทุกชนิดเสมอกัน
หากจะกำหนดเอาโดยปริมาณแล้วลักษณะของเมตตา ต้องไม่มีปริมาณ
ไม่มีจำนวน เป็นการมอบให้ทุกคนทุกฝ่าย
โดยถือเอาหลักเดียวกับการถือครองโภคะของพระราชา
เมื่อมีมากก็ควรเผื่อแผ่แบ่งปันออกไป
โดยประกอบด้วยความรักและความกรุณาเมื่อเห็นคนกำลังมีความทุกข์และต้อง
การให้ผู้อยู่ในปกครองพ้นจากทุกข์
ขณะเดียวกันก็มอบให้ในฐานะยินดีกับคนดีได้ประกอบความดียิ่งขึ้น
ที่สำคัญการมอบโภคะเหล่านั้นควรจะวางเฉย
ไม่ยึดมั่นถือมั่นในทรัพย์สมบัติที่มี ฉะนั้น
ความรักแบบนี้จึงเป็นแนวทางสร้างความรักที่ไร้เงื่อนไข
ข้อสังเกตถึงความรักแบบที่ ๓
นี้พุทธเถรวาทถือว่าเป็นความรักแบบเมตตานี้ แม้ดูว่าจะไม่มีเงื่อนไขใดๆ
เป็นเครื่องประกอบแต่ก็ยังผูกโยงกับบางอย่างอยู่ แต่เมตตาก็มีเงื่อนไขที่จำเป็น
(necessary condition)
คือเมตตาที่สอดคล้องกับประโยชน์และกรรมของผู้นั้นเป็นสำคัญ คือ
ถ้าเมตตาไปแล้วบุคคลนั้นได้รับประโยชน์
เช่นพระเทวทัตที่ทำกรรมหนักแต่ก็ได้รับความเมตตาจากพระพุทธองค์ให้อยู่ใ
นพระพุทธศาสนาได้จนกระทั่งมรณภาพ
เพราะจะได้รับประโยชน์คือเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในอนาคต เป็นต้น
หรือกรณีที่ทำกรรมหนักมาก่อนแม้แต่พระพุทธเจ้าก็แก้ไขไม่ได้
เช่นกรณีพระเจ้าวิฑูฑภะประหารชาวศากยะจนหมดสิ้น เป็นต้น
แม้พระพุทธเจ้าจะทรงห้ามไว้ถึง ๓ ครั้งแต่ก็ไม่เป็นผล
ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นเพราะกรรมนั้นแก้ไขไม่ได้
คุณค่าสูงสุดของ รักแท้ คือการมีกันและกัน
ให้สติบนเส้นทางสูงขึ้นจนกว่าจะถึงความสิ้นทุกข์ที่ยอดคือ พระนิพพาน
การพากันรักพระนิพพานนั่นแหละ คือรักอันเหนือรักอย่างแท้จริง
มีแต่ได้กับได้ เพราะแม้ยังไปไม่ถึงฝั่ง อย่างน้อยที่สุดก็ได้ชื่อว่า "รักจะเป็นสุข"
มิใช่รักแบบเป็นทุกข์เยี่ยงคนหลงทาง หาทางออกยังไม่เจอ
คู่รักที่ชักชวนกัน เจริญสติ
นับเป็นความโชคดีของกันและกันอย่างใหญ่หลวงที่ได้มาพบกัน
ด้วยเหตุทั้งสองอย่าง
ดังนั้น คู่บุญคู่บารมีที่ได้มาพบเจอกัน
จึงอาจเทียบเท่าได้กับพบพระอรหันต์
เพราะแม้พระอรหันต์จะสว่างประดุจแสงอาทิตย์
แต่ก็ไม่อาจช่วยดูแลให้พากันเจริญสติได้ในเวลากลางคืน
ส่วนคู่ชีวิตที่แม้เป็นแสงเทียน
ก็ยังส่องสว่างในความมืดให้แก่กันและกันได้ตลอดเวลา...
ชีวิตการแต่งงานจะยั่งยืนนานถ้ามีความรักทั้งสองอย่าง คือ
มีทั้งความรักแบบโรแมนติกและความรักแบบเมตตาเป็นพื้นฐาน
ความรักแบบโรแมนติกสร้างความสุขความเพลินใจเมื่ออยู่ใกล้คนรัก
แต่ไฟแห่งความรักใคร่มักโชติช่วงอยู่ได้ไม่นาน
ความเคยชินเพราะอยู่ด้วยกันมานานมักทำให้ความรักใคร่จืดจางไปได้
ด้วยเหตุนี้
เราจึงต้องมีความรักแบบเมตตาตามประกบความรักใคร่เพื่อให้ความรักยั่งยืนยา
วนาน
ความรักแบบโรแมนติกถูกความน่ารักน่าปรารถนาของคู่ครองเป็นเครื่องกระตุ้
นให้เกิดอารมณ์รัก ความรักใคร่นี้มีธรรมชาติไม่แน่นอน
เวลาใดคนรักทำตัวมีเสน่ห์น่ารัก
เวลานั้นอารมณ์รักใคร่ก็จะเบ่งบานมีพลังเวลาใดคนรักเอาแต่ใจทำตัวไม่น่ารัก
เวลานั้นความรักใคร่ก็จะอับเฉาร่วงโรย
ความรักใคร่แบบโรแมนติกจึงมีสภาวะขึ้นลงตามปัจจัยเงื่อนไขภายนอกอันได้
แก่กิริยาอาการของคนรักเป็นสำคัญ
ครั้งหนึ่ง
พระเจ้าปเสนทิโกศลกำลังสำราญพระราชหฤทัยอยู่กับพระมเหสีชื่อว่าพร
ะนางมัลลิกาเทวี พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามพระมเหสีว่า
“เธอรักใครมากที่สุด” การที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามอย่างนี้
แสดงว่าทรงอยู่ในอารมณ์โรแมนติกและหวังว่าจะได้รับคำตอบแบบโรแมนติก
แต่พระนางมัลลิกาเทวีกลับทูลตอบว่า “หม่อมฉันรักตัวเองมากที่สุด” พระเจ้า
ปเสนทิโกศลถึงกับหมดอารณ์โรแมนติก
ทรงนำเรื่องนี้ไปเล่าถวายพระพุทธเจ้าและตรัสถามว่า
ทำไมพระมเหสีจึงกล่าวอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า
เพราะพระนางมัลลิกาเทวีเป็นคนตรงจึงกล้าพูดความจริงที่ว่าคนทุกคนรักตัวเอ
งมากที่สุด พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสไว้ในที่อื่นว่า นัตถิ อัตตะสะมัง เปมัง
ไม่มีรักใดไหนเล่าจะเท่ารักตนเอง
ความรักใคร่แบบโรแมนติกเกิดโดยสิ่งเร้าภายนอกจากคนรักเป็นสำคัญ
จึงมีสภาวะไม่คงที่ถาวร
สามีภรรยาที่ประสงค์จะทำให้ความรักใคร่เข้มแข็งมั่นคงต้องผสมความรักแบบ
โรแมนติกด้วยความรักแบบเมตตา
ความรักแบบโรแมนติกเปรียบเหมือนรถยนต์ที่อาศัยคนอื่นคอยเติมเชื้อเพลิงให้
อยู่เสมอจึงจะแล่นไปได้
แต่ความรักแบบเมตตาเปรียบเหมือนรถยนต์ที่เจ้าของผลิตเชื้อเพลิงได้เองอย่างไ
ม่มีขีดจำกัดจึงแล่นไปได้ตลอดเวลา ทั้งนี้
เพราะความรักแบบเมตตาเป็นสิ่งที่ใจเราสร้างขึ้นมาเองด้วยการฝึกมองให้เห็นค
วามดีงามของคนอื่น
คนเราจะมีเมตตาในใจได้ต้องฝึกมองโลกในแง่ดี
ถ้าสามีภรรยาสามารถฝึกใจให้มองแต่แง่ดีของคู่ครอง
ต่างฝ่ายต่างจะรักกันและกันได้ตลอดเวลาแม้แต่ในยามที่อยู่ด้วยกันมานานจนข้
อบกพร่องของอีกฝ่ายหนึ่งเริ่มปรากฏออกมา
สามีภรรยาต้องสามารถทำใจให้มองข้ามข้อบกพร่องเหล่านั้นและเพ่งความสนใ
จไปอยู่ที่ความดีงามของคู่ครอง ดังคำประพันธ์ที่ว่า “มองโลกแง่ดีมีผล
เห็นคนอื่นดีมีค่า ปลุกใจให้เกิดศรัทธา ตั้งหน้าทำดีมีคุณ”
การฝึกใจให้มองแต่แง่ดี อย่างนี้เรียกว่าการแผ่เมตตา
ใจของคนแผ่เมตตาจะเต็มไปด้วยความรักแบบไม่มีเงื่อนไข
เช่นเดียวกับความรักของแม่ที่มีต่อลูกน้อยคนเดียว นั่นคือ แม่
พร้อมที่จะรักลูกน้อยของตนโดยมองข้ามความบกพร่องของลูกได้ ฉันใด
คนแผ่เมตตาก็สามารถที่จะรักและให้อภัยคนอื่นได้ ฉันนั้น
สามีภรรยาต้องฝึกแผ่เมตตาให้กันและกัน
ความรักแบบเมตตาไม่ได้เกิดจากการกระตุ้นของคู่ครอง
แต่เกิดจากการที่แต่ละฝ่ายเป็นผู้กำหนดความสนใจให้พุ่งเป้าไปที่ความดีงามหรื
อความน่ารักของอีกฝ่ายหนึ่ง ความรักแบบเมตตาจึงดำเนินไปอย่างไม่รู้จบ
เรียกว่า“อัปปมัญญา” คือไม่มีขีดจำกัด
ตราบใดที่สามีภรรยายังนึกถึงความดีงามของอีกฝ่ายหนึ่ง ตราบนั้น
ความรักแบบเมตตาก็ยังคงอยู่ตลอดไป
ความรักแบบโรแมนติกมีวันจืดจางไปเมื่อความสวยงามร่วงโรยไปตามกาลเวล
า
แต่ความรักแบบเมตตายังคงที่คงทนเพราะไม่ได้ใส่ใจความสวยงามภายนอกที่ร่
างกายแต่เพียงอย่างเดียว
หากแต่ยังเพ่งความสนใจไปที่ความดีงามภายในจิตใจอีกด้วย
นั่นคือความรักแบบเมตตาใส่ใจคนรักในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์และเป็นเพื่อนชีวิ
ตของเรา เป็นความเมตตาที่แท้จริง
เมตตาที่แท้จริงนั้น เป็นธรรมที่เอื้อต่อการรักษาความเที่ยงธรรม
ทำให้มีภาวะจิตที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ที่จะเอนเอียงเข้าหา
หรือเกลียดชังคิดร้าย มีปรารถนาดีต่อทุกคนสม่ำเสมอกัน
จึงช่วยให้พิจารณาตัดสินและกระทำการต่างๆไปตามเหตุผล
โดยมุ่งประโยชน์สุขที่แท้จริงแก่คนทั้งหลาย
เมตตาที่แท้จริง จะเป็นไปในแบบที่ว่า “พระผู้มีพระภาคนั้น
ทรงมีพระทัยเสมอกัน ทั้งต่อนายขมังธนู (ที่รับจ้างมาลอบสังหารพระองค์)
ต่อพระเทวทัต ต่อโจรองคุลีมาล ต่อช้างธนบาล
(ที่พระเทวทัตปล่อยมาเพื่อฆ่าพระองค์) และต่อพระราหุล ทั่วทุกคน”
(อุปาลีเถราปทาน, ๓๒/๘)
(ท่านกล่าวว่า ควรแยกขั้นคุณธรรมในจิตใจกับขั้นปฏิบัติการให้ออก
มีเมตตาเสมอกันไม่จำเป็นต้องปฏิบัติเสมอกันในทุกกรณี
แต่เลือกปฏิบัติไปตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยใจเป็นธรรม)
ประโยชน์หนึ่งของเมตตา จะเห็นได้ในกรณีของการถกเถียง
การแย้งทางเหตุผล ทำให้ต่างฝ่ายยอมพิจารณาเหตุผลของกันและกัน
ช่วยให้คู่โต้บรรลุถึงเหตุผลที่ถูกต้องได้
การเจริญเมตตาของชาวพุทธมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อมวลสัตว์โลก
ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่จะอยู่อาศัยอย่างมีความสุขและมีสันติภาพที่ถาวร
เรียนรู้ที่จะไม่เบียดเบียนผู้ใดแม้แต่สังคมและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ไม่ทำลายและไม่ใช้ผู้อื่นทำลาย ผู้เข้าถึงจะมีจิตใจที่ผ่องใสและมีไมตรี
เมตตาอัปปมัญญาเป็นยอดของเมตตาภาวนาและเป็นการเดินทางภาคสมถะที่
สำคัญยิ่ง
เมตตาเจโตวิมุติที่แผ่ไปอย่างไม่มีประมาณและตลอดโลกเป็นเครื่องอยู่และเครื่
องปฏิบัติของพระอริยบุคคลขั้นสูง เป็นการสละออกโดยไม่ยึดไว้ว่าเป็นของตน
ดังนั้นจึงเป็นการสร้างอริยทรัพย์ให้มีแล้วใช้ไปในการดำรงชีวิตซึ่งสำคัญมากแ
ละเรียกว่า “โภคะ”
ในส่วนของการละกิเลส
พระพุทธองค์ตรัสว่าเมตตาจะละความพยาบาทได้
กรุณาจะละความคิดเบียดเบียน
มุทิตาจะละความไม่ยินดีและอุเบกขาจะละราคะความอยากความพอใจ
“เมตตาเจโตวิมุติ เปรียบเสมือนดาวประกายพฤกษ์ในปัจจุสมัยราตรี
ผู้ใดที่มีสติและเจริญเมตตาไม่มีประมาณ สังโยชน์ทั้งหลายของผู้นั้น
ย่อมเบาบาง”
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee