แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วัน อาทิตย์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่องมนุษย์ที่สมบูรณ์ ตอนที่ ๙๔ มีสังวร ๕ เพื่อสำรวมระวังในการป้องกันความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อทำความดีให้เพิ่มพูน
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
คำเทศนา วันอทิตย์ที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗
เราต้องมีความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง เราต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เพื่อปฏิบัติถูกต้อง สัมมาสมาธิ คนเรามันจะใจอ่อนไม่ได้ เพราะใจของทุกคนยังขอโอกาสไปเรื่อยๆ ความใจอ่อนทำให้เราตกอับ ทำให้เราตั้งอยู่ในความเพลิดเพลิน ทำให้ล่าช้า ทุกคนรู้เเก่ใจทุกคนว่า รู้ผิดรู้ถูกรู้ดีรู้ชั่ว เเต่มันใจอ่อน ถ้ารู้ว่าอันนี้ไม่ดี ยังปล่อยให้ตัวเองคิด อย่างนี้ถือว่ายังไม่รู้จักทุกข์ที่เเท้จริง นี้เเหละเรียกว่า การเวียนว่ายตายเกิด
จุดเปลี่ยนของเราทุกๆ คน เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ ถึงไปจบลงที่ สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่น เราทุกคนต้องมีสติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าให้มันรู้ชัดเจน หายใจออกก็ให้มันรู้ชัดเจน ให้มันรู้ดี รู้ชั่ว รู้ผิด รู้ถูก ต้องเสียสละ เพราะเราเกิดมาเพื่อมาเสียสละ พระพุทธเจ้าคือผู้ที่เสียสละ พระอรหันต์ คือ ผู้ที่ตามพระพุทธเจ้า เสียสละ ท่านถึงได้เป็นพระอรหันต์สติสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม ประการเเรก ต้องรู้ลมเข้า รู้ลมออกชัดเจน เพราะการประพฤติปฏิบัติมันอยู่ที่ปัจจุบัน เมื่อปัจจุบันมันติดกระดุมผิด มันก็ผิดไปหมด เพราะว่ามันเป็นทางหลายเเพร่ง เราเห็นวัดต่างๆ กลายพันธุ์ จากความยุติธรรมจนไม่มีความยุติธรรม
เพราะใจของเรา ไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ทุกคนมันประมาทเพราะสิ่งเหล่านี้ เพลิดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านี้ มันถึงได้ขอโอกาส ถึงได้มีการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ไม่จบไม่สิ้น ทุกคนมันพลาดโอกาส พลาดเวลาในการประพฤติปฏิบัติ เพราะเหตุที่เรายังไม่รู้ความทุกข์ที่เเท้จริง ยังไม่รู้จักการเวียนว่ายตายเกิดที่เเท้จริง เเทนที่เราจะได้พิจารณาไตรลักษณ์ เรายังกลับไปยินดีไปชอบไปหลง ไม่เป็นที่พอใจก็เป็นปฏิฆะ อันนี้ถือว่าเราไม่ได้ปฏิบัติธรรม เราอย่าไปใจอ่อน เพราะการข้ามวัฏฏะสงสาร ต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ หลายอาทิตย์ อย่างน้อยสามอาทิตย์เหมือนไก่ฟักไข่ ถึงออกลูกมาเป็นตัวไก่ การปฏิบัติต้องปฏิบัติให้ติดต่อต่อเนื่อง เราอย่าไปพากันกระอักเลือด
ให้พุทธบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา รู้จักพระศาสนา ศาสนาพุทธ นี้เป็นศาสนา รู้เเจ้งโลกตามความเป็นจริง เเละเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ที่เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา พระเก่า พระใหม่ ผู้มาบวชต้องพากันเข้าใจ เราต้องเอาพระธรรมเอาพระวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เพื่อเราจะได้มาดำเนินสู่อริยมรรคมีองค์ 8 ทุกคนอย่าเอาตัวตนเป็นหลัก อย่าเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง พระเก่าก็อย่าพากันซิกเเซก พระใหม่ต้องพากันรู้ไว้ว่า เราจะซิกเเซกไม่ได้ ศีลทุกข้อ พระวินัยทุกข้อ ข้อวัตรกิจวัตรเราต้องเอามาประพฤติมาปฏิบัติ เพื่อเราจะได้เข้าสู่กระบวนการ
มีศีลมากมีพระวินัยเยอะมันดี คนเราร่างกายเรามันไม่รู้อะไรหรอก เวลาโกรธมันก็น้ำตาไหล ให้มันรักมันชอบ พวกผู้หญิงมันก็ผลิตฮอร์โมน ออกมา พวกผู้ชายก็ผลิตน้ำอสุจิ ออกมา ตามความคิดที่ได้กินอร่อย เขาเรียกว่าจุดสุดยอด ตามใจตัวเองเขาเรียกว่าสุดยอด หรือว่า climax มันประดิษฐ์กรรม ประดิษฐ์เวร ประดิษฐ์ภัย เราต้องรู้จัก พระพุทธเจ้าสอนเรา ท่านถึงบอกว่าอินทรีย์สังวร สำรวมทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สังวร หมายถึง การสำรวมระวัง ในการป้องกันความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น ทำความดีให้เพิ่มพูนขึ้น เพื่อความก้าวหน้าในการประพฤติปฏิบัติ จากระดับศีล จนถึงการละความชั่วและการบำเพ็ญความดีขั้นละเอียด ในการปฏิบัติเพื่อผลดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยการสำรวมระวัง ได้แก่
๑. ปาฏิโมกขสังวร - สำรวมระวังด้วยศีลปาฏิโมกข์ คือ การสำรวมระวังตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ด้วยการไม่ล่วงละเมิด สิกขาบทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือ ปาติโมกขสังวรศีล คือ การสำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ไม่ละเมิดข้อที่ทรงห้ามและทำตามข้อที่ทรงอนุญาต ทำตัวให้สมบูรณ์ด้วยมรรยาทโคจร คือสถานที่ซึ่งตนจะเที่ยวไปโดยเลือกเข้าไปในสถานที่ที่สมควรแก่ภาวะของตนเท่านั้น เห็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยว่าเป็นของน่ากลัว สมาทานศึกษาสำเหนียกในสิกขาบททั้งหลาย
สำหรับพระภิกษุหมายถึงการทำให้สมบูรณ์ในปาริสุทธิศีล ๔ คือ
- ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาตดังกล่าวแล้ว
- อินทรียสังวร สำรวมระวังอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส และ รู้อารมณ์ด้วยใจ
- อาชีวปริสุทธิ เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ไม่แสวงหาปัจจัย ในการดำรงชีวิตในทางอเนสนา คือ การแสวงหาที่ไม่ชอบ ด้วยพระธรรมวินัยหรือหลอกลวงคนอื่น ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พระจันทร์และพระอาทิตย์ไม่ได้ร้อนแรงและรุ่งเรืองด้วยรัศมีเพราะโทษมลทิน ๔ ประการ คือ หมอก ควัน ธุลี และอสุรินทราหู กำบังฉันใด ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะไม่มีตบะรุ่งเรืองด้วยศีล เพราะโทษมลทิน ๔ ประการปิดบังไว้ คือ ดื่มสุราเมรัย เสพเมถุนธรรม ยินดีรับเงินและทองอันเป็นเหมือนภิกษุนั้นยินดีบริโภคซึ่งกามคุณ และภิกษุเลี้ยงชีพในทางมิชอบด้วยเวชชกรรม กุลทูสกะ (ประจบเอาใจคฤหัสถ์ด้วยอาการอันผิดวินัย) อเนสนา (การหาลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรภิกษุ) และวิญญัติ (ขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ที่ไม่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา) พร้อมด้วยกล่าวอวดอุตตริมนุษย์ธรรม อันไม่มีจริง"
อุปปถกริยา คือ การกระทำนอกรีตนอกรอยของพระภิกษุสามเณรมี ๓ ประเภท ได้แก่ (๑) อนาจาร คือ การประพฤติที่ไม่ดีไม่งาม ไม่เหมาะสม แก่ภาวะของความเป็นบรรพชิต ซึ่งมี 3 อย่าง คือ การเล่นเหมือนเด็ก การร้อยดอกไม้ การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น การทำนายฝัน การทายหวย การทำเสน่ห์ ดูลายมือ เป็นต้น (๒) บาปสมาจาร คือ ความประพฤติเหลวไหล เลวทราม เช่น ชอบประจบคฤหัสถ์ด้วยอาการอันไม่เหมาะสม
(๓) อเนสนา คือ การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่เหมาะสมกับความเป็นภิกษุ ผิดสมณวิสัย เช่น การหลอกลวงเขาด้วยการอวดอุตริมนุสธรรม ทำวิญญัติ คือออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ ใช้เงินลงทุนหาผลประโยชน์ ต่อลาภด้วยลาภ คือให้แต่น้อยเพื่อหวังตอบแทนมาก เป็นหมอเวทมนต์ เสกเป่า เป็นต้น
- ปัจจยปัจจเวกขณะ ก่อนจะบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานเภสัช ให้พิจารณาเสียก่อน ไม่บริโภคปัจจัยด้วยตัณหา
๒. สติสังวร - สำรวมระวังด้วยสติ คือ การสำรวมด้วยสติ โดยอาศัยสติเป็นเครื่องระลึกถึงเรื่องที่ทำ คำที่พูด สิ่งที่คิดแม้นานแล้วได้ ก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิดอะไร ให้อาศัยสติระลึกถึง การกระทำเป็นต้นเหล่านั้น ว่าควรหรือไม่ควรอย่างไร ให้สติเป็นเครื่องห้าม สกัดกั้นไว้ไม่ให้เกิดความกำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง มัวเมา ในอารมณ์ทั้งหลายที่ผ่านมาทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ
๓. ญาณสังวร - สำรวมระวังด้วยญาณ “ญาณ” เป็นชื่อของความรู้ หมายถึงการใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ให้เกิดความรู้เท่าทัน เพื่อไม่ให้ใจตกไปสู่อำนาจของอารมณ์ต่างๆ มีรูปเป็นต้น จนจิตไม่ตกไปสู่อำนาจของกิเลสทั้งหลาย มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นอาทิ การสำรวมระวังด้วยญาณนี้ พึงปฏิบัติตามนัยแห่งพระพุทธภาษิตที่ทรงแสดงไว้ ในทุกขธัมมสูตร อาสีวิสวรรค สังยุตตนิกาย ความว่า "ที่เรียกว่า สังวร เพราะเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่น้อมไปในรูปอันน่าปรารถนา ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามก อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอตามความเป็นจริง ทั้งเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์เช่นเดียวกันนั้นด้วย"
๔. ขันติสังวร - สำรวมด้วยขันติ การสำรวมระวังด้วยขันติ หมายถึง การไม่แสดงอาการอ่อนไหว ไปตามอารมณ์หรือเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติ ทุกขเวทนาทางกาย ความไม่สบายใจก็ตาม ไม่แสดงอาการขึ้นลง ในยามประสบสุขและทุกข์ สามารถรักษาปกติภาพของตนไว้ได้ ในทุกกรณีเพราะ "ขันติย่อมห้ามความผลุนผลันไว้ได้ และเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์"
๕. วิริยสังวร - สำรวมระวังด้วยความเพียร ยึดหลักของปธาน คือ ความเพียร ๔ เป็นแนวในการปฏิบัติ คือ
- สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้นภายในจิตของตน เช่น วิตกอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งจะเกิดขึ้น รู้ว่านี่เป็นอกุศลก็พยายามระวังใจไว้ ไม่ให้ตรึกนึกถึงเรื่องที่ก่อให้เกิดอกุศลเหล่านั้น
- ปหานปธาน เพียรละ บาป อกุศลที่เกิดขึ้นแล้วภายในจิต หรือจิตตรึกนึกไปในทางอกุศล ก็พยายามละสิ่งเหล่านั้นเสีย
- ภาวนาปธาน เพียรพยายามให้กุศล คือความดีที่ยังไม่มี ให้มีขึ้น ภายในจิตของตน ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม พึงปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญมีประมาณน้อยจะไม่ให้ผล น้ำฝนตกลงมาทีละหยาด สามารถยังภาชนะที่รองรับให้เต็มได้ฉันใด ผู้ทำความยินดีในการทำบุญ สะสมบุญทีละน้อย จิตใจจะเต็มไปด้วยบุญฉันนั้น และการสั่งสมบุญไว้นำความสุขมาให้"
- อนุรักขนาปธาน เพียรพยายามรักษากุศล ความดีที่มีอยู่แล้ว ไม่ให้เสื่อมไป เหมือนกับการรบชนะข้าศึกแล้ว ยึดพื้นที่ที่ตนครอบครองไว้ได้ ไม่ให้ตกไปในอำนาจของข้าศึกอีก ฉะนั้น
วิริยสังวรในระดับหนึ่งหมายถึงการมีความพยายามใช้สติระลึกรูปนามโดยให้เห็นความเกิด ดับ แห่งรูปนามด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิให้เบาลง.
ให้รู้จักสังวรในศีลในปฏิโมกข์ เพราะธรรมวินัย คือมรรคผล คือพระนิพพาน เราทุกท่านทุกคน จะได้พากันรู้จักพระศาสนา นึกว่าศาสนาคือโบสถ์ คือวิหาร คือเจดีย์ คือพระพุทธรูป ยุ่งไปหมด เรียไรหาเงินหาสตางค์ บอกประชาชนให้พร้อมเพียงกันสมัครสมานบริจาคกัน มันไปสร้างแต่พระภายนอก ศาสนาแต่ภายนอก ไม่มีใครมาแตะต้องตัวเอง ไม่มีใครมาสร้างตัวเองเลย มันเสียหายนะ มีพระศาสนาแล้วก็ไม่ได้มาปฏิบัติ มีกุฏิ มีวิหาร มีวัด เรียกว่า ศูนย์รวมแห่งการทำดี คิดดี พูดดี มันก็ไม่ได้ปฏิบัติอะไร อยู่ในวัดมันก็มีโทรทัศน์ มีสิ่งที่บันเทิงทางกามารมณ์มันผิด เราต้องพากันเช้าใจ เรื่องศีลเรื่องสำรวมอินทรีย์ต้องพากันเข้าใจ เราทำไม่ถูก มันทำอย่างไงก็ไม่ถูก หลวงตามหาบัวถึงบอกว่าถ้ามันไม่ถูกมันก็ไม่ถูก เราติดกระดุมอันแรกมันผิด กระดุมอีก ๔-๕ ตัวที่ให้มันปิดหน้าอกหน้าท้องมันก็ผิดหมดอะไรอย่างนี้ ให้พากันเข้าใจอย่างนี้
เรามีร่างกายก็เพื่อมาสร้างคุณมาสร้างประโยชน์ เรามีความรู้มีความเข้าใจก็เอามาสร้างคุณประโยชน์ เรามีอุปกรณ์ เช่นว่า เรามีบ้านมีรถ มียศ มีตำแหน่งเพื่อมาทำประโยชน์ ทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษ อะไรก็ไม่น่ากลัวที่ความเห็นผิด ความเข้าใจผิดปฏิบัติผิด นี้เป็นอันตราย อย่างเทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดมาด้วยการพัฒนาจากวิทยาศาสตร์ จากเหตุจากผลของหมู่มวลมนุษย์ เราก็ต้องรู้จัก เราต้องฉลาด อย่างเช่น อาหารเป็นเพียงยา เสนาสนะเป็นบ้านเป็นรถ ถือว่าเป็นยาที่จะให้เราได้นอนได้พักผ่อน รถนี่ก็ถือว่าเป็นยาที่จะให้เราทุ่นแรงในการเดินทาง ถือว่าเป็นการเยียวยาเพื่อพัฒนาของเรา
แต่เทคโนโลยีนี่มัน ถ้าเราไม่รู้จักมันก็เป็นโทษ พระพุทธเจ้าถึงให้เราพิจารณาให้เกิดปัญญาเอาสิ่งเหล่านั้นมาใช้ อย่างเทคโนโลยี อย่างโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊คมันก็มีประโยชน์ เพราะแต่ก่อนมันไม่สะดวกไม่สบายอย่างนี้ แต่อันนี้มันก็เป็นโทษอย่างนี้แหละ ในการพัฒนาประเทศก็ต้องใช้เทคโนโลยีใช้อะไร แต่ก่อนก็ใช้เสียมใช้จอบ เดี๋ยวนี้ก็ใช้แมคโคร ใช้รถแทรกเตอร์ ที่นี้แหละ เรื่องปัญญาสัมมาทิฏฐิ เราต้องรู้จัก ถ้าเราไม่รู้จักเราจะกลายเป็นผู้ที่ขุดหลุมฝังตัวเอง เราไม่รู้จักลูกเราขวบ สองขวบ เราปล่อยให้เค้าเล่นโทรศัพท์มือถือ รู้ไหมนั้น เด็กมันมี sex ทางอารมณ์ พวกการ์ตูนก็ดี พวกเกมส์ก็ดี แต่บางทีคนใหญ่แล้วก็ยังเล่นเกมส์อยู่ แล้วก็คิดว่าลับสมองไม่ใช่นะ มันให้อาหารกิเลสนะ เหมือนกับต้นไม้ เราปลูกหน้าฝน วัชพืชนะ ฝนตกลงมามันก็ขึ้นสนั่นหวั่นไหว เราไปตาม เราก็ไปให้ปุ๋ย ให้อากาศ ให้แสงแดด ไอ้พวกมันก็ยิ่งงาม แต่เราก็ไม่รู้จักว่านี่คือทุกข์ นี่เหตุเกิดทุกข์ ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ เราไม่ได้ใช้เทคโนโลยีให้เกิดสติปัญญา ทีนี้แหละ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันอำนวยความสุข รู้หรือเปล่า สุขนั้นมันเป็นกาม มันเป็นกาม ทำให้เราหลงติด เราต้องมีสติมีปัญญา เราต้องตั้งมั่น ถ้าอย่างนั้นพระเรานี้ไปไม่ได้ ไปไม่รอด ต้องเข้มแข็ง ต้องยึดพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
เหมือนกับเราไปในยานพาหนะที่ข้ามมหาสมุทร ข้ามทะเล เราต้องอยู่ในเรือ เราไปเครื่องอยู่ในเครื่องบินเราจะออกจากเครื่องบินได้อย่างไร ออกจากรถ ออกจากเรือได้อย่างไร อันนั้นคืออุบัติเหตุ เพราะเรื่องโทรศัพท์มือถือ ก็พูดอีก เพราะว่าอันนี้มันเป็นอันตรายของผู้ที่จะสู่มรรคผลพระนิพพาน เรื่องสตรี เรื่องสตางค์ มันเป็นกาม ผู้ที่จะหาวิธีเอาพระที่เก่งๆ ที่ฉลาด หรือพระอะไรต่างๆ สึก ประการแรกเค้าก็ต้องไปกราบไปไหว้ ถวายของซื้อโทรศัพท์ดีๆ ให้ วีดีโอคอลได้ติดต่อกัน สุดท้ายแล้วก็วีดีโอให้ดูทั้งหมดเลย มันเป็นการวางแผนของพญามาร ลูกสาวพญามาร
ลูกสาวพญามาร ในพระไตรปิฎก มีข้อความว่า “…ลำดับนั้น มารธิดา คือนางตัณหา นางอรดี นางราคา จึงพากันหลีกออกไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วร่วมกันคิดอย่างนี้ว่า ความประสงค์ของบุรุษมีต่างๆ กันแล อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรนิรมิตเพศเป็นนางกุมาริกาคนละร้อย ๆ ฯ”
หมายความว่า ธิดามารคิดว่า ผู้ชายจะใจแข็งเพียงใด ก็ย่อมมีจุดอ่อนถึงจะมาบวช แต่ถ้าเจอการยั่วยวนในรูปแบบต่างๆ และกับหญิงในวัยต่างๆ วัยละ ๓๐๐ รูปแบบ ก็ไม่น่าจะมีชายใดหลุดพ้นไปได้
นางราคา ก็คงจะเน้นเนรมิตเป็นหญิงที่ยั่วราคะเป็นหลัก เช่น มาเต้นส่ายร่ายรำ, นุ่งห่มน้อยชิ้น, ทำเป็นอายบ้าง ไม่อายบ้าง, ทำเป็นเปิดวับๆ แวมๆ, ทำกระซิบกระซาบ, ฯลฯ พูดหยาบๆ ก็คือ ยั่วให้เกิดอารมณ์ทางเพศ
นางตัณหา ก็คงจะเน้นเนรมิตเป็นหญิงที่ยั่วตัณหา คือไม่ได้มีเฉพาะอารมณ์ทางเพศ แต่รู้สึกว่า หญิงนี้สมฐานะเรา จะทำให้เราได้รับคำสรรเสริญ ได้ยศ ได้ตำแหน่ง ฯลฯ เช่น เป็นหญิงสง่างาม, มีเสื้อผ้าอาภรณ์อลังการ, ดูมีจิตใจอ่อนโยน เล่นหยอกล้อกับเด็กๆ, รู้สึกอบอุ่น, ดูเก่ง - ฉลาด, พูดจาฉะฉาน, ฯลฯ คือสนองกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
ส่วนนางอรดี … คงจะมีได้หลายแบบ เช่น - แกล้งทำหน้าบึ้งใส่, แกล้งพูดให้เจ็บใจ, ทำสะบัดสะบิ้ง, ทำเป็นไม่ยินดี, ทำงอน ฯลฯ เพื่อยั่วให้ชายมาสนใจ จนลืมตัว จิตส่งออกมาที่นาง - แกล้งทำเป็นว่า กำลังมีอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ, กำลังเศร้า, กำลังมีปัญหา, ทำสะอึกสะอื้น, ฯลฯ ยั่วให้ชายสงสาร เข้ามาปลอบ เข้ามาให้คำปรึกษา คือยั่วให้เกิดความเห็นอกเห็นใจก่อน จนลืมตัว จิตก็ส่งออกไปที่นาง
น่ากลัวทั้งสามนาง !!!
ถึงอย่างนั้น พระพุทธองค์ก็มิได้ทรงใส่พระทัยถึงเลย เพราะพระองค์สิ้นกิเลสแล้วอย่างยอดเยี่ยม ก้าวล่วงบ่วงมารไปได้แล้ว จิตหลุดพ้นดีแล้ว เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก นำสัตว์โลกทั้งหลายให้ข้ามพ้นบ่วงมารไปได้ด้วยพระสัทธรรม
การวางแผนของพญามาร ลูกสาวพญามาร โอ๋...มันเป็นอย่างนี้มาเป็น 10 ปี 20 ปี แต่กว่าเราจะรู้เราก็เสียพระไปเยอะแล้วนะ นี้ข้อมูลเพียบ ข้อมูลแน่นนะ แต่อันนี้พูดความจริงสู่สาธาณะชนไม่ได้น่าเกียจ รู้แต่ว่าสิ่งเหล่านี้เอง พระเก่งๆ พระฉลาด บวชมาแล้วมันเก่งมันฉลาด พวกนี้เค้าเอาอันนี้นะ ถึงแม้อย่างไรก็ เพราะพระนี่มันสติปัญญาก็ไม่เกิด เพราะว่ามันเป็นกาม การที่ทำตามใจตามอารมณ์ตัวเองนั้นน่ะคือ การสนองทิฏฐิมานะอัตตาตัวตน เพิ่มความรุนแรงให้กับตัวเอง ให้กับกิเลส ให้อาสวะ ให้อวิชชา ให้ความหลง ทุกท่านทุกคนต้องพากันมีสติมีสัมปชัญญะ ทุกคนมันเป็นเหมือนกันหมด มันเลยเป็นประชาธิปไตย จะมีใครมาบอกมาสอน
'อันตรายภัยในพระศาสนา' ส่วนใหญ่มาจากเรื่อง "สตรีเพศ ลาภสักการะ ข้าวของเงินทอง ลาภ ยศ สรรเสริญ" พระพุทธเจ้าท่านตรัสพระธรรมวินัยข้อนี้ว่า เป็นต้นเหตุในการประพฤติปฏิบัติพรหมจรรย์ พระถึงจะเป็นพระใหม่ พระเก่า พระมัชฌิมา พระพุทธเจ้าท่านให้ถือว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
เราทุกคนต้องพากันเข้าใจ รู้ว่าสิ่งไหนเป็นของดี สิ่งไหนเป็นของมีค่า เราจะได้สร้างพระขึ้นมาในตัวเราทุกคน เพราะตัวเราก็มีแต่ไสยศาสตร์ คนอื่นก็มีแต่ไสยศาสตร์ มารวมกัน มืดไปหมด มึนไปหมด ธรรมะไม่ใช่สิ่งที่จะลำบากเกิน เพราะว่ามันเป็นความสุขอยู่แล้ว แต่เรามีความเห็นผิดเข้าใจผิด ถึงได้หลงเพลิดเพลิน ขอไปเรื่อย ขอโอกาสไปเรื่อย ขอไปขอมาอายุก็ ๕๐-๖๐ ปี เขาเรียกว่าเสียหายอย่างนี้ เราจะไปเอาสิ่งที่ต้องการ เหมือนคนโบราณ ยาทัมใจ ยานี้ปวดแล้วจะหายอย่างนี้ เขาเปลี่ยนชื่อมาใหม่แล้วให้เราทัมใจ ให้เราประพฤติปฏิบัติ เรียกว่า เราจะได้บวดหาย หมายถึงอบรมณ์บ่มอินทรีย์ของเราหน่ะ เมื่อเรามีโอกาสมีวาสนามีโอกาสพิเศษ ทำไมเราไม่ปฏิบัติหล่ะ เราจะมาเป็นลูกศิษย์ของพญามารทำไม พวกที่มาบวชจะมาเป็นกาฝากของประชาชน ที่ถือแบรนด์เนม ที่เราไม่ใช่ภิกษุเราก็ว่าเราเป็นภิกษุ เราไม่เป็นสามเณรเราก็ว่าเป็นสามเณร เราไม่ได้เป็นชีก็ว่าเป็นชี ให้พากันสลดสังเวชนะ เราทุกท่านทุกคนมันแก้ไม่ยาก เพราะว่าเราไม่ได้แก้คนอื่น ไม่เดือดร้อนคนอื่น ถ้างั้นเราไม่เหมาะกับการทานอาหารของประชาชน นุ่งห่มจีวร ใช้ของประชาชน ให้เข้าใจ การให้ทานของประชาชนจะได้มีบุญใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ เพราะเราทุกคนนี้ผู้ประพฤติปฏิบัติจะได้มีความสว่าง เราจะได้หายจากความมืด จะได้หายจากความหลง เราจะได้เข้าถึงความบริสุธิที่ศีล ความที่สุดของสมาธิที่สุดทางปัญญา
พระพุทธเจ้าท่านให้เราเอาพระนิพพานนะ มนุษย์สมบัติก็ยังแก่เจ็บตายอยู่ พวกเทวดามีความสดวกสบายอยู่ในสวรรค์ในวิมาน มันก็ยังหมดบุญมาเวียนว่ายตายเกิด แม้แต่เป็นพรหม มีความสุขอย่างมากมายก็ยังต้องเสียสละ เพราะเราถือว่าเรามาทำที่สุดแห่งทุกข์ หัวใจของเราจะได้เป็นหัวใจที่ติดแอร์คอนดิชั่น เราจะได้มีความสุขอบอุ่น เราจะไม่ได้ซัดเซเพนจรเป็นคนโฮมเลส ในวัฏฏะสงสาร
ทุกคนต้องคอนโทรลตัวเอง ให้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด การที่จะเป็นพระอริยเจ้าได้ เราต้องเข้าสู่กระบวนการ เหมือนที่เขาติดเหล้าติดยาเสพติด เขาต้องถูกเข้าสู่กระบวนการ เข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติโดยความตั้งใจ โดยเจตนา ไม่ตั้งอยู่ในความเพลิดเพลิน ไม่ตั้งอยู่ในความประมาท เรื่องความคิดถึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เราจะไม่ให้คิด จะไม่ให้ฟุ้งซ่านก็ต้องมีหลักอยู่ เช่น มีอานาปานะสติ เช่น หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย หายใจเข้ามีความสุข หายใจออกมีความสุข นี้เป็นยานพาหนะที่จะนำเราไป เราอยู่บนเครื่องบินเราจะไปโดดเครื่องบินมันก็เกิดอุบัติเหตุ เราจะโดดเรืออย่างนี้มันก็เกิดอุบัติเหตุในมหาสมุทร...
เราต้องยึดมั่นในธรรมะ การยึดมั่นอย่างนี้เขาเรียกว่าละความเห็นแก่ตัว เราจะได้อบรมบ่มอินทรีย์ ถ้างั้นมันจะเสียหายมาก ปล่อยให้ตัวเองคิด ให้ตัวเองทำร้ายเผ่าพันธุ์แห่งพระพุทธเจ้า เผ่าพันธุ์ของพระอรหันต์ เผ่าพันธุ์ของพระอริยเจ้า โดยการที่เราไปคิดอย่างนั้น ไปเอาตัวตนเป็นหลัก ตัวตนเป็นใหญ่อย่างนี้ไม่ได้ เราต้องเห็นโทษในการเวียนว่ายตายเกิด ถ้างั้นมันไม่จบหรอก เมื่อเราทำไม่ได้ ปฏิบัติไม่ได้ เราจะไปมองดูหน้าลูกเรายังไง มองหน้าหลานเรายังไง เพราะเราจะให้แต่ทางวัตถุให้แต่อวิชชาให้แต่ความหลง ตัวเรายังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จะไปช่วยเหลือลูกหลานได้อย่างไร อย่างผู้ที่มาบวชนี้ก็มีลูกมีหลาน ลูกคืออะไร ลูกก็คือลูกศิษย์ที่มาบวชตาม
พระพุทธเจ้าจึงทรงบอกให้เราตัดเรื่องอดีต ตัดเรื่องอนาคต เน้นไปที่ปัจจุบัน เอาธรรมเป็นการดำเนินชีวิต ด้วยฉันทะ ความพอใจ ด้วยความสุข เป็นแบบนี้แล้ว ทุกข์มันจะมาจากไหน เราจะได้ชื่อว่าสุคโต อยู่ก็ดี ไปก็ดี จะได้ชื่อว่าเป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าเรานักบวชหรือเป็นฆราวาส ถ้าเราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั้น เราก็เข้าถึงนิพพานพอๆ กัน ไม่มีใครเหนือกว่ากันหรอก ที่เหนือกว่าก็เพราะว่าการประพฤติปฏิบัติ ที่มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ทุกคนต้องพากันเห็น เทวทูตทั้ง ๔ คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก ความสงบ เขาเรียกว่าเทวทูต ทุกคนต้องมีความสุขใน ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพลาก ไม่ช้าก็เร็วเราก็ต้องเจอ เราต้องมีความสุข เราจะได้มีสัมมาทิฏฐิ เราจะได้เป็นคนไม่หลงงมงาย กลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย มันถูกที่ไหนเล่า เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เราต้องทำเหมือนท่าน มีความสง่างามในเบื้องต้นคือศีล มีความสง่างามในท่ามกลางคือสมาธิ มีความสง่างามในที่สุดคือปัญญา ชีวิตจึงจะประเสริฐอย่างแท้จริง
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee