แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ให้ทุกคนพากันเข้าใจง่ายๆ เพราะธรรมะไม่ใช่เรื่องเข้าใจยาก ไม่มีอะไรสลับซับซ้อน เราต้องพากันมีความเห็นที่ถูกต้อง เราจะได้ปฏิบัติให้มันถูกต้อง ถูกต้องทางกาย ถูกต้องทางวาจา ถูกต้องทางจิตใจ พัฒนาใจพัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กัน การประพฤติการปฏิบัติมันก็อยู่ที่ใจ อดีตเราก็ปฏิบัติไม่ได้ อนาคตเราก็ปฏิบัติไม่ได้ เพราะการปฏิบัติธรรมมันอยู่ที่ปัจจุบัน สำคัญมันอยู่ที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ใจของเราทุกคนมันคิดได้ทีละอย่าง เมื่อความเห็นไม่ถูกต้อง การปฏิบัติของเรามันก็ไม่ถูกต้อง ทุกท่านทุกคนต้องพากันรู้นะ เราจะเอาความชอบใจ ความไม่ชอบใจนั้นไม่ได้ เพราะความชอบใจและความไม่ชอบใจคือความไม่ถูกต้อง เราเอาความชอบใจ ความไม่ชอบใจ นี้มันเป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ให้กับตนเอง เราต้องรู้จักใจของเราในปัจจุบัน
เรื่องการประพฤติการปฏิบัติ ทุกคนต้องพากันปฏิบัติตัวของเราเองโดยเฉพาะ เรื่องศีล ถึงเป็นตัวของเราเอง เรื่องศีลถือเป็นตัวของท่านเอง ให้พากันเข้าใจง่ายๆ อย่างนี้และ ทุกท่านทุกคนต้องมีความสุขในการประพฤติการปฏิบัติ เพราะสิ่งเหล่านี้มันถูกต้อง สิ่งเหล่านี้มันแก้ปัญหาได้ ทุกคนต้องมีความสุขในการประพฤติการปฏิบัติ มันเป็นความสุขที่เป็นพุทธะทางจิตใจ มันเป็นความสุขที่เป็นพุทธะทางวัตถุไปพร้อมๆ กัน ที่พระพุทธเจ้าบอกว่าทางสายกลาง วันหนึ่งคืนหนึ่งพวกเราพากันนอนวันละ ๖ ชั่วโมง อย่างมากก็ ๘ ชั่วโมง อย่าพากันคอร์รัปชั่นเวลานอน ถ้าไม่นอน ๖ ชั่วโมง สมองเราจะไปสั่งร่างกายมันก็ไม่สมบูรณ์ สมองเราจะไปทำการทำงานมันก็ไม่สมบูรณ์ เวลาเราตื่นอยู่เป็นเวลาที่เรามีความสุขในการทำงาน มีความสุขในการปฏิบัติธรรม หรือว่าปฏิบัติที่ถูกต้องหรือหยุดปัญหาทางใจ หยุดปัญหาทางวัตถุ เราทำอย่างนี้ติดต่อต่อเนื่อง มันก็จะเป็นสัมมาสมาธิ นี้คือการประพฤติการปฏิบัติที่ถูกต้อง ที่เราได้อบรมบ่มอินทรีย์ เหมือนเราปลูกต้นไม้ต้นเล็กๆ ที่ดินดี ให้น้ำให้ปุ๋ยให้แสงแดดให้การดูแลที่สม่ำเสมอ ต้นไม้มันก็งามตามลำดับ เพราะสิ่งนี้มีสิ่งต่อไปมันถึงมี
เราทุกคนอย่าเอาตัวตนเป็นที่ตั้งมันสร้างปัญหามันมีปัญหา ทุกท่านทุกคนอย่าพากันมีตัวมีตน มันพากันทุกข์ ทุกข์มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ ถ้าเรามีความเห็นไม่ถูกต้อง เข้าใจไม่ถูกต้อง นรกจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ สวรรค์จึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ ความสงบ พระนิพพานอันเป็นการทำที่สุดของความดับทุกข์ เป็นสิ่งที่มีอยู่ ทางสายกลางเป็นสิ่งที่เราพัฒนาใจพัฒนาวัตถุอย่างนี้ไปพร้อมๆ กัน ทุกท่านทุกคนพากันปฏิบัติเอาเองนะ ไม่มีใครมาปฏิบัติให้เราหรอก เราจะไปหาความสงบที่ไหนล่ะ เพราะความสงบมันอยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง
เรามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง และดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท เพราะใจของเรามันคิดได้อย่างเดียว มันเรื่องเข้าใจง่ายๆ อย่างนี้นะ ถ้าเราเอาตัวตนเป็นที่ตั้งมันเข้าใจยาก เพราะตัวตนนั้นคือการประกอบความทุกข์ให้กับเราทุกคน พระพุทธเจ้าถึงบอกพวกเราว่าให้สละคืนซึ่งสักกายะทิฏฐิ ที่เป็นตัวเป็นตนนี้
การบรรลุธรรมก็คือไม่เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง เป็นการสร้างเหตุสร้างปัจจัย ก้าวไปด้วยสติสัมปชัญญะ สตินั้นคือศีล คือหยุด คือยกเลิก หยุดโรงงานแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ศีลนี้ถึงเป็นความสงบ ศีลนี้ถึงเป็นสมถะ เราทำอย่างนี้ติดต่อต่อเนื่องมันก็จะเป็นสัมมาสมาธิ มันจะมีอยู่กับเราในชีวิตประจำวัน ที่เราดำเนินชีวิตที่พระพุทธเจ้าบอกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘
ทุกท่านทุกคนก็จะมีความสุขทั้งกายทั้งใจปัจจุบัน ทุกท่านทุกคนต้องมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง เราจะไม่ได้เผาตัวเอง เราเผาตัวเองด้วยชีวิตที่เอาตัวตนเป็นการดำรงชีวิต ท่านบอกว่านี้คือการเผาตัวเอง ความเห็นผิดเข้าใจผิดปฏิบัติผิด คือการเผาตัวเองทั้งเป็น ไม่ต้องรอตอนตายหรอก ทุกอย่างสิ่งที่ผ่านไปแล้วเขาเรียกว่าตาย ถ้าเรามีความคิดเห็นผิดปฏิบัติผิด นี้คืออเรากำลังเผาตัวเอง เราต้องพากันรู้จัก เราเลยรับความสุขจากผัสสะ ที่อายตนะภายนอกภายในกระทบกัน ก็ให้เราพากันรู้จัก สุขก็เกิดจากเหตุเกิดจากปัจจัย ความทุกข์ที่เกิดจากผัสสะภายนอกภายใน ก็เกิดจากเหตุเกิดจากปัจจัย ทุกอย่างก็ให้พากันรู้ว่าอันนี้มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยเอง ไม่มีอะไรมากกว่านั้น เราอย่าไปหลงในความสุข เราอย่าไปหลงในความทุกข์ ถ้าเราหลงในความสุขความทุกข์ ก็จะพาหลงในกามในพยาบาท ผัสสะภายนอกภายในนี้มันเป็นข้อสอบแล้วก็เป็นข้อตอบ เราเอาปัจจุบันนี้แหละ พากันประพฤติพากันปฏิบัติ
ทุกคนอย่าพากันขี้เกียจ ต้องพากันปฏิบัติ ใหม่ๆ มันก็ยาก นานๆ ไปมันก็จะง่าย เหมือนเราออกกำลังกายใหม่ๆ มันจะปวดจะเมื่อย เราทำติดต่อต่อเนื่อง กล้ามเนื้อเส้นประสาทเล็กใหญ่มันก็จะแข็งแรง เราอย่าพากันขี้เกียจขี้คร้าน แม้หายใจมันก็ไม่อยากหายใจ พระพุทธเจ้าถึงสอนเรื่อง ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของผู้ตื่นรู้ ต้องพากันประพฤติพากันปฏิบัติในปัจจุบัน พากันรู้จักอริยสัจ ๔ รู้ว่าผัสสะมันตั้งขึ้น ผัสสะมันดับไป ก็ไม่มีอะไรหรอก มันเป็นข้อสอบข้อตอบให้เราอบรมบ่มอินทรีย์
ส่วนมากน่ะไม่ค่อยได้ปฏิบัติธรรมนะ ปล่อยเกียร์ว่างอย่างนั้น มันไม่ได้นะ มันจะว่างจากความดับทุกข์นะ มันว่างจากมรรคผลนิพพานนะ เราต้องพากันรู้ทุกข์รู้เหตุเกิดทุกข์รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ทุกคนต้องหยุดตัวหยุดตน มันจะได้เข้าใจง่าย ถ้าเอาตัวตนแล้ว ไม่สามารถที่จะเข้าใจ เพราะใจของเรามันคิดได้อย่างเดียว ถ้าเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง เราจะไม่รู้อริยสัจ ๔ เลย เพราะเราจะไม่เข้าถึงธรรมในปัจจุบัน การดำรงชีวิตจึงเป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ ชีวิตของเราในประจำวัน ต้องเป็นชีวิตที่มีความสุขที่สดชื่นเบิกบาน ไม่ใช่เรามาบวชมาปฏิบัติมองดูแล้วหน้าตาหงอยๆ ไม่มีความสุขเลย มันเป็นหัวใจอมทุกข์ ที่มันจะแสดงออกมาทางสีหน้า หน้าตาเหมือนปวดหัวปวดท้อง มันใช้ไม่ได้ ปฏิบัติธรรมอะไรถึงเป็นอย่างนั้น ถ้าเราปฏิบัติถูกต้อง มันจะเข้าถึงความดับทุกข์ตั้งแต่ปัจจุบันนี้นะ ไม่ต้องรอให้ตายก่อนค่อยไปสวรรค์ไปนิพพาน มันเข้าถึงตั้งแต่ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าบอกว่าให้เข้าถึงปัจจุบัน มันแน่นอนกว่าเรื่องอนาคต
ทุกท่านทำได้ปฏิบัติได้ มันเรื่องง่ายๆ อย่างนี้ ถ้าเราเอาตัวตนเป็นที่ตั้งเมื่อไหร่ มันจะยากทันที เพราะตัวตนนั้นมันเป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ เราจะเอาตัวตนเพื่อดำเนินชีวิตไปสู่พระนิพพานไม่ได้ เพราะตัวตนนั้นคือความปรุงแต่ง พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าเรารู้จักเจ้าเสียแล้ว เจ้าจะทำบ้านทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป คือรู้จักตํณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ด้วยอริยสัจ ๔ รู้ความจริงอย่างนี้แหละ ถ้าเรามีตัวมีตน ร่างกายของเราแก่ ร่างกายของเราเจ็บ ร่างกายของเราตาย เราก็ย่อมแก่ย่อมเจ็บย่อมตายย่อมพลัดพราก เราก็เป็นนิติบุคคลเป็นตัวเป็นตน คือผู้ที่ไม่รู้เหตุไม่รู้ปัจจัย ไม่รู้อริยสัจ ๔ การดำรงธาตุดำรงขันธ์ เราเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ตัวตนนั้นคือ โลกทางกายโลกทางใจ ที่เรียกว่าโลกธรรม โลกครอบงำธรรม มันไม่ใช่ความดับทุกข์ มันเป็นโลกทั้งกายโลกทั้งใจ
เมื่อมีความไม่เข้าใจ ถึงต้องมีการเรียนการศึกษา เพื่อรู้เหตุรู้ผลเพื่อให้เป็นพุทธะทางจิตใจเป็นพุทธะทางวัตถุ ความรู้คู่การปฏิบัติถึงเป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญา ความดับทุกข์ที่แท้จริงจึงอยู่ที่เรารู้อริยสัจ ๔ อยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ที่เข้าสู่ศีลเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ถึงเป็นสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ได้ ทุกท่านทุกคนไม่พากันสงสารตัวเองบ้างหรือ? ที่เวียนว่ายตายเกิด ถ้าสงสารตัวเองแล้ว เรามีพระพุทธเจ้าผู้บำเพ็ญบารมีใช้เวลาตั้งหลายล้านชาติมาบอกมาสอน แล้วยังดื้อด้านถือตัวถือตน พระพุทธเจ้าถึงเป็นที่พึ่งสูงสุดของเรา พระธรรมที่หยุดนิติบุคคลหยุดตัวหยุดตนถึงเป็นที่พึ่งสูงสุดของเรา พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่มีแต่พระธรรมพระวินัยถึงเป็นที่พึ่งสูงสุดของเรา ที่ก้าวไปด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่ทำงานมีความสุข เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ก็พากันลูบคลำในศีลในข้อวัตรข้อปฏิบัติ เราก็สงสัยอยู่นั่นแหละว่ามันถูกหรือมันผิด ถ้าเอาตัวตนเป็นที่ตั้งมันก็ผิด ถ้าทุกคนกลับมาหาธรรมะ สละคืนซึ่งตัวตน มันก็เข้าถึงความดับทุกข์ตั้งแต่ในปัจจุบัน
ความถูกต้องมันไม่ได้ผิดไม่ได้ถูก มันคือความถูกต้อง พากันถามว่าทำไมการปฏิบัติมันถึงยากแท้ มันทำไมไม่ค่อยมีผู้ได้มรรคได้ผล? มันจะมีมรรคผลได้ยังไง ถ้าการปฏิบัติมันไม่ถูกต้อง มันจะได้ผลได้ยังไง เราจะพากันประพฤติปฏิบัติ โยมก็หลายล้านคน พระก็หลายแสนรูป พวกเณรพวกแม่ชีอีกหลายหมื่นคน จะบรรลุธรรมได้ยังไง ถ้าหากว่ามีความเห็นไม่ถูกต้องเข้าใจไม่ถูกต้องและการปฏิบัติไม่ถูกต้อง ถ้าเรายังเอาตัวเอาตนอยู่นั่นแหละคือไม่ถูกต้อง เราเอาตัวตนเป็นที่ตั้งนั่นคือการสร้างภพสร้างชาติ มันคือการสร้างครอบครัว ผู้ที่มาบวชก็หนีจากการสร้างครอบครัวจากการเป็นฆราวาส ก็มาสร้างครอบครัวทางพระทางเณรทางแม่ชี เมื่อไม่รู้เรื่องทางศาสนา เอาตัวเอาตน เอาศาสนวัตถุเป็นศาสนา
อันที่จริง ศาสนาเป็นศีล ศีลนี้คือความหยุด หยุดทั้งกายหยุดทั้งวาจาหยุดทั้งใจ หยุดยกเลิก Stop เราต้องไม่มีตัวไม่มีตน พระพุทธเจ้าถึงบอกผู้ที่มาบวชว่า ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด พรหมจรรย์หมายถึงหยุดยกเลิกหมายถึง Stop cancel ตัวตน ให้มีตั้งแต่พระธรรมพระวินัย มันเป็นกระบวนการแห่งการดับทุกข์ ให้ทำติดต่อต่อเนื่อง มันไม่ใช่สมาธิธรรมดา มันเป็นสัมมาสมาธิ เพื่อหยุดเพื่อยกเลิก เราทำอย่างนี้มันก็ง่าย เพราะเป็นเรื่องประพฤติปฏิบัติของเราโดยเฉพาะเจาะจง เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง มันถึงเป็นพระธรรมเป็นพระวินัย โลกธรรมมันจะได้ไม่ครอบงำใจของเรา ถ้าเราเอาตั้งแต่เหตุแต่ปัจจัยด้วยการเรียนการศึกษาเพื่อตัวเพื่อตน มันก็เป็นไปเพื่อมนุษย์รวย เป็นไปแต่เทวดาสบาย เป็นพรหมที่สงบ แต่ก็ไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า ยังไม่ได้เข้าถึงพระศาสนา พระศาสนามันต้องพัฒนาวัตถุพัฒนาทางใจไปพร้อมๆ กัน
พระพุทธเจ้าให้พวกเราเข้าใจง่ายๆ อย่างนี้ ศาสนามีเยอะมากมาย แต่มันก็แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะเราเอาศาสนาเป็นนิติบุคคลเป็นตัวเป็นตน ถ้าเราเข้าใจเรื่องเหตุเรื่องปัจจัยเรื่องจิตใจ เข้าใจเหตุปัจจัยเรื่องวัตถุ ทุกคนถึงจะมีความดับทุกข์ได้ ทั้งทางวัตถุทั้งทางจิตใจ คนรุ่นใหม่คนสมัยใหม่ได้มีการเรียนการศึกษา ได้พากันพัฒนาวิทยาศาสตร์ ได้รับความสุขจากวัตถุ เลยมีความคิดความเข้าใจกันว่า มีวัตถุเพียบพร้อมนั่นคือความสุข ให้พากันพินิจพิจารณาให้รอบคอบนะ ถ้าคิดไม่รอบคอบ เราจะไม่ได้พัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน มันจะเป็นการเดินทางสุดโต่ง เอาตั้งแต่วัตถุอย่างเดียวไม่ได้ ต้องพัฒนาจิตใจ พัฒนาใจยังไง การพัฒนาใจคือต้องสละคืนซึ่งนิติบุคคลซึ่งตัวซึ่งตน เรามามีความสุขในการสละเสียซึ่งตัวซึ่งตน ใจของเราทุกคนมันคิดได้ทีละอย่าง หรือว่าเรามี ๒ อย่างอันนึงวิ่งไม่หยุด อันนึงหยุดวิ่ง แต่ก่อนเราให้ทานรักษาศีลตั้งมั่นในสมาธิมาภาวนาวิปัสสนา เพื่อจะเอาเพื่อจะมีเพื่อจะเป็น เมื่อเรามีตัวมีตนอยู่อย่างนี้ ความถูกต้องมันก็เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะความไม่ถูกต้องมันคือความเครียด เพราะมันยังมีสัญชาตญาณที่ยังเป็นตัวเป็นตน มันมีความปรุงแต่งเข้ามาเกี่ยวข้อง มันยังมีมานะมันยังมีความสำคัญมั่นหมาย มันเป็นนิติบุคคลเป็นตัวเป็นตน
มีคำถามว่า พิจารณาให้รอบคอบคือพิจารณาอย่างไร คำตอบคือ เราต้องพากันรู้จัก เพราะทุกอย่างนั้นมีทั้งคุณทั้งโทษ สิ่งที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ถ้าเรายังมีความยึดมั่นถือมั่น นั่นคือความไม่รอบคอบ เราไปจัดหางงูเดี๋ยวงูมันก็วกมากัด
หลวงพ่อชาสอนว่า “มนุษย์เราทั้งหลายไม่ต้องการทุกข์ ต้องการแต่สุข ความจริงสุขนั้นก็คือทุกข์อย่างละเอียดนั่นเอง ส่วนทุกข์ก็คือทุกข์อย่างหยาบ พูดอย่างง่าย ๆ สุขและทุกข์นี้ก็เปรียบเหมือนงูตัวหนึ่ง ทางหัวมันเป็นทุกข์ ทางหางมันเป็นสุข เพราะถ้าลูบทางหัวมันมีพิษ ทางปากมันมีพิษ ไปใกล้ทางหัวมัน มันก็กัดเอา ไปจับหางมันก็ดูเหมือนเป็นสุข แต่ถ้าจับไม่วาง มันก็หันกลับมากัดได้เหมือนกัน เพราะทั้งหัวงูและหางงู มันก็อยู่ในงูตัวเดียวกัน ความดีใจ ความเสียใจ มันก็เกิดจากพ่อแม่เดียวกัน คือ ตัณหาความลุ่มหลงนั่นเอง
ฉะนั้น บางทีเมื่อมีสุขแล้วใจก็ยังไม่สบาย ไม่สงบ ทั้งที่ได้สิ่งที่พอใจแล้ว เช่น ได้ลาภ ยศ สรรเสริญ ได้มาแล้วก็ดีใจก็จริง แต่มันก็ยังไม่สงบจริง ๆ เพราะยังมีความเคลือบแคลงใจว่ามันจะสูญเสียไป กลัวมันจะหายไป ความกลัวนี่แหละ เป็นต้นเหตุให้มันไม่สงบ บางทีมันเกิดสูญเสียไปจริง ๆ ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก นี่หมายความว่าถึงจะสุขก็จริง แต่ก็มีทุกข์ดองอยู่ในนั้นด้วย แต่เราไม่รู้จัก เหมือนกันกับว่าเราจับงู ถึงว่าเราจับหางมันก็จริง ถ้าจับไม่วางมันก็หันกลับมากัดได้ ฉะนั้น หัวงูก็ดี หางงูก็ดี บาปก็ดี บุญก็ดี อันนี้อยู่ในวงวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว ก็ไม่ใช่หนทาง”
เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องเมื่อมันถูกต้องแล้วเราจะไปเอาอะไรอีก การไปเอาอะไรนั่นคือตัวคือตน ถ้าเราจะไปเอามรรคผลนิพพานมันก็เป็นโรคประสาท ที่ชื่อว่าความไม่รอบคอบ คือคนไม่รู้อริยสัจ ๔ เราเป็นคนดี แล้วมีความยึดมั่นถือมั่น ก็ทุกข์อย่างคนดี ถ้าเราเป็นคนเก่งแล้วมีความยึดมั่นถือมั่น ก็ทุกข์อย่างคนเก่ง ถ้าเรามีความเห็นไม่รอบคอบ สิ่งที่เป็นตัวเป็นตนนั่นคือความยึดมั่นถือมั่น
"ติดดี แก้ยากกว่า ติดชั่ว"
ครั้งหนึ่ง หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถร เคยให้โอวาทที่ลึกซึ้งแก่หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ว่า "ติดดี แก้ยากกว่าติดชั่ว"
คำพูดนี้ อาจดูจะฝืนความรู้สึกของหลายๆ คน แต่หากมีประสบการณ์มากเข้าๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงคนเข้าวัดฝึกหัดอบรมตน เราก็จะได้เห็นตัวอย่างที่ช่วยยืนยันคำพูดของหลวงปู่มั่น ว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ
โอวาทของหลวงปู่มั่นข้างต้น จึงมีค่าอย่างเหลือล้นเพื่อใช้เป็นสิ่งเตือนจิตเตือนใจตัวเอง ไม่ให้หลงติดความดีที่ตัวเองบำเพ็ญ ไม่หลงว่าตัวเราดีแล้ว เก่งแล้ว บรรดาหมู่คณะ ไม่มีใครเคร่งเท่าเรา ไม่มีใครก้าวหน้าในการปฏิบัติเท่าเรา ฯลฯ
พอความ "หลงดี" หรือ "ติดดี" เกิดมากขึ้น ก็จะพาให้ลืมเป้าหมายการปฏิบัติว่า... แท้จริงแล้ว เราทำไปก็เพื่อให้หมด "ตัวเรา" แล้วยังจะมี "เรา" ที่เก่งกว่า ดีกว่า อีกหรือ แล้วเจ้าตัวติดดีนี้ก็จะทำให้เราเป็นชาล้นถ้วย ใครๆ เตือนก็ไม่ฟัง สำคัญว่า..ฉันเข้าวัดมาก่อน ฉันใกล้ชิดครูบาอาจารย์มากกว่า ฉันนั่งสมาธิเดินจงกรมมากกว่า ฉันรู้ข้อธรรมะมากกว่า
เป็นเรื่องจริงว่า..ในระยะต้นของการปฏิบัติ เราอาจจะปวารณาตัวขอให้หมู่คณะแนะนำตักเตือนได้ แต่พอถึงเวลาที่กิเลสขึ้นขี่หัวแล้ว มันทำไม่ได้หรอก ใจมันไม่เปิดรับแล้ว...
โอ๊ย แกเป็นใคร เพิ่งจะเข้าวัด จะมีปัญญาอะไรมาเตือนฉัน สอนฉัน ฉันรู้มากกว่าแกตั้งเยอะ ฉันเข้าวัดมากี่ปี แล้วแกเพิ่งจะเข้าวัดมากี่ปีเอง
แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนติดดีก็คือ
ให้ยึดหลักที่พระพุทธองค์ และหลวง ปู่มั่นที่ว่า... "จงคอยเตือนตนด้วยตนเอง" อยู่เสมอๆ ว่า... เราปฏิบัติเพื่อละโลภ โกรธ หลง การจะให้ใครๆ มายกย่องว่าเราเก่งเราดีอย่าให้มีในจิตใจ หากมันผุดขึ้นมา ก็ให้ละมันเสียด้วยการรู้เท่าทัน การมีการเป็นไม่ใช่เป้าหมายมุ่งละกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวมานะที่ชอบเปรียบเทียบกับคนอื่นจับผิดคนอื่น ออกจากจิตใจ บอกตัวเองว่า... ฉันจะปฏิบัติอย่างคนโง่ ไม่สำคัญตนว่าดีแล้ว รู้แล้ว ตามที่หลวงปู่มั่นแนะนำ เช่นนี้แล้ว จึงจะพอมีทางให้ปฏิบัติไปได้ตลอดรอดฝั่ง ผ่านพ้นภาวะติดดีเพราะถ้าติดดีขึ้นมาแล้ว มันแก้ยากกว่าติดชั่วเสียอีก
พระพุทธเจ้าถึงให้พวกเราทุกคนบริโภคทุกอย่างด้วยปัญญา ด้วยสัมมาทิฏฐิด้วยสติด้วยสัมปชัญญะ อย่าได้เป็นนิติบุคคลเป็นตัวเป็นตนเลย คำว่าเรามันต้องไม่มี คำว่าเขามันต้องไม่มี มันเป็นเหตุเป็นปัจจัย พระพุทธเจ้าให้เรารู้ว่าอริยสัจ ๔ อย่างนี้ถ้าอย่างนั้นชีวิตของเราจะดำเนินไปด้วยประกอบทุกท่านต้องมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติให้ถูกต้องต้องมีความสุขในการถือศีลรักษาศีลในการปฏิบัติธรรมมีความสุขพร้อมในการทำงานโดยทำหน้าที่ให้ถูกต้อง ชีวิตมันก็ง่ายอย่างนี้ ถ้าเอาตัวตน มันก็เป็นเรื่องยากที่จะแก้ปัญหา มีแต่สร้างปัญหา เพราะความถูกต้องคือความถูกต้องอย่างนี้แหละ พระพุทธเจ้าถึงให้พากันรู้จักอริยสัจ ๔ อย่าพากันเรียนพากันศึกษาเพื่อตัวตนอย่าพากันทำงานเพื่อตัวตน อย่าพากันปฏิบัติธรรมเพื่อตัวตน ต้องมีความสุขในการประพฤติการปฏิบัติ ไม่หวังการตอบแทน มีความสุขในการทำงานมีความสุขในการปฏิบัติธรรม คือการทำที่สุดแห่งการดับทุกข์
ทุกท่านทุกคนต้องนำตัวเองขับเคลื่อนตัวเองออกจากวัฏสงสารด้วยการประพฤติการปฏิบัติ กิจกรรมของเราในชีวิตประจำวันคือศีลสมาธิปัญญาเรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ มีอยู่ในปัจจุบัน เราต้องว่างจากสิ่งที่มีอยู่ ถ้าเราจะเอาว่างจากสิ่งที่ไม่มีอยู่ มันเป็นอวิชชาเป็นความหลง ไม่ใช่ศาสนาไม่ได้เข้าถึงศาสนา เราจะเอาตามความชอบใจตามความไม่ชอบใจอย่างนี้ไม่ได้ เพราะเรานี่แหละต้องเดินไปด้วยพุทธะคือผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน มีสติมีสัมปชัญญะเป็นฐาน เป็นกรรมฐาน เป็นสติปัฏฐาน เข้าสู่ความเป็นพระ
หมู่มวลมนุษย์ก็จะมีใจเหมือนแอร์คอนดิชั่นเป็นการดำเนินชีวิต ใจของเราก็จะหยุดความฟุ้งซ่าน เกิดความสุขความอบอุ่นอย่างนี้นะ เราทุกคนน่ะต้องหนีวัฏสงสารด้วยความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องด้วยศีลสมาธิปัญญา หมู่มวลมนุษย์จะไปทิ้งความถูกต้อง อย่าไปทิ้งความเป็นธรรมความยุติธรรม
มันไม่เป็นธรรมจากการที่เอาสภาวะของดินน้ำลมไฟ มาเป็นธาตุเป็นขันธ์เป็นตัวเป็นตน มันไม่เป็นธรรมเพราะเอามาเป็นตัวเป็นตน เราเอาสิ่งเหล่านี้มาประพฤติมาปฏิบัติ เพื่อจะได้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ เราทุกคนน่ะให้พากันรู้จักความเป็นพระของเราทั้งสำหรับผู้ที่เป็นนักบวชและผู้ที่ครองเรือน ซึ่งมีอยู่ในตัวอยู่แล้ว ไม่ควรจะทุกข์ยากลำบากในเรื่องจิตเรื่องใจ พัฒนาให้เป็นให้ถูกต้องคือต่อยให้เป็น เราต้องเทคแคร์ตัวเองด้วยธรรมะ เทคแคร์คนอื่นด้วยธรรมะ มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ เพราะชีวิตของเราถ้าเอาตัวเอาตน มันเครียดมันมีความทุกข์ พระพุทธเจ้าให้เราไปทางตะวันออก แต่เราดันไปทางตะวันตก มันตกต่ำ มันซ้ำเติมการเวียนว่ายตายเกิดของเรานะ เราจึงต้องเข้าใจ เราไม่ต้องไปวิ่งหามรรคผลพระนิพพานไม่ต้องวิ่งไปหาพระที่ไหนหรอก เพราะความเป็นพระนั้นอยู่ที่ตัวเราที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องในปัจจุบัน เราเพลิดเพลินในความรวยในความเป็นเทวดาอย่างนี้ มันก็ทำให้เนิ่นช้าเสียเวลา ความสุขที่เกิดจากสมาธิมีความสงบเย็นก็ยังไม่สู้ความสุขจากการเป็นพระอริยเจ้าที่สมบูรณ์ด้วยสติด้วยปัญญา เราจึงต้องมีสติสัมปชัญญะ หัวใจเราต้องเป็นสติปัฏฐานทั้ง ๔
เราทุกคนพากันประพฤติพากันปฏิบัติ เราไม่รู้จักความสงบปฏิบัติในศาสนา ก็คิดว่าเสียงเยอะๆ ไม่สงบ มีรูปมีผัสสะก็ไม่สงบ นั่นคือยังไม่รู้จักความสงบ เพราะเราจะเอาตัวตนเป็นที่ตั้งมันก็ไม่สงบ เราจะมาเป็นผู้หญิงผู้ชายเป็นพระเป็นเณรเป็นแม่ชีหรือเป็นภิกษุณี เป็นอะไรก็ไม่สงบ เพราะเราทำเพื่อมามีมาเป็น เมื่อเป็นก็เป็นโดยสมมติ เราก็ต้องรู้จักสมมติ ที่เอาไว้ใช้เพื่อความสะดวกความสบาย เราจะมาเป็นอะไรมันก็เครียด เพราะสิ่งที่มันแปลกปลอมมา มันก็ไม่ใช่ของจริงของแท้ เพราะความจริงคือเราไม่ได้เป็นอะไรตามที่ใจคิดใจนึกตามสมมติเลย
พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องของการ “รับผิดชอบ” ไม่ใช่รับแต่ “ชอบ”...ไม่รับ “ผิด”...ต้องรับทั้งสองอย่าง เราต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขตัวเองไปเรื่อยๆ จนกว่าจะอ่อนน้อมถ่อมตน แล้วก็ทำความดี
...แต่ว่าทำความดีเพื่อความดี ทำความดีเพราะรักความดี แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเป็นคนดี ก็ถ้าเราเป็น คนดี แล้วจะเป็นทุกข์
หลายปีที่แล้วมา หลวงพ่อชา ลงไปเยี่ยมวัดชิตเฮิร์สท์ที่อังกฤษ มีอุบาสกคนหนึ่งที่เคยศึกษาธรรมะฝ่ายมหายาน มาถามหลวงพ่อชา เรื่องการปฏิบัติว่า “คนที่ปฏิบัติเพื่อเป็นอรหันต์ กับคนปฏิบัติเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ อันไหนจะดีกว่ากัน อันไหนสูงกว่ากัน”
หลวงพ่อชาตอบว่า “อย่าเป็นอะไรเลย พระอรหันต์ก็อย่าเป็นเลย พระโพธิสัตว์ก็อย่าเป็นเลย แม้พระพุทธเจ้าก็อย่าเป็นเลย เป็นอะไรแล้วก็ต้องเป็นทุกข์ทันที”
คืออย่าเป็นคนดี อย่าไปถึงระดับนั้น เป็นคน อย่าเป็นคนดี ถ้าเป็นคนดีแล้วต้องรำคาญคนไม่ดี ทุกวันนี้คนที่ไม่ดีมากกว่าคนดีเยอะ ไปที่ไหนก็กลุ้มใจ มีแต่ความไม่พอใจ เหมือนกับคนที่สูบบุหรี่เลิกแล้วดูคนอื่นสูบ ก็ไปเทศน์ให้เขาฟัง นี่เรียกว่าติดดี ท่านไม่ให้ติด แม้จะเป็นความดีท่านก็ไม่ให้เราติด เพราะว่าความติดเป็นทุกข์ สร้างความทุกข์ใจ
"อย่าทำดี เพียงเพื่อดีกว่าคนอื่น" - พุทธทาสภิกขุ -
การทำความดี เป็นสิ่งที่สังคมต้องการเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้สังคมน่าอยู่แล้ว คนที่ทำความดี จะกลายเป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องและนับถือจากคนส่วนใหญ่
แต่บางคนก็ทำความดี เพื่อจะดีกว่าคนอื่น....
การที่เราทำความดี เพื่อจะชนะคนอื่น เพื่อให้ได้รับการยอมรับมากกว่าคนอื่น นั้นไม่ใช่เรียกว่า การทำดี แต่เรียกว่า การติดดี คือการที่ทำยังไงก็ได้ ให้เป็นคนดีไว้ก่อน แต่ใจลึกๆก็ยังคงมีความคิดที่จะเอาชนะคนอื่นอยู่ หรือพูดง่ายๆเลยคือ "เอาชนะคนอื่นด้วยความดีมาบังหน้า"
ทำความดีเพื่อความดี... ทำความดีเพราะรักความดี... แต่ไม่ได้ทำเพื่อจะเป็นคนดี เพราะถ้าเราเป็นคนดีแล้วจะเป็นทุกข์
เพียงแค่เห็นคำว่า "อย่าเป็นคนดี" ก็รู้สึกถึง ใช่หรือ? แล้วสิ่งที่เราเพียรทำทุกวันนี้ล่ะ
"การทำความดีเพื่อเป็นคนดี" กับ "การทำความดีเพื่อความดี"
คำแรก ... ทำให้เกิดคำว่า ติดดี
คำหลัง ... เป็นสิ่งที่ควรทำที่สุด ทำแล้วไม่ทุกข์ใจ ทำด้วยความสุขที่เต็มเปี่ยมหัวใจ
“จงอย่าประมาท เร่งเดินตามรอยบาทพระบรมศาสดา ถึงจะทำประโยชน์ให้คนอื่นมากมาย ก็ไม่ควรละทิ้งจุดหมายปลายทางของตน เมื่อรู้ว่าอะไรคือจุดหมายปลายทางแล้ว ก็ควรใส่ใจขวนขวาย”
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง