แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วันพุธที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง มนุษย์ที่สมบูรณ์ ตอนที่ ๗๓ มีปฏิปทาคือการปฏิบัติให้ติดต่อต่อเนื่องเหมือนสายน้ำ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยฉับพลัน
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
การเวียนว่ายตายเกิดมันเนื่องมาจากความไม่รู้ ความไม่รู้เหตุไม่รู้ปัจจัยของการเวียนว่ายตายเกิด ที่พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงนั้นมันคือเหตุคือปัจจัยของความไม่รู้ สัมมาทิฏฐิคือความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง ที่เป็นตัวพุทธะเป็นตัวผู้รู้ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือเหตุคือปัจจัยที่หยุดเวียนว่ายตายเกิด ทุกอย่างที่เกิดขึ้นทุกอย่างที่ดับไปนั้นล้วนแต่เป็นเหตุเป็นปัจจัย ไม่ใช่นิติบุคคลไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มันเป็นเหตุเป็นปัจจัย เพราะสิ่งนี้มีสิ่ง ต่อไปถึงมี เมื่อใจของเรามีความรู้มีความเห็นมีความเข้าใจเรื่องเหตุเรื่องปัจจัย ถึงจะเป็นผู้รู้อริยสัจ ๔ เมื่อรู้อริยสัจ ๔ แล้วจึงรู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ทั้งทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจไปพร้อมๆ กัน
ท่านผู้รู้ทั้งหลายจะได้พากันเอาธาตุเอาขันธ์เอาอายตนะมาประพฤติมาปฏิบัติ ปฏิบัติกายปฏิบัติใจไปพร้อมๆ กัน การประพฤติการปฏิบัติถึงต้องมีสติมีสัมปชัญญะ พื้นฐานของสัญชาตญาณของเราทุกๆ คนที่เราพากันตรึกในกามตรึกในพยาบาท มันเป็นพื้นเป็นฐานที่เป็นสัญชาตญาณที่เป็นอวิชชาเป็นความหลง ให้ทุกท่านทุกคนพากันรู้จักพากันรู้ว่า พื้นฐานอย่างนั้นที่มันเป็นความรู้สึกนึกคิดที่มันเป็นสัญชาตญาณว่า เราเป็นนิติบุคคลเป็นตัวเป็นตน ที่มันมีความยึดมั่นถือมั่น เป็นเรื่องใหญ่ของเราทุกๆ คนที่จะต้องแก้ไข ที่เราว่ามันยากมันเป็นความรู้สึกนึกคิดที่เป็นตัวเป็นตนตัวตน มันเป็นความตรึกความนึกเป็นความยึดมั่นถือมั่น ปัญญาเป็นสิ่งที่กำหนดรู้ ใจของเราทุกคนมันคิดมันตรึกมันนึกได้ทีละอย่าง เมื่อใจของเราไม่เอาไปตรึกไปนึกไปคิด ไม่เอาไปยึดมั่นถือมั่น สติก็จะหยุดสัญชาตญาณที่มันเป็นตัวเป็นตน พุทธะตัวผู้รู้ตัวสัมปชัญญะคือตัวปัญญาจะได้สละเสียซึ่งนิติบุคคลตัวตน เพราะถ้าไม่มีตัวไม่มีตนแล้ว ระหว่างกายกับใจ ปัญญาจะมองเห็นเป็น ๒ อย่าง นี้กายส่วนหนึ่ง นี้ใจส่วนหนึ่ง เรื่องกายนั้นเกิดแก่เจ็บตายพลัดพราก เรื่องใจนั้นถ้าเรามีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง จะเป็นสภาวะธรรมที่ไม่มีความแก่ความเจ็บความตายความพลัดพราก จะมองเห็นทุกอย่างนั้นเป็นเพียงสภาวะธรรม เป็นเหตุเป็นปัจจัย เพราะสิ่งนี้มีสิ่งต่อไปถึงมี เมื่อมีอวิชชามีความหลงถึงมีการเวียนว่ายตายเกิด
ผู้ประพฤติผู้ปฏิบัติธรรมผู้ที่เป็นเสขะบุคคล บุคคลที่จะต้องประพฤติต้องปฏิบัติ ถึงต้องพากันเจริญสติเจริญสัมปชัญญะให้ติดต่อต่อเนื่อง เพื่ออบรมบ่มอินทรีย์สร้างบารมี ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ใจกับกายจะได้ขาดจากกัน จะไม่มีความรู้สึกว่าเราแก่เราเจ็บเราตายเราพลัดพราก สิ่งที่ปรากฏนั้นมันเป็นเพียงเหตุเพียงปัจจัยนะ หาใช่นิติบุคคลหาใช่ตัวตนไม่ เหตุปัจจัยทางร่างกาย เหตุปัจจัยทางจิตใจ ตัวของเราก็ไม่มี ตัวของคนอื่นก็ไม่มี ทุกอย่างมีแต่เหตุมีแต่ปัจจัย ธรรมทั้งหลายทั้งปวงนั้นคือเหตุคือปัจจัย ถ้าเราไม่รู้เหตุไม่รู้ปัจจัย เราก็มองดูคนอื่นเป็นนิติบุคคลเป็นตัวเป็นตน เราก็มองดูตนเองเป็นนิติบุคคลเป็นตัวเป็นตน มันไม่ใช่นิติบุคคลไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนนะ นี่คือเหตุคือปัจจัย เมื่อตัวเราคือเหตุคือปัจจัย คนอื่นก็เคยเห็นคือปัจจัย
ทุกท่านทุกคนพากันคิดดูดีๆ นะ จะเอาอะไรมาเป็นตัวเป็นตน เพราะทุกอย่างมันเป็นเพียงเหตุเพียงปัจจัยน่ะ สาเหตุที่เราเอาธาตุเอาขันธ์เอาอายตนะเป็นเรา มันถึงเป็นความเห็นผิดความเข้าใจผิด เราเอาอวิชชาเอาความหลงนั้น มันเป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ มันเป็นไปเพื่อการเวียนว่ายตายเกิดนะ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิดมันเป็นเรื่องเฉพาะตน เมื่อเรามีความหลงมีความเข้าใจผิด ที่เราพากันปฏิบัติผิด เราได้เอาความรู้สึกนึกคิดเอาธาตุเอาขันธ์นั้นมาเป็นเรา
ทุกท่านทุกคนต้องเจริญสติเจริญสัมปชัญญะ สติคือความสงบสัมปชัญญะคือตัวปัญญา เพื่อให้สติกับสัมปชัญญะได้ทำงานสมบูรณ์ เพื่อไม่ให้อวิชชาความหลงมาครอบงำให้เราเป็นนิติบุคคลตัวตน ใจของเรามันคิดได้ทีละอย่าง เมื่อเรามีสติมีสัมปชัญญะ สัญชาตญาณแห่งความรู้สึกที่มันมีตัวมีตนมันก็เกิดขึ้นไม่ได้
ทุกท่านทุกคนต้องมีความสุขในการประพฤติการปฏิบัติ เพราะนี่คือเหตุคือปัจจัย ที่เราจะต้องหยุดเปลี่ยนว่ายตายเกิดเกิด เรามีความสุขในการปฏิบัติธรรม มีความสุขในการทำงานไปพร้อมๆ กัน เรารู้อยู่แล้วเราเข้าใจอยู่แล้วว่าจะไปทำตามอวิชชาตามความหลง ทำตามสัญชาตญาณอวิชชาความหลงนั้นไม่ได้ เราต้องสร้างเหตุสร้างปัจจัยเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เพื่อสติเพื่อสัมปชัญญะของเราทุกคนจะได้สมบูรณ์
เราทุกคนนั้นให้พากันเข้าใจนะ การเวียนว่ายตายเกิดนั้น ไม่ใช่เราจะเพลิดเพลิน เราจะสนุกสนานนะ ความสุขที่มนุษย์เราได้พัฒนาวิทยาศาสตร์มันก็เป็นความสุขจริงน่ะ ทำให้เราหลงทำให้เราเพลิดเพลินได้นะ ความสุขที่เป็นเทวดาก็ยิ่งสุข มันทำให้เราหลงเราเพลิดเพลินได้นะ ความสุขที่เป็นพรหมโลกก็ยิ่งสุข มันทำให้เราหลงเราเพลิดเพลินได้นะ ความสุขเหล่านี้แหละก็ยังตั้งอยู่ในกฎพระไตรลักษณ์มันยังเป็นความหลงความไม่เข้าใจเรื่องอริยสัจ ๔ อยู่นะ เพราะความสุขนี้มันทำให้เวลามันผ่านไปเร็วพระพุทธเจ้าก่อนจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานท่านทรงบอกพวกเราว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงนั้นมีความเสื่อมสิ้นเป็นธรรมดา...
อายุขัยของเรานั้นส่วนใหญ่ก็อยู่ได้ไม่เกิน ๑๐๐ ปี ทุกๆ ท่านก็ต้องจากโลกนี้ไป พระพุทธเจ้าไม่ให้เราไปประมาท ไม่ให้เราติดเราหลงเราเพลิดเพลินอยู่ในความสุขที่เป็นมนุษย์รวยมนุษย์เก่งมนุษย์ฉลาดอยู่นี่แหละ เทวดาที่มาบริโภคทิพยวิมานที่มีความสุขอยู่นี่แหละ พรหมโลกเป็นสิ่งที่สงบเย็นที่มีแต่ความสุขสงบเย็นยิ่งกว่าแอร์คอนเนชั่น ความสุขความดับทุกข์แบบนี้นี้ก็ยังเป็นตัวเป็นตนอยู่ พระพุทธเจ้าให้เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องมีสติมีสัมปชัญญะ เพื่อยกจิตยกใจเข้าสู่ภาวนาวิปัสสนา เพื่อไม่ให้เราหลงติดอยู่ซึ่งความสุขมีความสุขที่มันเป็นนิติบุคคลที่มันเป็นตัวเป็นตน พระพุทธเจ้าท่านให้เราพากันภาวนาด้วยการเจริญสติคือความสงบ ที่เป็นพื้นฐานแห่งสัมปชัญญะ พื้นฐานแห่งการภาวนาวิปัสสนา เพื่อซักฟอกซักล้างอวิชชาซักล้างความหลง
อริยมรรคทุกข้อทุกท่านทุกคนต้องมีความสุขในการประพฤติการปฏิบัติ ต้องมีความสุขในการปฏิบัติอริยมรรค เพื่ออริยมรรคจะได้ทำงานไปในตัวโดยสมบูรณ์ มีความสุขในการรักษาศีลทุกข้อทุกสิกขาบทน้อยใหญ่ให้มีความสุข เราทุกคนต้องเห็นคุณเห็นประโยชน์ในการประพฤติการปฏิบัติธรรม ให้ทุกท่านทุกคนพากันรู้นะ เพราะอริยมรรคมีองค์ ๘ ที่เป็นศีลเป็นสมาธิเป็นปัญญาเป็นสิ่งที่ดีมากดีพิเศษดีจริงๆ เราไม่เห็นคุณเห็นประโยชน์ในอริยมรรค ในศีลสมาธิปัญญา เรียกว่าใจของเราไม่รู้อริยสัจ ๔ ใจของเรายังไม่รู้คุณค่าในความประเสริฐที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่เห็นศีลไม่เห็นธรรมไม่เห็นข้อวัตรข้อปฏิบัติ เรียกว่าจิตใจที่ต่ำทราม เป็นจิตใจที่หัวใจว่างจากนิพพาน เป็นบุคคลที่หัวใจปาราชิก เป็นบุคคลที่ไม่รู้ทุกข์ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ไม่รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ เป็นบุคคลที่ไม่รู้เหตุไม่รู้ปัจจัยของการเวียนว่ายตายเกิด เอาตัวตนเป็นที่ตั้งนั้นไม่ถูกต้อง เอาความหลงเป็นที่ตั้งนั้นไม่ถูกต้อง เมื่อความหลงเป็นเรื่องของเราเอง เมื่อเราไม่แก้ไขตัวเอง ใครจะมาแก้ให้ วันหนึ่งๆ มีแต่จะแก้ไขเรื่องภายนอก เรื่องตัวเองไม่ได้แก้ไขเลย มันเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
พระพุทธเจ้าถึงให้เราเจริญสติเจริญสัมปชัญญะ มีความสุขในการทำงานในการปฏิบัติธรรมอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เมื่อเรามองภายนอก เรามองเห็นทุกอย่างเป็นนิติบุคคลเป็นตัวเป็นตน มันเป็นกระจกเงาที่สะท้อนให้เรารู้ว่า เรายังมีความเห็นผิดเข้าใจผิดเรายังปฏิบัติผิดอยู่ นั่นหมายถึงว่าเรายังเป็นนิติบุคคลเป็นตัวเป็นตนอยู่ หมายถึงเราเอาธาตุเอาขันธ์เอาอายตนะเป็นตัวตนอยู่ เมื่อเรากลับมาหาสติความสงบเรียกว่าสมถะ เมื่อเรากลับมาหาสัมปชัญญะตัวปัญญา ตัวที่รู้กฎแห่งกรรมที่รู้กฎกระบวนการแห่งเหตุแห่งปัจจัย ใจของเราจะได้เข้าสู่วิปัสสนา พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างเข้าสู่พระไตรลักษณ์เห็นความเกิดดับความไม่แน่ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าให้เราพากันประพฤติพากันปฏิบัติ พากันพิจารณาอย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านถึงไม่ให้เราทำอะไรตามอวิชชาตามความหลงที่มันเป็นอัธยาศัยที่มันเป็นความเพลิดเพลินตั้งอยู่ในความประมาท ที่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าท่านเป็นสีลัพพตปรามาส ลูบคลำในศีลในข้อวัดในข้อปฏิบัติ ไม่กลับมาหาสติมาหาสัมปชัญญะ ยังเอาตัวตนเป็นที่ตั้งอยู่ ยังเป็นผู้ไม่เห็นภัยในวัฏสงสาร คนเรายิ่งรู้มาก ยิ่งปัญญามากถ้าเรามีความเห็นไม่ถูกต้องมีความเข้าใจไม่ถูกต้อง ความเป็นตัวเป็นตนที่เป็นโลกธรรมที่มันเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง มันเป็นความว่างจากนิพพาน ที่ได้เอาตัวตนเป็นที่ตั้งถือตัวตนเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มันเป็นนักวิทยาศาสตร์เพียงทางวัตถุ มันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่หลงในตัวตน
การพัฒนาวิทยาศาสตร์ให้หมู่มวลมนุษย์เข้าถึงความดับทุกข์ จึงต้องมีความเห็นให้ถูกต้องเข้าใจให้ถูกต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เราจะได้เป็นการพัฒนาวัตถุพัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน เราจะเอาตัวตนเป็นพระเจ้าได้ยังไง เราจะเอาความสุขที่หมู่มวลมนุษย์เทวดาพรหมที่มีความยึดมั่นถือมั่นด้วยความหลงนี้ได้ยังไง มันยังเป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์อยู่ การเรียนการศึกษามันต้องเป็นสัมมาทิฏฐิเ พื่อเราจะได้พัฒนาวัตถุพัฒนาจิตใจของเราไปพร้อมๆ กัน ทุกท่านทุกคนอย่าได้มีความเห็นผิดเข้าใจผิดว่า เราไม่มีตัวไม่มีตนเราจะมีความสุขได้ยังไง ความสุขเหล่านั้นมันเป็นความสุขที่พวกเรายังไม่เข้าใจนะ พระพุทธเจ้าบอกว่ามันเป็นความสุขของความหลง มันไม่ใช่ความดับทุกข์ มันเป็นความหลง มันเลยเป็นแต่เพียงความหลงเกิดขึ้นความหลงตั้งอยู่ความหลงดับไป ที่มันเป็นความหลงเป็นนิติบุคคลตัวตน มันเป็นการให้อาหารอวิชชาให้อาหารความหลง เราเลยไม่มีโอกาสได้เจริญสติได้เจริญสัมปชัญญะได้เจริญภาวนาวิปัสสนาเลย
การปฏิบัตินั้นต้องปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องเหมือนไก่ฟักไข่ ต้องติดต่อต่อเนื่อง ๓ อาทิตย์ถึงออกเป็นลูกไก่ได้ โดยสมัยใหม่นี้ฟักด้วยอุณหภูมิไฟฟ้าได้มาตรฐานกว่าก็ใช้เวลา ๓ อาทิตย์เช่นกัน
เหมือนไก่มันไข่แล้วก็ฟักไข่ เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้น จะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้องทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้
จริงอยู่ เพราะไข่ทั้งหลายอันแม่ไกนั้นเพียรฟักด้วยอาการ ๓ อย่างนี้ ย่อมไม่เน่า ยางเหนียวของไข่เหล่านั้นก็จะถึงความแก่ขึ้น เปลือกไข่ก็จะบาง ปลายเล็บเท้าและจะงอยปากก็จะแข็ง ไข่ทั้งหลายก็จะแก่รอบ แสงสว่างข้างนอกก็จะปรากฏข้างในเพราะเปลือกไข่บาง เพราะฉะนั้น ลูกไก่เหล่านั้นจึงใคร่จะออกด้วยคิดว่า เรางอปีกงอเท้าอยู่ในที่คับแคบ เป็นเวลานานแล้วหนอ และแสงสว่างภายนอกนี้ก็ปรากฏ บัดนี้ พวกเราจักอยู่เป็นสุขในที่มีแสงสว่างนั้นดังนี้ แล้วกะเทาะเปลือกด้วยเท้า ยื่นคอออก แต่นั้นเปลือกก็จะแตกออกเป็นสองส่วน ลำดับต่อมา ลูกไก่ทั้งหลายขยับปีกร้อง ออกมาตามสมควร เมื่อออกมาแล้วก็จะเที่ยวหากินตามที่ต่างๆ
ความไม่เสื่อมแห่งวิปัสสนาญาณ เพราะความถึงพร้อมด้วยอนุปัสสนา ๓ อย่างของภิกษุผู้ เหมือนความที่ไข่ทั้งหลายไม่เน่า การถือเอายางเหนียวคือความใคร่อันเป็นไปในภพ ๓ ด้วยความถึงพร้อมด้วยอนุปัสสนา ๓ อย่าง (อนิจจานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นโดยอาการไม่เที่ยง ทุกขานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นโดยอาการเป็นทุกข์ และอนัตตานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นโดยอาการเป็นอนัตตา) ของภิกษุนั้น เหมือนการแก่รอบแห่งยางเหนียวของไข่ทั้งหลายด้วยการกระทำกิริยา ๓ อย่างของแม่ไก่ฉะนั้น
ความที่เปลือกไข่คืออวิชชาของภิกษุเป็นธรรมชาติเบาบาง เหมือนความที่เปลือกไข่เป็นของบางฉะนั้น ความที่วิปัสสนาญาณของภิกษุเป็นธรรมชาติคมแข็ง ผ่องใสและกล้า เหมือนความที่ปลายเล็บเท้าและจะงอยปากของลูกไก่ทั้งหลาย เป็นธรรมชาติกระด้างและแข็ง ฉะนั้น
กาลเปลี่ยนแปลง กาลอันเจริญแล้ว กาลแห่งการถือห้องแห่งวิปัสสนาญาณของภิกษุ เหมือนกาลแปรไปแห่งลูกไก่ทั้งหลายฉะนั้น กาลที่ภิกษุนั้นให้ถือห้องคือวิปัสสนาญาณไป ได้อุตุสัปปายะ โภชนสัปปายะ ปุคคลสัปปายะ หรือธรรมสวนสัปปายะ อันเกิดแต่วิปัสสนาญาณนั้น นั่งบนอาสนะเดียวเจริญวิปัสสนา ทำลายเปลือกไข่คืออวิชชาด้วยอรหัตมรรคที่บรรลุแล้วโดยลำดับ ขยับปีกคืออภิญญาแล้ว บรรลุพระอรหัตโดยสวัสดี เหมือนกาลที่ลูกไก่ทั้งหลายกะเทาะเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากแล้ว ขยับปีกทั้งหลายออกมาโดยความสวัสดีฉะนั้น จำเดิมแต่นั้น ลูกไก่เหล่านั้นยังคามเขตให้งาม เที่ยวไปในคามเขตนั้นฉันใด ภิกษุแม้นี้เป็นพระมหาขีณาสพบรรลุผลสมาบัติอันมีนิพพานเป็นอารมณ์แล้ว ยังสังฆารามให้งามอยู่เที่ยวไปฉันนั้น
เราจะปลูกต้นไม้ก็ทำอย่างเดียวกับการฟักไข่นี่แหละ เอาเมล็ดพันธุ์ลงปลูก ให้น้ำให้ปุ๋ยให้แสงแดดดูแลรักษา จึงจะเจริญเติบโตได้ ความเป็นสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็อยู่ที่การปฏิบัติของเราทุกคนที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ผู้ที่มาบวชถึงมีโอกาสพิเศษ เราจะได้ปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน พระพุทธเจ้าบอกว่าให้การประพฤติการปฏิบัติของเรานี้เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่กับชีวิตประจำวัน อยู่กับข้อปฏิบัติ อย่าให้มันแยกกัน การทำงานกับการปฏิบัติธรรมก็ให้เป็นอันเดียวกัน จะได้ทั้งทางกายแล้วก็ทางจิตใจให้เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘
พระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ที่มีอยู่ในพระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ มีอยู่ในพระปาฏิโมกข์ที่สวดกันทุกกึ่งเดือน ๒๒๗ สิกขาบท มันคือการหยุดวัฏสงสาร หยุดตัวเราหยุดตัวตนของเรา ทุกท่านทุกคนต้องพากันรู้จัก นั่นเป็นยานนำเราออกจากวัฏสงสาร ถึงให้ทุกท่านทุกคนพากันมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ โดยการไม่เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง เรียกว่าหยุดตัวหยุดตน มีแต่สติคือความสงบมีแต่สัมปชัญญะคือปัญญา มีความสงบอบอุ่นสงบเย็นเป็นพระนิพพาน ชีวิตของเราทุกคนมันจะได้เป็นแอร์คอนดิชั่น มันจะสงบอบอุ่นอยู่กับอุณหภูมิทั้งกายทั้งใจเป็นธรรมเป็นปัจจุบันธรรม
พระพุทธองค์แม้จะทรงมีพระทัยกรุณาประดุจห้วงมหรรณพก็ตาม แต่พระบรมศาสดาทรงรังเกียจอย่างยิ่ง ซึ่งบุคคลผู้ไม่บริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสาวกที่ทรงเพศเป็นภิกษุ มีเรื่องสาธกดังนี้ -
วันหนึ่งเป็นวันอุโบสถ พอพระอาทิตย์ตกดิน พระสงฆ์ทั้งมวลก็ประชุมพร้อมกัน ณ อุโบสถาคาร เพื่อฟังพระโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงเองทุกกึ่งเดือน พระมหาสมณะเจ้าเสด็จสู่โรงอุโบสถ แต่ประทับเฉยอยู่ หาแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ไม่ เมื่อปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว พระอานนท์พุทธอนุชาจึงนั่งคุกเข่าประนมมือถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า "พระองค์ผู้เจริญ! บัดนี้ปฐมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายคอยนานแล้ว ขอพระองค์โปรดทรงแสดงปาฏิโมกข์เถิด"
แต่พระพุทธองค์ก็ยังทรงเฉยอยู่ เมื่อมัชฌิมยามแห่งราตรีล่วงไปแล้ว พระอานนท์ก็ทูลอีก แต่ก็คงประทับเฉย ไม่ยอมทรงแสดงพระโอวาทปาฏิโมกข์ เมื่อย่างเข้าสู่ปัจฉิมยาม พระอานนท์จึงทูลว่า "พระองค์ผู้เจริญ! บัดนี้ปฐมยามและมัชฌิมยามล่วงไปแล้ว ขอพระองค์อาศัยความอนุเคราะห์แสดงโอวาทปาฏิโมกข์เถิด"
พระมหามุนีจึงตรัสว่า "ดูก่อนอานนท์! ในชุมนุมนี้ภิกษุผู้ไม่บริสุทธิ์มีอยู่ อานนท์! มิใช่ฐานะตถาคตจะแสดงปาฏิโมกข์ในท่ามกลางบริษัทอันไม่บริสุทธิ์" ตรัสอย่างนี้แล้วก็ประทับเฉยต่อไป
พระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย นั่งเข้าฌานตรวจดูว่าภิกษุรูปใดเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์อันเป็นที่รังเกียจของพระศาสดา เมื่อได้เห็นแล้ว จึงกล่าวขึ้นท่ามกลางสงฆ์ว่า "ดูก่อนภิกษุ! ท่านออกไปเสียเถิด พระศาสดาเห็นท่านแล้ว" แม้พระมหาเถระจะกล่าวอย่างนี้ ถึง ๓ ครั้ง ภิกษุรูปนั้นก็ไม่ยอมออกไปจากชุมนุมสงฆ์ พระมหาโมคคัลลานะจึงลุกขึ้นแล้วดึงแขนภิกษุรูปนั้นออกไป เมื่อภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว พระอานนท์จึงทูลให้แสดงปาฏิโมกข์อีกพระศาสดาตรัสว่า "อัศจรรย์จริง โมคคัลลานะ หนักหนาจริงโมคคัลลานะ เรื่องไม่เคยมีได้มีขึ้นแล้ว โมฆบุรุษผู้นั้นถึงกับต้องกระชากออกไปจากหมู่สงฆ์ เธอช่างไม่มีหิริโอตตัปปะสำรวจตนเองเสียเลย ภิกษุทั้งหลาย เป็นอฐานะเป็นไปไม่ได้ที่ตถาคตจะพึงทำอุโบสถแสดงปาฏิโมกข์ท่ามกลางชุมนุมสงฆ์ที่ไม่บริสุทธิ์ แม้จะมีเพียงรูปเดียวก็ตาม ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษผู้นั้นทำให้เราลำบากใจภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจะไม่ทำอุโบสถแสดงปาฏิโมกข์อีก ขอให้ภิกษุทั้งหลายทำกันเอง"
แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงความอัศจรรย์แห่งธรรมวินัย ๘ ประการ เปรียบด้วยความอัศจรรย์แห่งมหาสมุทรดังนี้ -
๑. พระธรรมวินัยนี้มีการศึกษา การกระทำและข้อปฏิบัติโดยลำดับ มิใช่เริ่มต้นก็ตรัสรู้อรหัตผล เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีความลุ่มลึกโดยลำดับ มิใช่เริ่มต้นก็ลึกเป็นเหว
๒. พระสาวกย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเปรียบเหมือนมหาสมุทร ซึ่งมีความหยุดเป็นธรรมดาไม่ล่วงเลยฝั่งไป
๓. สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลทุศีล ย่อมประชุมกันยกออก (จากหมู่) แม้เธอจะนั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ (ก็ชื่อว่าไกลจากสงฆ์) เปรียบเหมือนกับมหาสมุทรที่ซัดซากศพเข้าสู่ฝั่งโดยพลัน
๔. วรรณะ ๔ เมื่อบวชในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมละชื่อและโคตรเดิมถึงการนับว่าสมณศากยบุตรเปรียบเหมือนแม่น้ำ เช่น คงคา ยมุนา เมื่อถึงมหาสมุทรย่อมละชื่อและโคตรเดิม ถึงการนับว่ามหาสมุทร
๕. ในธรรมวินัยนี้ แม้จะมีภิกษุเป็นอันมากนิพพานไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แต่นิพพานธาตุก็คงอยู่อย่างนั้นไม่พร่องไม่เต็มเลย แม้จะมีผู้เข้าถึงนิพพานอีกสักเท่าใด นิพพานก็คงมีให้ผู้นั้นอยู่เสมอไม่ขาดแคลนหรือคับแคบ เพราะเหตุนั้น เปรียบเหมือนความพร่องหรือความเต็มแห่งมหาสมุทร เพราะเหตุแห่งสายน้ำตกลงมาจากอากาศ
๖. พระธรรมวินัยนี้ เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลไปจนถึงพระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตผลเปรียบเหมือนมหาสมุทร เป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำขนาดใหญ่ เช่น ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาวาฬ นาค และอสูร เป็นต้น
๗. พระธรรมวินัยนี้ มีรัตนะเป็นอันมาก เช่น สติปัฏฐาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นต้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรมี มุกมณี และไพฑูรย์ เป็นต้น
๘. พระธรรมวินัยมีรสเดียวคือ วิมุตติ (ความหลุดพ้น) เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีรสเดียวคือรสเค็ม
นี้เป็น ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่
เรื่องศีลเรื่องธรรมเรื่องคุณธรรม ยิ่งเป็นสิ่งที่สำคัญพระพุทธเจ้าหมู่มวลมนุษย์ทั้งหลายเนี่ย พัฒนาทั้งกายทั้งวาจาทั้งจิตใจตามธรรม เรียกว่าพัฒนาวิทยาศาสตร์พร้อมกับพัฒนาใจไปพร้อมกัน เราจะได้ไม่หลง ท่านถึงบอกว่า สิ่งที่เราใช้สอยบริโภค มันจะได้เป็นคุณ ก็เรียกว่ากามคุณ เพราะความสุขสำหรับผู้ที่มีสติมีปัญญา ไม่ใช่ความสุขที่มีความหลง เราเอาแต่วัตถุไม่ได้เอาจิตใจไปพร้อมๆ กัน ให้พากันเข้าใจ อย่าพากันลังเลสงสัย อย่าพากันลูบคลำในศีลในข้อวัตรปฏิบัติ เป็นสีลัพพตปรามาส
พระพุทธเจ้าท่านให้เรา 'สร้างปฏิปทา' เหมือนเรากำลังทำกันอย่างนี้แหละ ไม่อย่างนั้นการก่อสร้างต่างๆ นี้ มันก็มีประโยชน์น้อย มีอานิสงส์น้อย เพราะทุกๆ คนที่มาพักพิง มาปฏิบัตินี้ไม่ตั้งอกตั้งใจกัน พระหนุ่มๆ เณรน้อย หรือญาติโยมที่พากันประพฤติปฏิบัติจะได้เกิดประโยชน์
เมื่อตัวอย่าง...มันไม่มี แบบพิมพ์...มันไม่มี พระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมไปๆ แล้วคิดว่าประวัติของพระพุทธเจ้า ประวัติของพระอรหันต์ คิดว่าเป็นนิยายกันไป...ไม่เป็นความจริง ถ้าเราพากันประพฤติปฏิบัติ ดูพระนิพพานก็อยู่ไม่ไกล อนาคตก็สดใสเหลือเกิน
เราทำการทำงานให้มันชำนิชำนาญ ให้มันเข้าใจและก็ให้มันเป็นการประพฤติปฏิบัติของเรา ที่ต้องให้มันมีความชำนิชำนาญ ให้มันเป็นวันนี้...เราเป็นเท่านี้ ขนาดนี้ แล้วเราต้องต่อเนื่องในวันพรุ่งนี้เพิ่มขึ้นอีก เราอย่าไปคิดว่าอนาคตมันริบหรี่ เหมือนกับงมเข็มในมหาสมุทร ไม่รู้มันจะเป็นอย่างไร...
ถ้าท่านคิดอย่างนั้น แสดงว่าท่านยังไม่รู้อนาคต อนาคตที่เดี๋ยวนี้แหละ ที่มันเห็น ที่มันเป็น เราเองถ้าปฏิบัติไม่หยุด... ถึงได้เป็น 'พระอริยเจ้า' จะได้ไม่ต้องไปหากราบ หาไหว้ไกลๆ ที่ประเทศอินเดีย ที่วัดนั้น...วัดนี้... ต้องมากราบ 'พระที่จิตที่ใจ' ของเรานี้แหละ การประพฤติปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าบอกให้เราไม่อ่อนแอ ให้เราตั้งใจไว้ ไม่ว่าเราจะเหน็ดเราจะเหนื่อยนี้ให้ถือว่าเรื่อง ใจ' เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่แล้วก็แล้วไป ให้ถือว่าเรานั้นมันโง่ไปแล้ว
ทุกท่านทุกคนต้องตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติ เพราะเพื่อนฝูง ครูบาอาจารย์ ไม่มาปฏิบัติให้เรานะ พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้สอนนะ "ธรรมวินัย ข้อวัตร ปฏิบัติ" ที่เราพากันปฏิบัติตาม อย่างนี้แหละ คือ พระพุทธเจ้า คือ พระธรรม คือ พระอริยสงฆ์ "นอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว ถึงจะเหนื่อย ถึงจะยากลำบาก มันก็คุ้ม"
ทุกคนถ้ามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องไม่มีคำว่าสาย ถึงแม้จะอายุ ๘๐ - ๙๐ ปี ก็ไม่มีคำว่าสาย ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุสฺสีโล อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย สีลวนฺตสฺส ฌายิโน ฯ
ผู้มีศีล มีสมาธิ ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของคนทุศีล ไร้สมาธิ
มุนีผู้ประเสริฐกล่าวเรียกผู้ที่มีความเพียรอยู่อย่างนี้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน ว่าเป็นผู้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวก็น่าชม
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee