แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วันศุกร์ที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง มนุษย์ที่สมบูรณ์ ตอนที่ ๖๘ ศีลสมาธิปัญญาคือเรื่องที่มาแก้ไขตนเอง มีความสุขในการประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันไปอย่างนี้
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
พระพุทธเจ้าท่านให้พวกเรามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง แล้วพากันปฏิบัติให้มันถูกต้อง กายของเราก็ส่วนหนึ่ง ใจของเราก็ส่วนหนึ่ง ส่วนที่จะเข้าไปในร่างกายของเราให้เราพากันรู้ เพราะอาหารเข้าไปในร่างกายของเรา มันมีทั้งคุณและมีทั้งโทษ พระพุทธเจ้าท่านให้เรามีพุทธะให้มีสติมีปัญญาในการที่จะเอาอาหารเข้าสู่ร่างกาย เราต้องปฏิบัติกับร่างกายให้ถูกต้อง เพราะทุกอย่างมันคือเหตุคือปัจจัย อย่าได้บริโภคอาหาร เพราะความอร่อยเพราะความชอบและความไม่ชอบ เราทุกคนต้องมีพุทธะคือมีปัญญา ไม่เอาความหลงเป็นการดำเนินชีวิต อาหารที่เข้าไปในร่างกายของเราย่อมเป็นอาหารที่ไม่บาป ไม่ได้เป็นความทุกข์กับคนอื่นสัตว์อื่น ให้ทุกท่านทุกคนพากันเข้าใจ ที่เอาอาหารเอาอะไรที่ได้มาจากความทุกข์ของคนอื่นจากสัตว์อื่น ที่ทรัพยากรที่เราได้มาบริโภคมันได้มาจากคนอื่นสัตว์อื่น
การปฏิบัติการประพฤติการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าท่านให้เราเน้นมาหาตัวของเราเอง เรื่องการประพฤติการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องที่ทุกคนจะมาแก้ไขที่ตัวของเราเอง เพื่อเราจะได้ให้อาหารกายที่ถูกต้องอาหารใจที่ถูกต้อง เพราะปัญหาต่างๆ ของเราทุกคนนั้น มันอยู่ที่เรามีความเห็นไม่ถูกต้องความเข้าใจไม่ถูกต้องแล้วพากันปฏิบัติไม่ถูกต้อง ทุกท่านทุกคนต้องพากันหยุดตัวเอง เพื่อจะได้ไม่วิ่งตามอวิชชาไม่วิ่งตามความหลง เพราะใจของเราทุกคนมันคิดได้อย่างเดียว ถ้าเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ธรรมะมันก็เกิดขึ้นไม่ได้ สัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องเป็นสิ่งที่เราทุกคนจะต้องพึงประพฤติพึงปฏิบัติ เพื่อที่จะได้เป็นสติเป็นสัมปชัญญะ ที่เป็นธรรมเป็นปัจจุบันธรรม
เพราะอวิชชาเพราะความหลง ทุกท่านทุกคนถึงพากันตรึกในกามในพยาบาท กามก็ได้แก่ความชอบใจ ความชอบใจนั่นก็คือคือความหลง พยาบาทก็แปลว่าความไม่ชอบใจ ความไม่ชอบใจนั่นก็คือความหลง ความหลงความชอบใจและความไม่ชอบใจ มันเป็นขั้วบวกและขั้วลบ มันเป็นโลกธรรมมันเป็นโรค โรคนั้นคือความหลงครอบนามธรรม มันเป็นโมหะเป็นอวิชชาเป็นความหลง ตัวพุทธะมันเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะใจของเรามันคิดได้อย่างเดียว เหมือนระบบสมองของมนุษย์เรา เมื่อไขมันมันอุดตัน ร่างกายมันก็เป็นอัมพฤกษ์อัมพาต โลกธรรมมันครอบงำธรรมะ ธรรมะมันก็เป็นอัมพฤกษ์ เพราะร่างกายมันคือเหตุคือปัจจัย ใจของเราก็คือเหตุคือปัจจัย
การปฏิบัติของเรา จะให้เข้าใจง่ายๆ ก็ต้องเข้าใจอย่างนี้ สติกับสัมปชัญญะจึงเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เราทุกคนต้องมีสติคือความสงบมีสัมปชัญญะคือธรรมะ เราจะได้เอาธรรมะครองใจ ไม่ใช่เอาอวิชชาความหลงครองใจ เรียกว่าไม่ให้โลกธรรมครองใจเรา ให้ทุกท่านทุกคนพากันรู้จัก กรรมทางกายกับกรรมทางใจ อาหารที่เราบริโภคไปทางกายนั่นก็คือกรรม อาหารที่เราบริโภคในทันใจนั่นก็คือกรรม
ทุกท่านต้องมีสติมีสัมปชัญญะ เพื่อจะได้ควบคุมคอนโทรล เอาอาหารเข้าทางกาย เอาอาหารเข้าทางจิตใจด้วยสติด้วยสัมปชัญญะ คำว่ายึดมั่นถือมั่น ทุกคนให้พากันเข้าใจ คำว่ายึดมั่นถือมั่น ได้แก่ศีลได้แก่สมาธิได้แก่ปัญญานั้นเป็นผู้ควบคุมคอนโทรล ทั้งศีลสมาธิเพื่อจะให้เรายึดมั่นแล้วไม่ถือมั่น เพราะยึดมั่นถือมั่นมันเป็นเพียงศีลเป็นเพียงสมาธิ มันยังไม่เข้าถึงพุทธศาสนา ความยึดมั่นถือมั่นยังไม่ใช่ระดับพระพุทธศาสนา ต้องยึดมั่นถือมั่นร่วมกันเป็น ๓ อย่างคือศีลสมาธิปัญญา คือยึดมั่นแต่ไม่ถือมั่น เปรียบเสมือนเราทานอาหารที่มีคุณค่าทางร่างกาย แล้วก็มีคุณค่าทางจิตใจไปพร้อมกัน อาหารนั่นน่ะต้องออกจากร่างกายของเราหมด ถึงไม่ท้องผูก ถ้าเราท้องผูกเมื่อไหร่ อาหารเก่าก็จะกลับมาเลี้ยงร่างกายของเรา การที่ท้องผูกนั่นคือความยึดมั่นถือมั่นทางร่างกาย เป็นสาเหตุให้เรามีโรคมีภัย การที่เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ถ้าเรามีสัมมาทิฏฐิเราไม่มีความหลงน่ะ เพราะเราทำดี เราก็ไม่ติดในความดี ถ้าเราติดในความดี มันก็เปรียบเสมือนเป็นคนท้องผูกที่มันเป็นใจผูกเป็นใจที่ยึดมั่นถือมั่น
การปฏิบัติธรรมถึงเป็นหน้าที่ ที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ถ้างั้นใช้ของ เราจะมีความยึดมั่นถือมั่น มันจะเป็นความรู้ความเข้าใจระดับผู้ที่เอาสมาธิเป็นนิพพาน มันยังไม่ใช่สติยังไม่ใช่สัมปชัญญะ ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องอริยมรรคมีองค์ ๘ ความถูกต้องคือความถูกต้อง ไม่มีอคติ ไม่ใช่นิติบุคคลไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ถ้าเรามีอคติอยู่ สติสัมปชัญญะของเราก็เกิดขึ้นไม่ได้ ปัญญาวิปัสสนามันเกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งที่มันเป็นตัวเป็นตนที่มันเป็นภพเป็นชาติที่มันเป็นความยึดมั่นถือมั่น มันเป็นลักษณะของคนท้องผูก เป็นลักษณะของคนใจผูก แบบนี้ไม่ใช่ของคนมีสติมีสัมปชัญญะ อันนั้นวิปัสสนามันไม่เกิด เพราะเรายังเอาธาตุเอาขันธ์อายตนะเป็นเราอยู่ การครองธาตุครองขันธ์นั้นยังเป็นการครองธาตุครองขันธ์ที่เป็นอวิชชาเป็นโลกธรรมยังมีมานะ ๙ อย่าง ที่เกิดในใจของเรา ที่มันเป็นความยึดมั่นถือมั่นที่ทำให้ทุกคนไม่มีสติไม่มีสัมปชัญญะ ทั้งศีลทั้งสมาธิทั้งปัญญานั้นต้องก้าวไปในเราทุกคน ที่มันเป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ พระพุทธเจ้าจึงให้เราปรับใจเข้าหาธรรมะวินัย เพื่อจะได้เอาอาหารเข้าทางกายเอาอาหารเข้าทางจิตใจไปพร้อมๆ กัน ทุกท่านทุกคนต้องปรับตัวเองเข้าหาเวลาเข้าหาธรรมะ เพราะทุกท่านทุกคนได้หยุดความเป็นนิติบุคคลคือตัวตน หยุดให้อาหารอวิชชาหยุดให้อาหารความหลง ที่มันตรึกในความชอบความไม่ชอบ ที่มันเป็นทางสายกลางที่เราต้องก้าวไป
คำว่าบรรพชิต คือผู้ที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องทั้งกายทั้งใจ ไม่เอาความชอบความไม่ชอบเป็นที่ตั้ง มีสติมีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม จึงเรียกว่าบรรพชิต ไม่เปิดโอกาสให้ความชอบความชอบเอามาครองใจของเรา ที่ว่าตรึกในกาม ตรึกในพยาบาท เพราะใจของเรามันคิดได้อย่างเดียว แต่ความถี่ของตัวตนมันรวมกัน เราต้องรู้เรื่องของกาย เราต้องรู้เรื่องของใจ รู้เรื่องกายรู้เรื่องใจน่ะ กว่าจะรู้เรื่องมันใช้เวลาตั้งหลายเดือนหลายปีน่ะ ทุกท่านทุกคนจะให้อาหารกายตามความชอบความไม่ชอบไม่ได้ ทุกท่านทุกคนจะให้อาหารใจตามความชอบความไม่ชอบไม่ได้ สติสัมปชัญญะจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
ยกตัวอย่างพระพุทธเจ้าไม่ให้เราตรึกในกามตรึกในพยาบาท ที่มันเป็นกรรมที่เราไปตรึกไปนึกไปคิด ไปหมกมุ่นในกามในความหลง ในความชอบความไม่ชอบ เช่น ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายยินดีพอใจในกามอย่างนี้ ยินดีพอใจตรึกในกามอย่างนี้ อย่างนักบวชของเราอย่างนี้ผิดธรรมวินัย เช่น มีโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์พวกนี้มันเป็นอุปกรณ์ของอวิชชาของความหลง มันเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติธรรมหรือบรรพชิตเสียหายนะ อวิชชาความหลงมันเป็นเผด็จการทำให้พุทธะไม่เกิดมีกับเรานะ มันเป็นสายมูสายหลง ผลกรรมที่มันมาจากที่เราไม่เอามรรคผลนิพพาน 100% ที่เราตรึกในกาม ตรึกในความชอบน่ะ ผลกรรมที่เราตรึกมันทำให้มีโทรศัพท์มือถือ เหมือนแต่ก่อน มีแต่มือเปล่า พอมีโทรศัพท์มันไม่ใช่มือเปล่าแล้ว มันเป็นการทำลายสติทำลายสัมปชัญญะทำลายพุทธะที่จะเกิดกับเราได้ รู้ไหมใจของเรามันคิดได้อย่างเดียว โทรศัพท์มือถือมันเอาอวิชชาครองใจของเรา บรรพชิตทั้งหลายยังไม่รู้เลย ผลกรรมที่เราตรึกในกามตรึกในพยาบาท มันทำให้เรามีโทรศัพท์มือถือ แม้แต่ครูบาอาจารย์ท่านไม่ให้มีโทรศัพท์มือถือ ก็ยังพากันลักมี นั่นมันสายมูสายพระเทวทัต มันเป็นลูกหลานของพญามาร มันไม่ใช่พุทธะ การที่เราตรึกในการจมอยู่ในกาม จะทำให้เราจมอยู่ในอวิชชาอยู่ในความหลง เพราะมันเป็นเผด็จการ ผู้ที่มาจะบรรพชาอุปสมบทหลายๆ ท่านที่มุ่งมรรคผลนิพพาน แต่ไม่มีสติไม่มีสัมปชัญญะ ปล่อยให้กรรมที่มันตรึกในกาม ที่มันยินดีในกาม เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้โลกธรรมครอบงำใจของเรา พุทธะเกิดขึ้นไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ที่พุทธะมันจะเกิด เพราะมันครอบงำใจของเรา นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายต้องรู้เรื่องของกายต้องรู้เรื่องของใจ สิ่งที่เข้าไปอยู่ในกายให้เข้าไปในใจคือธรรมะ ที่เป็นอุปการะมาก ต้องมีสติต้องมีสัมปชัญญะ ที่มันหมกมุ่นในกามมันคือตัวตนนั่นแหละ ถ้าไม่มีตัวไม่มีตน ท่านจะสึกได้ยังไง ถ้าท่านอยากสึก แสดงว่าท่านติดในกามหมกมุ่นในกาม ถ้าท่านไม่ตรึกไม่หมกมุ่นในกาม ท่านจะมีโทรศัพท์มือถือไปเพื่ออะไร ฟุ้งซ่านจะไปแก้คนอื่นได้ยังไง เพราะท่านไม่เมตตาตัวเอง จะโกรธพ่อโกรธแม่ได้ยังไง ก็ไม่มีสติมีสัมปชัญญะ
เราเป็นผู้ที่โชคดีมีพระพุทธเจ้าเป็นตัวแบบเป็นตัวอย่างแบบอย่าง เราทุกคนต้องถือนิสัยของพระพุทธเจ้า อย่าถือนิสัยของตัวเอง พระธรรมวินัยในพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทุกท่านทุกคนต้องรับเอามาประพฤติมาปฏิบัติ เพื่อปรับตัวเองเข้าหาธรรมะ เข้าหาการประพฤติการปฏิบัติ ถ้าสงสัยอะไร พระพุทธเจ้าก็ให้เอาธรรมะวินัยมาเทียบเคียงธรรมวินัย ๘ ประการ เพื่อเราจะได้มีสติมีสัมปชัญญะ เพื่อจะได้ไม่เอาตัวเอาตนเป็นที่ตั้ง
“ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการนี้ มีมาใน “โคตมีสูตร” อังคุตตรนิกาย เป็นถ้อยคำที่ตรัสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ซึ่งออกบวชเป็นภิกษุณี ถือกันว่าเป็นหลักสำคัญ มีข้อความที่น่าสนใจเป็นพิเศษอีกส่วนหนึ่งคือ เป็นหลักธรรมที่ทรงเลือกสรรมา ในลักษณะเป็นเครื่องตอบแทนคุณแก่บุคคลผู้ตั้งอยู่ในฐานะที่เป็นมารดาอีกส่วนหนึ่งด้วย เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นว่า การปฏิบัติอย่างใดจะเป็นไปถูกต้องตามหลักแห่งการดับทุกข์หรือไม่ ก็ควรใช้หลักเกณฑ์เหล่านี้ เป็นเครื่องตัดสินได้โดยเด็ดขาด ฉะนั้น จึงเป็นหลักที่แสดงถึง ใจความสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาอยู่ในตัว หลักเหล่านั้น คือ...ถ้าธรรม (การปฏิบัติ) เหล่าใด...
๑. เป็นไปเพื่อ ความกำหนัดย้อมใจ ๒. เป็นไปเพื่อ ความประกอบทุกข์ (คือทำให้ลำบาก)
๓. เป็นไปเพื่อ สะสมกองกิเลส ๔. เป็นไปเพื่อ ความอยากใหญ่ (คือไม่เป็นการมักน้อย)
๕. เป็นไปเพื่อ ความไม่สันโดษ ๖. เป็นไปเพื่อ ความคลุกคลี
๗. เป็นไปเพื่อ ความเกียจคร้าน ๘. เป็นไปเพื่อ ความเลี้ยงยาก
พึงรู้ว่า ธรรมเหล่านั้นไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์ (สัตถุศาสน์ คือ คำสอนของพระศาสดา)
แต่ถ้าเป็นไปตรงกันข้ามจึงจะ เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ คือ
๑. เป็นไปเพื่อ ความคลายกำหนัด ๒. เป็นไปเพื่อ ความไม่ประกอบทุกข์
๓. เป็นไปเพื่อ ไม่สะสมกองกิเลส ๔. เป็นไปเพื่อ ความอยากน้อย
๕. เป็นไปเพื่อ ความสันโดษ ๖. เป็นไปเพื่อ ความไม่คลุกคลี
๗. เป็นไปเพื่อ ความพากเพียร ๘. เป็นไปเพื่อ ความเลี้ยงง่าย
คำว่า “ความกำหนัดย้อมใจ” ได้แก่ ความติดใจรักยิ่งขึ้นๆ ในสิ่งที่มาเกี่ยวข้องหรือแวดล้อม ถ้าการปฏิบัติหรือการกระทำ หรือแม้แต่การพูด การคิดอย่างใด ทำให้บุคคลผู้นั้นมีความติดใจรักในสิ่งใดๆแล้ว ถือว่าเป็นการปฏิบัติผิด ตัวอย่างเช่น การดูหนังดูละคร เป็นต้น มันทำให้เกิดความย้อมใจอย่างที่กล่าวนี้ ด้วยอำนาจของ ราคะ เป็นต้น ซึ่งจะเทียบดูได้กับจิตใจของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความสงบ หรือแม้แต่อยู่ในที่สงัด จะเห็นได้ว่าเป็นการแตกต่างกันอย่างตรงกันข้าม พึงอาศัยตัวอย่างนี้เป็นเครื่องเทียบเคียง จับความหมายของคำๆนี้ให้ได้ ทั้งในทารูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นที่สุด ตัวอย่างแห่งธรรมารมณ์ เช่น การชอบคิดฝัน ถึงสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ก็ย่อมทำจิตให้ถูกย้อมด้วยราคะมากขึ้นๆ เป็นต้น
คำว่า “เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์” หมายถึงการทำตนเองให้ลำบากด้วยความไม่รู้เท่าถึงการณ์ ด้วยความเข้าใจผิด ในกรณีที่ไม่ควรจะมีความลำบากหรือลำบากแต่น้อยก็ตาม เป็นสิ่งที่น่าพิศวงว่า คนเราไม่ชอบความลำบากด้วยกันทั้งนั้น แต่แล้วทำไมจึงไปทำสิ่งที่ตนจะลำบาก ทั้งนี้ ก็เพราะอำนาจของ “โมหะ” คือ ความหลงเป็นส่วนใหญ่ จึงมีความเข้าใจผิดกลับตรงข้าม แม้ในกรณีที่เป็นเรื่องของการอยากดี อยากเด่น อยากมีชื่อเสียง เป็นต้น ก็มีมูลมาจากโมหะอยู่นั่นเอง กรณีที่เป็นการประชดผู้อื่น หรือ ถึงกับประชดตัวเองก็ตาม ย่อมสงเคราะห์เข้าในข้อนี้ ซึ่งมีมูลอันแท้จริงมาจากความหลงสำคัญผิดอย่างเดียวกันนั่นเอง โดยส่วนใหญ่ได้แก่ การปฏิบัติที่เรียกว่า “อัตตกิลมถานุโยค” คือ การทรมานตนอย่างงมงาย
คำว่า “สะสมกองกิเลส” หมายถึง การเพิ่มพูน โลภะ โทสะ โมหะ โดยรอบด้าน ผิดจากความกำหนัดย้อมใจตรงที่ ข้อนี้หมายถึงเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องสนับสนุนการเกิดของกิเลสทั่วไป และให้ทวียิ่งขึ้นด้วย การสะสมสิ่งซึ่งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงกิเลสอยู่เป็นประจำ ในกรณีของคนธรรมดาสามัญ บางอย่างอาจจะไม่จัดเป็นการสะสมกองกิเลส แต่จัดเป็นการสะสมกิเลสอย่างยิ่ง สำหรับผู้ปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์โดยตรง เช่น พวกบรรพชิต หรือในบางกรณีก็จัดว่า เป็นการสะสมกองกิเลส ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต เช่น การมีเครื่องประดับ หรือเครื่องใช้ชนิดที่ไม่มีความจำเป็นแก่การเป็นอยู่ แต่เป็นไปเพื่อความลุ่มหลง หรือความเห่อเหิมทะเยอทะยานประกวดประขันกันโดยส่วนเดียว เป็นต้น เป็นการขยายทางมาของกิเลส ให้กว้างขวาง ไม่มีที่สิ้นสุด
คำว่า “ความอยากใหญ่” หมายถึง การอยากเกินมาตรฐานแห่งภาวะ หรือสถานะ หรือกำลังสติปัญญาของตน เป็นต้น ส่วนความไม่สันโดษ ไม่ได้หมายถึงความอยากใหญ่ เช่นนั้น แต่หมายถึงความไม่รู้จักพอใจในสิ่งที่ได้มาแล้ว หรือมีอยู่แล้ว ซึ่งทำให้มีความรู้สึกเป็น คนยากจนอยู่เนืองนิจ เป็นทางให้เกิดความอยากใหญ่หรือกิเลสอย่างอื่นต่อไปได้ หรือในทางตรงกันข้าม ทำให้เกิดการทำลายตัวเอง จนถึงกับฆ่าตัวตายก็ได้ โดยภาษาบาลี ความอยากใหญ่ เรียกว่า “มหิจฺฉตา” ความไม่สันโดษเรียก “อสันตุฎฐิ” โดยพยัญชนะหรือโดยนิตินัย เราอาจจะแยกได้ว่าเป็นคนละชั้น คนละตอน หรือคนละอย่าง แต่โดยพฤตินัยย่อมเป็นไปด้วยกัน จนถึงกับหลงไปได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
คำว่า “ความคลุกคลี” หมายถึง การระคนกันเป็นหมู่ เพื่อความเพลิดเพลินอย่างใดอย่างหนึ่งจากการกระทำอันนั้น ความเพลิดเพลิน จากการคลุกคลีนี้มีรสดึงดูดในทางธรรมารมณ์เป็นส่วนใหญ่ และก็มีความยั่วยวน ไม่แพ้อารมณ์ที่ได้รับทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะเหตุฉะนั้นเอง คนเราจึงติดใจรสของการที่ได้ระคนกันเป็นหมู่นี้ ทำให้จิตใจลุ่มหลง มีลักษณะเหมือนกับจมไม่ลง ทำให้ความคิดความอ่าน ดำเนินไปอย่างผิวเผิน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการคิดอย่างแยบคายหรือลึกซึ้ง แต่พึงทราบไว้ว่าการประชุมกันเพื่อศึกษาเล่าเรียน ปรึกษาหารือ กิจการงานอันเป็นหน้าที่ เป็นต้นนั้น ท่านไม่เรียกว่าการคลุกคลีกันเป็นหมู่ในที่นี้ แต่อีกทางหนึ่งท่านยังหมายกว้างไปถึงว่า การถูกกิเลสทั่วไปกลุ้มรุม ด้วยสัญญาอดีต ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เคยผ่านมาแล้วแต่หนหลัง แม้นั่งคิดฝันอยู่คนเดียว ก็กลับสงเคราะห์ไว้ในคำว่า การคลุกคลีในหมู่อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน เพราะมีมูลมาจากความอาลัยในการระคนด้วยหมู่
คำว่า “ความเกียจคร้าน” และคำว่า “เลี้ยงยาก” มีความหมายชัดเจนแล้ว การปฏิบัติทำความดับทุกข์เป็นเรื่องใหญ่และยึดยาว จึงต้องอาศัยความเพียร ความเลี้ยงง่าย จึงจะเป็นเหตุให้ไม่ต้องมีภาระเรื่องอาหารมากกว่าที่จำเป็น ซึ่งทำให้เสียเวลา และเสียวัตถุมากไปเปล่าๆ โดยที่อาจจะนำไปใช้เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้
ลักษณะทั้ง ๘ นี้ แต่ละอย่างๆ เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติ เพื่อความดับทุกข์ โดยตรงก็มี เป็นเพียงอุปสรรคก็มี และเป็นการปฏิบัติผิดโดยตรงก็มี จึงถือว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์ ต่อเมื่อปฏิบัติตรงกันข้ามจาก ๘ อย่างข้างต้น จึงจะเป็นไปเพื่อความดับทุกข์ หรือเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ นี้นับว่าเป็นหมวดธรรมที่เป็นอุปกรณ์แห่งการปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์อย่างหนึ่ง ในฐานะที่เป็นหลักสำหรับยึดถือ หรือให้ดำเนินไปถูกทาง”
การตรึกในกามหมกมุ่นในพยาบาท ท่านให้เอาธรรมวินัยตัดสิน อย่าได้เอาคนโน้นคนนี้ตัดสิน เพราะว่าพระพุทธเจ้าเป็นธรรมวินัย ไม่ใช่นิติบุคคลไม่ใช่ตัวตน ตัวตนนั้นมันยังมีผิดมีถูก จะมีระบบความคิดแบบพระธรรมกถึกกับพระวินัยธรยังเป็นนิติบุคคลเป็นตัวตน
การปฏิบัติธรรมกับการดำรงชีพนี้มันไม่ขัดกันนะ หมู่มวลมนุษย์มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง การนอนของเราก็ ๖ ชั่วโมงถึง ๘ ชั่วโมงสำหรับฆราวาสบรรพชิต สำหรับบรรพชิตก็วันละ ๖ ชั่วโมง สำหรับพระพุทธเจ้า ๔ ชั่วโมง สำหรับพระอรหันต์ ๔-๕ ชั่วโมง ที่เราตื่นอยู่ก็ให้มีความสุขในการทำงานในการปฏิบัติธรรมน่ะ ในครอบครัวเราก็จะมีความสุขในการทำงานในการปฏิบัติธรรมหมด การดำรงชีพก็อยู่ได้ด้วยการปรับตัวเองเข้าหาธรรมะเข้าหาเวลา ให้เราทุกคนพากันเข้าใจ หากไม่เข้าใจเราก็จะไม่เข้าใจหลัก ครูบาอาจารย์มองดูเราแล้ว ก็เหมือนหน้าของคนปวดท้องคนเจ็บไข้ไม่สบายมันทุกข์หลาย ไม่มีความสุขในการทำงานในการปฏิบัติธรรม เรียกว่าดูหน้าตาเหมือนคนเหม็นตด มันน่าเกลียด การปฏิบัติธรรมมันต้องมีความสุข สมบูรณ์ในทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรก็เพียบพร้อมไปหมด มีความสุขในการปฏิบัติธรรมมันต้องอย่างนี้ ไม่ใช่หน้าคนปวดท้องหน้าคนเจ็บไข้ไม่สบาย นั่นเรียกว่าคนมีโรค หน้าเจ็บไข้ไม่สบาย การที่เรามาบวช เราต้องพากันเข้าใจ อย่าพากันมาอาศัยพระศาสนามาหาอยู่หาฉันเลี้ยงชีพ เราต้องเอาพระพุทธศาสนามาประพฤติมาปฏิบัติต้องแก้ไขตัวเองเต็มที่ เพื่อโมหะอวิชชาที่มันครองใจนี้ จะได้หยุดครองใจเรา มันถึงจะได้เป็นผู้มีเมตตาที่แท้จริง
ทุกท่านทุกคนต้องทำลายแทงค์โจรแก๊งมหาโจร มันอยู่ไม่ไกลหรอก มันอยู่ที่อวิชชาที่ความหลง มันอยู่ที่เราหมกมุ่นในความหลง ที่บูชาความหลงเป็นพระเจ้า โจรมันอยู่ไม่ไกล มันอยู่ที่ใจของเราเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ที่ยิ่งใหญ่ เป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ที่ใหญ่ยิ่ง พากันเอาโลกธรรมเป็นเป้าหมาย อยู่ที่ใจเราอยากได้อยากมีอยากเป็นอยากไม่เป็น ความตรึกนึกคิดที่มันเป็นกามที่เป็นพยาบาท เราเอาตัวตนเป็นที่ตั้งตัวตน มันก็ยิ่งบารมีแก่กล้าขึ้น เพราะกรรมที่มันเป็นอวิชชาเป็นความหลง ที่ปล่อยให้เราตรึกในกามตรึกในพยาบาท มันย่อมเจริญแก่กล้า ผู้ที่มาบวชเอามรรคผลนิพพานจึงพากันมาหลงขยะ ท่านจะโกนหัวเหมือนพระพุทธเจ้าท่านจะนุ่งจีวรเหมือนพระพุทธเจ้า ท่านก็ไม่เหมือนหรอก เพราะว่าท่านไม่ได้ถือแบรนด์เนมทางจิตใจของพระพุทธเจ้า ไม่ได้ถือแบรนด์เนมทางจิตใจของพระอรหันต์ นั่นยังถือแบรนด์เนมของอวิชชาความหลงในจิตในใจ ของจริงก็คือของจริง ของปลอมก็คือของปลอม มันคนละอย่าง การปฏิบัติถ้าจะว่าง่ายมันก็ง่าย เพียงแต่เราสละคืนซึ่งนิติบุคคลซึ่งตัวตน
ให้พวกเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง พัฒนาทั้งวัตถุพร้อมทั้งพัฒนาจิตใจไปด้วยกัน พระพุทธเจ้าให้เราเข้าใจ เราจะได้ใช้เราจะได้ปฏิบัติ เพราะอย่างพระเราไม่จำเป็นต้องมีโทรศัพท์มือถือ เพราะถ้ามีโทรศัพท์มือถือมันจะเป็นอุปกรณ์ให้อวิชชาความหลงเรียกว่าเดรัจฉานกถา เราจะต้องพากันเข้าใจ เพราะเรายังเป็นเสขบุคคลคือบุคคลที่ยังต้องประพฤติต้องปฏิบัติ ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องก็เปรียบเสมือนกับเรามีวัคซีน โอ้ถามว่า อย่างเราเป็นนักปกครอง เราจำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโทรศัพท์มือถือ อันนั้นก็มีได้ แต่ต้องควบคุมเทคโนโลยีควบคุมจิตใจให้มันได้ ยังพลังงานปรมาณูนี้เป็นสิ่งที่ดี ที่จะพัฒนาโลกนี้ ไฟนี่มันก็ดีสำหรับที่จะหุงต้มหุงหาอาหาร ดินนี้ก็ดีสำหรับให้มีที่อยู่ที่อาศัยที่ทำมาหากิน น้ำก็ให้สำหรับใช้บริโภคในการดื่มกินใช้สอย ทุกสิ่งทุกอย่างเราต้องรู้จักและควบคุม Control ตัวเองให้ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีคุณ เราต้องมีสติสัมปชัญญะอย่าให้สิ่งเหล่านั้นมันกลายเป็นโทษ ร่างกายก็มีวิทยาศาสตร์บางส่วนร่างกาย จิตใจก็มีวิทยาศาสตร์ทางด้านจิตใจ ที่เหลือวิทยาศาสตร์ก็คือปัญญาสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง มันจะได้ไม่เป็นที่บุคคลตัวตน มันจะไม่ได้จบลงเพียงแค่ไปหลงในความสงบ หลงในตัวในตนหลงในสมาธิ เราต้องใช้สติใช้ปัญญา โทรศัพท์มือถือคอมพิวเตอร์มันก็ดี แต่ทุกคนต้องควบคุมตัวเองให้เต็มที่
ท่านก็ให้ทานอาหารทางกายให้มันถูกต้อง ทานอาหารทางใจก็ให้มันถูกต้อง เราต้องเข้าสู่ความเป็นธรรมนำ เอาธรรมนำวัตถุ ไม่ใช่เอาวัตถุเอาอวิชชาความหลงนำธรรม ไม่ใช่เอาโลกมาครอบครองธรรม เราต้องเข้าสู่รายละเอียด เข้าสู่สติสัมปชัญญะ เพราะมันมีทั้งคุณมีทั้งโทษ เรามีตาก็เพื่อมีปัญญา มีหูก็เพื่อมีปัญญา มีจมูกลิ้นกายใจก็เพื่อให้มีปัญญา เราจะได้มีวิปัสสนา ไม่ใช่มีแต่อวิชชาความหลง ทุกท่านทุกคนน่ะถึงจะเป็นคนรวยถึงจะเป็นเทวดาเป็นพระพรหม ก็ยังถูกครอบงำด้วยอวิชชาด้วยความหลง จึงต้องสละเสียซึ่งนิติบุคคลตัวตน ทุกท่านทุกคนจะได้มีสติมีสัมปชัญญะ นิสัยที่มีตัวตนน่ะมันก๋ามันกร่าง เราไม่ต้องไปก๋าไปกร่าง เพราะทุกอย่างมันก็ถูกครอบงำด้วยอวิชชาด้วยความหลง ไม่มีใครจะยิ่งใหญ่ไปกว่ากรรมหรือกฎแห่งกรรมหรอก
ถ้าเราเอาปัจจุบันดีๆ ไม่เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ปัญญาในปัจจุบันก็จะเป็นปัญญาที่บริสุทธิ์ ความเมตตาก็เป็นความเมตตาที่บริสุทธิ์ เราทุกคนนะต้องกตัญญูกตเวทีต้องดูแลคนอื่นดูแลพ่อแม่บรรพบุรุษ แม้แต่ตายไปก็ยังต้องอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ ต้องเข้าใจความเมตตาความกรุณา ต้องมาจากสติมาจากสัมปชัญญะ มันต้องมาจากไม่ใช่นิติบุคคลไม่ใช่ตัวตน ไม่อย่างนั้นจะเป็นความเมตตาที่เป็นไปเพื่อประกอบทุกข์ให้กับตนเองประกอบทุกข์ให้กับคนอื่น พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธบารมีทั้งหลายล้านชาติ ท่านแก้ไขตัวเองทั้งความรู้ความเข้าใจทั้งภาคประพฤติภาคปฏิบัติ จึงเป็นเมตตาที่บริสุทธิ์ ปัญญาบริสุทธิ์
ธรรมะเป็นสิ่งที่เข้าใจง่าย แต่เพราะเอาตัวเอาตนเป็นที่ตั้ง จึงทำให้เข้าใจยาก พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ปฏิเสธวัตถุ ท่านทรงสอนให้บริโภคทุกสิ่งทุกอย่างด้วยปัญญา เพราะมันมีทั้งคุณมีทั้งโทษ ถ้าเราไปยึดมั่นถือมั่นทุกอย่างมันก็มีโทษ นั่นคือสิ่งเสพติด สติสัมปชัญญะจึงเป็นธรรมะที่มีอุปการะมากในปัจจุบัน ให้เราเข้าใจอย่างนี้ อย่าพากันมีตัวมีตนอยู่เลย เราต้องมีสติคือความสงบมีสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม การปฏิบัติไม่ใช่ปล่อยวางแบบมิจฉาทิฏฐิ ที่เอาความขี้เกียจขี้คร้านเป็นที่ตั้ง เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง นั่นคือทางแห่งความเสื่อม ทุกคนทำได้ปฏิบัติได้ เพราะว่าเราไม่ได้ไปแก้ที่ใคร เรามาแก้ที่ตัวเราเอง ศีลนี้คือเรื่องที่มาแก้ตัวเอง สมาธิคือเรื่องมาแก้ไขตนเอง ปัญญาคือเรื่องที่มาแก้ไขตนเอง และก็มีความสุขในการประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันไปอย่างนี้
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee