แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอาทิตย์ที่ ๒๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง มนุษย์ที่สมบูรณ์ ตอนที่ ๕๒ จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด สามารถทำความพินาศให้มากกว่าคนมีเวรทำร้ายกันเสียอีก
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
เราทุกคนจะเป็นมนุษย์ได้ก็ด้วยเรามีสัมมาทิฏฐิมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง รู้สภาวะธรรมตามความเป็นจริงรู้อริยสัจ ๔ คือรู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ กลับมาหาสติคือความสงบ กลับมาหาสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่วิ่งตามอวิชชาความหลง มีความสุขในการประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันในชีวิตประจำวัน ไม่ไปหาความสุขความดับทุกข์ที่ไหน ความสุขความดับทุกข์อยู่ที่เรามีสัมมาทิฏฐิมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องในปัจจุบัน เราทุกคนจะได้พากันเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ไม่ใช่พากันเป็นคน คนนี้แปลว่าอวิชชาความหลง ทุกท่านทุกคนต้องมีความสุขในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราไม่มีความสุขเราก็ไม่มีเอกัคคตารมณ์ เปรียบเสมือนความแห้งแล้ง จึงต้องมีความสุขในการทำงาน คนเรามีร่างกายมีอายุขัยที่มันอยู่ได้ร่วม 100 ปี เราต้องมีอาหารมีบ้านมีที่อยู่อาศัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกความสบายทุกสิ่งทุกอย่าง เราต้องพากันมีความสุขในการทำงาน ทุกคนอย่าพากันมีความทุกข์ในการทำงาน อย่าไปคิดว่าทำงานเพราะจำเป็น เรียนหนังสือเพราะจำเป็น ถ้าเราคิดอย่างนั้นมันไม่ใช่มันไม่ถูก จะเสียคุณภาพจิต
ให้ทุกคนพากันมีความสุขในการทำงาน อย่าให้ใจเราฟุ้งซ่าน ต้องมีความสุขในการทำงานให้ได้ เราจะได้พัฒนาความเป็นอยู่พร้อมทั้งพัฒนาจิตใจไปพร้อมๆกัน เพื่อใจเราจะได้ไม่หลง เรารวยมีอยู่มีกินมีใช้มีความสะดวกสบาย พระพุทธเจ้าก็ให้พวกเรามีปัญญา เพราะเรานั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความหลง ความไม่แน่ความไม่เที่ยง ตั้งอยู่ในร่างกายที่กว้างศอกยาววาหนาคืบที่มีสัญญามีใจครอง ที่ตั้งอยู่ได้เพียงชั่วคราว มีความเปลี่ยนแปลงไปทุกๆ อิริยาบถ เก่าไปใหม่มา เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาอย่างนี้
ให้ทุกท่านทุกคนพากันรู้พากันเข้าใจ อย่าพากันหลง พระพุทธเจ้าทรงสอนเราว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา เรามีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บตายพลัดพรากเป็นธรรมดา จึงต้องมีความสุขในความแก่ มีความสุขในความเจ็บไข้ไม่สบาย มีความสุขกับความตาย มีความสุขในการพลัดพรากจากกัน พระพุทธเจ้าให้เรามีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ ให้มีความสุขสงบอบอุ่น เพื่อเราจะได้พากันอบรมบ่มอินทรีย์ ให้มันชำนิชำนาญเป็นวสีที่ติดต่อต่อเนื่อง เราด้วยคนถึงจะได้เป็นพระกัน ธรรมะนี้ไม่ใช่นิติบุคคลตัวตน ต้องมีความสุขในความแก่เจ็บตายพลัดพราก คนเราเมื่อเป็นมีมิจฉาทิฏฐิ ก็มีความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง
พระผู้พระภาคเจ้าตรัสแสดงถึงจิตที่ตั้งไว้ผิดว่า “ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กริยา เวรี วา ปน เวรินํ มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ ปาปิโย นํ ตโต กเร - โจรเห็นโจร คนมีเวรต่อกันพบคนมีเวรด้วยกัน จะพึงทำความพินาศอันใดต่อกัน จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด ยังสามารถทำความพินาศให้บุคคลมากกว่านั้นเสียอีก”
คำว่า จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด ในพระคาถานี้ ท่านหมายถึงตั้งไว้ใน อกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาต เป็นต้น และมิจฉาทิฏฐิเป็นปริโยสาน หมายความว่า มีความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าความดีไม่มี ความชั่วไม่มี ทำดีสูญเปล่า ทำชั่วสูญเปล่า ดังนี้เป็นต้น
จิตที่ตั้งไว้ผิดอย่างนี้ให้โทษมาก ทำความวอดวายให้มาก มากกว่าโจรและคนมีเวรต่อกันจะพึงกระทำแก่กัน ท่านว่าคนพวกนี้ทำความพินาศให้แก่กันอย่างมากก็เพียงชาติเดียว แต่จิตที่ตั้งไว้ผิดย่อมให้ทุกข์ให้โทษนานกว่า สามารถให้เสวยทุกข์ในอบาย ๔ ไม่รู้จักจบสิ้น
จิตของบุคคลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด อนึ่ง บุคคลที่ต้องเป็นโจรและเป็นคนมีเวรกัน ก็เพราะจิตที่ตั้งไว้ผิดนั่นเองเป็นมูลกรณี พระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนี้ที่แคว้นโกศล ทรงปรารภนายโคบาลชื่อ นันทะ มีเรื่องย่อดังนี้ นายนันทะเป็นชายสาวัตถี เป็นคนมั่งคั่ง แต่ต้องการปกปิดฐานะของตน จึงไปรับจ้างเลี้ยงโคของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี อนึ่ง ท่านว่า เขาต้องการหลบหลีกการบีบคั้นของพระราชา จึงทำตนเป็นคนรับจ้างเลี้ยงโค ทำนองเดียวกับชฏิลชื่อ เกณิยะ หลบหลีกความบีบคั้นแห่งพระราชาด้วยการเป็นบรรพชิตรักษาขุมทรัพย์ของตนอยู่
นายนันทะถือเอาปัญจโครส ในกาลอันสมควร (คือไม่เพียงแต่เป็นคนเลี้ยงโคอย่างเดียว) เมื่อมาสู่สำนักของท่านอนาถปิณฑิกะ เขาได้มีโอกาสเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรม และทูลวิงวอนพระศาสดาให้เสด็จไปสู่สำนักของตนบ้าง พระศาสดา ทรงรอคอยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์และญาณของเขาอยู่ จึงมิได้เสด็จไปทันที ต่อมาเมื่อทรงทราบว่า อินทรีย์เขาแก่กล้าพอที่จะบรรลุมรรคผลได้แล้ว พระศาสดามีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารได้เสด็จไปยังที่อยู่ของนันทโคบาล แต่มิได้เสด็จไปยังเรือนของเขาทีเดียว เพียงแต่ประทับใต้ต้นไม้แห่งหนึ่งใกล้บ้านของเขา
นายนันทะทราบแล้ว พอใจ รีบไปเฝ้า ถวายปัญจโครสทานอันประณีตแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ พระศาสดาทรงอนุโมทนาแล้ว ตรัส อนุปุพพิกกถา ๕ มีทาน เป็นต้น เมื่อจบเทศนา นายนันทะได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน รับบาตรพระศาสดาแล้วตามส่งเสด็จไปไกลพอควรแล้ว พระพุทธองค์ทรงรับบาตรจากเขา แล้วรับสั่งให้กลับ ขณะเขาเดินกลับนั่นเอง นายพรานคนหนึ่งแทงเขาถึงแก่ความตาย
หมู่ภิกษุที่ตามมาข้างหลังเห็นความตายของเขาแล้ว ทูลพระศาสดาว่าความตายของนายนันทะมีขึ้น เพราะการเสด็จมาของพระพุทธองค์ พระศาสดาตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย! เราจะมาหรือไม่มาก็ตาม นายนันทะจะรอดพ้นความตายไปไม่ได้ เขาต้องตายในวันนี้แน่นอน นายพรานจะต้องฆ่าเขา ภิกษุทั้งหลาย! จิตซึ่งตั้งไว้ผิดย่อมทำความพินาศให้แก่ตน ยิ่งกว่าโจรและคนจองเวรจะพึงทำแก่กัน" ดังนี้แล้ว ตรัสพระพุทธพจน์ว่า "ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา" เป็นอาทิ มีนัยดังได้พรรณนามาแล้วแต่ต้น
เราทุกคนต้องมีความสุขในความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ท่านสอนเราน่ะ ถ้าพากันเอาความแก่เจ็บตายพลัดพรากเป็นตัวเป็นตน มันไม่ถูก ไม่รู้ธรรมะไม่รู้สภาวะธรรม นั่นคือความหลงคือมิจฉาทิฏฐิ จะเอาความหลงเป็นที่ตั้งไม่ได้ หลงในตัวตนยังไม่พอ ยังหลงในลูกในหลานในทรัพย์สมบัติสารพัดความหลง ชีวิตนี้เราจะเอาความหลงเป็นที่ตั้งนั้นไม่ได้
นับว่าเป็นโอกาสดีแล้ว ที่ได้ร่างกายเกิดมาเป็นมนุษย์ เราต้องมาหยุดตัวเองเหมือนท่านองคุลีมาล วิ่งตามความหลงเอาความหลงเป็นที่ตั้ง ก็อย่างเดียวกับองคุลีมาล เรามีความหลงถึงมีการฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ประพฤติสิ่งที่ไม่ถูกต้องโกหกหลอกลวง ตั้งอยู่ในความประมาท นี่คือกระบวนการของอวิชชาความหลงนะ ความหลงก็แปลว่าความวิปลาส คลาดเคลื่อนเห็นผิดเป็นถูก มีความเห็นผิดเข้าใจผิดปฏิบัติผิด เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด ถือตัวตนเป็นพระเจ้า ถือเงินถือวัตถุเป็นพระเจ้า พยายามจะแก้ไขภายนอก แล้วก็ไปโทษภายนอก ตีโพยตีพายไปสารพัดสารเพ
ใจของเรานี้ มันคิดได้ทีละอย่าง วาระจิตเเรก มันเป็นสัญชาตญาณ ที่มีสัมผัส วาระจิตถ้าเราเอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมในการดำเนินชีวิต เราก็ไม่ปล่อยให้ใจของเราไปตามสัญชาตญาณ เราไม่ให้อาหารของใจของเรา เราไม่ให้อาหารใจที่มันเป็นความเคยชิน เป็นอวิชชาเป็นความหลง เราก็เอาจิตของเราไปภาวนา ว่าสิ่งที่กระทบเรา นี้คือข้อสอบ เราต้องมีข้อสอบ ยกสิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับเราสู่พระไตรลักษณ์ เราจะไปทำตามใจตามความเคยชินไม่ได้ นี้คือการประพฤติการปฏิบัติของเรา ศีลก็อยู่ที่ขณะนี้เเหละ สมาธิก็อยู่ขณะนี้เเหละ ปัญญาก็อยู่ขณะนี้เเหละ เราต้องเห็นความสำคัญในการประพฤติการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าสอนเราไม่ให้เราประมาทไม่ให้เราเพลิดเพลิน ให้รู้อริยสัจ ๔ ให้รู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ให้เน้นประพฤติเน้นปฏิบัติที่ปัจจุบัน สมาทานตั้งใจ การสมาทานการตั้งใจ เราจะไม่เป็นบุคคลสีลัพพตปรามาส ลูบคลำในศีลในข้อวัตรปฏิบัติ
เมื่อเรายังไม่ตายเรายังมีลมหายใจ เราก็มีโอกาสที่ได้ประพฤติที่ได้ปฏิบัติ เราทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ให้ติดต่อต่อเนื่อง เราดูตัวอย่างเเบบอย่างที่กุลบุตรลูกหลานที่มาบวช ในสำนักปฏิบัติที่พ่อเเม่ครูบาอาจารย์เคร่งครัดใหม่ๆ ก็ดูดี เเต่นานไปไม่เห็นความสำคัญในการปฏิบัติ จิตใจมันตกต่ำ ยิ่งบวชนาน อินทรีย์บารมีของกิเลสของอวิชชาก็ย่อมเเก่กล้า เพราะไม่ได้ประพฤติไม่ได้ปฏิบัติ การปฏิบัติไม่ติดต่อ ไม่ต่อเนื่อง สังเกตุดูพวกที่มาปฏิบัติ เวลาลาสิกขาไปเเล้ว หรือบวช ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ลาสิกขาไปไม่กี่เดือน จิตใจก็จะกลับไปอย่างเก่า หรือตกลงกว่าเก่า นี้คือขาดความประพฤติการปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง เพราะธรรมะ มันต้องเป็นสิ่งที่ติดต่อต่อเนื่อง
“ความรับผิดชอบ ของนักปฏิบัติต้องรับผิดชอบสูง” ไม่ต้องไปท้อใจ ความท้อใจนั้นคือ อวิชชา คือความหลง ที่มันร่างกายเมื่อยล้า ความคิดอย่างนี้ ให้เรารู้จัก เราสังเกตดูดีๆ ถ้าครูบาอาจารย์ เช่น พระอริยเจ้า ท่านทำความเพียร ท่านเจ็บไข้ได้ป่วยเเต่ละครั้ง ก็จะทำให้จิตใจท่านก้าวหน้า เพราะเห็นเทวทูตชัดเจนมากขึ้น เห็นอริยสัจ ๔ มากขึ้น เราต้องเข้าใจ อย่าไปตามใจตัวเอง อย่าไปตามอารมณ์ตัวเอง
ศีลของเรา สมาธิของเรา ปัญญาของเราในปัจจุบันนี้ เรียกว่าพรหมจรรย์ ทุกท่านทุกคนต้องเอามาประพฤติมาปฏิบัติ ปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่ไม่สาย พอดีพอดี พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมเเม้เเต่เพียงราตรีเดียวก็ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตลอดชีวิต เอวํ วิหาริมาตาปึ ผู้ที่มีความเพียรไม่ย่อหย่อนอยู่อย่างนี้ อโหรตฺตมตนฺทิตํ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ สนฺโต อาจิกฺขเต มุนี พระมุนีเรียกผู้ที่มีความเพียรไม่ย่อหย่อนนั้นว่าเป็นผู้สงบ เป็นผู้ที่มีราตรีเดียวเจริญ
ใครก็ตามที่ขยันหมั่นเพียรอยู่เป็นนิจทั้งกลางวันและกลางคืน ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่คอยหวนคำนึงถึงแต่อดีต และไม่เฝ้าฝันถึงอนาคต ท่านผู้นั้นคือคนที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง แม้ว่าเขาจะมีชีวิตอยู่เพียงหนึ่งวัน หรือหนึ่งราตรี วันหรือราตรีนั้นก็เป็นวันเวลาที่เจริญ ผู้นั้นจึงเรียกได้ว่าเป็น ภัทเทกรัตตชน
ถ้าเราปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง ปัญญาของคนเรามันต้องเกิดจากศีล เกิดจากสมาธิ เกิดจากปัญญา ที่เราต้องประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน ใจของเราจะมีปัญญา ถ้าเราปล่อยไป จะทำให้จิตเราไม่มีพลัง ศีลสมาธิปัญญามันต้องเสมอกัน ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอย่างนี้ ยิ่งคนเราพวกหัวระดับกลาง หัวระดับอ่อน ยิ่งต้องอาศัยภาคประพฤติภาคปฏิบัติเยอะ พวกที่หัวดี ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติยิ่งอันตราย เพราะว่ามันซิกเเซกเก่ง เราทุกคนต้องบังคับตัวนะ ต้องปรับตัวเองเข้าหาพระวินัย เข้าหาเวลา เข้าหาข้อวัตร ว่าอันนี้เราไม่คิด ว่าอันนี้เราไม่พูด ว่าอันนี้เราไม่ทำ ต้องเป็นคนมีระเบียบมีวินัย
ผู้ที่จะไปพระนิพพาน เค้าต้องมีระเบียบมีวินัย เเล้วเค้าต้องสมาทานมีระเบียบมีวินัย ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูอย่างประเทศสิงค์โปร์ ประเทศเล็กๆ เค้าก็เป็นมหาอำนาจเเห่งความดี อย่างประเทศนิวซีเเลนด์ เค้ามีระเบียบมีวินัย เค้าไม่โกงกิน ไม่คอร์รัปชั่น เค้าเคารพเวลาระเบียบวินัย พระนี้จะเป็นพระอริยเจ้าได้ ต้องมีศีลมีระเบียบมีวินัย พระพุทธเจ้าถึงให้พวกเราถือนิสัยของพระพุทธเจ้าอย่างน้อย ๕ ปี ผู้ที่บวชใหม่ท่านถึงให้ไปอยู่วัดที่ท่านเคร่งๆ อาจารย์ดุๆ ที่บังคับเวลา บังคับให้รักษาศีล บังคับให้ไปโน่นไปนี้ ๔ ปี ๕ ปี ถึงจะพอเป็นผู้เป็นคน พอสมควร อย่างพระที่ไม่มีครูบาอาจารย์ เช่น พระวัดบ้าน เเย่เลย
ถ้าเราเอาเเต่ปล่อยวางไม่ได้ อันนี้เป็นการปล่อยวางพระธรรมพระวินัย ปล่อยวางศีลปล่อยวางธรรม ปล่อยวางมรรคผลนิพพาน อันนี้มันว่างจริง แต่มันว่างจากมรรคผลนิพพาน ให้เข้าใจ อย่าพากันโง่หลาย มันต้องบังคับให้ตัวเองกระตือรือร้นในข้อวัตรกิจวัตร กระตือรือร้นในเวลา ถ้าเราไม่กระตือรือร้น เค้าเรียกว่า นักปฏิบัติขาลง ไม่สนใจที่จะจัดการใจของเราในปัจจุบัน ปล่อยไปโดยที่ไม่ครอบคลุม ถ้างั้นจะมีอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำไม เค้าต้องมีความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง เเล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะคนเรามันคิดได้ทีละอย่างเดียว ถ้าคิดในทางดีมันก็ดี เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นมันถึงมาตาม เพราะปัจจุบันอดีตอนาคตมันเป็นสายน้ำ มันไม่ใช่หยดน้ำ มันติดต่อต่อเนื่อง หยดน้ำ ไม่ได้ บางทีนานๆ หยดมันก็เเห้ง ทุกๆ คน ถ้าเราปฏิบัติมันจะเก่งทุกคน จะฉลาดทุกคน ที่มันไม่เก่งไม่ฉลาด เเล้วก็ไม่ได้เข้าสู่ อีคิว และ อาร์คิว เพราะมันยังเปิดโอกาสให้มารอยู่
มาร คือผู้ขวางความดี ขัดขวางหนทางของการสร้างบารมี คอยล้างผลาญทำลายความดีของมนุษย์ แล้วชักนำให้คนกระทำในสิ่งที่เป็นบาปอกุศล พอกพูนอาสวกิเลสให้หนาแน่นยิ่งขึ้นขณะเดียวกันก็ขวางกั้นไว้ไม่ให้ทำความดีได้เต็มที่ ทำให้มนุษย์ยากที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานในสังสารวัฏ ในศาสนาต่างๆ มีการเรียกชื่อและให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องมารเอาไว้มากมายในทางพระพุทธศาสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ว่า มารคือผู้ขัดขวางความดีนี้ มีอยู่ ๕ ประเภทด้วยกัน ก็คือ
ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นมารร้ายทีเดียว เพราะบางครั้งก็ทำความลำบากให้กับเรา เช่น เมื่อตัวร้อนเป็นไข้ ปวดหลัง ปวดท้อง ปวดฟัน และโรคต่าง ๆสารพัด แทนที่เราจะได้ใช้เวลาที่มีอยู่นี้ไปกับการสั่งสมความดีให้เต็มที่ ก็ต้องเสียเวลาไปกับการเยียวยารักษาบริหารขันธ์
กิเลสมาร มารคือกิเลสที่ฝังติดแน่นอยู่ในใจของเรามานับภพนับชาติไม่ถ้วนอสาสวกิเลสเหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเมื่อใจตกอยู่ในอำนาจของกิเล คือความโลภ ความโกรธ และความหลงนี้แล้วสิ่งใดที่ไม่เคยคิดก็เผลอคิด เรื่องอะไรที่ไม่ดีซึ่งเราไม่เคยพูด ไม่เคยทำ ก็หลงไปทำ กิเลสทำให้เกิดกรรม เมื่อเกิดกรรมก็มีวิบากมารองรับ ชีวิตจึงต้องเวียนวนอย่างไม่รู้จักจบสิ้น กิเลสเหล่านี้ผูกยึดสัตว์เอาไว้ในภพสาม ทำให้ไม่สามารถไปสู่พระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของเราได้
อภิสังขารมาร อภิสังขาร คือ กรรมฝ่ายวิบากอกุศล เป็นอปุญญาภิสังขารที่ปรุงแต่งผลบาปอันเผ็ดร้อน ซึ่งเราอาจจะเคยทำกรรมไม่ดีเอาไว้ในอดีต แล้วตามมาส่งผลในภพชาติปัจจุบัน คอยเป็นมารขัดขวางเราไม่ให้ประสบความสำเร็จในชีวิตบ้าง ได้รับความไม่สบายกาย ไม่สบายใจบ้าง
มัจจุมาร มารคือความตาย การมีชีวิตที่ยืนยาวและได้สร้างบารมีนั้น นับว่าเป็นผู้มีบุญลาภอันประเสริฐทีเดียว แต่ถ้าเกิดมาไม่กี่ปีก็ถูกมัจจุราชพรากเอาชีวิตไป ต้องละจากโลกนี้ไปเสียแล้ว ทำให้ต้องสูญเสียโอกาสที่จะทำความดีอย่างอื่นอีกมากมาย ฉะนั้น การที่ความตายมาคร่าชีวิตเราไปก่อนที่จะสร้างบารมีได้เต็มเปี่ยม ยังไม่ทันทำกิเลสอาสวะให้เบาบางเลย ก็ต้องตายเสียก่อนแล้ว ตรงนี้แหละ ท่านเรียกว่าเป็นมารมาขัดขวางเรา
เทวปุตตมาร หรือเทพบุตรมารท่านหมายเอาตั้งแต่บุคคลที่อยู่ใกล้ตัว ที่คอยขัดขวางไม่ให้เราทำความดี บางครั้งอาจเป็นสามี ภรรยาของเราเอง หรือเพื่อนฝูงเรา ที่มาขัดขวางการให้ทาน ไม่อยากให้รักษาศีล หรือขณะนั่งสมาธิก็มารบกวนทำเสียงดัง ทำให้ไม่มีสมาธิในการนั่งสมาธิต่อไป หรือบางครั้งเราอาจจะเป็นเทพบุตรมารต่อคนอื่นก็มี คือเราเผลอไปรบกวนหรือขัดขวางคนกำลังปฏิบัติเข้าโดยไม่ได้ตั้งใจ
มารทั้ง ๕ ประการนี้ ปรากฏให้เห็นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน เพียงแต่เราอาจไม่ทันสังเกต หรือมีความชาชินกับอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ไปเสียแล้ว ดังนั้นจึงต้องนำมาชี้ นำมาแสดงให้ได้ทราบว่า ที่เรียกว่ามาร มิใช่มีเฉพาะกิเลสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีทั้งขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร
เราต้องเห็นความสำคัญในจิตในเรื่องวาระจิต เราต้องจัดการกับเรา จิตมาจากอาการของขันธ์ทั้ง ๕ ที่ทำหน้าที่ของเขา ตาก็ทำหน้าที่ของเขาคือเห็น หูก็ทำหน้าที่ในการฟัง ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง เราก็จะได้พัฒนาจิตให้ดี ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเขาไม่ได้พัฒนาจิตเลย ปล่อยไปตามสัญชาตญาณ แถมยังเร้าใจเร้าอารมณ์ ยังไปเสพสมอารมณ์นั้นๆ เพราะการเสพเริ่มจากจิตนี้แหละไป กรรมต่างๆ มาจากที่ผัสสะไม่มีปัญญา ผัสสะไม่มีสัมมาทิฏฐิ จิตไม่มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อจิตไม่มีสัมมาทิฏฐิ มันก็เอากายวาจาใจนี้ไป ไปสร้างบาปสร้างกรรมสร้างเวรสร้างภัย แล้วก็เห็นเป็นเรื่องดี เห็นผิดเป็นถูก มีแต่จะสร้างปัญหา การกระทำของเรา การเดินทางของเรา คือ ที่สุดแห่งความไม่มีทุกข์ เรียกว่า พรหมจรรย์
ร่างกายของเรานี้ต้องมีส่วนประกอบคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มันจะมารวมกัน มารวมกันเป็นหนึ่ง ที่เรียกว่ามารวมกันเป็นใจ มันอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย และก็สัมผัสจิต ทำให้เกิดจิต เมื่อใจของเรา ที่ยังมีอวิชชา มีความหลงอยู่ จิตของเรายังไม่ได้เป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าใจของเรามีสัมมาทิฏฐิอย่างนี้ ใจของเราก็จะมีปัญญา เมื่อเรายังไม่ตาย ยังไม่หมดลมหายใจ จิตใจของเราย่อมมีจิต พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เราพิจารณาร่างกาย แยกร่างกายเป็นชิ้นส่วน เพื่อใจของเราจะได้มีปัญญา เพราะ เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันต้องเกิดผัสสะ ใจของเรามันจะได้เป็นพุทธะ อย่างพระพุทธเจ้าเรียกว่า พุทธจิต อย่างพระอรหันต์ เขาก็เรียกว่า กิริยาจิต การประพฤติ การปฏิบัติ เน้นการประพฤติ การปฏิบัติที่ปัจจุบัน
ลักษณะของจิต จิต คือ สภาวะรู้สิ่งต่างๆ ทางตา หู จมูก สิ้น กาย และใจ โดยผ่านทวารหรือประตู ๖ บาน เหมือนคนอยู่ในบ้านมองดูสิ่งที่อยู่นอกบ้านผ่านประตู การรู้สึกผ่านตาเป็นการเห็น การรูเสียงผ่านหูเป็นการได้ยิน การรู้กลิ่นผ่านจมูกเป็นการรูกลิ่น การรู้รสผ่านลิ้นเป็นการลิ้มรส การรู้สิ่งที่สัมผัสผ่านร่างกายเป็นการสัมผัส และการรับรู้ทางใจเป็นการนึกคิด
จิตมีธรรมชาติประภัสสร คือ ผุดผ่องตามปกติเหมือนน้ำใสสะอาด เพราะเป็นเพียงสภาวะเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และนึกคิดเท่านั้น ปราศจากการปรุงแต่งหรือตอบสนองต่อสิ่งที่พบอยู่ แต่จิตนั้นต้องประกอบร่วมกับนามธรรมอีกอย่างหนึ่งเสมอ ชื่อว่า เจตสิก คือ สภาวะปรุงแต่งจิต ดังนั้น จิตจึงเศร้าหมองไปด้วยอำนาจของเจตสิกฝ่ายดำ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ เป็นตัน เหมือนน้ำใสสะอาดที่ขุ่นมัวด้วยโคลนตม ตัวอย่างเช่น ในขณะเห็นสีอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตของทุกคนจะทำหน้าที่รู้สีเป็นอารมณ์ แต่โลภะทำให้รู้สึกชอบสิ่งที่เห็น โทสะทำให้ไม่ชอบสิ่งนั้น เจตสิกฝ่ายดำมักทำให้เสียศูนย์ขาดความเป็นกลางอยู่เสมออย่างนี้หลอกล่อให้หลง ยั่วยวนให้รัก พอใจหรือไม่พอใจตามการปรุงแต่งของแต่ละคน และเพิ่มพูนกิเลสมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนดินพอกหางหมู จิตที่มิได้อบรมไว้ดีย่อมทำให้เหล่าสัตว์ติดอยู่ในบ่วงกิเลส ส่วนจิตที่อบรมดีแล้วย่อมส่งผลให้เป็นอิสระหลุดพ้นได้โดยพลัน
พระต้องพากันฝึกต้องเองนะ เณร เเม่ชีก็ต้องพากันฝึกต้องเอง มาอยู่วัดก็ฝึกที่วัด เเล้วกลับไปบ้านก็ไปฝึกที่บ้าน คนเราต้องนอนเป็นระเบียบ ถึงสองทุ่มสามทุ่มก็นอน ประชาชนก็นอน เพราะประชาชนก็ต้องพากันนอนหกชั่วโมง-เเปดชั่วโมง ถ้าถึงตีหนึ่งจะเข้าห้องสุขาก็อย่าไปคิดอะไร ถึงตีสี่ตีห้า ถึงลุกขึ้นมากราบพระไหว้พระ สำหรับประชาชน เเต่พระไปนอนตื่นสายเหมือนประชาชนไม่ได้ ตีสองกว่าตีสามต้องลุกขึ้นเเล้ว เราต้องเอาความสุขจากใจ เพราะความสุขจากใจมันจะไม่ปรุงเเต่ง มันจะหยุดความปรุงเเต่ง สมองเรามันจะได้ไม่ฝันทั้งกลางวันกลางคืน เพราะใจเป็นหนึ่ง ใจมันนิ่ง นิ่งเเล้วก็จะง่วง เราก็อย่าไปตามง่วง พอจิตของเราเข้าสู่ความเป็นหนึ่งอย่างนี้ เพื่อเราจะเข้าสมาธิได้ ใจของเราจะได้ว่าง อย่าไปกลัวเเต่นอนไม่อิ่มไม่พอ เอาเเต่ง่วงเอาเเต่หลับไม่ได้ มันไม่ได้ฝึก ต้องบังคับตัวเองอย่างนี้นะ บังคับอย่าไปชักช้าโอ้เอ้ ทำอะไรมันจะได้พากันฝึก เพราะไม่มีใครมาฝึกให้เรา เราต้องพากันประพฤติพากันปฏิบัติ เราอย่าไปเผลอ ไปฟุ้งซ่านเอาใหม่ กลับมาหายใจชัดเจน หายใจออกชัดเจน เอาใหม่ ยิ่งมันเคลิ้มๆไป เอาใหม่ เดี๋ยวมันจะสงบมันก็จะไปอีกเเล้ว มันไปวิพากษ์วิจารณ์ มันไม่ได้เข้าถึงเอกัคคตา มวยเรายังไม่ช่ำชอง เราจะไปเอาเเต่มวยการ์ดมวยเชิงอยู่ไม่ได้ เราต้องมีปัญญาด้วยถึงกระตือรือร้นด้วยถึงจะฝึกตน นี้เราประเสริฐมาขนาดในเรามีลมหายใจอยู่ เราเป็นผู้ประเสริฐเเล้ว เราต้องพัฒนาตนปฏิบัติตน พวกความใจอ่อน ใจไม่รับผิดชอบ ต้องให้สูญพันธุ์ไปจากเรา ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะฉายหนังม้วนเก่าอยู่อย่างนี้แหละ
ชีวิตของเราต้องเอาความถูกต้องเป็นเดิมพัน เอาความเป็นธรรม เอาความยุติธรรม เอาพระวินัย เป็นเดิมพัน ต้องเสียสละ เพื่อพัฒนาสร้างอริยมรรค เพื่อตัดซึ่งตัวซึ่งตน ที่มันนำทุกๆ คนให้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะสงสาร ให้เข้าถึงธรรม ถึงปัจจุบันธรรมให้ได้ในในปัจจุบัน ต้องมีจิตใจที่โดดเด่น จิตใจที่ไม่มีอะไรครอบงำได้ มีแต่ธรรมะ มีแต่สภาวะธรรมที่ปราศจากตัวตน ให้ทุกท่านทุกคนพากันประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ เราไม่ต้องไปเปิดช่องเปิดโอกาสให้มารเหมือนแต่ก่อน ในโลกนี้เราไม่มีอะไรที่จะน่ากลัว เพราะว่าเราเดินตามรอยของพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จิตใจของเราย่อมสง่างามโดดเด่นด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา
ให้พลันได้ซึ่งการตัด ตัวตัณหาอุปาทาน สิ่งชั่วในดวงใจ จนกว่าจะถึงนิพพาน ให้มลายสิ้นจากสันดาน ในทุกๆ ภพที่เกิด ให้เป็นผู้มีจิตตรงและสติปัญญาอันประเสริฐ พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลายจนเป็นช่องประทุษร้ายทำลายล้ายความเพียรจม ขอพระพุทธผู้บวรนาถ พระธรรมที่พึ่งอุดม พระปัจเจกพุทธะ สมทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง ด้วยอานุภาพนั้น ขอหมู่มารอย่าได้ช่อง ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง อย่าเปิดโอกาสให้แก่มารเทอญ ฯ
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee