แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ใน วันเสาร์ที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง เข้าพรรษาเข้าหาธรรม ตอนที่ ๖๙ บวชทั้งกายบวชทั้งใจ มีธรรมมีวินัยเป็นใหญ่ ให้ถึงหลักชัยแห่งพระศาสนา
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
วันนี้มีบวชพระ ๔ รูป ในเวลา ๑๐.๐๐ น. คือ...............................................
ประเทศไทยเรานี้โชคดี การปกครองของประเทศไทยของเรา เอาธรรมะเป็นหลัก เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง เอาธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ปรับปรุงประชาธิปไตยสู่ธรรมะ ปรับปรุงสังคมนิยมเข้าสู่ธรรมะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกๆ พระองค์ที่ปกครองประเทศไทย ทรงเอาธรรมะเป็นหลัก ที่ได้สร้างทรัพยากรขึ้นมาให้ประชากรของประเทศไทย มีการบวชสามเณรบวชพระภิกษุ เพราะจะได้พัฒนาบุคลากร ถึงจะได้เอาธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เพราะชีวิตของคนไม่ใช่นิติบุคคลไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แต่คือธรรมะ เราเอาตัวเอาตนเป็นที่ตั้งนี้ มันไม่ได้ มันไปไม่ได้ ข้าราชการก็ไปไม่ได้ ทหารตำรวจข้าราชการพ่อค้าประชาชนนักบวชก็เป็นไปไม่ได้
พระเราถึงได้รับสิทธิพิเศษ ที่มาบวชทำไมถึงเรียกว่า พระ พระนี้ก็คือ พระธรรม คือพระวินัย สิกขาบทน้อยใหญ่ ที่ไม่ใช่นิติบุคคลไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ผู้ที่เข้ามาบวชก็ดำเนินชีวิตเข้าสู่พระธรรมพระวินัย ไม่ได้ทำตามอัธยาศัยตามอารมณ์ พระเราถึงได้รับสิทธิพิเศษ บ้านก็ไม่ได้เช่า ข้าวก็ไม่ได้ซื้อ เค้าเอาของมาให้ก็มากราบมาไหว้ ผู้ที่บวชมา พ่อแม่ปู่ย่าตายาย พระมหากษัตริย์ต้องเคารพกราบไหว้ ผู้ที่บวชเป็นพระธรรมเป็นพระวินัยอย่างนี้ ให้เข้าใจ ผู้ที่มาบวชก็พากันเข้าใจ ที่เราเห็นพระในเมืองไทยหรือหลายๆ ประเทศนี้ ส่วนใกพากันทิ้งพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ไป เกือบจะไม่มีอยู่ในจิตในใจอยู่ในภาคประพฤติภาคปฏิบัติ นับว่าไม่ถูกต้องมันเสียหายนะ มันเป็นการทำลายทรัพยากรของประเทศในสิ่งที่ดีดี
เราต้องพากันประพฤติปฏิบัติ พากันตั้งใจ เพราะการปฏิบัติอยู่ที่ปัจจุบัน เรามาถือนิสัยของพระพุทธเจ้า ถือนิสัยของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอรหันต์ หรือว่าเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ก็ปรับตัวเข้าหาเวลาข้อวัตรกิจวัตร เข้าหาข้อปฏิบัติ ปรับตัวเองเข้าหาธรรมวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ อย่างนี้ จึงเป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ อยู่ในอิริยาบถทั้ง ๔ ของเรา
ที่เราตามใจตัวเองตามอารมณ์ตัวเอง เรียกว่าอวิชชา ความหลง เป็นได้แค่เพียงคน มันไม่ใช่พระธรรม มันไม่ใช่พระวินัย ให้เข้าใจความเป็นพระที่แท้จริงนั้น ไม่ได้อยู่ที่เป็นฆราวาส ไม่ได้อยู่ที่นักบวช อยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง นี่เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ ไม่ใช่นิติบุคคลไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ประชาชนคนที่ไม่ได้บวชก็อย่าไปคิดว่าตัวเองไม่ใช่พระ ตัวเองก็ต้องเป็นพระเหมือนกันเป็นพระอยู่ที่บ้าน ส่วนผู้ที่มาบวชก็เป็นพระอยู่ที่วัด ต้องเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจแล้วไปแยกธรรมะออกจากตัวเราในชีวิตประจำวันของเรา มันไม่ได้ มันไม่ถูกต้อง เพราะเราทุกคนต้องสร้างเหตุสร้างปัจจัย เพราะพวกเราเป็นพวกที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสังสาร เป็นเสขะบุคคลต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ทั้งระบบความคิด ระบบคำพูด ระบบกริยามารยาท ระบบการทำงาน ต้องเอาให้เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะเราเกิดมาอย่างนี้ ชีวิตของเราก็จำกัดไม่เกิน ๑๒๐ ปี ก็ต้องจากโลกนี้ไป เราต้องเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจ เราพากันแต่พัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาแต่วิทยาศาสตร์ เพื่อตัวเพื่อตนมันไม่ได้ เพื่อเข้าสู่ความดับทุกข์ที่แท้จริง
ทุกๆ คนน่ะ ต้องเข้าใจอย่างนี้ เราจะได้รู้ว่า ความเป็นพระที่แท้จริงมันไม่ได้อยู่ที่ไหนเลย มันอยู่ที่ตัวเรานี่เอง เพราะวันหนึ่งคืนหนึ่งเราต้องมีความสุขในการเอาธรรมะเป็นหลักเอาธรรมะเป็นใหญ่ในการทำงาน เพราะงานคือความสุข ความสุขคืองาน ๒๔ ชม. เราก็แบ่งเวลานอน ๖ ชม. ถึง ๘ ชม. สมองเราถึงเอาไปสั่งร่างกาย สั่งทำธุรกิจหน้าที่การงาน เราต้องพากันเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องพากันเข้าใจ เพราะเราจะได้รู้เรื่อง ทั้งวิทยาศาสตร์ ทางจิตทางใจไปพร้อมๆ กัน จะไม่ได้วิ่งตามอวิชชา ตามความหลง เพราะถ้าเราพัฒนาเพื่อมีตัวมีตน อย่างนี้มันไม่ถูกต้อง
เมื่อเข้าใจแล้ว มันก็ทำได้ปฏิบัติได้ เพราะการสื่อสารการติดต่อกันนี้ก็ พร้อมอยู่ทุกหนทุกแห่งแล้ว เหมือนกล่าวเมื่อวานนี้ ถ้าเราตื่นขึ้นมาเป็นประชาชนก็ตื่นขึ้นมา เวลาตี ๔ ตี ๕ ไหว้พระสวดมนต์นั่งสมาธิ มีความสุขในการทำการทำงาน มีความสุขในที่ที่ของตนเอง พัฒนาให้ดินดีน้ำดี ก็มีความสุขแล้ว เพราะพวกเราดำเนินชีวิตถูกต้อง ไม่ผิดพลาด การมีอยู่มีกินอย่างนี้มันก็ไม่มีปัญหาหรอก เพราะแต่ก่อนหลายสิบปีหลายร้อยปี เราไม่มีความรู้ความฉลาดอย่างนี้ อยู่ในที่ราบสูงหรือที่แห้งแล้งที่ดินหลายสิบไร่นี่ก็ได้รับผลผลิตเพียงเล็กน้อย แต่ทีนี้เรารู้แล้วว่า ทุกอย่างเราพัฒนาได้ แก้ปัญหาน้ำท่วมได้ แก้ปัญหาแห้งแล้งได้ เพราะอยู่ที่ตัวเราเอง อยู่ทุกหนทุกแห่ง ที่เดินตามพระพุทธเจ้า เดินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ท่านก็เดิมตามรอยพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว
เราจะได้เข้าใจ เราทุกคนจะได้พากันเป็นพระกันหมดทุกคน ให้ทุกอย่างมันขับเคลื่อนไปสู่สิ่งที่ดีอย่างนี้แหละ ถ้าเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ข้าราชการก็ไปไม่ได้ นักการเมืองก็ไปไม่ได้ ทางฝ่ายคณะสงฆ์นักบวชก็ไปไม่ได้ เพราะมันไม่ถูกต้อง มันไม่ได้เข้าสู่ภาคประพฤติปฏิบัติเลย
เรามาบวชก็ต้องรู้จักว่า การบวชนี้ก็อุปมาเหมือนที่ต้นไม้มันสดมันเปียกที่มันแช่น้ำ ต้องเอาขึ้นจากน้ำขึ้นมาบก เอามาแตกแดดให้มันแห้งถึงก่อไฟได้ติดดี เน้นทางจิตทางใจทางระบบความคิด เพราะการมีเพศสัมพันธ์มันมีสองอย่าง คือมีเพศสัมพันธ์ทางกายกับทางจิตใจ ทางจิตใจคือเราหลงในตัวในตนเค้าเรียกว่ามีเพศสัมพันธ์ทางจิตใจ
พระพุทธเจ้าทรงอุปมาเปรียบเทียบไว้ ๓ ประเภท
ไม้สดอยู่ในน้ำ ทั้งชุ่มไปด้วยยาง แล้วยังแช่อยู่ในน้ำ ทำอย่างไรก็นำมาสีให้เกิดไฟไม่ได้ เปรียบเหมือนคนที่ยังชุ่มแช่อยู่ในกาม ไม่คิดจะหลีกออกจากกามเลย
ไม้สดอยู่บนบก ถึงแม้อยู่บนบก แต่ก็ยังสดอยู่ ยังมียาง มีใย ยังทำให้เกิดประกายไฟไม่ได้ แต่ ก็ยังพอมีความหวัง พอมีวี่แววว่าจะเป็นไม้แห้งได้ในอนาคต
ไม้แห้งอยู่บนบก ท่านเปรียบเหมือนนักบวช ผู้ที่พรากออกจากกาม ไม้แห้งด้วย วางบนบกด้วย จิตใจไม่ได้ชุ่มแช่อยู่ด้วยกาม บริโภคปัจจัย ๔ เป็นเพียงเครื่องอาศัย ปฏิบัติภาวนาตามพุทธวิธี
ให้เรารู้จักพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่นพระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ที่เรามาสวดกันในพระปาฏิโมกข์เพียง ๒๒๗ สิกขาบท ผู้ที่มาบวชค่อยศึกษาไปอย่างนี้แหละ เพราะทุกอย่างไม่ได้แก้อย่างอื่น ให้แก้ตนเอง ไม่ใช่เพื่อให้คนเค้าเคารพเลื่อมใส ต่อเมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบคนเค้าก็เลื่อมใสเอง ผู้ที่มาบวชต้องบวชทั้งกายบวชทั้งใจ ต้องเข้าสู่ระบบความคิด เพราะการปฏิบัติต้องติดต่อต่อเนื่องกัน อันไหนไม่ดีไม่คิด อันไหนไม่ดีไม่พูด ปรับตัวเองใหม่ อย่าเอาความเคยชิน มีการท่องพุทโธ มีการเจริญสติสัมปัชชัญญะ มันฟุ้งซ่านมากก็กลั้นลมหายใจ ใจมันจะขาดเดี๋ยวมันก็กลับมา การทำต้องติดต่อต่อเนื่องกันหลายๆ วัน
พวกที่จะต้องลาสิกขา ก็ต้องฝึก ฝึกให้จับหลักได้ จะได้มีความสุขในการเจริญสติสัมปชัญญะ จะได้มีความสุข สัมมาสมาธิมันอยู่ทุกหนทุกแห่ง สัมมาสติอยู่ทุกหนทุกแห่ง อยู่ที่ปัจจุบัน ให้พากันประพฤติปฏิบัติ วันคืนให้เป็นธรรมเป็นปัจจุบันธรรม อย่าปล่อยให้ตัวเองคิดไปเรื่อย เพราะสติคือความสงบ สัมปชัญญะคือธรรมะที่ไม่มีตัวไม่มีตน เราอย่าไปเอาตามพระที่เห็นส่วนใหญ่ทั่วไปเป็นหลัก เพราะยังไม่ใช่พระแท้ จะเป็นพระแท้ได้ก็ต้องเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก เราทุกคนต้องถือนิสัยของพระพุทธเจ้า เพราะการปกครองประเทศไทยเพื่อความมั่นคง ก็ถึงมีการปกครองอย่างนี้ เอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมเป็นใหญ่
เราต้องตั้งมั่นเข้าหาพระธรรม พระวินัย เราต้องตั้งมั่นมีความสุขในการปฏิบัติธรรม ในการประพฤติปฏิบัติ เราต้องบวชกายด้วย บวชวาจาด้วย บวชใจด้วย เพราะว่า ถ้าเราบวชกาย เค้าเเสดงภาพยนต์เเสดงละคร เอาเสื้อผ้าอาภรณ์สวมใส่พวกลิง อย่างนี้ไม่ได้ มันต้องบวชใจด้วย เน้นไปที่ใจ เพราะการเวียนว่ายตายเกิดเป็นเรื่องของจิตของใจ การประพฤติการปฏิบัติของเราต้องติดต่อต่อเนื่อง
เราต้องเอามาตรฐานของพระพุทธเจ้า เราอย่าไปเอามาตราฐานของวัดต่างๆ ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านทรงเสียสละบรรทมวันละ 4 ชม. ทำงานเสียสละ 20 ชม. ท่านถึงเป็นพระพุทธเจ้า เพราะความสุขอยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง มันต้องเด็ดขาด ต้องเเน่นอน มันต้องเข้มเเข็ง อย่าให้กิเลสเข้มเเข็ง อย่าให้อวิชชาเข้มเเข็ง ทุกคนน่ะต้องพึ่งพระพุทธเจ้า พึ่งพระธรรม พึ่งพระวินัยเป็นการฝึก
เราเป็นคนโชคดีมาก ดีพิเศษ ดีจริงๆ เป็นคนโชคดีอย่างนี้ ก็เพราะเราประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราทำดี ทุกคนก็เป็นพระได้หมด ไม่ว่าเราจะมาจากเชื้อชาติตระกูลไหน พระพุทธเจ้าไม่ว่า ไม่ต้องถือพรรค ถือพวก ถือตัว ถือตน ถือพระธรรม ถือพระวินัย เราทุกคนถึงจะได้มีความสุข สู้เลย! ปฏิบัติเลย เพราะการเวียนว่ายตายเกิดตามอารมณ์ มันเป็นที่คำว่า ไม่รู้มาจากไหน ก็มาจากมันไม่รู้ มาจากความไม่รู้ มันเลยไม่รู้ว่ามาจากไหน มาจากอวิชชา มาจากความหลง ถ้าตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง มันก็ไปไหนสิ่งที่ไม่รู้ คือการเวียนว่ายตายเกิด อย่างนี้เราต้องพากันประพฤติปฏิบัติ ให้ทุกท่านทุกคนเข้มเเข็ง ในข้อวัตรข้อปฏิบัติ ให้เป็นทีมใหญ่ ทีมเวิร์ค เรียกว่า สาราณียธรรม เราทุกคน ทั้งชาวไทย ชาวต่างประเทศ มาเดินตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ใช่นิติบุคคล คือผู้ที่มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ไม่เกี่ยวกับศาสนาคริสต์ พราหมณ์ ฮินดู อยู่ที่ปฏิบัติ ใครคนนั้นเป็นพุทธะ เป็นความสงบ ความร่มเย็น
เราต้องพากันประพฤติพากันปฏิบัติ การประพฤติการปฏิบัติ เราทุกคนต้องปฏิบัติเอง เรื่องหายใจ เราต้องหายใจเอง เรื่องทานข้าว ต้องทานข้าวเอง เรื่องเข้าห้องน้ำ ต้องเข้าห้องเอง เรียกว่า เราต้องพึ่งตัวของเราเอง ที่รู้หลัก รู้เกณฑ์ในการประพฤติการปฏิบัติ การบวชของเราถึงจะส่งบุญ ให้พ่อได้ ให้เเม่ได้ ให้ประชาชนได้ ต่อยอดส่งไม้ผลัดกุลบุตรลูกหลานสืบต่อไป เราลาสิกขาลาเพศไป เราก็มีหลัก เพราะความเป็นพระนั้นคือ มีพระธรรม พระวินัย มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ประชาชนก็มีสิทธิ์จะเป็นพระอริยเจ้าได้ ตั้งเเต่พระโสดาบัน จนไปถึงพระอนาคามี ถ้าเราเอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมเป็นใหญ่ ศีล 5 นั้นคือพรหมจรรย์สำหรับประชาชน ครอบครัวก็จะมีเเต่ความอบอุ่น เราจะได้ปิดอบายมุข ปิดอบายภูมิ
ถ้าเราเสียสละอย่างนี้ ความยากจนมันก็ไม่มี ถ้าเราไม่เสียสละ เราก็เป็นเปรตประจำตัวเอง ประจำครอบครัวประจำหมู่บ้าน ถ้าพระก็เป็นเปรตประจำวัด เปรตไม่ได้อยู่นอกกายหรอก อยู่ที่ตัวเรา ดูเเล้วเเหล่งของเปรตอยู่ที่ตัวเรา อยู่ที่ใจเรา เราต้องปฏิบัติอย่างนี้ เราบวชเพื่อมาเป็นผู้ให้ มาเสียสละ เราเพียงเเต่รับอาหารจากประชาชน เเล้วก็ปฏิบัติ เพื่อบุญกุศลที่เราได้เป็นพระอริยเจ้า จะส่งกลับไปหาประชาชน เหมือนเราพากันมาตั้งสถานีประดิษฐ์ เครื่องส่งบุญส่งกุศลในปัจจุบันนี้ มันจะได้เปลี่ยนเเปลงตัวเรา จากสามัญชน เป็นพระอริยเจ้าได้ ถ้าเรามาบวชเเล้ว ไม่กระตือรือร้น ไม่ตั้งอกตั้งใจ มันก็ไม่เปลี่ยน สึกไปเเล้วมันยังกินเหล้า เมาเบียร์ เมาสาวอะไรอย่างนี้ เล่นการพนัน ยังตั้งอยู่ในการเป็นคนพาลอยู่ มันไม่ได้เป็นคนฉลาดอะไร มันเสียหาย ให้พากันเข้าใจ
กิจวัตรประจำวันต่างๆ นั้นถือว่าเป็นบุญ เป็นกุศล เช่นนั่งสมาธิร่วมรวมกันในศาลา หรือว่าในกุฏิที่พักต้องทำให้ได้ทุกวัน อย่าให้ขาดตกบกพร่องไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เพราะคนเรามันชอบเข้าข้างตัวเอง ทำวัตรสวดมนต์ก็อย่าให้ขาด บิณฑบาตก็อย่าให้ขาด พยายามตั้งอกตั้งใจภาวนา ไม่ให้คลุกคลี ไม่ให้พูดคุยกับคนอื่นในหมู่คณะ เพราะคนเรามันอยู่กับความสงบไม่เป็น อยู่กับตัวเองไม่เป็น ที่อยู่ได้ก็อยู่ได้กับการงาน การพูดคุย เครื่องบันเทิงต่างๆ เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ฯ
ตัวเราที่ผ่านๆ มาส่วนใหญ่ก็อยู่กับสิ่งเหล่านั้น... เมื่อเรามาประพฤติปฏิบัติธรรม มาบวช พระพุทธเจ้าท่านให้ตัดสิ่งต่างๆ เหล่านั้นให้หมด ทุกคนทุกท่านต้องตัดให้หมด ไม่มียกเว้นใครๆ ทั้งสิ้น การบวช การปฏิบัติของเราถึงจะมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ถ้าไม่อย่างนั้น การมาอยู่วัดของเรา การมาบวชของเราก็จะไม่ได้ผล แต่กลับมีบาปมีอกุศลติดตามเราไปด้วย
ให้ทุกท่านทุกคนปฏิบัติให้ได้... การปฏิบัติธรรมมันเป็นสิ่งที่ทวนโลก ทวนกระแส ทวนอารมณ์ ทวนจิตใจของเราที่ชอบตกไปสู่ที่ต่ำ ไหลไปสู่ที่ต่ำ เราพยายามมาบวชทั้งกาย มาบวชทั้งใจ ถ้าเรามีแต่กายมาบวช แล้วไม่เอาใจมาบวช ถือว่าไม่ได้ผล
เรามองดูที่ผ่านๆ มาน่ะ ยากที่ทุกคนจะได้ดี เพราะว่าไม่ได้ตั้งอกตั้งใจ ใจอ่อน เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เอาความต้องการตัวเองเป็นที่ตั้ง ไม่ปรารภธรรม ปรารภวินัย เป็นคนหลงความสุขทางร่างกาย ความสุขทางวัตถุ ไม่ได้เน้นถึงความสุขความดับทุกข์ ถึงพระนิพพานที่จิตที่ใจ
พระพุทธเจ้าน่ะท่านพาเราทิ้งทางโลกทางวัตถุหมด พระพุทธเจ้าตั้งแต่ท่านเสด็จออกบรรพชา จนถึงดับขันธปรินิพพาน ท่านตัดทางโลกทางวัตถุหมด ไม่รับเงิน...รับปัจจัย รองเท้าก็ไม่ทรงใส่ ถืออยู่ป่า อยู่โคนไม้ ฉันอาหารหนหนึ่งเพียงหนเดียว ไม่ติดในลาภ ยศ สิ่งอำนวยความสะดวกสบาย ไม่ต้องการผลประโยชน์อะไรในโลกนี้ทั้งสิ้น
เรามาบวชมาประพฤติปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าท่านมีเมตตาให้เรารู้ความหมายอย่างนี้ เรามาตั้งอกตั้งใจ 'อบรมบ่มอินทรีย์' ถึงจะเหนื่อยก็ช่างมัน ยากลำบากก็ช่างมัน ถึงจะผอม... จะดำก็ช่างมัน เพราะมาเน้นที่จิตที่ใจ ไม่ได้เน้นทางกาย เราพยายามตัดโลกออกจากใจของเรา ถึงแม้ว่าเราจะไม่บวชตลอดชีวิต เราก็ตั้งใจ เราจะบวชตลอดชีวิต เราก็ตั้งใจ ความขี้เกียจขี้คร้านมันมีมากทุกคนนะ จะเคลื่อนไหวอะไร มันก็ไม่อยากเคลื่อนไหว ยิ่งตอนเช้าตี ๓ มันไม่อยากตื่น แต่มันต้องตื่น ต้องฝืน ต้องทน การชนะสิ่งต่างๆ ท่านว่ายังไม่สู้ชนะจิตใจตัวเอง
ให้พากันมามีสติสัมปชัญญะให้ดีๆ ให้สมบูรณ์ เพราะความสุข ความสงบ ความดับทุกข์ มันอยู่ที่ใจของเราไม่ถูกกิเลส คือความอยากมาครอบงำแล้วให้ทำตาม คนเราน่ะถ้ากายมันอยู่นี่ แต่ 'ใจ' มันไปคิดเรื่องอื่นนั้นน่ะ มันไม่มีความสุข มันไม่มีความสงบนะ
ทุกท่านทุกคนน่ะ พระพุทธเจ้าท่านให้เราพัฒนาจิตใจของตัวเอง พยายามแก้ปัญหาที่จิตที่ใจของตัวเองให้ได้
เราทุกๆ คน มาเอาหน้าที่เอาการงาน เอาข้อวัตรปฏิบัตินี้เพื่อมาประพฤติปฏิบัติธรรม มาเจริญสติสัมปชัญญะ ให้สติสัมปชัญญะเราสมบูรณ์ "ใจส่งออกน่ะ คือ ใจที่เป็นทุกข์นะ..."
เมื่อเราส่งออกมากๆ น่ะ ออกชิเจนในสมองเรามันก็ไม่สมบูรณ์ เราก็ไม่สามารถที่ควบคุมตัวเองได้น่ะ การนั่งสมาธิก็ดี การเดินจงกรมก็ดี การทำกิจวัตรต่างๆ ก็ดีน่ะ ก็เพื่อให้ทุกคนกลับมาหาตัวเอง เพื่อทำสติสัมปชัญญะของตนเองให้สมบูรณ์ เพราะเราทุกๆ คนน่ะ ไม่ค่อยได้ปฏิบัติตัวเองฝึกตัวเองเลย มีแต่ทำตามความอยากความต้องการ แล้วก็บริโภควัตถุที่ได้ตามต้องการก็พากันหลงเหยื่อ หลงวัฎฎสงสาร
ทุกท่านทุกคนมีความจำเป็นที่จะต้องฝึกตัวเอง เพราะว่าปัญหาต่างๆ น่ะ ทุกคนต้องแก้ได้ด้วยการฝึกใจของตัวเอง เค้าพากันขยัน พากันอดทนทำมาหากิน ศึกษาหาความรู้ จุดประสงค์ก็เพื่อที่เค้าจะได้บริโภคความสุข มีความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีหน้ามีตาในสังคม เค้าพากันมุ่งประเด็นไปอย่างนี้นะ ตัวเองสบายยังไม่พอ ลูกหลานญาติพี่น้องก็ให้สบาย สิ่งเหล่านั้นพระพุทธเจ้าท่านถือว่ายังไม่ใช่เรื่องที่ดับทุกข์นะ 'เรื่องที่ดับทุกข์' น่ะทุกคนต้องพากันมาประพฤติปฏิบัติธรรม อบรมบ่มอินทรีย์เพื่อให้สติสัมปชัญญะนี้มันสมบูรณ์มีกำลัง ไม่ให้ความหลงมันมาบงการ มาจัดการเรา
พลังอะไรทุกอย่าง...ก็สู้พลังของ 'สมาธิ' ไม่ได้ ถ้าเราทุกคนมีสมาธิแล้ว เราทุกคนจะเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีอะไร ที่จะมาครอบงำเราได้
สิ่งต่างๆ น่ะที่เรารู้เราเห็นในสังคม... ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมประเพณี หรือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันก็มาครอบงำเราไม่ได้ เพราะเรามีสมาธิมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ เป็นตัวของตัวเอง
เราทุกคนทำดี มันก็จะรู้แจ้งว่าได้ดีน่ะ ปัญหาต่างๆ เราทุกคนแก้ได้ แต่ต้องมาแก้ที่จิตที่ใจ ปรับตัวเองเข้าหาธรรมะ ถ้าไม่อย่างนั้นน่ะกิเลสของเรานี้มันจะพาเราสร้างบาปสร้างกรรม ทั้งๆ ที่เราก็รู้อยู่แต่เราหยุดมันไม่ได้ เราหยุดมันไม่ได้หรอก... เพราะเราไม่มีกำลังพอ ไม่มีสมาธิพอ สติสัมปชัญญะเรามันน้อย มันไม่สมบูรณ์ ต้องอดต้องทนน่ะ มันอยากคิดเราก็ไม่คิดน่ะ ต้องทำอย่างนี้ เรื่องที่เราอยาก... เราไม่ต้องคิดน่ะ หลายๆ วัน ใจของเรามันก็เย็นได้ ถ้ามันไม่เย็น เราไม่คิดเรื่องนี้ เราอย่าเปิดรูรั่วให้มันไหลมันซึม ธรรมะภาคปฏิบัติพระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราทำอย่างนี้แหละ คือ การไม่ทำบาปทางใจทั้งปวง
กายของเรา วาจาของเราน่ะ การเดินเหินของเรานี่แหละ มันเป็นอากัปกิริยาของใจนะ มันเป็นวัตถุอย่างหนึ่ง เพื่ออำนวยให้ใจของเราสะดวกในการทำงานของใจ ใจของเรานี้มีปัญหามากๆๆๆ นะ ถ้าทุกคนไม่ตั้งใจฝึก ไม่ได้ตั้งอกตั้งใจฝึกหัดปฏิบัติ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะหยุดตัวเองได้นะ
เราต้องอด... ต้องทน... ต้องฝืน... ต้องปฏิบัติน่ะ พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราทุกคนเอาความขี้เกียจขี้คร้าน เป็นการปล่อยวาง เราทุกคนมันอินทรีย์อ่อนน่ะ เลยพากันเอาความขี้เกียจขี้คร้านเป็นการวางปล่อย เป็นความไม่ยึดไม่ถือนั้นไม่ใช่ ไม่ถูกไม่ต้องน่ะ การปล่อยวางอย่างนั้นน่ะเป็น อาการที่จิตใจไม่มีกำลัง "เมื่อไม่มีกำลังแล้วมันก็หมดแรง เร่งไม่ออก เร่งไม่ขึ้น" เพราะเรายังมีความเห็นผิด เราคิดว่าเราไม่เอาอะไรแล้วเราปล่อยวาง เราเลยไม่ทำความเพียร เราไม่ฝืน ไม่อด ไม่ทน
วินัยที่พระพุทธเจ้าบังคับเราน่ะ เราต้องปรับใจหาพระวินัย ข้อวัตรปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นน่ะให้เราปรับใจเข้าหาปฏิปทาในการประพฤติปฏิบัตินี้ต้องให้ต่อเนื่องกันน่ะ พยายามเอาปัจจุบันให้มันได้ อย่าไปมองไกล เดี๋ยวนี้ก็ปัจจุบันน่ะ แม้มันจะผ่านไปข้างหน้าอีกหลายปี มันก็เป็นปัจจุบันน่ะ เพราะพระอาทิตย์ หรือดวงจันทร์เท่านั้นน่ะที่มาบอกเวลา แต่ที่จริงแล้วใจของเราถ้าไม่อยู่กับสิ่งแวดล้อม เราอยู่กับภาคปฏิบัติมันก็เป็นปัจจุบันไปตลอด...
"การประพฤติปฏิบัติของเรามันถึงไม่มีอดีต...ไม่มีอนาคต...ไม่มีกลางวัน กลางคืนน่ะ เป็นการทำหน้าที่ที่ดีที่สุด อย่างนี้แหละ คือการอบรมบ่มอินทรีย์"
เราอย่าไปมองข้ามในความคิดจิตใจของเราในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เราคิดว่าไม่เป็นไรน่ะ สิ่งเล็กๆ น้อยๆ นั่นน่ะ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า... มันห้ามมรรคผลพระนิพพานเราหมด "ฝุ่นนี้มันไม่ใหญ่หรอก แต่ถ้ามันเข้าตาเรา เราก็มีปัญหาเหมือนกัน" พยายามหยุด พยายามนิ่ง พยายามอยู่กับเนื้อกับตัว ให้สติของเรามันดีมันสมบูณ์ เราถึงจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไปในทางที่ดีได้ ถ้าไม่อย่างนั้นเราก็จะเป็นคนท้ออกท้อใจ ว่าเป็นคนมีบุญน้อยมีวาสนาน้อย ชาตินี้ไม่มีบุญ ไม่สามารถที่จะได้บรรลุธรรมเหมือนกับเค้า
"ทุกคนมันก็เหมือนกันหมดน่ะ มันอยู่ที่ความคิด อยู่ที่การปฏิบัติน่ะ" การปฏิบัติมันก็ไม่ใช่ยากแต่เราต้องเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ การอบรมบ่มอินทรีย์มันก็เหมือนกับเราเพาะเลี้ยงต้นไม้แล้วก็ปลูกต้นเล็กๆ น่ะ เราพยายามให้น้ำ ให้ปุ๋ยแสงแดดอย่างสม่ำเสมอ ไม่มากเกินไม่น้อยเกิน เดี๋ยวต้นไม้ก็โตเอง มันโตเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ มันโตกลางวันหรือกลางคืนก็ไม่รู้ แต่รู้ว่ามันโต
การประพฤติการปฏิบัติน่ะเราอย่าไปสนใจใคร คนอื่นเค้าจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ช่างเค้า เพราะคนอื่นก็เป็นเรื่องของคนอื่นไม่เกี่ยวข้องกับเรา เรื่องคนอื่นก็ให้เป็นเรื่องของคนอื่น เค้าทำดีเค้าทำชั่วมันก็เป็นเรื่องของเค้า เค้าไม่รู้ไม่เห็นเราว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ไม่เป็นไร เราไม่ต้องคอยให้ใครมาชมเรา เพราะใจของเราไม่มีใครรู้หรอก มีแต่ตัวเรารู้เท่านั้น เพราะเราปฏิบัติธรรมเพื่อมุ่งมรรคผลนิพพาน ไม่ได้มุ่งโลกธรรม คอยมาให้ใครสรรเสริญ ให้เราทุกคนเน้นมาหาตัวเอง ถึงจะเกี่ยวข้องกับคนอื่น ในชีวิตประจำวัน ข้อวัตรปฏิบัติ เค้าจะทำหรือไม่ทำ เค้าจะมาหรือไม่มา เราอย่าไปสนใจเค้า "เดี๋ยวเราจะเอาดีเอาชั่วของเค้ามาเผาเราอีก" รู้จักปล่อยรู้จักวางว่าจะให้คนอื่นเค้าเหมือนเรามันคงไม่เหมือนน่ะ ถ้าเหมือนกันหมดคนก็ได้บรรลุธรรมทั้งโลกเหมือนกันหมด มันไม่เหมือนนี่แหละมันถึงเป็นอย่างทุกวันนี้
บวชนานไม่นานไม่สำคัญเท่ากับการที่ได้บวชมาแล้ว มีเจตนาตั้งใจในการปฏิบัติอย่างจริงจังหรือไม่ พระบวชนานถ้าขี้เกียจขี้คร้านก็สู้พระใหม่ๆ ที่บวชระยะสั้นแต่ปฏิบัติจริงๆ ไม่ได้ “โย จ วสฺสสตํ ชีเว กุสีโต หีนวีริโย เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย วีริยํ อารภโต ทฬฺหํ ฯ ผู้มีความเพียรมั่นคง มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่าชีวิตตั้งร้อยปี ของผู้เกียจคร้าน ไร้ความเพียร
ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่เธอไม่หมกมุ่นกับการงานมากเกินไป ไม่พอใจด้วยการคุยฟุ้งซ่าน ไม่ชอบในการนอนมากเกินควร ไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้ปรารถนาลามก ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจแห่งความปรารถนาชั่ว ไม่คบมิตรเลว ไม่หยุดความเพียรพยายามเพื่อบรรลุคุณธรรมสูงๆ ขึ้นไปแล้ว ตราบนั้น พวกเธอจะไม่มีความเสื่อมเลย จะมีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเอาพระธรรมวินัยเป็นหลัก เป็นใหญ่ เป็นที่พึ่ง เรียกว่าเป็น ธรรมาธิปไตย เราต้องไม่ประพฤติย่อหย่อน ไม่ลูบคลำในศีล ในข้อวัตรปฏิบัติ ไม่ลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ คลายความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตน ชีวิตของเราจึงจะเป็นชีวิตที่ไม่สูญเปล่า ให้สมกับได้เป็นมนุษย์ผู้ที่ประเสริฐเกิดมาเพื่อพระนิพพานอย่างแท้จริง
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.