แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง เข้าพรรษาเข้าหาธรรม ตอนที่ ๒๘ รู้ในสิ่งที่ห้ามทำและในสิ่งที่ควรทำ เพื่อปฏิบัติตามพระธรรมวินัยให้เต็มที่เต็มร้อย
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
หลายวันก่อนได้พูดเรื่องสติ เรื่องสัมปชัญญะ สติก็คือความสงบ สัมปชัญญะคือปัญญา เพื่อให้พุทธบริษัทได้รู้ เพื่อจะได้ปฏิบัติ สติสัมปชัญญะนี้ ใช้ได้ทั้งธุรกิจหน้าที่การงาน ใช้ได้ทั้งดำเนินสู่มรรคผลพระนิพพาน ทุกคนต้องมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เรียกว่ารู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ได้กล่าวมาถึงการเวียนว่ายตายเกิดของเราทุกๆ คน ที่เป็นวัฏฏะสงสาร ก็มาจากเราไม่รู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ ไม่รู้ถึงข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ไม่รู้อริยสัจ ๔ เราเอาสังขารที่มีใจครองมาเป็นตัวมาเป็นตน วันก่อนก็ได้พูดถึงสังขารที่มีใจครอง และสังขารที่ไม่มีใจครอง เพื่อเราทุกคนจะได้มองเหมือนเราดูหนังดูละครที่เป็นนามสมมุติ ชีวิตของเราก็ไม่ต่างอะไรกับละคร กับเราเล่นสมมุติ ก็คืออันเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ด้วยปัจจัยนี้ ที่พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญพุทธบารมี จากเดิมที่ท่านได้บรรพบุรุษของท่านได้ถือศาสนาพราหมณ์ เอาพราหมณ์มาดำเนินชีวิต พราหมณ์ก็ได้เดินทางชีวิตได้ถึงระดับความสงบหรือพรหมโลก พระพุทธเจ้าถึงได้ค้นคว้าได้สร้างบารมีหลายอสงไขย หรือหลายล้านชาติ จนได้ตรัสรู้ พระพุทธเจ้านี้ละลึกชาติได้หลายร้อย หลายหมื่น หลายแสน หลายล้านชาติ จนนับไม่ไหว ในการเวียนว่ายตายเกิดของตัวเอง ถึงได้บอกหนทางที่ดับทุกข์ เพราะคนเราปฏิบัติถูกต้อง ดำเนินชีวิตถูกต้อง มันถึงหยุดปัญหา แก็ปัญหา หยุดสังสารวัฏ ที่เราจะหยุดได้เราต้องมียาน ยานที่เราได้ฟัง เราได้ยิน คนโบร่ำโบราญบอกว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีมากมายถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ แยกเป็นพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ทีนี้แหละทุกคนต้องเข้าสู่ยาน เข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ
ศาสนานี้ก็เป็นเรื่องกรรม เป็นเรื่องของกรรม พิจารณาด้วยเหตุด้วยผลแล้ว ทุกคนก็จะปฏิเสธไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นวิทยาศาสตร์ด้วย เหนือวิทยาศาสตร์ด้วย มีความสุขมีความสะดวกมีความสบาย แต่ไม่ยึดไม่ถือ เรียกว่าไม่หลงในความรวย ไม่หลงในความสุข ที่เป็นทิพย์ เป็นวิมาน หรือว่าไม่หลงในความสงบระดับสมาธิ อันนี้ถือว่ามันยังไม่สมบูรณ์ พระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่นี้ ให้ทุกท่านทุกคนพากันรู้จัก ทั้งฆราวาสทั้งนักบวช ให้พากันรู้จัก ถ้าเราไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา เราจะไปไม่ได้ ต้องรู้จัก
พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า แม้ตถาคตจะละธาตุวางขันธ์ ก็ชื่อว่าตถาคตนั้นยังไม่จากไป เพราะพระธรรมวินัยที่ได้ตรัสรู้แล้วได้แสดงได้บัญญติไว้นั้น จักเป็นองค์สมเด็จพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป ไม่ใช่สรีระร่างกาย ด้วยเหตุนี้ด้วยปัจจัยนี้ทุกคนต้องมาทำความเข้าใจเรื่องพื้นฐาน สาเหตุที่เป็นหลักๆ ที่พระพุทธเจ้าห้าม และที่พระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติ นิสัย 4 อกรณียกิจ 4 เป็นสิ่งที่สำคัญ หลักใหญ่ของธรรมะวินัยทั้งหมดมันอยู่ที่ สิ่งที่ควรทำกับสิ่งไม่ควรทำ พระสงฆ์ทุกรูปในพระพุทธศาสนา จะต้องปฏิบัติตามพระวินัยในพระพุทธศาสนาเพราะถือเป็นกฎระเบียบที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น เพื่อให้พระสงฆ์อยู่ร่วมกันอย่างสงบไม่สร้างความเสื่อมเสียให้แก่พระพุทธศาสนา ทั้งยังเป็นการสร้างศรัทธาให้แก่ผู้พบเห็นด้วย วินัยของสงฆ์มีมากมาย ในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์จะต้องมีกิจวัตร (กิจ = สิ่งที่ต้องทำ วัตร = สิ่งที่ควรทำ ) ๒ ประการ คือ
๑. นิสัย ๔ หมายถึง ต้องอาศัยปัจจัย ๔ อย่างในการดำเนินชีวิต คือ
๑. “ปิณฺฑิยาโลปโภชนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา, ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย, อติเรกลาโภ, สงฺฆภตฺตํ อุทฺเทสภตฺตํ นิมนฺตนํ สลากภตฺตํ ปกฺขิกํ อุโปสถิกํ ปาฏิปทิกํ” บรรพชาอาศัยโภชนะ คือ คำข้าวที่ได้มาด้วยกำลังปลีแข้ง (บิณฑบาต) เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต ฯ ลาภเหลือเฟือ (ลาภมาก) ภัตต์ถวายสงฆ์ ภัตต์เฉพาะสงฆ์ (ภัตต์ที่เกิดแต่) การนิมนต์ ภัตต์ถวายตามสลาก ภัตต์ถวายในปักษ์ ภัตต์ถวายในวันอุโบสถ ภัตต์ถวายในวันขึ้น ๑ ค่ำ แรม ๑ ค่ำ ฯ
ชีวิตพระภิกษุในพระพุทธศาสนาไม่มีอาชีพอื่น เช่น ไม่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ค้าขาย เป็นต้น แต่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการขออาหารจากชาวบ้าน ความหมายของคำว่า ภิกษุ นัยหนึ่งแปลว่าผู้เห็นภายในวัฏสงสาร อีกนัยหนึ่งแปลว่า ผู้ขอ โดยกิริยามิใช่โดยการออกปาก การบิณฑบาตจึงเป็นการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์สำหรับภิกษุ ตามวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนา
๒. “ปํสุกูลจีวรํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา, ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย, อติเรกลาโภ, โขมํ กปฺปาสิกํ โกเสยฺยํ กมฺพลํ สาณํ ภงฺคํ” บรรพชาอาศัยผ้าบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต ฯ ลาภเหลือเฟือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม (แพร) ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่านผ้าด้ายแกมไหม ฯ
ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่ภิกษุเก็บเศษผ้าท่อนเล็กท่อนน้อยซึ่งตกอยู่ตามพื้นดิน เปื้อนผุ่นไม่สะอาด ไม่สวยไม่งาม โดยที่สุดแม้ผ้าที่เขาใช้ห่อศพ ตกอยู่ตามป่าช้า ภิกษุเก็บมาเย็บปะต่อกันเป็นผืน ซัก เย็บ ย้อมใช้เป็นจีวรสำหรับนุ่งห่ม ปัจจุบันภิกษุใช้ผ้าสำเร็จรูปที่ชาวบ้านถวายได้
๓. "รุกฺขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา, ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย, อติเรกลาโภ, วิหาโร อฑฺฒโยโค ปาสาโท หมฺมิยํ คุหา" บรรพชาอาศัยโคนต้นไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต ฯ ลาภเหลือเฟือ, วิหาร (กุฎีปกติ) เรือนมุงแถบเดียว (เพิง) เรือนชั้น เรือนโล้น (หลังคาตัด) ถ้ำ ฯ
ชีวิตพระภิกษุในพระพุทธศาสนาต้องสละบ้านเรือน ออกบวชเป็นผู้ไม่มีบ้านเรือน จึงต้องอาศัยอยู่ตามร่มไม้ ป่าเขา เงื้อมผา เถื่อนถ้ำ ภายหลังมีผู้เลื่อมใสสร้างวัดถวาย ปัจจุบันจึงมีวัดวาอารามเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับพระภิกษุ
๔. “ปูติมุตฺตเภสชฺชํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย อติเรกลาโภ, สปฺปิ นวนีตํ เตลํ มธุ ผาณิตํ” บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา, เธอพึงทำความอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต ฯ ลาภเหลือเฟือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (น้ำตาล) ฯ
ธรรมดาสังขารร่างกายเต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ การจะไม่มีโรคนั้นเป็นไม่มี พระพุทธองค์จึงอนุญาตให้พระภิกษุฉันสมอและมะขามป้อมดองด้วยน้ำปัสสาวะเป็นยาได้ตลอดเวลา เพื่อจะได้เป็นผู้มีโรคน้อย และมีกำลังในการบำเพ็ญกิจสงฆ์
๒. อกรณียกิจ ๔ หมายถึง สิ่งที่พระสงฆ์ไม่ทำ ๔ อย่าง คือ
๑. "อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา เมถุโน ธมฺโม น ปฏิเสวิตพฺโพ อนฺตมโส ติรจฺฉานตายปิ, โย ภิกฺขุ เมถุนํ ธมฺมํ ปฏิเสวติ, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตติโย, เสยฺยถาปิ นาม ปุริโส สีสจฺฉินฺโน อภพฺโพ เตน สรีรพนฺธเนน ชีวิตุํ, เอวเมว ภิกฺขุ เมถุนํ ปฏิเสวิตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ”
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม, ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษถูกตัดศีรษะแล้วไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ภิกษุก็เหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้ว, ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต ฯ
๒. “อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อาทาตพฺพํ, อนฺตมโส ติณสลากํ อุปาทาย, โย ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ อาทิยติ, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย, เสยฺยถาปินาม ปณฺฑุปลาโส พนฺธนา ปมุตฺโต อภพฺโพ หริตฺตตาย, เอวเมว ภิกฺขุ ปาทํ วา ปาทารหํ วา อติเรกปาทํ วา อทินฺนํ เถยฺย สงฺขาตํ อาทิยิตฺวา, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ”
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย, โดยที่สุดหมายเอาถึงเส้นหญ้า, ภิกษุใดถือเอาของอันเขามิได้ให้ เป็นส่วนแห่งขโมย บาทหนึ่งก็ดีควรแก่บาทหนึ่งก็ดี เกินกว่าบาทหนึ่งก็ดี, ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนใบไม้เหลืองหล่นจากขั้วแล้ว ไม่อาจจะเป็นของเขียวสดได้, ภิกษุก็เหมือนกัน ถือเอาของอันเขามิได้ให้เป็นส่วนขโมยบาทหนึ่งก็ดี ควรแก่บาทหนึ่งก็ดี เกินบาทหนึ่งก็ดี แล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร, การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต ฯ
๓. "อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา สญฺจิจฺจ ปาโณ ชีวิตา น โวโรเปตพฺโพ, อนฺตมโส กุนฺถกิปิลฺลิกํ อุปาทาย, โย ภิกฺขุ สยฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปติ อนฺตมโส คพฺภปาตนํ อุปาทาย, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย, เสยฺยถาปิ นาม ปุถุสิลา ทฺวิธา ภินฺนา อปฺปฏิสนฺธิกา โหติ, เอวเมว ภิกฺขุ สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ชีวิตา โวโรเปตฺวา อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย, ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ"
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต, โดยที่สุดหมายเอาถึงมดดำ มดแดง, ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต โดยที่สุดหมายเอาถึงยังครรภ์ให้ตก, ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร, เป็นเหมือนศิลาหนาแตก ๒ เสี่ยงแล้วเป็นของกลับต่อกันไม่ได้, ภิกษุก็เหมือนกัน แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้ว ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร, การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต ฯ
๔. "อุปสมฺปนฺเนน ภิกฺขุนา อุตฺตริมนุสฺสธมฺโม น อุลฺลปิตพฺโพ, อนฺตมโส สุญฺญาคาเร อภิรมามีติ, โย ภิกฺขุ ปาปิจโฉ อิจฺฉาปกโต อสนุตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อุลฺลปติ, ฌานํ วา วิโมกฺขํ วา สมาธึ วา สมาปตฺตึ วา มคฺคํ วา ผลํ วา, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย เสยฺยถาปิ นาม ตาโล มตฺถกจฺฉินฺโน อภพฺโพ ปุน วิรุฬฺหิยา, เอวเมว ภิกขุ ปาปิจฺโฉ อิจฉาปกโต อสนฺตํ อภูตํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อุลฺลปิตฺวา, อสฺสมโณ โหติ อสกฺยปุตฺติโย, ตนฺเต ยาวชีวํ อกรณียํ"
อันภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงพูดอวดอุตตริมนุสธรรม โดยที่สุดว่าเรายินดีในป่าชัฏ, ภิกษุมีความอยากอันลามก อันความอยากอันลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตริมนุษยธรรมอันไม่มีอยู่ อันไม่จริง คือฌานก็ดีวิโมกข์ก็ดี สมาธิก็ดี สมาบัติก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดีไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยะบุตร,
เปรียบเหมือนต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะงอกอีก, ภิกษุก็เหมือนกัน มีความอยากอันลามก อันความอยากอันลามกครอบงำแล้วพูดอวดอุตริมนุษยธรรมอันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง, ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต ฯ
ธรรมะวินัยนี้เราต้องเข้าถึงความรู้ความเข้าใจ เข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ด้วยความตั้งใจด้วยเจตนา เพราะเรานี้ไม่เอามรรคผลนิพพาน ถึงจะรู้หรือไม่รู้ มันก็ไม่พ้นอาบัติ ทำไมเราถึงจะปฏิบัติได้ เราต้องไม่เอาตัวไม่เอาตน ไม่เอาสังขารที่มีใจครองที่มันเป็นอวิชชา มีความหลง เราต้องเอาธรรมเอาพระวินัย สิกขาบทน้อยใหญ่ จะเป็นสติความสงบ จะเป็นสัมปชัญญะตัวปัญญา จะไปในตัวด้วยความตั้งใจเจตนา ชีวิตเราจะเป็นชีวิตที่มีความสงบ เป็นที่หยุดวัฏฏะสงสาร เป็นชีวิตที่ประกอบด้วยพุทธะ ประกอบด้วยปัญญา ที่พระวินัยปิฎกมีตั้ง 21,000 พระธรรมขันธ์ เพราะเป็นการที่จะต้องหยุดตัวเอง หลายคนอินทรีย์บารมีต่างกัน อย่างผู้ที่เป็นพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีหลายอสงไขย ละกิเลสและวาสนาได้ สาวกอย่างพระสารีบุตรได้ระดับที่หมดกเลสสิ้นอาสวะ แต่ละวาสนาเก่าไม่ได้ ยังกระโดดโลดเต้นบางครั้งบางคราวที่จะข้ามร่องน้ำ
ความเป็นพระของเรานี้หมายถึงไม่มีตัวไม่มีตนเลย ถึงเรียกพระ ถ้ามีตัวมีตนแทรกเรียกว่าเป็นสีลัพพตปรามาส ลูบคลำในศีล ในข้อวัตร ในพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ ท่านบังคับไว้เพื่อเราไปมรรคผลพระนิพพาน ให้เราเข้าใจ ก่อนที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามทุกองค์ว่าอยากจะตัดอันไหน อยากจะเพิ่มอันไหน ก็ให้บอกจะได้ตกลงกันครั้งสุดท้าย ทุกท่านทุกองค์ก็เห็นว่าธรรมะวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว ไม่ต้องตัดไม่ต้องเพิ่ม เพราะทุกอย่างมันสงบ สงบจากอะไร สงบจากตัวจากตน ปัญญาก็เป็นโลกุตระ คือหยุดแล้วซึ่งตัวซึ่งตน มีแต่สติมีแต่สัมปชัญญะ การดำรงชีพของเรามันก็จะก็าวไปด้วยธรรมะวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ พระวินัยเป็นสิ่งที่ทำให้เราเป็นพระอริยะเจ้า เราทุกคนจะเอาตามใจตามอัธยาศัยไม่ได้ เรามองไปไม่นานเพราะเรายังไม่มีญาณมาก เราก็มองใกล้ๆ แค่ที่เราเกิดมาก็พอรู้ว่าทำไมมรรคผลนิพพาน มันหมดสมัย มันก็หมดเพราะว่าเราเอาตัวตนเป็นหลัก พระนิพพานมันก็หมดสมัย ถ้าเรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง มันก็ยิ่งดีนะ ไม่หมดสมัย เพราะเดี๋ยวนี้มันพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาอะไร ใช้ได้ทั้งการดำรงชีพ ใช้ได้ทั้งชีวิตของหมู่มวลมนุษย์ให้ดับเย็นเป็นพระนิพพาน
เราดูตัวอย่างแบบอย่างที่เราพอมองเห็นอย่างหลวงปู่มั่น ท่านพาลูกศิษย์ลูกหาบำเพ็ญสมณธรรม เอาพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ ที่เรารู้เราเข้าใจ ก็พากันปฏิบัติ ไม่ต้องไปคิดอะไร ทำไปตามหน้าที่ แต่ทุกคนส่วนใหญ่ก็ไปติดในความสุข ติดในความสงบ ก็เป็นได้แค่สมาธิ หลวงปู่มั่นก็ได้เตือนว่านี้ เป็นสมาธินะ ไม่ใช่นิพพาน ไม่ใช่พระอริยเจ้า ถ้าปฏิบัติครบอริยมรรคมีองค์ ๘ มันจะมีความสงบด้วย มีปัญญาด้วย เพราะการประพฤติการปฏิบัติด้วยเจตนาคือมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่สงบ ความสงบนี้เป็นการพักผ่อนในการเดินทางเฉยๆ เราต้องมีศีลมีสมาธิไปด้วยกัน เหมือนกับเราพัฒนาวิทยาศาสตร์และพัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน เราต้องเอาแบบส่วนที่สมบูรณ์แบบ คือเราเอาความสงบแล้วเอาทั้งมีปัญญาไปพร้อมๆ กัน เพราะความสงบคือความหลงนั้นแหละ ถ้าเราไม่มีปัญญา ปัญญานั้นถ้าไม่เข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติมันก็คือความหลงความฟุ้งซ่าน ใช้ไม่ได้เหมือนกัน
ศีลกับสมาธิกับปัญญาต้องเข้ากันอย่างนี้ เราต้องเข้าใจ เราต้องดูตัวอย่างแบบอย่าง มองดูในแง่หนึ่งอย่างหลวงตามหาบัว ท่านก็ทำตามหลวงปู่มั่น ทำตามพระวินัย ท่านก็เน้นฝึกตน ปฏิบัติตน เพื่อมีสติคือความสงบ มีสัมปชัญญะเพื่อมีปัญญา ท่านก็ไม่ได้ลงรายละเอียดในข้อวัตรกิจวัตรที่ละเอียดพอไปได้ อย่างเช่นว่า ท่านอายุก็ 90 กว่าปีแล้ว ท่านก็ไม่ให้พระเณรล้างบาตร เช็ดบาตร สะพายบาตร ท่านไปอย่างนี้ ท่านก็ไม่ให้ใครห้อมล้อม ท่านว่าขวางหูขวางตา ท่านก็เตือนทุกคนว่าไม่ให้หลงตัวเอง ต้องเสียสละ ไม่ให้พึ่งคนอื่นให้พึ่งความเสียสละละตัวละตน ความเห็นในแง่หนึ่ง แต่ว่าความเห็นอย่างนี้ข้ามพระวินัยในเรื่องอุปัฏฐาก เรื่องเทคแคร์ครูบาอาจารย์ พระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่อย่างนี้ ตามหลัก เราต้องปฏิบัติเราต้องเอื้อเฟื้อ อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ การเทคแคร์คนอื่น เทคแคร์คนดี คนไม่ดี เทคแคร์อะไรต่างๆ ก็คือการปฏิสันถาร พระพุทธเจ้าทรงบอกว่าเป็นทางน้อมไปสู่มรรคผลนิพพาน ทำให้เราไม่มีสักกายทิฏฐิ ไม่มีตัวไม่มีตน เราก็มองในแง่หนึ่งเพื่อไม่ให้พระท่านหลง เพราะถ้ายังไม่เป็นพระที่แท้จริง มันหลงได้ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความหลง ความเห็นแก่ตัว ความอยากใหญ่ มันหลงประเด็น มองในอีกแง่หนึ่ง เช่น หลวงปู่ชา สุภทฺโท ท่านก็มีแง่คิดว่าเราต้องเอาพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ ว่าพระพุทธเจ้าคือธรรมะวินัย ท่านก็สอนตั้งแต่เป็นตาปะขาว สอนให้ละทิฏฐิ ละมานะ ดูแลอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ รับบาตรครูบาอาจารย์ ใครจะดีจะชั่วไม่เกี่ยว นี้เป็นข้อวัตรข้อปฏิบัติ ต้องฝึกตัวเอง ต้องเทคแคร์สิ่งที่ถูกต้อง ผู้ที่จะบวชไปวัดไปเป็นตาปะขาว แล้วท่านก็บอกพ่อแม่ว่า เอาลูกมาบวชหน่ะ ต้องปล่อยวางหมดไม่ต้องคิดว่าจะบวชวันไหน ต้องฝึก ปีๆ หนึ่งก็มีกุลบุตรมาฝึกเยอะบางที 100 คน ก็เหลืออยู่ประมาณ 10 กว่าคนอย่างนี้เป็นต้น เพราะว่าไม่ฝึกตัวเอง มันต้องฝึกติดต่อต่อเนื่องเหมือนไก่ฟักไข่ ผลปรากฎออกมาว่าก็ได้ดีเท่าๆ กับฝึกนี้แหละ ถ้าเราเข้าใจความหมาย ท่านไม่ได้คิดว่า พระที่มาบวชก่อนมาหลงตัวเอง อย่างนี้มันคิดในแง่หลักเหตุผลหลักวิทยาศาสตร์ คือการส่งไม้ผลัด พ่อสู่ลูก ลูกสู่หลาน เรียกว่าสมบูรณ์ดี เราจะดูตัวอย่างแบบอย่างอย่างอาจารย์ชา ท่านก็เอาพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ 100% ไม่มีสิกขาบทใดที่ไม่เอา ท่านเข้าใจแล้วก็ท่านก็ฟังธรรมหลวงปู่มั่นใช้เวลา 2 คืน วันที่ 3 ก็เดินทางไป ท่านจาริกไปกับลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ท่านก็ให้ท่านไปนั่งท้ายแถว ท่านเห็นประธานสงฆ์ทำความผิด ที่ใครได้อ่านประวัติพระอาจารย์ชาก็ได้รู้ว่า ที่โยมเผาข้าวหลาม แล้วข้าวหลามมันจะไหม้ ประธานสงฆ์เลยไปจับข้าวหลามพลิก พออาจารย์ชาเห็นอาจารย์ชาก็ไม่ฉันข้าวหลามนั้น ที่ท่านอาจารย์ชาไม่ฉัน นั้นแสดงถึงอาจารย์ชา รักษาพระวินัยคือมุ่งมรรคผลนิพพาน ท่านก็จะแก็ไขตัวเองอย่างนี้
พระวินัยที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนก็คือย่างนี้แหละ เน้นทางจิตทางใจ ไม่ให้เน้นเพื่อโลกธรรม เพื่อให้คนอื่นรู้คนอื่นเห็น ทางพระวินัยต้องอาบัตินะ เพราะเราทำเทคแคร์เพื่อผลประโยชน์ตอบแทน มันไม่ใช่นักบวชนะ มันเป็นนักธุรกิจ เพื่อที่จะได้ จะมี จะเป็น จะเด่นจะดัง ให้ทุกคนเข้าใจนะ เราต้องทำเหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่าพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ เราต้องทำด้วยเจตนา ด้วยที่ไม่หวังอะไรตอบแทน เพื่อเราจะได้มีสติ มีความสงบ สงบอะไรล่ะ สงบที่ไม่วิ่งตามความหลง ไม่วิ่งตามอารมณ์
เพราะพระธรรมวินัยนั้นดีอยู่แล้ว ผู้ที่บวชเข้ามา พระพุทธเจ้าหรือว่าพระอรหันต์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่ชา หลวงตามหาบัว ท่านเจ้าคุณพุทธทาส นี้เป็นต้น ท่านก็สอน สอนเรื่องอาบัติมันเกี่ยวข้องด้วยจิตใจ พระสมัยเก่ามุ่งมรรคผลพระนิพพานท่านถึงไม่ต้องอาบัติปาราชิก อาบัติสังฆาทิเสส เพราะมีเจตนามุ่งมรรคผลนิพพาน 100% ถึงสงสัยอะไรก็ไม่คิดไม่พูดไม่ทำ แล้วสมัยต่อมาโลกมันเจริญเอาตัวตนเป็นหลัก ถือแบรนด์เนมการบวช ทิ้งธรรมทิ้งพระวินัยเยอะ ถึงได้จัดงานปริวาสกรรม ปริวาสกรรมเป็นทางออกของอาบัติสังฆาทิเสส เพราะว่าพระที่แท้จริงนั้นยากที่จะต้องอาบัติปราชิก ยากที่จะอาบัติสังฆาทิเสส เพราะว่าละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป สอนกันตั้งแต่เป็นตาปะขาวแล้ว ถ้าใครต้องอาบัติปาราชิกต้องขาดจากความเป็นพระ ถึงใครไม่รู้ไม่เห็น แต่ตัวเองรู้ตัวเองเห็น เพราะอันนี้เป็นเรื่องจิตเรื่องใจ คนอื่นก็ไม่รู้แต่ตัวเองรู้ว่าตัวเองอาบัติสังฆาทิเสส พวกนี้ถึงเป็นการห้ามตัวเองในตัวอยู่แล้ว มันจะไม่มีโอกาสที่จะต้องอาบัติได้ เราต้องพากันเข้าใจ พระอรหันต์เขาถึงไม่ต้องอาบัติด้วยความตั้งใจด้วยเจตนา พระอรหันต์ถึงเป็นผู้ที่ไม่มีบาป เป็นผู้ที่หยุดบาป อาบัติปาราชิก 4 ข้อนี้ คือหัวใจหลักของความเป็นพระในศาสนาพุทธเรา ให้ทุกท่านทุกคนเข้าใจ ผู้ที่บวชมาไม่เอามรรคผลพระนิพพาน คิดว่าสร้างบารมีหลายภพหลายชาติกว่าจะหมดกิเลสสิ้นอาสวะ มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะว่าเราทุกคนได้รับทรัพยากรจากประชาชนจากมหาชนด้วยบารมีของพระพุทธเจ้า ที่เป็นแบรนด์เนม เราไม่เอามรรคผลนิพพานนั้นไม่ได้ เพราะว่ามันเป็นการหลอกลวง ถึงจะยากลำบากเราก็ต้องปฏิบัติต้องมุ่งมรรคผลนิพพาน
เพราะว่าการพูดธรรมวินัยนี้เราต้องพูดให้เข้าใจ ไม่ใช่สอบนักธรรม การสอบนักธรรมนี้ก็คือการประพฤติการปฏิบัติในชีวิตประจำวันหรือว่าในอิริยาบถทั้ง ๔ การยืน เดิน นั่ง นอน นี้เป็นข้อสอบข้อปฏิบัติ มีผัสสะ มีอารมณ์ที่เป็นข้อสอบ ข้อสอบด้วยศีล สมาธิ ด้วยปัญญา ถ้าเราไม่เอามรรคผลนิพพาน นี้เป็นสิ่งที่เสียหาย เสียทรัพยากรแห่งความเป็นมนุษย์เรา เสียทรัพยากรที่ประชาชนได้สนับสนุนเรา ทุกศาสนาก็ใช้ได้ เราดูตัวอย่างดิ เราจะไปกลัวยากลำบาก ถ้าเรามีตัวมีตนมันก็ยากลำบาก คนต่างประเทศหรือเป็นคนที่ถือมหายาน บอกว่า โอ้ย... มาอยู่กับหลวงพ่อมันก็ง่าย เพราะมีโครงสร้างดี ลองกลับไปอยู่ที่ประเทศเดิมสิ ไม่ถือเงิน มันจะอยู่ได้ไหม อันนี้มันความคิดของคนไม่มีสติ ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้าทรงวางแผนไว้ดีแล้ว เราก็ต้องเอาตามพระพุทธเจ้า ใหม่ๆ เราจะไปสร้างบ้านสร้างเรือนมันก็ต้องลำบาก ต้องไปถางป่า ปรับพื้นดิน มันก็ธรรมดา ความยากความลำบากมันคือความดับทุกข์ ต้องเป็นความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง อยู่ที่ไหน ทำอะไรนี้แหละคือข้อสอบและคือคำตอบ ของภาคประพฤติภาคปฏิบัติ พวกที่ทำให้ครูบาอาจารย์ที่นิพพานไปแล้ว ทำติดต่อต่อเนื่องไปไม่ได้ เพราะว่าเราไม่ได้เอาธรรมวินัย เราเอาตัวตนเป็นใหญ่ มันเลยยากลำบาก เราก็ดูตัวอย่างผู้ที่ศึกษาพระธรรมวินัย จากหลวงปู่มั่น จากลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นแล้ว ก็ไปคิดว่าไม่สำคัญ กว่าจะรู้ตัวเองก็หลายปี เช่น ทิ้งพระวินัยหลายข้อไป สุดท้ายมันก็ 10 ปี 20 ปี 30 ปี มันก็เห็นความล้มเหลว ไม่เห็นมีใครได้มรรคได้ผลอะไร เพราะว่ามันไม่เอาเข้าถึงใจถึงเจตนา เราทุกคนมีโอกาสพิเศษที่สังคมเขาสมมุติให้เราเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ บ้านก็ไม่ได้เช่า ข้าวก็ไม่ได้ซื้อ ทุกอย่างอำนวยความสะดวก สบายหมด พวกเราและท่านจะมาทำผิดธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าไม่ได้ "เราต้องเน้นมาหาใจที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เจตนาที่ไม่มีความผิด ทั้งทางใจ ทางคำพูด ทางการกระทำ"
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee