แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอาทิตย์ที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง เข้าพรรษาเข้าหาธรรม ตอนที่ ๕ อาตาปี สัมปชาโน สติมา มีความเพียร รู้ตัวทั่วพร้อม ระลึกได้อยู่เสมอ คือหัวใจการเจริญสติปัฏฐาน
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
สติปัฏฐานเป็นฐานที่ให้ทุกคนกลับมาหาสัมปชัญญะ กลับมาหาตัวสติ ตัวปัญญา เพื่อที่จะหยุดกรรมหยุดเวรหยุดภัย ต้องพัฒนาสู่พระไตรลักษณ์ ถ้าเราไม่มีภาวนาวิปัสสนาในปัจจุบัน ไม่ก้าวสู่ความดับทุกข์ได้ ในพรรษานี้ให้พระภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี ที่มาปฏิบัติก็ต้องพากันเจริญสติสัมปชัญญะให้เต็มที่ ถ้าเราไม่ป่วยไม่ไข้ก็ไม่ต้องพักผ่อนตอนกลางวัน ถ้าพักผ่อนก็ให้พักผ่อนด้วยการนั่งสมาธิ นั่งสมาธิก็อย่าพากันนั่งหลับ พักผ่อนก็คือหยุดพักผ่อนสมอง สมองเข้าสู่ความว่าง เพื่อหยุดปรุงแต่งสมอง เราไม่ต้องเอาหลับพักผ่อนด้วยหลับฝน ถ้าเราเลยนิวรณ์ เลยง่วงเหงาหาวนอน เลยเวทนา เลยพักผ่อนด้วยสมาธิได้ เหมือนพระอรหันต์ท่านเข้านิโรธสมาบัติ เราก็ต้องควบคุมใจเพราะว่าอาหารของร่างกายเราก็รู้อยู่แล้ว อาหารทางใจคืออารมณ์คือความคิด เราก็ต้องหยุดอันไหนไม่ดีไม่คิด ดำริออกจากกาม ดำริออกจากพยาบาท เพื่อให้ใจของเราต้องพักจากกาม พักจากพยาบาท อยู่กับสติสัมปชัญญะ อดีตที่เราผ่านมา เราสั่งสมกรรมมาเยอะ ทั้งกาม ทั้งพยาบาท เราต้องมาหยุดด้วยมีสติด้วยมีสัมปชัญญะ
อาตาปี (มีความเพียรเผากิเลส) คำว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียรเผากิเลส คือ มีความเพียรชอบ ที่เรียกว่า สัมมัปปธาน ๔ คือ เพียรเพื่อละอกุศลเก่า เพียรเพื่อไม่ทำอกุศลใหม่ เพียรเพื่อทำกุศลใหม่ และเพียรเพื่อเพิ่มพูนกุศลเก่า ทุกขณะที่นักปฏิบัติเจริญสติระลึกรู้สภาวธรรมปัจจุบัน จัดว่า
- มีความเพียรเพื่อละอกุศลเก่า เพราะในขณะนั้นไม่ได้ทำอกุศลเก่า คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ ฯลฯ
- มีความเพียรเพื่อไม่ทำอกุศลใหม่ เพราะในขณะนั้นไม่ได้ทำอกุศลใหม่อย่างใดอย่างหนึ่งทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ
- มีความเพียรเพื่อทำกุศลใหม่ เพราะการเจริญสติปัฏฐานเป็นกุศลที่ยังไม่เคยบำเพ็ญมาก่อน
- มีความเพียรเพื่อเพิ่มพูนกุศลเก่า เพราะผู้ปฏิบัติธรรมย่อมประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติตามลำดับของวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ จัดว่าได้เพิ่มพูนภาวนากุศลที่มีอยู่แล้วให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสั่งสมสติ สมาธิ และปัญญา ให้เพิ่มพูนมากขึ้นกว่าเดิม
สมฺปชาโน (มีปัญญาหยั่งเห็น) คำว่า สมฺปชาโน แปลว่า มีปัญญาหยั่งเห็น หมายความว่า หยั่งเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง จำแนกเป็น
๑. สภาวลักษณะ ลักษณะพิเศษของรูปนาม คือ ลักษณะเฉพาะตัวของรูปนามแต่ละอย่างที่รูปนามอื่นไม่มี
๒.สามัญญลักษณะ ลักษณะทั่วไปของรูปนาม คือ ความไม่เที่ยง (อนิจจัง) เป็นทุกข์ (ทุกขัง) ไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา)
ลักษณะพิเศษของรูปกับนามนั้น เหมือนรูปร่างหน้าตาทางกายภาพของสัตว์แต่ละพันธุ์ เช่น ลิง มีหัวมีตัวอย่างลิง เสือมีหัวมีตัวมีหางมีลาย อย่างเสือ ช้างก็มีหัวมีตัวมีงวงมีงาอย่างช้าง ฯลฯ สัตว์แต่ละตัวมีลักษณะ เฉพาะทางพันธุกรรมของตนเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกให้รู้ว่าต่างจากสัตว์ ประเภทอื่นๆ
ในทำนองเดียวกัน รูปนามที่เกิดทางทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เช่น ลักษณะเฉพาะของสี ไม่เหมือนลักษณะเฉพาะของเสียง ลักษณะเฉพาะของเสียง ไม่เหมือนลักษณะ เฉพาะของกลิ่น ลักษณะเฉพาะของกลิ่น ไม่เหมือนลักษณะเฉพาะของรส ลักษณะเฉพาะของรส ไม่เหมือนลักษณะเฉพาะของสัมผัสคือความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ความโลภมีลักษณะทะยานอยาก แต่ศรัทธามีลักษณะผ่องใสความโกรธมีลักษณะไม่พอใจ แต่เมตตามีลักษณะอ่อนโยนปรารถนาดี ความฟุ้งซ่านมีลักษณะซัดส่าย แต่สมาธิมีลักษณะตั้งมั่น เป็นต้น
ความจริงรูปนามเหล่านี้ไม่มีชื่อเรียก เกิดดับตามเหตุปัจจัยอยู่ในทวารทั้ง ๖ ต่อมาเพื่อสื่อความหมายกัน มนุษย์ได้คิดคันตั้งชื่อให้กับธรรมชาติเหล่านี้ว่า สี เสียง กลิ่น รส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง โลภ โกรธ รัก ชัง เป็นต้น ถึงแม้ว่าแต่ละภาษาจะตั้งชื่อไว้ต่างกัน แต่รูปนามเหล่านี้ จะคงสภาพเดิมของมันอยู่เสมอไม่เปลี่ยนแปร ลักษณะแข็งอันปรากฎที่ฝ่าพระหัตถ์ของพระราชาในขณะกำเหรียญทอง ไม่ต่างจากความแข็งที่ปรากฏในฝ่ามือของยาจกในขณะกำเศษเงินที่คนโยนให้ ความโลภของคนไม่ต่างจากความโลภของสัตว์ ความโกรธของคนไทย ฝรั่ง จีน แขก เป็นแบบเดียวกันหมด ดังนั้น รูปนามทุกอย่างที่ปรากฎทางทวารทั้ง ๖ จึงมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวตามสภาวะของตน
ส่วนลักษณะทั่วไปนั้น เกี่ยวกับรูปนามทุกอย่างที่เกิดในทุกทวารทั้งภายในและภายนอก มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทุกสรรพสิ่งในสากลจักรวาลล้วนตกอยู่ในลักษณะทั่วไปอันได้แก่ ความไม่เที่ยง คือความเกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่จีรังยั่งยืน ความทุกข์ คือความทนอยู่ไม่ได้ในสภาพเดิมที่เริ่มเกิดขึ้น ความไม่ใช่ตัวตน คือความไม่อยู่ในอำนาจของตนที่ต้องการจะเที่ยงและเป็นสุขเสมอ ลักษณะทั่วไปนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไตรลักษณ์ คือลักษณะ ๓ ประการดังกล่าวนั้น
สมมุติบัญญัติที่ทุกคนรับรู้ในเวลาทั่วไปนั้น เปรียบเสมือนเปลือกไม้ สภาวลักษณะของรูปนามเหมือนเนื้อไม้ สามัญญลักษณะเหมือนแก่นไม้ โดยปกติเราต้องถากเปลือกไม้และเนื้อไม้ออกก่อน จึงจะได้แก่นไม้ ในทำนองเดียวกัน เราต้องเพิกถอนสมมุติบัญญัติก่อน แล้วรับรู้สภาวลักษณะเป็นเบื้องแรก ต่อมาจึงรับรู้สามัญญลักษณะ
สติมา (มีสติ) คำว่า สติมา แปลว่า มีสติ คือ มีสติอย่างต่อเนื่องไม่ขาดช่วงตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงหลับสนิท สติเหมือนการสีไม้อย่างต่อเนื่อง สมาธิเหมือนความร้อนที่ได้รับจากการสีไม้ ปัญญาเหมือนไฟที่เกิดจากความร้อน กล่าวคือในอินทรีย์ทั้ง ๕ อันได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ศรัทธาเป็นเหตุให้เกิดวิริยะ วิริยะเป็นเหตุให้เกิดสติ สติเป็นเหตุให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นเหตุให้เกิดปัญญา และปัญญาก็เป็นเหตุให้เกิดศรัทธา ดังนี้เป็นตัน อินทรีย์ ๕ เหล่านี้เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
การเจริญสติจึงมีประโยชน์ทำให้จิตตั้งมั่นมีสมาธิ เพื่อการพัฒนาปัญญาต่อมา อุปมาเหมือนน้ำใสที่ตะกอนนอนกันย่อมแสดงสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในน้ำได้ หรือเหมือนการกกไข่ของแม่ไก่เป็นเวลานาน ย่อมจะทำให้ยางเหนียวคือตัณหาเหือดแห้งไป ทำให้จงอยปากและกรงเล็บที่เหมือนวิปัสสนาญาณของลูกไก่แข็งขึ้น และในที่สุดลูกไก่คือเหล่าสัตว์ก็จะเจาะเปลือกไข่ที่เหมือนอวิชชาซึ่งห่อหุ้มตนไว้ออกจากฟองไข่คือภพได้ สมกับพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่าปัญญาเกิดจากสมาธิว่า “สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ เสยฺยถีทํ กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชาสวาติ ฯ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ”
วิเนยฺย (ข่ม) คำว่า วิเนยย (ข่ม) หมายความว่า ในทุกขณะที่เจริญสติระลึกรู้สภาวธรรมปัจจุบัน นักปฏิบัติย่อมกำจัดกิเลสโดยความเป็นตทังคปหาน คือ ละได้ชั่วขณะ หมายความว่า ไม่มีกิเลสเกิดขึ้นในขณะนั้น เพราะกิเลสที่เป็นอกุศลเหมือนความมืด ส่วนสติเป็นกุศลเหมือนความสว่างที่ซับความมืดให้หายไป
นอกจากนี้ นักปฏิบัติย่อมกำจัดกิเลสโดยความเป็นวิกขัมภนปหาน คือ ละได้ด้วยการข่มไว้ หมายความว่า สมาธิที่ได้รับการอุปถัมภ์จากวิริยะ สติ และปัญญา ย่อมทำให้จิตละเอียดอ่อน แม้นักปฏิบัติจะมิได้เจริญสติ ในบางขณะก็ไม่เกิดความโลภหรือความโกรธเหมือนในเวลามิได้ปฏิบัติธรรม แม้ในบางขณะที่ขาดสติเผลอคิดถึงบางเรื่องในอดีตหรืออนาคต ก็ไม่เกิดกิเลสดังกล่าว เพราะสมาธิจะข่มกิเลสไว้
โลเก (ในโลก) คำว่า โลเก (ในโลก) หมายถึง โลกแห่งสภาวธรรมที่กำหนดรู้ หรืออุปาทานขันธ์ ๕ อันได้แก่ ๑. รูป สภาวะแปรปรวนชัดเจนเมื่อประสบกับความเย็นและความร้อนเป็นต้น ๒. เวทนา สภาวะรู้สึก ๓. สัญญา สภาวะหมายรู้ ๔. สังขาร สภาวะปรุงแต่ง ๕. วิญญาณ สภาวะรับรู้สิ่งต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
อภิชฺฌาโทมนสฺสํ (อภิชฌาและโทมนัส) คำว่า อภิชฺฌาโทมนสฺสํ (อภิชฌาและโทมนัส) คือ ความโลภที่เกิดขึ้นเมื่อพบกับอารมณ์ที่ตนชอบใจ และความโกรธที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในเวลาที่มิได้เจริญสติปัฏฐาน
คำว่า อภิชฌา แปลตามศัพท์ว่า ความละโมบ แต่โดยทั่วไปหมายถึง ความยินดีอยากได้สมบัติผู้อื่น พิจารณาโดยองค์ธรรมคือ โลภเจตสิก ส่วน
คำว่า โทมนสฺส ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าความเสียใจนั้น มีองค์ธรรมคือเวทนาเจตสิกที่เกิดทางใจ แต่ในที่นี้หมายถึงโทสเจตสิกเพราะพระพุทธองค์ทรงแสดงกามฉันทนิวรณ์ด้วยคำว่า อภิชฌา และตรัสพยาปาทนิวรณ์ ด้วยคำว่า โทมนสฺส นิวรณ์ (เครื่องกั้นกุศล) ทั้งสองอย่างนี้มีกำลังมาก คนส่วนใหญ่มักคิดถึงเรื่องไม่ดีมากกว่าเรื่องดี และส่วนมากก็คือเรื่องที่ตนชอบและไม่ชอบนั่นเอง
ทุกคนต้อง control ถ้ามันท่องพุทโธก็ไม่หยุด ท่องอะไรก็ไม่หยุด เราก็กลั้นลมหายใจเลย ใช้วิธีนี้ก็ได้ ใจมันจะขาดมันก็หยุดหรอก ตอนเย็นน่ะเราจะไม่มีการเทศการแสดงธรรมเพื่อจะได้ฝึกสติสัมปชัญญะ เพื่อจะได้ฝึกสมาธิกัน ทุกท่านทุกคนก็พากันฝึกตัวเอง เพราะเรามีโอกาสมีเวลาที่พิเศษ เราต้องเสียสละมาฝึกตัวเอง เราไม่ต้องมาเอาอะไรหรอก เรามาเสียสละ ถ้าเราจะเอาอย่างนี้แหละ เราจะเครียด เมื่อเลิกแล้วก็กลับกุฏิไปที่พักไปกราบพระไหว้พระแล้วก็พักผ่อนจำวัดเลย เพื่อเราจะได้ตื่นขึ้นตี 3 นี้ก็เพื่อที่จะได้พักผ่อนให้พอ พักผ่อนให้สมบูรณ์ ถ้าเราพักผ่อนไม่พอน่ะ กล้ามเนื้อของเรามันก็จะอ่อนกำลังลง มันก็ไม่มีกำลังที่จะเดินจะเหิน สู้กับโรคภัยไข้เจ็บ สู้กับการประพฤติการปฏิบัติ ต้องนอนให้พอ วันทั้งวันก็มีความสุขในการเดินจงกรมนั่งสมาธิ ทำวัตรทำกิจวัตร เราจะไปคิดว่าสิ่งภายนอก มันไม่ใช่การปฏิบัติ สิ่งภายนอกเป็นการปฏิบัติ เราอย่าละสิ่งภายนอกในการปัดกวาดเช็ดถู หรือทำความสะอาดห้องน้ำห้องสุขาต่างๆ มันฝึกสติสัมปชัญญะ เพื่อใจของเราอยู่กับเนื้อกับตัวอยู่ในปัจจุบัน เพื่อใจของเราสงบเย็น
เมื่อก่อนหลวงพ่อใหญ่นี้ทำความเพียรโดยการถักถลกบาตร ถักที่ใส่ฝาบาตร ถักแล้วก็รื้อใหม่ ตั้ง 16 ครั้ง ครั้งนึงก็ใช้เวลาเป็นอาทิตย์อย่างเร็ว ให้อยู่ในสภาพดี ด้านไม่ขาดไม่ฝ่อ ถักแต่ละครั้งให้ดีขึ้นๆ อันนี้เราไม่ได้ทำเพื่ออะไร ทำเพื่อที่จะฝึกจิตใจให้มีสติมีสัมปชัญญะ พระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ ไม่ใช่อย่างอื่น เพื่อให้จิตใจของเราละเอียด จิตใจขอราไม่หยาบ เพราะใจของเราทุกคนมันหยาบมันสกปรก มันไม่มีสติสัมปชัญยะ แล้วพระวินัยตั้งมากมายที่แก้ใจของเราตั้ง 21000 พระธรรมขันธ์ ที่เราเอามาสวดนี้ในปาฏิโมกข์ 227 ข้อ ให้เราเข้าใจ ทุกคนน่ะในส่วนลึกๆ ที่เป็นวัฏฏะสงสารของทุกคนน่ะ ก็ย่อมตั้งอยู่ในความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ในความประมาท มันต้องอาบัติทุกฎทางจิตใจนะ เราไม่เอื้อเฟื้อ เราไปยินดีในรูป เสียง กลิ่นน รส ลาภ ยศ สรรเสริญ ยินดีในการตามใจ ใจเราไม่พ้นอาบัติถุลลัจจัยนะ เรื่องจิตเรื่องใจเรื่องพระวินัยนี้ เราต้องเอาใจใส่พิเศษ เราจะคิดว่า ใจของเราคิดอะไรจะไปเดือดร้อนหนักหัวใคร เราจะไปคิดอย่างนั้นมันก็หนักหัวเรานี้แหละ เพราะเรามันยังไม่ใช่ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เราต้องรู้จัก เราดูพระวัดต่างๆ พากันเสียหาย มีพระศาสนาซึ่งเป็นสิ่งที่ประเสริฐ เขาก็ไม่ได้ปฏิบัติ
เรามาบวชถึงจะไม่กี่วันกี่เดือนเราต้องประพฤติปฏิบัติ เราต้องรู้จักคุณค่าจากสิ่งที่ประเสริฐ ความเป็นพระแท้จริง อยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง มันไม่เกี่ยวกับฆราวาส มันไม่เกี่ยวกับนักบวช มันอยู่ที่การประพฤติการปฏิบัติ เราถึงจะลาสิกขาไป เราก็เอาการปฏิบัติเรื่องจิตเรื่องใจ ไปปฏิบัติต่อที่บ้าน ที่สังคม เราอ่านออกเขียนได้ ไปอ่านไปเขียนที่ไหนก็ให้มันได้ ทุกๆ คนน่ะอย่าไปดื้อกับพระพุทธเจ้า ถ้าเราไม่เอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก เราจะมาบวชทำไม วันนี้แหละ หลวงพ่อนั่งรถอยู่ มีโทรศัพท์โทรไปหาโทรศัพท์ทิตเอี่ยม หลวงพ่อนั่งรถอยู่น่ะ หลวงพ่อก็เห็นเบอร์เลขมันขึ้นมาว่า หลวงพี่จ้อยน่ะ มาถามหาเบอร์ ดร.ต้อม เขาว่าทิตเอี่ยมไม่อยู่ ทิตเอี่ยมอยู่ที่วัดนู่น นี้ทำไมเบอร์โทรศัพท์ขึ้นว่าหลวงพี่จ้อยน่ะ หลวงพี่จ้อยบอกมาว่าเป็นเบอร์ที่เขาใช้ประจำ หลวงพ่อเลยบอกพระจ้อยว่า พระจ้อยน่ะวันนี้ต้องลาสิกขา เพราะหลวงพ่อนี้เทศน์ให้ฟังหลายปีแล้ว ยังไม่เข้าใจน่ะ ไม่ต้องเห็นหน้าเห็นตากันแล้ว ไม่ต้องอยู่ที่วัดกันต่อไป เพราะเราอยู่ในสถานที่ครูบาอาจารย์ไม่อนุญาตให้มีโทรศัพท์มือถือแล้วยังไปมี ต้องลาสิกขาแล้ววันนี้ พระจ้อยก็ขออนุญาตแก้ไขความผิดปรับปรุงตัวใหม่ว่า จะเอาโทรศัพท์ไปฝากที่พระอาร์ท
เพราะเรื่องกามๆ เรื่องอย่างนี้น่ะ ทุกคนอย่ามีความคิดมีกิจกรรมอย่างนี้นะ เพราะประชาชนเขาให้ข้าวแต่ละเม็ด น้ำแต่ละหยด เขาทำเพื่อศาสนาแล้วเราจะมาเป็นผู้หลอกลวงทีนี่ได้อย่างไง สมควรที่จะสึก ไม่สมควรจะให้หนักแผ่นดิน การที่มีโทรศัพท์มีอะไรที่ครูบาอาจารย์ไม่แต่งตั้งถือว่ามันไม่ได้ ไม่ได้มีทำกิจสงฆ์ทำอะไร ไม่สมควรที่จะอยู่ในพระพุทธศาสนาแล้ว ทุกๆ คนน่ะถ้าใครยังมีพฤติกรรมอย่างพระจ้อย ให้รู้เอาไว้นะ! อย่าให้หลวงพ่อต้องลาสิกขาให้นะ เพราะอยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร หรืออยู่ไปมันก็เท่ากับลาสิกขา คือลาพระธรรมพระวินัย เอาตัวตนเป็นใหญ่ เราไม่ต้องเป็นผู้ไปหาโปรดใครช่วยใครแล้ว เพราะตัวเองก็ยังช่วยตัวเองไม่ได้ โปรดตัวเองก็ไม่ได้ ซึ่งพระในเมืองไทยทำเสียหายมาก ไม่มีสติไม่มีสัมปชัญญะเลย ไม่ได้แก้ไขตัวเอง จะไปแก้ไขแต่คนอื่น สำหรับอาหารการฉันนี้ก็ฉันให้พอคำนวนดีๆ ฉันให้ได้ 1000 กว่าแคลโลลี่ หรือ 2000 ก็ไม่เป็นไร ตักมาเยอะฉันเยอะไม่ว่า แต่ขอไม่ให้มันเหลือ ต้องคำนึงถึงคนอื่น ไม่ใช่มีสิทธิ์แล้วก็เอาสิทธืนั้นไปทำให้มันเหลือ ไม่เอาสิทธิ์เหมือนพระจ้อยเนี่ย ว่าวัดอื่นเขาก็มีโทรศัพท์ นี่ไม่ใช่วัดอื่น นี่มันวัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม เพราะกำลังพัฒนาพระใหม่พระเก่า ใครแอบมีก็ต้องให้รู้ไว้นะ ผู้ที่มีโทรศัพท์ก็ต้องได้รับสิทธิพิเศษ ที่หลวงพ่อว่าอินทรีย์บารมีแก่กล้าแล้ว ให้ทำกิจสงฆ์อย่างนี้ ทุกคนต้องทำได้ปฏิบัติได้ พวกโยมพวกอะไรที่มีปัญหาในวัด ก็ต้องปรับปรุงปฏิปทาทุกคน เพราะว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี ให้พยายามจัดการตัวเองทุกๆ คน
พระทุกรูปมันต้องเก่งต้องฉลาด เอาอดีตที่มันผิดพลาด หรืออดีตที่ดีมาปฏิบัติ ปัจจุบันมันต้องมองไปถึงอนาคต ให้มันเป็นพวก… เหมือนพระพุทธเจ้า ละลึกชาติได้หลายชาติทั้งหน้าทั้งหลัง เพราะว่าบางคนไปกับหลวงพ่ออย่างเดียว มันจะไม่เก่งไม่ฉลาด ไม่เข้าใจคำว่าอยู่กับปัจจุบัน บางทีไปนั่งเกะกะรถหลวงพ่อเฉยๆ ไม่ต้องรู้อดีตที่มันเสื่อม มันต้องรู้ตัวเองในอดีตที่ทำให้เราเจริญ ปัจจุบันเราต้องรู้ตัวเองว่าผัสสะที่เราเกิดขึ้นมา เราต้องเกิดขึ้นมานี้เราต้องรู้ตัวเองแล้วจัดการ เราจะเดินทางไกลเราก็ต้องเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์ของพระนี้คือศีล คือสมาธิ คือปัญญา อุปกรณ์นี้ที่เราจะเอามาใช้เราต้องรู้ว่าเราจะเดินทางไกล เราต้องใช้อะไรบ้างๆ ผู้ปฏิบัตินั้นต้องถือว่าคิดเก่งวางแผนเก่ง
เรื่องนี้น่ะ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักบวชที่ทำให้มรรคผลนิพพานหมดไปจากพุทธบริษัทในปัจจุบันในชีวิตประจำวัน ผู้ที่บวชใหม่บวชเก่า ทั้งวัดบ้านวัดป่าต้องพากันปฏิบัติให้เหมือนกันหมด เพื่อจะให้มีศีลเสมอกัน ความตั้งมั่นเสมอกัน มีปัญญา รู้ทุกข์, รู้เหตุให้เกิดทุกข์, รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ไม่ทำตามใจตัวเอง ไม่ทำตามอารมณ์ตัวเอง ไม่ทำตามความรู้สึก โดยมีความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง การปฏิบัติถูกต้อง ด้วยเจตนาด้วยความตั้งใจ อย่าไปเข้าใจผิดคิดว่าบวชมาแล้ว มาสร้างบารมีอีกหลายชาติข้างหน้านู้น ต้องทำเหมือนพระพุทธเจ้าสอน ต้องเข้าถึงมรรคในปัจจุบัน เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนั้นมันถึงมี ผู้ที่มาบวชชั่วครั้งชั่วคราว ต้องมีความเข้าใจอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ อย่าให้วัดสกปรกอย่าให้วัดเปื้อน สกปรกจากพระธรรมพระวินัยที่ย่อหย่อน
เพราะว่ากามมันเป็นสิ่งที่เสพติด ที่ทุกคนมักจะหลง เทคโนโลยีมันก้าวหน้าให้มวลมนุษย์สะดวกสบาย แต่มันก็สะดวกสบายแต่ภายนอกทางวัตถุ แต่จิตใจมันไม่สบาย จิตใจมันสกปรกเศร้าหมอง เพราะเราไม่ได้พัฒนาใจเลย ไปพัฒนาแต่วัตถุ พระพุทธเจ้าให้เราพัฒนาใจและพัฒนาวัตถุไปพร้อมๆ กันเรียกว่า “ทางสายกลาง” ผู้ที่บวชเข้ามา พระวินัยทุกข้อคือมรรคผลพระนิพาน ศีลทุกข้อคือมรรคผลพระนิพพาน เริ่มจากความคิด
พระพุทธเจ้าทรงวางศีลในพระปาฏิโมกข์ไว้ ๒๒๗ ข้อ แล้วก็วางศีลไว้ในพระไตรปิฏก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เพื่อให้ทุกคนสละเสียซึ่งกาม เมื่อมีกามก็ย่อมมีพยาบาท ถ้าเราไม่ปฏิบัติอย่างนี้ บวชก็เหมือนกับไม่ได้บวช พระถึงเรียกว่าพระธรรมพระวินัย ผู้ที่มาบวชถึงเป็นเพียงภิกษุ หยุดคิดเรื่องนี้ยังไม่พอ เพราะยังยินดี พระพุทธเจ้าก็ให้พิจารณาพระกรรมฐาน ฐานแห่งความคิดเพื่อให้เกิดปัญญาสัมมาทิฏฐิ แยกแยะ พระอุปัชฌาย์ที่บวชมาต้องบอกผู้เข้ามาบวชตั้งแต่นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ พระเราตั้งแต่บวชมาบางคนนะ พุทโธยังไม่ค่อยได้ท่องได้ภาวนา พิจารณาก็ยังไม่ค่อยทำ อย่างนี้ก็ไปคิดเอาว่ามรรคผลนิพพานมันหมดสมัยแล้ว มรรคผลนิพพานนั้นไม่หมดสมัย ไม่ล้าสมัย ที่มันหมดก็เพราะว่าเรามีความเห็นผิด เข้าใจผิด ปฏิบัติผิด แล้วก็ยังไปบอกประชาชนผิดๆ อยู่ ให้ประชาชนพากันสร้างแต่บารมี ไม่เข้าภาคประพฤติภาคปฏิบัติ เพราะตัวพระคุณเจ้าเองไม่ได้ประพฤติไม่ได้ปฏิบัติ
ที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์ โภชะเน มัญตัญญุตา หมายถึง ให้รู้จักประมาณในการบริโภค รวมถึง การบริโภคความคิด เราบริโภคความคิดที่เป็นกาม รู้จักว่าอันไหนความคิด อันไหนไม่ควรคิด อันไหนควรหยุด ควรเบรค เค้าเรียกว่ารู้จักว่าของอันไหนบริโภคได้บริโภคไม่ได้ เพราะการเสพ การที่ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ถ้าเราไม่หยุดเอง ไม่พิจารณาให้เกิดปัญญา เค้าเรียกว่ามีเพศสัมพันธ์ทางจิตใจ เราพากันเข้าใจแต่เรื่องภายนอกแล้วก็ไม่รู้เรื่องทางจิตใจ ใจของเรามันไม่มีเพศสัมพันธ์ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ลาภ ยศ สรรเสริญ เราต้องรู้จัก ว่าอันนี้ทุกข์ อันนี้เหตุเกิดทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เราต้องหยุดเราด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา เพราะเราโชคดี เราเป็นคนตาดี หูดี เรามีตาดีไม่บอดไม่ฝ้าไม่ฟาง เรามีหูดีไม่หนวก อันนี้เป็นอุปกรณ์ ที่ให้เราได้พิจารณาให้เกิดสติปัญญา ให้เกิดวิปัสสนา ให้เกิดพระกรรมฐาน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ก็เราจะไปรักษาศีลที่ไหน ไปทำสมาธิที่ไหน เจริญปัญญาที่ไหน เรามีสนามสอบในชีวิตประจำวัน ชีวิตของเราเป็นปัจจุบันปฏิบัติธรรม ต้องเปลี่ยนวิถีความคิดใหม่ พวกนักบวชต้องเปลี่ยนวิถีความคิดใหม่ ถ้าไม่เปลี่ยนวิถีความคิดใหม่ไม่ได้นะ เรามีอุปกรณ์ เราต้องเอามาใช้เอามาปฏิบัติ อุปกรณ์คือศีล อุปกรณ์คือสมาธิ อุปกรณ์คือการฝึกเจริญปัญญา
ผู้ที่บวชผู้ที่จะบวชก็มาก็ต้องเข้าใจว่าเรามาบวชเราต้องมาเป็นบุญเป็นกุศล หยุดทำตามใจของเราหมดทุกอย่าง เขาเรียกว่ามาเอานิสัยพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านคิดอย่างนี้ ท่านไม่คิดอย่างนี้ ถ้าเรามาโกนหัวห่มผ้าเหลืองเหมือนที่เป็นอยู่อย่างนี้ มันไม่ใช่ศาสนาพุทธ ถึงจะบวชแล้ว ก็ชื่อว่าลาสิกขา ลาจากศีลสมาธิปัญญา อย่างนี้มันไม่ถูกต้อง ทุกคนต้องทำให้ได้ปฏิบัติให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ปฏิบัติไม่ได้ก็อย่าพากันมาบวชมันเลย เพราะว่ามันไม่เกิดประโยชน์สุขต่อตนเองต่อส่วนรวม
รถยนต์มันวิ่งเร็ว วิ่งก็ไปง่าย มันต้องระมัดระวังอุบัติเหตุ พวกโทรศัพท์มือถือมันก็อุบัติเหตุ เพราะว่าใจของปุถุชน มันหลงในกาม ชอบในกาม พระผู้ที่จะมาบวชก็ต้องปฏิบัติให้ได้ พวกที่บวชอยู่ก็ต้องปฏิบัติให้ได้ ที่ผ่านมาปฏิบัติไม่ได้ ก็ต้องตั้งใจใหม่ แต่พวกที่เคยทำเคยย่อหย่อนอ่อนแอ นี่ก็ยากที่จะประพฤติปฏิบัติได้ เขาถึงไปรวมกันปฏิบัติตามครูบาอาจารย์ที่เคร่งครัดไปถือนิสัยให้ท่านบังคับ เขาเรียกว่า ปฏิบัติในที่ที่มีครูมีอาจารย์
ครูบาอาจารย์ทุกวันก็หายาก เพราะว่าพากันย่อหย่อนอ่อนแอ ขนาดอยู่ให้วัดครูบาอาจารย์ห้ามไม่ให้มีโทรศัพท์ก็ยังลักมีกัน แอบมีกัน นี่ครูบาอาจารย์ไม่ห้ามมันจะขนาดไหน พระกรรมฐานสายต่างๆ ที่ไปไม่ได้ ก็อยู่ที่โทรศัพท์มือถือพวกคอมพิวเตอร์นี่แหละ องค์หลวงปู่ชา, หลวงตามหาบัว, ท่านเจ้าคุณพุทธทาส ท่านถึงเห็นความสำคัญเพราะอันนี้เป็นเรื่องของพรหมจรรย์ เมื่อพระไม่ได้เป็นพระ เป็นแต่เพียงภิกษุอย่างนี้ พระศาสนาในประเทศเราก็ไปไม่ได้ ไปไม่รอด เมื่อผู้ปฏิบัติปฏิบัติไม่ได้แล้ว ก็ไปบอกผู้อื่น มันก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ถ้าเรายังมีโทรศัพท์มือถือมีอินเตอร์เน็ต เฟซบุ๊ค อย่างนี้มันจะเอาความวิเวกมาจากไหน เพราะความวุ่นวายมันอยู่ที่เรารับเอาสิ่งที่ในโทรศัพท์ในอินเตอร์เน็ตมาใส่ใจของเรา มาทำร้ายมรรคผลนิพพานของเราเอง เราก็ไม่ได้เจริญอานาปานสติ ไม่ได้เขาฌานที่๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ มันฟุ้งซ่านมันขนาดนี้เพราะศีลเราไม่ดี เรายังไม่รู้จักว่าศีลเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลก เรายังมีความรู้สึกว่า มันยังเป็นเรื่องเฉยๆ
ก็ต้องใช้ปัญญากันเต็มที่ เราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเพื่อมุ่งมรรคผลนิพพานเราต้องฉลาดถ้าไม่อย่างนั้นไม่ได้ เราไม่สามารถที่จะเป็นพระอริยเจ้าได้ เพราะใจของเรามันหลงอยู่ในกาม เพราะประเทศไทยเรานั้นได้เปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ เมื่อเจ้าอาวาสเป็นผู้นำไม่แข็งแรงไม่แข็งแกร่งไม่เอามรรคผลนิพพานไปหมกมุ่นในเรื่องกาม โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ตอย่างนี้แหละ พระเณรที่วัดท่านโยมที่วัดท่านมันก็เป๋ไปตามเจ้าอาวาสตามผู้นำ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มันสำคัญอยู่ที่ผู้นำ เพราะว่าโทรศัพท์มือถือมันเป็นกามเป็นอวิชชาเป็นความหลง ประเทศไทยเราก็มันเป็นอย่างนั้นเกือบทุกคน ความรู้สึกอย่างนี้ มันก็เปรียบเสมือนเนื้อที่มันอร่อยๆ ก็ยากที่จะคลายเนื้ออกจากปากไปได้ ถ้าเราไม่สละเสียซึ่งตัวตนเข้าสู่ศีลสู่ธรรม เท่ากับเราเป็นหมาน้อย หมากลาง หมาใหญ่ หมาเฒ่า ต้องเสียสละออกจากกามออกจาอวิชชาออกจากความหลง
พระวินัยทุกข้อคือธรรมะ ธรรมะนั้นคือพระวินัย มันเป็นกายวิเวก หลวงปู่ชา หลวงตามหาบัว เจ้าคุณพุทธทาส ท่านถึงเน้นเรื่องโทรศัพท์มือถือ พวกอินเทอร์เน็ต เฟสบุ๊ค คอมพิวเตอร์เหล่านี้เปรียบเหมือน ศาสตราวุธที่เราใช้แล้วมันทำร้ายตัวเองทำลายกุลบุตรลูกหลานผู้ที่ยังมีอินทรีย์อ่อน เพราะพระเรานี้พระภิกษุเหล่านี้แหละอย่าใจอ่อน พวกที่บวชมายังไม่มีโอกาสพิจารณาพระกรรมฐาน ไม่ได้เจริญอานาปานะสติ ไม่ได้พากันตั้งอยู่ในพุทโธ เพราะใจมันหยาบ เพราะใจมันสกปรกใจมันไม่วิเวก ให้เข้าใจนะ พวกนี้แหละไม่ได้เข้าสู่กายวิเวก ผู้ที่ติดหมกมุ่นอยู่ในกาม มันต้องเข้าสู่กายวิเวก มันต้องหยุดพวกนี้ก่อน พวกเจ้าอาวาสพวกประธานสงฆ์เป็นตัวอย่างแบบอย่างผู้ที่บวชภายหลัง ต้องพากันตั้งมั่น มรรคผลนิพพานหมดสมัย เพราะเราพากันยินดีในกามหมกมุ่นในกาม เราจะพากันมองหน้ากันคนนี้ก็ทำ คนนั้นก็ทำ ก็รู้แก่ใจอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเคารพบูชา พระธรรมคำสอนเป็นสิ่งที่ควรเคารพบูชา ถ้าอย่างงั้น เราไม่ต้องไปหาพระอลัชชีที่ไหนหรอก อลัชชีที่ตัวเราทุกคนนี่แหละ เป็นผู้ที่ไม่ละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป รู้อยู่แต่ก็ยังขืนทำ พระพุทธเจ้าถึงให้เรากลับจิตกลับใจกลับกาย กลับตัว ปัจจุบันนี้เราเป็นคนใจอ่อนเสียเพราะความใจอ่อน เสียเพราะพี่น้องญาติวงศ์ตระกูลพรรคพวก หมู่มวลมนุษย์ทั้งหลายที่ใจอ่อนต้องมีพรรคมีพวกที่เรียกว่าใจของเรายังอยู่ในแก๊งค์ หากใจอ่อนก็ละสิ่งเสพติดที่เรียกว่ากามไม่ได้ ทุกท่านทุกคนนะ พระพุทธเจ้าให้เราละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป
พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องจิตเรื่องใจ เป็นเรื่องของมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่เรื่องกฎหมายบ้านเมือง ถ้าเป็นเรื่องกฎหมายบ้านเมือง มันมีการแต่งสำนวนแต่งอะไรได้ แต่ธรรมวินัยถ้าต้องอาบัติแล้วคือต้องแล้ว ถ้าเป็นอาบัติใหญ่เยียวยาไม่ได้ ต้องขาดจากความเป็นพระ ถ้าเป็นอาบัติใหญ่รองลงมาก็เข้ากรรม ต้องมาสมาทานต่อหน้าภิกษุสงฆ์เพื่อที่จะไม่ทำอีก เราจะไม่ให้ใครรู้ไม่ให้ใครเห็น ก็ไม่พ้นอาบัติ ทุกคนต้องพึงสำรวม พึงระวัง เพราะเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนา เพื่อกตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้า เพื่อทรงไว้ซึ่งมรรคผลพระนิพพาน
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee