แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง สั่งสมทรัพย์ภายใน ตอนที่ ๕๕ สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามกฎธรรมชาติ ตามนิยามทั้ง ๕
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
เราทุกคนไม่รู้ทุกไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ไม่รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ไม่รู้ว่าตัวเองนี้เกิดมาทำไม แล้วจะไปที่ไหน จะต้องทำอะไร เรียกว่าไม่รู้อริยสัจ ๔ ทุกคนมีพื้นฐานมาจากอวิชชามาจากความหลง ถึงไม่รู้ข้อปฏิบัติของตัวเอง พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า สมณะที่ ๑-๔ นั้น อยู่ที่ตัวเราที่มี ความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ที่มันเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ สมณะที่ ๑-๔ มันอยู่ที่ปัจจุบันนี้แหละ เพราะวันคืนที่มันเปลี่ยนไปเป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นเรื่องการโคจรของโลกที่มันหมุนรอบดวงอาทิตย์ หรือหมุนรอบตัวของมัน เราถึงไม่รู้ว่า เราจะปฏิบัติอะไร เราเลยปล่อยตัวเองให้มันไปตามพลังกรรม ที่มันเป็นอวิชชา เป็นความหลง
ที่พึ่งสูงสุดของเราถึงเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เข้าสู่กิจกรรมเรียกว่าศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เราทุกคนต้องเข้าใจ เราต้องพากันมาเสียสละ เราจะไม่ปล่อยตัวเองให้ว่าง เพราะเราทุกคนคงวามดับทุกข์มันอยู่อย่างนี้ๆ เพราะปัจจุบันมันถึงมีสัมมาทิฏฐิ มีความฉลาด ปล่อยให้ตัวเองเซ่อๆเบลอๆ งงๆ ไม่ได้ เพราะปัจจุบันคือการปฏิบัติของเรา คิดดีๆ พูดดีๆ ทำดีๆ เราต้องรู้ทุกข์ว่าเวลาผ่านไปๆ เราเอากลับคืนมาไม่ได้ อีกหลายชั่วโมงข้างหน้าเราต้องหิวอาหาร แล้วการแสวงอาหารมันต้องมี เพราะเราต้องพัฒนาทั้งหายทั้งใจไปพร้อมๆ กัน เขาถึงเรียกว่าวิทยาศาสตร์ เราทุกคนะถึงพากันฉลาด มีสัมมาทิฏฐิ ฉลาดก็ยังไม่พอยังต้องเป็นคนดีด้วย คนดีไม่พอ ก็ต้องฉลาด ศีล กับสมาธิ กับปัญญานี้แยกกันไม่ได้ ต้องใจเข้มแข็ง ถ้าเราทำอย่างนี้เราจะฉลาด เพราะศีล สมาธิ ปัญญา มันเป็นของใหม่ของสด มันเป็นธรรมเป็นปัจจุบันธรรม อย่างนี้มันไม่ฉลาดเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราไม่เอาตัวตน เราเอาพระพุทธเข้า เอาธรรมะอย่างนี้ ชีวิตของเราถึงเป็นชีวิตที่สดใหม่
จะไปเชื่อตัวเองไม่ได้ ถ้ามันเชื่อตัวเอง การบวชจะไม่ได้ถือนิสัยพระพุทธเจ้า การทำอะไรไม่ได้ถือนิสัยพระพุทธเจ้า ถือนิสัยตัวเองหน่ะ อย่างนี้ไม่ได้ แล้วจะเอาบรรลุธรรมมันจะบรรลุอะไร มันบรรลุความหลง บรรลุความเห็นแก่ตัว มันไม่ใช่ปฏิบัติอะไร มันทำตามใจตัวเอง ทำตามอารมณ์ มันเรียกว่าวิบัติ เพราะว่าเราเดินทางไม่ถูกน่ะ โมเดลที่ดีที่สุด สูงสุดเขาก็มีให้อยู่แล้ว
สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามกฎธรรมชาติ
สรรพสิ่งที่เป็นสังขตธรรมล้วนดำเนินไปตามระเบียบที่แน่นอน เรียกว่ากฎธรรมชาติหรือนิยาม แบ่งออกเป็น - ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกคือ กฎเกณฑ์ย่อยๆ ที่ควบคุมความเป็นไปของสังขตธรรม ได้แก่ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตตนิยาม และกรรมนิยาม ส่วนที่สอง คือกฎเกณฑ์ใหญ่ที่ควบคุมกฎเกณฑ์ย่อยๆ หรือความเป็นไปของสังขตธรรม กฎเกณฑ์นั้นคือ ธรรมนิยาม ส่วนสังขตธรรม ได้ แก่นิพพานนั้นไม่ ดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ใด ไม่ว่าจะเป็นอุตุนิยม พีชนิยาม จิตตนิยาม กรรมนิยาม หรือธรรมนิยาม (ไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท) กฎเกณฑ์หรือนิยามที่ควบคุมความเป็นไปของสังขตธรรม ประกอบด้วยนิยามทั้ง ๕ ประการ ดังนี้
๑. อุตุนิยาม คือ ความสม่ำเสมอคงที่ในธรรมชาติ ส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุหรือกฎธรรมชาติเกี่ยวกับวัตถุที่ไม่มีชีวิต เช่น สสารและพลังงาน ดังที่ (สมภาร พรมทา, ๒๕๔๖) ได้สรุปเนื้อหาของอุตุนิยามจากเนื้อหาที่กระจัดกระจายอยู่ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาไว้ ๔ ประการ คือ (๑) วัตถุทุกอย่างมีความสัมพันธ์ถึงกัน (๒) ระหว่างวัตถุทั้งสองชิ้นที่เกี่ยวเนื่องกัน ในแง่ที่สิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุและอีกสิ่งหนึ่งเป็นผล มีระเบียบความสม่ำเสมอและกฎเกณฑ์ที่แน่นอน (๓) ภายในวัตถุแต่ละชิ้นมีความเป็นระเบียบสม่ำเสมอและมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน (๔) ในโลกแห่งวัตถุ สาเหตุอย่างเดียวย่อมส่งผลเหมือนกัน อุตุนิยามนั้นเป็นกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว ซึ่งสามารถนำมาอธิบายปรากฎการณ์ทางวัตถุต่างๆ ได้ เช่น อธิบายอุณหภูมิหรือสภาพภูมิอากาศ ฤดูกาล และการเคลื่อนที่ของวัตถุ รวมทั้งปรากฏฎการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ
๒. พีชนิยาม คือ ความสม่ำเสมอคงที่ในธรรมชาติ ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์ พืช สัตว์ เนื้อหาของพีชนิยาม คือ (๑) สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีความสัมพันธ์เนื่องกันไป (๒) ระหว่างสิ่งมีชีวิตสองหน่วย ที่เกี่ยวเนื่องกันในแง่ที่สิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุและอีกสิ่งหนึ่งเป็นผล มีระเบียบ ความสม่ำเสมอ และมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน (๓) ภายในสิ่งมีชีวิตแต่ละหน่วยมีความเป็นระเบียบ ความสม่ำเสมอ และมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน (๔) ในโลกแห่งสิ่งมีชีวิต สาเหตุอย่างเดียวกันย่อมส่งผลเหมือนกัน
๓. จิตตนิยาม คือ ความสม่ำเสมอคงที่ในธรรมชาติ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับจิตใจหรือเป็นกฏธรรมชาติที่เกี่ยวกับกลไกการทำงานของจิต เนื้อหาของจิตตนิยาม คือ (๑) จิตทุกดวงมีความสัมพันธ์เนื่องกัน (๒) ระหว่างจิตสองดวงที่เกี่ยวเนื่องกันในแง่ที่ดวงหนึ่งเป็นสาเหตุ และอีกดวงหนึ่งเป็นผล มีระเบียบ ความสม่ำเสมอและมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน (๓) ภายในจิตแต่ละดวงมีความเป็นระเบียบ ความสม่ำเสมอและมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน (๔) ในโลกแห่งจิต สาเหตุอย่างเดียวกันย่อมก่อให้เกิดผลอย่างเดียวกัน
๔. กรรมนิยาม คือ ความสม่ำเสมอคงที่ในธรมชาติ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้ผลของกรรม หรือกฏธรรมชาติเกี่ยวกับการให้ผลของกรรมที่ประกอบด้วยความจงใจ (เจตนา) ทั้งการกระทำดีและการกระทำที่ไม่ดี คือ (๑) กรรม หรือการกระทำที่เกิดจากความจงใจ ทุกอย่างมีผลสนองตอบผู้กระทำเสมอ ยกเว้นกรรมที่ไม่อาจสนองตอบ เพราะตัวผู้กระทำกรรมไม่มีตัวตนในสังสารวัฏอีกแล้ว (อโหสิกรรม) (๒) กรรมมีสองประเภท คือ กรรมดีและกรรมชั่ว กรรมดีย่อมก่อให้เกิดผลตอบสนองที่ดี กรรมชั่วย่อมก่อให้เกิดผลตอบสนองชั่วเสมอ (๓) ระหว่างกรรมและผลของกรรม มีระเบียบ ความสม่ำสมอและกฎเกณฑ์ที่แน่นอน กรรมอย่างเดียวกัน กระทำโดยบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน และกระทำต่อสิ่งที่มีคุณสมบัติเหมือนกันย่อมอำนวยวิบากเหมือนกัน นอกจากนิยามทั้ง ๔ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ความเป็นไปของสังขตธรรมทั้งหลายแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์หรือนิยามที่ครอบคลุมนิยามทั้ง ๔ ดังกล่าว กฎเกณฑ์นั้นเรียกว่า ธรรมนิยาม ส่วนอสังขตธรรม ได้แก่ นิพพานนั้นมิได้ดำเนินไปตามนิยามทั้ง ๔ และกฎธรรมนิยามหรือกฎอื่นใด ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ธรรมนิยาม คือกฎเกณฑ์ที่ควบคุมความเป็นไปของสรรพสิ่งยกเว้นอสังขตธรรม
๕. ธรรมนิยาม กฎทั่วไปแห่งความเป็นสาเหตุเป็นผล เป็นกฎที่ครอบคลุมความเป็นไปของสังขตธรรม ได้แก่ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตตนิยาม และกรรมนิยาม ธรรมนิยามมีเนื้อหาโดยทั่วไปว่า "เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะเมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ" (บุ.อ. (ไทย) ๒๕/๓/๑๗๔) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ทุกสิ่งล้วนอิงอาศัยกันในฐานะที่สิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุ อีกสิ่งหนึ่งเป็นผล ธรรมนิยามนี้เป็นกฎเกณฑ์ใหญ่ที่ครอบคลุมนิยามหรือกฎเกณฑ์เฉพาะทั้ง ๔ ดังกล่าว ธรรมนิยามเป็นกฎเดียวกันกับหลักไตรลักษณ์และหลักปฏิจจสมุปบาท กฎธรรมชาติหรือธรรมนิยาม ซึ่งประกอบไปด้วยไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท ในขณะที่กฎ ๔ ข้อแรก กระทำการภายในขอบเขตของตน แต่กฎข้อสุดท้ายคือกฎแห่งความเป็นเหตุเป็นผลแก่กันแห่งสิ่งทั้งหลายกระทำการภายในของกฎ ๔ ข้อแรก ทำให้กฎแต่ละข้อสัมพันธ์กัน ข้อนี้หมายถึงว่า ศีลธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ (กรรมนิยาม)
เรื่องชน 3 กลุ่ม ทำกรรมไม่ดีไว้แต่อดีตชาติ และมาเสวยผลกรรมในปัจจุบัน เรื่องนี้เป็น กฎแห่งกรรม ที่ใครไม่สามารถหลบหลีกได้ ในมิติ อปราปริยเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพต่อมา) เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อคราวที่พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภชน 3 คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ เป็นต้น
เรื่องมีอยู่ว่า มีภิกษุ 3 กลุ่มมีประสบการณ์ไปพบเห็นที่แตกต่างกัน คือ ภิกษุกลุ่มที่หนึ่ง จะเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดา ในระหว่างทางได้ไปแวะพักอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ขณะที่พวกชาวบ้านกำลังตระเตรียมปรุงอาหารบิณฑบาตถวายพระสงฆ์อยู่นั้น มีบ้านหลังหนึ่งเกิดไฟไหม้ และมีเสวียนไฟ (ลักษณะเป็นวงกลม) ปลิวขึ้นสู่ท้องฟ้า และมีอีกาตัวหนึ่งบินสอดคอเข้าไปในวงเสวียนไฟตกลงมาตายที่กลางหมู่บ้าน ภิกษุทั้งหลายเห็นอีกาบินสอดคอเข้าไปในเสวียนตกลงมาตายเช่นนั้น ก็กล่าวว่า จะมีก็แต่พระศาสดาเท่านั้นที่จะทรงทราบกรรมชั่วที่ส่งผลให้อีกาตัวนี้ต้องมาประสบชะตากรรมเสียชีวิตอย่างสยดสยองครั้งนี้
ภิกษุกลุ่มที่สอง โดยสารเรือจะไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อเรือลำนั้นเดินทางมาถึงกลางมหาสมุทร เกิดการหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกผู้โดยสารมากับเรือต่างปรึกษาหารือกันถึงสาเหตุที่ทำให้เรือหยุด เห็นว่าในเรือน่าจะมีคนกาลกัณณี จึงได้ทำสลากแจกให้แต่ละคนจับเพื่อค้นหาคนกัณณีคนนั้น ปรากฏว่าสลากคนกาลกัณณีนั้น ภรรยาของนายเรือจับได้ถึงสามครั้ง นายเรือจึงกล่าวขึ้นว่า คนทั้งหลายจะมาตายเพราะหญิงกาลกัญณีคนนี้ไม่ได้ จึงจับภรรยาของนายเรือ ใช้กระสอบทรายมัดที่คอแล้วผลักตัวลงไปในน้ำทะเล เมื่อหญิงภรรยาของนายเรือถูกจับถ่วงน้ำไปแล้ว เรือก็สามารถเคลื่อนตัวได้อย่างปาฏิหาริย์ เมื่อภิกษุเหล่านั้นเดินทางถึงจุดหมายปลายทางแล้ว ก็ขึ้นฝั่งจะเดินทางต่อไปเฝ้าพระศาสดา พระกลุ่มนี้ตั้งใจว่าจะทูลถามว่า หญิงผู้นี้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ จึงเป็นผู้โชคร้ายถูกถ่วงน้ำจนเสียชีวิต
ภิกษุกลุ่มที่สามก็จะเดินทางมาเฝ้าพระศาสดาเหมือนกัน แต่ในระหว่างทางได้เข้าไปสอบถามที่พระภิกษุวัดแห่งหนึ่งว่าพอจะมีที่พักค้างแรมสักคืนในบริเวณใกล้เคียงหรือไม่ เมื่อได้รับแจ้งว่ามีถ้ำแห่งหนึ่งพอจะพักค้างแรมได้ จึงได้เดินทางไปพัก ณ ที่นั้น แต่พอถึงช่วงกลางดึกก็มีหินใหญ่ก้อนหนึ่งกลิ้งมาปิดที่ปากถ้ำ ในตอนเช้าพวกภิกษุจากวัดที่อยู่ใกล้ๆเดินทางมาที่ถ้ำ เมื่อเห็นหินใหญ่กลิ้งมาปิดอยู่ที่ปากถ้ำเช่นนั้น ก็ได้ไปตระเวนขอแรงชาวบ้านจากเจ็ดหมู่บ้านให้มาช่วยกันผลักหินก้อนนั้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้พระภิกษุ 7 รูปจึงถูกขังอยู่ในถ้ำโดยไม่ได้ฉันอาหารฉันเป็นเวลา 7 วัน พอถึงวันที่ 7 หินใหญ่ที่ปิดปากถ้ำก็เคลื่อนตัวออกมาเองราวปาฏิหาริย์ ภิกษุกลุ่มนี้ก็ตั้งใจว่า เมื่อเดินทางไปเฝ้าพระศาสดาแล้วก็จะทูลถามว่าเป็นวิบากกรรมชั่วอะไรที่ทำให้พวกท่านต้องถูกขังอยู่ในถ้ำนานถึง 7 วันเช่นนี้
ภิกษุทั้งสามกลุ่มได้เดินทางมาพบกันระหว่างทาง จึงเดินทางไปเฝ้าพระศาสดาพร้อมกัน ภิกษุแต่ละกลุ่มก็ได้กราบทูลถึงสิ่งที่กลุ่มตนได้ประสบพบเห็นมา และพระศาสดาได้ตรัสตอบคำถามของพระภิกษุทั้งสามกลุ่มดังนี้
พระศาสดาตรัสตอบคำถามของพระภิกษุกลุ่มแรกว่า “ภิกษุทั้งหลาย กานั้นได้เสวยกรรมที่ตนทำแล้วนั่นแหละโดยแท้ เรื่องมีอยู่ว่า ชาวนาผู้หนึ่งในกรุงพาราณสี ฝึกโคของตนอยู่ แต่ไม่อาจฝึกได้ ด้วยว่าโคของเขาเดินไปได้หน่อยเดียวก็นอน แม้เขาจะตีให้ลุกขึ้น ให้เดินไปได้หน่อยเดียวก็ล้มตัวลงนอนเหมือนอย่างเดิม ชาวนานั้น แม้พยายามแล้วก็ไม่สามารถฝึกโคได้สำเร็จ จึงมีความโกรธ กล่าวกับมันว่า อยากนอนนัก ก็นอนอยู่ที่นี่ ไม่ต้องไปไหนอีก ว่าแล้วก็เอาฟ่อนฟางมามัดที่คอโคแล้วจุดไฟเผา โคถูกไฟคลอกตาย ภิกษุทั้งหลาย กรรมอันเป็นบาปนั้น ชาวนานั้นกระทำแล้วในครั้งนั้น ทำให้เขาหมกไหม้อยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เพราะวิบากของกรรมอันเป็นบาปนั้น เกิดแล้วในกำเนิดกา 7 ครั้ง ถูกไฟไหม้ตายในอากาศอย่างนี้แหละ ด้วยเศษวิบากกรรม"
พระศาสดาตรัสตอบปัญหาของพระภิกษุกลุ่มที่สองว่า “ภิกษุทั้งหลาย ครั้งหนึ่งมีหญิงผู้หนึ่ง เลี้ยงสุนัขไว้ตัวหนึ่ง นางพาสุนัขตัวนี้ไปไหนมาไหนด้วย จนพวกเด็กๆเห็นพากันล้อเลียน นางทั้งโกรธและรู้สึกอับอายมากจึงได้วางแผนฆ่าสุนัขนั้น นางได้เอาหม้อมาใส่ทรายจนเต็มแล้วผูกหม้อทรายนั้นที่คอของสุนัขแล้วถ่วงสุนัขนั้นลงในน้ำ จนสุนัขนั้นจมน้ำตาย จากผลของกรรมชั่วครั้งนั้น นางตกรกอยู่เป็นเวลานาน ในร้อยชาติสุดท้าย นางถูกมัดถ่วงด้วยกระสอบทรายที่คอก่อนจะถูกผลักลงน้ำจนเสียชีวิต”
พระศาสดาตรัสตอบปัญหาของพระภิกษุกลุ่มที่สามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ครั้งหนึ่งเด็กเลี้ยงโค 7 คนเห็นเหี้ยตัวหนึ่งเดินเข้าไปในช่องจอมปลวก จึงช่วยกันปิดทางออกทั้ง 7 ช่องของจอมปลวกด้วยกิ่งไม้และก้อนดินเหนียว หลังจากปิดช่องทางไม่ให้เหี้ยออก พวกเด็กก็ต้อนโคไปเลี้ยง ณ ที่อื่น หลังจากนั้นอีกเจ็ดวัน เมื่อต้อนโคกลับมาที่เดิมจึงนึกขึ้นมาได้ และได้ไปช่วยกันเปิดช่องจอมปลวกให้เหี้ยนั้นออกมา ก็เพราะวิบากกรรมครั้งนั้น ทำให้ทั้ง 7 คนถูกขังอยู่ในถ้ำนานถึง 7 วันโดยไม่ได้รับประทานอาหารแบบนี้ ในช่วง 14 ชาติสุดท้าย”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลถามพระศาสดาว่า “ผู้ซึ่งเหาะไปในอากาศก็ดี แล่นไปสู่มหาสมุทรก็ดี เข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขาก็ดี จะไม่ทำให้สามารถรอดพ้นจากกรรมได้ ใช่หรือไม่ พระเจ้าข้า” พระศาสดาตรัสว่า “อย่างนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ไม่ว่าจะไปอยู่ในอากาศ หรือไปอยู่ที่ใดก็ตาม ไม่มีที่ไหนๆที่บุคคลไปอยู่แล้ว จะรอดพ้นจากกรรมชั่วได้”
น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ น ปพฺพตานํ วิวรํ ปวิสฺส
น วิชฺชเต โส ชคติปฺปเทโส ยตฺรฏฺฐิโต มุจเจยฺย ปาปกมฺมา.
คนที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากความชั่วได้หนีไปในท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีเข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ เพราะเขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่
เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ภิกษุเหล่านั้น บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้น พระธรรมเทศนามีประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้มาประชุมกัน
ทุกท่านทุกคนต้องรู้ชัดรู้แจ้ง แล้วนำตนเองประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะได้นำตนเองสู่ศีลสู่ธรรม สู่ธรรมวินัย ทุกท่านทุกคนต้องเป็นเจ้าอาวาสทุกคน เพื่อปฏิบัติตนเอง คุ้มครองตนเอง สอนตนเองปฏิบัติตนเอง 100% ธรรมะถึงจะลื่นไหลออกมา เราจะได้พากันหยุดๆเซ่อๆเบลอๆ เซื่องๆซึมๆ อย่างนี้ใช้ไม่ได้เพราะทุกคนมันเก่งทุกคนอยู่แล้ว ถ้าเอาธรรมะเป็นหลัก ธรรมะเป็นใหญ่ในการดำเนินชีวิต เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เก่งไม่ฉลาด ไม่ว่าจะเป็นคนบ้านนอก ชนบท ในกรุง ในเมือง ต้องเก่งต้องฉลาด ไม่ต้องลังเลสงสัย
ไม่เรียนหนังสือก็เก่ง ก็ฉลาดได้ เพราะธรรมะที่แท้จริงไม่ได้อยู่ในหนังสือ ถ้าเรารู้จักดีชั่วผิดถูก ขยันประหยัดซื่อสัตย์กตัญญู ไม่มีอบายมุข ฟังพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เรามีความสุขในการประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ไม่มีมายาสาไถยหลบหลีก หลบเลี่ยง แก้ตัว ถกเถียงเก่ง โต้แย้งเก่ง จนขนาดถึงขั้นไปกล่าวตู่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เถียงพระพุทธเจ้า ทำตามจิตตามใจ เรียกว่า พากันลาสิกขาบทแล้ว ถึงจะปลงผมห่มผ้าเหลืองก็ลาสิกขาบท จะเอาแต่จิตใจ แต่ไม่เอาพระธรรมวินัยไม่ได้ ต้นไม้ต้นหนึ่ง จะมีแก่นได้ มีทั้งกิ่งทั้งไป มีสะเก็ด มีเปลือก มีกระพี้ จึงจะมีแก่นได้ อย่างเช่น พระภิกษุสามเณรที่บวชมา ศีลทุกข้อพระวินัยทุกข้อ ต้องประพฤติปฏิบัติ ให้ครบถ้วนอย่าพากันลาสิกขาบท เราจึงจะเป็นสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระธรรมวินัย เป็นพระของมหาชน เป็นเนื้อนาบุญของโลก ใจของเราไม่เป็นเหมือนภิกษุสามเณร ส่วนใหญ่ที่เป็นกันอยู่ คือไม่ได้ทำตามพระธรรมวินัย ยังเป็นผู้ที่เห็นแก่ตัวอยู่อย่างนี้
เราบวชมาอุปสมบทมาต้องรักษาพระวินัย รักษาสิกขาบทน้อยใหญ่ให้ได้ 100% ถึงจะเป็นพระของมหาชนของส่วนรวม เรารักษาศีล 10 ได้ 100% จึงจะเป็น สามเณรของมหาชน พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระพุทธบารมีจนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงมาบอกมาสอนเพื่อให้เราได้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ขัดเกลาใจให้พ้นทุกข์ เป็นเนื้อนาบุญของโลก เป็นพระของมหาชน เราดูตัวอย่างแบบอย่าง ยุคหลวงปู่มั่น พาลูกศิษย์ลูกหาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัย 100% ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้ากันมากมาย
พระพุทธเจ้าสอนว่า ให้พากันประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติปฏิบัติตามพระวินัย ตามสิกขาบทน้อยใหญ่ เพื่อมุ่งมรรคผลพระนิพพาน ให้ทุกท่านทุกคนไม่ให้ใจอ่อน มีสัมมาสมาธิเป็นที่ตั้ง เมื่อท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทั้งตัวของท่านเอง การประพฤติปฏิบัติของท่านเอง จะนำท่านไปสู่สุคติโลกสวรรค์สู่มรรคผลพระนิพพาน อย่าได้ใจอ่อน อย่าได้ย่อหย่อนอ่อนแอลูบคลำในศีลในข้อวัตรปฏิบัติ เราไม่ต้องไปลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้า ในพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ในพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติตรงปฏิบัติชอบปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ เน้นเข้าสู่ภาคประพฤติปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติของเราคือการทำปริญญาอันเอกอุ ปริญญาสูงสุดของชีวิตที่มนุษย์ควรได้ควรถึงในชาตินี้
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee