แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันเสาร์ที่ ๑๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง สั่งสมทรัพย์ภายใน ตอนที่ ๔๖ สัตว์โลกดำรงอยู่ได้ด้วยอาหารทั้ง ๔ จึงต้องมีการปฏิบัติถูกต้องในการให้อาหารใจ
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
การละสังขารของผู้ที่หมดกิเลสสิ้นอาสวะก็ต่างกัน แล้วแต่บาปกรรมของแต่ละท่านด้วย พระพุทธเจ้าก็ได้รับอาราธนาจากพยามาร พญามารไม่อยากให้พระพุทะเจ้าอยู่นานเพราะสัตว์โลกก็จะมีสัมมาทิฏฐิมาก พระพุทธเจ้าก็เสวยวิบากกรรม เศษกรรม ให้กายไปรับวิบาก อย่างพระมหาโมคคลานะก็รับวิบากกรรม บางองค์ก็นิพพานในท่านั่งสมาธิ เดินจงกรมก็มี ในอากาศก็มี แล้วแต่ความดำริในใจของท่าน พระอรหันต์ก็อยู่มีชีวิตก็เพื่ออยู่ทำประโยชน์ท่าน พระพุทธเจ้าก็ทรงพักผ่อนบรรทมวันละ 4 ชม. ทำประโยชน์ของเหล่าเทวดาและมนุษย์ก็ 20 ชม. พระอรหันต์ถึงอยู่ด้วยการเสียสละ เหมือนหลายปีก่อนหลวงตามหาบัวก็เผยแผ่สั่งสอนพระเณร ประชาชนมากพอแล้ว ก็จะลาละสังขาร ประเทศไทยก็มีสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ เลยทำงานช่วยชาติอย่างนี้เป็นต้น ผู้ที่มีสุขภาพไม่ดีก็ลาละสังขารเหมือนพระวักกลิ ด้วยการประหารตัวเองก็มี แต่ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ถึงมีพระวินัยบัญญัติไว้ แม้ถึงหมดกิเลสสิ้นอาสวะแล้วก็ไม่ควรฆ่าตัวตาย ต้องเสียสละต้องเผยแผ่ ถ้าร่างกายไม่บอบช้ำไม่ป่วย ผู้ที่หมดกิเลสสิ้นอาสวะแล้ว ถ้าประหารตัวเองตาย ต้องอาบัติทุกฏ ถึงแม้จะเป็นอาบัติเล็กน้อยก็ไม่ดี ไม่งาม ไม่ยอมเสียสละเพื่อส่วนรวม
เรารู้แล้วว่าเราทุกคนเป็นผู้ที่ประเสริฐ เกิดมาต้องเอาธรรมะเป็นหลักเอาธรรมะเป็นใหญ่ มีกิจกรรมในการดำเนินชีวิตที่เป็นศีลพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ เรายังไม่เป็นพระอรหันต์ ถงเป็นพระอรหนัต์แล้ว ก็ต้องช่วยเผยแผ่ไป การดำเนินชีวิตของเราก็ต้องไม่ให้เป็นบาปไม่ให้เป็นกรรม ไม่เบียดเบียนใคร ไม่บริโภคส่วนที่เป็นบาป คิดที่เป็นบาป เพราะเราเกิดมาเอาความสุข พวกนี้ก็ทำให้คนอื่นลำบาก อย่างประเทศอินเดียเป็นต้นกำเนิดศาสนา พากันทานอาหารมังสวิรัติส่วนใหญ่ เพราะปกติของชีวิตของมนุษย์อยู่ด้วยการไม่เบียดเบียน ถ้าใช้ชีวิตอย่างเบียดเบียน มันไม่ปกติ
ร่างกายของเรานั้นอยู่ด้วยอาหาร จิตใจของเรานั้นก็อยู่ด้วยอาหาร อวิชชา ความหลง ที่เรียกว่ากิเลสก็อยู่ด้วยอาหาร ถ้าร่างกายของเราไม่ได้อาหารก็อยู่ไม่ได้ ถ้ากิเลสของเราไม่ได้อาหารก็อยู่ไม่ได้ ให้ทุกคนพากันเข้าใจ อาหารทางกาย พระพุทธเจ้าบอกว่า เราต้องรู้จักบริโภค ไม่มากเกินไม่น้อยเกิน ไม่หวานเกินไม่เค็มเกิน ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน อันไหนมันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย พระพุทธเจ้าไม่ให้เราทานอาหารเพื่อความเอร็ดอร่อย เพราะความหลง เพราะอาหารทุกอย่างนี่มันเป็นยา
พระพุทธเจ้า ทรงเปรียบอาหารที่เราทานนี้ เป็นยารักษาชีวิตสำหรับเดินทาง อาหารทุกอย่างเป็นยารักษาชีวิต จึงทรงแสดงถึงกาลิก ๔ กาลิก แปลว่า ประกอบด้วยกาลเวลา, ขึ้นอยู่กับกาลเวลา เป็นภาษาพระวินัย หมายถึงอาหารหรือของที่ภิกษุรับแล้วเก็บไว้ฉันได้ตามกาลเวลาที่กำหนดเท่านั้น หากเก็บไว้เกินกว่านั้นถือเป็นความผิด ได้แก่
๑. ยาวกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราว คือตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวสุก ขนม ปลา เนื้อ เป็นต้น
๒. ยามกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วระยะเวลาวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ น้ำปานะหรือน้ำผลไม้ชนิดต่างๆ ที่ทรงอนุญาตไว้
๓. สัตตาหกาลิก ของที่เก็บไว้ฉันได้ภายใน ๗ วัน คือ เภสัช ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
ทั้งนี้ของที่นอกเหนือจากกาลิกทั้ง ๓ นั้น คือ ยาวชีวิก เป็นของที่เก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต
นี่คือยาแท้ๆ ที่จะไม่ให้เราหลงเลยพระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่สมควรเป็นสามีบริโภคจริงๆ เพราะท่านไม่ติดใจในรสอาหารไม่ติดใจในสิ่งที่ท่านบริโภคใช้สอยเลย เราเกิดมาเรามีภาระเรื่องร่างกาย ต้องแสวงหาอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพียงให้ร่างกายได้ประพฤติปฏิบัติเพื่อมรรคผลพระนิพพาน ที่เราเรียนหนังสือทำงานทำธุรกิจก็เพื่อเลี้ยงชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง พระพุทธเจ้าจึงไม่ให้เรามาหลงในสิ่งเหล่านี้ เราต้องพยายามบริโภคให้ถูกต้องให้มีความสุขในการทำงาน มีความสุขในการประพฤติปฏิบัติธรรมไปพร้อมๆ กัน
สฺพเพ สฺตตา อาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ย่อมตั้งอยู่ได้เพราะอาหาร คำว่าอาหารนี้ถ้าพูดถึงกันโดยทั่วไป ก็ต้องยอมรับว่าเรารู้จักอาหารนี้เป็นอย่างดี มีอาหารคาว หวาน ขนม ผลไม้ เป็นวัตถุบางประเภทที่เรารับประทานหรือดื่มเข้าไปเพื่อบำรุงร่างกาย ในภาษาธรรมะ สิ่งที่เรียกว่า อาหาร มี ๔ อย่าง
๑. กวฬิงการาหาร คำข้าวที่กินอยู่ คือ อาหารทุกประเภทที่ทำให้ร่างกายนี้ยังคงดำรงอยู่ได้หรือเข้าไปหล่อเลี้ยงชีวิตของเรา การรับประทานอาหารจริงๆแล้ว เราควรรับประทานอย่างไร เวลารับประทานอาหารก็ต้องพิจารณาเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ตั้งอยู่ได้ เราไม่สามารถรับประทานอาหารให้เอร็ดอร่อยได้เลยถ้าเรากินอาหารเพื่ออาหาร ไม่ได้กินเพื่อความเอร็ดอร่อย การที่เรากินอาหารด้วยความเอร็ดอร่อยทำให้เราสะสมความเคยชินเรื่องการกินให้เป็นปัญหาและให้ความสำคัญของคนสมัยนี้ ท่านพุทธทาส เรียกว่า "อารยธรรมน้ำจิ้ม" คือ อาหารโต๊ะจีน ที่เต็มไปด้วยน้ำจิ้ม คือสิ่งที่เพิ่มความเอร็ดอร่อยให้เพิ่มขึ้นในรสชาติอาหารทำให้เราตกไปเป็นทาสของกิเลสได้ง่ายขึ้น เพราะจิตมันจะจดจำรสชาติของอาหารเหล่านี้ ว่าอร่อยไม่อร่อยและก็จะต้องการอาหารที่อร่อยๆมากเพิ่มขึ้นด้วยความอยาก(คือตัณหา)
๒. ผัสสาหาร อาหาร คือ ผัสสะ เปรียบเป็นเวทนา เมื่อมีผัสสะเป็นปัจจัยเวทนาย่อมมี ผัสสะคือการกระทบกันทาง ตา > รูป > จักขุ > วิญญาณการรับรู้ เป็นเวทนา คือความพอใจ ไม่พอใจ สุข ทุกข์ต่างๆ (ผัสสาหารเกิดขึ้นได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ในชีวิตประจำวันของคนเราจะมีการกระทบตลอดเวลาในทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดความรู้สึก เป็นเวทนา เป็นสุขบ้างไม่เป็นสุขบ้าง ถ้าเราไม่สามารถกำหนดรู้เท่าทันสิ่งที่เข้ามากระทบ ดังนั้นเมื่อเกิดผัสสะการรับรู้คือการกระทบเป็นอาหารของเวทนาย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดาและเปิดโอกาสให้เป็นความสุขหรือความทุกข์ได้
๓. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือความนึกคิด ผู้ที่ฝึกการกำหนดรอบรู้แล้วย่อมไม่มีสิ่งใดที่พึงจะทำให้เกิดความคิดเหล่านี้ได้ หากความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นในจิตใจของเรา เราก็ต้องรับผล ความคิดคือเหตุที่ทำให้เราต้องกระทำอะไรบางอย่างเมื่อเรากระทำสิ่งใดเราก็ต้องรับผลในสิ่งนั้นด้วยความอยาก คือ ตัณหา แยกเป็น กามตัณหาคือความอยากในเรื่องของกาม ภวตัณหาความอยากมีอยากเป็น และวิภวตัณหาความไม่อยากมีไม่อยากเป็น เมื่อความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นคนเรามักจะชอบความสุขและรังเกียจความทุกข์ เรายิ่งรักสิ่งใดที่ตรงกันข้ามมากขึ้นเท่านั้น เมื่อเรายังมีความชอบและไม่ชอบมากเท่าไหร่จึงทำให้เรายังมีความคิดเป็นอาหาร
๔. วิญญาณาหาร คือการรับรู้ต่างๆ ๖ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผู้ที่กำหนดรอบรู้เรื่องวิญญาณาหาร ย่อมกำหนดรู้ นาม~รูป นาม คือ จิต รูป คือ กาย กายกับจิตนั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ กายกับจิตไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา จะเกิดขึ้นต่อเมื่ออวิชชา(ความไม่รู้)ปรุงแต่งเข้าใจผิดไปในความเป็นจริง แล้วปรุ่งแต่งไปเป็นสังขาร(ความคิด) > วิญญาณ > นาม > รูป จึงเกิดขึ้น ถ้าเราเข้าใจในปฏิจสมุปบาทแล้วเราจะเข้าใจว่า นาม ~ รูป คือ กาย ~ใจ ไม่ได้มีอยู่ตลอดเวลา แต่เกิดขึ้นเป็นขณะๆตามความเข้าใจผิดของเรา เมื่อเราเข้าใจผิดด้วยความหนักแน่น กาย~ จิต ของเรานี้ก็จะปรากฎบ่อยๆเป็นความยึดมั่นถือมั่นตามความรับรู้ของจิต ท่านฮวงโป ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อความคิดเกิดขึ้นสิ่งต่างๆย่อมเกิดขึ้น เมื่อความคิดดับหายไป สิ่งต่างๆย่อมหายไป ถ้าเราเข้าใจชัดก็จะเห็นว่า กาย ~ จิต นี้ไม่มีอยู่จริง อาหารใน ๔ ประเภทนี้มีความลึกซึ้งมาก หากเราได้มีโอกาสได้พัฒนาจิตอย่างถูกต้องเราจะสามารถเข้าใจได้ว่าการรับประทานอาหารเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้ด้วยการมีสตินั้นสำคัญอย่างไร
อารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่ทำให้ยินดีพอใจปลื้มใจถือว่าเป็นกามทั้งหมด ถามว่า เราทุกคนมีตาหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทุกคนก็ต้องบริโภคตามกันทุกคน ทุกคนเกิดมาก็ต้องบริโภคตามกันทั้งหมด ตามระดับภาวะ ตามระดับศีลของตนเอง พระพุทธเจ้าให้บริโภคด้วยปัญญา เมื่อบริโภคแล้วเราต้องเสียสละ อย่างตาเราเห็นรูปก็ต้องเสียสละ ไม่ต้องไปยินดียินร้าย หากได้ยินเสียงเราก็ต้องเสียสละอย่าไปยินดียินร้าย ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระพาหิยะว่า
“พาหิยะ เพราะเหตุนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังเสียงก็สักแต่ว่าฟัง เมื่อรับรู้อารมณ์ที่ได้รับรู้ ก็สักแต่ว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งก็สักแต่ว่ารู้แจ้ง พาหิยะ เธอพึงรักษาอย่างนี้แล เมื่อใด เธอเมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังเสียงก็สักแต่ว่าฟัง เมื่อรับรู้อารมณ์ที่ได้รับรู้ก็สักแต่ว่ารับรู้ เมื่อรู้แจ้งธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งก็สักแต่ว่ารู้แจ้ง เมื่อนั้น เธอก็จะไม่มี เมื่อใด เธอไม่มี เมื่อนั้น เธอก็จะไม่ยึดติดในสิ่งนั้น เมื่อใด เธอไม่ยึดติดในสิ่งนั้น เมื่อนั้น เธอจักไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้เป็นที่สุดแห่งทุกข์”
เพราะผัสสะทั้งหลายทั้งปวงทำให้เราได้เกิดปัญญาได้ปฏิบัติธรรม ถ้าเราไม่เสียสละจะมีปัญหาทันที อุเบกขาที่สัมมาสมาธิ ใจต้องเข้มแข็งต้องเสียสละเพื่อใจจะได้เป็นธรรมเป็นปัจจุบันธรรม ใจทุกคนต้องเข้มแข็งนะ ถ้าใจไม่เข้มแข็งใจของเราจะไม่มีความวิเวกเลย ทั้งพระภิกษุประชาชนคนทั้งโลก มักไม่ค่อยพากันประพฤติปฏิบัติธรรมเลยนะ แต่กลับพากันยินดีในกามหลงในกาม ไม่เสียสละ เราต้องมาเสียสละ เพื่อให้เป็นทางสายกลาง ตรงสู่พระนิพพาน
คนเราอยู่ได้ด้วยอาหาร กิเลสมันอยู่ได้ด้วยอาหาร มันอยู่ที่เราจัดการ เราจะจัดการกับร่างกายต้องจัดการเรื่องอาหารของร่างกาย จัดการเรื่องจิตใจก็ต้องจัดการเรื่องอาหารทางจิตใจ เราจะจัดการอวิชชาความหลงต้องจัดการเรื่องอาหารของอวิชชาความหลง เพราะอยู่ที่เราจัดการ ความดับทุกข์ของมนุษย์อยู่ที่เราปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ความดับทุกข์ของมนุษย์อยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้องมีความเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง มันจะได้เข้ากฎแห่งกรรม คนหัวไม่ดีก็ต้องเรียนต้องศึกษามากกว่าคนอื่นที่หัวดี คนหัวดีก็ต้องพัฒนาในการเรียนและในความประพฤติดีให้ยิ่งๆขึ้นไป เพื่อที่จะได้ต่อยอดให้กับตัวเอง มนุษย์แสวงหาความโง่ แสวงหาสิ่งที่ชอบใจ มันถึงแก้ตัวเอง อย่าขี้เกียจไม่ได้แก้ตัวเองไม่ได้ คนเราอย่าไปตามอารมณ์ ตามความคิดตามสิ่งแวดล้อม ตามผัสสะมันเสียหาย อย่าไปตามอารมณ์ ตามความคิดมันไม่จบ คนเราไม่ต้องไปสู้กับคนอื่น สู้กับตัวเอง คนเราพัฒนาตัวเอง วันๆไหนไม่ดี ไม่คิด ไม่พูด ไม่ทำ เราเกิดมาเพื่อดับทุกข์ ไม่ใช่เพิ่มความทุกข์
อาหารทางใจนี้สำคัญ เพราะคนเรานี้ก็ภาษาคนภาษาธรรม อาหารทางกายก็ไม่เป็นบาปไม่เป็นกรรม อาหารทางใจก็ไม่เป็นบาปไม่เป็นกรรม พูดด้วยใจ พูดเพื่อหยุดมีเซ็กทางความคิด หยุดมีเซ็กทางอารมร์ เพราะถ้างั้นมันไม่ได้ ไม่ทานอาหารทางกายก็อยู่ไม่ได้ ไม่ทานอาหารทางใจก็อยู่ไม่ได้ ร่างกายก็ตาย ไม่ได้ทานอาหารทางใจ คือใจนี้ก็ต้องบริโภคธรรมะ ด้วยการเอาศีลเอาธรรม เอาคุณธรรม เพราะมนุษย์เราเดินทางสายกลางถึงดับทุกข์ได้ พอเราไม่ได้เราก็เน้นที่ปัจจุบัน ปัจจุบันคือความสุขความดับทุกข์ เราก็ดูแบบอย่างที่เข้าใจธรรมะของพระพุทะเจ้าที่พระพุทะบิดาได้อารธนาให้พระพุทธเจ้ากลับมา มีความสุขในปัจจุบัน เลยลืม มัวแต่เสวยความดับทุกข์อยู่ ส่งไปตั้ง 9 คณะ ก็ไม่ได้อาราธนาพระพุทธเจ้ากลับกรุงกบิลพัสดุ์… เพราะถ้าเราอยู่กับปัจจุบันทำการทำงานอะไรก็มีความสุข เพราะมันเป็นอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นสิ่งที่ดับทุกข์ได้ เราจะได้ไม่สงสัยเรื่องอนาคตจะเป็นอย่างไง เพราะปัจจุบันนี้เราก็ตัดสิ่งภายนอก ตัด อดีต อนาคต ปัจจุบันนี้มีแต่ธรรมะ หมนู่มวลมนุษย์ก็จะได้เข้าถึงความสุขความดับทุกข์ก็ว่าไป เราทุกคนต้องให้อาหารกายให้ถูกต้อง ให้อาหารใจให้ถูกต้อง ถ้าเราไม่ได้ให้อาหารกายให้ถูกต้องเราก็พากันนอนไม่หลับบ้าง เป็นโรคจิตโรคประสาทบ้าง โรคซึมเศร้า โรคมะเร็งโรคอะไร แก้ไขไม่ได้ก็ต้องมาแก้อาหารทางจิตใจ คนเราต้องบริโภคความดับทุกข์ ต้องบริโภชคพระนิพพาน
การบริโภคอาหารนั้นต้องประกอบด้วยปัญญา พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราหลง เพราะเราต้องเอาร่างกายมาเพียงบำเพ็ญบารมี ถึงจะปรุงอร่อย สำหรับผู้ที่อินทรีย์บารมียังไม่แก่กล้าเท่านั้นเอง อาหารทางใจ เราก็อย่าไปหลง เพราะทุกอย่างมันตั้งอยู่บนรากฐานแห่ง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพื่อให้เป็นธรรมเป็นคุณธรรม คนเราหน่ะ พระพุทธเจ้าบอกว่า ต้องมีความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง เรียกว่าอริยมรรค มีองค์ ๘ เราต้องพากันรู้จัก ที่จริงแล้วมนุษย์เรา ถ้าทำถูกต้องปฏิบัติถูกต้องแล้ว ความทุกข์ทางใจจะไม่มี ความทุกข์ทางกายนั้นเป็นเพียงให้เราได้ภาวนาวิปัสสนา ปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญ เราทุกคนนี่ไม่ควรจะปล่อยโอกาสให้เสียเวลาโดยที่ไม่ได้ปฏิบัติตนเอง ไม่ได้พัฒนาจิตใจตนเอง ถ้ามนุษย์เรามีความเห็นถูกต้องเพื่อมีความเข้าใจถูกต้องและปฏิบัติถูกต้องแล้ว มันเดินทางเข้าสู่ความดับทุกข์ อย่าปล่อยโอกาสปล่อยเวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee