แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอังคารที่ ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่องสั่งสมทรัพย์ภายใน ตอนที่ ๓๕ คำสอนของพระพุทธเจ้าเน้นที่ปัจจุบัน การบรรลุมรรคผลนิพพานก็เน้นที่ปัจจุบัน
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
เราต้องเข้าใจอย่างนี้นะ มนุษย์เราเป็นผู้ประเสริฐ เกิดมาเพื่อพระนิพพาน ทุกท่านทุกคนต้องมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ถ้าเราทำตามใจตัวเองทำตามความรู้สึกเราก็เป็นได้แต่เพียงคน คำว่าคนแปลว่า อวิชชา แปลงว่าความหลง ทำทั้งดีทั้งชั่ว ทำทั้งผิดทั้งถูก ให้เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรมเป็นการดำเนินชีวิต
มนุษย์เราทุกคนประชาชนก็ต้องรักษาศีล ๕ เพราะการดำเนินชีวิตของเราทุกคนนี้ มันดำเนินไปด้วยหลักเหตุผลหลักวิทยาศาสตร์ เราต้องพัฒนาทั้งเทคโนโลยี พัฒนาทั้งวิทยาศาสตร์แล้วเราก็ต้องพัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน ถ้าเราเอาแต่วัตถุมันก็รวยอย่างไม่ฉลาด มันผิด เราต้องเป็นคนดี แล้วก็เป็นคนเก่ง เราก็พัฒนาอย่างนี้แหละ มนุษย์เราเป็นผู้ที่ประเสริฐอายุก็ไม่เกิน ๑๐๐ กว่าปีเราก็จากโลกนี้ไป เพราะเราเนี่ยเห็นไหม พระพุทธเจ้าท่านบำเพ็ญพุทธบารมีตั้งหลายล้านชาติ บำเพ็ญทุกกรกิริยาหลายวิธีก็ไม่ได้บรรลุ อดข้าวก็ไม่บรรลุ เมื่อมาหยุดพลังงานแห่งการเวียนว่ายตายเกิด มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เอาธรรมเป็นหลักเอาธรรมเป็นใหญ่ เรียกว่าอริยะมรรคมีองค์ ๘ ไม่เอาความสุขใจ ไม่เอาความไม่สุขใจ เอาธรรมะเป็นหลัก หยุดตัวเอง หยุดตัวตน มันก็สงบเย็น ถึงมีโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค มันต้องหยุด มันถึงจะเย็น เหมือนไก่ฟักไข่ ก็ต้องใช้เวลา ๓ สัปดาห์ถึงจะออกลูกเป็นตัว
เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง อันไหนไม่ดีก็ไม่พูด อันไหนไม่ดีก็ไม่คิด อันไหนไม่ดีก็ไม่ทำ มาแก้ไขที่ตัวเอง มีความสุขกับการคิดดีๆ ทำดีๆ ทำตามที่พระพุทธเจ้าบอก สมณะที่ ๑ - ๔ อยู่ที่เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้องในปัจจุบัน เพราะธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อายตนะทั้ง ๖ ว่าเป็นแต่สภาวะธรรม มีความสุขในการที่อยากให้มันช้าก็ไม่ช้า อยากให้มันเร็วก็ไม่เร็ว อยากให้มันอย่างนู้นอย่างนี้ อยากให้นักการเมืองไม่โกงไม่กิน อยากให้ข้าราชการไม่โกงไม่กิน มันก็ไม่ได้อย่างที่เราคิด อยากให้พ่อให้แม่ ให้ลูก เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็ไม่เป็น อยากให้เราเป็นอย่างนั้น มันไม่เป็น มนุษย์เรานี้เกิดมาต้องมาต่อยอดตัวเองด้วยความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้องในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด หมายถึงไม่ตามใจตัวเอง ไม่ตามอารมณ์ตัวเอง หยุดก่อนหมู่เฮา หยุดก่อนอัตตาตัวตน ศาสนานี้ไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน คือธรรมะ ต้องกลับมาหาสติสัมปชัญญะ เราก็อยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่ใช่หนีเข้าป่าไปไหนหรอก เราก็มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ทำใหม่ หยุดมีเซ็กทางความคิดหยุดมีเซ็กทางอารมณ์ หยุดมีเพศสัมพันธุ์ทางความคิด หยุดมีเพศสัมพันธุ์ทางอารมณ์ ต้องจัดการกับตัวเองดีๆ ต้องใจเข้มแข็ง ถ้าไม่เข้มแข็งนี้ยิ่งกว่าโควิดอีกนะ อันไหนไม่ดีก็เอาใหม่นะ เราต้องเสียสละ เพราะการเสียสละมันเหมือนอาหารสด ถ้าเราไม่เสียสละก็เหมือนกินอาหารแห้ง อาหารบูดเน่า มันไม่เป็นของสดมันเป็นขยะ เกิดมามันก็ยากเหลือเกิน ต้องมาตต่อยอดนะ เราต้องของคุณความแก่ ความเจ็บ ความตาย ว่าทำไมมันสุดยอด ถ้างั้นเราก็จะหลงกว่านี้ เราทำอย่างนี้เราก็สงบเราก็เย็น เราก็อย่าให้มันอยากเป็นอย่างนู้น ไม่อยากเป็นอย่างนี้ มันไม่ได้
การประพฤติการปฏิบัติให้ทุกท่านทุกคนเข้าใจเพราะอันนี้มันคือเรื่องจิตเรื่องใจ พระพุทธเจ้าท่านทรงบำเพ็ญพุทธบารมีเเล้วตรัสรู้มาเป็นพระพุทธเจ้า เพราะท่านบำเพ็ญบารมีทางจิตทางใจ ต้องเข้าหาเรื่องจิตเรื่องใจ เรื่องความบริสุทธิ์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า พรหมจรรย์ หมายถึง ความบริสุทธิ์ทางจิตใจ ศีล ๕ คือ พรหมจรรย์เบื้องต้น ศีล ๕ เป็นพื้นฐานของศีลทั้งหมด ศีลพื้นฐานสำหรับประชาชนผู้อยู่ที่บ้าน อยู่ในครอบครัว
เราเน้นที่จิตที่ใจเพราะคนเราเรื่องความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง การปฏิบัติถูกต้อง เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าเราไม่เน้นเรื่องจิตเรื่องใจ เราจะไปเเก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เราจะไม่ได้เเก้ปัญหาที่เจตนา หยุดงดเว้น เสียสละ เพราะสิ่งนี้ถึงเป็นเบื้องต้นที่จะให้ เราทุกคนเข้าถึงรายละเอียดทางจิตใจ เราไม่ยินดีในการฆ่า เราทุกคนต้องพากันมาหยุดในการฆ่าทางจิตใจ ทั้งเราฆ่าเอง หรือผู้อื่นฆ่า หรือยินดีให้ผู้อื่นฆ่า หรือเราได้ผลประโยชน์ร่วมกับเค้า เพราะต้องเข้าถึงจิตเจตนาทุกท่านทุกคน ต้องมีความละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป เราทำไมถึงปฏิบัติไปไม่ได้ เพราะว่าศีลเราไม่ดี ใจของเรามันยังไม่ดี เรายังยินดีใจการฆ่า ยินดีในการที่โลภ ที่เอาของเค้า ไม่ได้เป็นผู้ที่เสียสละ มันเป็นเรื่องจิตเรื่องใจ เรายังไม่เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร เรายังเห็นการฆ่าสัตว์ตัวน้อยๆ เช่นมด เช่นปลวก เช่นอะไรอย่างนี้ เราไม่ยินดีในการฆ่าก็จริง เเต่เรายังยินดีในการบริโภค อาหารทุกอย่างถึงเป็นยารักษาโรค เราอย่าไปหลงมัวเมา ยาขมยาหวานก็เป็นยารักษาโรค เราต้องลงรายละเอียดจิตใจของตัวเอง
เราเกิดมาในท่ามกลางสิ่งเเวดล้อมอะไร ก็ต้องจับหลักจับประเด็นให้ได้ เอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก เป็นประเด็น ถ้าไม่งั้นเราจะไปเเก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะว่าผู้มาบวชก็ยังละพยาบาทไม่ได้ ยังละทางโลกไม่ได้ ยังหลงยินดี หลงลืมศีลทางจิตทางใจ ศีลจึงจะเป็นสิ่งที่จะคุ้มครองเราอย่างละเอียด เมื่อใจของเราคิด ใจของเราปรุงเเต่ง เราจะไปปฏิบัติยังไงมันก็ไม่ได้ผล เพราะโจรมิจฉาทิฏฐิมันอยู่กับเรา เราเเก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ใจเราไปยินดีในรูปไปเรื่อย ยินดีในเสียงไปเรื่อย ยินดีในของเอร็ดอร่อยไปเรื่อย
เราต้องทำติดต่อต่อเนื่องกัน เหมือนกับเราทำฝายน้ำ ทำติดต่อต่อเนื่องกัน ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวฝายก็เป็นเขื่อนที่ปัจจุบัน เราไปท้อใจไม่ได้ ต้องอยู่ที่ปัจจุบัน เราอย่าไปท้อใจเหมือนคนปลูกต้นไม้ ไม่ยอมปลูก คิดไปว่าอีกหลายปีมันถึงจะโต อย่างนี้เลยไม่ปลูก เพราะลึกๆ เเล้ว มันไม่ละอายต่อบาป ไม่เกรงกลัวต่อบาป มันจะไปเอาพระนิพพาน มันก็ยากเกิน มันยังกล้าคิดในสิ่งที่ไม่น่าคิด มันยังนึก มันยังระลึกถึงสิ่งที่ไม่น่าระลึก เราต้องรู้จัก อาการของจิตของใจ เราจะปล่อยเค้าสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างภพ สร้างชาติอยู่อย่างนี้หรือ ไม้ขีดไฟติดไฟอันเดียวก็สามารถเผาไหม้ทั้งบ้านทั้งเมืองได้ ความคิดที่เล็กน้อยก็ค่อยๆ ขยายไปเป็นเรื่องใหญ่ มันต้องให้ความสำคัญในความคิด อย่าปล่อยให้ตัวเองคิด ชักศึกเข้าบ้าน ชักโจรเข้าบ้าน ชักมารเข้ามาในใจ เพราะความคิดอย่างนี้ มันทำให้ทุกคนเศร้าหมอง ทำให้นักปฏิบัติไม่ก้าวหน้า เพราะจากความคิดที่ยังคิดผิดอยู่ ยังตริตรองผิดอยู่
ถามว่า ทำไมจะว่าไม่คิด เราก็ไม่คิด เพราะเรื่องจิตเรื่องใจมันเรื่องของเรา ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น ไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น เกี่ยวข้องกับเราเอง ว่าสิ่งนี้คิดไม่ได้ สิ่งนี้นึกไม่ได้ ตรึกไม่ได้ ในทางความคิด เราจะได้ละความเคยชิน ที่มันมาที่มันเคยเกิดประจำเป็นสติปักฐาน จะหยุดความเคยชินที่มันท่องเที่ยวในวัฏฏะสงสาร ด้วยการภาวนาวิปัสสนา ยกสิ่งเหล่านี้สู่พระไตรลักษณ์ว่า อันทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ไม่เเน่ไม่เที่ยงเราอย่าไปตามความคิด ตามอารมณ์ มันจะก่อภพ ก่อชาติ ก่อวัฏฏะให้เรา
ให้เราพากันเข้าใจพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเน้นที่ปัจจุบัน การบรรลุมรรคผลนิพพานเน้นที่ปัจจุบัน ปัจจุบันจะเป็นรากฐานของอนาคต พุทธบริษัทในเมืองไทย พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา นึกว่าชีวิตเรานี้เพื่อสร้างบารมี ไม่ใช่เพื่อมรรคผลพระนิพพานในปัจจุบัน เหมือนครั้งพุทธกาล การปฏิบัติมันต้องเน้นที่ปัจจุบันต้องตั้งใจต้องสมาทาน ในเมืองไทยถึงมีประชาชน นึกว่าชาตินี้ไปพระนิพพานไม่ได้ คนไทยที่เป็นชาวพุทธมีความเชื่อว่า การบรรลุพระนิพพานคงต้องรอหลังจากตายแล้ว และต้องเวียนว่ายตายเกิดกันอีกหลายภพชาติจึงจะลุถึงภาวะพระนิพพาน ดังเมื่อมีการทำบุญเสร็จแล้ว และจะตั้งจิตอธิษฐานก็มักอธิษฐานกันว่า 'นิพพานปัจจโย โหตุ เม อนาคตกาเล' (ขอให้บุญที่ข้าพเจ้าทำไว้จงเป็นปัจจัยให้บรรลุพระนิพพานในอนาคตกาลโน้นเทอญ) ทั้งๆ ที่คนสมัยพระพุทธเจ้าท่านไม่อธิษฐานกันอย่างนี้ หากแต่อธิษฐานว่า 'ตุมเหหิ ทิฏฐธัมมัสสะ ภาคี โหมิ' (ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีส่วนได้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ท่านได้บรรลุแล้วด้วยเถิด)
นางทาสีผู้ยากไร้ แต่ได้เข้าถึงธรรมในที่สุด นางมีชื่อเรียกขานกันว่า ปุณณา เป็นทาสของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ มีหน้าที่ตำข้าวให้ครอบครัวเศรษฐี ตำกระดกขึ้นกระดกลงโดยสากที่ติดอยู่กับคัน จะทำให้ข้าวเปลือกในครกล่อนออกมาเป็นข้าวสาร
วันหนึ่ง เศรษฐีสั่งให้นางปุณณาตำข้าวเปลือกเป็นจำนวนมาก เรียกว่าใช้แรงงานจนเกินคุ้ม ว่าอย่างนั้นเถอะ นางปุณณาก็ตำข้าวเหงื่อไหลไคลย้อยตลอดทั้งวัน ยังเสร็จไม่ถึงครึ่ง จึงตำต่ออีก มืดค่ำก็ตามประทีป (คือจุดตะเกียง) ตำต่อตลอดทั้งคืน โดยออกไปยืนตากลมเพื่อพักเอาแรงเป็นระยะๆ
ไม่ไกลจากที่นางตำข้าวเท่าใดนัก มีภูเขาลูกหนึ่ง พระสงฆ์จำนวนมากพักอาศัยอยู่ ณ ภูเขาลูกนั้น ตอนกลางคืน พระทัพพมัลลบุตร ซึ่งเป็นพระที่มีความชำนาญในการจัดแจงเสนาสนะสำหรับพระทั้งหลาย ท่านเดินไปเดินมาเพื่อจัดแจงอาสนะให้พระภิกษุทั้งหลาย โดยตัวท่านจุดประทีปเดินนำพาภิกษุแต่ละรูป แต่ละกลุ่มไปพำนักยังเสนาสนะที่ได้ตระเตรียมไว้
นางปุณณา มองไปเห็นแสงไฟวูบวาบๆ บนภูเขานั้น รำพึงว่า ค่ำคืนดึกดื่นป่านฉะนี้พระคุณเจ้าทั้งหลายยังไม่นอน เราเองก็ยังไม่ได้นอน ที่เราเองยังนอนไม่ได้เพราะเรามีความทุกข์บีบคั้น มีภาระหน้าที่จะต้องทำ แต่พระคุณเจ้าไม่นอนเพราะมีความทุกข์อะไรหนอ หรือว่าพระคุณเจ้ารูปใดรูปหนึ่งอาพาธ หรือถูกงูเห่างบกัด
รุ่งเช้าขึ้นมา นางเอารำมาคลุกน้ำ แล้วปั้นเป็นก้อนๆ ทำเป็นขนมจี่ไฟ แล้วก็เหน็บไว้ที่ชายพก เดินไปท่าน้ำ หวังว่าจะเอาไปกินระหว่างทาง
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังหมู่บ้านตามทางที่นางออกมา กำลังจะไปที่ท่าน้ำพอดี นางพบพระพุทธองค์แล้วก็คิดว่า ในวันอื่นเราพบพระศาสดาอยากจะถวายท่าน ก็ไม่มีไทยธรรม (ของจะถวายทาน) บางวันมีไทยธรรมแต่ก็ไม่พบพระพุทธองค์ แต่วันนี้เราพบพระพุทธองค์ และไทยธรรมก็มีด้วย ถ้าพระพุทธองค์ไม่ทรงรังเกียจว่า อาหารของเราเศร้าหมอง (คือเป็นของเลว) ทรงรับไว้ เราก็จะพึงถวายแด่พระพุทธองค์ นางวางหม้อน้ำลง ยกมือนมัสการกราบทูลว่า “ถ้าพระองค์มิทรงรังเกียจว่า อาหารนี้เศร้าหมอง ขอพระองค์ทรงรับเพื่ออนุเคราะห์หม่อมฉันด้วยเถิด”
พระพุทธองค์ทรงชำเลืองมองมาทางพระอานนท์พุทธอนุชา พระอานนท์นำบาตรไปถวายพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงรับ “รำจี่” จากนางปุณณา นางปุณณาถวายขนมใส่ลงไปในบาตร ก้มลงกราบเบญจางคประดิษฐ์ แล้วกราบทูลว่า “ด้วยอานิสงส์ของการถวายรำจี่นี้ ขอให้หม่อมฉันได้มีส่วนแห่งการบรรลุธรรมในปัจจุบันทันตาเห็นเถิด” (ปุณฺณาปิ ตํ สตฺถุ ปตฺเต ปติฏฺฐเปตฺวา ปญฺจปฺปติฏฺฐิเตน วนฺทิตฺวา "ภนฺเต ตุมฺเหหิ ทิฏฺฐธมฺโมเยว เม สมิชฺฌตูติ อาห.)
พระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนาว่า “เอวัง โหตุ - จงสัมฤทธิผลดังปรารถนาเถิด” แล้วเสด็จพุทธดำเนินเข้าไปยังหมู่บ้าน มีพระอานนท์พุทธอนุชาตามเสด็จ
ฝ่ายนางปุณณาไม่แน่ใจว่า พระพุทธองค์จะเสวยขนมของตนหรือไม่ นางคิดว่า ขนมของคนยากไร้หารสชาติมิได้ พระองค์ไม่เสวยดอก ที่พระองค์ทรงรับไว้คงเพื่อถนอมน้ำใจ ไม่ต้องการให้เราเสียใจมากกว่า พระองค์คงจะทรงโยนให้สุนัขหรือกาในระหว่างทางก็เป็นได้ นางจึงเดินตามพระพุทธองค์ไปห่างๆ หารู้ไม่ว่าพระพุทธองค์ทรงทราบความในใจของนาง เสด็จไปได้หน่อยหนึ่ง ก็ทรงชำเลืองดูพระอานนท์พุทธอนุชา
พระอานนท์ทราบด้วยพระกิริยาจึงลาดจีวรเป็นอาสนะให้พระพุทธองค์ประทับ พระพุทธองค์เสวยขนมรำจี่ของนางปุณณาที่นอกเมือง ตรงนี้ท่านผู้แต่งคัมภีร์ก็ “ใส่ไข่” ว่า เทวดาในหมื่นจักรวาล ได้นำเอาโอชารสอันหวานอร่อยมาโรยใส่ในขนม ทำให้ขนมนั้นแสนจะอร่อย ว่าอย่างนั้น ทำอย่างกับว่าถ้าไม่อร่อย พระพุทธองค์จะไม่เสวย
ความจริง “พระ” ย่อมฉันอาหารอย่างพระอยู่แล้ว ไม่ติดในรสอาหาร ฉันสักแต่ว่ามันเป็นอาหาร ไม่จำเป็นต้องใส่ผงชูรส ใส่ซอสเพิ่มรสชาติก็ได้ สำหรับพระพุทธองค์ด้วยแล้ว ข้อความนี้ไม่จำเป็นเลย นอกเสียจากจะให้เทวดาได้มีส่วนในการทำบุญทำทานครั้งนี้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
นางปุณณายืนดูอยู่ห่างๆ เกิดความปีติโสมนัสเป็นล้นพ้น พระพุทธองค์ตรัสให้พระอานนท์เรียกนางปุณณาเข้ามาใกล้ๆ ตรัสถามว่า “ปุณณา ทำไมเธอดูหมิ่นสาวกของเรา” นางสะดุ้ง กราบทูลว่า “หม่อมฉันมิได้ดูหมิ่นเลย พระเจ้าข้า”
“ถ้าเช่นนั้น เมื่อคืนที่ผ่านมา เธอมองดูสาวกของเราบนเขาแล้วพูดอะไรออกมา”
“หม่อมฉันเห็นพวกท่านไม่นอนกัน จึงพึมพำออกมาว่า ทำไมพระคุณเจ้ายังไม่นอน ท่านมีความทุกข์เหมือนเราหรือเปล่าหนอ หรือว่ามีท่านรูปใดอาพาธ หม่อมฉันพูดเพียงแค่นี้เองพระเจ้าข้า”
พระพุทธองค์ตรัสว่า “ปุณณา เธอไม่ได้นอนเพราะมีความทุกข์บีบคั้น แต่สาวกของเราไม่นอนเพราะมีความเพียรเครื่องตื่นอยู่เสมอ” แล้วตรัสคาถา (โศลก) แสดงธรรม ความว่า “สทา ชาครมานานํ อโหรตฺตานุสิกฺขินํ นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ อตฺถํ คจฺฉนฺติ อาสวา. สำหรับผู้ตื่นอยู่เสมอ ตลอดเวลาสำเหนียกศึกษาทุกทิพาราตรี มีใจน้อมไปสู่พระนิพพาน อาสวะย่อมอันตรธานหมดสิ้น”
นิพฺพานํ อธิมุตฺตานํ ได้แก่ ผู้มีอัธยาศัยในพระนิพพาน. (นิพฺพานชฺฌาสยานํ)
จบพระธรรมเทศนา นางปุณณาก็บรรลุโสดาปัตติผล
นับว่าทานที่นางถวายแด่พระพุทธองค์ ได้บันดาลผลในปัจจุบันทันตาเห็นทีเดียว ถึงตรงนี้นึกถึงประเพณีทำบุญ “ข้าวจี่” ข้าวจี่คืออะไรต้องอธิบายเสียหน่อย เพราะเป็นประเพณีท้องถิ่นอีสาน ชาวบ้านเขาจะนำข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อน ชุบไข่ แล้วนำไป “จี่” หรือปิ้งไฟถ่าน แล้วก็นำมากินกันเอร็ดอร่อย ฤดูหนาวชาวบ้านจะทำข้าวจี่ไปถวายพระ มีการรักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรมด้วย ถือเป็นงานใหญ่งานหนึ่งทีเดียว พระท่านจะเทศน์ “อานิสงส์ของข้าวจี่” ฉลองศรัทธา เล่าต้นเหตุแห่งการเกิดประเพณีบุญข้าวจี่ และอานิสงส์ (ผล) ของการถวายข้าวจี่ เรื่องนางปุณณานี้แหละ เป็น “ต้นฉบับ” ประเพณีทำบุญข้าวจี่
ถ้าถามว่า ทานที่นางปุณณาถวายเป็นเพียงรำจี่เท่านั้น ทำไมมีผลมากขนาดนั้น คำตอบคือ การถวายทานจะให้ผลน้อยหรือมาก ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ๓ ประการคือ
๑. สิ่งของที่จะให้ทานต้องบริสุทธิ์ คือ ได้มาด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ของนี้ไม่จำเป็นจะต้องประณีต หรูหรา ราคาแพง ของเลวๆ แทบไม่มีราคา เช่น “รำจี่” ของนางปุณณานี้ก็ได้
๒. เจตนา คือ ความตั้งใจจะต้องบริสุทธิ์ ก่อนให้ กำลังให้ และหลังจากให้แล้ว จะต้องมีความเลื่อมใส ไม่คิดเสียดายในภายหลัง
๓. ผู้รับทานต้องบริสุทธิ์ คือ เป็นผู้มีศีล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็น “ปฏิคาหก” (ผู้รับ) ที่บริสุทธิ์
ทานที่ให้จึงมีผลมาก ยิ่งพระอรหันต์ที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ผู้ถวายทานแก่ท่าน ย่อมได้ผลทันตาเห็นเลยทีเดียว
ทานของนางปุณณานั้นมีองค์ประกอบครบทั้งสามประการ จึงมีอานิสงส์มากด้วยประการฉะนี้
พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี" เรื่องจิต เรื่องใจ เรื่องคุณธรรมนั้น ไม่มีใครมาแต่งตั้งให้เราได้ นอกจากประพฤติปฏิบัติของเราเอง เขาแต่งตั้งให้เราเป็นพระเป็นเณร เป็นแม่ชี มันก็เป็นแต่เพียงภายนอก ให้ทุกท่านทุกคนให้เข้าใจดีๆ ว่า เราทุกคนต้องประพฤติปฏิบัติเอง หายใจเข้าออกเอง พักผ่อน รับประทานอาหารเอง ที่พึ่งแท้จริงของเรา ก็คือศีล คือสมาธิ คือสติสัมปชัญญะ ปัญญาต้องเข้าใจ เรื่องกิเลส เรื่องความอยาก เรื่องความหลงของเรา
ทุกท่านทุกคนมันมีความหลง มันถึงมีความโลภ ความโกรธ มันมี 'อวิชชา'มีความไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เราพามาประพฤติปฏิบัตตามอริยมรรคองค์ ๘ ประการ ที่ประกอบด้วยความคิด จิตใจ กาย ประกอบกับการทำงาน เพื่อให้เราทุกๆ คนได้ตั้งมั่นในธรรม และจะได้เข้าถึงคุณธรรม ถ้าเราประพฤติปฏิบัติอย่างอื่นมันไม่สามารถพาเราเข้าสู่ความดับทุกข์ที่แท้จริงได้
ผู้ปฏิบัติน่ะ ปฏิบัติไป ทำความเพียรไป ยิ่งไม่เข้าใจ เพราะว่าทำเพื่อเอา เพื่อมี เพื่อเป็น เพื่อบรรลุธรรม ไม่ได้ทำเพื่อเสียสละ ละตัวละตน ไม่ได้ทำเพื่อที่สุดของกองทุกข์น่ะ....หนทางเราเลยมืดบอด เราทำเหมือนกันแต่จิตใจมันไม่เหมือนกัน อย่างเราทำงานก็เพื่อเสียสละ เราทำเพื่อปล่อยเพื่อวาง เพื่อไม่มีไม่เป็น เพื่อไม่หวังอะไรตอบแทน สิ่งที่เราจะได้มาก็คือ มรรคผลนิพพาน และทรัพย์ ข้าวของ โดยได้ทั้งทรัพย์ ได้ทั้งอริยทรัพย์
ถ้าเราทำถูกมันก็มีความสุข มีความดับทุกข์ มันก็ดีไปหมด มันก็เข้าถึงพระนิพพาน ตั้งแต่ยังไม่ตาย...ขณะนี้เดี๋ยวนี้ มันก็ชำนิชำนาญไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปวิ่งหาธรรมะที่ไหน เพราะมันอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เราก็จะไม่ต้องหนีงาน หนีการ หนีสังคม เราก็จะได้ละความถือละตัวละตน ที่เราพากันแบกไว้ในจิตในใจให้มันหนักหัวสมอง
เรื่องต่างๆ ไม่ว่าสิ่งที่ดี...ไม่ดี ที่มันเกิดในชีวิตประจำวันของเรา มันทำให้เราได้ฝึกทำจิตทำใจ พระพุทธเจ้าท่านให้เราประพฤติปฏิบัติที่จิตที่ใจ ที่กาย วาจา ใจของเรา ที่สุดของความดับทุกข์มันก็จะผ่านไปทุกขณะจิตไปเรื่อยๆ อินทรีย์บารมีเราก็แก่กล้าเข้าไปเรื่อย เช่น ถ้าเราประพฤติไปยิ่งงง คนเราถ้าใจไม่สงบ มันก็เหมือนคนตาบอดนี่แหละ
ทุกท่านทุกคน... พระพุทธเจ้าท่านให้เราพากันปฏิบัติ ไม่ว่าเป็นพระ เป็นเณร เป็นชี เป็นญาติโยม เพื่อจิตใจของเรา ทุกๆ คนก็มีโอกาส มีเวลาเท่าๆ กัน ทุกๆ คนก็ทำไป... เสียสละไป... เราจะเอาความสุข ความดับทุกข์ในเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญนั้นมันมีแต่ความเสื่อมความสลาย พยายามสร้างอริยทรัพย์ที่มันไม่เสื่อม...ไม่สลาย
ทุกคนอยากได้มรรคผลนิพพาน แต่มันก็ขาดเหตุปัจจัย คือการประพฤติปฏิบัติที่สม่ำเสมอ สมาธิของเราทุกคนต้องแข็งแรง เราต้องตั้งมั่นไว้นานๆ ไว้ตลอดกาล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญาต้องสมดุลกัน จะได้มีผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าเราเอาแต่สงบ มันก็เหมือนอาหารที่แช่ในตู้เย็น มันไม่สด ไม่เป็นธรรมชาติศีล สมาธิ ปัญญาของเราต้องควบคู่กันไป จะได้เกิดอริยมรรคมีองค์ ๘
ต้องมีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง มีความเห็นเหมือนกับเราฉาย X-Ray ในการเวียนว่ายตายเกิด หรือว่า ฉาย X-ray ในร่างกาย เห็นหมด รู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ รู้ว่าหนทางนี้แหละเป็นหนทางไป มันต้องเพิ่มความเพียร เพิ่มข้อวัตรปฏิบัติ มีความตั้งมั่นในพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าคือพระธรรม มีการประพฤติปฏิบัติ ไม่งมงาย ไม่ถือฤกษ์ดียามดี ไม่ได้เอาโบสถ์ เอาวิหาร เอาเจดีย์ หรือว่า เอาพระพุทธรูป ไม่ได้เอาอะไรเป็นพระศาสนา พระศาสนาก็คือ เห็นอริยสัจ ๔ คือเห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ เห็นความดับทุกข์ เห็นข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ทางอื่นมั่นไปไม่ได้ ถึงจะเป็นเศรษฐี เป็นมหาเศรษฐีมันก็ไปไม่ได้ การประพฤติการปฏิบัติพระสกทาคามี ก็ชำนาญขึ้น มากกว่าพระโสดาบัน เพราะไม่หลง เขานินทา เขาสรรเสริญ พวกนี้เป็นเรื่องโลกธรรม เพราะเป็นสิ่งที่ผู้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร เวียนอยู่ ติดอยู่ พระอนาคามีต้องละกรรมแล้ว เพราะศาสนาอื่นเขาเอาแต่สวรรค์ เอาแต่วัตถุ แต่ศาสนาพุทธไม่ใช่อย่างนั้น ไปไกล มุ่งมรรคผล มุ่งพระนิพพาน ถึงจะอยู่กับโลก อยู่กับอะไร ก็อยู่ด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา มีโลกด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยความประพฤติ เป็นผู้ที่ไม่ยินดีในกาม ไม่มีความสัมพันธ์ในเรื่องกาม ถ้าเป็นประชาชนก็ ปฏิบัติธรรมะอยู่ที่บ้าน เพราะการประพฤติปฏิบัติมันอยู่ที่ไหนก็ต้องปฏิบัติ มันไม่ใช่สถานที่ เพราะความสงบมันอยู่ที่ใจที่มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้องในปัจจุบัน เราต้องไปตามหลักพระพุทธศาสนา เพราะอันนี้เป็นโลกุตรธรรม ไม่ใช่โลกียธรรม เป็นภาวนา วิปัสสนา ไม่ใช่แบบหินทับหญ้า แบบสติปัญญา เป็นการเดินอริยมรรคทุกอิริยาบถ เป็นผู้ที่เสียสละ
นิพพานเป็นเรื่องปัญญา เรื่องรู้เรื่องเห็นอริยสัจ ๔ อริยสาวกก็ประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ พระนิพพานนี้เป็นเรื่องจิตเรื่องใจที่หมดกิเลสสิ้นอาสวะ นิพพานไม่เหมือนบ้านไม่เหมือนปราสาท เป็นเรื่องสิ้นกิเลสสิ้นอาสวะ เป็นการหยุดเวียนว่ายตายเกิด สิ่งที่เป็นพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่นิติบุคคล สิ่งที่เป็นพระอรหันต์ขีณาสพไม่ใช่นิติบุคคล สิ่งที่เป็นพระศาสนาไม่ใช่นิติบุคคล เป็นเรื่องหยุดก่อนอวิชชา หยุดก่อนวัฏฏะสงสาร เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่มี สิ่งที่จะเกิดต่อไปก็ไม่มี ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นสภาวธรรมเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เมื่อไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยแล้ว เรื่องมันก็จบ เราทำเราปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า เข้าใจเหมือนพระพุทธเจ้า เราถึงจะแก้ปัญหาได้
ศาสนาต่างๆ ก็มาในแนวเดียวกันนี่แหละ ผ่านสวรรค์ผ่านพรหมมา ที่เรายังมีความเข้าใจผิดคิดว่านิพพานคงจะเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ นิพพานไม่ได้มีเป็น หรือว่าไม่เป็น เป็นสภาพที่ไม่มีอะไรปรุงแต่ง ที่เราเอานิมิตมาพูดกัน อันนั้นมันเป็นอาการของจิต ผู้ที่รู้ถึงพระนิพพาน ผู้ที่หมดกิเลสสิ้นอาสวะ จะรู้ได้เฉพาะตน ไม่มีใครให้ยศให้ตำแหน่ง ไม่มีใครแต่งตั้งให้ได้ ทุกท่านทุกคนต้องเข้าใจพระพุทธเจ้า เข้าใจพระศาสนา นี่เป็นสัจธรรมเป็นความจริง เป็นอริยสัจ ๔ เป็นอริยมรรคมีองค์ ๘ พระพุทธเจ้าถึงมีความสุข ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะอยู่ที่ไหนก็มีแต่ความสุข มีแต่ความดับทุกข์ พระอรหันต์ถึงมีความสุขไม่เกี่ยวกับอามิสคือวัตถุที่เป็นเหยื่อของโลก
ทางโลก ยิ่งรู้มากยิ่งถูกผูกมัด ทางธรรม ยิ่งรู้ชัดยิ่งหลุดพ้น
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee