แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันเสาร์ที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตใหม่ที่เลือกได้ ตอนที่ ๕๖ สิ่งสำคัญที่สุดคือพระรัตนตรัย ต้องสมาทานไว้ในชีวิตจิตใจให้มั่นคง
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
เราเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ สิ่งไหนสำคัญที่สุด สิ่งที่สำคัญที่สุด ที่เราเป็นผู้ประเสริฐ ที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ พระรัตนตรัย พระรัตนตรัยคืออะไร พระรัตนตรัยคือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยะสงฆ์ เรียกว่าพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าคืออะไร พระพุทธเจ้าคือ ผู้ที่เสียสละ เอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรมเป็นที่ตั้ง เอาธรรมเป็นการดำเนินชีวิต บำเพ็ญพุทธบารมีหลาย ล้านชาติ สมบูรณ์ด้วยความรู้ความเข้าใจ สมบูรณ์ด้วยภาคประพฤติ ภาคปฏิบัติ จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าคือธรรมะ ธรรมะคือพระพุทธเจ้า เป็นพระธรรมเป็นพระวินัย
พระธรรมคืออะไร พระธรรมคือสภาวะธรรมที่บริสุทธิ์ คือเป็นกฎแห่งกรรม เพราะกฎแห่งกรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เป็นธรรมะที่เนื่องจากมาเหตุจากปัจจัย เพราะสิ่งนี้มีสิ่งต่อไปมันถึงมี ถ้าสิ่งนั้นมี ถ้าเราไม่ให้มี เราก็ต้องหยุดเพื่อไม่ให้มี ทุกคนต้องให้พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแก่เรา ให้พระธรรมเกิดขึ้นแก่เรา ให้พระอริยสงฆ์เกิดขึ้นแก่เรา พระอริยะสงฆ์คืออะไรล่ะ พระอริยะสงฆ์คือผู้ที่ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ถึงบารมีระดับพระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ละ ละตัว ละตน ละกิเลสอาสวะ ด้วยเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก เป็นที่ตั้ง
คำว่าพระนี้เขานับเอาตั้งแต่ พระโสดาบัน ไปถึง พระอรหันต์ เป็นคู่บุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ เข้าใจแล้วยังไม่พอ ต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ อาศัยเวลาเหมือนไก่ฝักไข่ ๓ อาทิตย์ถึงออกลูกมาเป็นตัว เราอาศัยพระธรรม พระวินัย อาศัยที่เจริญ มรรค ให้ติดต่อต่อเนื่อง ถึงจะสมบูรณ์ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้มันถึงมี สิ่งนี้เราปฏิบัติถูกต้อง มันก็หยุดของมันเอง มันไม่ใช่ทำให้เพิ่มให้มันมี มันทำให้ถูกต้อง ต้องเข้าสู่ภาคปฏิบัติเรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา พวกนี้แหละ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือพระรัตนตรัย เป็นสิ่งที่สำคัญในหมู่มวลมนุษย์ที่เกิดมา
สิ่งที่เหมือนกันของรูปเปรียบของพระพุทธเจ้านี้ ที่สังเกตเห็น ได้มีอยู่ด้วยกัน ๓ ประการ คือ
๑. พระเศียรแหลม มีคำถามว่า ทำไมพระพุทธรูปจึงมี พระเศียรแหลมในเมื่อพระพุทธเจ้าของเรา ก็เป็นมนุษย์ ...ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เขาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คิดเป็น ปริศนาธรรม พระเศียรที่แหลมนั้น หมายถึง สติปัญญาที่เฉียบแหลม ในการดำเนินชีวิต สอนให้ชาวพุทธ แก้ปัญหาต่างๆ ด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ใช้อารมณ์ หากใช้ปัญญาคิดพิจารณา ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนแล้วจึง ทำ ความผิดพลาดก็เกิดขึ้นน้อย หรือ ไม่เกิดขึ้นเลย
๒. พระกรรณยาน หรือ หูยาน ในมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เช่น มี “ฝ่าเท้าตั้งแนบสนิทดี” และ “ในฝ่าเท้ามีจักรลักษณะ” คือหมายถึงว่าเวลายืน ฝ่าเท้าทั้งหมดจะแนบลงกับพื้นเต็มทั้งฝ่าเท้า รอยพระพุทธบาทที่สร้างกันมาจึงต้องทำเป็นรูปรอยฝ่าเท้าเต็มๆ (ไม่มีอุ้งเท้าเว้าแหว่งให้เห็นแบบรอยเท้าคนทั่วไปเวลาเดินย่ำน้ำมา) และมักทำเป็นลวดลายธรรมจักรอยู่ตรงกลาง มหาปุริสลักษณะข้ออื่นๆ ก็มีได้แก่ “ส้นเท้ายาว” “นิ้วมือนิ้วเท้ายาว” “แข้งเหมือนแข้งเนื้อทราย” “ยืนตัวตรง ไม่โค้งลำตัว จะใช้ฝ่ามือลูบได้ถึงเข่า” ฯลฯ แต่ทั้งหมด ไม่มีข้อไหนเลยที่พูดถึงติ่งหูยื่นยาว ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่เกี่ยวกับมหาปุริสลักษณะ
หากแต่ช่างผู้สร้างพระพุทธรูปตั้งแต่โบราณมา ทำส่วนติ่งหูยื่นยาวนี้ เพื่อสื่อถึงชาติกำเนิดดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า ที่ทรงเป็นคนในวรรณะกษัตริย์ คือเป็นเจ้าชายสิทธัตถะมาก่อน ตามประเพณี พระราชา หรือเจ้าชายเจ้าหญิงย่อมสวมต่างหูหรือ “ตุ้มหู” ที่มีน้ำหนักมาก ถ่วงหูไว้จนติ่งหูยื่นยานลงมา ลักษณะเช่นนี้คงนับถือกันในสมัยนั้นว่าเป็นความงาม เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชจึงทรงตัดมวยผมที่เป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นสูง และถอดเครื่องประดับร่างกายต่างๆ ออกจนหมดสิ้น รวมถึงต่างหูนั้นด้วย หากแต่เนื้อส่วนติ่งหูที่เคยถูกถ่วงน้ำหนักไว้จนยืดยานด้วย “ต่างหู” ย่อมมิอาจหดกลับคืน จึงยังคงยื่นยาวอยู่เช่นนั้น ถ้าสังเกตให้ดี ช่างที่เข้าใจคติเรื่องนี้ นอกจากจะทำส่วนปลายพระกรรณ (ติ่งหู) ของพระพุทธรูปให้ยื่นยาวลงมาแล้ว ยังจะแสดงให้เห็น “ร่อง” ผ่ากลาง ยาวลงมาเกือบตลอดติ่งหูที่ว่านั้นด้วย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่านี่คือ “ร่องรอย” ที่หลงเหลือตกค้างจากการสวมใส่ต่างหูเป็นเวลานาน อันสื่อถึงราชสถานะของพระพุทธองค์นั่นเอง
พระกรรณยาน หรือ หูยาน เป็นปริศนาธรรม ให้ชาวพุทธเป็นคนหูหนัก คือ มีจิตใจหนักแน่นมั่นคงนั่นเอง ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ แต่คิดพิจารณาไตร่ตรองด้วยสติปัญญาอันแยบคายแล้วจึงเชื่อ ในฐานะที่เป็น ชาวพุทธ ก็ต้องเชื่อในกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราต้องเชื่อมั่นในหลักเหตุและผล (Cause & Effect) เชื่อว่า... บุคคลหว่านพืชเช่นใดย่อมได้รับผลเช่นนั้น เชื่อว่า... สุดท้าย คนๆ เดียวที่จะสามารถทำให้เราสุขหรือทุกข์ ดีหรือเลวได้คือตัวเราเอง และชีวิตเราจะเสื่อมทรามหรือเจริญรุ่งเรือง ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอำนาจภายนอกหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ขึ้นอยู่กับการทำ การพูด การคิดของตนเอง นี้เป็นการเชื่อตามหลักของพระพุทธศาสนา
๓. พระเนตรมองต่ำ พระพุทธรูปที่สร้างโดยทั่วไป จะมีพระเนตรมองลงที่พระวรกายของพระองค์ อย่างในพระอุโบสถของวัด ทั่วไป จะนั่งมองดูพระวรกาย ไม่ได้มองดูหน้าต่างหรือมองดูประตูพระอุโบสถว่าจะมีใครเข้ามาไหว้บ้าง
นี้เป็นปริศนาธรรม สอนให้มองตนเองพิจารณาตนเองก่อนเสมอ ตักเตือนแก้ไขตนเองก่อน ไม่ใช่คอยจับ ผิดผู้อื่น ซึ่งตามปกติของคนแล้วมัก จะมองเห็นความผิดพลาดของบุคคลอื่น แต่ลืมมองของตนเอง ทำให้สูญ เสียเวลา และโอกาสในการปรับปรุง พัฒนาตนเอง ใครเล่าจะตักเตือนตัว เราได้ดีกว่าตัวเราเอง จึงมีพุทธพจน์ ตรัสให้เตือนตนเองว่า "อตฺตนา โจทยตฺตานํ" = จงเตือนตน ด้วยตนเอง
จงเตือนตนของตน ให้พ้นผิด ตนเตือนจิตตนได้ ใครจะเหมือน
ตนเตือนตนเตือนไม่ได้ ใครจะเตือน ตนแชเชือน ใครจะเตือน ให้ป่วยการ
พระเนตรที่มองต่ำ คือ การสอนให้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่เหม่อฝันเฟื่องถึงเรื่องที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น หรือมัวหลงอยู่ในอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้วและไม่มีวันหวนกลับมาตาที่มองลงต่ำจะช่วยย้ำเตือนใจเราว่า “กลับมาก่อนเถิด กลับบ้านมาอยู่กับลมหายใจที่ปลายจมูก เพราะนั่นคือบ้านแท้จริง”
๔. พระพักตร์อันสงบนิ่ง (หน้าสงบนิ่ง) หมายถึง ไม่หวั่นไหวกับปัญหาต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ ให้ความรู้สึกเย็นสบายใจต่อผู้พบเห็นเสมอ
๕.รอยยิ้มจากพระโอษฐ์ หมายถึง ปริศนาจากปากที่มีรอยยิ้ม เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีเมตตาต่อสรรพสัตว์ และเข้าใจความจริงของโลก... ทุกสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีอะไรคงทนถาวร ไม่มีอะไรเป็นของเราอย่างแท้จริง ฉะนั้น “ผู้ที่เข้าใจความจริง” จะสามารถสงบนิ่งอยู่ได้ในธรรมชาติของสรรพสิ่ง ไม่วิ่งตามกระแสโลกจนเหนื่อยเกินไป และสามารถใช้ชีวิตอย่างเบิกบานได้ท่ามกลางพายุที่โหมกระหน่ำ เพราะมีสัจธรรมเป็นที่พักพิง
ที่กล่าวมาทั้ง ๕ ประการนั้น เป็นการสอน โดยใช้ปริศนาธรรมจากพระพุทธรูปเป็นสื่อการสอนใจตนเอง ดังนั้น เราเมื่อมีปัญหาอะไร แก้ไขไม่ได้ คิดไม่ตก ก็กราบพระไหว้พระ หายใจเข้าหายใจออกให้สบาย เมื่อกราบพระพุทธปฏิมา จะมองเห็นพระเศียรแหลม สอนใจตนว่า "อย่าแก้ปัญหาด้วยอารมณ์นะ ใจเย็นเย็น ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีอะไรแก้ไขไม่ได้ ค่อยๆ คิด ค่อยๆแก้ ด้วยสติปัญญา ที่เฉียบแหลม เหมือนพระพุทธเจ้าของเรา ที่พระองค์ใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหา"
เห็นพระกรรณยานก็บอกตน เองว่า "สุขุมเยือกเย็นมีเหตุผลเข้าไว้ อย่าปล่อยใจตามอารมณ์ หรือหุนหัน พลันแล่น เดี๋ยวจะผิดพลาดได้ ต้องมีจิตใจหนักแน่นมั่นคง เชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล"
เห็นสายพระเนตรที่มองต่ำก็บอกตน เองว่า "มองตนเองบ้างนะ อย่าไปมองคนอื่นมากนักเลยเดี๋ยวจะไม่สบายใจ การมองตนเองบ่อยบ่อย จะได้พิจารณาตนเองปรับปรุงตนเอง และแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น"
เห็นพระพักตร์อันสงบนิ่ง (หน้าสงบนิ่ง) ก็บอกตนเองว่า “อย่าไปหวั่นไหวกับปัญหาต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ ให้ใจดีใจสบายเข้าไว้”
เห็นรอยยิ้มจากพระโอษฐ์ ก็บอกตนเองให้มีรอยยิ้มกับผู้อื่นบ้าง
กราบพระด้วยสติปัญญา และจิตใจที่ชื่นบาน นี้เรียกว่า "ยิ่งกราบยิ่งฉลาด" ...สมกับเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่แท้จริง....
เราต้องละสักายะทิฏฐิ ละซึ่งตัวซึ่งตน ชีวิตของเราจะเข้าสู่ความประเสริฐที่ เราเข้าสู่ภาคประพฤติ ภาคปฏิบัติ เราทุกคนต้องมีความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง และปฏิบัติถูกต้อง มันถึงจะเป็นไปได้ ถ้าเราไม่ได้เพราะเราทำตามใจตัวเอง ทำตามอารมณ์ตัวเอง ทำคชตามความรู้สึก เราก็จตะเป็นได้แต่เพียงคน คำว่าคนนี้จะว่าแย่กว่าสัตว์เดรัจฉานก็ว่าได้ เพราะสัตว์เดรัจฉานมันไม่กินเล่ากินเบียร์ ไม่เล่นการพนัน เจ้าชู้ สร้างบ่อน Casino สร้างปืน สร้างระเบิด มันไม่โกงกินคอรัปชั่น เราทุกคนถึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าถึงเป็นมงคล ระลึกถึงพระธรรมถึงเป็นมงคล ระลึกถึงพระอริยะสงฆ์ถึงเป็นมงคล การเห็นสมณะถึงเป็นมงคล ที่เราพากันมีแบรนด์เนมของศาสนานะ เรายังไม่เข้าถึงศาสนา ความสุขความดับทุกข์มันถึงมีอย่างนี้ๆ
เราดูตัวอย่างแบบอย่าง อย่างท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี เป็นผู้ที่สร้างบารมีมาหลายกัป ได้ยินชื่อพระพุทธเจ้าก็สลบไสล ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าได้เป็นพระอริยะเจ้า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้พบกับพระพุทธเจ้าครั้งแรกที่นครราชคฤห์ สมัยนั้นท่านเศรษฐีได้ไปสู่นครราชคฤห์ เพื่อธุรกิจการค้า และได้ไปพักอยู่กับท่านเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์คนหนึ่ง ซึ่งเป็นพี่เขยของท่าน เพราะภรรยาของท่านเป็นน้องสาวของท่านเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ในวันที่ท่านไปถึงนั้น ท่านได้เห็นท่านเศรษฐีเจ้าของบ้าน กำลังตระเตรียมอาหารเพื่อถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธองค์เป็นประธาน
โอ! พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกหรือนี่! คำว่า 'พุทโธ' นั้น เป็นคำที่ก่อความตื่นเต้นให้แก่อนาถปิณฑิกเศรษฐียิ่งนัก อุปมาเหมือนคนที่เป็นโรคซึ่งทรมานมานานปี เมื่อทราบว่ามีหมอสามารถจะบำบัดโรคนั้นได้จะดีใจสักเพียงใด ครั้นท่านทราบว่า มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว ท่านก็เกิดปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง อยากจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้ามากจนหลับลงแล้วตื่นขึ้น หลับลงแล้วตื่นขึ้นถึง ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๓ ท่านนึกว่าสว่างแล้ว จึงได้ออกจากนคร ราชคฤห์ เพื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่ป่า สีตวัน
ท่านออกทางประตูป่า สีตวัน พวกอมนุษย์ได้ช่วยเปิดประตูให้ แต่พอท่านออกพ้นพระนครไป ความสว่างก็หายวับไป ความมืดปรากฏขึ้น ท่านจึงเกิดความหวาดกลัว ขนพองสยองเกล้า คิดจะกลับเข้าสู่พระนคร แต่สีวกยักษ์ได้ส่งเสียงให้กำลังใจท่านว่า ช้างตั้ง ๑๐๐ ม้าตั้ง ๑๐๐ รถเทียมม้าตั้ง ๑๐๐ ก็ดี หญิงสาวสวยตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑,๐๐๐ ที่จัดสรรประดับร่างกายด้วยกุณฑลแก้วมณีก็ดี ก็ไม่เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสิบหกแห่งการยกเท้าเพียงก้าวเดียวของท่านเศรษฐีที่จะเดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอท่านเศรษฐีจงไปเถิด ขอท่านเศรษฐีจงไปเถิด การไปของท่านเศรษฐีประเสริฐนักหนา ท่านเศรษฐีอย่าได้กลับเลย
ต่อมาความมืดได้หายไป ความสว่างได้ปรากฏขึ้นอีก ท่านจึงหายกลัวออกเดินทางต่อไป แต่แล้วความสว่างก็หายไป ความมืดก็กลับปรากฏขึ้นแทนอีก ท่านก็ตกใจกลัว ขนพองอีก และสีวกยักษ์ก็ได้ช่วยส่งเสียงปลอบโยนให้กำลังใจท่าน เป็นอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดท่านก็สามารถเดินทางไปถึงป่าสีตวัน ที่ประทับของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จ
ขณะนั้นพระองค์กำลังเสด็จเดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ในเวลาจวนสว่าง เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นอนาถบิณฑิกเศรษฐี พระองค์ก็เสด็จลงจากที่จงกรมไปประทับนั่ง แล้วตรัสเรียกว่า “มานี่เถิด สุทัตตะ” อนาถบิณฑิกเศรษฐีดีใจมากที่พระพุทธองค์ทรงเรียกชื่อท่าน จึงได้เข้าไปเฝ้าหมอบลงแทบพระบาททูลถามว่า พระผู้มีพระภาคบรรทมหลับเป็นสุขหรือไม่ พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “ผู้ละกิเลสบาปธรรมเสียแล้ว ย่อมนอนเป็นสุขทุกเมื่อ ผู้ไม่ติดอยู่ในความรัก เป็นผู้เยือกเย็น เป็นผู้ไม่มีกิเลสแล้ว ย่อมนอนเป็นสุขทุกเมื่อ ผู้ตัดความข้องทั้งปวงเสียแล้ว กำจัดความทุรนทุรายในในเสียแล้ว เป็นผู้สงบแล้ว ย่อมนอนเป็นสุขทุกเมื่อ” ครั้นแล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถา เพื่อซักฟอกใจของท่านเศรษฐีก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และกล่าวชมเชยพระธรรมเทศนาของพระพุทธองค์ แล้วขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอดชีวิต และสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหารถวายพระพุทธองค์ อันป็นที่ทรงประทับจำพรรษานานที่สุด
ท่านต้องการจะแก้นิสัยลูกจึงจ้างลูกให้ไปฟังธรรม ลูกได้บรรลุธรรมก็ไม่เอาค่าจ้าง เพราะการมีวัตถุ ข้าวของเงินทอง มันไม่ใช่สิ่งที่ดับทุกข์ที่แท้จริง เป็นมนุษย์เขาถึงให้พัฒนาทั้งวิทยาศาสตร์ และพัฒนาทั้งใจไปพร้อมๆ กัน ชีวิตเราถึงจะเข้าสู่ความสุข สงบ ร่มเย็น อบอุ่น เหมือนแอร์คอนดิชั่น เราถึงเป็นผู้ที่โชคดี ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ อีกไม่กี่วันข้างหน้าก็ถึงวันมาฆะบูชา เราถึงระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ทำบาปทั้งปวง ทำกุศลให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาท เพราะว่าเรามันติดในความสุข ความสะดวกความสบาย มันไม่ได้ มันเรียกว่าทุกอย่างมันผ่านไปผ่านมา เอากลับคืนมาไม่ได้ เราต้องไฟต์ติ้งกับตัวเองในปัจจุบัน เข้าถึงความตั้งใจ ความเจตนา เราจะได้พัฒนาตัวเองทุกคนๆ น่ะ เพราะคนอื่นทำให้เราไม่ได้ เราเป็นมนุษย์ เราถึงเป็นผู้ที่โชคดี เราจะไปหาพระภายนอก มันหาก็ไม่รู้หรอก บางทีก็โดนเขาหลอก ต้องหาพระจากพระธรรมคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า เอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก อย่าทำตามความคิดอย่าทำตามอารมณ์ อย่าไปทำตามความรู้สึก ชีวิตของเราก็จะก้าวไปด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ไม่ใช่นักปรัชญา ไม่ใช่แค่คนมีปัญญา เป็นคนทั้งมีความรู้ มีความเข้าใจ เป็นผู้ประพฤติผู้ปฏิบัติ เราถึงเข้าสู่ความสุขความดับทุกข์ได้ทุกเมื่อทุกกาลทุกเวลา
ถ้าใครมันยังไม่เก่งไม่แจ้ง มันหลงในตัวในตนเยอะ พระพุทธเจ้าก็สอนให้เจริญพระกรรมฐาน พิจารณาทุกอย่างสู่พระไตรลักษณ์ ให้กลายเป็นชิ้นส่วน เอาออกไป เพื่อให้มันชัดเจน เพราะมันมีความหลงในกาย หลงในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เราต้องพิจารณาร่างกายเข้าสู่พระไตรลักษณ์ เพราะว่าคนเราเมื่อไม่อยากทิ้งสิ่งภายนอก มันหลงสิ่งภายนอก มันถึงไม่มีอานาปานสติ ไม่มีสติสัมปชัญญะ ตามอารมณ์ตามความคิดมาก มันก็เป็นโรคนอนไม่หลับ นอนไม่อิ่ม ทำให้หลับได้ไม่ลึก ให้เข้าใจทุกคน ทำไมทุกคนเป็นคนที่โชคดีขนาดนี้ เราไม่อยากเอาอะไร เอาร่ำเอารวย มันก็ยังแก่ ยังเจ็บ ยังตาย แต่ทางที่ดี เราต้องมีความสุขในการทำงาน มันก็เหลือกินเหลือใช้ เรียนหนังสือก็เพื่อมีความสุขในการเรียนหนังสือ ทำงานเพื่อให้มีความสุขในการทำงาน เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนั้นมันถึงมี ปัจจุบันเราต้องเสียสละ เพราะทุกอย่างมันเรียกว่าตาย ตายทุกขณะจิต ตายมันคือมันกลับคืนมาไม่ได้ มันเรียกว่าตาย พระรัตนตรัยถึงเป็นสิ่งที่สูงสุดของทุกๆ คน เราต้องรู้จักว่าสิ่งที่ดีที่สุด สิ่งที่ประเสริฐที่สุด ให้เรารู้จักเราจะได้ไม่หลงขยะ เราจะได้ไม่พากันแย่งขยะ
มนุษย์เราเป็นผู้ฉลาด สามารถที่จะทำแต่สิ่งที่ดีๆ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีๆ พระพุทธเจ้าท่านให้เรารู้จักทุกข์ รู้เหตุถึงความเกิดทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ต้องมาปรับตัวเองเข้าหาธรรมะ ชีวิตของเราที่มันไม่ได้รับความสำเร็จในชีวิต ก็เพราะว่าเรานี่นะทำตามจิตตามใจของตัวเอง ไม่เอาความถูกต้องเป็นใหญ่ ไม่เอาความดีเป็นใหญ่ ถ้าเราทำตามใจของเราน่ะ จิตใจของเราก็ยิ่งร้อนยิ่งทวีคูณ สิ่งไหนที่ข้าพเจ้าชอบข้าพเจ้าก็จะเอา สิ่งที่ไหนข้าพเจ้าไม่ชอบข้าพเจ้าก็จะไม่เอา
เราทุกๆ คนที่เกิดมาน่ะมีคุณสมบัติที่เราจะต้องได้รับ ก็คือ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพรากน่ะ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นน่ะเราไม่ชอบเลย ไม่ต้องการเลยแต่ทุกคนก็ต้องได้ ด้วยเหตุผลนี้... เราถึงต้องมาปรับจิตปรับใจเข้าหาธรรมะ ทุกคนต้องมาชอบความแก่ ชอบความเจ็บ ชอบความตายและความพลัดพราก ยอมรับว่านี้คือ 'สัจธรรม' นี้คือความจริง คือสิ่งที่ทุกๆ คนต้องได้รับอย่างแน่นอน ทุกคนน่ะไม่อยากเป็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แต่ทุกคนก็ย่อมได้สิ่งนั้นๆ พระพุทธเจ้าท่านถึงไม่ให้เราสนใจเรื่องความชอบความ ไม่ชอบน่ะ พยายามทำจิตทำใจของเราให้มันสงบ สิ่งที่ไหน...
เรามีปัญหานี้ก็คือความชอบไม่ชอบนี้แหละ จิตใจของเรามันถึงไม่สงบพระพุทธเจ้าเทศน์เรา บอกเรา สอนเราเรื่องการ 'เสียสละ' “เสียสละขนาดไหน... ขนาดที่เราไม่มีตัวไม่มีตนโน่นแหละ ถ้าเรามีตัวมีตนอยู่เราก็ย่อมมีความทุกข์ เรามีความทุกข์ก็เพราะเรามีตัวมีตน”
ทุกท่านทุกคนนั้นไม่มีตัวไม่มีตน ไม่ได้เป็นผู้หญิง ไม่ได้เป็นผู้ชาย ไม่ได้เป็นคนแก่คนหนุ่มคนสาว ไม่ได้เป็นพระหรือไม่ได้เป็นโยม ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามเหตุตามปัจจัยที่ 'อวิชชา' คือความหลงของเรานี้ มาปรุงแต่งจิตใจให้เราทำบาปทำกรรมไม่มีที่หยุดไม่มีที่ยั้ง
'ใจ' ของเรานี้มันมีแต่จะเอา มันจะเอาความสุข มันเป็นผู้เอามาตั้งหลายภพหลายชาติแล้ว แม้แต่เกิดมาเราพอที่จะสั่งเขปได้ มันเริ่มเอาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว เมื่อออกมาก็มาเอากับคุณพ่อคุณแม่ เมื่อเจริญวัยเป็นวัยเรียนวัยศึกษา มันก็จะเป็นผู้เอา เอากับเพื่อนบ้าน เอากับสังคม มันจะมาเอาความสุขกับผู้อื่น
พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนเราให้เรามาเป็นผู้เสียสละ มาเป็นผู้ให้ เป็นคนขยัน เป็นคนไม่ขี้เกียจ มาหยุดตัวเอง มาเบรกตัวเองว่าตั้งแต่นี้ต่อไปน่ะ ข้าพเจ้าจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของข้าพเจ้าใหม่ จะเป็นคนขยันสุดๆ เสียสละอย่างสุดๆ จะมาละอัตตามาละตัวละตน จะไม่เป็นคนฟรีสไตล์มักง่าย เอาแต่ใจตัวเอง มีโลกส่วนตัว เอาตัวเป็นใหญ่เอาตัวเป็นประธานน่ะมันไม่ถูก...ต้องมาพิจารณาตัวเองว่าตัวเองได้เสียสละอะไรบ้าง ตัวเองได้ให้ความสุขแก่คุณพ่อคุณแม่แล้วหรือยัง แก่ครอบครัวแล้วหรือยัง แก่หมู่แก่คณะแก่สังคมแก่ประเทศชาติแล้วหรือยัง...?
คนเรามันต้องเสียสละ ถ้าไม่เสียสละตัวเองก็ไม่มีความสุข ยิ่งคนอื่นเค้าก็ยิ่งเดือดร้อน ถ้าเราไม่เสียสละนี้ครอบครัวของเราแย่เลยแหละ ทุกคนก็แย่ไปหมด เพราะเกิดจากเราเป็นคนที่เห็นแก่ตัวเป็นคนที่ไม่เสียสละ มีแต่จะได้มีแต่จะเอา ไม่รู้จักทำใจให้สงบ ถ้าเรามาหยุดตัวเองมากระตุ้นตัวเองอย่างนี้แหละ จิตใจของเราก็จะสงบขึ้นเย็นขึ้น การเปลี่ยนตัวเองนี้มันเปลี่ยนยาก เพราะธรรมะภาคปฏิบัติน่ะ ทุกอย่างมันต้อง 'ทวนกระแส' หมดน่ะ มันจะว่ายตามน้ำ ตามความต้องการไม่ได้ “คนเราเอาชนะอะไรมันไม่ประเสริฐไม่ดี เท่ากับชนะใจตัวเอง ชนะอารมณ์ตัวเอง”
'การรักษาศีล' ให้ทุกคนเข้าใจไว้ว่าก็คือการพากันมาเสียสละ ไม่ใช่เราจะพากันมาเอานะ เราพากันมาเสียสละ
'การทำสมาธิ' ก็คือการเสียสละเหมือนกัน... สมาธิ แปลว่า ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง คือ การปล่อยการวาง การไม่เอาไม่มีไม่เป็น คืนธรรมชาติสู่ความเป็นจริง เพราะทุกอย่างมันไม่ได้มี ไม่ได้เป็น มันเป็นของบริสุทธิ์ผุดผ่อง ที่เรามันสุขมันทุกข์ก็เพราะเรามาเป็นตัวบงการ ตัวที่จะให้มันเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ การทำสมาธินี้ พระพุทธเจ้าท่านให้เรามาเข้าใจว่า คือการมาละนิวรณ์ ก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลงในจิตในใจของเรา ใจของเราไม่สงบ ใจของเรามันร้อน ใจของเรามันคิดมากเพราะเต็มไปด้วยความอยาก เผาด้วยความวิตกกังวล เผาด้วยความอยาก ความต้องการ ความโกรธความเกลียด ความพยาบาทอิจฉามันเผาเรา เรายังไม่ตาย มันก็เผาเราทั้งเป็น
พระพุทธเจ้าท่านบอกเราสอนเราให้เข้าหาความสุขความดับทุกข์ เข้าหาความสงบในปัจจุบัน เรื่องทั้งหลายทั้งปวงน่ะล้วนแต่เป็นความอยากความต้องการทั้งนั้นที่มันเผาเราน่ะ ท่านให้เรามาเจริญสติสัมปชัญญะให้จิตใจของเราสมบูรณ์ ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก ไม่ต้องไปรู้อะไรมาก รู้ตัวเองในปัจจุบันน่ะ อันไหนมันดีเราก็เราก็คิด อันไหนไม่ดีเราก็ไม่คิด หรือว่าอันไหนมันดีมันคิดมากเราก็ไม่ต้องไปคิดมัน เพราะว่าสิ่งที่ดีไม่ดีล้วนแต่เป็น 'อนิจจัง' ทุกอย่างก็ต้องจากไปหมด สิ่งที่ดีก็ต้องจากไป สิ่งที่ไม่ดีก็ต้องจากไปทุกอณู ทุกลมหายใจ ทุกเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน
เราทุกคนต้องทำใจให้สงบ ให้เย็น ไม่ต้องวิ่งตามอารมณ์ ไม่ต้องไปวิ่งตามโลก ถ้าไปวิ่งตามอารมณ์ตามโลกน่ะ ว่าทำไมๆๆๆๆ ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ เพราะสิ่งเหล่านี้น่ะมันเป็นธรรมชาติ มันเป็นกฎของธรรมชาติ มันก็ต้องเป็นอย่างนี้ เราไม่ต้องไปเอาดีเอาชั่ว เอาผิดเอาถูก กับสิ่งภายนอกน่ะ สิ่งภายนอกก็ถือว่านี้แหละมันเอา 'ธรรมะ' มาให้เราว่าสิ่งอันนี้มันไม่น่าเป็น...มันก็เป็นน่ะ ถ้าเราคิดอย่างนี้แหละใจของเรามันก็จะหยุด มันก็จะเย็น เราจะได้กลับมาแก้ไขตัวเอง ไม่ได้ไปคิดเรื่องภายนอก ยุ่งเรื่องภายนอก
ทุกท่านทุกคนให้ถือเอาโอกาส...ถือเอาเวลานี้มาประพฤติมาปฏิบัติ มาอบรมบ่มอินทรีย์ให้จิตใจของเรามีอินทรีย์บารมีแก่กล้าขึ้น ต้องอาศัยความอดความทน อาศัยข้อวัตรปฏิบัติ คนเราเมื่อไม่ได้ตาม 'ใจ' ก็ต้องมาแก้ที่ 'ใจ' เพราะสิ่งที่มีปัญหาก็คือ 'ใจ' ที่มีปัญหา ต้องทำใจของเราให้สงบให้ได้น่ะ 'ใจ' ของเรามันก็ค่อยๆ เกิดปัญญาว่าธรรมะนี้มันเป็นสิ่งที่ทวนกระแส ถ้าเราทำตามใจตามอารมณ์น่ะชีวิตนี้ก็มีแต่ผิดหวัง โลกนี้ก็ย่อมมีแต่ความเห็นแก่ตัว ถือพรรคถือพวก ถือชั้นวรรณะชาติตระกูล "เอาดีใส่แต่ตัว เอาสุขใส่แต่ตัว เอาความทุกข์ให้คนอื่น มันไม่ถูกต้องเลยมันไม่ยุติธรรมเลย...."
ในโอกาสนี้ ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญที่ทุกท่านทุกคน จะได้ฝึกจะได้ปฏิบัติขัดเกลากิเลสอาสวะของตัวเอง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัด หรือจะอยู่ในบ้านอยู่ที่ไหน ทุกคนก็ต้องปฏิบัติตัวเองทั้งหมด เราอยู่ที่ไหนเราก็แก่ เราก็เจ็บ เราก็ตายเหมือนกันหมด 'สัจธรรม' คือความจริงเค้าไม่ได้ยกเว้นใคร
ความสุขทุกคนมันเป็นสิ่งเสพติด ทุกคนมันชอบมันติดเราทุกคนจำเป็นต้องทำใจเฉยๆ น่ะ เดินหน้าประพฤติปฏิบัติธรรม
คำว่า 'ติด' ทุกคนก็รู้แล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้ มันถึงติด จิตใจเราจำเป็นจะต้องเดินหน้าไป ทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไว้เบื้องหลัง อย่าไปเสียดงเสียดายอาลัยอาวรณ์มัน แข็งใจสู้มัน มีความสุขในการประพฤติการปฏิบัติ ถือว่าเราได้เดินตามรอยบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ไม่มีอะไรที่จะประเสริฐยิ่งกว่า จงดีใจจงภูมิใจในตัวเอง ในการประพฤติปฏิบัติของตัวเองว่าเราได้เดินทางมาดีแล้ว ถูกต้องแล้ว ชื่อว่า "สุคโต ปฏิบัติธรรมด้วยความสุข..."
แจกปัญญา แจกศาสนา แจกธรรมวินัย แจกสิ่งที่ถูกต้อง
เพื่อเดินตามรอยพระพุทธเจ้าร้อยเปอร์เซ็นต์
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
โดยทุกท่านสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://linktr.ee/watsubthawee
Share wisdom, spread Buddhism and its discipline.
Advocate righteousness to follow Lord of Buddha's footsteps 100%
ธรรมะสบายสบาย | Dhamma Sabaai Sabaai
You can receive new Dharma updates.
https://linktr.ee/watsubthawee