แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันพุธที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
ทุกท่านทุกคนพากันนั่งให้สบาย หายใจเข้าให้สบาย หายใจออกให้สบาย หายใจเข้าให้มีความสุข หายใจออกให้มีความสุข หายใจเข้าก็ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม หายใจออกก็ให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม เห็นความสุขในการนั่งเห็นความสุขในการปล่อยวาง ปล่อยวางอนาคตอยู่กับการเสียสละ หายใจเข้าให้มีความสุข หายออกให้มีความสุข หายใจเข้าให้สบาย หายใจออกให้สบาย คนเราทุกคนนี้คือคนที่เวียนว่ายตายเกิด เราทุกคนนั้น มีความหลงมาก ตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง ตามความรู้สึกตัวเอง ตามอวิชชานี่ถึงเป็นได้แต่เพียงคน เราจะมาตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง ตามความรู้สึกตัวเอง นี้ไม่ได้
เราต้องมาตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าบำเพ็ญพุทธบารมีมาหลายล้านชาติ แล้วได้ตรัสรู้มาเป็นพระพุทธเจ้า ได้มารู้ ได้มาบอกมาสอนเรา ให้หยุดตัวเองหยุดพลังงานแห่งเวียนว่ายตายเกิด มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ ในชีวิตประจำวัน ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 นั้นมีอยู่ในความเห็นถูกต้อง มีอยู่ในความเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ในปัจจุบัน ที่ตรัสว่า อริยมรรคมีองค์ ๘
ให้ทุกท่านทุกคนทำตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพราะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้นเป็น สัปปายะ เข้าเรียกว่าธรรมะสัปปายะ เราเกิดเป็นมนุษย์เราก็เป็นผู้เข้าถึงสัปปายะแล้ว เราจะเป็นได้แต่เพียงคนนั้นไม่เอา มันเสียเวลา ทุกท่านทุกคนต้องมีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าให้พากันเข้าใจอย่างนี้นะ ถึงเราจะเป็นประชาชนหรือจะเป็นนักบวช เราก็ต้องพากันประพฤติพากันปฏิบัติ มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติเรียกว่า ฉันทะ คือความพอใจ มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ วันหนึ่งคืนหนึ่งของเรามี 24 ชั่วโมง เราก็นอน 6 ชั่วโมง เวลาตื่นอยู่นี้ก็คือเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ในปัจจุบันอย่างนี้ เอาหน้าที่การงาน มาเป็นการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมคือการทำงาน ต้องมีความสุขไปอย่างนี้ สุขภาพจิตสุขภาพใจมันจะได้ดีนะ อย่าไปทำตามความหลง อย่าไปทำตามความคิด เราต้องเอาธรรมเป็นใหญ่ เขาเรียกว่าหยุด หยุดทั้งทางกาย ทั้งทางใจ ทั้งทางวาจาอย่างนี้ เหมือนไก่ฟักไข่ ก็ต้องใช้เวลา ๓ อาทิตย์ ถึงจะออกลูกมาเป็นตัว เราเป็นมนุษย์หน่ะ มันต้องมากกว่านั้น ต้องมีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ เราทุกคนมีลมหายใจอยู่ เราต้องประพฤติต้องปฏิบัติธรรม เราก็จะได้มีแต่คุณ ไม่มีโทษ เราอย่าไปหลงขยะอย่าไปหลงสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเกมส์เป็นไฟต์ติ้ง ที่ให้เราได้ประพฤติได้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ต้องละอดีตให้เป็นเลข 0 อนาคตก็อยู่ในปัจจุบันนี้แหละ เราต้องประพฤติต้องปฏิบัติ
ทุกท่านทุกคนต้องมาแก้ไขตัวเอง จะไปแก้ไขคนอื่นไม่ได้ ต้องปรับปรุงตัวเอง ปฏิบัติตัวเอง จะไปโทษสิ่งภายนอกไม่ได้ เพราะอันนั้นเป็นไฟต์เป็นการปฏิบัติของเราในชีวิตประจำวัน คนเรามันมีกิเลสมากนะ ไปเชื่อตัวเองไม่ได้ต้องหยุดตัวเอง ถ้าอย่างนั้นมันไม่ชื่อว่าคน มันทำทั้งดีทั้งชั่วทั้งผิดทั้งถูกมันมั่วไปหมด มันเป็นได้แต่เพียงคน เป็นทั้งยักษ์ ทั้งมาร ทั้งอสูรกาย ทั้งสัตว์นรก พระพุทธเจ้าถึงให้เราต้องเป็นมนุษย์ เอาธรรมเป็นหลักเองธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรมเป็นที่ตั้ง เราต้องหยุดตัวเอง เพียงแค่เราหยุดทุกอย่างมันค่อยสงบค่อยๆ เย็น คำว่าหยุดนี้ก็คือ ไม่ตามความหลง เอาธรรมะเป็นหลัก เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง เอาธรรมะเป็นการดำเนินชีวิต มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ อย่างนี้หน่ะ เราจะได้หยุดตัวเอง เราอย่าไปลูบคลำในศีล ศีลทุกข้องพระวินัยทุกสิกขาบท มันเป็นการหยุดกรรมหยุดเวร หยุดภัย หยุดอันตราย ทุกท่านทุกคนไม่ได้ปฏิบัติให้ใคร ปฏิบัติให้ตัวเองนะ ทุกท่านทุกคนต้องพากันประพฤติพากันปฏิบัติ ทุกหนทุกแห่งเลย เพราะความสุขความดับทุกข์มันอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าเราจะเป็นคนรวยคนจนทุกชาติศาสนา ทุกท่านทุกคนก็ต้องพากันแก้ไขตัวเอง เราพัฒนาเทคโนโลยีตามหลักเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ เราก็มีอยู่มีกินมีใช้ ท่านบอกว่าดีแล้วก็อย่าไปหลง เพราะทุกอย่างมันตั้งอยู่ในกฎพระไตรลักษณ์ ไม่แน่ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตน มันมีอายุขัยเวลาจำกัด ส่วนใหญ่ก็ไม่เกิน 100 ปีก็ต้องจากโลกนี้ไป เพราะอันนี้เป็นข้อวัตรข้อปฏิบัติ เป็นสัมมาสมาธิ คือความเห็นถูกต้องความเข้าใจถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง อย่าไปหลง เราต้องมีปัญญา ต้องเสียสละ หาใช่ตัวใช่ตนไม่ มันเป็นไฟต์ที่เรามีพระพุทธเจ้าในใจ มีพระธรรมในใจ มีพระสงฆ์ในใจ ยกเข้าสู่พระไตรลักษณ์ให้หมด ว่าทุกอย่างมันไม่แน่ไม่เที่ยง ให้เรามีสัมมาสมาธิ ใจเข็มแข็ง ให้ใจมีการเสียสละอย่างนี้ในชีวิตประจำวัน
ปัจจุบันนี้เราต้องเอาธรรมะออกมาใช้ อย่าทำตามความเคยชินนะ อย่าทำตามสิ่งแวดล้อม เพราะความเคยชินกับสิ่งแวดล้อมมันทำให้เราได้ประพฤติได้ปฏิบัติ ทำให้เราได้ตั้งมั่นในธรรมในศีลธรรม ในคุณธรรม เราต้องมีความสุขในการประพฤติปฏิบัติ ในการเสียสละ เราอย่าไปอ่อนข้อตามธาตุตามขันธ์ ตามอายตะนะสิ่งแวดล้อม ให้เรามีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติอย่างนี้หน่ะ เราทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้หน่ะ เราตื่นมาเรามีลมหายใจเราก็ถือว่าเป็นคนโชคดี ได้ปฏิบัติธรรม ทุกคนเกิดมาเพื่อปฏิบัติธรรมนะ เกิดมาจากกัน คนเราไม่อยากแก่ไม่อยากเจ็บไม่อยากตาย ก็เป็นคนบ้า คนหลง เราต้องพากันมีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติธรรม
เราทุกคนส่วนใหญ่หน่ะยังไม่รู้จักศาสนานะ ยังไม่รู้จักธรรมะนะ เรากำลังมีความหลง เราทำตามความหลงทำตามอวิชชา เราต้องพากันรู้จัก เราเป็นคนที่มีปัญญา แต่เราไม่มีศาสนาไม่มีการประพฤติการปฏิบัติ เราเป็นเพียงคนที่พัฒนาเทคโนโลยี ความสะดวกสบาย มีความสุขในรูป เสียง กลิ่น รส ลาภยศ สรรเสริญ มันเป็นเพียงวัตถุนะ พระพุทธเจ้าถึงให้เราพัฒนาทั้งเทคโนโลยี กับ ใจไปพร้อมๆ กัน เราจะได้ไม่หลง เราจะได้เสียสละในปัจจุบัน ทุกๆ คนต้องรู้จัก เพื่อจะได้หยุด อบายมุข อบายภูมิ
ทุกคนนั้นต้องมีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ ในการทำงาน ในการเรียนหนังสือ มีความสุขในการเสียสละ หยุดอบายมุข หยุดอบายภูมิ ให้กับตัวเอง ประชาชนคนทั้งโลกพากันหลงขยะกับ หลงอบายมุขอบายภูมิ ต้องพากันเสียสละ ฝึกหายใจเข้ามีความสุข หายใจออกมีความสุข ทุกอย่างคือการเสียสละนะ เราอย่าไปทำงานเพื่อเงิน เพื่อจะเอา เราต้องทำงานเพื่อเสียสละ ละตัวละตน เราก็จะได้ เงิน ได้บ้าน ได้รถ แล้วก็ได้ปัญญา เราจะได้พัฒนาใจว่าเราเกิดมาไม่ได้อะไรนะ เพราะทุกอย่างมันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ เขาถึงพากันเสียสละ มันถึงจะพัฒนาโลกนี้ไปสู่ความเป็นมนุษย์ หยุดคำว่าเป็นคน เป็นตัวเป็นตน ทุกท่านทุกคนไม่มีใครมาประพฤติปฏิบัติให้กันได้นะ เราปฏิบัติได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะทุกอย่างมันไม่ได้ไปแก้ที่คนอื่น มันแก้ที่เรา ทุกท่านทุกคนหน่ะต้องพากันลบอดีตให้เป็นเลข 0 ให้ได้นะ เราต้องทำอย่างพระอรหันต์ เขาไม่มีอดีต เพราะท่านอยู่กับปัจจุบัน ต้องลบอดีตให้เป็นเลข 0 ให้ได้ เหมือนคนเราเกิดมามีพ่อมีแม่ พ่อแม่เราตาย เราไม่ต้องไปคิดถึงพ่อคิดถึงแม่ เพราะคิดถึงไปก็เป็นทุกข์ เราก็รู้จักความคิด เราไม่คิด เราปล่อยเวลาไปหลายปี มันก็จะค่อยลืมไป ใจเราต้องอยู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันต้องให้มันสมบูรณ์ อย่าให้อดีตมันมาปรุงได้ เพราะทุกอย่างมันก็เหมือนกัน เราที่เกี่ยวข้องกับของเหม็นของหอม มันก็ย่อมติด เมื่อติดแล้วเราก็ต้องเสียสละ เราต้องบอกตัวเองว่ามันอนิจจัง มันไม่แน่ไม่เที่ยง มันอนัตตา มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ถ้าเราติดมันก็เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นอดีตแล้วก็ลบให้เป็นเลข 0 อย่าไปคิดอย่าไปปรุงแต่ง เพราะมันผ่านไปแล้วก็แล้วไป เราต้องมีสติสัมปชัญญะ อย่าให้อดีตปรุงแต่งเราได้ เราก็เน้นที่ปัจจุบัน เรียกว่าลงรายละเอียดในอริยมรรค 8 เรียกว่าสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เราต้องดี กาย วาจา ใจ ของเราต้องละเอียดในปัจจุบัน เราต้องมีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติให้ได้ เราต้องลบอดีตให้ได้ อนาคตก็คือปัจจุบัน เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่า เพราะสิ่งนี้ สิ่งนั้นมันถึงมี ถ้าสิ่งนี้มันไม่มี หยุดคิดหยุดปรุงแต่งไป เรียกว่า มรรค อินทรีย์บารมีเราก็จะแกร่งกล้าไป อย่าไปอาลัยอาวรณ์
เราต้องใช้ทั้งจิตทั้งสมาธิทั้งปัญญา มารวงมกันในปัจจุบัน เรียกว่า ปัจจุบันธรรม พระพุทธเจ้าบอกอย่างนี้ เราต้องมีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ เราทำติดต่อต่อเนื่อง เราอย่าออมไว้ เราอย่าไปขยักไว้ เราต้องเสียสละกายใจของเรา ให้มีความดับทุกข์อย่างนี้หล่ะ มันก็จะสมดุล การดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวันจะได้สมดุล เพราะรายจ่ายเราไม่มี มีแต่รายรับ รับเอาแต่สิ่งที่ดีๆ พุทธะ ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ สิ่งที่ไม่ดีอย่าเอามันไว้ เราต้องลาก่อนวัฏฏะสงสาร หยุดก่อนวัฏฏะสงสาร หยุดก่อนพลังงาน เราต้องมีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติ อย่างนี้เรียกว่าเรามีพระพุทธเจ้า เรามีพระธรรม เรามีพระสงฆ์ เราปฏิบัติได้เพราะเราแก้ไขที่ตัวเอง ไม่ได้แก้ไขที่คนอื่น เราจะไปใช้ร่างกายที่เป็นมนุษย์นี้ทำหน้าที่ที่สมบูรณ์ไม่เสียเวลา
ทุกท่านทุกคนต้องพัฒนาศีล พัฒนาสมาธิ พัฒนาปัญญา เรียกว่าพรหมจรรย์ เราต้องทำอย่างนี้ๆ คนเรามันติด มันหลงอย่างนี้แหละ มันไม่รู้จักความแก่ ความเจ็บ ความตาย ไม่รู้จักเวทนาต่างๆ ที่มันเอาพระนิพพานมาให้เรา ให้ได้เจริญศีล เจริญสมาธิ จะได้ปัญญา ให้เข้าใจ เราจะต้องเป็นผู้ฉลาด เราต้องรู้จักจุดยืน เราต้องแก้ความคิดใหม่ว่า ความคิดเราอย่างนี้ไม่ได้ เราทำไปอย่างนี้ๆ ในปัจจุบัน เดี๋ยวมันก็เก่ง ชำนาญ คนเราอย่าให้มันคิดถึงสองครั้ง คิดครั้งแรกเราปล่อยธรรมดา อย่างนี้มันยินดี เราก็ต้องหยุดตัวเองเพื่อไม่ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ให้แสงแดด ให้ออกซิเจนมัน เดี๋ยวมันจะค่อยอ่อนกำลัง เพราะสัมมาทิฏฐิคือศีลของเราต้องหยุดศีลทางกาย และก็หยุดศีลทางวาจา หยุดศีลทางจิตใจ มันจะได้เกิดเป็นสมาธิโดยธรรมชาติ มันจะพัฒนาไป ปัญญามันถึงจะเกิดได้ เอาศีล เอาสมาธิ เอาปัญญามาใช้พร้อมๆกันไปอย่างนี้ เราจะได้รู้ว่า โอ๋... ปฏิบัติอย่างนี้มันง่ายๆ เอง ในชีวิตประจำวัน มันไม่ได้ยากหรอก
แต่เป็นเพราะเราไม่รู้จักทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์อย่างนี้ เราถึงหลงขยะ เพราะเราไปเพิ่มความบ้าของตัวเอง ให้ทุกท่านทุกคนพากันทำอย่างนี้ ที่ว่าอาหารหลักก็คืออริยมรรคมีองค์ 8 ทุกข้อ อาหารเสริมก็คือสมาธิ คือนั่งสมาธิตอนเช้า ตอนเย็น ตอนกลางวันอะไรอย่างนี้ เค้าเรียกว่าอาหารเสริม เพราะบางทีมันก็ต้องทานอาหารเสริม เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ไปกินอาหารเสริมก็พอดี อาหารเสริมมากเกินมันก็ไม่มีประโยชน์นะ เพราะว่ามันติดสุข ติดสบาย เพราะสมาธิที่เราจะใช้งานคือ สมาธิระดับอุปจาสมาธิ สมาธิเดิน เหิน นั่ง นอน ไม่ใช่อัปปนาสมาธิ ไม่ใช่ฌานอะไรต่างๆ อะไร ทุกอย่างต้องปล่อยให้เป็นธรรมชาติ เหมือนกับเราหายใจก็เป็นธรรมชาติ เราไปนั่งสมาธิ มันไม่เป็นธรรมชาติ ไม่ได้รู้หลักความเย็นทางจิตทางใจ มันเป็นการบีบครั้นจิต บีบครั้นใจ ใจเรามันเลยไม่เป็นแอร์คอนดิชั่น มันเลยปวดหัว ปวดประสาท ต้องเข้าใจ
ใจของเรานี้ส่วนใหญ่มันไม่ค่อยจะสงบ มันถูกอารมณ์ คือความชอบใจ ความไม่ชอบใจครอบงำอยู่ตลอดเวลา เรื่องเล็กๆ มันเลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องที่มันไม่มีอะไรมันเลย เกิดเรื่องเกิดปัญหา
เรามีร่างกาย... ร่างกายนี้เค้าก็ประกอบด้วยขันธ์ทั้ง ๕
ขันธ์ทั้ง ๕ มีอะไร...? ขันธ์ ๕ ก็มี... รูป คือ ร่างกายนี้ เวทนา คือ ความสุข ความทุกข์หรือว่าเฉย ๆ ที่เกิดขึ้นกับกายของเรา
สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ จำเรื่องเก่าๆ
สังขาร คือ ความคิดความปรุงแต่งต่างๆ นานา
วิญญาณ คือ ตัวผู้รู้ที่เราทุกๆ คนรู้ดีรู้ชั่วรู้ผิดรู้ถูก
ขันธ์ทั้ง ๕ เค้าก็ทำหน้าที่ของเขาที่สมบูรณ์ที่ตรงไปตรงมา ถ้าขันธ์ใดชันธ์หนึ่งไม่ทำงานก็แสดงว่าสุขภาพร่างกาย จิตใจของเราไม่ปกติ หมายถึงเราเป็นคนอาพาธ “พระพุทธเจ้าท่านให้เราทุกท่านทุกคนให้รู้เรื่องของร่างกาย และรู้เรื่องของทางใจ รู้เรื่องความคิด ความปรุงแต่ง ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น...เค้าก็ทำงานตามธรรมชาติ มันเกิดขึ้น..ตั้งอยู่...ดับไป มันจะเป็นอย่างนี้ในชีวิตประจำวันของเรา”
ท่านไม่ให้เราวุ่นวายตามอารมณ์ ตามความคิด ตามเวทนาหรือว่าตามตัวผู้รู้ที่เกิดขึ้นกับใจของเรา ถ้าเราคิดไป เราปรุงแต่งไปก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราไม่สงบ
พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คนไม่ตายก็ย่อมมีสิ่งต่างๆ มาปรากฎแก่เราในชีวิตประจำวัน เรามีสมาธิ คือความหนักแน่น คือความตั้งมั่น ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นก็ย่อมดับไป
การเจริญสติสัมปชัญญะ... พระพุทธเจ้าสอนให้เราทุกคน...จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว สิ่งที่เป็นอดีตมันก็ผ่านไปแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้ สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มาถึง เราพยายามทำปัจจุบันให้มันดีที่สุด ให้ใจของเรามันสงบ ให้ใจของเรามันเย็นให้ได้ ไม่ต้องไปเครียดอะไร อย่าให้ความดีความชั่วหรือสิ่งที่เป็น 'โลกธรรม' มาครอบงำจิตใจของเราได้ เพราะทุกท่านทุกคนนั้นไม่ใช่เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวเป็นตน มันเป็นธรรมะ เป็นธรรมชาติ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก เป็นสมบัติของเราทุกๆ คน “พยายามเอาดีเอาชั่ว เอาผิดเอาถูก ออกจากจิตจากใจของเรา
สักกายทิฏฐิ... การถือเนื้อถือตัวของเรามันมีมาก ความยึดความถือนั้นมันเป็นภาระหนัก เป็นสิ่งที่หนักหน่วง ในจิตในใจของเรา ถ้าเราคิดว่าเราเป็นผู้หญิงผู้ชายเราก็เป็นทุกข์แล้ว ถ้าเราคิดว่าเรารวยเราจนเราก็เป็นทุกข์แล้ว ถ้าเราคิดว่าเราหล่อเราสวยเราก็เป็นทุกข์แล้ว ถ้าเราผอมเราดำ แม้แต่สิวขึ้นหน้าไม่กี่เม็ดเราก็เป็นทุกข์แล้ว
พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราเน้นเรื่องทางกาย ให้เราเน้นทางจิตทางใจ เพราะความสุข ความทุกข์ ที่เราได้รับอยู่ คือใจไม่สงบ เป็นคนรวยก็ทุกข์อย่างคนรวย เป็นคนจนก็ทุกข์อย่างคนจน เป็นคนพิการก็ทุกข์อย่างคนพิการ เพราะเราไปถือสักกายทิฏฐิ ถือตัวถือตน ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงมันเผาเรา
เรามาบวช เรามาปฏิบัติ พระพุทธเจ้าท่านสอนเราให้เรามาฝึกปล่อยฝึกวาง ฝึกจิตใจให้มันสงบมันเย็น มันเคยคิดมากปรุงแต่งมาก เราต้องมาหยุดตัวเอง ไม่ให้มันคิดมาก ไม่ให้มันปรุงแต่งมาก เพราะการคิดมากปรุงแต่งมากมันไม่ได้อะไรเลย นอกจากเราจะได้เป็นโรคกระเพาะ โรคประสาท โรคจิต เป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นานา สาเหตุก็มาจากใจของเราไม่สงบ ด้วยเหตุนี้...พระพุทธเจ้าท่านเลยไม่ให้เราคิดอะไรมาก ปรุงแต่งอะไรมาก
"เราอย่าไปกลัว กลัวว่าถ้าไม่คิด...ไม่นึกแล้ว ปัญญาจะไม่เกิด กลัวไม่ได้บรรลุธรรม"
ให้ทุกท่านทุกคนนั้นถือว่า... เดี๋ยวนี้เวลานี้เรากำลังปฏิบัติธรรม ฝึกจิตใจให้สงบ เพราะเราอยู่กับตัวเองไม่ค่อยเป็น ชอบอยู่กับเพื่อนกับฝูง กับโทรศัพท์ เฟซบุ๊ก โทรทัศน์ เป็นต้น มีแต่อยู่กับสิ่งภายนอก เมื่อมาอยู่กับตัวเองอยู่กับความสงบมันอยู่ไม่เป็น จิตเลยไม่มีผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ต้องฝึกปล่อยฝึกวางภายนอกซัก ๕ นาที ๑๐ นาทีหรือเป็นชั่วโมงๆ เหมือนพระอริยเจ้าท่านปฏิบัติกัน "ลาภ...ยศ...สรรเสริญ... มันมีทั้งคุณและโทษ ถ้าเราไปหลง ไปเพลิดเพลิน มันก็มีโทษแก่เรา ถ้าเรารู้จัก...รู้แจ้ง 'ใจ' ของเรา ก็เกิดปัญญา"
พระพุทธเจ้าท่านให้เรารู้เรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นโลก เป็นวัฏฎสงสาร มันจะเกิดขึ้น หรือมันจะดับไปสิ่งต่างๆ ก็มีอยู่อย่างนี้แหละ น้ำท่วม ภัยพิบัติ อาชญากรรมมันก็มีอยู่อย่างนี้แหละ ถ้าเราไม่รู้จักรู้แจ้ง จิตใจของเราก็สับสนไม่เป็นตัวของตัวเอง จิตใจของเรา ก็ไม่สงบ พระพุทธเจ้าท่านให้กลับมาดูใจของเราว่า "ใจของเรามันสงบหรือยัง...?" ถ้าไม่สงบก็ให้กลับมาหาตัวเอง มีสติให้มันทั่วพร้อม หายใจเข้าก็ให้มันสบาย หายใจออกก็ให้มันสบาย
เรานั่งสมาธิอย่างนี้...มันคิดมันปรุงแต่งไปเรื่องอื่น เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ กว่าเราจะรู้เราหลงปรุงแต่งไปตั้งนาน เรามีสติระลึกได้เราก็หายใจเข้า...หายใจออก...รู้สบาย...สงบหรือไม่สงบก็ช่างหัวมัน
การฝึกฝนอบรมบ่มอินทรีย์ ฝึกหายใจให้มันละเอียดประณีตเข้า ลมเข้าเบาสบายก็รู้ ลมออกเบาสบายก็รู้ ฝึกหายใจให้มันละเอียดเหลือแต่ตัวผู้รู้ ใจของเราก็ไหวตามลมเข้าลมออก เหลือแต่ตัวผู้รู้ ใจของเราก็จะนิ่ง ใจของเราก็จะเป็นหนึ่งเบาสบาย เราฝึกใจไว้ปฏิบัติใจไว้
พระพุทธเจ้าท่านสอนเราหายใจเข้ายาวก็รู้ หายใจออกรู้ จนจิตใจของเรามันสงบ จนมันเข้าสมาธิได้ ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องปรุงแต่งอะไร ฝึกไปปฏิบัติไป ทุกอย่างนั้นมันย่อมไม่ได้ตามใจของเรา อยากให้มันสงบ มันก็ไม่สงบ ที่ไหนมีความอยาก ความต้องการ ที่นั่นแหละ... มีเรื่องที่เผาจิตเผาใจของเรา
สมาธิ คือ ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่มีความนึกคิดปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น มีแต่เสียสละ มีแต่ปล่อย มีแต่วาง "อาศัยการฝึกบ่อยๆ การปฏิบัติบ่อย ๆ..."
เราอย่าไปคิดว่าการมาบวชมาประพฤติปฏิบัติทำไมมันยุ่งยากอย่างนี้ ถ้ามันง่าย มันก็คงพากันบรรลุธรรมไปหมดเเล้ว เราต้องตั้งใจฝึกตัวเอง มันจะผอมก็ช่างมัน มันจะเหนื่อยก็ช่างมัน มันจะตัวงอนั่งคอพับให้ตัวตรงขึ้น พยายามเเก้ใจของเรา ไม่ให้มีความยึดมั่นถือมั่นเสียสละ ตามปกติน้ำมันก็ชอบไหลลงจากภูเขาสูงสี่ที่ต่ำ มันก็ต้องพัฒนาใจ เราต้องพัฒนา เราอย่าไปคิดว่า เอ้ย... ปฏิบัติเมื่อไหร่จะได้หยุด คนอย่างนี้มันเป็นความเห็นผิด ให้มันเป็นเองโดยอัตโนมัติ เหมือนกับลมหายใจมันเป็นอัตโนมัติของมัน เรานั่งสมาธิอยากให้เป็นอย่างโน่นอย่างนี้ มันเลยมีเรื่อง
เราอย่าเป็นคนพ่ายเเพ้ เราอย่าไปยินดีในการพ่ายเเพ้ ปฏิบัติขาลงไม่ได้นะ การชิงเเชมป์ก็ต้องกระตือรือร้น เมื่อได้เเชมป์เเล้ว ปฏิปทาของเรามาตรฐาน เราต้องรักษาปฏิปทาไว้ เหมือนไก่มันฟักไข่ บางท่านปฏิปทาเคยดี ไปออกธุดงค์กรรมฐาน ไปเจอกับพวกปฏิปทาอ่อน กลับมาวัดก็มาเข้าศาลาช้า อ่อนในข้อวัตรปฏิบัติ อย่างนี้มันไม่ถูก มันต้องเป็นที่พึ่งของตัวเองได้ บางคนอยู่ที่วัดนี้เค้าไม่สูบบุหรี่ ไม่มีโทรศัพ์ ไปข้างนอกไปสูบบุหรี่ มีโทรศัพท์ไป มันก็ติด ตกต่ำไปเรื่อย เมื่อเรายินดีในความพ่ายเเพ้ ยินดีในความอ่อนเเออย่างนี้ มันไม่ใช่ เพราะว่ามันไม่ใช่สัมมาสมาธิ สัมมาปัญญา ดูสินักมวยเเชมป์มันเคยเเพ้ มันจะเเพ้ไปเรื่อย เพราะมันยินดีในตัวในตน ยินดีในกาม มันตั้งอยู่ในความประมาท
ทุกคนอย่าไปคิดว่า โอ้... ปฏิบัติต้องยากลำบาก อันนี้เป็นอวิชชา เป็นความหลง ไม่ใช่ความฉลาดอะไร ความคิดอย่างนี้ เราอย่าไปว่า มันเเก่เเล้ว มันเป็นเพราะอวิชชาเป็นเพราะความหลง ก็ต้องกระตือรือร้น ดูตัวอย่างหลวงปู่คำภา ยิ่งเเก่อายุครบจะร้อยปี ปฏิปทาไม่มีตกเลย ไม่มีใจอ่อนเลย เราต้องดูตัวอย่างเเบบอย่าง หลวงปู่มั่น ปฏิปทาเยี่ยมยอดจนหมดลมหายใจ ปฏิปทาไม่ตก อย่าไปคิดว่าความสุขในการที่ได้ตามใจนี้คือการพ่ายเเพ้ มันเป็นของประเสริฐ คือการยอมรับ ใจของเราที่มันมีอวิชชามีความหลง ถ้าเราไปตามใจเราไม่ใช่คนปกตินะ เราเป็นคนหลงนะ ดูพระพุทธเจ้าไม่เคย ใจอ่อน เพราะทุกคนเมื่อเรามีลมหายใจ เราคิดว่าเราคือผู้โชคดีเเล้ว เรามามีความสุขในการคิดดีๆ พูดๆ ประหยัดเสียสละอย่างนี้ เพราะเรามันไปเชื่อตัวเองไม่ได้ มันไปทำตามสังคมไม่ได้ เพราะสังคมมันเป็นสามัญชนอยู่ เราต้องตามพระพุทธเจ้า
เราอย่าไปคิดว่าการมาบวชมาประพฤติปฏิบัติทำไมมันยุ่งยากอย่างนี้ ถ้ามันง่าย มันก็คงพากันบรรลุธรรมไปหมดเเล้ว เราต้องตั้งใจฝึกตัวเอง มันจะผอมก็ช่างมัน มันจะเหนื่อยก็ช่างมัน มันจะตัวงอนั่งคอพับให้ตัวตรงขึ้น พยายามเเก้ใจของเรา ไม่ให้มีความยึดมั่นถือมั่นเสียสละ ตามปกติน้ำมันก็ชอบไหลลงจากภูเขาสูงสี่ที่ต่ำ มันก็ต้องพัฒนาใจ เราต้องพัฒนา เราอย่าไปคิดว่า เอ้ย... ปฏิบัติเมื่อไหร่จะได้หยุด คนอย่างนี้มันเป็นความเห็นผิด ให้มันเป็นเองโดยอัตโนมัติ เหมือนกับลมหายใจมันเป็นอัตโนมัติของมัน เรานั่งสมาธิอยากให้เป็นอย่างโน่นอย่างนี้ มันเลยมีเรื่อง
การประพฤติการปฏิบัติบูชานี้...ถือเป็นบุญใหญ่ เป็นอานิสงส์ใหญ่ ถ้าเราเป็นคนเสียสละ เป็นคนรับผิดชอบ เก่งในการรักษาศีล เก่งในการทำข้อวัตรปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ดีมาก "เราก็มาพัฒนาให้เก่งในการฝึกใจ ฝึกสมาธิ..." การนั่งสมาธิ จุดมุ่งหมายเราจะทำใจให้สงบ ทำใจให้เป็นหนึ่ง เราไม่ต้องไปสนใจเรื่องสี เรื่องแสง เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ ไม่ต้องไปรู้อะไร... พระพุทธเจ้าท่านให้เรารู้ 'ใจ' ของเรา ใจสงบก็รู้ ใจไม่สงบก็รู้ ลมเข้าละเอียดก็รู้ ลมออกละเอียดก็รู้ จิตใจมันนิ่งมันไม่ปรุงแต่งอะไรก็รู้ ฝึกไปปฏิบัติไป เพื่อให้จิตใจเรารู้ความสงบเป็นอย่างไร ให้มันชำนิชำนาญ
ครูบาอาจารย์น่ะท่านบอกท่านสอนให้เราพากันมารู้ตัวเอง ไม่ต้องไปอ่านหนังสือ ไม่ต้องไปคุยกับเพื่อน พยายามอยู่กับความสงบ พยายามอยู่กับตัวเองให้มากๆ ใจจะได้สงบลง เย็นลง ใจจะได้เจริญ 'สติปัฏฐาน' ทั้ง ๔ รู้กายตัวเอง รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ แต่ก่อนเป็นคนพูดมาก เป็นคนคิดมากฟุ้งซ่านก็มาฝึกสงบใจ เมื่อจิตใจของเราสงบ เมื่อจิตใจของเราเย็น ปฏิปทาของเราก็เปลี่ยนไป เคยเป็นคนพูดมากก็พูดน้อยลง เคยทะลุป่าทะลุดงก็น้อยลง "ฝึกปล่อย...ฝึกวาง...ฝึกมารู้ตัวเอง..."
เค้าถามว่ามาปฏิบัติธรรมได้อะไร...?
ปฏิบัติธรรมมันไม่ได้อะไร คือทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มีได้ ไม่มีเสีย มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ฝึกจิตใจของเราให้มันสงบ ไม่วิ่งตามอารมณ์ไป จะได้บุญใหญ่อานิสงส์ใหญ่ ต้องฝึกตนเองปฏิบัติตนเอง "ความดีเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกคนไม่อยากจะทำ"
“ความโลภ ความโกรธ ความหลง เปรต ยักษ์ อสุรกาย ที่มันอยู่ในจิตในใจของเรา มันก็ไม่อยากตาย ไม่อยากออกจากใจของเรา มันนอนเนื่องในสันธสันดานหลายภพหลายชาติแล้ว”
เราไปเอาความชอบไปความไม่ชอบ ไปเอาความอยาก ความไม่อยากเป็นที่ตั้งไม่ได้ แล้วพระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราตามเปรต ยักษ์ อสุรกาย ให้เรากลับมาหาศีลหาธรรมหาคุณธรรม ท่านพาเราประพฤติพาเราปฏิบัติ พาเข้าหาความสุข ความดับทุกข์ คือ 'ความสงบ' เอาพระพุทธเจ้าพระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นที่ตั้งเป็นที่ปฏิบัติ จิตใจของเรา ทุกท่านถึงจะได้เข้าถึงมรรคผลพระนิพพานด้วยกันทุกท่านทุกคน...