แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันพุธที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตใหม่ที่เลือกได้ ตอนที่ ๓๒ ทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุมีผลเป็นปฏิจจสมุปบาท เมื่อได้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง จึงจะเห็นพระพุทธเจ้าองค์จริง
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
การปฏิบัติ พระพุทธเจ้าให้เราปฏิบัติที่ปัจจุบัน อดีตก็ปฏิบัติไม่ได้ อนาคตก็ปฏิบัติไปไม่ได้ ต้องปฏิบัติที่ปัจจุบัน ให้เอาธรรมเป็นหลัก ละซึ่งตัวซึ่งตน เรียกว่า ธรรมวินัย เรียกว่า พรหมจรรย์ เราหยุดตัวหยุดตน สำหรับประชาชนผู้ครองเรือนก็ศีล 5 ผู้ที่ยังมีภาระที่ต้องดูแล ดูแลพ่อดูแลแม่ ดูแลญาติ ดูแล วงศ์ตระกูล สำหรับพระภิกษุ สามเณร ก็เอาศีลของนักบวช สิกขาบทน้อยใหญ่ เพราะอันนี้เป็นยาน ที่จำนำเราออกจากวัฏฏะสงสาร ออกจากวัฏฏะ ปิดอบายมุข ปิดอบายภูมิ
ปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญ เราทุกคนต้อง control ตัวเองให้ได้ อันไหนไม่ดีไม่คิด อันไหนไม่ดีไม่พูด อันไหนไม่ดีไม่ทำ ต้องประพฤติต้องปฏิบัติในปัจจุบันให้ได้ ต้องมีสัมมาสมาธิ อย่าไปใจอ่อน สมาธิเป็นพื้นฐาน เรียกว่าสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ธรรมชาติ เป็นศีลที่เป็นธรรมชาติ เป็นปัญญา เรียกว่า อริยะมรรคมีองค์ 8 เป็นธรรมชาติ ทุกท่านทุกคนต้องเสียสละ ซึ่งตัวซึ่งตน ต้องละสักกายทิฏฐิ ซึ่งตัวซึ่งตน เพราะเราไม่ทำอย่างนี้ไม่ได้ ถ้างั้นเราจะทำอย่างไง ทำอย่างไงก็ไปไม่ได้ เพราะมันไม่ถูก
ทุกคนถึงต้องมาตั้งมั่นในพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมีตั้งหลายล้านชาติ มาตรัสรู้มาเป็นพระพุทธเจ้า สมบูรณ์ทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะ เป็นตัวอย่างแบบอย่างทั้งภาคปฏิบัติ ทั้งภาคความรู้ความเข้าใจ เราทุกคนถึงเป็นคนที่โชคดี โชคดีมากที่สุด ทุกท่านทุกคนน่ะ ไม่ต้องไปลังเลสงสัย ไม่ต้องไปลูบคลำในศีล ยึดมั่นในตัวตนอย่างนี้ มันก็ไม่ใช่หรอก เราทานอาหารเราพักผ่อนเราทำอะไรทุกอย่าง เราก็แก่ เราก็เฒ่า เราก็ตาย ทุกท่านทุกคนต้องเข้าใจ เราจะได้รู้จัก ไฟต์ติ้ง ไฟต์หยุดโลก หยุดวัฏฏะสงสาร เราจะทำตัวอย่างนี้ไม่ได้ ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ในอริยะมรรคมีองค์ 8 ถึงมีแต่สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง ทุกอย่าง กำกับชีวิตของเรา เราไปประมาทไปเพลิดเพลินไม่ได้ เพราะเราทำถูกต้องมันไปตามหลักเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์ มันก็ย่อมได้รับความสุขความสะดวกสบาย ก็ยังดีกว่าสัตว์เดรัจฉานอื่นน่ะ สัตว์เดรัจฉานอื่นมันทำบ้านไม่เป็นนะ ทำไร่ทำนา ทำรถทำเครื่องบิน ทำคอมพิวเตอร์ไม่เป็นน่ะ
เราอย่าพากันหลง เพราะอย่างนั้นเราก็จะเป็นมนุษย์ที่ไม่ฉลาด เป็นมนุษย์ยังหลงอยู่ ไก่มันฟักไข่ 3 อาทิตย์ถึงออกลูกเป็นตัว หรือ มนุษย์จะฟักไข่ด้วยไฟฟ้า ก็ 3 อาทิตย์ การประพฤติการปฏิบัติเราต้องรู้จัก ไฟท์ของเราในปัจจุบันนี้เราต้องปฏิบัติให้ได้ สละอดีตมันไป อนาคตก็คือปัจจุบันเราตั้งไว้คือพระนิพพาน คือดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ การทำงานของเราก็มีความสุขอยู่แล้ว เพราะเราทำเพื่อมาเสียสละ มันก็จะไปของมันอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนั้นมันถึงมี ถ้าสิ่งนั้นมันไม่มีแล้ว เราก็ต้องหยุดให้อาหารมันก็ไปอย่างนี้แหละ เรื่องจิตเรื่องใจมันไม่ชัดเจนเราก็ภาวนาไปพิจารณาไป สู่พระไตรลักษณ์ มันมาเห็นอะไรไม่เที่ยง ลมหายใจเข้าแล้วไม่ออกมันก็ตาย ออกแล้วไม่เข้ามันก็ตาย เราอยู่กับความไม่เที่ยงอยู่กับความไม่แน่ เราต้องเข้าใจ เรามองไปทางซ้ายมองไปทางขวาก็เห็นพระเทวทูตทั้ง ๔ เราจะได้เข้าถึงพระรัตนตรัย เราเข้าถึงความเป็นพระ เข้าถึงพระศาสนา อย่างนี้
เรามันสมบูรณ์ด้วยความสัปปายะ ธรรมะของพระพุทธเจ้า เราก็เป็นมนุษย์ก็สัปปายะแล้ว ถ้าเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ไม่สัปปายะ ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่ที่เรา ขึ้นอยู่ที่ปัจจุบันเรา เห็นความสำคัญที่จะแก้ไข ปรับปรุง ทุกท่านทุกคนถ้าจะเสียสละ ไม่เอาตัวตนเป็นหลัก มันก็ไม่เครียด เราต้องดีท็อกซ์กรรม ดีท็อกซ์เวร ดีท็อกซ์ความโง่ ดีท็อกซ์อวิชชา ความหลงไป เราต้องรู้จักหน้ารู้จักตามันให้ชัดเจน เราต้องทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ บ้านเราก็เอาไปไม่ได้ รถเราก็เอาไปไม่ได้ ร่างกายของเราเขาก็เอาไปเผา ญาติวงศ์ตระกูลเราก็ต้องจากกันไป เราจะมาห่วงอะไร ต้องสละ ละ วาง จิตใจของเราให้เข้าถึงธรรม ถึงปัจจุบันธรรม เพื่อวิมุตติ ความหลุดพ้น มันจะเด่นขึ้น พระพุทธเจ้าถึงให้ ตัดเสีย เราต้องทำอย่างนี้แหละ เราถึงจะได้รับอาหารทางจิตใจ เราทำอย่างนี้แหละ ใจเราจะได้กระปรี้กระเปร่า เราจะปล่อยให้ใจของเรามันผอมโซ โดยไม่ให้อาหารเลย ให้ได้รับแต่อวิชชา ได้รับแต่ความหลง นั้นไม่ได้
เราจะได้มีพระศาสนา มีธรรมะ ความเป็นพระมันไม่ได้เกี่ยวกับแบรนด์เนม ที่มาบวช ไม่เกี่ยวกับฆราวาส มันเกี่ยวกับที่ความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง ร่างกายของเราเอามาโกนหัวมันก็โกน เอามาห่มผ้ามันก็ห่มเฉย ความเป็นพระมันอยู่ที่ใจของเรา มีความเห็นถูกต้องมีความเข้าใจถูกต้อง ศีลสิกขาบททุกข้อน่ะ คือจะให้เราเสียสละละตัวละตน เราต้องมีความสุขในการรักษาศีล เราต้องมีความสุขในการตั้งมั่น เราคิดดูพระพุทธเจ้านั้น เราเห็นธรรม เราก็เห็นพระพุทธเจ้าชัดเจนหน่ะ เราจะได้ชัดเจน หืมมม พระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้เอง พระอรหันต์เป็นอย่างนี้เอง แล้วก็เห็นท่านเดินท่านยิ้ม ใจของเรามันเห็น ปัญญาของเรามันเห็น
หลวงพ่อพุทธทาสอธิบายว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม ธรรมชนิดที่เห็นแล้ว คือ เห็นพระพุทธเจ้า เมื่อมีธรรมชนิดนั้นอยู่ เชื่อว่ามีพระพุทธเจ้า หรือว่าอยู่กับธรรมชนิดนั้นชื่อว่าอยู่กับพระพุทธเจ้า นี่...ทำไมไม่สนใจ ธรรมข้อนี้ยังมีใจความที่ขยายออกไปอีกว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาทผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท ก็พูดอย่างที่ใครๆ ก็มองเห็นได้ ไม่ใช่พูดอย่าง ก ข ค เหมือนอย่างที่วิทยาศาสตร์เขาว่า เห็นธรรมก็คือเห็นปฏิจจสมุปบาท เห็นธรรมก็คือเห็นพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเห็นพระพุทธเจ้าก็คือเห็นปฏิจจสมุปบาท ถ้าพูดแต่เพียงว่าเห็นธรรม ก็ยังนึกว่าธรรมอะไร แล้วก็มีคำตรัสที่ตรัสกำชับว่า เห็นปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละคือเห็นธรรม เพราะนั่นแหละเป็นชื่อของธรรมที่ว่าเห็นแล้ว คือ เห็นพระพุทธเจ้า
ปฏิจจสมุปบาทเรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิทัปปัจจยตา ที่จะดับทุกข์หรือปลดทุกข์ในใจของคนเราได้ นี่เรียกว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท เรียกสั้นๆ ว่า ปฏิจจสมุปบาท
เห็นปฏิจจสมุปบาทคือเห็นธรรม ก็คือเห็นกฎของปฏิจจสมุปบาท เห็นความจริงที่ปฏิจจสมุปบาทมันครองโลก มันครองคน หรือมันสิงอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง ถึงฝ่ายเกิด เมื่อมีการเกิดขึ้นมา ถึงฝ่ายดับ มันก็มีความดับลงไป ทุกข์ก็เกิดขึ้นเพราะอิทัปปัจจยตาฝ่ายเกิดทุกข์ ทุกข์ก็ดับลงไปเพราะอิทัปปัจจยตาฝ่ายดับทุกข์ อันนี้เป็นวิทยาศาสตร์ที่จะเผชิญหน้านักวิทยาศาสตร์ทั้งโลกได้ วิทยาศาสตร์กี่โลกๆ ก็ไม่ดี ไม่เหนือไปกว่าวิทยาศาสตร์เรื่องอิทัปปัจจยตา นั้นอย่าหาว่าพุทธศาสนางมงาย ไม่เข้าหลักวิทยาศาสตร์เหมือนคนเขลาๆ บางคน มันหลับตาพูด
การเห็นอิทัปปัจจยตานี้คือเห็นทุกอย่างก็ว่าได้ เพราะมันไม่มีอะไรที่มันไม่ใช่เป็นตัวอิทัปปัจจยตา นี้มันเป็นไปตามกฎแห่งอิทัปปัจจยตา แม้ว่าพระนิพพานจะไม่รวมอยู่ในคำว่า อิทัปปัจจยตา แต่การบรรลุนิพพานหรือถึงนิพพานนั้นก็ต้องเป็นไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา ใช้วิธีการของอิทัปปัจจยตาเป็นเครื่องปรับปรุงให้จิตใจนี้สูงสุด จนถึงกับบรรลุถึงนิพพาน ซึ่งอยู่นอกเหนือจากอำนาจของอิทัปปัจจยตา
เป็นอันว่าเรื่องอิทัปปัจจยตานี้มันเป็นทั้งหมดที่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับมนุษย์เรา ความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร จะดับไปอย่างไร หรือสิ่งต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงจะเกิดขึ้นอย่างไร จะเป็นไปอย่างไร จะดับลงอย่างไร นั่นคือตัวอิทัปปัจจยตา เราไม่เห็น เราใช้มันไม่ได้ เอามาใช้ประโยชน์ในการดับทุกข์ไม่ได้ มันเป็นความเขลา เกินกว่าความเขลา ถึงขนาดที่ต้องใช้คำว่า บรมโง่ ก็ยังไม่พอ บรมมหาโง่แสนจะโง่ กี่คำๆ มันก็ยังไม่พอ เพราะเหตุว่าอิทัปปัจจยตามันก็คือตัวเรานั่นเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มันเป็นตัวกูๆ ขึ้นมาเป็นคราวๆ นั้น นี่เป็นตัวอิทัปปัจจยตาตัวใหญ่ๆ แม้จะปล่อยไปตามธรรมดาสามัญ มันก็เป็นอิทัปปัจจยตา แม้นอนหลับอยู่มันก็เป็นอิทัปปัจจยตา ตื่นอยู่ก็เป็นอิทัปปัจจยตา นั่งร้องไห้อยู่ก็เป็นอิทัปปัจจยตา นั่งหัวเราะเหมือนคนบ้าอยู่ก็เป็นอิทัปปัจจยตา มันไม่มีอะไรที่ไม่ใช่อิทัปปัจจยตา แล้วทำไมไม่เห็น แล้วทำไมจึงเหลียวหาไปในทางอื่นในการที่จะแก้ไขปัญหาหรือดับทุกข์
ไอ้ความจริงมันอยู่ที่ตรงนี้ มันเกิดขึ้นเพราะสิ่งนี้ มันจะดับไปได้เพราะทำถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของสิ่งนี้ มันจึงเป็นสิ่งที่มีอำนาจเหมือนกับสิ่งที่เราสมมติเรียกกันว่า พระเป็นเจ้า ให้ทุกข์ก็ได้ ให้สุขก็ได้ หรือทำให้เหนือทุกข์ เหนือสุขไปเลยก็ได้ แล้วจะเอายังไงกันอีกล่ะ
เราเกิดมาในท่ามกลางสิ่งเเวดล้อมอะไร ก็ต้องจับหลักจับประเด็นให้ได้ เอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก เป็นประเด็น ถ้าไม่งั้นเราจะไปเเก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะว่าผู้มาบวชก็ยังละพยาบาทไม่ได้ ยังละทางโลกไม่ได้ ยังหลงยินดี หลงลืมศีลทางจิตทางใจ ศีลจึงจะเป็นสิ่งที่จะคุ้มครองเราอย่างละเอียด เมื่อใจของเราคิด ใจของเราปรุงเเต่ง เราจะไปปฏิบัติยังไงมันก็ไม่ได้ผล เพราะโจรมิจฉาทิฏฐิมันอยู่กับเรา เราเเก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ใจเราไปยินดีในรูปไปเรื่อย ยินดีในเสียงไปเรื่อย ยินดีในของเอร็ดอร่อยไปเรื่อย
เราต้องทำติดต่อต่อเนื่องกัน เหมือนกับเราทำฝายน้ำ ทำติดต่อต่อเนื่องกัน ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวฝายก็เป็นเขื่อนที่ปัจจุบัน เราไปท้อใจไม่ได้ ต้องอยู่ที่ปัจจุบัน เราอย่าไปท้อใจเหมือนคนปลูกต้นไม้ ไม่ยอมปลูก คิดไปว่าอีกหลายปีมันถึงจะโต อย่างนี้เลยไม่ปลูก เพราะลึกๆ เเล้ว มันไม่ละอายต่อบาป ไม่เกรงกลัวต่อบาป มันจะไปเอาพระนิพพาน มันก็ยากเกิน มันยังกล้าคิดในสิ่งที่ไม่น่าคิด มันยังนึก มันยังระลึกถึงสิ่งที่ไม่น่าระลึก เราต้องรู้จัก อาการของจิตของใจ เราจะปล่อยเค้าสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างภพ สร้างชาติอยู่อย่างนี้หรือ ไม้ขีดไฟติดไฟอันเดียวก็สามารถเผาไหม้ทั้งบ้านทั้งเมืองได้ ความคิดที่เล็กน้อยก็ค่อยๆ ขยายไปเป็นเรื่องใหญ่ มันต้องให้ความสำคัญในความคิด อย่าปล่อยให้ตัวเองคิด ชักศึกเข้าบ้าน ชักโจรเข้าบ้าน ชักมารเข้ามาในใจ เพราะความคิดอย่างนี้ มันทำให้ทุกคนเศร้าหมอง ทำให้นักปฏิบัติไม่ก้าวหน้า เพราะจากความคิดที่ยังคิดผิดอยู่ ยังตริตรองผิดอยู่
ถามว่า ทำไมจะว่าไม่คิด เราก็ไม่คิด เพราะเรื่องจิตเรื่องใจมันเรื่องของเรา ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น ไม่เกี่ยวข้องกับคนอื่น เกี่ยวข้องกับเราเอง ว่าสิ่งนี้คิดไม่ได้ สิ่งนี้นึกไม่ได้ ตรึกไม่ได้ ในทางความคิด เราจะได้ละความเคยชิน ที่มันมาที่มันเคยเกิดประจำ การจะหยุดความเคยชินที่มันท่องเที่ยวในวัฏฏะสงสาร ด้วยการภาวนาวิปัสสนา ยกสิ่งเหล่านี้สู่พระไตรลักษณ์ว่า อันทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ไม่เเน่ไม่เที่ยงเราอย่าไปตามความคิด ตามอารมณ์ มันจะก่อภพ ก่อชาติ ก่อวัฏฏสงสารให้เรา
ให้เราพากันเข้าใจพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเน้นที่ปัจจุบัน การบรรลุมรรคผลนิพพานเน้นที่ปัจจุบัน ปัจจุบันจะเป็นรากฐานของอนาคต พุทธบริษัทในเมืองไทย พระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา นึกว่าชีวิตเรานี้เพื่อสร้างบารมี ไม่ใช่เพื่อมรรคผลพระนิพพานในปัจจุบัน เหมือนครั้งพุทธกาล การปฏิบัติมันต้องเน้นที่ปัจจุบันต้องตั้งใจต้องสมาทาน ในเมืองไทยถึงมีประชาชน นึกว่าชาตินี้ไปพระนิพพานไม่ได้ คนไทยที่เป็นชาวพุทธมีความเชื่อว่า การบรรลุพระนิพพานคงต้องรอหลังจากตายแล้ว และต้องเวียนว่ายตายเกิดกันอีกหลายภพชาติจึงจะลุถึงภาวะพระนิพพาน ดังเมื่อมีการทำบุญเสร็จแล้ว และจะตั้งจิตอธิษฐานก็มักอธิษฐานกันว่า 'นิพพานปัจจโย โหตุ เม อนาคตกาเล' (ขอให้บุญที่ข้าพเจ้าทำไว้จงเป็นปัจจัยให้บรรลุพระนิพพานในอนาคตกาลโน้นเทอญ) ทั้งๆ ที่คนสมัยพระพุทธเจ้าท่านไม่อธิษฐานกันอย่างนี้ หากแต่อธิษฐานว่า 'ตุมเหหิ ทิฏฐธัมมัสสะ ภาคี โหมิ' (ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีส่วนได้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่ท่านได้บรรลุแล้วด้วยเถิด) ถึงจะอนาคตเเต่มันก็ต้องอยู่ที่ปัจจุบัน เพราะพระหรือโยม ไม่คิดว่าปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน เค้าถึงมีการบวชเพื่อสร้างบารมี ให้พากันคิดใหม่ตั้งใจใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีความสงสัยว่าตายเเล้วเกิด หรือตายเเล้วสูญ หรือโลกเที่ยง ความคิดอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องดับทุกข์ เรื่องดับทุกข์ มันต้องเน้นที่ปัจจุบัน
ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้องเหมือนเรามีความสุขในการเรียนหนังสือในการทำงานขยันอดทนรับผิดชอบอย่างนี้ มันก็จะไม่มีความทุกข์เพราะความทุกข์มันอยู่ที่เราเป็นมิจฉาทิฏฐิ อย่างผู้ถือศีลและพฤติปฏิบัติธรรม ก็คิดว่า เอ๊ะเราจะมารักษาศีลห้าศีลแปดทำไม คนอื่นส่วนมากทั้งโลกไม่เห็นทำกัน เพราะเอามิจฉาทิฏฐิมาเป็นตัวตัดสินเพราะเราไม่รู้จักความสุขเรื่องและความเห็นแก่ตัวเรื่องพระนิพพาน เอาแต่ความสุขทางร่างกายทางเนื้อหนังมังสา ทางกามารมณ์กามคุณ
นักบวชก็ยังไม่รู้จักเรื่องพระนิพพาน นักบวชก็ต้องรู้พระนิพพาน ประชาชนก็ต้องรู้เรื่องพระนิพพาน เราจะได้พากันประพฤติพากันปฏิบัติ ถ้าเขารู้ เขาคงไม่หลงในกามหรอก ไม่เพลิดเพลินในกามหรอก ถ้าเขารู้แล้วเขาคงไม่ทะเลาะกัน ไม่แย่งยศ ไม่แย่งตำแหน่งกัน เหมือนคนเขาทะเลาะกัน เขารู้แล้วเขาจะไม่ทะเลาะกัน เหมือนตัวเรานี้ เราก็ไม่รู้หรอก ถ้ารู้แล้วเราจะไปคิดเรื่องที่ไม่ดีทำไม จะทำสิ่งที่ไม่ดีทำไม พูดสิ่งที่ไม่ดีทำไม แสดงว่าเรายังไม่รู้อารมณ์ทางกามคุณ กามารมณ์มันมีอิทธิพลเหนือกว่า แสดงว่ายังไม่รู้อริยสัจ ๔ ผู้ที่รู้อริยสัจ ๔ พอเห็นทางซุปเปอร์ไฮเวย์ก็จะเดินไป เริ่มต้นจากพระโสดาบัน
ที่เราไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตายแสดงว่าเราไม่รู้ คนที่เห็นแก่ตัวชอบคิดเสมอว่า ถ้าตายแล้วไม่เจ็บไม่ปวดหน่ะดี คิดอย่างนี้ก็แสดงไม่มี ถ้าไม่มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย พระนิพพานจะมาจากไหน
ศีลนี้เป็นความประพฤติเป็นภาคประพฤติภาคปฏิบัติของเรา สมาธิคือความตั้งมั่น ปัญญาคือเราต้องรู้จักอริยสัจสี่ ธรรมาธิปไตยคือศีล คือสมาธิ คือปัญญา ทุกท่านทุกคนไม่ว่าจะเป็นนักบวช ข้าราชการ นักการเมือง พ่อค้า ประชาชน คือผู้ที่จะเอาธรรมาธิปไตย เอาธรรมะ เพราะว่าต้องมีสัมมาทิฏฐิเยอะๆ ถ้างั้นมันจะพัฒนาองค์กรเข้าสู่ความประเสริฐที่เราได้เกิดเป็นมนุษย์ไม่ได้
ผู้ที่รักษาศีลพรหมจรรย์เป็นภิกษุสามเณรต้องพากันเข้าใจความหมายของพระพุทธศาสนา คำว่าพระคือพระธรรมพระวินัย พระธรรมพระวินัยนั้นคืออริยมรรค คือข้อวัตรคือข้อปฏิบัติ เป็นกระบวนการเป็นมรรคเป็นผลเป็นนิพพาน ต้องเริ่มต้นจากความเห็นถูกต้องปฏิบัติถูกต้องและปฏิบัติถูกต้อง เพื่อเราจะได้ปฏิบัติตัวเอง 100% ต้องเริ่มจากความคิด เพราะว่าทุกอย่างมันอยู่ที่สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง ที่ยังเอาใจตัวเองยังเอาอารมณ์ตัวเองเอาความรู้สึก แสดงถึงเรายังไม่ได้เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นบ้างนิดหน่อยๆ ศีลเราเลยด่างพร้อย บางคนขาดจากพระภิกษุ เมื่อเราไม่มีความตั้งใจ ไม่มีเจตนาเต็มร้อย ถือว่าเรายังตกอยู่ในกามสุขัลลิกานุโยค หมกมุ่นในกาม เราก็ไม่สามารถจะบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ผู้ที่มาบวชก็เลยไม่ได้เป็นพระธรรมพระวินัย เป็นแค่ภิกษุเป็นเพียงสามเณรเป็นผ้าขาวแม่ชี ไม่เข้าสู่กายวิเวก ถ้าไม่เอาธรรมเอาวินัย 100% ด้วยความตั้งใจด้วยเจตนา เราก็จะไม่เข้าสู่กายวิเวกเพราะเรายังคิดเรายังยินดีในกาม หมกมุ่นในกาม
ต้องเป็นคนซื่อสัตย์ ปฏิบัติตามรอยของพระพุทธเจ้า ใครจะฉลาด ไม่ฉลาด จะหัวดี ไม่หัวดี ไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราเป็นคนซื่อสัตย์ คนซื่อสัตย์ต่อพระพุทธเจ้าจะไม่ไปคิดเรื่องอยากได้เงินได้ทอง ไม่มีใจไปคิดเรื่องผู้หญิงเรื่องกินเรื่องเที่ยว คนซื่อสัตย์จะไม่คิดไม่พูดไม่ทำแบบนี้ ต้องเป็นผู้ซื่อสัตย์ เกรงกลัวต่อบาปละอายต่อบาป ไม่คิดเรื่องไปในทางกาม ไม่คิดเรื่องผู้หญิง เรื่องกามคุณ แม้กระทั่งเรื่องเสพเรื่องกินเรื่องเที่ยวที่ผ่านมาก็ตามที ต้องไม่คิด จึงเป็นการพัฒนาไปสู่ความซื่อสัตย์ มันมีอย่างที่ไหนเราบวชเป็นพระยังไม่เกรงกลัวต่อบาปไม่ละอายต่อบาป ยังคิดถึงสาว คิดชอบสาวอยู่ อย่างนี้คือคนไม่ซื่อสัตย์ คิดเรื่องเงินเรื่องทองเรื่องยศตำแหน่งสรรเสริญ ไม่มีใครจะบรรลุธรรมได้เลยถ้าไม่ซื่อสัตย์ อย่างระบบความคิดระบบความเห็นของที่วัดเรา องค์พ่อแม่ครูบาอาจารย์ไม่ให้มีโทรศัพท์ เราก็ยังคิดแต่ว่าวัดนั้นก็ยังมีวัดนี้ก็ยังมีวัดนั้นก็ยังโทร เราจะไปเอามาตรฐานของที่อื่นไม่ได้ มันคือการยังยินดีในกาม ใครจะไปทำอย่างนั้นก็ช่างหัวมัน พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้เราคิดไม่ได้ให้เราทำอย่างนี้
พระวินัยทุกข้อคือธรรมะ ธรรมะนั้นคือพระวินัย มันเป็นกายวิเวก หลวงปู่ชา หลวงตามหาบัว เจ้าคุณพุทธทาส ท่านถึงเน้นเรื่องโทรศัพท์มือถือ พวกอินเทอร์เน็ต เฟสบุ๊ค คอมพิวเตอร์เหล่านี้เปรียบเหมือน ศาสตราวุธที่เราใช้แล้วมันทำร้ายตัวเองทำลายกุลบุตรลูกหลานผู้ที่ยังมีอินทรีย์อ่อน เพราะพระเรานี้พระภิกษุเหล่านี้แหละอย่าใจอ่อน พวกที่บวชมายังไม่มีโอกาสพิจารณาพระกรรมฐาน ไม่ได้เจริญอานาปานสติ ไม่ได้พากันตั้งอยู่ในพุทโธ เพราะใจมันหยาบ เพราะใจมันสกปรกใจมันไม่วิเวก ให้เข้าใจนะ พวกนี้แหละไม่ได้เข้าสู่กายวิเวก ผู้ที่ติดหมกมุ่นอยู่ในกาม มันต้องเข้าสู่กายวิเวก มันต้องหยุดพวกนี้ก่อน ผู้บวชก่อนต้องเป็นตัวอย่างแบบอย่างผู้ที่บวชภายหลัง ต้องพากันตั้งมั่น มรรคผลนิพพานจะหมดสมัย เพราะเราพากันยินดีในกามหมกมุ่นในกาม เราจะพากันมองหน้ากันคนนี้ก็ทำ คนนั้นก็ทำ ก็รู้แก่ใจอยู่แล้ว พระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเคราพบูชา พระธรรมคำสอนเป็นสิ่งที่ควรเคารพบูชา ถ้าอย่างงั้นเราไม่ต้องไปหาพระอลัชชีที่ไหนหรอก อลัชชีที่ตัวเราทุกคนนี่แหละ เป็นผู้ที่ไม่ละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป รู้อยู่แต่ก็ยังขืนทำ พระพุทธเจ้าถึงให้เรากลับเนื้อกลับตัวกลับกาย ปัจจุบันนี้เราเป็นคนใจอ่อนเสียเพราะความใจอ่อน เสียเพราะพี่น้องญาติวงศ์ตระกูลพรรคพวก หมู่มวลมนุษย์ทั้งหลายที่ใจอ่อนต้องมีพรรคมีพวกที่เรียกว่าใจของเรายังอยู่ในแก๊งค์ หากใจอ่อนก็ละสิ่งเสพติดที่เรียกว่ากามไม่ได้ ทุกท่านทุกคนพระพุทธเจ้าให้เราละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป
ความสุข ความดับทุกข์ของเราทุกคนอยู่ที่ใจสงบ ไม่ว่าเราจะเป็นคนรวย เป็นคนจน เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่แข็งแรง ความสุขความดับทุกข์มันอยู่ที่ใจสงบ พระพุทธเจ้าท่านถึงได้มีเมตตาสอนเราให้พากันมีสติ มีสัมปชัญญะให้พากันฝึกปล่อยฝึกวางในเรื่องความยึดมั่นถือมั่น
ที่มันเป็นอดีต... 'อดีต' คือกรรมเก่าที่พวกเราพากันยึดถือ ถ้าเราไม่ฝึกปล่อย ไม่ฝึกวาง มันก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยสนับสนุนกรรมใหม่ไปเรื่อยๆ สิ่งที่เป็นอดีตที่ผ่านไปแล้ว ที่มันเป็นสิ่งที่ดี...ไม่ดี พระพุทธเจ้าให้เราปล่อยวางให้หมด พยายามมีสติ มีสัมปชัญญะ พยายามทำใจของเราไม่ให้มีทุกข์ ทำใจให้เบิกบาน ผิดก็เป็นครู ถูกก็เป็นครู สิ่งที่แล้วก็แล้วไป พยายามใหม่ ตั้งใจใหม่ มาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ตั้งมั่นในความดี สมาทานความดี เป็นผู้ที่มีความละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป มีความอด มีความทน ถ้าเราเชื่อตัวเราเอง เชื่อใจของเราเองนั้นไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านให้เราเอาศีลเอาธรรมเป็นหลัก
เรารู้ เราเห็น เราเข้าใจนั้น มันยังใช้ไม่ได้ เราต้องเอาความรู้ความเห็นมาประพฤติปฏิบัติ ทุกท่านทุกคนนั้นต้องปฏิบัติ...มันถึงจะเป็นเหมือนเขาจะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ เป็นผู้ที่ชำนาญ ผู้ที่เป็นหมอก็ไปเรียนทางด้านเป็นหมอ ผู้ที่เป็นวิศวกรก็ไปเรียนวิศวกร ผู้ที่เป็นเกษตรกรรมก็ไปเป็นเกษตรกรรม ผู้ที่ค้าขายก็ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่ค้าขาย บุคคลผู้นั้นถึงจะเป็น ถึงจะเชี่ยวชาญ เราทุกคนก็เหมือนกันที่ได้มรรคผลพระนิพพานก็ต้องเรียนรู้ต้องเข้าใจและประพฤติปฏิบัติ อบรมบ่มอินทรีย์ไปเรื่อยๆ
พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี" เรื่องจิต เรื่องใจ เรื่องคุณธรรมนั้น ไม่มีใครมาแต่งตั้งให้เราได้ นอกจากประพฤติปฏิบัติของเราเอง เขาแต่งตั้งให้เราเป็นพระเป็นเณร เป็นแม่ชี มันก็เป็นแต่เพียงภายนอก ให้ทุกท่านทุกคนให้เข้าใจดีๆ ว่า เราทุกคนต้องประพฤติปฏิบัติเอง หายใจเข้าออกเอง พักผ่อน รับประทานอาหารเอง ที่พึ่งแท้จริงของเรา ก็คือศีล คือสมาธิ คือสติสัมปชัญญะ ปัญญาต้องเข้าใจ เรื่องกิเลส เรื่องความอยาก เรื่องความหลงของเรา
ทุกท่านทุกคนมันมีความหลง มันถึงมีความโลภ ความโกรธ มันมี 'อวิชชา'มีความไม่เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เราพามาประพฤติปฏิบัตตามอริยมรรคองค์ ๘ ประการ ที่ประกอบด้วยความคิด จิตใจ กาย ประกอบกับการทำงาน เพื่อให้เราทุกๆ คนได้ตั้งมั่นในธรรม และจะได้เข้าถึงคุณธรรม ถ้าเราประพฤติปฏิบัติอย่างอื่นมันไม่สามารถพาเราเข้าสู่ความดับทุกข์ที่แท้จริงได้
ผู้ปฏิบัติน่ะ ปฏิบัติไป ทำความเพียรไป ยิ่งไม่เข้าใจ เพราะว่าทำเพื่อเอา เพื่อมี เพื่อเป็น เพื่อบรรลุธรรม ไม่ได้ทำเพื่อเสียสละ ละตัวละตน ไม่ได้ทำเพื่อที่สุดของกองทุกข์น่ะ....หนทางเราเลยมืดบอด เราทำเหมือนกันแต่จิตใจมันไม่เหมือนกัน อย่างเราทำงานก็เพื่อเสียสละ เราทำเพื่อปล่อยเพื่อวาง เพื่อไม่มีไม่เป็น เพื่อไม่หวังอะไรตอบแทน สิ่งที่เราจะได้มาก็คือ มรรคผลนิพพาน และทรัพย์ ข้าวของ โดยได้ทั้งทรัพย์ ได้ทั้งอริยทรัพย์
ถ้าเราทำถูกมันก็มีความสุข มีความดับทุกข์ มันก็ดีไปหมด มันก็เข้าถึงพระนิพพาน ตั้งแต่ยังไม่ตาย...ขณะนี้เดี๋ยวนี้ มันก็ชำนิชำนาญไปเรื่อยๆ ไม่ต้องไปวิ่งหาธรรมะที่ไหน เพราะมันอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เราก็จะไม่ต้องหนีงาน หนีการ หนีสังคม เราก็จะได้ละความถือละตัวละตน ที่เราพากันแบกไว้ในจิตในใจให้มันหนักหัวสมอง
เรื่องต่างๆ ไม่ว่าสิ่งที่ดี...ไม่ดี ที่มันเกิดในชีวิตประจำวันของเรา มันทำให้เราได้ฝึกทำจิตทำใจ พระพุทธเจ้าท่านให้เราประพฤติปฏิบัติที่จิตที่ใจ ที่กาย วาจา ใจของเรา ที่สุดของความดับทุกข์มันก็จะผ่านไปทุกขณะจิตไปเรื่อยๆ อินทรีย์บารมีเราก็แก่กล้าเข้าไปเรื่อย เช่น ถ้าเราประพฤติไปยิ่งงง คนเราถ้าใจไม่สงบ มันก็เหมือนคนตาบอดนี่แหละ
ทุกท่านทุกคน... พระพุทธเจ้าท่านให้เราพากันปฏิบัติ ไม่ว่าเป็นพระ เป็นเณร เป็นชี เป็นญาติโยม เพื่อจิตใจของเรา ทุกๆ คนก็มีโอกาส มีเวลาเท่าๆ กัน ทุกๆ คนก็ทำไป... เสียสละไป... เราจะเอาความสุข ความดับทุกข์ในเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญนั้นมันมีแต่ความเสื่อมความสลาย พยายามสร้างอริยทรัพย์ที่มันไม่เสื่อม...ไม่สลาย
ทุกคนอยากได้มรรคผลนิพพาน แต่มันก็ขาดเหตุปัจจัย คือการประพฤติปฏิบัติที่สม่ำเสมอ สมาธิของเราทุกคนต้องแข็งแรง เราต้องตั้งมั่นไว้นานๆ ไว้ตลอดกาล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญาต้องสมดุลกัน จะได้มีผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าเราเอาแต่สงบ มันก็เหมือนอาหารที่แช่ในตู้เย็น มันไม่สด ไม่เป็นธรรมชาติศีล สมาธิ ปัญญาของเราต้องควบคู่กันไป จะได้เกิดอริยมรรคมีองค์ ๘
เราสังเกตตัวเราให้ดี เวลาเราไม่เครียดเราทำใจอย่างไร เวลาเราเครียดเราเป็นอย่างไร เราต้องสังเกตดูเราจะได้รู้จักการวางจิตวางใจ เราจะได้ทำที่สุดแห่งกองทุกข์ให้มันถูกต้อง
เรื่องความเครียด เรื่องความทุกข์ในชีวิตประจำวันของเรานี้สำคัญ ทำอย่างไรมันถึงจะไม่เครียด ถ้าเราตึงเกินไปมันก็เครียด ถ้าเราหย่อนยาน มันไปทางความหลง ความโลภ
พระพุทธเจ้าท่านให้เราสังเกตตัวเอง จะได้รู้จักทางสายกลาง ประเด็นแรกก็ต้องยึดยานพาหนะ ได้แก่ ศีล สมาธิ เพื่ออาศัยรูปแบบที่เค้าทำพิมพ์ไว้แล้ว เราประพฤติปฏิบัติไป แล้วเราก็เข้าใจเอง ถ้าใจของเราไม่สงบ เราก็ไม่เข้าใจน่ะ เมื่อใจของเราสงบแล้วเราก็พากันเข้าใจเอง
จึงสรุปได้ความว่า ความสุข ความดับทุกข์ของเรา ก็คือ ใจสงบ
ใจสงบ' นั้นได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นคือ อริยมรรคทั้ง ๘ ประการ ที่เราทุกคนจะต้องประพฤติปฏิบัติ โดยไม่มีการยกเว้นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง...