แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตใหม่ที่เลือกได้ ตอนที่ ๒๗ ชีวิตของเรามีจำกัด เราต้องมาสร้างประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
เราทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์เป็นผู้ที่ประเสริฐ ต้องเอาธรรมะเป็นหลัก เอาธรรมะเป็นใหญ่ เอาธรรมะเป็นที่ตั้ง เอาธรรมะเป็นการดำเนินชีวิตไม่มีสิ่งไหนที่จะประเสริฐกว่านี้ เราต้องเข้าสู่ธรรมะ คือเราต้องพัฒนาทางวิทยาศาสตร์พัฒนาทั้งใจไปพร้อมๆ กัน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากเหตุเกิดจากปัจจัย เวลาจะดับก็ต้องดับที่เหตุที่ปัจจัย เราต้องพาลูกพาหลาน ญาติพี่น้องเข้าสู่พระรัตนตรัย เข้าสู่อริยมรรคคือหนทางอันประเสริฐ มีความสุขในการประพฤติในการปฏิบัติในปัจจุบัน
ปัจจุบันนี้คือการปฏิบัติของเรา เราต้องมีความสุขในการที่จะหยุดอบายมุขอบายภูมิ มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง มีความสุขอย่าง 100% ในการประพฤติในการปฏิบัติอย่าไปมีความลังเลสงสัย เพราะเราจนก็ไม่มีใครมาจนให้ เราจะเวียนว่ายตายเกิด ก็ไม่มีใครมาเวียนว่ายตายเกิดให้ ทุกคนต้องเข้าใจ เพราะลูกเราหลานเรา ถ้าเราไม่เป็นตัวอย่างแบบอย่าง มันก็ไม่ได้ เพราะเป็น DNA เป็นกรรมเป็นกฎแห่งกรรม เราต้องมีความสุขในการทำงานกับการปฏิบัติธรรมต้องไปทางเดียวกันอย่างนี้แหละ เพราะวันหนึ่งคืนหนึ่ง เราต้องเข้าสู่ภาคปฏิบัติ เราจะได้เป็นคนมีสุขภาพจิตดี ทำงานเราจะได้มีความสุข เราจะได้บอกลูกบอกหลานให้มีความสุขในการเรียนการศึกษา เพราะความสุขมีอยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้อยู่ที่อื่น ให้ลูกให้หลานเรารู้จักอบายมุขอบายภูมิ เพราะบ้านเราเมืองเรา โลกเรา เป็นความเสียหายเป็นความหายนะที่เกิดมาจากอวิชชาความหลงที่มันมีอำนาจ
เราต้องเข้าใจ ต้องเดินตามพระรัตนตรัย ลูกเราหลานเราต้องมีความสุขในระบบการคิดดีๆ พูดดีๆ ทำดีๆ ทำงานมีความสุข ไม่ได้สู้กับใครหรอก สู้กับตัวเอง หลงทางเสียเวลา หลงลืมพัฒนาตนเองก็ไปแก้ไขแต่สิ่งภายนอก เราต้องเข้าใจ เพราะหัวดีอยู่แล้ว ถ้าเอาไปใช้ในทางไม่ดีอย่างนี้ มันก็เสียหาย ต้องเอาอย่างนี้ เราจะได้มีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เราต้องดำเนินไปอย่างนี้แหละ ความสุขความดับทุกข์อยู่อย่างนี้ ความเป็นพระหรือพระธรรมพระวินัยมันจะไปอย่างนี้แหละ มันจะไม่ได้มัวแต่มาถือแบรนด์เนมอย่างนี้ ไม่ต้องมาเป็นเจ้าบุญทุ่มอย่างนี้ อย่างเลือกผู้ใหญ่บ้าน ก็ทุ่มเงิน เลือกกำนันก็ทุ่มเงิน เลือก อบต. เลือกตั้งอะไรก็ทุ่มเงิน เลยเป็นเจ้าบุญทุ่ม ความเห็นแก่ตัวนี่มันร้ายกาจมาก การเรียนการศึกษาก็เลยเรียนไปเพื่อความพินาศ ไม่ได้เรียนไปเพื่อแก้ไขตนเอง ไม่มีความสุขในความเป็นมนุษย์ที่ประเสริฐ มาเป็นได้แต่เพียงคน อย่างนี้ไม่เอา ข้าราชการก็ต้องเป็นข้าราชการ นักการเมืองก็ต้องเป็นนักการเมือง เพราะต้องไปตามกฎแห่งกรรม จะมาเป็นเจ้าบุญทุ่ม ทุ่มเงินทุ่มสตางค์ ทุ่มเงินเรียนในกรุงเทพฯ ในเมืองนอก ทุ่มเงินทุ่มสตางค์เพื่อความเห็นแก่ตัวแบบนี้ ก็ไม่ดี เป็นผู้พิพากษาอัยการตำรวจก็ต้องมีความสุขในการทำงาน เพราะชีวิตของเรามีจำกัด เราต้องมาสร้างประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท เราจะไม่ได้มองทางซ้ายทางขวาทางหน้าทางหลังมีแต่แบบนี้ มันจะมีประโยชน์อะไร มีแต่ความพินาศมีแต่ความหายนะ เราต้องเข้าใจนะ
คนเราวันหนึ่งคืนหนึ่งมันมี 24 ชม. 1 ชม. มันมี 60 นาที 60 นาที มี 3600 วินาที แต่ละวันมันก็เหมือนกับภาพถ่ายนี้แหละ เราคิดอย่างนี้ ถูกต้องแล้ว ปฏิบัติถูกต้อง อีกกี่ครั้งกี่นาที เราปฏิบัติอย่างนี้ๆ เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนั้นมันถึงมี
คนเรามันคิดไม่เป็นอย่างที่เค้าไปเรียนเรื่องการเงิน เค้าก็ไปสอนเรื่องเงินเรื่องการใช้จ่ายเงิน เอาเงินไปลงทุน เค้าก็จะค้าขายอะไรอย่างนี้ เค้าก็ให้ทำแบบคำนวนออกมา เราใช้เงินเท่านี้ๆ วันนึงจะหมดเงินไปกี่บาท เดือนนึงจะใช้เงินเท่าไหร่ เราจะค้าขายอย่างไรกินอย่างไร มันต้องไปตามอย่างนี้ การประพฤติการปฏิบัติ ผู้ที่เป็นนักบวชก็คือมันต้องเข้าสู่อย่างนี้ เราต้องมีความตั้งมั่น ใจอ่อนไม่ได้ ต้องใจเข้มแข็ง เราทำอย่างนี้ๆ เป็นตัวอย่างของลูกเรา ลูกมันถึงเอาตัวอย่าง บางคนดีเอ็นเอดี มันก็ได้ตัวอย่างอยู่แล้ว การประพฤติการปฏิบัติอะไรพวกนี้ นี้แหละไม่ได้คิดอะไรเลยแหละ 4 ปี 5 ปี 10 ปี มีหนี้ขึ้นหลายแสน หรือเป็นหลายล้าน มันขึ้นอยู่ที่ความประพฤติของเราเอง เค้าเรียกรักลูกอย่างไม่มีปัญญา ลูกเราก็คือเด็ก ถ้าเราไม่บอกไม่สอน ไม่ทำเป็นตัวอย่างแบบอย่าง มันก็ดำเนินผิด เพราะมันไปคบคนผิด อะไรก็ไม่ทุกข์ยากเท่ากับมีหนี้มีสิน อะไรก็ไม่ทุกข์ยากเท่าที่ใจของเราที่ไปติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส ลาภ ยศ สรรเสริญ ไปติดในกาม มันก็เป็นหนี้ทางจิตใจ เพราะเรายังมีเพศสัมพันธ์ในอะไรต่างๆ ในความคิด ในคำพูด การกระทำ เรามันเสียหายคนเดียวยังไม่พอ มันพ่วงไปหาพ่อหาแม่หาประเทศชาติบ้านเมือง เราไปคิดได้อย่างไร เราไปพูดได้อย่างไร เพราะว่ามันต้องเข้าสู่ศีลสู่ธรรม
เราบวชมา เราไปทำอย่างนั้นไปปฏิบัติอย่างนั้น มันจะเอาอะไรมาสอนเค้า เพราะเราไปเรียนนักธรรมตรีโทเอก มันก็เอาหนังสือมาเทศน์มาสอน อันนี้มันไม่ได้มาจากความประพฤติของเรา ปฏิปทาของเรา บางทีเค้าถึงนิมนต์อาจารย์นู้นอาจารย์นี้ อาจารย์ที่เทศน์ส่วนใหญ่ก็ไปจำหนังสือมาอะไรมา ถ้าไปเอาธรรมะแล้วมันจะค่อยเป็นปัจจุบันธรรม ก็ฉลาดขึ้นอะไรขึ้น มันจะได้ ไม่ต้องนิมนต์พระที่นู้นที่นี่มาเทศน์ เพราะเราเป็นตัวพระธรรม เราเป็นตัวพระวินัย มันจะไปของมันอย่างนี้ มันไม่มีอะไรสลับซับซ้อน แต่ที่มันไปไม่ได้ เพราะว่ากามมันปิดบังเรา เราก็ไปเชื่อแต่ผู้ที่บวชมาก่อน ผู้ที่บวชมาก่อนมันใช่ว่าเป็นพระพุทธเจ้า เราเป็นพ่อเป็นแม่ก็พาครอบครัวยากจน เราเป็นพระเป็นเจ้าอย่างนี้ ตัวเราก็ยังเอาตัวเราเองไม่รอด พาประชาชนตกอบายมุข พาตกอบายภูมิ
เราจะตามอารมณ์ ตามความคิดไปไม่ได้ ยิ่งเติมเชื้อ เติมอุปกรณ์ให้เวียนว่ายตายเกิด ถ้ารวยก็รวยอย่างไม่ฉลาด รวยอย่างไม่มีศีลสมาธิปัญญา เป็นการอวดมั่ง อวดมี เราตามความสุขไปไม่ได้หรอก ตามความหลงไปไม่ได้ เหมือนการตามใจลูกของคนรวย อะไรมันก็ตามความคิดไปเรื่อย มันถึงได้ไปเสพยาไอซ์ ยาอี ต่างๆ มันไม่ได้หรอก มันทำไม่ถูก ถ้าเราเอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมเป็นใหญ่ สามีภรรยาลูกหลานญาติพี่น้องเรา ก็ย่อมมีความสุขความอบอุ่น ไม่ได้แย่งสิ่งของที่ไร่ที่นาที่สวนกัน เพราะมันอยู่ในความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง สำหรับพระเรานะ เราจะได้เป็นปูชนียบุคคลของผู้ที่จะบวชมาภายหลัง เราเป็นพ่อเป็นแม่เราถึงจะได้เป็นปูชนียบุคคลแก่ลูกแก่หลาน เราจะได้ต่อยอดให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป โลกนี้จะได้ร่มเย็น
เพราะความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องสำคัญ เราไม่ได้ไปสู้กับใครหรอก เพราะศึกสงครามใหญ่นี้มันอยู่ที่ตัวเรานี้เอง ที่มีความเห็นผิด เข้าใจผิดและปฏิบัติผิด ที่เราจะต้องรีบเร่ง รีบด่วนในการแก้ไขปัจจุบัน.... เราไปตามใจไปตามอารมณ์ตัวเอง ...พวกเด็กๆ น้อยๆ ลูกเรา เมื่อพ่อแม่เป็นคนตามใจ ลูกก็เป็นคนตามใจ ที่เด็กมันสำออยนี้ ที่มันตามใจตามอะไรอย่างนี้ มันติดเป็นนิสัย โรคสำออยนี้แหล่ะที่จะเอาอะไรตามใจตามอารมณ์นี้แหล่ะ มันถึงเป็นปัญหา เป็นโรคซึมเศร้า เมื่อเราก็อยู่แล้วว่าทุกอย่างมันไม่ได้ตามใจเราหรอก มันก็แก่ ก็เจ็บ ก็ตาย ก็พลัดพราก อะไรอย่างนี้ เพราะเราไม่ทิ้งอดีต เราจะไปทะเยอทะยาน...การเรียนการศึกษาอย่างนี้ เราเรียนสูงก็จริง แต่เราก็เรียนเพื่อจะเอา เพื่อจะมีเพื่อจะเป็น เราไม่ได้เรียนเพื่อละความเห็นแก่ตัว เพื่อเสียสละ
พวกที่ไม่ได้เรียนมาก พวกที่เป็นคนยากคนจนก็ไม่ต้องไปน้อยเนื้อต่ำใจ เราต้องพากันเข้าใจว่า ไม่รู้หนังสืออะไรเลยก็ดับทุกข์ได้แก้ปัญหาได้ ถ้าเรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง มีความสุขในปัจจุบัน ครั้งพุทธกาลพวกบรรลุด้วยความตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม มีศรัทธา มีความตั้งมั่นถึงได้บรรลุธรรมกว่าจริตอื่นๆ เพราะว่าเป็นคนจนแต่ว่ามีความสุขยิ่งกว่ามหาเศรษฐีในปัจจุบัน
คำว่าปล่อยวางนี้ ไม่ใช่ว่าขี้เกียจนะ ปล่อยวางนี้คือมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา ไม่ทำตามใจตัวเอง ไม่ทำตามอารมณ์ตัวเอง เอาธรรมเป็นหลัก เขาเรียกว่าคนปล่อยวาง ถ้าคนขี้เกียจขี้คร้านเขาเรียกว่า ไม่ใช่ปล่อยวางนะ เขาเรียกว่าคนเห็นแก่ตัวที่ยิ่งใหญ่
ความจริงการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีอะไรลำบาก ไม่มีอะไรยุ่งยาก การปฏิบัติตามทางของพระองค์ไม่มีทุกข์ เพราะทางของพระองค์คือ “ปล่อยวาง” ให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง
จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติภาวนานั้น ท่านทรงสอนให้ “ปล่อยวาง” อย่าแบกถืออะไรให้มันหนัก ทิ้งมันเสีย ความดีก็ทิ้ง ความถูกต้องก็ทิ้ง คำว่า “ทิ้ง” หรือ “ปล่อยวาง” ไม่ใช่ไม่ต้องปฏิบัติ แต่หมายความว่าให้ปฏิบัติ “การละ” “การปล่อยวาง” นั่นแหละ
จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าจมอยู่กับอดีต พระองค์ทรงสอนให้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ที่กายที่ใจของเรา ธรรมะไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน อยู่ที่ตรงนี้ อยู่ที่กายที่ใจของเรานี่แหละ
ดังนั้น นักปฏิบัติต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง เอาจริงเอาจังให้ใจมันผ่องใสขึ้น สว่างขึ้น ให้มันเป็นใจอิสระ ทำความดีอะไรแล้วก็ปล่อยมันไป อย่าไปยึดไว้ หรืองดเว้นการทำชั่วได้แล้ว ก็ปล่อยมันไป พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบันนี้ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อยู่กับอดีตหรืออนาคต
ความหมายที่แท้ของการปล่อยวาง
คำสอนที่เข้าใจผิดกันมาก แล้วก็ถกเถียงกันมากที่สุด ตามความคิดเห็นของตนก็คือเรื่อง “การปล่อยวาง” หรือ “การทำงานด้วยจิตว่าง” นี่แหละ การพูดอย่างนี้เรียกว่าพูด “ภาษาธรรม” เมื่อเอามาคิดเป็นภาษาโลกมันก็เลยยุ่ง แล้วก็ตีความหมายว่าอย่างนั้น ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบล่ะซิ
มีบทกวีบทหนึ่งของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุที่ว่า
จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง ยกผลงานให้ความว่างทุกอย่างสิ้น
กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที
ท่านผู้ใดว่างได้ดังว่ามา ไม่มีท่าทุกข์ทนหม่นหมองศรี
“ศิลปะ” ในชีวิต ชนิดนี้ เป็น “เคล็ด” ที่ ใครคิดได้ สบายเอย
คำว่า ‘จิตว่าง’ คืออะไร หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุได้ให้ความหมายไว้ว่า “จิตว่าง ในที่นี้คือจิตที่ยังเป็นจิตอยู่เหมือนเดิม แต่ไม่เต็มอยู่ด้วยการปรุงแต่งที่เลวร้าย คือปรุงให้เห็นเป็นตัวตน ปรุงแต่งให้เป็นของตน อะไรจะมาบรรจุให้จิตไม่ว่าง ก็คือความรู้สึกว่าตัวตน ว่าของตนนั่นแหละพอเข้ามาแล้วมันก็เหมือนกับเอาอะไรบรรจุเข้าไปในจิตนั้น จิตมันก็ไม่ว่าง ถ้าเอาความรู้สึกว่าตัวตน ว่าของตนออกไปเสีย จิตมันก็ว่าง ไม่มีอาการอย่างอื่นที่น่ารังเกียจ เช่นว่า ไม่ร้อน ไม่มืด ไม่ถูกผูกพันหุ้มห่ม อิสระหรือปกติ ไม่มีอะไรมารบกวน ; ว่างจากการรบกวนนั้น คือความปกติ พอปกติมันก็ไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์
จิตที่ว่างนั้นมันมีความหมายมาก ไม่ใช่เพียงแต่ว่ามันไม่คิดนึกอะไร คนเขาเจ้าใจว่าไม่คิดนึกอะไรแล้วก็เรียกว่าจิตว่าง นั้นคือคนที่ไม่รู้เรื่องจิตว่าง จิตมันคิดนึกอะไรไปได้ตามธรรมดาของจิต แต่อย่ามีความรู้สึกว่าตัวตนหรือของตน อย่ามีความรู้สึกที่เดือดขึ้นมาเป็นตัวกูหรือของกูก็แล้วกัน ก็ยังเรียกว่าจิตว่าง คิดนึกอะไรได้ ฉลาดเฉลียว รอบคอบ สามารถมาก นี่ประโยชน์ของความมีจิตว่าง”
ขอให้ว่างจากกิเลสทุกชนิด ก็เรียกว่าจิตว่าง สรุปความคำว่า ‘จิตว่าง’ คืออย่างไร
คำว่า ‘จิตว่าง’ หมายถึง จิตที่ว่างจากกิเลสตัณหา ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ว่างจากตัวกูของกู เป็นจิตที่มีความรู้สึกยู่นั่นแหละ แต่เป็นความรู้สึกธรรมดา ไม่มีกิเลส ตัณหา อุปาทาน จะเป็นแบบถาวรหรือครั้งคราวก็ตาม ล้วนได้ชื่อว่าจิตว่างทั้งสิ้น
การทำงานด้วยจิตว่างนั้น คือการทำงานด้วยความรู้สึกที่เสียสละไม่มีตัวกูของกู เป็นการทำงานชนิดที่ดิ่งไปเพื่องานจริงๆ ไม่มีเรื่องอื่น
เรื่องของนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ยังมีอีก เช่น ไอน์สไตน์ ซึ่งมีชื่อเสียงมาก...มันก็เป็นจิตอันแหลมลึกลงไปถึงธรรมชาติ เป็นอันเดียวกันกับธรรมชาติ ไม่มีวี่แววแห่งตัวฉัน ของฉัน เพื่อประโยชน์ของฉัน ได้เสียของฉัน อะไรเหลืออยู่ ด้วยเหตุนี้ไอน์สไตน์จึงคิดอะไรได้ถึงขนาดที่เรียกว่าเป็นอัจฉริยะมนุษย์ จนคนโลกสมัยนี้ยกให้เป็นอัจฉริยะมนุษย์ สูตรที่เอามาใช้ทำระเบิดปรมาณูได้ อะไรได้ ก็เป็นฝีไม้รายมือของบุคคลที่ ‘คิดด้วยจิตว่าง’ ชนิดที่เราพูดกัน
ไม่ว่าจะเป็นนักคิด นักค้นคว้า นักพิสูจน์คนไหนก็ตาม ต้องทำงานด้วยจิตว่างทั้งนั้น ถ้ามีวี่แววแห่งตัวกูเมื่อไหร่ ก็เป็นอันล้มละลายทันทีเมื่อนั้น จะต้องออกจากฌานเมื่อนั้น จะต้องออกจากความคิดเมื่อนั้น เช่น คิดถึงบ้าน คิดถึงครอบครัว คิดถึงความสำเร็จ ความไม่สำเร็จ ที่จะทำงานครั้งนี้คืออย่างนี้งานจะล้มละลายทันที
ความคิดเรื่องสำเร็จหรือไม่สำเร็จจะต้องไม่เข้ามาอยู่ในหัวเลย มันมีแต่ดิ่งลงไป-ดิ่งลงไป-ดิ่งลงไป จนว่าจะหมดเรี่ยวแรงของมันสมองสำหรับคิดในวันหนึ่งๆ รุ่งขึ้นก็ทำต่อไปอีก เขาไม่ได้คิดว่าเขาทำเพื่อใคร รับจ้างใคร เห็นแก่ใคร หรือมีความจำเป็นอะไรมาบังคับให้ทำ
นี่ตัวอย่างการทำงานด้วยจิตว่างแท้ๆ เป็นอย่างนี้ ถ้าเวลาอื่นซึ่งไม่ใช่เวลาทำงานก็อาจมีตัวกู มีครอบครัว มีลูกมีเมีย มีได้มีเสีย มีอะไรไปตามแบบของเขา นั้นมันคนละตอน คนละที คนละเรื่อง แต่ถ้าเมื่องานก็ต้องทำงานด้วยจิตว่าง ต้องไม่มีอะไรมาบังคับ ต้องไม่ไปมีข้อผูกพันกับเรื่องอื่นมันก็เป็นอยู่ด้วยความว่าง ทำงานด้วยจิตว่างนี้ได้ตลอดเวลา
เดี๋ยวนี้คนทำงานไปพลางแล้วประหม่าไปพลาง คนทั่วไป ทำอะไรอยู่ก็ตาม มันประหม่าไปพลาง เช่น วิตกว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องด้วยตัวกู-ของกูบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นมันจึงปวดหัว ผู้จัดการคนนั้นจึงปวดหัวและเป็นโรคเส้นประสาทตาย เขาไม่ได้ตัดเรื่องประหม่าเรื่องวิตกกังวล เรื่องอะไรออกไปเสีย เขาจึงคิดมันไม่ได้ แล้วงานของเขามันก็ไม่มีระเบียบ มันสับสนวุ่นวายกันไปหมด แม้แต่งานที่ธรรมดาๆ โดยไม่ต้องใช้สติปัญญา เช่น งานเช็ดถูปัดกวาดอย่างนี้ ถ้าเช็ดถูกปัดกวาดไปพลาง โมโหไปพลาง มันก็เหมือนตกนรกทั้งเป็น เช่น กวาดบ้าน กวาดเรือน กวาดห้อง ถูพื้นอะไรไปพลางนี้ แล้วโมโหอะไรไปพลาง แล้วจะเอาอะไรมาทำให้ดีได้ ไม่ใช่อยากพูดอะไรก็พูด อยากด่าอะไรก็ด่า อยากว่าอะไรก็ว่า อยากบ่นอะไรก็บ่น
พวกเราคงรู้จักองคุลิมาลเป็นอย่างดี องคุลิมาลนั้นเป็นโจรร้ายในสมัยพุทธกาล ตอนหลังได้มาบวชเมื่อได้พบพระพุทธเจ้า เมื่อบวชแล้วท่านก็ขวนขวายศึกษาพระธรรม คราวหนึ่งได้ยินพระพุทธองค์ตรัสสอนให้แสวงหากัลยาณมิตร พระองคุลิมาลก็น้อมรับ แล้วได้พบพระรูปหนึ่งซึ่งพักอยู่กุฏิใกล้ๆ กัน ชื่อพระนันทิยะ ท่านผู้นี้มีประวัติที่น่าสนใจ เดิมเป็นลูกเศรษฐีมีศรัทธาในพระธรรม อยากออกบวชแต่พ่อแม่ไม่อนุญาต ท่านถึงกับอดอาหารอยู่หลายวัน จนในที่สุดพ่อแม่ก็ยอมให้ท่านมาบวช เมื่อได้พบพระนันทิยะ พระองคุลิมาลได้ถามพระนันทิยะว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไรแก่พระนันทิยะบ้าง พระนันทิยะก็เล่าว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าสอนให้ปล่อยให้วางทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และท่ามกลาง มิให้ยึดติดในอารมณ์อันเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อารมณ์ที่พอใจหรืออารมณ์ที่ไม่พอใจ เมื่อเกิดขึ้น จงปล่อยวางเป็นกอง ๆ ไว้ ณ ที่นั้น อย่านำมาเก็บไว้แบกไว้”
แล้วท่านก็พูดต่อไปว่า “เขาด่าว่าเราบนบก จงกองคำด่าว่านั้นไว้บนบก อย่านำติดไปในน้ำด้วย เขาว่าเราในน้ำ จงกองคำด่าว่านั้นไว้ในน้ำ อย่านำติดตัวขึ้นมาบนบก เขาด่าว่าในเมือง จงกองไว้ในเมือง อย่านำติดตัวมาจนถึงวัดพระเชตวันนี้”
อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของคำกล่าวของพระนันทิยะที่สรุปคำสอนของพระพุทธเจ้าตามที่ท่านได้ยินมา ซึ่งน่าสนใจมาก เพราะว่าจุดเน้นอยู่ที่การปล่อยวาง ปล่อยวางทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และท่ามกลาง หมายความว่าอย่างไร ก็คือ ปล่อยวางอารมณ์อดีต อนาคต และปัจจุบัน อารมณ์ที่พอใจ ที่ไม่พอใจก็วางไว้เป็นกองๆ ที่พระพุทธเจ้าเน้นเรื่องการปล่อยวางก็เพราะว่า ความทุกข์ของคนเรา ซึ่งหมายถึงความทุกข์ใจ ถึงที่สุดแล้วเกิดจากความยึดติด และสิ่งที่เรายึดติดจนเป็นเหตุให้ทุกข์ใจส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นเรื่องอดีตกับอนาคต
ทีนี้ เราก็ต้องเอาใหม่ เราเป็นสามี ภรรยา เราอย่าไปเอาแพ้ เอาชนะกัน เพราะครอบครัวเราไม่ใช่สัตว์ เราเป็นมนุษย์ ต้องท่องพุทโธเข้าไว้ให้ดีๆ ต้องอย่าให้มันแสดงออกมาทางกาย ทางวาจา ทางใจ หมุนออกมาอย่างนี้ เราต้องปลูกฝังความคิดตั้งแต่เด็กๆ ต้องเข้าสู่ระบบตั้งแต่เด็กๆ ว่าอันนี้ไม่ดีไม่คิด อันนี้ไม่ดีไม่พูด อันนี้ไม่ดีไม่ทำ ไม่ดื่ม ไม่เสพ ไม่อะไรๆ เพราะการคบคนดีนี้ พ่อแม่ก็ต้องเป็นคนดีก่อนเขา เพราะว่าเราก็ต้องอยู่กับลูกกับหลาน พ่อแม่ก็ต้องเป็นคนดีก่อนเขาเขาจะได้รู้ชัดเจน เราอย่าไปแต่งแต่ส่วนภายนอก โชว์แต่ภายนอกให้ลูกให้หลาน เราต้องโชว์ความดี คุณธรรม ให้มันเห็นในชีวิตประจำวัน พูดดีๆ พูดเพราะๆ กิริยามารยาทดีๆ มันไม่ตายหรอก
คำว่า “ใจเย็น” ไม่ใช่ว่าช้าๆ เชื่องๆ ซึมๆนะ ใจเย็นหน่ะ คือเราพูดดีๆ คิดดีๆ ทำดีๆ เดี๋ยวเราก็ไม่เรื่องไม่มีราว ใจเรามันก็จะเย็น เราไม่มีหนี้ ไม่มีสิน เราก็จะใจเย็น คนมีหนี้มีสินใจมันจะเย็นได้อย่างไร เพราะเวลามันหมุนไปตลอด วันเสาร์ วันอาทิตย์ดอกเบี้ยมันไม่ได้หยุดนะ ศีลนี้ให้เข้าใจ ศีลเยอะแยะก็จริง แต่มันอยู่ที่ความตั้งใจที่เจตนา ว่าอันนี้ไม่คิด อันนี้ไม่พูด อันนี้ไม่ทำ อันนี้ไม่ดื่ม อันนี้ไม่เสพ อันนี้เรียกว่าศีล เราต้องพากันสมาทาน ไม่ได้มีอยู่ในตัวหนังสือหรอก อยู่ในใจ อยู่ในจิตสำนึก อยู่ในความตั้งใจของเราในปัจจุบัน เราก็ทำไปเรื่อยๆ มันก็จะดี มันก็จะเป็นอัตโนมัติ ฝึกไว้ อานาปานสติ หายใจเข้ามีความสุข หายใจออกมีความสุข ฝึกท่องพุทโธไว้ อย่าใหมันพุทโธ่ๆๆ
ความสุขที่มันเกิดจากที่เราได้รับจากมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัตินั้น มันเป็นเพียงเปลือก เป็นเพียงกระพี้ของความสุขนะ มันไม่ใช่เนื้อหาสาระ แก่นแท้ที่แท้จริง
คนรวยน่ะที่หลงเพลิดเพลินติดอยู่ในความสุขความสะดวกความสบาย พระพุทธเจ้าตรัสว่านี้เป็นเพียงเปลือกของความสุขนะ ส่วนใหญ่เมื่อตายไปแล้วพากันไปตกเป็นสัตว์นรกนะ... เทวดาพากันติดความสุขสะดวกสบาย กายก็เป็นกายทิพย์ อาหารก็เป็นอาหารทิพย์ ทุกอย่างมีแต่ทิพย์ไปหมด คิดอะไรทุกอย่างย่อมได้สมปรารถนาเป็นทิพย์ทันที เทวดาส่วนใหญ่ถึงพากันหลง เมื่อหลงแล้วเทวดาย่อมไม่มีปัญญา เมื่อหมดบุญแล้วย่อมไปเกิดเป็นสัตว์นรกเป็นส่วนใหญ่นะ
พระพุทธเจ้าให้เรามีปัญญานะ เราต้องบริโภคปัจจัยสี่ด้วยปัญญา ปัจจัยทุกอย่าง ที่เราใช้ เราบริโภค เราต้องมีปัญญา ตาเห็นรูป เรากำลังบริโภคนะ เราต้องมีปัญญาว่า ทุกอย่างมันไม่แน่ไม่เที่ยงนะ มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หูฟังเสียงนั้นน่ะเรากำลังบริโภคเสียงนะ เมื่อเราได้ยินอย่างนี้เราต้องมีปัญญาว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นกับเราคือการบริโภคนะ
ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมต้องเอาปัญญาออกมาใช้ ออกมาประพฤติปฏิบัติ เราอย่าปล่อยให้อวิชชามันครอบงำจิตใจของเราได้อย่างเด็ดขาด สิ่งต่างๆ ที่มันเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา เค้าเกิดขึ้นเพื่อให้เรามีปัญญา เพื่อให้เราได้ประพฤติปฏิบัติธรรมนะ เราประพฤติปฏิบัติไปเรื่อยๆ อินทรีย์บารมีของเราย่อมเจริญย่อมแก่กล้า นี้เราน่ะ ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติเลย ปล่อยให้อวิชชาความหลงมันครอบงำจิตใจของเรา วันหนึ่งคืนหนึ่ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเอาปัญญามาให้เราทั้งวันเลยนะ
พระพุทธเจ้าให้เรารู้จัก เราจะได้ประพฤติปฏิบัติ อย่างเราพากันพัฒนากันอยู่นี้มันดี มันถูกต้อง ที่เราพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อำนวยความสะดวกความสบาย ในการดำเนินชีวิต เราทุกคนจะมาหลง มาติดอยู่นั้นไม่ได้นะ
พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ท่านเป็นผู้ที่สมควรที่จะบริโภครูป เสียง กลิ่น รส ลาภ ยศ สรรเสริญ เพราะว่าท่านไม่ติด ท่านไม่หลง อาหารอร่อยเท่าไหร่ท่านก็ไม่หลง รถหรู บ้านหรูท่านก็ไม่หลง เฟอร์นิเจอร์หรูเท่าไหร่ท่านก็ไม่หลง เพราะท่านมีปัญญา
ปัญญาของเราจะเกิดได้ ไม่ใช่มันจะเกิดได้ง่ายๆ นะ มันต้องฝึกตั้งแต่เช้าจนนอนหลับ ตื่นขึ้นก็ฝึกต่อนะ พร้อมทั้งมีความสุขในการฝึก ในการปฏิบัติ
พระพุทธเจ้าท่านถึงไม่ให้เราหลงในเปลือก ในกระพี้ของชีวิต ต้องรู้จักแก่นแท้ของชีวิตนะ เราบริโภคอาหารเพื่อที่จะมีสุขภาพ เพื่อพัฒนาจิตใจให้เกิดปัญญานะ เรามีบ้านที่อยู่อาศัย เพื่อที่จะมีที่อยู่ที่อาศัยเพื่อที่จะพัฒนาจิตใจ ไม่ใช่เพื่อจะพากันมาหลงนะ สาระของการมีบ้านก็เพื่อที่จะกันแดดกันฝน ที่จะได้พักผ่อนนอนหลับ เพื่อพัฒนาจิตใจ เพื่อให้เกิดปัญญา เราจำเป็นที่จะต้องมีเสื้อผ้าอาภรณ์ก็เพื่อปกปิดอวัยวะร่างกายต่างๆ เพื่อป้องกันลมป้องกันแดด เพื่อปกปิดความละอายของร่างกายที่มีความสกปรก ที่ต้องอาบน้ำ แปรงฟัน ถูสบู่ทุกๆ วัน ไม่ใช่เพื่อให้เราพากันหลงในเสื้อผ้าอาภรณ์ เราต้องมีปัญญา รู้จักสาระในการมีเสื้อผ้าอาภรณ์ เพื่อเราจะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อมรรคผลพระนิพพาน
ความสวยของเราน่ะ มันอยู่ที่เรารักษาศีล เพราะศีลนี้คือขบวนการ คือกระแสแห่งมรรคผลพระนิพพาน ถ้าใครมีศีลแล้วมันสวย เพราะมีศีลแล้วมันใจดี นิสัยดี ใครก็อยากสนใจ ใครก็อยากมอง ถ้าเรามองคนมีศีลแล้วมันเป็นมงคล เป็นมหามงคล คนไม่มีศีลมองอย่างไรมันก็ไม่สวย พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่างามเบื้องต้นคือศีล งามท่ามกลาง คือสมาธิ งามในเบื้องปลายคือปัญญา เรามีศีล มีสมาธิ มีปัญญาเราถึงจะเป็นคนงาม
การดำรงชีวิตของเราถึงต้องฝึกต้องปฏิบัติ มีทั้งสติมีทั้งสมาธิมีทั้งปัญญา ถ้าเราติดเราหลง เราจะไม่ได้อยู่กับปัจจุบันธรรมนะ จิตใจของเรามันจะหลงอยู่ ติดอยู่ในอดีต เหมือนกับคนเราไปติดหนี้ติดสิน มีหนี้มีสิน ถ้าเราไปติดในรสของอาหาร เราก็เป็นหนี้เป็นสินทางจิตใจนะ
พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เราเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าเรื่องไหน เพื่อใจของเราจะได้เข้าถึงธรรมะ เข้าถึงความเป็นธรรม ที่มันเป็นความบริสุทธิ์ ไม่มีตัวไม่มีตน เราจะได้เข้าถึงมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติตั้งแต่ยังไม่ตาย คนเรากว่าจะตายต้องเป็น พระอริยเจ้าก่อน ต้องเป็นพระโสดาบัน สกิทาคามี พระอนาคามีก่อนถึงละสังขาร
เราไปหลงในเปลือกในแก่นของความสุข เราเลยพัฒนาตั้งแต่ความสุขทางกาย ความสุขทางวัตถุ ความสุขในความเห็นแก่ตัว อยากรวย อยากมี อยากเป็น ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ทุกอย่างมันเป็นความอำนวยความสุข พระพุทธเจ้าตรัสว่านั้น มันเป็นความสุขทางร่างกาย เราต้องพัฒนาความสุขทางใจที่ประกอบด้วยปัญญา ที่เราจะได้เป็นพระอริยเจ้า เราจะได้เข้าถึงแก่นแท้ ถึงสาระแห่งความประเสริฐที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์