แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันพุธที่ ๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๖
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตใหม่ที่เลือกได้ ตอนที่ ๘ มีความสุขในการรักษาศีล ตั้งมั่นด้วยสมาธิ เจริญปัญญา ถ้าเราเห็นธรรม เราก็เห็นพระพุทธเจ้าชัดเจน
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
โครงสร้างของมนุษย์ เรามองดูแล้วมัน เสวนา จะ พาลานัง คือมักจะคบกับคนพาล สิ่งที่จะช่วยคนอื่นได้คือ ความรู้ ความเข้าใจ การเรียน การศึกษานี้ถึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่เอาการเรียน การศึกษานั้นคู่กับธรรมะ การให้ทานถึงเกี่ยวกับให้ความรู้ ความเข้าใจ การให้ธรรมหรือว่าการปฏิบัติธรรมนี้ (ต่อยอดไป) เพราะปัจจุบันนี้เราต้องรู้ จัดการกับปัจจุบันนี้ เราจะให้ความรู้ ให้การปฏิบัติ ความรู้สึกในปัจจุบันมันต้องเร็ว เพราะคนเราหน่ะ เจอกันสิ่งแวดล้อมมันจะไป เพราะว่ามันรับเอาเชื้อเก่า กรรมเก่ามันสนับสนุน มันถึงเป็นโรคใจอ่อน บางคนน้ำตามันออกเร็วจริงๆ บางคนก็โมโหร้าย เพราะปัจจุบันนี้คือภาคประพฤติปฏิบัติ สิ่งที่มาปรากฎการณ์กับเรา เราถึงต้องจัดการ การปฏิบัติต้องให้เป็นธรรมชาติ เราไม่ต้องกลัว ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราต้องปล่อยให้เป็นธรรมชาติ และเราต้องตั้งเป้าหมายว่าเราจะเดินไป คือจุดมุ่งหมายของเรามีอยู่แล้ว เราเพียงแต่ทำไฟท์ ให้มันผ่านไฟท์ในปัจจุบัน เพราะความยากดีมีจน มันอยู่ในปัจจุบัน อยู่ในภาคประพฤติภาคปฏิบัติ
การปฏิบัติพระพุทธเจ้าให้เราปฏิบัติที่ปัจจุบัน เพราะอดีตก็ปฏิบัติไม่ได้ อนาคตก็ปฏิบัติไม่ได้ ต้องปฏิบัติที่ปัจจุบัน ให้เอาธรรมเป็นหลัก สละทิ้งซึ่งตัวซึ่งตน เรียกว่าธรรมะวินัย เรียกว่าพรหมจรรย์ เราหยุดตัวหยุดตน สำหรับประชาชนผู้ครองเรือนก็ศีล 5 ผู้ที่มีภาระที่ดูแลพ่อ ดูแลแม่ ดูแลวงศ์ตระกูล สำหรับพระ ภิกษุ สามเณร ก็เอาศีลของนักบวช สิกขาบทน้อยใหญ่ เพราะอันนี้เป็นยานที่จะนำเราออกจากวัฏฏะสงสาร ปิดอบายมุข อบายภูมิ ปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญ เราทุกคนต้องคอนโทรลตัวเองให้ได้ อันไหนไม่ดีไม่คิด อันไหมไม่ดีไม่พูด อันไหนไม่ดีไม่ทำ ต้องประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันให้ได้ ต้องมีสัมมาสมาธิ อย่าไปใจอ่อน สมาธิเป็นพื้นฐานเรียกว่าสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ธรรมชาติ เป็นศีลที่ธรรมชาติ เป็นปัญญา เรียกว่าอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นธรรมชาติ
ทุกท่านทุกคนต้องเสียสละซึ่งตัวซึ่งตน ละซึ่งสักกายทิฏฐิ เพราะเราไม่ทำอย่างนี้ไม่ได้ ไม่อย่างนั้นเราจะทำยังไง เพราะว่าทำไงยังไงก็ไปไม่ได้เพราะมันไม่ถูกต้อง ทุกคนต้องมาตั้งมั่นในพระพุทธเจ้า เพราะว่าพระพุทธเจ้าบำเพ็ญพุทธบารมีมาหลายล้านชาติ ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าสมบรูณ์ด้วยอัตถะ ด้วยพยัญชนะ เป็นตัวอย่างแบบอย่าง ทั้งภาคปฏิบัติ และภาคความรู้ความเข้าใจ เราทุกคนถึงเป็นผู้ที่โชคดีมากที่สุด ทุกท่านทุกคนไม่ต้องไปลังเลสงสัย ไม่ต้องไปลูบคลำ ตัวตนอย่างนี้มันก็ไม่ใช่ เราทานอาหาร เราพักผ่อน ทำอะไรทุกอย่าง มันก็แก่ ก็เจ็บ ก็ตาย ทุกท่านทุกคนต้องเข้าใจ เราจะได้รู้จักไฟท์ติ้ง ไฟท์หยุดโลก หยุดวัฏฏะสงสาร เราต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษในอริยมรรคมีองค์ 8 ถึงมีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง ทุกอย่างเกี่ยวกับชีวิตของเรา เราจะไปประมาทไปเพลิดเพลินไม่ได้ เพราะเราทำถูกต้องมันก็ไปตามหลักเหตุผล หลักวิทยาศาสตร์ มันก็ย่อมได้รับความสุข ความสะดวก ความสบาย มันก็ดีกว่าสัตว์เดรัจฉานอย่างอื่น สัตว์เดรัจฉานอื่นมันทำบ้านไม่เป็น ทำไร่ ทำนา ทำรถ ทำเครื่องบิน ทำคอมพิวเตอร์ไม่เป็น เราอย่าพากันหลง เพราะไม่อย่างนั้นเราจะเป็นมนุษย์ที่ไม่ฉลาด เป็นมนุษย์ที่หลงอยู่
ไก่มันฟักไข่ต้องใช้เวลา ๓ อาทิตย์ถึงออกลูกเป็นตัว หรือมนุษย์จะฟักไข่สมัยใหม่ใช้ไฟฟ้าก็ต้อง ๓ อาทิตย์ การประพฤติปฏิบัติเราต้องรู้จักไฟท์ของเราในปัจจุบัน เราต้องปฏิบัติให้ได้ เราสละเรื่องอดีตมันไป อนาคตก็คือปัจจุบัน เราตั้งไว้คือพระนิพพาน คือดับสนิทไม่มีส่วนเหลือ
การทำงานของเรามันก็มีความสุขอยู่แล้ว เพราะเราทำเพื่อมาเสียสละ มันจะไปของมันอย่างนี้ เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้ถึงมี ถ้าสิ่งนี้ไม่มีแล้วมันก็หยุดให้อาหารมันก็ไปอย่างนี้ เรื่องจิตใจ มันไม่ชัดเจน เราก็ภาวนาไปพิจารณาไป พิจารณาไปสู่พระไตรลักษณ์มันเห็นอะไรไม่เที่ยง ลมหายใจเข้า ถ้าเข้าไม่ออกมันก็ตาย เราก็อยู่ด้วยความไม่เที่ยง ความไม่แน่ เราต้องเข้าใจ เรามองไปทางซ้าย ทางขวาก็เห็นเทวทูตทั้ง 4 เราจะได้เข้าถึงพระรัตนตรัย เข้าถึงความเป็นพระ เข้าถึงพระศาสนา เรามันสมบูรณ์ด้วยสัปปายะ ธรรมะของพระพุทธเจ้า เราเป็นมนุษย์มันก็สัปปายะแล้ว ถ้าเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่มีสัปปายะ ทุกอย่างมันขึ้นอยู่ที่เราที่ปัจจุบัน ที่เราเห็นความสำคัญที่ต้องแก้ไขปรับปรุง ทุกท่านทุกคนถ้าเสียสละไม่ถือตัวถือตน ไม่เอาตัวตนเป็นหลัก มันก็ไม่แก้เครียด เราต้องดีท๊อกซ์กรรม ดีท๊อกซ์เวร ดีท๊อกซ์อวิชชา ความหลงออกไป เราต้องรู้จักหน้า รู้จักตา ให้มันชัดเจน เราต้องทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ บ้านเราก็เอามันไปไม่ได้ รถก็เอาไปไม่ได้ ร่างกายของเราเขาก็เอาไปเผา ญาติวงศ์ตระกูลของเราเดี๋ยวก็ต้องจากเราไป เราจะมาห่วงอะไร เราต้องสละละวางจิตใจของเรา เข้าถึงธรรม เข้าถึงปัจจุบันธรรม เพื่อวิมุตติ ความหลุดพ้นมันจะได้เด่นขึ้น พระพุทธเจ้าถึงให้ตัดเสีย…
ถ้าทำอย่างนี้เราถึงจะได้รับอาหารทางจิตใจ เราทำอย่างนี้ใจของเราจะได้กะปี้กะเป่าขึ้น เราจะปล่อยให้ใจของเรามันผอมโซ ไม่ได้ให้อาหารเลย ให้รับแต่อวิชชา ความหลง เราจะได้มีพระศาสนา มีธรรมะ ความเป็นพระไม่ได้เกี่ยวกับพวกแบรนด์เนมมาบวช ไม่เกี่ยวกับฆราวาส เกี่ยวอยู่ที่มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ร่างกายของเราเอามาโกนหัว ห่มผ้าสีไหนมันก็ห่มเฉยๆ ความเป็นพระอยู่ที่ใจของเรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ศีล สิกขาบททุกข้อคือให้เราเสียสละ ละตัว ละตน เราต้องมีความสุขในการรักษาศีล มีความสุขในความตั้งมั่น เราคิดดูสิพระพุทธเจ้า ถ้าเราเห็นธรรมเราก็เห็นพระพุทธเจ้าชัดเจน เราจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้เอง พระอรหันต์เป็นอย่างนี้เอง เพราะเราเห็นความถูกต้อง เห็นธรรมะและเห็นท่านเดิน ท่านยิ้ม ใจของเรามันเห็น ปัญญามันเห็น
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับที่ชายสังฆาฏิแล้ว พึงเป็นผู้ติดตามไปข้างหลังๆ เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌาเป็นปรกติ มีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริ แห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดีย และเราก็อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึงอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ไซร้แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัว มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา”
บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น ยังเป็นไปตามตัณหา ดับความเร่าร้อนไม่ได้ แม้หากว่าพึงเป็นผู้ติดตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีความหวั่นไหว ผู้ดับความเร่าร้อนได้แล้วไซร้ บุคคลนั้นผู้กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี เพียงในที่ไกลเท่านั้น
ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต รู้ธรรมด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ธรรมอันยิ่ง เป็นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ สงบระงับ เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ไม่มีลมฉะนั้น บุคคลนั้นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว ผู้ไม่กำหนัดยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว ปราศจากความกำหนัดยินดี ในที่ใกล้แท้
ปฏิจจสมุปบาทเป็นพุทธธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งยวด และเป็นเรื่องที่มีความลึกซึ้งที่สุด จนได้ชื่อว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา หรือตัวแท้ของศาสนา (แก่นแท้ของพุทธศาสนา) ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทอาจเห็นได้จากพระพุทธพจน์ตอนหนึ่งว่า "ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท"
ความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทนั้นมีมาก หากเราเข้าใจอย่างชัดเจน และปฏิบัติตามได้อย่างเหมาะสมก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดตามจุดหมายของพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าเป็นแก่นแท้หรือสาระสำคัญสูงสุดของพุทธศาสนา ในกาลครั้งหนึ่ง พระอานนท์กราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่า เรื่อปฏิจจสมุปบาทดูเป็นเรื่องง่ายและตื้นสำหรับตัวท่านเอง พระพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องลึก ลักษณะโครงสร้างก็ลึกซึ้ง หมู่สัตว์นี้ไม่รู้ ไม่รู้ตามที่เราสอน ไม่แทงตลอดหลักปฏิจจสมุปบาท จิตจึงยุ่งเหมือนกลุ่มด้ายที่ยุ่ง เหมือนกลุ่มเศษด้ายที่เป็นปม ติดพันซ่อนเงื่อนกันยุ่ง เหมือนเชิงผ้ามุญชะและหญ้าปัพพชะ ไม่ล่วงพ้นจากสังสาระคืออบาย ทุคติ วินิบาตไปได้"
ท่านพุทธทาสได้กล่าวไว้ว่า “เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ถ้าผู้ใดเข้าใจ ก็อาจจะปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของตนได้ .....มันเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่ต้องเข้าใจเรื่องนี้......ยังเป็นหน้าที่ที่ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจด้วย ข้อนี้เป็นพุทธประสงค์
พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโบสถ์ ไม่ได้อยู่ที่อินเดีย ไม่ได้อยู่ที่เมืองอื่น ลังกา พม่าไม่มี ท่านอยู่ที่หลังม่านแห่งความโง่ของคุณเองทุกคน ทุกคนเอาความโง่ออกเสีย ไม่มีม่านแล้ว โอ้พระพุทธเจ้านั่งอยู่ตรงนี้นี่ เข้าไปในโบสถ์ก็พบแต่พระพุทธรูปซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า แม้แต่พระธาตุมันก็เป็นกากเศษที่เหลืออยู่แห่งอัตตภาพของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่องค์พระพุทธเจ้า องค์พระพุทธเจ้าคือความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท
อย่างที่ท่านตรัสว่าเห็นปฏิจจสมุปบาทคือเห็นธรรม เห็นธรรมคือเห็นตถาคตนะฉะนั้นจงเห็นปฏิจจสมุปบาท ท่านจะเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ที่ประทับนั่งอยู่หลังม่านแห่งความโง่ของคุณ พอเห็นปฏิจจสมุปบาท ม่านแห่งความโง่ ม่านแห่งอวิชชามันสลายไป มันสลายไป ไม่มีอะไรบังพระพุทธเจ้า นี่จึงพูดให้จำง่ายและค่อนข้างจะหยาบคายหน่อยนะว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่หลังม่านแห่งความโง่ของคุณทุกคนเลย พอเอาม่านนี้ออกเสียได้ มันก็เป็นพระอรหันต์หมด มีพระพุทธเจ้า เห็นพระพุทธเจ้า กระทั่งว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์น้อยๆ เสียเอง” คำกล่าวของท่านพุทธทาสช่วยให้เราเข้าใจความสำคัญของหลักธรรมนี้ได้ชัดเจนมาก
ที่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทมันยากเพราะว่าปฏิจจสมุปบาท ถ้าใครฟังแล้วมันจะไม่มีเครื่องรับ เหมือนคนเราถ้านั่งสมาธิมันจะง่วง ถ้าไม่ง่วงก็ฟุ้งซ่าน มันก็เป็นขบวนเดียวกับปฏิจจสมุปบาท พระภิกษุสมัยนี้ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาท เปรียบเสมือนอาหารที่กิเลสไม่ต้องการ ถ้าสิ่งไหนไม่ต้องการมันจะไม่ชวนฟัง เพราะคนเรามันท่องเที่ยวในวัฏฏะสงสาร ไม่อยากตายจากภพ จากชาติ เพราะมันท่องเที่ยวมานานจนเคยชิน เพราะมันติดอยู่ในกาม คำว่ากามในที่นี้คือรวมทั้งหมด ไม่ได้หมายถึงแค่การมีเพศสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามอย่างเดียว แต่หมายถึงเรายินดีในการกิน การอยู่ ความยินดีหรือความไม่ยินดีก็คือกาม นั้นคือการเสพกาม คือ การมีเพศสัมพันธ์กับกาม
คนเรามันอยากจะไปแก้ไขแต่คนอื่น ไม่อยากแก้ไขตัวเอง นอกจากคนที่มีปัญญาเหมือนพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านบำเพ็ญพุทธบารมีจนรู้ทุกแง่ทุกมุมของอวิชชา ของความหลง ถึงได้มาบอก ได้มาทบทวนเรื่องปฏิจจสมุปบาท เราเข้าใจอย่างหยาบๆ คิดว่าไม่มีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงกับผู้ชาย เข้าใจไปอย่างนี้ แต่ที่จริงศาสนาพุทธมันไม่ใช่แค่นี้ มันต้องเข้าใจเรื่องกระบวนการที่จะนำเราออกจากทุกข์ ออกจากวัฏฏะสงสาร เห็นทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ เห็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เราจะได้กลับมาแก้ไขตัวเองทุกๆ คน ใจของเราทุกคนถึงจะเป็นปัจจุบันธรรมไม่มีตัวตนแอบแฝง
ให้ทุกท่านทุกคนพากันประพฤติปฏิบัติตัวเองในปัจจุบัน เพราะปัจจุบันนี้ เราต้องรู้ด้วยเหตุ ด้วยผล ว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี เราจะได้จัดการตัวเอง อย่าไปปล่อยไปตามความเคยชิน ต้องให้มันไปตามเหตุตามผลตามหลักกฏวิทยาศาสตร์ เหนือเหตุเหนือผลด้วยภาวนาวิปัสสนา เอาภาวนาวิปัสสนามาพิจารณาสู่พระไตรลักษณ์ รูปเรามันก็ไม่เที่ยง เวทนาเราก็ไม่เที่ยง สัญญาสังขารวิญญาณมันก็ไม่เที่ยง ทุกอย่างมันผ่านไป เราต้องเสียสละ ถ้าเราไม่เสียสละไม่ได้ การภาวนาคือเจริญปัญญานั้นเเหละ เเล้วก็ประพฤติปฏิบัติตาม เพราะการรู้การเข้าใจ กับการปฏิบัติมันต้องคู่กันไป เราทำเรื่อยๆ ก็จะเป็นอัตโนมัติของมันเอง
ทุกท่านทุกคนพากันเข้าใจ เมื่อเข้าใจเเล้ว เราก็พากันประพฤติพากันปฏิบัติ เราจะได้พัฒนาทั้งธุรกิจการงาน เเละ พัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน เราอย่าไปคิดว่า เราปฏิบัติอย่างนี้มันเพียงพอหรือยัง ต้องขยันให้มากขึ้น รับผิดชอบให้มากขึ้น อดทนให้มากขึ้น เสียสละให้มากขึ้น ไปเรื่อยๆ เพราะอันนี้คือความดับทุกข์ เพราะเป็นวิธีหยุดกรรม หมดเวร หยุดวัฏฏะสงสาร ที่มีในการประพฤติการปฏิบัติของเราในปัจจุบัน เมื่อเราประพฤติปฏิบัติเป็น เราจะบอกสอนคนอื่นเค้าได้ เปรียบเสมือนที่เรามีเงินมีมรดก เราถึงจะเอาเงินเอามรดกที่เรามีให้คนอื่นได้ ทุกท่านทุกคนอย่าไปวิ่งตามอารมณ์ อย่าไปวิ่งตามความคิด ต้องพากันมาเเก้พากันมาประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน พระนิพพานไม่อยู่ไกลหรอก อยู่ในกาย วาจา กิริยามารยาท การกระทำของเราในปัจจุบันนี้ ที่มีเเต่ศีล มีเเต่สมาธิ มีเเต่สติ มีปัญญา สละเสียซึ่งตัวซึ่งตน มันอยู่ใกล้ๆ อย่างนี้
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะเป็นเงิน เป็นบ้าน เป็นรถ เป็นข้าวของเงินทอง สิ่งอำนวยความสะดวก ความสบาย เป็นสิ่งที่บรรเทาทุกข์เพื่อให้ทุกข์ทางกายมันลดน้อยลง ให้ทุกคนพากันภาวนาอย่างนี้ พระพุทธเจ้าถึงให้เราพิจารณาปัจจเวกข์ทุกวันว่า เรามีความเเก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บเป็นธรรมดา มีความพลัดพรากจากไปเป็นธรรมดา เราต้องรู้จักสิ่งนี้คือโลก ร่างกายนี้คือโลก สิ่งที่อำนวยความสะดวกที่เราได้ เรามี เราเป็น หรือเราได้เราเสีย มันเป็นโลก ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้มันก็ไม่มีอริยมรรคมีองค์ ๘ มันก็ไม่มีธรรม ถ้าเราไม่รู้จักมันก็ไปเป็นเเต่โลก มันไม่เหนือโลกเลย
ทุกท่านทุกคนพากันภาวนาพากันปฏิบัติ ความเหน็ดเหนื่อยความยากความลำบาก ความเจ็บความเเก่ ความตาย มันทำให้เราได้พัฒนาใจ ใจของเราที่มันมีความหลง มันมีเหตุผลเยอะ เราต้องเหนือเหตุเหนือผล คือทิ้งสู่พระไตรลักษณ์ว่ามันไม่เเน่ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เราถึงจะเผาภพ เผาชาติ เผาการเวียนว่ายตายเกิดได้ พระพุทธเจ้าให้พากันทำอย่างนี้นะ
อานาปานสติ ทุกท่านทุกคนต้องพากันฝึกพากันปฏิบัติ หายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน หายใจเข้าสบาย ออกสบาย เพราะร่างกายเราอิริยาบถหยาบๆ อิริยาบถที่เราเดินไปเดินมา ที่เราทำอะไรอยู่นี้ อานาปานสตินี้เราต้องเอามา หายใจเข้ารู้ชัดเจน หายใจออกรู้ชัดเจน หายใจเข้าสบาย ออกสบาย เค้าจะได้บรรเทาความฟุ้งซ่านให้น้อยลง บรรเทาวิตกกังวลให้น้อยลง เวลาเราไปนั่งสมาธิ ตอนค่ำ ตอนเย็น ตอนกลางคืน เราก็ทำอย่างนี้ หายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน จิตใจสงบลงก็ให้รู้ลมเข้ารู้ลมออก ทุกท่านทุกคนต้องพากันประพฤติพากันปฏิบัติ เราจะเอาเเต่กระหึ่มเพลงในใจ มัวเเต่เล่นโทรศัพท์ เล่นคอมพิวเตอร์ ดูโทรทัศน์อย่างนี้ไม่ได้ มันเอาเเต่ทางโลก เอาเเต่อวิชชา เอาเเต่ความหลง มันไม่มีธรรมเลย ไม่มีคุณธรรมเลย มีเเต่อวิชชา มีเเต่ความหลง
พากันกราบพระไหว้พระ ตั้งมั่นในพระรัตนตรัย เราทุกคนมีพ่อเเม่ปู่ย่าตายายเป็นตัวอย่างให้กับลูกกับหลาน ถ้าอย่างนั้น เราจะเป็นพ่อได้ยังไง จะเป็นเเม่ได้ยังไง ไม่มีศีล ไม่มีธรรม ไม่มีคุณธรรม ไม่มีข้อวัตรปฏิบัติ ลูกหลานไม่เคารพเรา มันเพียงสงสารคนเเก่อย่างนี้เเหละ ให้เราทุกท่านทุกคนพากันเข้าใจ
เราทุกคนต้องแก้ไข การปฏิบัติต้องเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ใหญ่ยิ่ง เราทุกคนต้องมาแก้ไขตัวเอง ไม่อย่างนั้นจะไม่รู้จัก คืออาการของจิตใจ เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้ถึงมี มันยินดี เช่น เห็นคนรวยก็ยินดีกับคนรวย อันนั้นมันเป็นตัณหา มันเป็นบ่วง เพราะเรารู้จักทุกข์ไม่จริง เราเลยท้อใจ นั่งสมาธิก็ท้อใจกลัวมันจะปวดขา เพราะเรายังยินดีในความไม่ปวดขา มันก็อันเดียวกันเพราะมันเป็นตัณหา
เราต้องรู้จัก เราอย่าให้ความปรุงแต่งเกิดขึ้นแก่เราได้ อย่าให้ปฏิจจสมุปบาทมันทำงาน ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า เรารู้จักเจ้าเสียแล้วเจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป เราจะได้ปลงสังขาร ละสังขาร วางสังขาร วางของหนัก ที่มันยังเข้าใจผิดอีกเยอะ ไม่อย่างนั้นเราจะไม่ได้เข้าถึงแก่นพระศาสนา เราก็ไปไหนไม่ได้ ขนาดเป็นพระโสดาบัน ยังต้องโยกโย้โอ้แอ้อีกตั้ง 7 ชาติ เพราะว่ายังยินดีในความสุข ความสบายอยู่ ถึงแม้จะไม่ทำบาปอย่างหยาบ แต่ก็ยังทำบาปอย่างละเอียดอยู่ เพราะยังตั้งอยู่ในความประมาท ความตั้งมั่นในความประมาทแสดงว่ามันต้องมีกามในใจของเรา เรายังมีความหลงอยู่ในใจของเรา ไม่อย่างนั้น อินทรีย์บารมีของเราจะแกร่งกล้าไม่ได้ เราไม่เป็นหนี้ตัวนี้ แต่เป็นหนี้ตัวอื่นแทน มันก็ไปไม่ได้ เพราะความทุกข์คือการมีหนี้มีสิน คนเราถ้ายังยินดียินร้ายเรียกว่าคนมีหนี้มีสิน คนมีกามในจิตในใจ มันไม่ถึงจุดหมายปลายทางอย่างสมบูรณ์แบบ เราต้องรู้ทุกข์ รู้เหตุให้เกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ต้องเดินไปทีละก้าว ทานข้าวทีละคำ ทำทีละอย่างในปัจจุบันให้ดีๆ
เรื่องความสุขในการกิน...การอยู่...การนอนน่ะ พระพุทธเจ้าท่านสอนเราให้เราบริโภคเพื่อบรรเทาทุกข์ เพื่อเราจะได้ปฏิบัติธรรมอบรมบ่มอินทรีย์ เราไม่ต้องมาติดมาหลง ความอร่อยมันก็ต้องผ่านไปแค่ลิ้นน่ะ ความสุขความสบายในการพักผ่อนก็บรรเทาทุกข์ไปไม่กี่ชั่วโมงน่ะ
"สิ่งเก่ามันผ่านไป สิ่งใหม่มันก็ผ่านมา มันไม่มีอะไรที่จีรังยั่งยืน พระพุทธเจ้าท่านให้เราคิดดีๆ อย่าได้พากันหลง"
คนเราน่ะถ้าไม่ได้บริโภครูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็คือว่า ชีวิตนี้ไม่มีรส รู้มั้ยว่าถ้ามี 'รส' มันก็มี 'ชาติ' มันต้องมีการเวียนว่ายตายเกิด เราก็อยากพากันมี 'รสชาติ' รสชาติมันจะพาให้เรามีความเกิดทางจิตทางใจนะ
สติสัมปชัญญะของเราก็ให้มันแข็งแรง สติ คือ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ก็คือ ตัวปัญญา สติกับปัญญามันจะเกี่ยวข้องกันตลอดน่ะ แล้วก็ตั้งมั่นอยู่กับสมาธิ สติสัมปชัญญะถึงเป็นตัว 'ศีล' ถึงเป็นตัว 'สมาธิ' ถึงเป็นตัว 'ปัญญา' น่ะ เค้าจะได้ขับเคลื่อนชีวิตจิตใจของเราสู่คุณธรรม บางคนไม่รู้การปฏิบัติน่ะ ปล่อยโอกาสปล่อยเวลาไปโดยไม่เจริญสติสัมปชัญญะ จิตใจของเราจึงไม่มี "พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"
พึงใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา พึงเร่งขวนขวายพากเพียรสั่งสมเมล็ดพันธุ์แห่งบารมีในชาตินี้ โดยเพียรสั่งสมทั้งเมล็ดพันธุ์แห่งศีล เมล็ดพันธุ์แห่งสมาธิ และเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา
เมล็ดพันธุ์แห่งศีลสำหรับคฤหัสถ์ได้แก่ ศีล ๕ (เบญจศีล), อาชีวัฏฐมกศีล, ศีล ๘ (อัฎฐังคอุโบสถศีล) และ ศีล ๑๐ (ทศังคศีล)" ส่วนเมล็ดพันธุ์แห่งศีลสำหรับพระภิกษุได้แก่ ภิกษุศีล
เมล็ดพันธุ์แห่งสมาธิ ได้แก่ ความเพียรจนเกิดบริกรรมสมาธิ โดยใช้แนวทางใดทางหนึ่งในกรรมฐานทั้ง ๔0 เช่น กสิณ ๑๐ เป็นอาทิ แล้วพากเพียรต่อไปจนบรรลุอุปจารสมาธิ (สมาธิใกล้ฌาน) และหากพยายามต่อไปก็จะบรรลุอัปปนาสมาธิ (สมาธิในองค์ฌาน) ได้
เมล็ดพันธุ์แห่งปัญญา ได้แก่ การเจริญสติให้เกิดความเห็นแจ้งเข้าใจในรูป (สภาวธรรมทางกาย), นาม (สภาวธรรมทางจิต), ขันธ์ (ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่ประชุมรวมเข้าเป็นชีวิต), อายตนะ (แดนต่อหรือแดนเกิดของความรับรู้), ธาตุ (สภาพรู้), สัจจะ (ความจริง), ปฏิจจสมุปปบาท (การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันและกัน จึงเกิดมีขึ้น) และ การเจริญปัญญาให้เห็นแจ้งแทงทะลุในไตรลักษณ์ของสรรพสิ่ง อันได้แก่ อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้ถาวร), ทุกขัง (ความเป็นทุกข์ ไม่น่าพึงพอใจ), และ อนัตตา (ความไม่ใช่ตัวตน)
ในบรรดาเมล็ดพันธุ์ของมัคคญาณและผลญาณทั้ง ๓ ดังกล่าวมานี้ ศีลและสมาธิเปรียบเสมือนเครื่องประดับที่แต่งแต้มโลกให้งดงามยิ่งขึ้น ศีลและสมาธิยังคงมีอยู่แม้ในช่วงสุญญกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก บุคคลจึงสามารถเก็บเกี่ยวสั่งสมเมล็ดพันธุ์แห่งศีลและสมาธิได้ทุกเมื่อที่ปรารถนา ซึ่งแตกต่างจากเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญาที่ว่าด้วยรูป (สภาวธรรมทางกาย), นาม (สภาวธรรมทางจิต), ขันธ์ (ส่วนประกอบ ๕ อย่างที่ประชุมรวมเข้าเป็นชีวิต), อายตนะ (แดนต่อหรือแดนเกิดของความรับรู้), ธาตุ (สภาพรู้), สัจจะ (ความจริง) และ ปฏิจจสมุปปบาท (การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันและกัน จึงเกิดมีขึ้น) เพราะเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญาจะสั่งสมได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาเท่านั้น
เมื่อมิได้พบพระพุทธศาสนา บุคคลนั้นจะไม่มีโอกาสได้ยินถ้อยคำแม้สักคำเดียวที่เกี่ยวเนื่องด้วยปัญญา ไม่ว่าสุญญกัปอันเนิ่นนานราวไม่รู้จบนั้นจะยาวนานสักเพียงใดก็ตาม
ด้วยเหตุนี้ บุคคลผู้โชคดีที่ได้เกิดมาในช่วงเวลาซึ่งพระพุทธศาสนายังคงเรืองรองเช่นในปัจจุบัน หากมีความประสงค์จะสั่งสมเมล็ดพันธุ์แห่งมัดคญาณเอาไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าตนจะบรรลุความพ้นทุกข์ได้อย่างแน่นอนในชาติต่อๆ ไป ภายในช่วงของพระพุทธศาสนาข้างหน้า แทนที่จะเพียรสั่งสมแต่เมล็ดพันธุ์แห่งศีลและสมาธิ พึงใส่ใจเรียนรู้ปรมัตถ์ (ความจริงแท้) ให้มากเป็นพิเศษแม้ว่า การเรียนรู้นั้นจะยากสักเพียงใดก็ตาม อย่างน้อยที่สุด ก็ควรเพียรพยายามจนเกิดปัญญาเห็นแจ้งในธาตุทั้ง ๔ (มหาภูตรูป : ปฐวี, อาโป, เตโช และ วาโย) ที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกายของตน เมื่อบุคคลใดเกิดปัญญาเห็นแจ้งในธาตุทั้ง ๔ ขึ้นแล้ว ก็เท่ากับว่าผู้นั้นได้สั่งสมเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญาที่หาได้ยากยิ่งไว้แล้ว แม้ว่าบุคคลผู้นั้นจะไม่มีความรู้เรื่องอื่นใดในพระอภิธรรมอีกเลย ก็ยังถือได้ว่าเขาได้ใช้ประโยชน์จากโอกาสอันทรงค่าที่ได้เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาอย่างคุ้มค่ายิ่งแล้ว