แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอังคารที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๘๗ การมีศีลมากมีพระวินัยเยอะนั้นดี เพื่อได้เบรคตัวเองหยุดตนเอง เพื่อพัฒนาใจให้สูงส่ง
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
คำว่า “พระ” คือพระธรรมคือพระวินัย เรียกว่าพระศาสนา พระศาสนานั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนคือ ธรรมะวินัย ผู้ที่บวชมา พระพุทธเจ้าถึงให้ ประพฤติปฏิบัติ ประพฤติพรหมจรรย์ ก็คือพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ เพราะว่า พระธรรมพระวินัยนั้นไม่ใช่กฎหายบ้านเมือง มันเป็นเรื่องจิตเรื่องใจ เป็นเรื่องกฎแห่งกรรม เพื่อจะหยุดกรรม หยุดเวร หยุดภัย ฝ่ายที่เป็นพลังงาน แห่งการเวียนว่ายตายเกิด ผู้ที่บวชมาจึงไม่ได้เป็นพระ เป็นแต่เพียงภิกษุ เริ่มต้นเป็นแต่เพียงภิกษุ พระนับเอาตั้งแต่พระโสดาบันไปจนถึงพระอรหันต์
คำว่า “พระเถระ” หมายถึง พระอริยเจ้า ตั้งแต่พระโสดาบันไปจนถึงพระอรหันต์ ทั้งฆราวาสทั้งบรรพชิตนักบวชก็สามารถเป็นพระได้ ให้ทุกท่านทุกคนพากันเข้าใจ ทุกท่านทุกคนต้องพากันมา ปรับที่ใจ ปฏิบัติที่ใจ มีเจตนามีความตั้งใจ ที่เป็นสัมมาสมาธิ ที่สมาธิไม่ต้องเข้าไม่ต้องออก เป็นสัมมาสมาธิ เป็นปัญญา ที่มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง มีความสุขในการเสียสละในชีวิตประจำวันในปัจจุบันของเราทุกคน ท่านถึงให้ทุกคนพากันมาประพฤติพากันมาปฏิบัติ พัฒนาที่ใจของเรา
ตั้งแต่ก่อนประเทศไทยเนี่ย มันมียาทันใจ เพราะว่าทุกคนเนี่ยอยากจะให้มันทันใจใช่ไหม แต่ทุกอย่างมันก็ไม่ทันใจหรอก ถึงมาเปลี่ยนชื่อยาว่า ยาทัมใจ ยานี้มีอยู่ตั้งแต่ต้นๆ ปี ๒๕๐๐ แล้ว ยาทัมใจนี่นะ แต่ก่อนยาปวดหาย แต่ก่อนชื่อยาปวดหายนะ แต่เดี๋ยวนี้เขามาตั้งชื่อใหม่แล้ว ชื่อ ยาบวดหาย บวชก็คือมาหยุดตัวเอง มาหยุดที่ใจตัวเอง สรุปแล้วก็คือยาทัมใจ กับ ยาบวดหาย มันก็คืออย่างเดียวกัน ทุกท่านทุกคนถึงต้องพากันมาปฏิบัติที่ตัวเอง เพราะว่าปัญหาต่างๆ นั้น มันมีอยู่ที่ตัวเอง ถ้าไม่อย่างนั้นนะ มันจะมีแต่แบรนด์เนม มีแต่ยี่ห้อ มีแต่อวิชชาความหลง กิเลสมันจะพากันลอยนวลนะ ผู้ที่บวชมาหน่ะจึงไม่เห็นความสำคัญในการที่จะแก้ไขตัวเอง ต้องพากันเข้าใจ เราจะได้มีความเห็นถูกต้องปฏิบัติถูกต้อง ที่ผ่านมานี้ นับว่าเสียหายมาแล้วหลายร้อยปี จะมีผู้ที่มีบุญมีวาสนาที่จะบีรรลุธรรมมีน้อยนะ
สัปปายะก็มีอยู่แล้วนะ ธรรมะสัปปายะ เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้านี่ก็สัปปายะ 100% เต็มนะ ทั้งอรรถะ ทั้งพยัญชนะ บุคคลสัปปายะ คือ เราเกิดมาเป็นมนุษย์เรายังมีลมหายใจ เราไม่ได้เป็นคนบ้าใบ้ เสียจริต บุคคลก็คือตัวเรานี่แหละ มันก็สัปปยะอยู่แล้ว อาหารการรับปะทานมันก็สัปปายะอยู่แล้ว เราก็ต้องพากันเข้าใจนะ อาหารก็สัปปายะถ้าเป็นประชาชนอย่างนี้นะ เราก็ทำงานพร้อมกันปฏิบัติธรรมไปในตัว ความยากจนของเรามันก็ไม่มี เพราะเราเป็นคนคิดผิด เข้าใจผิด เป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน ตกอยู่ในอบายมุข อบายภูมิ มันก็ต้องยากจนเป็นธรรมดา เพราะเราเป็นมิจฉาทิฐิ ความเป็นจริงแล้วหน่ะ ถ้าเราภาวนา มีความสุขระดับสูงเหมือนนักบวชแล้ว เราก็ไม่ต้องพึ่งวัตถุอะไรมาก ต้องพึ่งพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ มาแก้ที่ใจของเรา เราทุกคนจะมีความสุข เมื่อเราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ประชาชนทุกคนก็ย่อมให้ความเคารพนับถือกราบไหว้บูชา เพราะเราเป็นพระเป็นสมณะอย่างนี้ พระพุทธเจ้าถึงบอกเราทุกคนให้พึ่งตัวเอง พึ่งตัวเองคือพึ่งความเห็นถูกต้องความเข้าใจถูกปฏิบัติถูกต้อง พึ่งศีลพึ่งตัวเอง ศีลทุกข้อทุกสิกขาบททั้งหลายที่น้อยใหญ่หน่ะ ถึงแม้เราจะเป็นพระอรหันต์ขีนณาสพแล้วเราก็ต้องกตัญญูกตเวที ต่อพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าบำเพ็ญพุทธบารมีมาอย่างยาวนาน กว่าจะได้ตรัสรู้ กว่าจะได้มาบอกสิกขาบทน้อยใหญ่
ผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอริยะเจ้าอย่างพระมหากัสสปะอย่างนี้ ท่านก็ทรงธุดงควัตร อย่างผู้มีปัญญามาก พระสารีบุตรท่านก็ยังทรงธรรมทรงพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ เราดูตัวอย่างพระสารีบุตร เป็นพระอรหันต์แล้วท่านอาพาธ คุยกับพระโมคคัลลานะว่า เมื่อสมัยก่อนได้ฉันข้าวยาคู ที่โยมแม่ทำให้ เทวดาเมื่อได้ยินก็ไปบอกประชาชนให้ทำอาหารนั้น พระสารีบุตรก็รู้ว่าอันนี้มันเกิดจากที่เราคุยกัน ไม่ยอมฉัน เพื่อรักษาพระวินัยเป็นตัวอย่างแบบอย่างของกุลบุตรลูกหลาน อย่างพระมหากัสสปะก็ทรงธุดงควัตร ทั้งที่ท่านก็เป็นพระอรหันต์แล้ว ก็เพื่อประโยชน์ของกุลบุตรลูกหลานทุกรูปหน่ะไม่มีใครปล่อยวางพระธรรมปล่อยวางพระวินัยเลย เพราะเรื่องกตัญญูกตเวทีเป็นสิ่งที่สำคัญหน่ะ เพราะคนรู้อยู่แล้ว ทำไม…คนในโลกนี้ถึงไม่ได้เป็นพระอรหันต์หน่ะ ทำไมคนในโลกนี้ไม่ได้เป็นพระอริยเจ้า เพราะว่าไม่ได้แก้จิตไม่ได้แก้ใจ ปล่อยให้ใจมี sex มีเพศสัมพันธุ์ มีการเสพสมทางทางจิตใจ บวชก็บวชจริง บวชแต่ทางกาย แต่ใจมันไม่ได้บวช เพราะไม่เห็นความสำคัญในในสิกขาบทน้อยใหญ่
พระพุทธเจ้าท่านให้เราทุกคนพากันเข้าใจ เราจะเห็นความสำคัญในสิกขาบทน้อยใหญ่ มีเจตนาไม่กล้าคิดไม่กล้าพูดไม่กล้าทำ เรียกว่า หิริโอตตัปปะ ก็คือ การละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป คือความกตัญญูกตเวที เพื่อจะได้ส่งบอลให้กุลบุตรลูกหลานอย่างนี้ เพราะว่าถ้าไม่มีการประพฤติไม่มีการปฏิบัติ ก็เหมือนประเทศเรานี่แหละ กฎหมายบ้านเมืองก็มี แต่ไม่ค่อยมีใครประพฤติไม่ค่อยมีใครปฏิบัติ แต่กฎหมายบ้านเมืองนั้นเป็นระดับภายนอกเรียกว่า ระดับหินทับหญ้า มันหยาบเข้าสำหรับขังคุกหรือปรับไหม หรือว่ามากก็เข้าขั้นประหารชีวิต
แต่พระธรรมพระวินัยนี้เป็นเรื่องจิตเรื่องใจที่ทุกคนจะต้องแก้ไขตัวเอง อย่างนี้ทุกคนให้เข้าใจนะ เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้น มันสัปปายะอยู่แล้ว โภชเน มตฺตญฺญุตา รู้จักประมานในเรื่องบริโภคหน่ะ บริโภคก็คือบริโภคทางกาย บริโภคทางวาจา บริโภคทางใจ พระพุทธเจ้าท่านให้เราต้องเข้าใจ ให้เราเสียสละ การที่บริโภคที่ให้ร่างกายอยู่ได้ ไม่ใช่เพื่อความเอร็ดอร่อย เพื่อเสียสละ อาหารไม่หวานเกิน ไม่เค็มเกิน ไม่มันเกิน ไม่เย็นไม่ร้อนเกิน ไม่เป็นอาหารบูดอาหารเน่า เขาเรียกว่าเราต้องเสียสละ เสียสละนั้นเขาเรียกว่าการให้ทาน ทานความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกจากใจของเรา เขาถึงเรียกว่ารับปะทานหน่ะ ก็คือกลับมาหาหลักเถระเนี่ยแหละ การละความโกรธความโลภความหลงเขาเรียกว่า เถระ คือมันละ มันหยุดกงกรรมกงเกวียน มันคิดในสิ่งที่ควรคิด
เพราะคนเราอย่างเป็นประชาชนก็มีครอบครัวอย่างนี้แหละ มีผัวเดียวเมียเดียวก็พอแล้ว อย่าไปมี sex ทางความคิด มี sex ทางอารมณ์ พวกเด็กๆมันยังเป็นหนุ่มเป็นสาวพ่อแม่ยังๆ ไม่อณุญาต ก็ไม่ต้องไปมี sex ไปมีเพศสัมพันธุ์กับใคร เขาเรียกว่า รู้จักประมานในการบริโภค รถเขาก็ยังมีเบรค มีพวงมาลัย หมุนให้ซ้ายให้ขวาให้ตรงไป เราต้องรู้จัก อันนี้เป็น อริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างนี้นะ ทุกคนต้องหยุดได้เบรคได้ จะไปทำเหมือนพระมหายาน พระมหายานนี่ไม่เบรคตัวเองเลย วันนึงฉันอาหารตั้งหลายครั้ง พระที่ไม่ได้เป็นนักปฏิบัตินะ บางทีรถวิ่งไปเดินทางไกล พระมหายานเขาขับรถเอง 4 ทุ่ม แล้ว 5 ทุ่มแล้ว หืมม.. เขาก็จอดรถ หลวงพ่อกก็ถามว่า “จอดทำไม” เขาก็บอกว่า “จะไปฉันข้าว” หลวงพ่อก็ถาม “ไปฉันที่ไหน” เขาก็บอกว่า “นี่ๆ ร้านอาหารนี่นะ” ว่าแล้วก็เปิดประตูออกไปหายเงียบไปเลย ครึ่งชั่วโมงเขาถึงกลับมา แล้วบอกว่า โอ้... สบายละ อย่างนี้แสดงว่ามันไม่มีเบรค อยากจะคิดอะไรก็คิด อยากจะพูดอะไรก็พูด อยากจะทำอะไรก็ทำ พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า โภชเน มตฺตญฺญุตา ต้องปรับตัวเองเข้าหาธรรมะ เข้าหาพระวินัย พวกที่มาบวชเป็นพระนี่ พระพุทธเจ้าให้ฉันวันละครั้ง พวกที่ฉันเพลฉันอะไรเนี่ย เขาเรียกว่าสำหรับพระป่วย พวกที่ฉันน้ำปานะอะไรต่างๆ นี่สำหรับพระป่วย ฉันน้ำปานะตอนเย็นอย่างนี่นะ ต้องเข้าใจถ้าอย่านั้นเราก็ตามไปเรื่อย พวกที่มีศีล ๕ ถึงได้บุญได้กุศลน้อยกว่าศีล ๘ เพราะว่าไม่ได้เบรคตัวเองไม่ได้หยุดตนเอง
มีศีลมากมีพระวินัยเยอะมันดี คนเราร่างกายเรามันไม่รู้อะไรหรอก เวลาโกรธมันก็น้ำตาไหล ให้มันรักมันชอบ พวกผู้หญิงมันก็ผลิตฮอร์โมน ออกมา พวกผู้ชายก็ผลิตน้ำอสุจิ ออกมา ตามความคิดที่ได้กินอร่อย เขาเรียกว่าจุดสุดยอด ตามใจตัวเองเขาเรียกว่าสุดยอด หรือว่า climax มันประดิษฐ์กรรม ประดิษฐ์เวร ประดิษฐ์ภัย เราต้องรู้จัก พระพุทธเจ้าสอนเรา ท่านถึงบอกว่าอินทรีย์สังวร สำรวมทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ
สังวร หมายถึง การสำรวมระวัง ในการป้องกันความชั่วไม่ให้เกิดขึ้น ทำความดีให้เพิ่มพูนขึ้น เพื่อความก้าวหน้าในการประพฤติปฏิบัติ จากระดับศีล จนถึงการละความชั่วและการบำเพ็ญความดีขั้นละเอียด ในการปฏิบัติเพื่อผลดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยการสำรวมระวัง ได้แก่
๑. ปาฏิโมกขสังวร - สำรวมระวังด้วยศีลปาฏิโมกข์ คือ การสำรวมระวังตามสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ด้วยการไม่ล่วงละเมิด สิกขาบทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือ ปาติโมกขสังวรศีล คือ การสำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ไม่ละเมิดข้อที่ทรงห้ามและทำตามข้อที่ทรงอนุญาต ทำตัวให้สมบูรณ์ด้วยมรรยาทโคจร คือสถานที่ซึ่งตนจะเที่ยวไปโดยเลือกเข้าไปในสถานที่ที่สมควรแก่ภาวะของตนเท่านั้น เห็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยว่าเป็นของน่ากลัว สมาทานศึกษาสำเหนียกในสิกขาบททั้งหลาย
สำหรับพระภิกษุหมายถึงการทำให้สมบูรณ์ในปาริสุทธิศีล ๔ คือ
- ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาตดังกล่าวแล้ว
- อินทรียสังวร สำรวมระวังอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย ในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส และ รู้อารมณ์ด้วยใจ
- อาชีวปริสุทธิ เลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ไม่แสวงหาปัจจัย ในการดำรงชีวิตในทางอเนสนา คือ การแสวงหาที่ไม่ชอบ ด้วยพระธรรมวินัยหรือหลอกลวงคนอื่น ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พระจันทร์และพระอาทิตย์ไม่ได้ร้อนแรงและรุ่งเรืองด้วยรัศมีเพราะโทษมลทิน ๔ ประการ คือ หมอก ควัน ธุลี และอสุรินทราหู กำบังฉันใด ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะไม่มีตบะรุ่งเรืองด้วยศีล เพราะโทษมลทิน ๔ ประการปิดบังไว้ คือ ดื่มสุราเมรัย เสพเมถุนธรรม ยินดีรับเงินและทองอันเป็นเหมือนภิกษุนั้นยินดีบริโภคซึ่งกามคุณ และภิกษุเลี้ยงชีพในทางมิชอบด้วยเวชชกรรม กุลทูสกะ (ประจบเอาใจคฤหัสถ์ด้วยอาการอันผิดวินัย) อเนสนา (การหาลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรภิกษุ) และวิญญัติ (ขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ที่ไม่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา) พร้อมด้วยกล่าวอวดอุตตริมนุษย์ธรรม อันไม่มีจริง"
อุปปถกริยา คือ การกระทำนอกรีตนอกรอยของพระภิกษุสามเณรมี ๓ ประเภท ได้แก่ (๑) อนาจาร คือ การประพฤติที่ไม่ดีไม่งาม ไม่เหมาะสม แก่ภาวะของความเป็นบรรพชิต ซึ่งมี 3 อย่าง คือ การเล่นเหมือนเด็ก การร้อยดอกไม้ การเรียนดิรัจฉานวิชา เช่น การทำนายฝัน การทายหวย การทำเสน่ห์ ดูลายมือ เป็นต้น (๒) บาปสมาจาร คือ ความประพฤติเหลวไหล เลวทราม เช่น ชอบประจบคฤหัสถ์ด้วยอาการอันไม่เหมาะสม
(๓) อเนสนา คือ การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่เหมาะสมกับความเป็นภิกษุ ผิดสมณวิสัย เช่น การหลอกลวงเขาด้วยการอวดอุตริมนุสธรรม ทำวิญญัติ คือออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ ใช้เงินลงทุนหาผลประโยชน์ ต่อลาภด้วยลาภ คือให้แต่น้อยเพื่อหวังตอบแทนมาก เป็นหมอเวทมนต์ เสกเป่า เป็นต้น
- ปัจจยปัจจเวกขณะ ก่อนจะบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานเภสัช ให้พิจารณาเสียก่อน ไม่บริโภคปัจจัยด้วยตัณหา
๒. สติสังวร - สำรวมระวังด้วยสติ คือ การสำรวมด้วยสติ โดยอาศัยสติเป็นเครื่องระลึกถึงเรื่องที่ทำ คำที่พูด สิ่งที่คิดแม้นานแล้วได้ ก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิดอะไร ให้อาศัยสติระลึกถึง การกระทำเป็นต้นเหล่านั้น ว่าควรหรือไม่ควรอย่างไร ให้สติเป็นเครื่องห้าม สกัดกั้นไว้ไม่ให้เกิดความกำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง มัวเมา ในอารมณ์ทั้งหลายที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓. ญาณสังวร - สำรวมระวังด้วยญาณ “ญาณ” เป็นชื่อของความรู้ หมายถึงการใช้ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ให้เกิดความรู้เท่าทัน เพื่อไม่ให้ใจตกไปสู่อำนาจของอารมณ์ต่างๆ มีรูปเป็นต้น จนจิตไม่ตกไปสู่อำนาจของกิเลสทั้งหลาย มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นอาทิ การสำรวมระวังด้วยญาณนี้ พึงปฏิบัติตามนัยแห่งพระพุทธภาษิตที่ทรงแสดงไว้ ในทุกขธัมมสูตร อาสีวิสวรรค สังยุตตนิกาย ความว่า "ที่เรียกว่า สังวร เพราะเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่น้อมไปในรูปอันน่าปรารถนา ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งกายคตาสติไว้ มีใจหาประมาณมิได้ ย่อมรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับไม่เหลือ แห่งอกุศลธรรมอันลามก อันบังเกิดขึ้นแล้วแก่เธอตามความเป็นจริง ทั้งเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมมารมณ์เช่นเดียวกันนั้นด้วย"
๔. ขันติสังวร - สำรวมด้วยขันติ การสำรวมระวังด้วยขันติ หมายถึง การไม่แสดงอาการอ่อนไหว ไปตามอารมณ์หรือเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติ ทุกขเวทนาทางกาย ความไม่สบายใจก็ตาม ไม่แสดงอาการขึ้นลง ในยามประสบสุขและทุกข์ สามารถรักษาปกติภาพของตนไว้ได้ ในทุกกรณีเพราะ "ขันติย่อมห้ามความผลุนผลันไว้ได้ และเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์"
๕. วิริยสังวร - สำรวมระวังด้วยความเพียร ยึดหลักของปธาน คือ ความเพียร ๔ เป็นแนวในการปฏิบัติ คือ
- สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้นภายในจิตของตน เช่น วิตกอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งจะเกิดขึ้น รู้ว่านี่เป็นอกุศลก็พยายามระวังใจไว้ ไม่ให้ตรึกนึกถึงเรื่องที่ก่อให้เกิดอกุศลเหล่านั้น
- ปหานปธาน เพียรละ บาป อกุศลที่เกิดขึ้นแล้วภายในจิต หรือจิตตรึกนึกไปในทางอกุศล ก็พยายามละสิ่งเหล่านั้นเสีย
- ภาวนาปธาน เพียรพยายามให้กุศล คือความดีที่ยังไม่มี ให้มีขึ้น ภายในจิตของตน ไม่ว่าจะน้อยหรือมากก็ตาม พึงปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญมีประมาณน้อยจะไม่ให้ผล น้ำฝนตกลงมาทีละหยาด สามารถยังภาชนะที่รองรับให้เต็มได้ฉันใด ผู้ทำความยินดีในการทำบุญ สะสมบุญทีละน้อย จิตใจจะเต็มไปด้วยบุญฉันนั้น และการสั่งสมบุญไว้นำความสุขมาให้"
- อนุรักขนาปธาน เพียรพยายามรักษากุศล ความดีที่มีอยู่แล้ว ไม่ให้เสื่อมไป เหมือนกับการรบชนะข้าศึกแล้ว ยึดพื้นที่ที่ตนครอบครองไว้ได้ ไม่ให้ตกไปในอำนาจของข้าศึกอีก ฉะนั้น
วิริยสังวรในระดับหนึ่งหมายถึงการมีความพยายามใช้สติระลึกรูปนามโดยให้เห็นความเกิด ดับ แห่งรูปนามด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิให้เบาลง.
ให้รู้จักสังวรในศีลในปฏิโมกข์ เพราะธรรมวินัย คือมรรคผล คือพระนิพพาน เราทุกท่านทุกคน จะได้พากันรู้จักพระศาสนา นึกว่าศาสนาคือโบสถ์ คือวิหาร คือเจดีย์ คือพระพุทธรูป ยุ่งไปหมด เรียไรหาเงินหาสตางค์ บอกประชาชนให้พร้อมเพียงกันสมัครสมานบริจาคกัน มันไปสร้างแต่พระภายนอก ศาสนาแต่ภายนอก ไม่มีใครมาแตะต้องตัวเอง ไม่มีใครมาสร้างตัวเองเลย มันเสียหายนะ มีพระศาสนาแล้วก็ไม่ได้มาปฏิบัติ มีกุฏิ มีวิหาร มีวัด เรียกว่า ศูนย์รวมแห่งการทำดี คิดดี พูดดี มันก็ไม่ได้ปฏิบัติอะไร อยู่ในวัดมันก็มีโทรทัศน์ มีสิ่งที่บันเทิงทางกามารมณ์มันผิด เราต้องพากันเช้าใจ เรื่องศีลเรื่องสำรวมอินทรีย์ต้องพากันเข้าใจ เราทำไม่ถูก มันทำอย่างไงก็ไม่ถูก หลวงตามหาบัวถึงบอกว่าถ้ามันไม่ถูกมันก็ไม่ถูก เราติดกระดุมอันแรกมันผิด กระดุมอีก 4-5 ตัวที่ให้มันปิดหน้าอกหน้าท้องมันก็ผิดหมดอะไรอย่างนี้ ให้พากันเข้าใจอย่างนี้
มรรคผลนิพพานเราควรจะได้นะ เราควรจะปฏิบัตินะ การเกิดแก่เจ็บตายมันไม่ดี พระพุทธเจ้าหน่ะ พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา พญามารมานิมนต์พระพุทธเจ้าให้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ในพรรษาที่ ๔๕ อันเป็นพรรษาสุดท้ายแห่งพระชนมายุ พระบรมศาสดาเสด็จประทับ ณ บ้านเวฬุคาม เขตเมืองไวศาลี ทรงพระประชวรหนักเกิดทุกขเวทนาแรงกล้า แต่พระพุทธองค์ทรงดำรงพระสติสัมปชัญญะมั่นคงทรงอดกลั้นในทุกขเวทนาด้วยความอดทน ทรงเห็นว่ายังมิควรที่จะปรินิพพานในเวลานี้ จึงบำบัดขับไล่อาพาธให้สงบระงับด้วยความเพียรในอิทธิบาทภาวนา พระพุทธองค์เสด็จมาถึงปาวาลเจดีย์ ประทับภายใต้ต้นไม้ซึ่งมีเงาครึ้มต้นหนึ่ง ตรัสกับพระอานนท์ว่า "อานนท์! ผู้อบรมอิทธิบาท ๔ มาอย่างดีแล้ว ทำจนแคล่วคล่องแล้วอย่างเรานี้ ถ้าปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ถึง ๑ กัป คือ ๑๒๐ ปี ก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้" พระโลกนาถตรัสดังนี้ถึงสามครั้ง แต่พระอานนท์ก็คงเฉย มิได้ทูลอะไรเลย ความวิตกกังวลและความเศร้าของท่านมีมากเกินไป จนปิดบังดวงปัญญาเสียหมดสิ้น ความจงรักภักดีอย่างเหลือล้นที่ท่านมีต่อพระศาสดานั้น บางทีก็ทำให้ท่านลืมเฉลียวถึงความประสงค์ของผู้ที่ท่านจงรักภักดีนั้น ปล่อยโอกาสทองให้ล่วงไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อเห็นพระอานนท์เฉยอยู่พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "อานนท์! เธอไปพักผ่อนเสียบ้างเถิด เธอเหนื่อยมากแล้ว แม้ตถาคตก็จะพักผ่อนเหมือนกัน พระอานนท์จึงหลีกไปพักผ่อน ณ โคนต้นไม้อีกต้นหนึ่ง
ณ บัดนั้น พระตถาคตเจ้าทรงรำพึงถึงอดีตกาลนานไกล ซึ่งล่วงมาแล้วถึง ๔๕ ปี สมัยเมื่อพระองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ท้อพระทัยในการที่จะประกาศสัจธรรมเพราะเกรงว่าจะทรงเหนื่อยเปล่า แต่อาศัยพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ จึงตกลงพระทัยย่ำธรรมเภรี และครานั้นพระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ว่า ถ้าบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ยังไม่เป็นปึกแผ่นมั่นคง ยังไม่สามารถย่ำยีปรัปวาท คือคำกล่าวจ้วงจาบล่วงเกินจากพาหิรลัทธิที่จะพึงมีต่อพระพุทธธรรม คำสอนของพระองค์ยังไม่แพร่หลายเพียงพอตราบใด พระองค์ก็จะยังไม่นิพพานตราบนั้น ก็แลบัดนี้ พระธรรมคำสอนของพระองค์แพร่หลายเพียงพอแล้ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ฉลาดสามารถพอที่จะดำรงพรหมจรรย์ศาสโนวาทของพระองค์แล้ว เป็นกาลสมควรแล้วที่พระองค์จะเข้าสู่มหาปรินิพพาน
ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงทรงปลงพระชนม์มายุสังขารคือตั้งพระทัยแน่วแน่ว่า พระองค์จักปรินิพพานในวันวิสาขะปุรณมีคือวันเพ็ญเดือน ๖ การปลงพระชนม์มายุสังขารอธิษฐานพระทัยว่า จะปรินิพพานของพระบรมศาสดาจารย์ก็ฉันนั้น ก่อความวิปริตแปรปรวนแก่โลกธาตุทั้งสิ้น มหาปฐพีมีอาการสั่นสะเทือน รุกขสาขาหวั่นไหวไกวแกว่งด้วยแรงวายุโบกสะบัดใบอยู่พอสมควร แล้วนิ่งสงบมืออาการประหนึ่งว่าเศร้าโศกสลดในเหตุการณ์ครั้งนี้ ณ เบื้องบนท้องฟ้าสีครามกลายเป็นแดงเข้มดุจเสื่อลำแพน ซึ่งไล้ด้วยเลือดสด ปักษาชาติร้องระงมสนั่นไพรเหมือนจะประกาศว่าพระผู้ทรงมหากรุณากำลังจะจากไปในไม่ช้านี้
พระอานนท์สังเกตเห็นความวิปริตแปรปรวนของโลกธาตุดังนี้ จึงเข้าเฝ้าพระจอมมุนีทูลถามว่า "พระองค์ผู้เจริญ! โลกธาตุนี้วิปริตแปรปรวนผิดปกติไม่เคยมี ไม่เคยเป็นได้เป็นแล้วเพราะเหตุอะไรหนอ?" พระทศพลเจ้าตรัสว่า "อานนท์เอย! อย่างนี้แหละ คราใดที่ตถาคตประสูติ ตรัสรู้ หมุนธรรมจักร ปลงอายุสังขาร และนิพพาน ครานั้นย่อมจะมีเหตุการณ์วิปริตอย่างนี้เกิดขึ้น"
พระอานนท์ทราบว่า บัดนี้พระตถาคตเจ้าปลงอายุสังขารเสียแล้ว ความสะเทือนใจและว้าเหว่ประดังขึ้นมาจนอัสสุชลธาราไหลหลั่งสุดห้ามหัก เพราะความรักเหลือประมาณที่ท่านมีในพระเชฏฐภาดาท่านหมอบลงที่พระบาทมูลแล้วทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ! ขอพระองค์อาศัยความกรุณาในข้าพระองค์และหมู่สัตว์ จงดำรงพระชนม์ชีพต่อไปอีกเถิดอย่าเพิ่งด่วนปรินิพพานเลย" กราบทูลเท่านี้แล้วพระอานนท์ก็ไม่อาจทูลอะไรต่อไปอีก เพราะโศกาดูรท่วมท้นหทัย
"อานนท์เอย!" พระศาสดาตรัสพร้อมด้วยทอดทัศนาการไปเบื้องพระพักตร์อย่างสุดไกล มีแววแห่งความเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตร และพระพักตร์ "เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจ ตถาคตจะต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะอีก ๓ เดือนข้างหน้านี้ อานนท์! เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมาไม่น้อยกว่า ๑๖ ครั้งแล้วว่าคนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดี ถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปคือ ๑๒๐ ปี ก็พออยู่ได้ แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ มิได้ทูลเราเลย เราตั้งใจไว้ว่าในคราวก่อนๆ นี้ ถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไปเราจะห้ามเสียสองครั้ง พอเธอทูลครั้งที่ ๓ จะรับอาราธนาของเธอ แต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เราไม่อาจกลับใจได้อีก" พระศาสดาหยุดอยู่ครู่หนึ่งแล้วตรัสต่อไปว่า "อานนท์! เธอยังจำได้ไหม ครั้งหนึ่ง ณ ภูเขาซึ่งมีลักษณะยอดเหมือนนกแร้ง อันได้นามว่า "คิชฌกูฏ" เคยพูดกับเธอว่า คนอย่างเราถ้าจะอยู่ต่อไปอีก ๑ กัปป์ หรือเกินกว่านั้นก็พอได้ แต่เธอก็หารู้ความหมายแห่งคำที่เราพูดไม่
"อานนท์! ต่อมาที่โคตมนิโครธ, ที่เหวสำหรับทิ้งโจรที่ถ้ำสัตตบรรณใกล้เวภารบรรพต, ที่กาฬศิลาใกล้เขาอิสิคิลิ, ที่เงื้อมเขาชื่อสัปปิโสณทิกาใกล้ป่าสีตะวัน, ที่ตโปทาราม, ที่เวฬุวันสวนไผ่อันร่มรื่นของจอมเสนาแห่งแคว้นมคธ, ที่สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจ, ที่มัททกุจฉิมิคาทายวัน ทั้ง ๑๐ แห่งนี้อยู่ ณ เขตแขวงราชคฤห์ "ต่อมาเมื่อเราทิ้งราชคฤห์ไว้เบื้องหลัง แล้วจาริกสู่เวสาลีนครอันรุ่งเรืองยิ่ง เราก็ได้นัยแกเธออีกถึง ๖ แห่ง คือที่อุเทนเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ โคตมกเจดีย์ พหุปุตตเจดีย์ สารันทเจดีย์ และปาวาลเจดีย์เป็นแห่งสุดท้าย คือสถานที่ซึ่งเราอยู่ ณ บัดนี้ แต่เธอก็หาเฉลียวใจไม่ ทั้งนี้เป็นความบกพร่องของเธอเอง เธอจะคร่ำครวญเอาอะไรอีก "อานนท์เอย! บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้ว เรื่องที่จะดึงกลับคืนมาอีกนั้นมิใช่วิสัยแห่งตถาคต อานนท์! เรามิได้ปรักปรำเธอ เธอเบาใจเถิด เธอได้ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว บัดนี้เป็นกาลสมควรที่ตถาคตจะจากโลกนี้ไป แต่ยังเหลือเวลาอีกถึง ๓ เดือน บัดนี้สังขารของตถาคตเป็นเสมือนเรือรั่ว คอยแต่เวลาจะจมลงสู่ท้องธารเท่านั้น "อานนท์! เราเคยบอกเธอแล้วมิใช่หรือว่าบุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอย! ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกไป ดับไป สลายไป เป็นธรรมดา จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้น เป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปเคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวอยู่ทุกขณะ"
พระพุทธองค์แสดงนิมิตโอภาสไป ๑๖ ครั้ง พระพุทธเจ้าพูดอย่างนี้เพื่อที่จะให้พระอานนท์นิมนต์ แต่พระอานนท์ก็ไม่อาราธนาพระพุทธเจ้า เพราะพญามารดลใจ เพราะว่าพญามารกลัวพระพุทธเจ้าจะสั่งสอน พสกนิกรชาวโลกให้มีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง
เราทุกคนต้องพากันเข้าใจ รู้ว่าสิ่งไหนเป็นของดี สิ่งไหนเป็นของมีค่า เราจะได้สร้างพระขึ้นมาในตัวเราทุกคน เพราะตัวเราก็มีแต่ไสยศาสตร์ คนอื่นก็มีแต่ไสยศาสตร์ มารวมกัน มืดไปหมด มึนไปหมด ธรรมะไม่ใช่สิ่งที่จะลำบากเกิน เพราะว่ามันเป็นความสุขอยู่แล้ว แต่เรามีความเห็นผิดเข้าใจผิด ถึงได้หลงเพลิดเพลิน ขอไปเรื่อย ขอโอกาสไปเรื่อย ขอไปขอมาอายุก็ ๕๐-๖๐ ปี เขาเรียกว่าเสียหายอย่างนี้ เราจะไปเอาสิ่งที่ต้องการ เหมือนคนโบราณ ยาทัมใจ ยานี้ปวดแล้วจะหายอย่างนี้ เขาเปลี่ยนชื่อมาใหม่แล้วให้เราทัมใจ ให้เราประพฤติปฏิบัติ เรียกว่า เราจะได้บวดหาย หมายถึงอบรมณ์บ่มอินทรีย์ของเราหน่ะ เมื่อเรามีโอกาสมีวาสนามีโอกาสพิเศษ ทำไมเราไม่ปฏิบัติหล่ะ เราจะมาเป็นลูกศิษย์ของพญามารทำไม พวกที่มาบวชจะมาเป็นกาฝากของประชาชน ที่ถือแบรนด์เนม ที่เราไม่ใช่ภิกษุเราก็ว่าเราเป็นภิกษุ เราไม่เป็นสามเณรเราก็ว่าเป็นสามเณร เราไม่ได้เป็นชีก็ว่าเป็นชี ให้พากันสลดสังเวชนะ เราทุกท่านทุกคนมันแก้ไม่ยาก เพราะว่าเราไม่ได้แก้คนอื่น ไม่เดือดร้อนคนอื่น ถ้างั้นเราไม่เหมาะกับการทานอาหารของประชาชน นุ่งห่มจีวร ใช้ของประชาชน ให้เข้าใจ การให้ทานของประชาชนจะได้มีบุญใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ เพราะเราทุกคนนี้ผู้ประพฤติปฏิบัติจะได้มีความสว่าง เราจะได้หายจากความมืด จะได้หายจากความหลง เราจะได้เข้าถึงความบริสุธิที่ศีล ความที่สุดของสมาธิที่สุดทางปัญญา
พระพุทธเจ้าท่านให้เราเอาพระนิพพานนะ มนุษย์สมบัติก็ยังแก่เจ็บตายอยู่ พวกเทวดามีความสดวกสบายอยู่ในสวรรค์ในวิมาน มันก็ยังหมดบุญมาเวียนว่ายตายเกิด แม้แต่เป็นพรหม มีความสุขอย่างมากมายก็ยังต้องเสียสละ เพราะเราถือว่าเรามาทำที่สุดแห่งทุกข์ หัวใจของเราจะได้เป็นหัวใจที่ติดแอร์คอนดิชั่น เราจะได้มีความสุขอบอุ่น เราจะไม่ได้ซัดเซเพนจรเป็นคนโฮมเลส ในวัฏฏะสงสาร