แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันจันทร์ที่ ๑๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๘๖ ปฏิบัติตามธรรมนูญชีวิต พัฒนาจิตให้เป็นเถระ ผู้ละตัวละตน มั่นคงในธรรม
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
00:55 มนุษย์เราต้องเอาธรรมนูญเป็นหลัก ความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นปัญญา เข้าสู่ภาคประพฤติปฏิบัติ เป็นพระศาสนา เข้ากฏแห่งกรรม ทำดีได้ดี เป็นสุปฏิปันโน คือผู้ปฏิบัติดี อุชุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติตรง ญายะปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ เพื่อหยุดพลังงานแห่งการเวียนว่ายตายเกิด มนุษย์เราเมื่อมีปัญญาแล้ว ต้องเข้าสู่ภาคประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติเพื่อฝึกตน เป็นอริยมรรคมีองค์แปด สมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ เป็นได้ทั้งฆราวาสผู้ครองเรือน เป็นได้ตั้งนักบวช บรรพชิต พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ พระเจ้าพระสงฆ์ส่งไม้ผลัด ให้กับกุลบุตรลูกหลาน เข้าสู่ภาคประพฤติปฏิบัติเรียกว่า กตัญญูกตเวที คิดในสิ่งที่ควรคิด พูดในสิ่งที่ควรพูด ทำในสิ่งที่ควรทำ ที่ไหนมีที่ประพฤติปฏิบัติ พัฒนาทั้งเทคโนโลยีตามหลักเหตุผล หลักวิทยาศาสตร์ ไปตามทางแห่งธรรมนูญ โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอริยเจ้า ไม่ว่างจากพระอรหันต์
ทุกท่านทุกคนต้องเสียสละ เสียซึ่งตัวซึ่งตน เข้าสู่ธรรมนูญ การเรียนการศึกษานั้นเข้าสู่ภาคปริยัติ เข้าสู่ความรู้ การประพฤติปฏิบัติ เข้าสู่กฏแห่งกรรม เข้าสู่หลักพระศาสนา ไปในทางที่ดี ทุกท่านทุกคนต้องมีความสุข มีฉันทะ มีความพอใจ ในการประพฤติ ในการปฏิบัติ ให้สะอาดทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งจิตใจ เราทุกท่านทุกคนนั้น ต้องพากันประพฤติพากันปฏิบัติ เราจะได้ประพฤตปฏิบัติพรมจรรย์ของเราให้สมบรูณ์ พรมจรรย์สำหรับฆราวาสได้แก่ศีล ๘ พรมจรรย์สำหรับนักบวชได้แก่ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีล๓๑๑ ศีลในพระไตรปิฏก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ความรู้นั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่ที่จะได้จากการเรียนการศึกษา การฟัง การค้นคว้า
การบรรลุเป้าหมายนั้นขึ้นอยู่จากปัจจัยในการประพฤติปฏิบัติ ทุกท่านทุกคนต้องพากันมาปฏิบัติที่ตัวเอง ที่เรียกว่า กตัญญูกตเวที ศีลทุกข้อ วินัยทุกข้อ สิกขาบทน้อยใหญ่นั้นเพื่อเอามาฝึกใจ ปฏิบัติใจ กฏหมายบ้านเมืองที่เป็นธรรมนูญของประเทศ ของสถาบันต่างๆ เพื่อการปกครอง เพื่อให้ทุกท่านทุกคนนั้นดำเนินสู่ธรรมาธิปไตย ทุกคนนั้นย่อมมีความขี้เกียจขี้คร้าน ซึ่งต้องพากันมาเสียสละ เพื่อเป็นหนทางแห่งการมีอยู่ มีกิน มีใช้ เหลือกิน เหลือใช้ มีความสะดวก สบาย และไม่ติดในสิ่งที่มีสิ่งที่เป็น
ธรรมะก็คือการปฏิบัติธรรม คือการปฏิบัติงาน ชีวิตของเราทุกคนทุกท่านเมื่อหยุดตัว เมื่อหยุดตนแล้ว ใจของเราก็จะสงบ ใจของเราเย็นยิ่งกว่าแอร์คอนดิชั่น จิตใจของเราจะอบอุ่น ดับทุกข์ เราทุกท่านทุกคนจะเคารพตัวเองได้ก็เพราะตัวเองเดินไปตามหนทางแห่งธรรมนูญชีวิต ทุกท่านทุกคนหน่ะต้องปฏิบัติตัวเองปกครองตัวเอง การบ้านการเมืองนั้น เราปกครองคนอื่น แต่ธรรมนูญแห่งชีวิต เราทุกท่านทุกคนต้องปกครองตัวเอง อันไหนไม่ดี ไม่คิด ไม่พูด ไม่ทำ พระพุทธเจ้าให้รู้เรื่องทุกข์ เรื่องเหตุเกิดทุกข์ แล้วเราก็ปฏิบัติตาม ถึงจะถึงความดับทุกข์ ระบบประชาธิปไตยที่มีความเห็นแก่ตัว เราก็ไม่เอา สังคมนิยม ที่มีความเห็นแก่ตัว เราก็ไม่เอา เราต้องเอาธรรมาธิปไตย เราปฏิบัติไปชีวิตของเราก็จะสงบเย็น จะฉลาด เพราะเราได้ทิ้งความรัก ความชอบ ดีใจ เสียใจ ไว้ข้างหลัง อนาคตก็คือเหตุเกิดจากปัจจุบันที่มีความเห็นถูกต้อง เข้าถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง
ทุกท่านทุกคนต้องเห็นความสำคัญในการประพฤติปฏิบัติ พ่อแม่ พระเจ้า พระสงฆ์ ข้าราชการ นักการเมืองต้องพากันทำหน้าที่ของตัวเองให้สมบูรณ์ด้วยธรรมนูญแห่งชีวิต ไม่อย่างนั้นตัวเองก็ย่อมไม่เคารพตัวเอง ลูกหลานญาติพี่น้อง พสกนิกร ชาวโลกก็ไม่นับถือ เราจะไปโทษใครก็ไม่ได้ เพราะปัญหานั้นไม่ได้อยู่ที่คนอื่น มันอยู่ที่ตัวของเราเอง ทุกท่านทุกคนไม่ต้องไปพึ่งใคร ต้องพึ่งธรรมะ พึ่งธรรมนูญด้วยการเสียสละ ถ้ายังพึ่งคนโน้น คนนี้มันไม่ถูกต้อง คนโบราณเขาคิดว่าเขาต้องพึ่งลูกพึ่งหลาน เมื่อแก่ พึ่งบ้าน พึ่งรถ พึ่งทรัพย์สมบัติ พึ่งอำนาจ ความคิดอย่างนั้นมันยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ เราต้องพึ่งธรรมะ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตนคน อื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ เมื่อมีตนที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้โดยยากคือพระนิพพาน พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามีชัดเจนอยู่แล้ว เราเอาพระธรรมคำสอนนั่นแหละมาประพฤติปฏิบัติ เน้นลงที่ปัจจุบัน สิ่งภายนอกให้ทุกคนตัดออกให้หมด ทิ้งอดีตอนาคต สิ่งแวดล้อมต่างๆ เราก็ตัดออกไปให้เป็นศูนย์ มาโฟกัสที่ปัจจุบันขณะ เพื่อให้เป็นธรรมะล้วนๆ ปราศจากตัวตน จึงต้องทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ กายจึงจะวิเวกได้ จิตจึงจะวิเวกได้ สงบระงับสังขารการปรุงแต่งทั้งหลายจึงจะเป็นอุปธิวิเวกได้
การละความเห็นแก่ตัว มนุษย์เราถ้ามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง เราเสียสละทางจิตใจ มันไม่มีความทุกข์ ให้ทุกท่านทุกคนพากันเข้าใจ ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ไม่อยากพลัดพราก เรามันเป็นคนบ้า คนหลง เราทุกคนต้องมีพระพุทธเจ้าในใจ มีธรรมนูญในใจ เราอย่าไปหลง เพราะความหลงนี้มันเป็นพลังงานพาเราเวียนว่ายตายเกิด เราต้องเสียสละเหมือนพระพุทธเจ้า เหมือนพระอรหันต์ เราไม่ต้องไปแก้ไขคนอื่น เราไม่ต้องไปอาศัยคนอื่น เราต้องอาศัยการเสียสละ ซึ่งทิฏฐิมานะ อัตตาตัวตน พระพุทธเจ้าถึงสอนให้เราอย่าไปมีทิฏฐิ อย่าไปมีมานะ อย่าไปถือว่าพระวินัยสิกขาบทน้อยใหญ่ เป็นสิ่งที่จู้จี้จุกจิก มันไม่ใช่ต้นสิกขาบท เราอย่าไปคิดอย่างนั้น ทุกอย่างมันสำคัญหมด เหมือนรถคันหนึ่ง มันสำคัญหมดทุกชิ้นส่วน ไม่อย่างนั้นเรายังมีความคิดเห็นผิด เข้าใจผิด เราต้องไม่ตั้งอยู่ในความประมาท เหมือนพระพุทธเจ้า เหมือนพระอรหันต์ เห็นความสำคัญในสิกขาบทน้อยใหญ่
คนฉลาด คนมีปัญญา เข้าสู่ภาคปฏิบัติย่อมไม่คิด ย่อมไม่พูด ไม่ทำ เราถึงหยุดกรรม หยุดเวร เราจะไม่ต้องอาบัติ ให้ทุกท่านทุกคนพากันเข้าใจ พระวินัย สิกขาบทน้อยใหญ่ เราต้องเอามาใช้ออกมาทำงาน ถึงแม้พระภิกษุส่วนใหญ่ในปัจจุบันเขาไม่เอามาปฏิบัติ ไม่ออกมาใช้ก็ชั่งหัวเขา เพราะเราขึ้นอยู่กับพระพุทธเจ้า เราไม่ได้ขึ้นกับคนอื่น พระพุทธเจ้าคือผู้ที่มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง
ถ้าเราคิดเห็นผิดอย่างนั้น ความคิดความเข้าใจของเรายังมีตัวมีตนอยู่ สัมมาสมาธิของเรายังอ่อนอยู่ เราพยายามแก้ไขตัวเอง เราจะชื่อว่าเป็นเถระ เถระก็คือธรรมะ ธรรมนูญ ไม่มีตัวตน เรียกว่าเถระ ถึงแม้จะบวชวันเดียวเป็นพระอรหันต์ละตัวตนหมด มีแต่ธรรมะ เขาเรียกว่าเถระ ท่านอย่าไปหลงประเด็นนะ บวชหลายปี บวชเป็น ๑๐ ปี ๒๐ ปี หรือว่า ๔๐-๕๐ ปี เมื่อท่านเอาตัวตนเป็นใหญ่ เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ท่านยังเป็นเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ถึงจะบวชเป็นร้อยปี ท่านก็ยังไม่ได้เป็นเถระนะ ท่านต้องพากันเข้าใจ พากันเสียสละ เราอย่าไปคิดว่า ท่านบวชนานแล้ว คนอื่นต้องซูฮกให้ คนอื่นต้องกราบต้องไหว้ ดูแลอุปัฏฐากต้อนรับ อำนวยความสะดวกให้ ความคิดอย่างนั้นมันไม่ใช่ความคิดของเถระนะ มันเป็นความคิดแห่งความหลง
ที่หลวงพ่อให้พระบวชใหม่ บวชไม่ได้หลายพรรษา ฝึกข้อวัตร กิจวัตร รักษาพระวินัย สิกขาบทน้อยใหญ่ก็เพื่อจะหยุดตัวตน เพื่อจะเป็นเถระ ให้เข้าใจ พระภิกษุบางรูปบางท่านยังไม่เข้าใจ บวชมาหลายพรรษาแล้วนึกว่าตัวเองเป็นเถระ ช่วงนี้มีพระภิกษุสามเณรบวชใหม่น้อย มีแต่พระที่บวชนานนั่งกันเป็นแถว ไม่มีใครไปล้างบาตรเช็ดบาตร อุปัฏฐาก ก็พากันนั่งเครียด อย่างนี้มันแย่เลยนะ ท่านหน่ะต้องรู้ตัวเอง ว่าแบบนี้ ใจยังไม่ได้เป็นเถระ วันนี้เดินบิณฑบาตมามีพระบวชใหม่น้อย มีแต่พระบวชเก่าตามกันมา ไม่มีใครรับบาตรเลยเครียด ความเครียดนี้คือท่านยังไม่ได้เป็นเถระ ฉันอาหารเสร็จก็ถือบาตรกลับกุฏิ ไม่ยอมกวาดศาลาเลย มันแสดงถึงท่านยังไม่ได้เป็นเถระนะ ให้พากันเข้าใจ
พวกที่บวชนานต้องพากันเสียสละ เพื่อเป็นตัวอย่างแบบอย่าง ให้กับพระใหม่ เพราะบวชใหม่เขาก็เล็งอยู่ว่าจะไปเกาะใคร ไปอุปัฏฐากใคร ที่เป็นพระเถระที่แท้จริง เขากลัวจะไปเกาะโจรเข้า เราเป็นผู้บวชมานานเราต้องให้ผลประโยชน์กับผู้ที่ไปเกี่ยวข้องกับเรา พัฒนาใจของเราให้เสียสละ ไม่มีอวิชชา ไม่มีตัวตน ที่จะเป็นเถระทางจิตใจ ให้พากันเข้าใจ คิดในใจว่าดีแล้ววันนี้พระบวชใหม่ไม่มี เราจะได้เสียสละซึ่งตัวซึ่งตน ใจเรามันยังน้อยใจอยู่ว่าไม่มีใครดูแลอุปัฏฐาก เราจะได้รู้จักตัวเอง ว่าตัวเองยังไม่ได้เป็นพระเถระอะไร ต้องพากันเข้าใจ
ทุกท่านทุกคนจะพระเก่า พระใหม่ พระพุทธเจ้าให้เราฝึกใจ ทำข้อวัตร ข้อปฏิบัติ อย่างวัดป่านี้มันสะอาด ครูบาอาจารย์สอนให้กวาดวัดวันละ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ตื่นแต่เช้าตั้งแต่ ตี ๒ ตี ๓ เพื่อฝึกเป็นคนเสียสละ ละความขี้เกียจขี้คร้าน ละซึ่งตัวซึ่งตน จะได้เป็นเถระ ละซึ่งตัวซึ่งตน บางทีพวกคนรุ่นใหม่ สมัยใหม่ นักวิทยาศาสตร์ก็มองว่าทำไมวัดของหลวงพ่อสะอาด อะไรก็สะอาด ทำไมกวาดหลายครั้ง ถูหลายครั้ง จุดมุ่งหมายครูบาอาจารย์ให้เราทำความสะอาดใจ ไม่ได้ทำความสะอาดภายนอก เพราะใจของเรายังติดขี้เกียจขี้คร้าน ใจของเรามันสกปรก ใจของเรามันติดสุข ตื่นตี ๒ ตี ๓ หลวงพ่อถึงให้พระเช็คชื่อว่าองค์ไหนไฟติ้งอ่อนลง ขี้เกียจขี้คร้าน ขาดทำวัตรเช้า เพราะจะให้เราเสียสละ เราจะนอนตื่นสาย เล่นโทรศัพท์เหมือนพระที่เป็นนักเรียนนักศึกษา เอาแต่ความรู้เพื่อไปปกครองคนอื่น สอนคนอื่นมันไม่ใช่ มันยังไม่เข้าสู่ภาคประพฤติปฏิบัติ
ดีแล้ววัดเรามีข้อวัตรข้อปฏิบัติ ถึงวัดเราจะสะอาดไม่สะอาด ก็ตั้งใจทำความสะอาด ถูพื้นทำอะไรทุกอย่าง กุฏิ วิหาร ถึงต้องดูแลดี เราต้องขอบคุณสิ่งต่างๆ เพื่อให้เราได้ฝึกใจ เพื่อให้เรามีความสุขในการที่รักษาศีล ข้อวัตร กิจวัตร เรียกว่าพรหมจรรย์ ไม่อย่างนั้น ประเทศเรามันจะเต็มไปด้วยแบรนด์เนมปลอมๆ ไม่ใช่ของแท้ ของจริง ยี่ห้อดี แต่มันเป็นของปลอม ไม่ใช่ของจริง ไม่ได้เอาธรรมนูญเป็นหลัก ให้เราเอาพระวินัยเป็นหลัก มีแต่ตัวแต่ตน อ้วนลงพุง มันใช้ได้เมื่อไร ไม่ได้แก้ไขตัวเองเลย ยังยินดีในสิ่งที่เป็นความสุขอย่างอวิชชา อย่างความหลงอยู่
เราทุกท่านต้องเสียสละความขี้เกียจขี้คร้าน พัฒนาตัวเองดีๆ ในปัจจุบัน อันไหนเราสวดไม่ได้ เราก็ต้องท่องให้มันได้ อันไหนมันไม่เป็น ก็ทำให้มันเป็น ปัจจุบันเราต้องฝึกตัวเอง ปฏิบัติตัวเอง เรายังง่วงเหงาหาวนอนอยู่ มัวแต่นั่งก้ม นั่งคอหัก เรานั่งไม่ได้องศา คอเรามันตก เพราะมันไม่ได้องศา น้ำหนักมันถ่วงโครงเรามันหลายกิโลเหมือนกัน พระพุทธเจ้าให้เรานั่งตัวตรง ศูนย์มันจะได้อยู่นิ่งๆ มันจะไม่ไปกดทับร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง คนเรามันมีความง่วง เพื่อให้เราได้ฝึกใจ ถ้ามันง่วงมากก็กลั้มลมหายใจ บทสวดมนต์อะไรเอามาท่องมาทบทวนตอนนั่งสมาธิ เรามานั่งคิดเรื่องอนิจจัง มันไม่เที่ยง เรื่องอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ทุกอย่างมันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มันมีแต่ผ่านมาผ่านไป
ทุกท่านทุกคนต้องพากันมาเสียสละ ให้มันเป็นธรรมะ เป็นวินัย ให้มันเป็นธรรมนูญ ทุกท่านทุกคนอย่างไปหลงประเด็น เราต้องมีความสุข ในการทำงาน ในเสียสละ ในการปฏิบัติธรรม พวกที่เป็นพระ อย่างไปหลงประเด็น เป็นพระเขาไม่ให้มีเซ็กส์ทางอารมณ์ มีเซ็กส์ทางความคิด พระผู้ใหญ่บางคนยังไม่เข้าใจ มาถามหลวงพ่อใหญ่ว่าเซ็กส์ทางอารมณ์ เซ็กส์ทางความคิดมันเป็นยังไง มันคือ เรายินดีในรูป เสียง กลิ่น รส ลาภ ยศ สรรเสริญ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เราพอใจอย่างนั้นก็เรียกว่าเรามีเซ็กส์ทางความคิด เซ็กส์ทางอารมณ์ คนเราจะปล่อยให้ใจมันคิดอย่างนั้น เราบวชแต่กาย แต่ใจของเราไม่ได้บวช อย่างนี้มันยินดีใน เรื่องอยู่ เรื่องกิน เรื่องเที่ยว ยินดีในโทรศัพท์ ยินดีในการมักใหญ่ใฝ่สูง ทำอะไรเพื่อไม่ดับทุกข์ มันคือการสร้างความทุกข์ อย่างนี้ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พวกนี้เขาเรียกว่ามีเซ็กส์ทางความคิด เซ็กส์ทางอารมณ์ มีความพอใจดีใจ ยินดีในการอยู่การกิน ไม่เสียสละอะไร มีแต่ตัวแต่ตน เราปล่อยให้ตัวเองคิดอย่างนี้ ชื่อว่าเรามีเซ็กส์ทางอารมณ์ เราทุกคนต้องหยุดมีเซ็กส์ทางความคิด เซ็กส์ทางอารมณ์ เราจะได้ก้าวไปตามหลักเหตุผล หลักวิทยาศาสตร์ ใจของเราจะได้เป็นเถระซักที ไม่อย่างนั้นจะเป็นเถระอะไร ใจมันยังหมกหมุ่นอยู่ในกาม พระแก่ พระเถระสนใจแต่เรื่องฟุตบอล แมตท์นู้น แมตท์นี้ อย่างนั้นมันเสียหาย
ทุกท่านทุกคนต้องมาแก้ไขตัวเอง ถ้าเราไม่ทำ ไม่ปฏิบัติ เราคิดดูดีๆ ครั้งพุทธกาล ประชาชนที่ไม่ได้บวชได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตาม เขาก็พากันเป็นพระอริยเจ้า ตั้งหลายแสน หลายล้าน แถบจะไม่มีใครเลยที่ปฏิบัติแล้วไม่ได้บรรลุ เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นพิสูจน์ได้จริง เราที่บวชนานก็ปฏิบัติให้ดี ให้พระที่บวชใหม่เขามีศรัทธาพากันไปกวาดกุฏิให้ ไปทำความสะอาดกุฏิให้ เราคิดในใจของเรา เราไม่ใช่พระอรหันต์ ไม่ใช่พระอริยเจ้า จะให้เขามาดูแลอุปถัมภ์ อุปัฏฐาก ไม่อย่างนั้นพวกโจรก็อยากให้มีคนอุปัฏฐาก พ่อแม่ก็อยากให้มีคนอุปัฏฐาก แต่นี้มันเรื่องศรัทธาเลื่อมใสที่ใจเขา เพราะการทำบุญกับพระพุทธเจ้ามันได้บุญเยอะ การทำบุญตักบาตรกับพระอรหันต์มันได้บุญเยอะ การดูแลอุปถัมภ์อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า พระอรหันต์มันได้บุญเยอะ แต่เรายังเป็นสามัญชน ปุถุชนให้เราพากันคิดนะ แม้แต่ตัวเรายังเอาตัวไม่รอด ใจยังมีเซ็กส์ มีเพศสัมพันธ์อยู่ เราก็ยังเอาตัวไม่รอด เราจะเอาบุญที่ไหนไปให้เขา คนเขามาอุปถัมภ์อุปัฏฐาก เขาอาจจะได้บุญ ดีไม่ดีมาพบกับโจรที่จิตใจยังไม่มีสัมมาทิฏฐิ ยังไม่มีธรรมนูญ ทำให้ไขว้เขว ว่าทำอันนี้ไม่เป็นไร เดี๋ยวไปแสดงอาบัติเอา เล็กน้อยไม่เป็นไร ไม่ใช่ศีลต้นพรหมจรรย์ ให้เข้าใจ พวกที่บวชเก่าทั้งหลาย พวกที่เป็นสามัญชน ปุถุชนจะได้ไม่พากันเครียด จะได้ถือโอกาสปฏิบัติตัวเองฝึกตัวเอง ไม่เครียด ฉันข้าวไม่อร่อย ล้างบาตรเสร็จกลับเลย ไม่ยอมกวาดศาลา อย่างนี้เป็นต้น
เราบวชมาหลายปี ไม่ใช่พระเถระนะ เราบวชนานเฉยๆ พระเถระก็คือพระอรหันต์ พระอรหันต์เขาเรียกพระเถระ คือ พระผู้ปล่อย พระผู้วาง พระผู้ไม่เอาตัวเอาตน ไม่เอาตัวกูของกู เป็นพระโสดาบัน สกาทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ อย่างนี้เขาเรียกว่าพระเถระ ละจริงๆ เป็นปูชนียบุคคลเป็นบุคคลที่ควรกราบควรไหว้ ถ้าเราบวชมานาน เรายังไม่ละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง ก๋ากร่างอย่างนี้ มันไม่ใช่พระเถระนะ เราจะหลงตัวเอง อย่าไปนั่งพิงหมอนนะ เราต้องพัฒนาใจของตัวเอง เพราะเราจะได้เป็นตัวอย่างแบบอย่างตัวเอง จะได้แก้ไขตัวเองได้ เราต้องรู้จักว่าเถระก็คือธรรมวินัยที่มาตรฐาน ที่มั่นคงถาวร เอาธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรมเป็นที่ตั้ง เอาธรรมเป็นการดำเนินชีวิต เขาเรียกว่าเถระ ละซึ่งตัวซึ่งตน
เป็นผู้ที่จิตใจไม่มีครอบครัว ถ้าเราบวชมายังคิดถึงสตรีเพศ ถ้าเป็นผู้หญิงก็นึกถึงบุรุษอย่างนี้ละก็ มันไม่ใช่ มันเป็นระบบครอบครัว คิดอย่างนั้นเขาเรียกว่าครอบครัว เพราะใจยังยินดีในบุรุษในสตรีมันเป็นครอบครัว ถ้ายังโกรธคนนั้น เกลียดคนนี้ ยังถือหมู่ ถือคณะ ยังเป็นระบบครอบครัว ไม่ใช่ระบบธรรมะ ไม่ใช่ระบบศาสนา เป็นระบบคนโง่ คนไม่ฉลาด เราต้องทำลาย ความเห็นแก่ตัว เราถึงจะได้ไปเป็นเถระ โยมก็เป็นเถระได้ พระก็เป็นเถระได้ ถ้าประพฤติปฏิบัติอย่างนั้น เราอย่าไปประมาท เรากลับมาแก้ไขตัวเองทุกคน เราอย่าไปติเตียนคนอื่นว่าเขาไม่เคารพนับถือ ไม่กราบไม่ไหว้เรา เขาไม่ฟังเรา แม้แต่เรายังนับถือตัวเองไม่ได้ ยังตามใจ ตามอารมณ์ ตามความรู้สึก ยังเป็นพระครอบครัว อย่างนี้คนอื่นเขาจะเคารพกราบไหว้ได้ยังไง เราอย่าไปเก่งกว่าพระพุทธเจ้าท่านทรงทำอย่างไร ก็ให้เอาอย่างนั้น เราอย่าไปเอาอย่างอื่น เราต้องถือนิสัยของพระพุทธเจ้า อย่าไปถือนิสัยของตัวของตน ผู้ที่บวชมาแม้จะวันเดียวก็ยังดีกว่าผู้ที่บวชมาไม่ได้เสียสละ เสียสละนาทีเดียว ก็ยังดีกว่าผู้ที่ไม่เสียสละ ผู้ที่เสียสละ ถึงเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ ผู้ที่เสียสละ ถึงจะเป็นผู้ที่ฉลาด เป็นผู้ที่มีศีล สมาธิ ปัญญา
ความขี้เกียจ ขี้คร้านมันเป็นอบายมุข เป็นอบายภูมิ เราอย่าให้มีความขี้เกียจ ขี้คร้าน เราอย่าไปอยากใหญ่ อยากดัง เพราะว่าธรรมะของพระพุทธเจ้ามันละลายพฤติกรรม ละลายความเห็นแก่ตัว ละลายความยึดมั่นถือมั่น ละลายภพละลายชาติ เราจะมาเอาตัวเอาตน เราจะมาใหญ่อะไรที่ไหนได้ เพราะนิพพานมันเรื่องเสียสละ ทำไปเพื่ออยากใหญ่อยากดัง มันไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เราไม่สะสมอะไร พระพุทธเจ้าท่านไม่พาเราสะสม ให้เสียสละหมดทุกอย่าง เพราะเราทำดีธนาคารก็มีในตัวอยู่แล้ว ใครมากราบมาไหว้ก็ได้บุญเยอะ เราไม่มีของดี มีแต่ของชั่ว ท่านถึงว่าความละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาปถึงเป็นสมบัติของคนดี เราไม่ละอายต่อบาป ไม่เกรงกลัวต่อบาป เราทำตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง มันก็เป็นคุณสมบัติของคนชั่ว เราต้องกลับมาดูตัวเอง ว่าละอายต่อบาปรึยัง เกรงกลัวต่อบาปรึยัง ตั้งอยู่ในความประมาทไหม ถ้าไม่ละอายต่อบาป ไม่เกรงกลัวต่อบาป เขาเรียกว่าคนประมาท คนบวชมานานก็ไม่ได้เป็นเถระเลย ยังเอาแต่ใจตัวเอง ยังเอาแต่อารมณ์ตัวเอง มันเศร้าหมอง ไม่สง่างาม มันสะสมกองกิเลส ยิ่งบวชนานก็ยิ่งกิเลสมาก
ถ้าเป็นพ่อเป็นแม่ยิ่งแก่ก็ยิ่งหลงอย่างนั้นไม่เอา ต้องยิ่งแก่ก็ยิ่งฉลาด เพราะเราพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญามันจะละลายพฤติกรรม ละลายตัวละลายตน เราต้องมีความสุขในการเสียสละ ปฏิบัติให้มันเป็นอัตโนมัติ เป็น automatic เป็นชีวิตประจำวัน เป็นอริยมรรคมีองค์แปด สมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 มันจะเกิดขึ้นแก่เราเอง ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติจะถือว่าเราไม่ใช่คนพุทธ ไม่ใช่คนมุสลิม ไม่ใช่คนคริสต์ ไม่ใช่พราหมณ์ฮินดู เพราะยังตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง ตามความรู้สึกตัวเอง เราต้องเสียสละ
ผู้ที่เสียสละเขาเรียกว่าเป็นผู้นำตนเอง เป็นผู้นำคนอื่น ไม่เสียสละ มันจะไปนำตัวเองได้ยังไง จะไปนำคนอื่นได้ยังไง มันก็มีแต่ผลประโยชน์แอบแฝง มีแต่สร้างระบบยุ่งเหยิง สร้างระบบครอบครัว ตัวตน ทำให้มีปัญหาทั้งตัวเองและคนอื่น ทุกคนจะไปว่าให้แต่คนอื่น ไปว่าคนนู้นคนนี้ ศาสนาพุทธก็ว่าศาสนาคริสต์ อิสลาม พราหมณ์ ฮินดู จะมายึดมาแทรกแซง แต่ว่าไม่มีใครจะมาทำลายศาสนาอื่นเสื่อมได้ เพราะมิจฉาทิฏฐิคือความเห็นไม่ถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ผู้ที่ไม่ได้เอาธรรมเป็นใหญ่ ไม่ได้เอาธรรมเป็นหลัก ไม่ได้เอาธรรมเป็นที่ตั้ง มากองมากิน มากอบโกย มาเอาศาสนามาทำเป็นที่ทำมาหากิน ไอ้พวกนี้ทำให้ศาสนาเสื่อม เพราะคนส่วนใหญ่มันก็ไม่ฉลาดอยู่แล้ว ด้วยอวิชชา ความหลง พวกผู้นำศาสนาก็ยังไปทำให้เขาหลงไปอีก ยกแม่น้ำทั้ง 4 ทั้ง 5 มาหลอกเขา เพื่อผลประโยชน์ตอบแทน มันไม่ถูกต้อง มันไม่ใช่ธรรมะ ไม่ใช่ศาสนา มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ เจือด้วยอวิชชา เจอด้วยความหลง
พระนี้หมายถึงเอาธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรมเป็นหลัก เป็นธัมมาธิปไตย คำว่าพระก็คือพระธรรม พระวินัย ต้องถือนิสัยของพระพุทธเจ้า ผู้ที่บวชในศาสนาพุทธต้องถือนิสัยของพระพุทธเจ้า ต้องเข้าสู่ภาคปฏิบัติ มันถึงจะละนิสัยที่เอาตัวตนเป็นใหญ่ เอาตัวตนเป็นที่ตั้ง เอาตัวตนเป็นการดำเนินชีวิต ใจของเราถึงจะเอาธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรมเป็นหลัก อย่างนี้เขาเรียกว่าพระเถระ พระเถระไม่ใช่พระที่บวชนาน เป็นพระที่ไม่มีตัวมีตน ละจากตัวตน เขาถึงเรียกว่าพระเถระ ผู้ที่ไม่ยินดีในกามคุณ ผู้ที่ไม่ยินดีในเรื่องเงินเรื่องทอง ไม่ยินดีในสตรีเพศ ไม่ยินดีในลาภ ยศ สรรเสริญ อย่างมหาเถระก็หมายถึงผู้ที่เป็นใหญ่ เป็นหลัก ผู้ที่สุดยอด ผู้ที่ทุกคนไว้วางใจ ผู้ที่ไม่ยินดีในโลกธรรม เพราะโลกธรรมมันไม่ได้อยู่ในตำแหน่งของเถระหรือมหาเถระ เราอย่าพากันหลงประเด็นบวชหลายปีนึกว่าตัวเองเป็นพระเถระ เป็นมหาเถระนะ
ดังเรื่อง พระลกุณฏกภัททิยเถระ เพราะความท่านเป็นผู้มีรูปร่างเล็กและเตี้ยเหมือนสามเณร จึงเป็นเหตุให้พระหนุ่มสามเณรน้อยทั้งหลายที่เป็นปุถุชน ชอบล้อเลียนท่านด้วยความคึกคะนอง ชอบหยอกล้อท่านเล่นด้วยการจับศีรษะบ้าง ดึงหูบ้าง จับจมูกบ้าง แล้วพูดหยอกล้อท่านว่า “แนะสามเณรน้อย ไม่อยากสึกบ้างหรือ ยังชอบใจประพฤติพรหมจรรย์อยู่อีกหรือ ?”
วันหนึ่ง พระพระลกุณฏกภัททิยเถระนั้น มาสู่ที่บำรุงพระศาสดา พอท่านลุกขึ้นไปก็มีภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ประมาณ ๓๐ รูปเข้าเฝ้า พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตตผลของพระเถระเหล่านั้น แล้วตรัสถามว่า “พวกเธอเห็นภิกษุรูปหนึ่งเดินออกไปหรือไม่?” “ไม่เห็นพระเจ้าข้า”
“พวกเธอเห็นพระเถระรูปหนึ่งมิใช่หรือ?”
“เห็นแต่สามเณรเดินออกไปพระเจ้าข้า”
“นั่นแหละพระเถระรูปหนึ่ง” พระศาสดาทรงย้ำ “เด็กเหลือเกิน พระเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย! เราไม่เรียกภิกษุว่า เป็นเถระเพราะเหตุที่เป็นคนแก่หรือเพราะนั่งบนอาสนะของพระเถระ แต่ผู้ใดแทงทะลุสัจจะทั้งหลายตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน เราเรียกผู้เช่นนั้นแหละว่าเป็นพระเถระ” ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถาว่า น เตน เถโร โหติ เยนสฺส ปลิตํสิโร ปริปกฺโก วโย ตสฺส โมฆชิณฺโณติ วุจฺจติ
ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺญโม ทโม ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ.
บุคคลจะเรียกว่าเป็นเถระ เพราะเหตุสักว่ามีหงอกบนศีรษะหามิได้ ผู้มีวัยแก่เรียกว่าแก่เปล่าก็ได้ ส่วนผู้ใดมีสัจจะ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียนมีความสำรวมตน และมีการฝึกตน ผู้นั้นแลเป็นปราชญ์ คายมลทินได้แล้ว สมควรเรียกว่า เป็นพระเถระ
ตามนัยแห่งพระคาถานี้ ทรงแสดงพระเถระโดยคุณธรรม โดยนัยนี้ แม้ผู้มีอายุถึงร้อยปี บวชแล้ว ๘๐ พรรษา แต่ไม่มีคุณธรรมอันสมควร ก็หาชื่อว่าเป็นพระเถระไม่ เป็นคนแก่เสียเปล่า
ส่วนผู้ใดแม้ยังหนุ่ม มีเกศาดำสนิท แต่มีคุณธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นพระเถระ คุณธรรมที่ทรงระบุถึงในที่นี้ คือ สัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ ทมะ และการคายมลทิน
สัจจะ นั้นคือมีความจริงกาย จริงวาจา จริงใจ
จริงกายนั้นคือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
จริงวาจานั้นคือพูดอย่างใดทำอย่างนั้น ไม่เหลาะแหละ
จริงใจนั้นคือมีความสุจริตใจต่อบุคคลอื่น ไม่มีเจตนาหลอกลวงให้เขาเข้าใจผิด อีกอย่างหนึ่งหมายถึงผู้แทงตลอดอริยสัจ ๔ แล้ว
ธรรมะ นั้นหมายความเอาความยุติธรรม เว้นอคติ ๔ และหมายเอาพรหมวิหาร ธรรม ๔ ประการ อันเป็นธรรมของผู้ใหญ่
อหิงสา คือความไม่เบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์และมนุษย์ทั้งหลายอื่น เพราะเอาใจเขามาใส่ใจเราว่า เรารักสุขเกลียดทุกข์ฉันใด คนอื่นสัตว์อื่นก็ฉันนั้น ทุกรูปทุกนาม มีความรักตนสูงสุด ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น
สัญญมะ คือความสำรวมตน ไม่คะนองกาย วาจา มีความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นนิสัย ไม่เย่อหยิ่งจองหอง ยกตนข่มท่าน หรือเห็นคนอื่นเลวกว่าตนไปเสียหมด
ทมะ แปลว่า การฝึกตน โดยความหมายถึงการสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำได้ เมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง เป็นต้น
คำว่า คายมลทิน นั้น หมายถึงมลทิน ๙ มีความริษยา ความตระหนี่เป็นต้น ไม่มีมลทินเหล่านั้นอยู่ในตน เพราะได้คายเสียแล้ว เหมือนงูที่คายพิษออกหมดแล้ว
ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ชื่อว่าเป็นพระเถระตามความหมายนี้ ไม่ใช่เป็นคนโตเพราะกินข้าว เฒ่าเพราะเกิดนาน