แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันจันทร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๗๘ การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ได้สู้กับใคร ต้องสู้กับตัวเองในปัจจุบัน
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
การปฏิบัติของเรา ให้เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เน้นที่ปัจจุบัน ปัจจุบันเราต้องเอาศีลมาให้เต็มที่ เต็ม ๑๐๐ เพราะพระพุทธเจ้าไม่ให้เราลูบคลำในศีลในข้อวัตรข้อปฏิบัติ ชีวิตของเราต้องเอาธรรมะเป็นเดิมพัน มีความตั้งใจ มีเจตนามีความตั้งมั่น เรียกว่า สัมมาสมาธิ ปัญญาก็คือ เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ เห็นข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน คือสภาวะธรรมที่ให้เราทุกคนมาพากันเสียสละ เราจะไปมองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้นะ ถ้าเรามองข้ามก็ถือว่าเราตั้งอยู่ในความเพลิดเพลิน ตั้งอยู่ในความประมาท
เราต้องเอาเหมือนพระพุทธเจ้าเหมือนพระอรหันต์ ไม่คิดไม่พูดไม่ทำ เราจะได้ไม่ต้องอาบัติทางจิตใจ เราทุกคนต้องหยุดมีเซ็กส์ทางความคิดทางอารมณ์ ทั้งในภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ปัจจุบันเราต้องทำให้ได้ปฏิบัติให้ได้ เพราะทุกคนนะ เมื่อเจอผัสสะเจออารมณ์ ไม่ว่าร่างกาย เกิดจากธาตุขันธ์ เกิดจากผัสสะเกิดจากภายนอก ทุกคนต้องผ่านให้ได้ เราอย่าเอาความสุขในการกินการนอน การพักผ่อน ความสุขในการนอนของเรา ก็วันนึงอย่างน้อย ๖ ชั่วโมง อย่างมากก็ ๘ ชั่วโมงเป็นต้น ภายใน ๒๔ ชั่วโมง ต้องปรับตัวเองเข้าหาเวลา เข้าหาธรรมะ เพราะทุกคนนี้ก็ย่อมเป็นผู้ขี้เกียจขี้คร้าน เราอย่าไปสนใจเรื่องความเหนื่อยความยากความลำบาก เราต้องปรับที่ใจของเรา ไม่ให้ใจของเราไม่มีความทุกข์ ปรับที่ใจของเราให้มีสติให้มีปัญญา เพราพระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ใหม่ๆ ท่านต้องคิดหลายรอบก่อนจะไปแสดงธรรม เพราะประชาชนคนส่วนใหญ่จะมีความเห็นตรงกันข้ามกับพระพุทธเจ้า แต่ท่านคิดดูให้ดี ถ้าทุกคนสละเสียซึ่งตัวซึ่งตน มีความสุขในการปฏิบัติมีความสุขในการประพฤติพรหมจรรย์ ทุกๆ ท่านทุกคนก็ต้องพากันปฏิบัติได้ เพราะว่าการประพฤติการปฏิบัติมันไม่ได้ไปแก้ที่คนอื่น มันแก้ที่ตนเอง ทุกท่านต้องทวนกระแส
เหมือนกับเราขับรถจากทางใต้สุดไปเหนือสุด ความเหน็ดเหนื่อยความง่วงหงาวหาวนอนก็ย่อมมี เราก็ต้องมีสติสัมปชัญญะในการที่เราขับรถไป เราต้องใช้ทุกวิถีทางที่จะเอาชีวิตของตนเองรอดปลอดภัย ถ้ามันง่วงเต็มที่เป็นต้น เราก็ต้องกลั้นลมหายใจ พอใจมันจะขาด เดี๋ยวมันก็ตื่นขึ้น พอตื่นขึ้นมันก็หายใจ พอทำอย่างนี้ 2-3 ครั้งมันก็หายง่วง
อารมณ์ทุกอย่างในชีวิตปัจจุบันของเรา ก็ต้องทวนอารมณ์เรา ต้องหยุดอารมณ์เรา อย่างคนจะเลิกเหล้า เขาก็ต้องใช้เวลาฝึกตนเองแก้ตนเองอย่างนี้ อย่างเขาจะหยุดสูบบุหรี่หยุดยาเสพติด เขาก็ต้องใช้วิธีอย่างนี้นะ ถ้ามันไม่มีการฝึกการหยุดนี้ มันก็ย่อมจะหยุดเองไม่ได้ เขาถึงเรียกว่าอริยมรรค พระพุทธเจ้าถึงบอกว่าศีลนี้ถึงเป็นความดี ที่ให้ทุกคนได้หยุดตัวเอง สมาธินี้ดีที่ให้ทุกคนนั้นหยุดตนเอง ธุดงควัตรนี้ดีให้ทุกคนได้หยุดตัวเอง เราทุกคนต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ ถ้างั้นมันจะทำไม่ได้ จะไปไม่ได้
การถือธุดงควัตร การรักษาศีลนี้ ต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน การทำสมาธิคือการไม่ให้จิตใจของเรามันถอยกลับ ไม่ให้ตกจากสัมมาสมาธิ ต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ถ้าเราไม่เข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติอย่างนี้ไม่ได้ เราทำอย่างนี้น่ะ โลกนี้ถึงไม่ว่างจากพระอริยเจ้า ไม่ว่างจากพระอรหันต์ จะเป็นสมัยปัจจุบันหรือครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ให้เราทำอย่างนี้ให้เราปฏิบัติอย่างนี้น่ะ ทุกคนก็คิดหนักเลยว่า คิดว่าจะทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้นานเท่าไหร่ ถึงจะพอน่ะ คิดอย่างนี้ไม่ได้ อันนั้นมันความหลงความเห็นแก่ตัว เราจะมาเอาความสุขในการตามใจตนเอง ตามอารมณ์ ตามความรู้สึกไม่ได้ ทุกๆ คนอยากไปพระนิพพานแต่มันไม่อยากเสียสละมันก็ไม่ได้
การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ได้สู้กับใครหรอก สู้กับตัวเอง เพราะว่าเป็นระบบความคิด เป็นระบบอารมณ์ ต้องสู้กับตัวเองในปัจจุบัน ต้องถือว่าเราเป็นผู้โชคดี มีพระพุทธเจ้า ที่ให้เพื่อให้เราได้จัดการได้แก้ไข ได้สู้กับตัวเอง หลวงพ่อก็บังคับไป พระก็ต้องบังคับตัวเอง ถ้าให้แต่หลวงพ่อบังคับ ตัวเองไม่บังคับ มันก็เครียดนะ เค้าเรียกว่ามันเลี้ยงโจร เสียเวลา ต้องขยัน ต้องซื่อสัตย์ ประหยัด ท่านเจ้าคุณพุทธทาส นี้ประหยัด กระดาษทิชชู่นี้ไม่ให้พระสงฆ์ใช้หรอก ต้องตัดเอาผ้าเอาไว้เช็ดมือเช็ดอะไรต่างๆ หลวงตามหาบัวก็ประหยัด หลวงพ่อชาก็ประหยัด เหล่านี้เค้าถึงรักษาของสงฆ์ พวกที่ไม่รักษาของสงฆ์แสดงว่า มันไม่ใช่ลักษณะของพุทธะ ไม่ใช่ลักษณะของผู้นำ
ลักษณะที่อยู่ที่วัดก็อยู่เลื่อนลอยไปเรื่อยๆ ท่องสวดมนต์ก็ไม่เก่ง เจริญอานาปานสติก็ไม่เก่ง แล้วพวกนี้อาศัยอยู่ไปวันๆ พวกนี้ทุกคนต้องวางแผนตัวเองใหม่นะ พวกพระพวกโยมบางคนก็อยู่กับธรรมะไม่ได้ ต้องอยู่กับกาม อยู่กับเลื่อนลอย ถ้ามาทางธรรมะมันจะเป็นโรคประสาทขึ้นมา พวกนี้มีกามฝังอยู่ลึก เพราะว่ามี sex ทางความคิด ทุกคนน่ะถ้าสู้กับตัวเอง ไม่ได้สู้กับใคร จะอยู่วัดบ้านวัดป่า อยู่ที่ไหนมันไม่เกี่ยวกับสถานที่ ถ้าไม่ตายก็ถือว่าเรายังโชคดีอยู่ เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้ต่อสู้กับตนเองหรือว่าความหลง เรียกว่าอวิชชา หรือว่า ความยึดมั่นถือมั่น ธรรมที่ตัดสิน 8 ประการ ถึงปฏิบัติตรงกันข้ามกับ ตามใจ ตามอารมณ์ ตามความรู้สึกเลย เพราะว่ามันไม่ได้สู้กับใครเลย ถ้าไปสู้กับคนอื่นก็ต้องอาบัติ ต้องอาบัติทุกกฏนะ เวลานั่งสมาธิอยู่ศาลานี่ตัวตรง ไปที่กุฏิก็นั่งอีกอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีคนอยู่นะ ไม่ไปเดินจงกรม ไม่ไปนั่งสมาธินะ ถ้ามีใครอยู่น่ะ เดินจงกรมโชว์เลย นั่งสมาธิโชว์เลย เวลาเค้าทำวัตรสวดมนต์ก็ออกไปเดินจงกรม เวลาเค้าเดินจงกรมก็ไปนั่งสมาธิ เพราะทุกคนนั้นมันมีความเห็นแก่ตัวมาก ถ้าเราไม่สู้กับตัวเอง นี้ก็ยาก สู้กับตัวเองมันจะไม่เครียด เพราะเรามีความเห็นถูกต้อง มีความเข้าใจถูกต้อง ยิ่งมีความสุข เพราะเรารู้อยู่ว่าผลลัพธ์มันจะออกมาเป็นอย่างไร ที่มันเครียดเพราะเราจะไปเอา
เรามันแข่งกับตัวเอง เห็นคุณเห็นประโยชน์ที่จะต้องสู้กับตัวเอง อันนี้คือหลักเหตุผล อันนี้คือหลักวิทยาศาสตร์ เพราะมันต้องเป็นของจริง บารมีเราจริง ไม่ใช่เราไปอยู่กับครูบาอาจารย์ก็อาศัยบารมีของครูบาอาจารย์ เอาบารมีของครูบาอาจารย์เป็นเรตติ้ง เช่น เป็นลูกศิษย์อาจารย์ชา จริง แต่ว่าไม่ได้ทำเหมือนอาจารย์ชา แค่โกนหัวเหมือนอาจารย์ชา ห่มผ้าเหลืองเหมือนอาจารย์ชา เป็นลูกศิษย์เจ้าคุณพุทธทาสจริง แต่ว่าเจตนา หรือความตั้งใจมันไม่เหมือนหลวงพ่อพุทธทาส ถึงว่าไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า อย่าไปอ้อนว่าเป็นสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทำตามที่สอน อย่ามาอ้อนเรียกอาจารย์
เป็นลูกศิษย์ของคนนู้นคนนี้ อย่าไปเอาชื่อว่าเป็นลูกศิษย์ของคนนู้นคนนี้ พวกที่มาบวชก็ต้องเอาพระพุทธเจ้า 100 % อย่าให้ทิฏฐิมานะอัตตาตัวตนมันหลงอยู่ สู้กับตัวเองให้ได้ อย่าไปเซ่อๆ เบลอๆ อยู่นะ พวกนี้เค้าไม่อยู่กับธรรมะเค้าก็ไปอยู่กับ พวกก่อ พวกสร้าง ที่จริงพวกก่อสร้างนี้มันก็เป็นงานของผู้ที่หมดกิเลสแล้ว รอให้หมดกิเลสด้วย เลยต้องทำใจไปด้วย และก็ทำอย่างนี้ไปด้วย เหมือนหลวงพ่อชาบอกว่า สอนตัวเอง 95% สอนคนอื่น 5% นี่แหละคนเราเค้าต้องบังคับตัวเอง ถ้าไม่บังคับตัวเองน่ะมันไม่ได้ อย่างหลวงพ่อได้ดีอย่างนี้ก็เพราะบังคับตัวเอง
เราต้องรู้จักตัวเองในปัจจุบันนะ ว่าปัจจุบันเรากำลังคิดอะไรพูดอะไรทำอะไร เราต้องจัดการตัวเองในปัจจุบัน จะได้ละเอียดรอบคอบ จะได้แก้ไขตนเอง ปัจจุบันเราต้องคิดต้องวางแผน ถ้าวันหนึ่ง เราได้ทานอาหารปริมาณแคลอรี่อย่างนี้ก็เพียงพอ ความคิดอารมณ์มันจะกระตุ้นเราให้อยากให้ปรุงแต่ง เราต้องรู้จัก เราทำไปเรื่อยๆ ปฏิบัติเรื่อยๆ เราเป็นฆราวาสเป็นประชาชนเ ราก็ต้องปฏิบัติตนเองให้เข้มข้นนะ เราจะอยู่ท่านกลางสงฆ์เราก็ต้องฝึกให้เต็มที่ จะอยู่ในกุฏิอยู่คนเดียวเราก็ตั้งใจฝึกต้องเต็มที่
ทุกท่านทุกคนต้องยินดีในการประพฤติในการปฏิบัติเป็นผู้ที่ไม่ต้องการอะไร เป็นผู้ที่ไม่อยากเด่นอยากดัง มันต้องตายจากตัวจากตน เรามาบวชมาปฏิบัตินี่ ธรรมะของพระพุทธเจ้าก็ถือว่าเป็นธรรมะ สัปปายะ อาหารที่อยู่ที่นอนอะไรก็ถือว่า สัปปายะ อยู่แล้ว เราต้องพากันตั้งอกตั้งใจ เรารักตัวเองเราต้องปฏิบัติธรรม เรารักพ่อรักแม่รักญาติรักวงศ์ตระกูล เราต้องประพฤติเราต้องปฏิบัติธรรม เราต้องรักตัวเองอย่างมีปัญญา เราต้องรักคนอื่นอย่างมีปัญญา
โดยหลักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อความเป็นอยู่ของบุคคล ต่อความเสื่อม ความเจริญของบุคคล ถ้าบุคคลอาศัยอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี ก็จะก่อให้มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้มาก
สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม เรียกว่า สัปปายะ มี ๗ อย่างด้วยกัน
๑. ที่อยู่ซึ่งเหมาะ : วัด ราวป่า โคนต้นไม้ สำนักปฏิบัติธรรม กุฏิสงฆ์ อาราม เรือนว่างอันเป็นที่สบาย สงบ ปราศจากผู้คนสัญจรพลุกพล่าน ไม่ใกล้หนองน้ำ บ่อน้ำ หรือแหล่งชุมชนจนเกินไป อันอาจจะเกิดความรำคาญ มีรั้วรอบขอบชิด ปลอดภัยต่อความเป็นอยู่ มีที่เหมาะสำหรับ การปฏิบัติธรรม การเดินจงกรมเปลี่ยนอิริยาบถ
๒. การเดินทางที่เหมาะ : มีทางโคจร หรือ ทางเดิน ถนนหนทางไปมาได้สะดวก ไม่ใกล้นัก ไม่ไกลนัก หนทางในการบิณฑบาตไม่ลำบากนัก เหมาะแก่การจาริก อีกทั้งภายในสถานที่ก็ควรมีทางเดินจงกรม ที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม
๓. การพูดคุยที่เหมาะ : การสนทนา พูดคุยกันแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติ ได้ฟังสิ่งที่จะทำให้จิตใจเกิดสัทธา วิริยะ อุสาหะ ความสงบระงับในการที่จะทำความเพียร และพูดแต่พอประมาณ
๔. บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน : มีบุคคลที่ติดต่อคบหาผู้ตั้งมั่นในศีลธรรม มีความสันโดษ มักน้อย ชักจูงแนะนำไปในทางที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเพียร ความสงบ และถ้าเป็นครูบาอาจารย์ หรือบุคคลที่เคยเจริญกรรมฐานมาแล้ว ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์มาก
๕. อาหารที่เหมาะกัน : อาหารที่บริโภค ควรเป็นอาหารที่สบายต่อความเป็นอยู่ในอัตภาพแห่งตน เมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว ไม่ทำให้เกิดทุกขเวทนา เช่น ท้องอืด ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นอาหารที่จะเป็นคุณประโยชน์แก่ร่างกาย
๖. ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน : หมายถึงอากาศตามฤดูกาล ความร้อน ความเย็น ของอากาศ ที่ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป อันจะทำให้เกิดความเจ็บไข้ได้ป่วยแก่ร่างกาย
๗. อิริยาที่เหมาะกัน : หมายถึงอิริยาบถทั้ง ๔ หรือ การเคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถใดทีทำให้จิตสงบระงับ ก็แสดงว่าอิริยาบถนั้นสบาย อิริยาบถนั้นก็มีความสำคัญต่อสุขภาพมาก ในแต่ละวันเราจะต้องผลัดเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอ ให้เกิดความสมดุลกัน เลือดลมในตัวจึงจะไหลเวียนได้สะดวก ไม่เกิดการเมื่อยล้าเพราะอยู่ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งนานเกินไป ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยได้ ในอรรถกถาอธิบายไว้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผ่อนคลายความปวดเมื่อยจากอิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง ย่อมทรงบริหาร คือยังทรงอัตภาพให้เป็นไปมิให้ทรุดโทรม
ธรรมะเปรียบเสมือนถนนซูเปอร์ไฮเวย์ เป็นถนนที่ดีที่สุดในโลก ถ้าเราออกจากธรรมแล้วก็ แสดงว่า เราเป๋แล้ว ทุกๆ คนต้องสมาทานไว้ในใจเลย ว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่คิด เราจะไม่พูด เราจะไม่ทำ เราต้องขยัน เพราะความขยันนี้คือ ความสุข เรารับผิดชอบนี้คือ มีความสุข ทำให้มันออกมาชัดเจน ด้วยใจด้วยเจตนา เป็นผู้เที่ยงแท้แน่นอนต่อพระนิพพาน ไม่ไปที่อื่น ศีลกับธรรม คือชีวิต ชีวิตคือศีลคือธรรม ถ้าเราตั้งใจและมีเจตนาอย่างนี้มันก็ง่าย เราได้ตั้งสินใจแล้ว เราได้ปลงใจแล้ว เราได้วางธาตุวางขันธ์ วางภาระหนัก ให้ขันธ์เป็นขันธ์บริสุทธิ์ รูปบริสุทธิ์ เจตนาบริสุทธิ์ ความปรุงแต่งหมดไป ยังไม่หมดก็เป็นเรืองกำลังเจริญมรรค ต้องวางใจไว้อย่างนี้
ธรรมะแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ มันก็อยู่ที่ความตั้งใจ อยู่ที่เจตนา ตัวเราไม่มี บุคคลไม่มี มีแต่ธรรมะ เราต้องพากันประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ เรียกว่า พรหมจรรย์ อย่างต้น อย่างกลาง อย่างละเอียด มันต้องไปตามทางที่ตั้งใจไว้ชอบอย่างนี้ เราไม่ต้องไปอาลัยอาวรณ์ อย่าไปไขว้เขว ให้มีความสุขในการเสียสละ ทุกอย่างมันจะอยู่ที่ปัจจุบัน เราต้องมีจุดยืนที่ชัดเจน จนกว่าเราจะถึงที่สุดแห่งความทุกข์ คือ พระนิพพาน ถ้าเราเอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมเป็นที่ตั้ง มันจะระเบิดวัฏฏะสงสารไปในตัว มันจะทำลายภพชาติไปในชีวิตประจำวัน การประพฤติการปฏิบัติมันก็ทำให้กิเลสลดน้อยลง เพราะมันขึ้นอยู่ที่เราตั้งใจไว้ชอบ
เหมือนกับผู้ที่มาบวชสมาทานไว้ว่าจะฉันมื้อเดียว ตั้งใจไว้ชอบ เมื่อใจนี้วาง ใจนี้ปล่อยแล้ว มันก็ไม่หิวข้าว เพราะใจนี้วางไปแล้ว เรื่องโลกธรรม เขานินทาสรรเสริญ มันก็ไม่มีอะไร เพราะว่ามันก็จะเลือก มันก็ไม่ระแคะระคายเรา เพราะใจของเราไม่ชอบแล้ว เพราะมีความแข็งแรงแข็งแกร่งทางจิตใจ ถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ใช่จะไม่มีปัญญานะ ปัญญาจะยิ่งมีในปัจจุบันเรื่อยๆ ยิ่งเปลี่ยนฐานจากสามัญชนเป็นพระอริยเจ้า เราก็ยิ่งฉลาดขึ้นในปัจจุบัน ถ้าจิตใจภูมิธรรมของเราเป็นสกทาคามี เราก็ยิ่งฉลาดขึ้น ถ้าเราเป็นอนาคามี เราก็ยิ่งฉลาดขึ้น เพราะว่ามันเป็นปัจจุบันธรรมชัดเจนขึ้น เมื่อเราเดินไปยังไม่ถึง เราก็อย่าไปสงสัย เพราะปลาก็ไม่รู้เรื่องของนกหรอก นกก็ไม่รู้เรืองของปลาหรอก มันจะเป็นปัจจุบันธรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะรู้ได้เฉพาะตน ยิ่งเราประพฤติปฏิบัติไป เราจะยิ่งรู้จักพระพุทธเจ้ามากขึ้น ว่าพระพุทธเจ้าทำไมท่านประเสริฐแท้ สุดยอดแท้
ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ ไม่ตั้งมั่นอย่างนี้ เราเป็นพระภิกษุต้องอาบัติเยอะ ถ้าใจตั้งมั่นในพระธรรมในพระวินัย ก็ไม่มีอาบัติ พวกที่ตามใจตามอารมณ์ คือพวกอาบัติ นั่งก็ต้องอาบัติ คิดไปเรื่อยในสิ่งที่ไม่ดี มันไม่มีความตั้งมั่น จะยืนเดินนั่งนอน มันต้องแต่อาบัติ มันคิดไม่ดี พูดไม่ดี ทำไม่ดี วันนึงมันต้องแต่อาบัติ มันจะไปพระนิพพานได้ยังไง เพราะมันไม่ได้ตั้งมั่น ไม่ได้ตั่งในไว้ชอบ ความตั้งใจมั่นชอบหมายถึง มีสัมมาทิฐิ ไม่ได้ชอบอย่างโลกๆ ถ้าชอบอย่างนั้นเรียกว่ามีมิจฉาทิฏฐิ คำว่าชอบนี้ก็ยังเป็นกลางๆอยู่ ถ้าตั้งใจ ชอบในพระธรรมวินัย ถ้าชอบธรรมดายังเป็นโลก เป็นวัฏฏะสงสาร เป็นโลกีย์
ผู้ที่มีบุญเก่า บุญเก่าก็คือปัจจุบันนี้ เรามีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง ในปัจจุบันนี้ เหมือนที่ว่าเดินไปที่ละก้าว ทานข้าวไปที่ละคำ เดี๋ยวอีกหลายเดือนข้างหน้า ตรงนี้ก็จะเป็นบุญเก่า มันเดินไปด้วยอย่างนี้ ที่เราเกิดมาเป็นล้านๆชาติก็แก้ไขไม่ได้ ให้เน้นที่ปัจจุบัน เข้าอริยมรรคมีองค์ 8 ในที่ปัจจุบัน เดี๋ยวอดีตมันก็จะดีขึ้น แล้วเราก็เป็นผู้ที่มีบุญเก่า อันไหนไม่ดีก็อย่าไปคิด เน้นที่ปัจจุบัน แล้วทุกอย่างก็จะดี เพราะอดีตแก้ไขไม่ได้ อนาคตก็ยังมาไม่ถึง เน้นที่ปัจจุบัน
เราก็ต้องพัฒนาตนเอง เพราะธรรมเหล่าใดเกิดจากเหตุ ถ้าเราไม่สร้างไม่ประพฤติปฏิบัติมันก็ไม่มีหรอก อย่างแต่ก่อนไม่รู้หนังสือ เราก็เรียนหนังสือ อย่างเราไม่มีที่อยู่ ไม่มีที่อาศัย เราก็ต้องสร้างเพื่อให้สัปปายะ เพราะอันนี้มันทางกาย ส่วนทางจิตใจเราก็ทำไปพร้อมๆกัน ถ้างั้นมันก็ไม่น่าอยู่หรอก เราจะเป็นคนหลักลอยไปตามความคิดเหมือนสัมภเวสีไม่ได้ อย่างเรามีที่โล่งแจ้ง เท่านั้นไร่ เท่านี้ไร่ เราปลูกตรงนั้นปลูกตรงนี้ ทำอันโน่นทำอันนี้ ในภาคปัจจุบัน ก็จะเป็นผู้ที่มีปุพเพกตปุญญตา เพราะเราทำปัจจุบันนี้แหละ อีกหลายวันมันก็เป็นอดีต ทุกอย่างเราพัฒนาได้ จากเดินเท้าจนไปถึงดวงจันทร์แล้ว ไปทั้งใจไปด้วยทางสายกลาง ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ
เราต้องทำอย่างนี้ ถ้าไม่อย่างนั้นเราทำไม่ถูก เช่นว่า ประเทศพม่า พัฒนาบ้านตัวเองครอบครัวตัวเอง หนีมาทำงานที่ประเทศไทย อย่างประเทศไทย พัฒนาครอบครัวตัวเอง มาทำงานไปประเทศอเมริกา ไปทำงานที่ประเทศอังกฤษ มันมองข้ามปัจจุบันไป เราไม่มีความสุขในการเรียนการศึกษา การพัฒนาอะไร เราไม่ได้ศีลมีธรรม เราไม่ได้มีหลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ แล้วก็อยู่เหนือวิทยาศาสตร์ก็คือ มีปัญญา ไม่หลงในทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะความหลง เป็นอวิชชา มันจะระเบิดปัญญาของเราไปในตัว
เดี๋ยวมันจะเป็นอดีตไปโดยอัตโนมัติ อย่างเราไปสร้างสถานที่ สิบกว่าปีต้นไม้สูง สิบเมตร ยี่สิบเมตร สามสิบเมตรแล้วอย่างนี้ เราจะไปโทษว่าสถานที่มันอดอยาก แห้งแล้งไม่ได้ เรายังมีความเห็นไม่ถูกต้องเข้าใจถูกต้อง เราจะไปหาที่สัปปายะภายนอกไม่ได้ ต้องหาสัปปายะในความเห็นความเข้าใจแล้วปฏิบัติขึ้น ทำขึ้น พวกคนไม่ดี เพราะว่าเขาไม่เห็นตัวอย่างในสิ่งที่ดี ต้องพัฒนาตัวเอง เราเอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมเป็นใหญ่ เอาธรรมเป็นที่ตั้ง
เราจะได้มีสถานที่สัปปายะ เพราะว่าสัปปายะต้องเป็นอย่างนี้ แล้วคนโน่นก็ทำอย่างโน่น ทำเหมือนกันหมด ภาพรวมก็ออกมาดี แต่ก่อนเราเข้าใจผิด ไปแสวงหาที่สัปปายะที่เป็นไปได้อยาก ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุเกิดทุกข์ในปัจจุบัน เป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน อุดมไปด้วยอบายมุข ชีวิตของเราก็ต้องตกไปสู่อบายภูมิ ชีวิตของเราก็ไม่มีศิลปะ แปลว่า ไม่มีศีล ไม่มีธรรม เพราะว่า ไม่มีพระธรรมอยู่ในชีวิตของเรา แล้วเราก็ไปจัดการแต่สิ่งภายนอก ไปจัดการแต่คนอื่น ไปหาตังค์แต่กับคนอื่น ตัวเราไม่ทำไม่ปฏิบัติ เราไม่ต้องไปหาเงิน หาตังค์จากคนอื่น
เราปฏิบัติ เราต้องเป็นผู้ให้คนอื่น เราเป็นพ่อเป็นแม่ เราทำค้างไว้ให้ลูก เขาเรียกว่าเป็นการปฏิบัติบูชาต่อบรรพบุรุษของเรา อันนี้เป็นการต่อยอด สิ่งไหนดีเรารู้กันอยู่แล้ว สิ่งไหนไม่ดีเราไปทำตามไม่ได้ ความใจอ่อนมันมีทุกคน แต่เราไปทำตามไม่ได้ ถึงจะตายก็ช่างหัวมัน มันต้องเข้าสู่ภาคประพฤติภาคปฏิบัติ มันจะเสื่อม หรือ มันจะเจริญ ไม่ได้อยู่ที่คนอื่น มันอยู่ที่ตัวเรา เน้นลงไปอย่างนี้ ตัวเรานี้แหละคือผู้ที่มาต่อยอดพ่อแม่ ถือว่าตัวเรานี้แหละ มาต่อยอดของพระพุทธเจ้า ถ้าเราไม่ปฏิบัติ ถือว่าไม่ต่อยอด แต่มาทำลายประเพณีของพระพุทธเจ้า เมื่อเราไม่ประพฤติไม่ปฏิบัติอย่างนี้ สัปปายะจะมีมาจากไหน เพราะเราไม่รู้จักสัปปายะ สัปปายะก็คือการประพฤติการปฏิบัติของเราเอง ถ้าอย่างนั้นไปหาสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ มันจะยุ่ง ทุกคนต้องทำให้ได้ ทุกคนมันต่อสู้กับใคร ต่อสู้กับตัวเองนี้แหละ ต่อสู้กับความเห็นแก่ตัว ต่อสู้จากคนไม่มีกินให้มีกิน ต่อสู้จากคนไม่มีสมาธิ ให้มีสมาธิ ต่อสู้จากคนไม่ปัญญาให้มีปัญญา ปัญญาจะเกิดได้จากการมีสมาธิ สมาธิจะเกิดได้จากการมีศีล เรียกว่า ศีลสมาธิปัญญา นี้คือความสุข ความดับทุกข์ของเรา นี้เป็นการหยุดไม่ทำบาปทั้งปวง ทำแต่บุญแต่กุศลถึงพร้อม ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ถ้าพระลูกศิษย์ไม่ได้มาต่อยอดอาจารย์ มันจะสลายไป ความดีๆ มันก็เป็นความฝันไป ภาคประพฤติภาคปฏิบัติเป็นสิ่งที่สำคัญ เรียกว่า หลักการ เรียกว่า ศาสนา เราปฏิบัติตามใจตามความรู้สึก เขาเรียกว่า นิติบุคคลไป เป็นตัวตน ไม่ใช่ศาสนา ไม่ใช่ธรรมะ มันคือการก่อกรรมทำเวร ไม่มีศักยภาพอะไร มันอยู่ที่บุคคลนั้น ไม่ได้เป็นบุคคลตัวตน ถ้าใครเป็นบุคคลตัวตน จะทำให้ที่นั้นไม่เป็นสัปปายะ มันจะมีตัวตน พระจะอยู่ไม่ได้ ทำทั้งดีทำทั้งชั่ว มันจะหมดอนาคต มันไม่ใช่นิพพานแล้ว
การปฏิบัติเน้นที่ปัจจุบัน เพราะอดีตก็ปฏิบัติไม่ได้ อนาคตก็ปฏิบัติไม่ได้ การปฏิบัติเน้นที่ปัจจุบัน เอาทั้งศีล เอาทั้งสมาธิ เอาทั้งปัญญามาใช้ที่ปัจจุบัน ถ้าเราไม่ปฏิบัติตอนนี้ ไม่มีการปฏิบัติ ก็ต้องเน้นให้เกิด ถ้างั้นเป็นอันว่าเราประมาท เราปล่อยโอกาสเวลาให้ผ่านไป โดยที่ไม่ได้ทำงาน ไม่ได้ปฏิบัติ ก็เป็นโมฆบุรุษ
คนเราจะเก่งฉลาด เป็นธรรม มีคุณธรรม อยู่ที่ตรงนี้เอง ที่ผ่านมาเป็นบทเรียน เราต้องเสียสละ เพราะอนาคตอยู่ที่ปัจจุบัน จะเป็นฐานให้เราก้าวไป เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ปัจจุบันเราถึงมีสติมีสัมปชัญญะ มีทั้งศีลสมาธิปัญญาในปัจจุบัน มันถึงทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ได้ ต้องมีพระพุทธเจ้า ต้องมีพระธรรม มีพระอริยสงฆ์ไปอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าเราทำอย่างนี้ก็เป็นของง่ายขึ้น แล้วก็ปฏิบัติได้ ถ้าใจเราจะเข้มแข็งมันจะเข้มแข็งตอนนี้แหละ ถ้าใจเราตั้งมั่น มันตั้งมั่นตอนนี้แหละ เราจะปล่อยให้ความเคยชินไปตามอัธยาศัยไปไม่ได้ เพราะธรรมะเป็นธรรมะ มันไม่ได้เป็นอย่างอื่น ทุกคนถือว่าเป็นผู้ที่โชคดี ต้องมีความสุขในการประพฤติการปฏิบัติ ยิ่งปฏิบัติไปมันก็เลื่อนตำแหน่งไป ตามที่เราประพฤติตามที่เราปฏิบัติไป เพราะว่ามันจะสัปปายะ หรือไม่สัปปายะ มันอยู่ที่การประพฤติการปฏิบัติของเรา คนเราไม่มีใครปฏิบัติให้ใครได้ เพราะว่าเราก็ต้องหายใจของเราเอง คนเราจะปล่อยให้ตัวเองคิดผิดไม่ได้ ปล่อยให้ตัวเองมีอัตตาตัวตนไม่ได้ ต้องสละคืน ต้องเห็นภัยในวัฏฏะสงสาร ต้องประพฤติต้องปฏิบัติ มันจะชัดเจน
แต่ก่อนเราคิดว่ามันไม่สำคัญ นี้เป็นเรื่องสำคัญ เราต้องพากันจับหลักตรงนี้ให้ได้ ต้องเห็นคุณค่าเห็นประโยชน์ในการประพฤติการปฏิบัติ แล้วปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องในปัจจุบันไปเรื่อยๆ อานาปานสติของเราต้องมีอยู่กับเราทุกอิริยาบถ หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย เอาศีลเอาสมาธิ เอาปัญญามาใช่ มาประพฤติ มาปฏิบัติ มาใช้ สิ่งเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงเราไป เปลี่ยนจากอวิชชาเป็นปัญญา เปลี่ยนจากดำเป็นขาว จากชั่วเป็นดี มันเป็นการสร้างเหตุสร้างปัจจัย เป็นการเปลี่ยนฐาน เปลี่ยนภพภูมิ ทีนี้เราก็จะสว่างขึ้น ทุกคนก็อย่าไปหลงขยะ หลงเปลือก หลงกระพี้ เราต้องพัฒนาสัมมาทิฏฐิ ต้องพัฒนาพระพุทธเจ้า และพัฒนาการประพฤติการปฏิบัติของเราไปเรื่อยๆ เราไม่ต้องไปหาธรรมะที่ไหนหรอก เพราะธรรมะอยู่ในตัวของเราที่เรายังมีชีวิตยังไม่ตายนี้ เพราะถ้าเราตายแล้ว เราก็หมดเวลา
โดยธรรมชาติ ทุกชีวิตเมื่อยังไม่หมดกิเลส ก็ต้องทนรับทุกข์กันไป มากบ้างน้อยบ้างตามแต่กรรมที่ตนทำไว้ เราเวียนเกิดเวียนตายกันมานับภพนับชาติไม่ถ้วนแล้ว ถ้ามีใครสามารถเอากระดูกของเราทุกชาติมากองรวมกันเข้าก็จะสูงท่วมภูเขา ถ้าเอาน้ำตาของเราที่หลั่งไหลออกมาเพราะความทุกข์ทุกๆ ชาติมารวมกัน ก็จะมากกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก ใครสามารถเข้านิพพานได้ก่อนก็หมดทุกข์ก่อน ที่ยังอยู่ก็ต้องเวียนเกิดเวียนตายในทะเลทุกข์แห่งวัฏฏสงสารต่อไป
แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดเช่นเดียวกับพวกเรา แต่พระองค์ตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ถูกต้อง คือตั้งเป้าไว้ว่าจะกำจัดกิเลสในตัวให้หมดโดยเร็ว แล้วนำตนเองและผู้อื่นเข้านิพพานด้วย จากนั้นก็ตั้งใจบำเพ็ญเพียร ฝึกฝนตนเองอย่างเต็มที่มานับภพนับชาติไม่ถ้วน แม้มีอุปสรรคหนักหนาสาหัสเพียงไรก็ไม่ย่อท้อ สละได้แม้เลือดเนื้อและชีวิตเพื่อรักษาเป้าหมายที่จะเข้านิพพานไว้ไม่ให้คลอนแคลน ในที่สุดพระองค์ก็ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถกำจัดกิเลสได้หมด เข้านิพพานอันบรมสุขได้
ส่วนพวกเรามัวเที่ยวเถลไถล เกะๆ กะๆ ไม่เอาจริง ไม่ตั้งใจมุ่งมั่นในการทำความดี บ้างก็ยังไม่รู้เป้าหมายสูงสุดของชีวิตว่า คือการเข้านิพพาน บ้างก็รู้แล้ว แต่เกียจคร้านประพฤติย่อหย่อน ทำๆ หยุดๆ จึงต้องมาเวียนเกิดเวียนตายรับทุกข์อยู่อย่างนี้ ฉะนั้น ถ้าใครฉลาดก็ต้องรีบแก้ไขตนเอง ตั้งเป้าหมายสูงสุดของชีวิตไว้ให้มั่นคงไม่ประมาทในการสร้างความดี หมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ชำระกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ เพื่อกำจัดกิเลสให้หมดจะได้พ้นทุกข์เข้านิพพาน ได้รับความสุขอันเป็นอมตะตามอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง
“จงอย่าประมาท เร่งเดินตามรอยบาทพระบรมศาสดา ถึงจะทำประโยชน์ให้คนอื่นมากมาย ก็ไม่ควรละทิ้งจุดหมายปลายทางของตน เมื่อรู้ว่าอะไรคือจุดหมายปลายทางแล้ว ก็ควรใส่ใจขวนขวาย”