แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง ชีวิตของผู้สงบ ตอนที่ ๗๐ การประพฤติการปฏิบัติตามธรรม เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ปรารถนาความสุขความดับทุกข์
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
ผู้ที่เป็นประชาชนที่เป็นฆราวาสต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร ผู้ที่เป็นประชาชนเป็นฆราวาสหน่ะ มีงานสองอย่าง คือ อย่างที่หนึ่งต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ เลี้ยงดูครอบครัว เลี้ยงดูพ่อแม่ ญาติวงศ์ตระกูล อย่างที่สองนั้นต้องพัฒนาใจของตัวเอง การประพฤติปฏิบัตินี้ต้องให้เป็นตามหลักเหตุผล หลักวิทยาศาสตร์และต้องพัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน เรียกว่า ทางสายกลาง รู้จักอบายมุข อบายภูมิ มันไม่มีสิทธิ์ที่จะทำตามใจตัวเอง ทำตามอารมณ์ ทำตามความรู้สึก หรือทำตามสิ่งแวดล้อม ต้องเอาพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง
พระรัตนตรัยก็คือธรรมะ ถ้าเราทำตามใจตัวเอง ทำตามอารมณ์ตัวเอง มันก็เทียบเท่ากับสัตว์เดรัจฉาน เปรต ยักษ์ มาร อสูรกาย สัตว์นรก สร้างปัญหาเป็นผู้ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ถ้าทำตามใจอย่างนี้ ชีวิตของเราทุกคนทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายฆราวาสครองเรือนก็ต้องเดินทางไปเหมือนๆ กัน แต่จะต่างกันคือบรรพชิตพัฒนาใจเพื่อมรรคผลพระนิพพาน ปฏิบัติตามธรรมวินัยทุกข้อ ปิดอบายมุขเพราะว่าไม่ต้องพะวงเรื่องการดำรงชีพ การทำมาหากิน เราอยู่ในบ้านอยู่ในสังคม สิ่งแวดล้อมมันทำให้ทุกๆ คนใจอ่อน ทุกท่านทุกคนต้องตั้งมั่นในพระรัตนตรัย กราบพระไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ เช้าเย็นอย่างนี้เป็นหลัก ต้องสมานทานศีล ๕ ให้ชัดเจน ไปประมาทไม่ได้ ต้องทวนกระแส อาศัยศีล อาศัยข้อวัตรเป็นหลัก
ประเทศไทยเราโชคดีเพราะว่าประเทศไทยเรากับพระพุทธศาสนาไปพร้อมๆ กัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปิดโอกาสให้ประชาชนพากันบวชเพื่อจะรู้จักธรรมะ รู้จักผิด รู้จักถูก เพื่อจะได้เป็นทรัพยากรของชาติ ทุกท่านทุกคนต้องเป็นผู้นำตัวเอง และเป็นผู้นำญาติวงศ์ตระกูลให้ทุกคนพากันเข้าใจอย่างนั้น คนเรามันใจอ่อน ครูบาอาจารย์สังเกตดูผู้ที่มาบวชในพรรษาก็พากันปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตั้งใจ แต่ไปอยู่ที่บ้านแล้วนานๆ ความตั้งใจก็เริ่มหายไป แสดงถึงความล้มเหลวของผู้ที่มาบวช เพราะว่าตกต่ำจากความดี เหมือนคนตกรถ ตกเรือ ตกเครื่องบิน นั้นแสดงถึงว่าผู้ที่มาบวชนั้นประมาท ย่อหย่อนไม่ได้กราบพระไหว้พระไม่รักษาศีล ไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ จิตใจของผู้นั้นก็หยาบ สกปรก ไม่ยินดีในการกราบพระพุทธเจ้า ไม่ยินดีในการปฏิบัติธรรม หลงในวัตถุ หลงในกามคุณ
ทุกท่านทุกคนมีความจำเป็นต้องลาสิกขาไปดูพ่อ ดูแม่ ดูครอบครัว ตั้งใจที่จะมาบวชมาฝึกเพื่อสร้างบารมี เวลาสึกออกไปก็ต้องตั้งใจดี ตั้งใจให้มันเป็นสัมมาสมาธิ เพราะเราจะรวยจะจนอยู่ที่เรา ทุกท่านทุกคนต้องเอาธรรมะไปประพฤติไปปฏิบัติเพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ปฏิบัติให้เรา ครูบาอาจารย์ก็ไม่ได้ปฏิบัติให้เรา เน้นการประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันเพราะอดีตก็ปฏิบัติไม่ได้ อนาคตก็ปฏิบัติไม่ได้ เน้นที่ปัจจุบัน ความรู้ความเข้าใจทั้งหลายทั้งปวง เราต้องเอามาใช้งานที่ปัจจุบัน แล้วชีวิตของเรามันก็จะเลื่อนไปเรื่อย ตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเองหน่ะ มันมีแต่ความไม่ฉลาด เราอยู่ที่บ้านเราก็เป็นพระได้ พระนั้นก็หมายถึงพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี แต่เป็นพระอรหันต์ไม่ได้เพราะมันยังมีห่วง มีอะไรที่รับผิดชอบอยู่ สำหรับผู้ที่บวชอยู่ในวัด ก็ให้ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้ตัวเองได้เป็นพระอริยเจ้า ให้เป็นพระธรรม พระวินัย คือการเสียสละตัว เสียสละตน ถ้าเราไม่ประพฤติไม่ปฏิบัติอย่างนี้ เราก็ส่งไม้ผลัดบอกพระรุ่นน้อง รุ่นลูก รุ่นหลานไม่ได้ สิ่งที่ผ่านๆ มานั้น ความบกพร่องเรามีเยอะ ประชาชนทั้งหลายก็พากันเป็นโรคจิตโรคประสาท พระทั้งหลายก็พากันเป็นโรคประสาท ตามใจจนเคยชินจนเป็นโรคจิต ให้เข้าใจ ทุกท่านทุกคนก็พากันพัฒนาตัวเองได้ ผู้ที่อยู่ทางบ้านก็ตั้งหลัก ตั้งฐาน ดำรงชาติ ดำรงตระกูลโดยเอาธรรมะเป็นหลัก อย่าไปทิ้งธรรมะ อย่าไปทิ้งความถูกต้อง
เรามีความสุขในการทำงาน วันหนึ่งก็ทำงาน 10 กว่าชั่วโมง เวลานอนก็ 6 ชั่วโมงถึง 8 ชั่วโมง ผู้ที่อยู่ทางบ้านก็อย่าเอาแต่เล่นโทรศัพท์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์เพื่ออำนวยความสะดวก ความสบาย ในการดำรงชีพไม่ใช่ให้เรามาหลง พวกโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์พวกนี้มันเบ็ดเตล็ด มีทั้งคุณ มีทั้งประโยชน์ ทุกท่านทุกคนต้องกตัญญูต่อพ่อ ต่อแม่ของท่าน กตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้า จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเท่าไหร่ เราอยู่ที่บ้านก็ต้องพากันไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ อย่างนี้เป็นต้น เหมือนเราทุกคนมีความจำเป็นที่จะต้องทานอาหาร ถ้าไม่อย่างนั้นเราก็ให้แต่อาหารอวิชชา ให้อาหารแต่ความหลง เราไม่ให้อาหารจิต อาหารใจคือคุณธรรม คุณงามความดี การปฏิบัติธรรมของเรามันยังไม่จบ เรายังไม่หมดลมหายใจ เรายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ถึงแม้เราจะทานข้าว ทานอาหารพักผ่อน เราทุกคนก็ย่อมแก่ ย่อมเจ็บ ย่อมตาย ย่อมพลัดพรากทุกๆ คน ให้พากันเข้าใจ ความเพลิดเพลินความประมาทเป็นสิ่งที่สำคัญ ผู้ที่ถือพระพุทธศาสนา ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนาหรอก มีแต่ทำตามใจ ทำตามอารมณ์ ทำตามความรู้สึก ไหว้พระบางครอบครัวก็ยังไม่เป็น สวดมนต์ก็ยังไม่เป็น นั่งสมาธิก็ยังไม่เป็น เก่งแต่ความรู้ ความเข้าใจในการทำมาหากิน ผู้ที่มาบวชเวลากลับไปก็ต้องเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไปประพฤติปฏิบัติ พ่อแม่ญาติพี่น้องวงศ์ตระกูลเขาก็ดีใจภูมิใจที่พวกเราได้มาบวช มาปฏิบัติ หวังว่าเราจะไม่ไปสู่ที่ต่ำ อบายมุข อบายภูมิ เป็นธรรมเป็นมรดกธรรมที่เราจะไปใช้ต่อยอด มรดกธรรม คือ อริยทรัพย์ มี ๗ ประการด้วยกัน คือ ๑. ศรัทธา ความเชื่อ ๒. ศีล ความประพฤติดีทางกายทางวาจา ๓. หิริ ความอายบาป ๔. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก ๖. จาคะ การเสียสละ และ ๗. ปัญญา
๑. ศรัทธา คือ ความเชื่อ เชื่อในพระพุทธเจ้า เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้จริงเห็นจริง รู้ในสิ่งต่างๆที่เราไม่รู้กัน เช่นรู้เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ รู้เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด รู้เรื่องบาป รู้เรื่องบุญ รู้เรื่องคุณ รู้เรื่องโทษ รู้เรื่องมรรค ผล นิพพาน คือสิ่งที่ปุถุชนคนธรรมดาสามัญผู้เต็มไปด้วยอวิชชา ยังไม่สามารถล่วงรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ได้ ไม่เหมือนพระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยสติปัญญาความรู้ความฉลาด วิริยะความอุตสาหะพากเพียร ขันติความอดทน สะสมบุญบารมีมาเป็นกัปเป็นกัลป์ จนบรรลุเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า มีดวงตาเห็นธรรมขึ้นมา เห็นสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในไตรภพ ในโลกทั้ง ๓ นี้ คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ โลกของการเวียนว่ายตายเกิด ผู้มีดวงตาเห็นธรรมสามารถมองเห็นสิ่งเหล่านี้ พวกเรายังมืดบอด ยังไม่รู้ไม่เห็น แต่มีแววแห่งความฉลาด ตรงที่ยอมรับว่าเรายังโง่อยู่ และยอมรับว่าพระพุทธเจ้าฉลาดกว่าเรา เมื่อพระพุทธองค์เป็นผู้มีความฉลาดกว่าเรา รู้มากกว่าเรา เราจึงเชื่อพระพุทธเจ้า คือเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนมีอยู่ ๓ ข้อใหญ่ๆ คือ ๑. กรรม ๒. วิบาก ๓. สัตว์โลกมีกรรมเป็นของๆตน
๑) เชื่อว่ากรรม คือการกระทำทาง กาย วาจา ใจ เป็นเหตุที่นำมาซึ่งความสุขหรือความทุกข์ ความเจริญหรือความเสื่อม ภพชาติต่างๆเป็นผลที่เกิดมาจากกรรม เช่นเชื่อว่าเหตุที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เพราะในอดีตเคยทำความดีรักษาศีลไว้ จึงทำให้ได้มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างนี้เป็นต้น
๒) เชื่อวิบากผลของกรรม เชื่อว่าเมื่อทำกรรมไปแล้วไม่ว่าดีหรือชั่ว จะต้องได้รับผลของกรรมนั้น เช่นการได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเดรัจฉาน เป็นสุนัข เป็นแมว เป็นวิบาก เป็นผลที่เกิดจากการกระทำในอดีต ได้ทำกรรมมาต่างกันจึงทำให้มาเกิดต่างกันไป มีความแตกต่างไม่เท่าเทียมกัน ทางด้านเพศ ทางด้านรูปร่างหน้าตา ทางด้านความรู้ความฉลาด ทางด้านฐานะการเงิน เหล่านี้เรียกว่าวิบาก คือผลที่เกิดจากการกระทำในอดีต เชื่อว่าเราเป็นอยู่อย่างนี้ก็เพราะทำมาแค่นี้ สะสมบุญบารมีมาแค่นี้ ทำมาแค่นี้ก็ได้แค่นี้ ถ้าอยากได้มากกว่านี้ก็ต้องสะสมบุญบารมีให้มากขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงที่สุดของบุญบารมี ก็จะบรรลุถึง มรรค ผล นิพพาน การสิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด เป็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
๓) เชื่อว่าสัตว์โลกทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน เมื่อทำกรรมแล้ววิบากย่อมตามมาเหมือนเงาตามตัว เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครช่วยใครให้พ้นวิบากกรรมของตนไปได้ หรือสร้างบุญกุศลให้แก่กันได้ เมื่อถึงเวลาที่ผลบุญจะเกิดขึ้นกับผู้หนึ่งผู้ใด ก็ไม่มีใครไปห้ามได้ เช่นเดียวกับผลของบาปกรรม เมื่อถึงเวลาที่จะเกิดขึ้น ก็ไม่มีใครไปยับยั้งได้ สิ่งที่ทำได้ก็คือช่วยเท่าที่จะช่วยได้ ถ้าเกิดขึ้นกับตัวเรา ก็ต้องทำใจให้นิ่งเฉยเป็นอุเบกขา ยอมรับความจริงว่า สัตว์โลกทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน จักทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ไม่มีใครยับยั้งผลของกรรมได้ เมื่อถึงเวลาก็ต้องรับผลของกรรมกันทุกๆคน
๒. ศีล ความประพฤติดีทางกายทางวาจา เมื่อมีศรัทธาแล้วเราก็จะประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน โดยเห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราก็จะทำแต่สิ่งที่ดีและหลีกเลี่ยงการทำบาป ด้วยการรักษาศีลตามกำลังศรัทธา วิริยะ สติ ปัญญา ตั้งแต่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ จนถึง ศีล ๒๒๗ ศีลคือความปกติทางกายและทางวาจา ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ไม่สร้างความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยการละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดประเวณี ละเว้นจากการพูดปดมดเท็จ ละเว้นจากการเสพสุรายาเมา
๓. หิริ ความอายบาป ๔. โอตตัปปะ ความกลัวบาป เมื่อเห็นว่าการทำบาปเป็นสิ่งไม่ดี จึงละเว้น ด้วยหิริ ความอายบาป และโอตตัปปะ ความกลัวบาป ทุกคนมีความอายกัน แต่สิ่งที่น่าอายกลับไม่อาย กลับไปอายในสิ่งที่ไม่น่าอาย เช่นไปอายในความยากจน ในรูปร่างหน้าตาที่ไม่สวยงาม ในความโง่เขลาเบาปัญญาของตน สิ่งที่น่าอายคืออะไร ก็คือการกระทำความชั่วทั้งหลาย เช่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักทรัพย์ การประพฤติผิดประเวณี การพูดปดมดเท็จ การเสพสุรายาเมา เพราะเมื่อทำบาปไปแล้วก็เหมือนกับเอาไฟมาเผาตัวเองและผู้อื่น สร้างความทุกข์ทรมานให้กับตนและผู้อื่น เป็นสิ่งที่น่าอับอาย น่าขยะแขยงอย่างยิ่ง
เช่นเดียวกับความกลัว สิ่งที่น่ากลัวกลับไม่กลัว สิ่งที่ไม่น่ากลัวกลับไปกลัว เช่นกลัวความแก่ กลัวความเจ็บ กลัวความตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวเลย เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดกับทุกๆคน เป็นธรรมดา เป็นปกติของธาตุขันธ์ ของร่างกาย เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ผู้ที่กลัวคือผู้ที่มีความสำคัญมั่นหมาย ไปยึด ไปติด ว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของๆ เรา เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็คิดว่าเราแก่ เราเจ็บ เราตาย แทนที่จะคิดว่าร่างกายแก่ ร่างกายเจ็บ ร่างกายตาย ก็กลับไปหลงคิดว่าร่างกายนี้แหละคือเรา เมื่อจิตติดอยู่กับร่างกาย ก็เลยคิดว่าจิตเป็นกาย กายเป็นอะไรจิตก็เป็นไปด้วย ก็เลยเกิดความกลัวขึ้นมา นี่คือความหลง
ถ้าได้ศึกษาได้ปฏิบัติธรรมแล้วจะสามารถแยกแยะกายออกจากจิตได้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากายก็เป็นอย่างหนึ่ง จิตก็เป็นอย่างหนึ่ง กายนี้เป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป แล้วกลายเป็นอาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น นี่คือเรื่องของร่างกาย เป็นธาตุขันธ์ล้วนๆ มาจาก ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่เป็นเพราะขาดปัญญาเลยทำให้จิตถูกอวิชชาครอบงำ ไปยึด ไปติด ไปหลงว่าร่างกายนี้เป็นจิต จิตเป็นร่างกาย เมื่อร่างกายเป็นอะไรไป ก็เกิดกลัวขึ้นมา กลัวความแก่ กลัวความเจ็บ กลัวความตาย สำหรับผู้ที่ได้ศึกษาได้ปฏิบัติธรรมอย่างถ่องแท้แล้ว อย่างพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะไม่กลัว ความแก่ เจ็บ ตาย เลยแม้แต่น้อย ท่านตายได้ในทุกอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน ด้วยความเป็นปกติสุข ไม่มีความหวั่นไหว เพราะท่านมีปัญญา มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ท่านปล่อยวาง ไม่ไปยึดไม่ไปติดในธาตุขันธ์ ถ้ายังดีอยู่ก็เอาไว้ใช้ให้เป็นประโยชน์ เหมือนเสื้อผ้าที่ยังดีอยู่ก็ใส่ไป ถ้าขาดก็ทิ้งไปฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้นเมื่อถึงเวลาแตกดับก็ทิ้งไป
สิ่งที่น่ากลัวคืออะไร ก็คือบาปกรรม การกระทำความชั่วทั้งหลาย เพราะจะนำมาซึ่งความทุกข์ความหายนะ เริ่มตั้งแต่ในปัจจุบัน เมื่อทำความชั่วแล้วจิตจะมีความร้อน มีความกังวล มีความหวาดวิตก เกิดความกลัวขึ้นมา กลัวจะถูกจับได้ว่าทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม เมื่อตายไปก็ต้องไปใช้กรรมในอบายต่อไป ไปเกิดเป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง เพราะขาดหิริ ความอาย และโอตตัปปะ ความกลัวบาป ขาดศรัทธา ไม่เชื่อในเรื่องบาปกรรม ก็เลยเกิดความประมาทขึ้นมา คิดว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นเรื่องแต่งขึ้นมา เพื่อหลอกให้ทำความดีโดยไม่มีผลดีอะไรตามมา ถ้าคิดเช่นนี้ จะเป็นคนที่สร้างความทุกข์อย่างแสนสาหัสให้กับตนเอง เพราะจะไม่มีหิริโอตตัปปะ แล้วจะทำบาปไปไม่มีที่สิ้นสุด ถ้ามีศรัทธาความเชื่อ ก็จะมีหิริโอตตัปปะ ความอายและความกลัวบาป จะสะสมบุญแบบไม่กลัวจน ไม่กลัวว่าจะเสียเงิน เสียทอง เสียเวลา เพราะบุญกุศลที่ได้นั้น มีคุณค่ามากยิ่งกว่าเงินทอง ยิ่งกว่าเวลาที่เสียไป เพราะได้อริยทรัพย์นั่นเอง
๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก การได้ยินได้ฟังธรรมอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เป็นผู้คงแก่เรียน เป็นผู้รู้มาก เป็นผู้ศึกษามาก การที่ได้ศึกษามากต้องอาศัยการได้ยินได้ฟังจากผู้ที่มีความรู้ โดยเฉพาะรู้ทางธรรม เพราะธรรมเป็นแสงสว่างนำชีวิต ให้รู้จัก บาป บุญ คุณ โทษ กรรม และวิบาก ถ้าได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยๆ ต่อไปจะเป็นผู้ที่มีความรู้มาก เป็นพหูสูต เป็นพาหุสัจจะ คือเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก เป็นอริยทรัพย์
๖. จาคะ การเสียสละ เสียสละประโยชน์สุขส่วนตนให้แก่ผู้อื่น เป็นการลดละความเห็นแก่ตัว ความหลงในตัวตน โดยเห็นว่าสมบัติเงินทองที่มีอยู่เป็นสมบัติผลัดกันชม ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องพลัดพรากจากกัน ไม่ใช่ของๆตน ทรัพย์สมบัติที่แท้จริงต้องเป็นอริยทรัพย์ ที่เกิดจากจาคะ การเสียสละ แจกจ่าย แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น ถ้ามีทรัพย์ที่เหลือใช้แล้วไม่เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการบริจาคแบ่งปันให้กับผู้อื่น ก็จะไม่มีอริยทรัพย์ เหมือนกับการไม่ได้แลกเงินตราต่างประเทศไว้ใช้เวลาเดินทางไปต่างประเทศ จะมีแต่เงินที่ไม่สามารถเอาติดตัวไปใช้ได้ ไปเกิดภพหน้าชาติหน้า ก็จะมีแต่ความอดอยากขาดแคลน ในปัจจุบันก็จะถูกอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความหลงคุกคาม สร้างความร้อนรนให้แก่จิตใจ หาความร่มเย็นเป็นสุขไม่ได้
๗. ปัญญา ความรู้ความฉลาด คือรู้ความจริง รู้อะไรคือเหตุ รู้อะไรคือผล รู้อะไรคือบาป รู้อะไรคือบุญ รู้อะไรคือคุณ รู้อะไรคือโทษ รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้ารู้แล้วย่อมทำแต่สิ่งที่ดีที่งาม ละเว้นจากการประพฤติที่ไม่ดีไม่งาม นำความสุขมาสู่ตน บาปกรรมไม่ทำ ทำแต่บุญอย่างเดียว
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “นัตถิ ปัญญา สมา อาภา ความสว่างอื่นใดยิ่งกว่าปัญญาไม่มี” แสงตะวันจะส่องกลางวัน แสงจันทร์จะส่องกลางคืน นอกนั้นก็หมดอานุภาพ แต่ปัญญานี้จะส่องสว่างในใจของทุกท่าน ทุกขณะ และติดตามไปทุกภพทุกชาติด้วย เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงถือว่าสูงสุดสำคัญที่สุด
เขาว่าชีวิตเมื่อถึงจุดเปลี่ยนเพราะ “เงื่อนไข” พร้อมแล้ว ย่อมเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ มหาโจรองคุลิมาลเปลี่ยนใจในทันทีทันใดหันเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ไม่ช้าก็บรรลุพระอรหัต และหลายต่อหลายคนเป็นเช่นว่านี้ สันตติมหาอำมาตย์ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้ ท่านผู้นี้เป็นถึงมหาอำมาตย์คนสำคัญของแคว้นโกศล หลังจากที่ปราบปัจจันตชนบทที่ก่อความไม่สงบขึ้นลงได้ราบคาบในครั้งหนึ่ง ได้รับการไว้วางพระทัยจากพระเจ้าปเสนทิโกศลมาก มากถึงขนาดปูนบำเหน็จความดีความชอบที่ไม่เคยมีใครได้มาก่อน คือ ได้รับพระราชทานราชสมบัติ ๗ วัน พูดให้ชัดก็คือ ทรงแต่งตั้งให้สันตติมหาอำมาตย์ครองราชย์บัลลังก์ ปกครองประเทศแทนพระองค์ ๗ วัน พระราชทานสตรีที่ฉลาดในการขับร้องฟ้อนรำประโคมดนตรี สวยเลิศประเสริฐศรีหนึ่งนาง แม่นางรำคนสวยก็เสิร์ฟท่านมหาอำมาตย์ ซึ่งบัดนี้เป็นพระราชาชั่วคราวด้วยสุราอาหารอย่างดี บำรุงบำเรอให้อิ่มหมีพีมันเมาแล้วเมาอีก
ถึงวันที่ ๗ เป็นวันสิ้นกำหนดความเป็นราชาชั่วคราว เขาประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ขึ้นข้างทรงตัวประเสริฐไปยังท่าน้ำเพื่อสรงสนาน พอดีพระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ (บิณฑบาต) ยังพระนคร ผ่านไปทางนั้น สันตติมหาอำมาตย์เห็นพระพุทธองค์ จึงค้อมศีรษะถวายบังคมพระพุทธองค์ด้วยจิตนอบน้อม
พระพุทธองค์ทรงแย้มพระสรวล พระอานนท์กราบทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์ทรงทำการแย้มสรวลให้ปรากฏ” “อานนท์ เธอเห็นสันตติมหาอำมาตย์นั่นไหม” “เห็น พระเจ้าข้า”
“สันตติมหาอำมาตย์ วันนี้มึนเมาสุราแทบครองสติไม่อยู่ วันนี้เขาจะมาสำนักเรา ได้ฟังโศลกธรรม ๔ บทจากเรา จะได้บรรลุอรหัตผลและปรินิพพาน”
นัยว่า พระกระแสรับสั่งกับพระอานนท์นี้ มีผู้ได้ยินและเล่าต่อๆ กันไป ประชาชนที่ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาต่างก็ชื่นชมโสมนัสกับผลสำเร็จอันเกิดแก่สันตติมหาอำมาตย์ แต่บางจำพวกที่เป็นมิจฉาทิฐิได้ทราบเรื่องนี้แล้วก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นจริง “มันจะเป็นไปได้อย่างไร ก็มหาอำมาตย์เมาหยำเปออกอย่างนี้ จะได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนี้ เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด”
เมื่อไม่เชื่อก็คอยจับผิด ตามดูสันตติมหาอำมาตย์ทุกฝีก้าว ว่าจะไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุพระอรหัตจริงหรือไม่
ข้างฝ่ายสันตติมหาอำมาตย์ เมื่อสรงสนานเสร็จแล้วก็เข้าไปพักอยู่ ณ พระราชอุทยาน เพื่อดื่มน้ำจัณฑ์ต่อ พลางเรียกนางนักฟ้อนมาร่ายรำขับร้องให้ฟังไปด้วย เรียกว่ากินทั้งทางปาก ทั้งทางตา และทางหู ว่าอย่างนั้นเถอะ
เนื่องจากนางได้ทำงานรับใช้สันตติมหาอำมาตย์ตลอดทั้ง ๗ วันไม่ได้พักผ่อนเลย จึงรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ถึงขนาดล้มทั้งยืนในขณะที่ร่ายรำอยู่ หมดสติแน่นิ่งไป
สันตติมหาอำมาตย์สั่งให้คนไปดู เมื่อได้รับรายงานว่า “นางสิ้นใจแล้ว เจ้านาย” เท่านั้น ก็เกิดความเศร้าโศกเป็นกำลัง เสียใจที่ตนเองเป็นสาเหตุทำให้นางถึงแก่ชีวิต ความเมามายที่มีมาตลอดสัปดาห์ได้หายเป็นปลิดทิ้ง เขารำลึกถึงพระบรมศาสดาทันที “มีแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะบรรเทาความโศกเศร้าของเราได้” เขาคิดเช่นนั้น จึงรีบไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทันที
พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยญาณว่า บัดนี้อินทรีย์ของสันตติมหาอำมาตย์แก่กล้าพอที่จะฟังธรรมเข้าใจแล้ว จึงตรัสโศลกธรรมความว่า "ยํ ปุพฺเพ, ตํ วิโสเสหิ, ปจฺฉา เต มาหุ กิญฺจนํ, มชฺเฌ เจ โน คเหสฺสสิ, อุปสนฺโต จริสฺสสีติ. กิเลสเครื่องกังวลใด ที่เคยมีในกาลก่อน (อดีต) เธอจึงละกิเลสเครื่องกังวลนั้นเสีย กิเลสเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอในภายหลัง (อนาคต) ถ้าเธอไม่ยึดมั่นในขันธ์ในท่ามกลาง (ปัจจุบัน) จักเป็นผู้เที่ยวไปไหนได้อย่างสงบรำงับ"
ความหมายของโศลกธรรมสั้นๆ นี้ ก็คือ จงอย่ายึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพราะขันธ์ ๕ เป็น “ภาระ” (ของหนัก) ใครยึดมั่นถือมั่นก็เรียกว่า “คนแบกของหนัก” ปลง (วาง) ของหนักเสียได้ ก็จะเป็น “เบา”
สันตติมหาอำมาตย์พิจารณาตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตทันทีที่ตรัสจบ เมื่อล่วงรู้อายุขัยของตนจักมีในวันนั้น จึงกราบทูลขอพระพุทธานุญาตปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงประทานอนุญาต พร้อมตรัสสั่งให้สันตติมหาอำมาตย์คลายความสงสัยของเหล่ามิจฉาทิฐิ บุคคลที่ไม่เชื่อในเรื่องนี้ (ไม่เชื่อว่าสันตติมหาอำมาตย์ผู้ขี้เมาจักบรรลุพระอรหัตผลพร้อมปฏิสัมภิทา) สันตติมหาอำมาตย์จึงถวายบังคมพระศาสดา แล้วเหาะขึ้นสู่อากาศสูงประมาณต้นตาลลงมากราบถวายบังคมอีกครั้ง ขึ้นไปนั่งในอากาศ แล้วประกาศบุพกรรม (กรรมเก่า) ของตนให้พระพุทธองค์และฝูงชนได้ทราบ จากนั้นก็เข้าเตโชธาตุปรินิพพาน เปลวไฟลุกโพลงขึ้นเผาร่างของเขากลางอากาศนั้นแล คงเหลือแต่ธาตุเป็นสีขาวดุจดอกมะลิโปรยลงยังพื้นดิน
กรรมเก่า หมายถึง กรรมดีที่สันตติมหาอำมาตย์เล่าให้ประชาชนฟัง อันมีพระพุทธองค์ประทับเป็นประธานนั้น ก็คือในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ได้เที่ยวชักชวนให้ประชาชนทำทาน สมาทานอุโบสถศีล เป็นต้น มิได้ขาด จนพระราชาแห่งแคว้นทรงทราบ เห็นเขาเดินป่าวประกาศจึงพระราชทานรถม้าและช้างให้เป็นพาหนะสำหรับเที่ยวป่าวประกาศชักชวนผู้คนให้ทำบุญกุศล
หลังจากสันตติมหาอำมาตย์ปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลายต่างก็ “ตั้งวง” สนทนาธรรมกัน ณ อุปัฏฐานศาลา (หอฉันอันเป็นศาลาธรรมด้วย) ในเย็นวันหนึ่งว่า สันตติมหาอำมาตย์แต่งกายอย่างเลิศหรู นั่งบนคอช้างที่ประดับประดาอย่างงดงาม บรรลุธรรมทั้งๆ ที่อยู่ในเครื่องแต่งกายอันโอฬาร เราจะเรียกเขาว่าเป็น “สมณะ” หรือ “พราหมณ์” ได้ไหมหนอ
พระพุทธองค์เสด็จมา ทรงทราบเรื่องเข้าจึงตรัสว่า จะเรียกบุตรของเราว่าสมณะ (ผู้สงบ) หรือพราหมณ์ (ผู้ลอยบาปได้) ก็สมควรทั้งนั้น แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า "อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ. แม้ว่าประดับประดาอย่างดี หากประพฤติธรรมสม่ำเสมอ สงบ ฝึกฝนตนเป็นผู้เที่ยงตรงอริยมรรค มีความประพฤติประเสริฐ ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย คนเช่นนี้จะเรียกว่าเป็น “พราหมณ์” เป็น “สมณะ” หรือ “ภิกษุ” ก็ย่อมได้"
พระพุทธองค์ตรัสว่า จะแต่งกายอย่างไรก็ได้ไม่สำคัญ แต่สำคัญที่จิตใจ จิตใจปฏิบัติธรรมจริงหรือไม่ ถ้าฝึกฝนตนอย่างจริงจัง ดำเนินตามอริยมรรคในที่สุด ก็เข้าถึงจุดสูงสุดแห่งชีวิต คือ บรรลุพระอรหัตผลแน่นอน
ชีวิตของเรานี้ เป็นชีวิตที่ประเสริฐ ต้องเอาชีวิตนี้มาสร้างความดี สร้างคุณธรรม มาก้าวไปด้วยความดี การให้ทาน การเสียสละ การที่มีศีล การที่มีสมาธิ การที่มีสติสัมปชัญญะ การที่ไม่ทำตามกิเลส "คนที่จะหักห้ามตัวเองได้ คือมีสติสัมปชัญญะ" สติ คือตัวผู้รู้ คือตัวผู้ฉลาด สัมปชัญญะ คือตัวตั้งมั่น ตัวแข็งแรง ตัวไม่หวั่นไหวตามกิเลสตามสิ่งแวดล้อม เราต้องสมาทานความดี จิตใจของเรามันถึงจะแข็งแรงแข็งแกร่ง ตั้งอยู่ในศีลในธรรมได้ 'สมาทานความดี' ชื่อว่าความชั่วไม่ทำเลยนั้นดีกว่า ถ้าเราจะอนุโลมอย่างนั้น...มันก็ไม่ถูก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเรายังตั้งอยู่ใน ความประมาท ส่วนใหญ่เราทุกคนตั้งอยู่ในความประมาท คิดว่าผิดศีล ผิดธรรมนิดหน่อยไม่เป็นไร นั้นเรียกว่า 'สีลัพพตปรามาส' เป็นบุคคลที่ลูบคลำในศีล ในข้อวัตรปฏิบัติ เป็นการพ่ายแพ้ต่อกิเลส ต่ออารมณ์
การประพฤติการปฏิบัติ... พระพุทธเจ้าให้เราเอาชนะใจตัวเอง เอาชนะอารมณ์ เอาศีลเป็นที่ตั้ง เอาธรรมเป็นที่ตั้ง อดเอา ทนเอา ถึงจะตายก็ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่ออารมณ์ ต่อกิเลสน่ะ พระพุทธเจ้าให้เราปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ เรารักษาความถูกต้องไว้ไม่ได้ รักษาความดีไว้ไม่ได้ ถือว่าเป็นผู้ที่ยังตั้งอยู่ในความประมาทน่ะ ในชีวิตประจำวันของเรา เราต้องเอาชนะใจตัวเอง เอาชนะอารมณ์ตัวเองทุกแง่ทุกมุม อดเอา ทนเอา เราถึงจะเข้าถึงความดี เข้าถึงความดับทุกข์
ทุกคนนั้น ต้องมีการประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะเรียกตัวว่าเป็นพระภิกษุ สามเณร หรือชี หรือฆราวาสญาติโยม เราต้องเอาชนะใจตัวเอง เอาชนะอารมณ์ตัวเองให้ได้ ไม่สนใจเรื่องเหนื่อยเรื่องผอม เรื่องยากลำบาก
จิตใจทุกคนนั้นย่อมอ่อนแอ น้ำนั้นย่อมไหลลงไปที่ต่ำ ถ้าไม่มีเขื่อนที่มั่นคงนั้น...ก็ไม่สามารถที่จะเก็บน้ำไว้ได้น่ะ จิตใจของเรานั้นก็เหมือนกัน ต้องสมาทาน ต้องตั้งมั่น ต้องมีสติมีสัมปชัญญะอย่างมากอย่างแข็งแรง
เราอย่าไปคิดว่าเรื่องการประพฤติการปฏิบัตินั้น มันเป็นหน้าที่ของพระที่เข้ามาบวช ที่จะต้องมุ่งมรรคผลนิพพาน เพราะอันนั้นมันเป็นความคิดที่เราลิดรอนสิทธิ์ของความเป็นมนุษย์ ที่เราเป็นผู้ประเสริฐ ที่เกิดมาเราปล่อยโอกาส ปล่อยเวลา ขีดเส้นว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ
'ใจ' ของเราที่แท้จริงนั้นมันไม่ได้เป็นผู้หญิง ไม่ได้เป็นผู้ชาย ไม่ได้เป็นคนหนุ่ม คนสาว คนแก่ ไม่ได้เป็นพระ ไม่ได้เป็นฆราวาสน่ะ มันคือจิตใจที่บริสุทธิ์ เป็นจิตใจที่จะต้องพัฒนาเพื่อให้มีศีล มีธรรม มีคุณธรรม เพื่ออบรมบ่มอินทรีย์ เพื่อสติสัมปชัญญะมันจะได้สมบูรณ์ด้วยทาน ศีล ภาวนา ตั้งอยู่ในสติสัมปชัญญะที่เราทุกๆ คนมีความจำเป็นที่จะต้องประพฤติปฏิบัติน่ะ ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ ชีวิตของเรานี้มันก็มีประโยชน์น้อย "มีประโยชน์น้อยต่อตนเอง มีประโยชน์น้อยต่อคนอื่นน่ะ"
เราทำมาหากินเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่ได้เป็นไป เพื่อธรรม เพื่อส่วนรวม เพื่อที่จะแบ่งความสุข เพื่อแชร์ความสุขให้ซึ่งกันและกัน เป็นผู้ที่มีความสงสารน้อย เป็นผู้ที่มีความกรุณาน้อย เป็นผู้ที่ไม่มีความบริสุทธิคุณ ปัญญาธิคุณ ชีวิตนี้ถึงไม่ประเสริฐเลยที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์
การประพฤติการปฏิบัติธรรมถึงเป็นสิ่งที่ดีเป็นสิ่งที่ประเสริฐน่ะ โลกนี้ สังคมนี้ บ้านเมืองนี้เค้าต้องการคนดี คนมีคุณธรรม ถึงจะไว้เนื้อเชื่อใจ ที่เค้าให้เรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงขั้นสูงสุดก็เพื่อเป็นคนดี คนมีคุณธรรม คนเสียสละ คนรับผิดชอบ คนที่มีศีลมีธรรมถึงจะได้นำโลกนำสังคมสู่ความสงบ ความร่มเย็น เราทุกคนต้องกลับมามองตัวเองว่า เราเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นผู้เสียสละหรือยัง เป็นผู้มีศีลหรือยัง เป็นผู้ที่มีสมาธิ มีสติสัมปชัญญะหรือยัง เป็นผู้ที่ทำตามธรรมะหรือยัง? ต้องกลับมามองตัวเองโดยใช้ชีวิตนี้ อิริยาบถทั้ง ๔ นี้ มาทำความดี เสียสละตั้งแต่เช้าจนนอนหลับน่ะ ตื่นขึ้นก็เจริญสติสัมปชัญญะ เสียสละ เราทำอย่างนี้ปัญญาของเราถึงจะเกิดได้ คนเรานั้นถ้าทำไปด้วยความเห็นแก่ตัว "มันเครียด ปัญญามันไม่เกิดน่ะ..." เราทุกคนมันถึงเข้าถึงทางตัน เพราะเราเป็นคนไม่มีศีล มีธรรม มีคุณธรรม
ขออนุโมทนากับท่านทั้งหลาย ที่ได้พากันมาบรรพชาอุปสมบทประพฤติปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าให้เราพากันประพฤติปฏิบัติธรรม ตั้งใจอบรมบ่มอินทรีย์ ปฏิบัติธรรมทั้งที่อยู่ที่บ้าน อยู่ในที่ทำงาน อยู่ในสังคม อยู่ในสถานที่ต่างๆ ทุกท่านทุกคนนั้นก็ย่อมนำเอาสติสัมปชัญญะ นำเอาการเสียสละ นำเอาสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้องไปใช้เพื่อความสุข ความสงบของมหาชนคนทั้งหลาย จะได้นำตัวเอง ประเทศชาติ ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป
คำเทศนา วันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ผู้ที่เป็นประชาชนที่เป็นฆราวาสต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร ผู้ที่เป็นประชาชนเป็นฆราวาสหน่ะ มีงานสองอย่าง คือ อย่างที่หนึ่งต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ เลี้ยงดูครอบครัว เลี้ยงดูพ่อแม่ ญาติวงศ์ตระกูล อย่างที่สองนั้นต้องพัฒนาใจของตัวเอง การประพฤติปฏิบัตินี้ต้องให้เป็นตามหลักเหตุผล หลักวิทยาศาสตร์และต้องพัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน เรียกว่า ทางสายกลาง รู้จักอบายมุข อบายภูมิ มันไม่มีสิทธิ์ที่จะทำตามใจตัวเอง ทำตามอารมณ์ ทำตามความรู้สึก หรือทำตามสิ่งแวดล้อม ต้องเอาพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง
พระรัตนตรัยก็คือธรรมะ ถ้าเราทำตามใจตัวเอง ทำตามอารมณ์ตัวเอง มันก็เทียบเท่ากับสัตว์เดรัจฉาน เปรต ยักษ์ มาร อสูรกาย สัตว์นรก สร้างปัญหาเป็นผู้ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ถ้าทำตามใจอย่างนี้ ชีวิตของเราทุกคนทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายฆราวาสครองเรือนก็ต้องเดินทางไปเหมือนๆ กัน แต่จะต่างกันคือบรรพชิตพัฒนาใจเพื่อมรรคผลพระนิพพาน ปฏิบัติตามธรรมวินัยทุกข้อ ปิดอบายมุขเพราะว่าไม่ต้องพะวงเรื่องการดำรงชีพ การทำมาหากิน เราอยู่ในบ้านอยู่ในสังคม สิ่งแวดล้อมมันทำให้ทุกๆ คนใจอ่อน ทุกท่านทุกคนต้องตั้งมั่นในพระรัตนตรัย กราบพระไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ เช้าเย็นอย่างนี้เป็นหลัก ต้องสมานทานศีล ๕ ให้ชัดเจน ไปประมาทไม่ได้ ต้องทวนกระแส อาศัยศีล อาศัยข้อวัตรเป็นหลัก
ประเทศไทยเราโชคดีเพราะว่าประเทศไทยเรากับพระพุทธศาสนาไปพร้อมๆ กัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเปิดโอกาสให้ประชาชนพากันบวชเพื่อจะรู้จักธรรมะ รู้จักผิด รู้จักถูก เพื่อจะได้เป็นทรัพยากรของชาติ ทุกท่านทุกคนต้องเป็นผู้นำตัวเอง และเป็นผู้นำญาติวงศ์ตระกูลให้ทุกคนพากันเข้าใจอย่างนั้น คนเรามันใจอ่อน ครูบาอาจารย์สังเกตดูผู้ที่มาบวชในพรรษาก็พากันปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตั้งใจ แต่ไปอยู่ที่บ้านแล้วนานๆ ความตั้งใจก็เริ่มหายไป แสดงถึงความล้มเหลวของผู้ที่มาบวช เพราะว่าตกต่ำจากความดี เหมือนคนตกรถ ตกเรือ ตกเครื่องบิน นั้นแสดงถึงว่าผู้ที่มาบวชนั้นประมาท ย่อหย่อนไม่ได้กราบพระไหว้พระไม่รักษาศีล ไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ จิตใจของผู้นั้นก็หยาบ สกปรก ไม่ยินดีในการกราบพระพุทธเจ้า ไม่ยินดีในการปฏิบัติธรรม หลงในวัตถุ หลงในกามคุณ
ทุกท่านทุกคนมีความจำเป็นต้องลาสิกขาไปดูพ่อ ดูแม่ ดูครอบครัว ตั้งใจที่จะมาบวชมาฝึกเพื่อสร้างบารมี เวลาสึกออกไปก็ต้องตั้งใจดี ตั้งใจให้มันเป็นสัมมาสมาธิ เพราะเราจะรวยจะจนอยู่ที่เรา ทุกท่านทุกคนต้องเอาธรรมะไปประพฤติไปปฏิบัติเพราะว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ปฏิบัติให้เรา ครูบาอาจารย์ก็ไม่ได้ปฏิบัติให้เรา เน้นการประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันเพราะอดีตก็ปฏิบัติไม่ได้ อนาคตก็ปฏิบัติไม่ได้ เน้นที่ปัจจุบัน ความรู้ความเข้าใจทั้งหลายทั้งปวง เราต้องเอามาใช้งานที่ปัจจุบัน แล้วชีวิตของเรามันก็จะเลื่อนไปเรื่อย ตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเองหน่ะ มันมีแต่ความไม่ฉลาด เราอยู่ที่บ้านเราก็เป็นพระได้ พระนั้นก็หมายถึงพระโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี แต่เป็นพระอรหันต์ไม่ได้เพราะมันยังมีห่วง มีอะไรที่รับผิดชอบอยู่ สำหรับผู้ที่บวชอยู่ในวัด ก็ให้ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติให้ตัวเองได้เป็นพระอริยเจ้า ให้เป็นพระธรรม พระวินัย คือการเสียสละตัว เสียสละตน ถ้าเราไม่ประพฤติไม่ปฏิบัติอย่างนี้ เราก็ส่งไม้ผลัดบอกพระรุ่นน้อง รุ่นลูก รุ่นหลานไม่ได้ สิ่งที่ผ่านๆ มานั้น ความบกพร่องเรามีเยอะ ประชาชนทั้งหลายก็พากันเป็นโรคจิตโรคประสาท พระทั้งหลายก็พากันเป็นโรคประสาท ตามใจจนเคยชินจนเป็นโรคจิต ให้เข้าใจ ทุกท่านทุกคนก็พากันพัฒนาตัวเองได้ ผู้ที่อยู่ทางบ้านก็ตั้งหลัก ตั้งฐาน ดำรงชาติ ดำรงตระกูลโดยเอาธรรมะเป็นหลัก อย่าไปทิ้งธรรมะ อย่าไปทิ้งความถูกต้อง
เรามีความสุขในการทำงาน วันหนึ่งก็ทำงาน 10 กว่าชั่วโมง เวลานอนก็ 6 ชั่วโมงถึง 8 ชั่วโมง ผู้ที่อยู่ทางบ้านก็อย่าเอาแต่เล่นโทรศัพท์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์เพื่ออำนวยความสะดวก ความสบาย ในการดำรงชีพไม่ใช่ให้เรามาหลง พวกโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์พวกนี้มันเบ็ดเตล็ด มีทั้งคุณ มีทั้งประโยชน์ ทุกท่านทุกคนต้องกตัญญูต่อพ่อ ต่อแม่ของท่าน กตัญญูกตเวทีต่อพระพุทธเจ้า จะเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเท่าไหร่ เราอยู่ที่บ้านก็ต้องพากันไหว้พระ สวดมนต์ นั่งสมาธิ อย่างนี้เป็นต้น เหมือนเราทุกคนมีความจำเป็นที่จะต้องทานอาหาร ถ้าไม่อย่างนั้นเราก็ให้แต่อาหารอวิชชา ให้อาหารแต่ความหลง เราไม่ให้อาหารจิต อาหารใจคือคุณธรรม คุณงามความดี การปฏิบัติธรรมของเรามันยังไม่จบ เรายังไม่หมดลมหายใจ เรายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ถึงแม้เราจะทานข้าว ทานอาหารพักผ่อน เราทุกคนก็ย่อมแก่ ย่อมเจ็บ ย่อมตาย ย่อมพลัดพรากทุกๆ คน ให้พากันเข้าใจ ความเพลิดเพลินความประมาทเป็นสิ่งที่สำคัญ ผู้ที่ถือพระพุทธศาสนา ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนาหรอก มีแต่ทำตามใจ ทำตามอารมณ์ ทำตามความรู้สึก ไหว้พระบางครอบครัวก็ยังไม่เป็น สวดมนต์ก็ยังไม่เป็น นั่งสมาธิก็ยังไม่เป็น เก่งแต่ความรู้ ความเข้าใจในการทำมาหากิน ผู้ที่มาบวชเวลากลับไปก็ต้องเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไปประพฤติปฏิบัติ พ่อแม่ญาติพี่น้องวงศ์ตระกูลเขาก็ดีใจภูมิใจที่พวกเราได้มาบวช มาปฏิบัติ หวังว่าเราจะไม่ไปสู่ที่ต่ำ อบายมุข อบายภูมิ เป็นธรรมเป็นมรดกธรรมที่เราจะไปใช้ต่อยอด มรดกธรรม คือ อริยทรัพย์ มี ๗ ประการด้วยกัน คือ ๑. ศรัทธา ความเชื่อ ๒. ศีล ความประพฤติดีทางกายทางวาจา ๓. หิริ ความอายบาป ๔. โอตตัปปะ ความกลัวบาป ๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก ๖. จาคะ การเสียสละ และ ๗. ปัญญา
๑. ศรัทธา คือ ความเชื่อ เชื่อในพระพุทธเจ้า เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้จริงเห็นจริง รู้ในสิ่งต่างๆที่เราไม่รู้กัน เช่นรู้เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ รู้เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด รู้เรื่องบาป รู้เรื่องบุญ รู้เรื่องคุณ รู้เรื่องโทษ รู้เรื่องมรรค ผล นิพพาน คือสิ่งที่ปุถุชนคนธรรมดาสามัญผู้เต็มไปด้วยอวิชชา ยังไม่สามารถล่วงรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ได้ ไม่เหมือนพระพุทธเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยสติปัญญาความรู้ความฉลาด วิริยะความอุตสาหะพากเพียร ขันติความอดทน สะสมบุญบารมีมาเป็นกัปเป็นกัลป์ จนบรรลุเป็นพระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า มีดวงตาเห็นธรรมขึ้นมา เห็นสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในไตรภพ ในโลกทั้ง ๓ นี้ คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ โลกของการเวียนว่ายตายเกิด ผู้มีดวงตาเห็นธรรมสามารถมองเห็นสิ่งเหล่านี้ พวกเรายังมืดบอด ยังไม่รู้ไม่เห็น แต่มีแววแห่งความฉลาด ตรงที่ยอมรับว่าเรายังโง่อยู่ และยอมรับว่าพระพุทธเจ้าฉลาดกว่าเรา เมื่อพระพุทธองค์เป็นผู้มีความฉลาดกว่าเรา รู้มากกว่าเรา เราจึงเชื่อพระพุทธเจ้า คือเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เรื่องที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนมีอยู่ ๓ ข้อใหญ่ๆ คือ ๑. กรรม ๒. วิบาก ๓. สัตว์โลกมีกรรมเป็นของๆตน
๑) เชื่อว่ากรรม คือการกระทำทาง กาย วาจา ใจ เป็นเหตุที่นำมาซึ่งความสุขหรือความทุกข์ ความเจริญหรือความเสื่อม ภพชาติต่างๆเป็นผลที่เกิดมาจากกรรม เช่นเชื่อว่าเหตุที่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ก็เพราะในอดีตเคยทำความดีรักษาศีลไว้ จึงทำให้ได้มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างนี้เป็นต้น
๒) เชื่อวิบากผลของกรรม เชื่อว่าเมื่อทำกรรมไปแล้วไม่ว่าดีหรือชั่ว จะต้องได้รับผลของกรรมนั้น เช่นการได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเดรัจฉาน เป็นสุนัข เป็นแมว เป็นวิบาก เป็นผลที่เกิดจากการกระทำในอดีต ได้ทำกรรมมาต่างกันจึงทำให้มาเกิดต่างกันไป มีความแตกต่างไม่เท่าเทียมกัน ทางด้านเพศ ทางด้านรูปร่างหน้าตา ทางด้านความรู้ความฉลาด ทางด้านฐานะการเงิน เหล่านี้เรียกว่าวิบาก คือผลที่เกิดจากการกระทำในอดีต เชื่อว่าเราเป็นอยู่อย่างนี้ก็เพราะทำมาแค่นี้ สะสมบุญบารมีมาแค่นี้ ทำมาแค่นี้ก็ได้แค่นี้ ถ้าอยากได้มากกว่านี้ก็ต้องสะสมบุญบารมีให้มากขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงที่สุดของบุญบารมี ก็จะบรรลุถึง มรรค ผล นิพพาน การสิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด เป็นพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
๓) เชื่อว่าสัตว์โลกทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆตน เมื่อทำกรรมแล้ววิบากย่อมตามมาเหมือนเงาตามตัว เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่มีใครช่วยใครให้พ้นวิบากกรรมของตนไปได้ หรือสร้างบุญกุศลให้แก่กันได้ เมื่อถึงเวลาที่ผลบุญจะเกิดขึ้นกับผู้หนึ่งผู้ใด ก็ไม่มีใครไปห้ามได้ เช่นเดียวกับผลของบาปกรรม เมื่อถึงเวลาที่จะเกิดขึ้น ก็ไม่มีใครไปยับยั้งได้ สิ่งที่ทำได้ก็คือช่วยเท่าที่จะช่วยได้ ถ้าเกิดขึ้นกับตัวเรา ก็ต้องทำใจให้นิ่งเฉยเป็นอุเบกขา ยอมรับความจริงว่า สัตว์โลกทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน จักทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ไม่มีใครยับยั้งผลของกรรมได้ เมื่อถึงเวลาก็ต้องรับผลของกรรมกันทุกๆคน
๒. ศีล ความประพฤติดีทางกายทางวาจา เมื่อมีศรัทธาแล้วเราก็จะประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน โดยเห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราก็จะทำแต่สิ่งที่ดีและหลีกเลี่ยงการทำบาป ด้วยการรักษาศีลตามกำลังศรัทธา วิริยะ สติ ปัญญา ตั้งแต่ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ จนถึง ศีล ๒๒๗ ศีลคือความปกติทางกายและทางวาจา ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ไม่สร้างความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยการละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดประเวณี ละเว้นจากการพูดปดมดเท็จ ละเว้นจากการเสพสุรายาเมา
๓. หิริ ความอายบาป ๔. โอตตัปปะ ความกลัวบาป เมื่อเห็นว่าการทำบาปเป็นสิ่งไม่ดี จึงละเว้น ด้วยหิริ ความอายบาป และโอตตัปปะ ความกลัวบาป ทุกคนมีความอายกัน แต่สิ่งที่น่าอายกลับไม่อาย กลับไปอายในสิ่งที่ไม่น่าอาย เช่นไปอายในความยากจน ในรูปร่างหน้าตาที่ไม่สวยงาม ในความโง่เขลาเบาปัญญาของตน สิ่งที่น่าอายคืออะไร ก็คือการกระทำความชั่วทั้งหลาย เช่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักทรัพย์ การประพฤติผิดประเวณี การพูดปดมดเท็จ การเสพสุรายาเมา เพราะเมื่อทำบาปไปแล้วก็เหมือนกับเอาไฟมาเผาตัวเองและผู้อื่น สร้างความทุกข์ทรมานให้กับตนและผู้อื่น เป็นสิ่งที่น่าอับอาย น่าขยะแขยงอย่างยิ่ง
เช่นเดียวกับความกลัว สิ่งที่น่ากลัวกลับไม่กลัว สิ่งที่ไม่น่ากลัวกลับไปกลัว เช่นกลัวความแก่ กลัวความเจ็บ กลัวความตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวเลย เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องเกิดกับทุกๆคน เป็นธรรมดา เป็นปกติของธาตุขันธ์ ของร่างกาย เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ผู้ที่กลัวคือผู้ที่มีความสำคัญมั่นหมาย ไปยึด ไปติด ว่าร่างกายนี้เป็นเรา เป็นของๆ เรา เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็คิดว่าเราแก่ เราเจ็บ เราตาย แทนที่จะคิดว่าร่างกายแก่ ร่างกายเจ็บ ร่างกายตาย ก็กลับไปหลงคิดว่าร่างกายนี้แหละคือเรา เมื่อจิตติดอยู่กับร่างกาย ก็เลยคิดว่าจิตเป็นกาย กายเป็นอะไรจิตก็เป็นไปด้วย ก็เลยเกิดความกลัวขึ้นมา นี่คือความหลง
ถ้าได้ศึกษาได้ปฏิบัติธรรมแล้วจะสามารถแยกแยะกายออกจากจิตได้ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากายก็เป็นอย่างหนึ่ง จิตก็เป็นอย่างหนึ่ง กายนี้เป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป แล้วกลายเป็นอาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น นี่คือเรื่องของร่างกาย เป็นธาตุขันธ์ล้วนๆ มาจาก ดิน น้ำ ลม ไฟ แต่เป็นเพราะขาดปัญญาเลยทำให้จิตถูกอวิชชาครอบงำ ไปยึด ไปติด ไปหลงว่าร่างกายนี้เป็นจิต จิตเป็นร่างกาย เมื่อร่างกายเป็นอะไรไป ก็เกิดกลัวขึ้นมา กลัวความแก่ กลัวความเจ็บ กลัวความตาย สำหรับผู้ที่ได้ศึกษาได้ปฏิบัติธรรมอย่างถ่องแท้แล้ว อย่างพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะไม่กลัว ความแก่ เจ็บ ตาย เลยแม้แต่น้อย ท่านตายได้ในทุกอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน ด้วยความเป็นปกติสุข ไม่มีความหวั่นไหว เพราะท่านมีปัญญา มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ท่านปล่อยวาง ไม่ไปยึดไม่ไปติดในธาตุขันธ์ ถ้ายังดีอยู่ก็เอาไว้ใช้ให้เป็นประโยชน์ เหมือนเสื้อผ้าที่ยังดีอยู่ก็ใส่ไป ถ้าขาดก็ทิ้งไปฉันใด ร่างกายก็ฉันนั้นเมื่อถึงเวลาแตกดับก็ทิ้งไป
สิ่งที่น่ากลัวคืออะไร ก็คือบาปกรรม การกระทำความชั่วทั้งหลาย เพราะจะนำมาซึ่งความทุกข์ความหายนะ เริ่มตั้งแต่ในปัจจุบัน เมื่อทำความชั่วแล้วจิตจะมีความร้อน มีความกังวล มีความหวาดวิตก เกิดความกลัวขึ้นมา กลัวจะถูกจับได้ว่าทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม เมื่อตายไปก็ต้องไปใช้กรรมในอบายต่อไป ไปเกิดเป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสุรกายบ้าง เป็นสัตว์นรกบ้าง เพราะขาดหิริ ความอาย และโอตตัปปะ ความกลัวบาป ขาดศรัทธา ไม่เชื่อในเรื่องบาปกรรม ก็เลยเกิดความประมาทขึ้นมา คิดว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นเรื่องแต่งขึ้นมา เพื่อหลอกให้ทำความดีโดยไม่มีผลดีอะไรตามมา ถ้าคิดเช่นนี้ จะเป็นคนที่สร้างความทุกข์อย่างแสนสาหัสให้กับตนเอง เพราะจะไม่มีหิริโอตตัปปะ แล้วจะทำบาปไปไม่มีที่สิ้นสุด ถ้ามีศรัทธาความเชื่อ ก็จะมีหิริโอตตัปปะ ความอายและความกลัวบาป จะสะสมบุญแบบไม่กลัวจน ไม่กลัวว่าจะเสียเงิน เสียทอง เสียเวลา เพราะบุญกุศลที่ได้นั้น มีคุณค่ามากยิ่งกว่าเงินทอง ยิ่งกว่าเวลาที่เสียไป เพราะได้อริยทรัพย์นั่นเอง
๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก การได้ยินได้ฟังธรรมอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เป็นผู้คงแก่เรียน เป็นผู้รู้มาก เป็นผู้ศึกษามาก การที่ได้ศึกษามากต้องอาศัยการได้ยินได้ฟังจากผู้ที่มีความรู้ โดยเฉพาะรู้ทางธรรม เพราะธรรมเป็นแสงสว่างนำชีวิต ให้รู้จัก บาป บุญ คุณ โทษ กรรม และวิบาก ถ้าได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยๆ ต่อไปจะเป็นผู้ที่มีความรู้มาก เป็นพหูสูต เป็นพาหุสัจจะ คือเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก เป็นอริยทรัพย์
๖. จาคะ การเสียสละ เสียสละประโยชน์สุขส่วนตนให้แก่ผู้อื่น เป็นการลดละความเห็นแก่ตัว ความหลงในตัวตน โดยเห็นว่าสมบัติเงินทองที่มีอยู่เป็นสมบัติผลัดกันชม ไม่ช้าก็เร็วก็ต้องพลัดพรากจากกัน ไม่ใช่ของๆตน ทรัพย์สมบัติที่แท้จริงต้องเป็นอริยทรัพย์ ที่เกิดจากจาคะ การเสียสละ แจกจ่าย แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่น ถ้ามีทรัพย์ที่เหลือใช้แล้วไม่เอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการบริจาคแบ่งปันให้กับผู้อื่น ก็จะไม่มีอริยทรัพย์ เหมือนกับการไม่ได้แลกเงินตราต่างประเทศไว้ใช้เวลาเดินทางไปต่างประเทศ จะมีแต่เงินที่ไม่สามารถเอาติดตัวไปใช้ได้ ไปเกิดภพหน้าชาติหน้า ก็จะมีแต่ความอดอยากขาดแคลน ในปัจจุบันก็จะถูกอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความหลงคุกคาม สร้างความร้อนรนให้แก่จิตใจ หาความร่มเย็นเป็นสุขไม่ได้
๗. ปัญญา ความรู้ความฉลาด คือรู้ความจริง รู้อะไรคือเหตุ รู้อะไรคือผล รู้อะไรคือบาป รู้อะไรคือบุญ รู้อะไรคือคุณ รู้อะไรคือโทษ รู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ้ารู้แล้วย่อมทำแต่สิ่งที่ดีที่งาม ละเว้นจากการประพฤติที่ไม่ดีไม่งาม นำความสุขมาสู่ตน บาปกรรมไม่ทำ ทำแต่บุญอย่างเดียว
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “นัตถิ ปัญญา สมา อาภา ความสว่างอื่นใดยิ่งกว่าปัญญาไม่มี” แสงตะวันจะส่องกลางวัน แสงจันทร์จะส่องกลางคืน นอกนั้นก็หมดอานุภาพ แต่ปัญญานี้จะส่องสว่างในใจของทุกท่าน ทุกขณะ และติดตามไปทุกภพทุกชาติด้วย เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงถือว่าสูงสุดสำคัญที่สุด
เขาว่าชีวิตเมื่อถึงจุดเปลี่ยนเพราะ “เงื่อนไข” พร้อมแล้ว ย่อมเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ มหาโจรองคุลิมาลเปลี่ยนใจในทันทีทันใดหันเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ไม่ช้าก็บรรลุพระอรหัต และหลายต่อหลายคนเป็นเช่นว่านี้ สันตติมหาอำมาตย์ ก็เป็นหนึ่งในจำนวนนี้ ท่านผู้นี้เป็นถึงมหาอำมาตย์คนสำคัญของแคว้นโกศล หลังจากที่ปราบปัจจันตชนบทที่ก่อความไม่สงบขึ้นลงได้ราบคาบในครั้งหนึ่ง ได้รับการไว้วางพระทัยจากพระเจ้าปเสนทิโกศลมาก มากถึงขนาดปูนบำเหน็จความดีความชอบที่ไม่เคยมีใครได้มาก่อน คือ ได้รับพระราชทานราชสมบัติ ๗ วัน พูดให้ชัดก็คือ ทรงแต่งตั้งให้สันตติมหาอำมาตย์ครองราชย์บัลลังก์ ปกครองประเทศแทนพระองค์ ๗ วัน พระราชทานสตรีที่ฉลาดในการขับร้องฟ้อนรำประโคมดนตรี สวยเลิศประเสริฐศรีหนึ่งนาง แม่นางรำคนสวยก็เสิร์ฟท่านมหาอำมาตย์ ซึ่งบัดนี้เป็นพระราชาชั่วคราวด้วยสุราอาหารอย่างดี บำรุงบำเรอให้อิ่มหมีพีมันเมาแล้วเมาอีก
ถึงวันที่ ๗ เป็นวันสิ้นกำหนดความเป็นราชาชั่วคราว เขาประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ขึ้นข้างทรงตัวประเสริฐไปยังท่าน้ำเพื่อสรงสนาน พอดีพระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ (บิณฑบาต) ยังพระนคร ผ่านไปทางนั้น สันตติมหาอำมาตย์เห็นพระพุทธองค์ จึงค้อมศีรษะถวายบังคมพระพุทธองค์ด้วยจิตนอบน้อม
พระพุทธองค์ทรงแย้มพระสรวล พระอานนท์กราบทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์ทรงทำการแย้มสรวลให้ปรากฏ” “อานนท์ เธอเห็นสันตติมหาอำมาตย์นั่นไหม” “เห็น พระเจ้าข้า”
“สันตติมหาอำมาตย์ วันนี้มึนเมาสุราแทบครองสติไม่อยู่ วันนี้เขาจะมาสำนักเรา ได้ฟังโศลกธรรม ๔ บทจากเรา จะได้บรรลุอรหัตผลและปรินิพพาน”
นัยว่า พระกระแสรับสั่งกับพระอานนท์นี้ มีผู้ได้ยินและเล่าต่อๆ กันไป ประชาชนที่ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาต่างก็ชื่นชมโสมนัสกับผลสำเร็จอันเกิดแก่สันตติมหาอำมาตย์ แต่บางจำพวกที่เป็นมิจฉาทิฐิได้ทราบเรื่องนี้แล้วก็ไม่เชื่อว่าจะเป็นจริง “มันจะเป็นไปได้อย่างไร ก็มหาอำมาตย์เมาหยำเปออกอย่างนี้ จะได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนี้ เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด”
เมื่อไม่เชื่อก็คอยจับผิด ตามดูสันตติมหาอำมาตย์ทุกฝีก้าว ว่าจะไปฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุพระอรหัตจริงหรือไม่
ข้างฝ่ายสันตติมหาอำมาตย์ เมื่อสรงสนานเสร็จแล้วก็เข้าไปพักอยู่ ณ พระราชอุทยาน เพื่อดื่มน้ำจัณฑ์ต่อ พลางเรียกนางนักฟ้อนมาร่ายรำขับร้องให้ฟังไปด้วย เรียกว่ากินทั้งทางปาก ทั้งทางตา และทางหู ว่าอย่างนั้นเถอะ
เนื่องจากนางได้ทำงานรับใช้สันตติมหาอำมาตย์ตลอดทั้ง ๗ วันไม่ได้พักผ่อนเลย จึงรู้สึกเหน็ดเหนื่อย ถึงขนาดล้มทั้งยืนในขณะที่ร่ายรำอยู่ หมดสติแน่นิ่งไป
สันตติมหาอำมาตย์สั่งให้คนไปดู เมื่อได้รับรายงานว่า “นางสิ้นใจแล้ว เจ้านาย” เท่านั้น ก็เกิดความเศร้าโศกเป็นกำลัง เสียใจที่ตนเองเป็นสาเหตุทำให้นางถึงแก่ชีวิต ความเมามายที่มีมาตลอดสัปดาห์ได้หายเป็นปลิดทิ้ง เขารำลึกถึงพระบรมศาสดาทันที “มีแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเท่านั้นที่จะบรรเทาความโศกเศร้าของเราได้” เขาคิดเช่นนั้น จึงรีบไปเฝ้าพระพุทธองค์ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทันที
พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยญาณว่า บัดนี้อินทรีย์ของสันตติมหาอำมาตย์แก่กล้าพอที่จะฟังธรรมเข้าใจแล้ว จึงตรัสโศลกธรรมความว่า "ยํ ปุพฺเพ, ตํ วิโสเสหิ, ปจฺฉา เต มาหุ กิญฺจนํ, มชฺเฌ เจ โน คเหสฺสสิ, อุปสนฺโต จริสฺสสีติ. กิเลสเครื่องกังวลใด ที่เคยมีในกาลก่อน (อดีต) เธอจึงละกิเลสเครื่องกังวลนั้นเสีย กิเลสเครื่องกังวลอย่าได้มีแก่เธอในภายหลัง (อนาคต) ถ้าเธอไม่ยึดมั่นในขันธ์ในท่ามกลาง (ปัจจุบัน) จักเป็นผู้เที่ยวไปไหนได้อย่างสงบรำงับ"
ความหมายของโศลกธรรมสั้นๆ นี้ ก็คือ จงอย่ายึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพราะขันธ์ ๕ เป็น “ภาระ” (ของหนัก) ใครยึดมั่นถือมั่นก็เรียกว่า “คนแบกของหนัก” ปลง (วาง) ของหนักเสียได้ ก็จะเป็น “เบา”
สันตติมหาอำมาตย์พิจารณาตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตทันทีที่ตรัสจบ เมื่อล่วงรู้อายุขัยของตนจักมีในวันนั้น จึงกราบทูลขอพระพุทธานุญาตปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงประทานอนุญาต พร้อมตรัสสั่งให้สันตติมหาอำมาตย์คลายความสงสัยของเหล่ามิจฉาทิฐิ บุคคลที่ไม่เชื่อในเรื่องนี้ (ไม่เชื่อว่าสันตติมหาอำมาตย์ผู้ขี้เมาจักบรรลุพระอรหัตผลพร้อมปฏิสัมภิทา) สันตติมหาอำมาตย์จึงถวายบังคมพระศาสดา แล้วเหาะขึ้นสู่อากาศสูงประมาณต้นตาลลงมากราบถวายบังคมอีกครั้ง ขึ้นไปนั่งในอากาศ แล้วประกาศบุพกรรม (กรรมเก่า) ของตนให้พระพุทธองค์และฝูงชนได้ทราบ จากนั้นก็เข้าเตโชธาตุปรินิพพาน เปลวไฟลุกโพลงขึ้นเผาร่างของเขากลางอากาศนั้นแล คงเหลือแต่ธาตุเป็นสีขาวดุจดอกมะลิโปรยลงยังพื้นดิน
กรรมเก่า หมายถึง กรรมดีที่สันตติมหาอำมาตย์เล่าให้ประชาชนฟัง อันมีพระพุทธองค์ประทับเป็นประธานนั้น ก็คือในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ได้เที่ยวชักชวนให้ประชาชนทำทาน สมาทานอุโบสถศีล เป็นต้น มิได้ขาด จนพระราชาแห่งแคว้นทรงทราบ เห็นเขาเดินป่าวประกาศจึงพระราชทานรถม้าและช้างให้เป็นพาหนะสำหรับเที่ยวป่าวประกาศชักชวนผู้คนให้ทำบุญกุศล
หลังจากสันตติมหาอำมาตย์ปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลายต่างก็ “ตั้งวง” สนทนาธรรมกัน ณ อุปัฏฐานศาลา (หอฉันอันเป็นศาลาธรรมด้วย) ในเย็นวันหนึ่งว่า สันตติมหาอำมาตย์แต่งกายอย่างเลิศหรู นั่งบนคอช้างที่ประดับประดาอย่างงดงาม บรรลุธรรมทั้งๆ ที่อยู่ในเครื่องแต่งกายอันโอฬาร เราจะเรียกเขาว่าเป็น “สมณะ” หรือ “พราหมณ์” ได้ไหมหนอ
พระพุทธองค์เสด็จมา ทรงทราบเรื่องเข้าจึงตรัสว่า จะเรียกบุตรของเราว่าสมณะ (ผู้สงบ) หรือพราหมณ์ (ผู้ลอยบาปได้) ก็สมควรทั้งนั้น แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า "อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ. แม้ว่าประดับประดาอย่างดี หากประพฤติธรรมสม่ำเสมอ สงบ ฝึกฝนตนเป็นผู้เที่ยงตรงอริยมรรค มีความประพฤติประเสริฐ ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย คนเช่นนี้จะเรียกว่าเป็น “พราหมณ์” เป็น “สมณะ” หรือ “ภิกษุ” ก็ย่อมได้"
พระพุทธองค์ตรัสว่า จะแต่งกายอย่างไรก็ได้ไม่สำคัญ แต่สำคัญที่จิตใจ จิตใจปฏิบัติธรรมจริงหรือไม่ ถ้าฝึกฝนตนอย่างจริงจัง ดำเนินตามอริยมรรคในที่สุด ก็เข้าถึงจุดสูงสุดแห่งชีวิต คือ บรรลุพระอรหัตผลแน่นอน
ชีวิตของเรานี้ เป็นชีวิตที่ประเสริฐ ต้องเอาชีวิตนี้มาสร้างความดี สร้างคุณธรรม มาก้าวไปด้วยความดี การให้ทาน การเสียสละ การที่มีศีล การที่มีสมาธิ การที่มีสติสัมปชัญญะ การที่ไม่ทำตามกิเลส "คนที่จะหักห้ามตัวเองได้ คือมีสติสัมปชัญญะ" สติ คือตัวผู้รู้ คือตัวผู้ฉลาด สัมปชัญญะ คือตัวตั้งมั่น ตัวแข็งแรง ตัวไม่หวั่นไหวตามกิเลสตามสิ่งแวดล้อม เราต้องสมาทานความดี จิตใจของเรามันถึงจะแข็งแรงแข็งแกร่ง ตั้งอยู่ในศีลในธรรมได้ 'สมาทานความดี' ชื่อว่าความชั่วไม่ทำเลยนั้นดีกว่า ถ้าเราจะอนุโลมอย่างนั้น...มันก็ไม่ถูก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเรายังตั้งอยู่ใน ความประมาท ส่วนใหญ่เราทุกคนตั้งอยู่ในความประมาท คิดว่าผิดศีล ผิดธรรมนิดหน่อยไม่เป็นไร นั้นเรียกว่า 'สีลัพพตปรามาส' เป็นบุคคลที่ลูบคลำในศีล ในข้อวัตรปฏิบัติ เป็นการพ่ายแพ้ต่อกิเลส ต่ออารมณ์
การประพฤติการปฏิบัติ... พระพุทธเจ้าให้เราเอาชนะใจตัวเอง เอาชนะอารมณ์ เอาศีลเป็นที่ตั้ง เอาธรรมเป็นที่ตั้ง อดเอา ทนเอา ถึงจะตายก็ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่ออารมณ์ ต่อกิเลสน่ะ พระพุทธเจ้าให้เราปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ เรารักษาความถูกต้องไว้ไม่ได้ รักษาความดีไว้ไม่ได้ ถือว่าเป็นผู้ที่ยังตั้งอยู่ในความประมาทน่ะ ในชีวิตประจำวันของเรา เราต้องเอาชนะใจตัวเอง เอาชนะอารมณ์ตัวเองทุกแง่ทุกมุม อดเอา ทนเอา เราถึงจะเข้าถึงความดี เข้าถึงความดับทุกข์
ทุกคนนั้น ต้องมีการประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะเรียกตัวว่าเป็นพระภิกษุ สามเณร หรือชี หรือฆราวาสญาติโยม เราต้องเอาชนะใจตัวเอง เอาชนะอารมณ์ตัวเองให้ได้ ไม่สนใจเรื่องเหนื่อยเรื่องผอม เรื่องยากลำบาก
จิตใจทุกคนนั้นย่อมอ่อนแอ น้ำนั้นย่อมไหลลงไปที่ต่ำ ถ้าไม่มีเขื่อนที่มั่นคงนั้น...ก็ไม่สามารถที่จะเก็บน้ำไว้ได้น่ะ จิตใจของเรานั้นก็เหมือนกัน ต้องสมาทาน ต้องตั้งมั่น ต้องมีสติมีสัมปชัญญะอย่างมากอย่างแข็งแรง
เราอย่าไปคิดว่าเรื่องการประพฤติการปฏิบัตินั้น มันเป็นหน้าที่ของพระที่เข้ามาบวช ที่จะต้องมุ่งมรรคผลนิพพาน เพราะอันนั้นมันเป็นความคิดที่เราลิดรอนสิทธิ์ของความเป็นมนุษย์ ที่เราเป็นผู้ประเสริฐ ที่เกิดมาเราปล่อยโอกาส ปล่อยเวลา ขีดเส้นว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ
'ใจ' ของเราที่แท้จริงนั้นมันไม่ได้เป็นผู้หญิง ไม่ได้เป็นผู้ชาย ไม่ได้เป็นคนหนุ่ม คนสาว คนแก่ ไม่ได้เป็นพระ ไม่ได้เป็นฆราวาสน่ะ มันคือจิตใจที่บริสุทธิ์ เป็นจิตใจที่จะต้องพัฒนาเพื่อให้มีศีล มีธรรม มีคุณธรรม เพื่ออบรมบ่มอินทรีย์ เพื่อสติสัมปชัญญะมันจะได้สมบูรณ์ด้วยทาน ศีล ภาวนา ตั้งอยู่ในสติสัมปชัญญะที่เราทุกๆ คนมีความจำเป็นที่จะต้องประพฤติปฏิบัติน่ะ ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ ชีวิตของเรานี้มันก็มีประโยชน์น้อย "มีประโยชน์น้อยต่อตนเอง มีประโยชน์น้อยต่อคนอื่นน่ะ"
เราทำมาหากินเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่ได้เป็นไป เพื่อธรรม เพื่อส่วนรวม เพื่อที่จะแบ่งความสุข เพื่อแชร์ความสุขให้ซึ่งกันและกัน เป็นผู้ที่มีความสงสารน้อย เป็นผู้ที่มีความกรุณาน้อย เป็นผู้ที่ไม่มีความบริสุทธิคุณ ปัญญาธิคุณ ชีวิตนี้ถึงไม่ประเสริฐเลยที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์
การประพฤติการปฏิบัติธรรมถึงเป็นสิ่งที่ดีเป็นสิ่งที่ประเสริฐน่ะ โลกนี้ สังคมนี้ บ้านเมืองนี้เค้าต้องการคนดี คนมีคุณธรรม ถึงจะไว้เนื้อเชื่อใจ ที่เค้าให้เรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงขั้นสูงสุดก็เพื่อเป็นคนดี คนมีคุณธรรม คนเสียสละ คนรับผิดชอบ คนที่มีศีลมีธรรมถึงจะได้นำโลกนำสังคมสู่ความสงบ ความร่มเย็น เราทุกคนต้องกลับมามองตัวเองว่า เราเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นผู้เสียสละหรือยัง เป็นผู้มีศีลหรือยัง เป็นผู้ที่มีสมาธิ มีสติสัมปชัญญะหรือยัง เป็นผู้ที่ทำตามธรรมะหรือยัง? ต้องกลับมามองตัวเองโดยใช้ชีวิตนี้ อิริยาบถทั้ง ๔ นี้ มาทำความดี เสียสละตั้งแต่เช้าจนนอนหลับน่ะ ตื่นขึ้นก็เจริญสติสัมปชัญญะ เสียสละ เราทำอย่างนี้ปัญญาของเราถึงจะเกิดได้ คนเรานั้นถ้าทำไปด้วยความเห็นแก่ตัว "มันเครียด ปัญญามันไม่เกิดน่ะ..." เราทุกคนมันถึงเข้าถึงทางตัน เพราะเราเป็นคนไม่มีศีล มีธรรม มีคุณธรรม
ขออนุโมทนากับท่านทั้งหลาย ที่ได้พากันมาบรรพชาอุปสมบทประพฤติปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าให้เราพากันประพฤติปฏิบัติธรรม ตั้งใจอบรมบ่มอินทรีย์ ปฏิบัติธรรมทั้งที่อยู่ที่บ้าน อยู่ในที่ทำงาน อยู่ในสังคม อยู่ในสถานที่ต่างๆ ทุกท่านทุกคนนั้นก็ย่อมนำเอาสติสัมปชัญญะ นำเอาการเสียสละ นำเอาสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้องไปใช้เพื่อความสุข ความสงบของมหาชนคนทั้งหลาย จะได้นำตัวเอง ประเทศชาติ ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป