แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอาทิตย์ที่ ๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พรรษาแห่งการตื่นรู้ ตอนที่ ๔๓ ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่มักจะไปตามอารมณ์ตามความรู้สึกนี้ จิตที่คุ้มครองไว้ได้ย่อมเป็นสุข
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
ใจของเรานี้ มันคิดได้ทีละอย่าง วาระจิตเเรก มันเป็นสัญชาตญาณ ที่มีสัมผัส วาระจิตถ้าเราเอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมในการดำเนินชีวิต เราก็ไม่ปล่อยให้ใจของเราไปตามสัญชาตญาณ เราไม่ให้อาหารของใจของเรา เราไม่ให้อาหารใจที่มันเป็นความเคยชิน เป็นอวิชชาเป็นความหลง เราก็เอาจิตของเราไปภาวนา ว่าสิ่งที่กระทบเรา นี้คือข้อสอบ เราต้องมีข้อสอบ ยกสิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับเราสู่พระไตรลักษณ์ เราจะไปทำตามใจตามความเคยชินไม่ได้ นี้คือการประพฤติการปฏิบัติของเรา ศีลก็อยู่ที่ขณะนี้เเหละ สมาธิก็อยู่ขณะนี้เเหละ ปัญญาก็อยู่ขณะนี้เเหละ เราต้องเห็นความสำคัญในการประพฤติการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าสอนเราไม่ให้เราประมาทไม่ให้เราเพลิดเพลิน ให้รู้อริยสัจ ๔ ให้รู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ให้เน้นประพฤติเน้นปฏิบัติที่ปัจจุบัน สมาทานตั้งใจ การสมาทานการตั้งใจ เราจะไม่เป็นบุคคลสีลัพพตปรามาส ลูบคลำในศีลในข้อวัตรปฏิบัติ
เมื่อเรายังไม่ตายเรายังมีลมหายใจ เราก็มีโอกาสที่ได้ประพฤติที่ได้ปฏิบัติ เราทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ให้ติดต่อต่อเนื่อง เราดูตัวอย่างเเบบอย่างที่กุลบุตรลูกหลานที่มาบวช ในสำนักปฏิบัติที่พ่อเเม่ครูบาอาจารย์เคร่งครัดใหม่ๆ ก็ดูดี เเต่นานไปไม่เห็นความสำคัญในการปฏิบัติ จิตใจมันตกต่ำ ยิ่งบวชนาน อินทรีย์บารมีของกิเลสของอวิชชาก็ย่อมเเก่กล้า เพราะไม่ได้ประพฤติไม่ได้ปฏิบัติ การปฏิบัติไม่ติดต่อ ไม่ต่อเนื่อง สังเกตุดูพวกที่มาปฏิบัติ เวลาลาสิกขาไปเเล้ว หรือบวช ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ลาสิกขาไปไม่กี่เดือน จิตใจก็จะกลับไปอย่างเก่า หรือตกลงกว่าเก่า นี้คือขาดความประพฤติการปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง เพราะธรรมะ มันต้องเป็นสิ่งที่ติดต่อต่อเนื่อง
“ความรับผิดชอบ ของนักปฏิบัติต้องรับผิดชอบสูง” ไม่ต้องไปท้อใจ ความท้อใจนั้นคือ อวิชชา คือความหลง ที่มันร่างกายเมื่อยล้า ความคิดอย่างนี้ ให้เรารู้จัก เราสังเกตดูดีๆ ถ้าครูบาอาจารย์ เช่น พระอริยเจ้า ท่านทำความเพียร ท่านเจ็บไข้ได้ป่วยเเต่ละครั้ง ก็จะทำให้จิตใจท่านก้าวหน้า เพราะเห็นเทวทูตชัดเจนมากขึ้น เห็นอริยสัจ ๔ มากขึ้น เราต้องเข้าใจ อย่าไปตามใจตัวเอง อย่าไปตามอารมณ์ตัวเอง
ศีลของเรา สมาธิของเรา ปัญญาของเราในปัจจุบันนี้ เรียกว่าพรหมจรรย์ ทุกท่านทุกคนต้องเอามาประพฤติมาปฏิบัติ ปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่ไม่สาย พอดีพอดี พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมเเม้เเต่เพียงราตรีเดียวก็ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตลอดชีวิต เอวํ วิหาริมาตาปึ ผู้ที่มีความเพียรไม่ย่อหย่อนอยู่อย่างนี้ อโหรตฺตมตนฺทิตํ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ สนฺโต อาจิกฺขเต มุนี พระมุนีเรียกผู้ที่มีความเพียรไม่ย่อหย่อนนั้นว่าเป็นผู้สงบ เป็นผู้ที่มีราตรีเดียวเจริญ
ใครก็ตามที่ขยันหมั่นเพียรอยู่เป็นนิจทั้งกลางวันและกลางคืน ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่คอยหวนคำนึงถึงแต่อดีต และไม่เฝ้าฝันถึงอนาคต ท่านผู้นั้นคือคนที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง แม้ว่าเขาจะมีชีวิตอยู่เพียงหนึ่งวัน หรือหนึ่งราตรี วันหรือราตรีนั้นก็เป็นวันเวลาที่เจริญ ผู้นั้นจึงเรียกได้ว่าเป็น ภัทเทกรัตตชน
ถ้าเราปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง ปัญญาของคนเรามันต้องเกิดจากศีล เกิดจากสมาธิ เกิดจากปัญญา ที่เราต้องประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน ใจของเราจะมีปัญญา ถ้าเราปล่อยไป จะทำให้จิตเราไม่มีพลัง ศีลสมาธิปัญญามันต้องเสมอกัน ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอย่างนี้ ยิ่งคนเราพวกหัวระดับกลาง หัวระดับอ่อน ยิ่งต้องอาศัยภาคประพฤติภาคปฏิบัติเยอะ พวกที่หัวดี ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติยิ่งอันตราย เพราะว่ามันซิกเเซกเก่ง เราทุกคนต้องบังคับตัวนะ ต้องปรับตัวเองเข้าหาพระวินัย เข้าหาเวลา เข้าหาข้อวัตร ว่าอันนี้เราไม่คิด ว่าอันนี้เราไม่พูด ว่าอันนี้เราไม่ทำ ต้องเป็นคนมีระเบียบมีวินัย
ผู้ที่จะไปพระนิพพาน เค้าต้องมีระเบียบมีวินัย เเล้วเค้าต้องสมาทานมีระเบียบมีวินัย ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูอย่างประเทศสิงค์โปร์ ประเทศเล็กๆ เค้าก็เป็นมหาอำนาจเเห่งความดี อย่างประเทศนิวซีเเลนด์ เค้ามีระเบียบมีวินัย เค้าไม่โกงกิน ไม่คอร์รัปชั่น เค้าเคารพเวลาระเบียบวินัย พระนี้จะเป็นพระอริยเจ้าได้ ต้องมีศีลมีระเบียบมีวินัย พระพุทธเจ้าถึงให้พวกเราถือนิสัยของพระพุทธเจ้าอย่างน้อย ๕ ปี ผู้ที่บวชใหม่ท่านถึงให้ไปอยู่วัดที่ท่านเคร่งๆ อาจารย์ดุๆ ที่บังคับเวลา บังคับให้รักษาศีล บังคับให้ไปโน่นไปนี้ ๔ ปี ๕ ปี ถึงจะพอเป็นผู้เป็นคน พอสมควร อย่างพระที่ไม่มีครูบาอาจารย์ เช่น พระวัดบ้าน เเย่เลย
ถ้าเราเอาเเต่ปล่อยวางไม่ได้ อันนี้เป็นการปล่อยวางพระธรรมพระวินัย ปล่อยวางศีลปล่อยวางธรรม ปล่อยวางมรรคผลนิพพาน อันนี้มันว่างจริง แต่มันว่างจากมรรคผลนิพพาน ให้เข้าใจ อย่าพากันโง่หลาย มันต้องบังคับให้ตัวเองกระตือรือร้นในข้อวัตรกิจวัตร กระตือรือร้นในเวลา ถ้าเราไม่กระตือรือร้น เค้าเรียกว่า นักปฏิบัติขาลง ไม่สนใจที่จะจัดการใจของเราในปัจจุบัน ปล่อยไปโดยที่ไม่ครอบคลุม ถ้างั้นจะมีอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำไม เค้าต้องมีความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง เเล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะคนเรามันคิดได้ทีละอย่างเดียว ถ้าคิดในทางดีมันก็ดี เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นมันถึงมาตาม เพราะปัจจุบันอดีตอนาคตมันเป็นสายน้ำ มันไม่ใช่หยดน้ำ มันติดต่อต่อเนื่อง หยดน้ำ ไม่ได้ บางทีนานๆ หยดมันก็เเห้ง ทุกๆ คน ถ้าเราปฏิบัติมันจะเก่งทุกคน จะฉลาดทุกคน ที่มันไม่เก่งไม่ฉลาด เเล้วก็ไม่ได้เข้าสู่ อีคิว และ อาร์คิว เพราะมันยังเปิดโอกาสให้มารอยู่
มาร คือผู้ขวางความดี ขัดขวางหนทางของการสร้างบารมี คอยล้างผลาญทำลายความดีของมนุษย์ แล้วชักนำให้คนกระทำในสิ่งที่เป็นบาปอกุศล พอกพูนอาสวกิเลสให้หนาแน่นยิ่งขึ้นขณะเดียวกันก็ขวางกั้นไว้ไม่ให้ทำความดีได้เต็มที่ ทำให้มนุษย์ยากที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานในสังสารวัฏ ในศาสนาต่างๆ มีการเรียกชื่อและให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องมารเอาไว้มากมายในทางพระพุทธศาสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ว่า มารคือผู้ขัดขวางความดีนี้ มีอยู่ ๕ ประเภทด้วยกัน ก็คือ
ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นมารร้ายทีเดียว เพราะบางครั้งก็ทำความลำบากให้กับเรา เช่น เมื่อตัวร้อนเป็นไข้ ปวดหลัง ปวดท้อง ปวดฟัน และโรคต่าง ๆสารพัด แทนที่เราจะได้ใช้เวลาที่มีอยู่นี้ไปกับการสั่งสมความดีให้เต็มที่ ก็ต้องเสียเวลาไปกับการเยียวยารักษาบริหารขันธ์
กิเลสมาร มารคือกิเลสที่ฝังติดแน่นอยู่ในใจของเรามานับภพนับชาติไม่ถ้วนอสาสวกิเลสเหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเมื่อใจตกอยู่ในอำนาจของกิเล คือความโลภ ความโกรธ และความหลงนี้แล้วสิ่งใดที่ไม่เคยคิดก็เผลอคิด เรื่องอะไรที่ไม่ดีซึ่งเราไม่เคยพูด ไม่เคยทำ ก็หลงไปทำ กิเลสทำให้เกิดกรรม เมื่อเกิดกรรมก็มีวิบากมารองรับ ชีวิตจึงต้องเวียนวนอย่างไม่รู้จักจบสิ้น กิเลสเหล่านี้ผูกยึดสัตว์เอาไว้ในภพสาม ทำให้ไม่สามารถไปสู่พระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของเราได้
อภิสังขารมาร อภิสังขาร คือ กรรมฝ่ายวิบากอกุศล เป็นอปุญญาภิสังขารที่ปรุงแต่งผลบาปอันเผ็ดร้อน ซึ่งเราอาจจะเคยทำกรรมไม่ดีเอาไว้ในอดีต แล้วตามมาส่งผลในภพชาติปัจจุบัน คอยเป็นมารขัดขวางเราไม่ให้ประสบความสำเร็จในชีวิตบ้าง ได้รับความไม่สบายกาย ไม่สบายใจบ้าง
มัจจุมาร มารคือความตาย การมีชีวิตที่ยืนยาวและได้สร้างบารมีนั้น นับว่าเป็นผู้มีบุญลาภอันประเสริฐทีเดียว แต่ถ้าเกิดมาไม่กี่ปีก็ถูกมัจจุราชพรากเอาชีวิตไป ต้องละจากโลกนี้ไปเสียแล้ว ทำให้ต้องสูญเสียโอกาสที่จะทำความดีอย่างอื่นอีกมากมาย ฉะนั้น การที่ความตายมาคร่าชีวิตเราไปก่อนที่จะสร้างบารมีได้เต็มเปี่ยม ยังไม่ทันทำกิเลสอาสวะให้เบาบางเลย ก็ต้องตายเสียก่อนแล้ว ตรงนี้แหละ ท่านเรียกว่าเป็นมารมาขัดขวางเรา
เทวปุตตมาร หรือเทพบุตรมารท่านหมายเอาตั้งแต่บุคคลที่อยู่ใกล้ตัว ที่คอยขัดขวางไม่ให้เราทำความดี บางครั้งอาจเป็นสามี ภรรยาของเราเอง หรือเพื่อนฝูงเรา ที่มาขัดขวางการให้ทาน ไม่อยากให้รักษาศีล หรือขณะนั่งสมาธิก็มารบกวนทำเสียงดัง ทำให้ไม่มีสมาธิในการนั่งสมาธิต่อไป หรือบางครั้งเราอาจจะเป็นเทพบุตรมารต่อคนอื่นก็มี คือเราเผลอไปรบกวนหรือขัดขวางคนกำลังปฏิบัติเข้าโดยไม่ได้ตั้งใจ
มารทั้ง ๕ ประการนี้ ปรากฏให้เห็นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน เพียงแต่เราอาจไม่ทันสังเกต หรือมีความชาชินกับอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ไปเสียแล้ว ดังนั้นจึงต้องนำมาชี้ นำมาแสดงให้ได้ทราบว่า ที่เรียกว่ามาร มิใช่มีเฉพาะกิเลสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีทั้งขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร
ทุกๆ คน ถ้าเราปฏิบัติมันจะเก่งทุกคน จะฉลาดทุกคน ที่มันไม่เก่งไม่ฉลาด เเล้วก็ไม่ได้เข้าสู่ อีคิว และ อาร์คิว เพราะมันยังเปิดโอกาสให้มารอยู่ เพราะเรามองเห็นว่าอย่างพวกที่ปฏิบัติดีๆ พวกที่เคยเป็นเสือเป็นกระทิงเป็นจงอางมาบวชมันมาพลิกเป็นคนดี มาบวชเวลาสึกไปเเล้วไม่กี่เดือนไม่กี่ปีมันก็กลับไปอย่างเก่า ที่มันหายหน้าหายตาไม่มาวัด คือมันเสื่อม ทุกๆคนอาการของจิต หรือวาระจิตของเรามันยังเป็นโลกีย์อยู่ เราต้องปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องเพื่อเราจะได้เที่ยงเเท้เเน่นอนต่อมรรคผล ต่อพระนิพพาน คนเราต้องอาศัยฝึกติดต่อต่อเนื่อง อย่าเป็นเหมือนลูกคนรวย พ่อเเม่โง่ไม่ฉลาดปล่อยให้ลูกตามใจ ไม่บังคับ เมื่อมันโตเเล้วลูกติดสุขติดสบายติดตามใจ เมื่อกิเลสสวมรอยเข้าเยอะๆ ทีนี้ยิ่งกว่าตาลยอดด้วน
เราต้องเห็นความสำคัญในจิตในเรื่องวาระจิต เราต้องจัดการกับเรา ปกติเราทุกคนมันก็ไม่มีเรื่องอะไรเยอะอยู่เเล้ว เพราะมันเดินไปเดินมาหายใจเข้ามีความสุข ทำงานอะไรก็มีความสุขในปัจจุบัน เเต่ถ้าเราเอาปัจจุบันมาพิจารณาสู่พระไตรลักษณ์ มันก็ฉลาดขึ้น มันจะเด่นขึ้น มันจะเย็นขึ้น ความโง่ ความอะไร มันจะมาเเทรกยาก เพราะวาระจิตของคนเราอย่างเดียว ขอให้เป็นคนซื่อสัตย์ เป็นคนรับผิดชอบ เราอย่าไปหลงกงจักรเป็นดอกบัว อย่าไปหลงในความสุขที่เป็นมนุษย์รวย หรือเป็นเทวดา ที่อยู่บนวิมานเหมือนคนเค้าเป็นกัน เค้าเรียกว่าอบายมุขอบายภูมิ ยินดีในการกินอาหารอร่อย ยินดีในการเที่ยวทะเล ไปเที่ยวประเทศโน่นประเทศนี้ ยินดีในการมีบ้านหรูรถหรูโก้ อันนี้ยังไม่ใช่ มนุษย์เรามันต้องฉลาดกว่านี้ ต้องมีไว้เป็นยารักษาโรค มันต้องพัฒนา
เราอย่าไปคิดเเบบโง่ๆ คิดว่า โอ้... เรามาทรมานใจของเราให้ตัวเองเป็นทุกข์ไปทำไม มันจะเป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือเปล่าน้อ... นี้มาถือศีล ๕ มาถือศีล ๘ เเล้วมาถือศีลเอามรรคผลนิพพาน บางทีพญามารในใจมันก็จะเทศน์สั่งสอน พระนิพพานอยู่ที่ไหน มีใครบ้างไปพระนิพพาน เพราะความเป็นมิจฉาทิฏฐิของเรา ความคิดอย่างนี้มันถึงมีความสงสัยว่า ตายเเล้วเกิด หรือตายเเล้วสูญ เพราะเราไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุเกิดทุกข์ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติถึงการดับทุกข์
ให้เราเข้าใจ เราต้องบังคับตัวเองนะ เช่น เป็นพระเรากลับไปที่พัก ไปนั่งสมาธิให้ใจสงบ เเล้วก็นอน อย่าไปทำเหมือนฆราวาส อยู่ไปเรื่อยๆ เล่นโทรศัพท์ไป เล่นคอมพิวเตอร์ไป นั้นมันเสีย เค้าเรียกว่า คนไม่เห็นการบังคับตน อย่างทหารที่เรื่องหยาบๆ เค้ายังมีระเบียบ ถึงเวลาสามทุ่มเปิดเเตรให้นอน ให้ไม่นอน คุยกัน ยังให้มาวิ่งนอกสนาม ทหารรุ่นเก่า ทหารเเต่ก่อนมีระเบียบ ไม่พากันเล่นโทรศัพท์เหมือนทุกวันนี้ ไม่พากันสูบบุหรี่เหมือนทุกวันนี้ เค้าถึงมีระเบียบ มันถึงไปรบสู้เค้าได้ ทหารตำรวจทุกวันนี้ไปรบกับใครได้ ตัวเองยังเอาตัวเองไม่รอดเลย
เราต้องเห็นความสำคัญในจิตในเรื่องวาระจิต เราต้องจัดการกับเรา จิตมาจากอาการของขันธ์ทั้ง ๕ ที่ทำหน้าที่ของเขา ตาก็ทำหน้าที่ของเขาคือเห็น หูก็ทำหน้าที่ในการฟัง ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง เราก็จะได้พัฒนาจิตให้ดี ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเขาไม่ได้พัฒนาจิตเลย ปล่อยไปตามสัญชาตญาณ แถมยังเร้าใจเร้าอารมณ์ ยังไปเสพสมอารมณ์นั้นๆ เพราะการเสพเริ่มจากจิตนี้แหละไป กรรมต่างๆ มาจากที่ผัสสะไม่มีปัญญา ผัสสะไม่มีสัมมาทิฏฐิ จิตไม่มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อจิตไม่มีสัมมาทิฏฐิ มันก็เอากายวาจาใจนี้ไป ไปสร้างบาปสร้างกรรมสร้างเวรสร้างภัย แล้วก็เห็นเป็นเรื่องดี เห็นผิดเป็นถูก มีแต่จะสร้างปัญหา การกระทำของเรา การเดินทางของเรา คือ ที่สุดแห่งความไม่มีทุกข์ เรียกว่า พรหมจรรย์
ร่างกายของเรานี้ต้องมีส่วนประกอบคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มันจะมารวมกัน มารวมกันเป็นหนึ่ง ที่เรียกว่ามารวมกันเป็นใจ มันอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย และก็สัมผัสจิต ทำให้เกิดจิต เมื่อใจของเรา ที่ยังมีอวิชชา มีความหลงอยู่ จิตของเรายังไม่ได้เป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าใจของเรามีสัมมาทิฏฐิอย่างนี้ ใจของเราก็จะมีปัญญา เมื่อเรายังไม่ตาย ยังไม่หมดลมหายใจ จิตใจของเราย่อมมีจิต พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เราพิจารณาร่างกาย แยกร่างกายเป็นชิ้นส่วน เพื่อใจของเราจะได้มีปัญญา เพราะ เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันต้องเกิดผัสสะ ใจของเรามันจะได้เป็นพุทธะ อย่างพระพุทธเจ้าเรียกว่า พุทธจิต อย่างพระอรหันต์ เขาก็เรียกว่า กิริยาจิต การประพฤติ การปฏิบัติ เน้นการประพฤติ การปฏิบัติที่ปัจจุบัน
ลักษณะของจิต จิต คือ สภาวะรู้สิ่งต่างๆ ทางตา หู จมูก สิ้น กาย และใจ โดยผ่านทวารหรือประตู ๖ บาน เหมือนคนอยู่ในบ้านมองดูสิ่งที่อยู่นอกบ้านผ่านประตู การรู้สึกผ่านตาเป็นการเห็น การรูเสียงผ่านหูเป็นการได้ยิน การรู้กลิ่นผ่านจมูกเป็นการรูกลิ่น การรู้รสผ่านลิ้นเป็นการลิ้มรส การรู้สิ่งที่สัมผัสผ่านร่างกายเป็นการสัมผัส และการรับรู้ทางใจเป็นการนึกคิด
จิตมีธรรมชาติประภัสสร คือ ผุดผ่องตามปกติเหมือนน้ำใสสะอาด เพราะเป็นเพียงสภาวะเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และนึกคิดเท่านั้น ปราศจากการปรุงแต่งหรือตอบสนองต่อสิ่งที่พบอยู่ แต่จิตนั้นต้องประกอบร่วมกับนามธรรมอีกอย่างหนึ่งเสมอ ชื่อว่า เจตสิก คือ สภาวะปรุงแต่งจิต ดังนั้น จิตจึงเศร้าหมองไปด้วยอำนาจของเจตสิกฝ่ายดำ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ เป็นตัน เหมือนน้ำใสสะอาดที่ขุ่นมัวด้วยโคลนตม ตัวอย่างเช่น ในขณะเห็นสีอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตของทุกคนจะทำหน้าที่รู้สีเป็นอารมณ์ แต่โลภะทำให้รู้สึกชอบสิ่งที่เห็น โทสะทำให้ไม่ชอบสิ่งนั้น เจตสิกฝ่ายดำมักทำให้เสียศูนย์ขาดความเป็นกลางอยู่เสมออย่างนี้หลอกล่อให้หลง ยั่วยวนให้รัก พอใจหรือไม่พอใจตามการปรุงแต่งของแต่ละคน และเพิ่มพูนกิเลสมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนดินพอกหางหมู จิตที่มิได้อบรมไว้ดีย่อมทำให้เหล่าสัตว์ติดอยู่ในบ่วงกิเลส ส่วนจิตที่อบรมดีแล้วย่อมส่งผลให้เป็นอิสระหลุดพ้นได้โดยพลัน
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่พระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง ครั้งหนึ่งมีบุตรเศรษฐีผู้หนึ่งอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้สอบถามพระภิกษุผู้ไปรับบิณฑบาตที่บ้านของเขาว่า หากเขาต้องการจะพ้นทุกข์เขาควรจะทำอย่างไร พระภิกษุรูปนั้นได้แนะนำเขาให้แบ่งสมบัติออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนหนึ่งใช้ในการดำเนินธุรกิจ ส่วนหนึ่งใช้เลี้ยงบุตรและภรรยา และอีกส่วนหนึ่งใช้ในการทำทาน บุตรเศรษฐีได้ปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น และต่อมาเขาได้เรียนถามพระภิกษุรูปเดียวกันนั้นอีกว่า เขาควรทำอะไรอีกต่อไป พระภิกษุนั้นบอกว่า ข้อที่ 1. ให้ถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง และให้รักษาศีล 5 ข้อ 2. ให้รักษาศีล 10 และ ข้อที่ 3. ให้สละโลกออกบวชเป็นภิกษุ บุตรเศรษฐีได้ปฏิบัติตามคำแนะนำนั้นและได้บวชเป็นพระภิกษุในที่สุด
เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว อาจารย์รูปหนึ่งสอนท่านในเรื่องพระอภิธรรม ส่วนอีกรูปหนึ่งก็สอนในเรื่องพระวินัย เมื่อท่านถูกสอนแบบนี้ ท่านก็มีความรู้สึกว่าต้องมาศึกษาเล่าเรียนมาก ต้องรักษาพระวินัยที่เคร่งครัดและต้องรักษาศีลหลายข้อด้วย จนท่านไม่มีเวลาแม้แต่ “จะเหยียดมือ” ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เกิดความกระสันอยากสึก หมดความยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีความสุข และไม่ยอมทำการสาธยายในอาการ 32 และไม่ยอมศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ไม่ทำการสาธารยายธรรม ไม่เล่าเรียนพระปาฏิโมกข์ กินไม่ได้นอนไม่หลับจนร่างกายผ่ายผอม ซูบซีด เนื้อตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นถูกความเกียจคร้านครอบงำ หมดความเพียร ไม่ยอมทำกิจกรรมใดๆ ปล่อยร่างกายให้สกปรกเศร้าหมอง
เหล่าเพื่อนภิกษุและสามเณรเห็นดังนั้น จึงพากันไปบอกพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ เมื่อท่านทราบเรื่องทั้งหมดแล้วจึงพาภิกษุหนุ่มผู้อยากสึกไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องทั้งหมดแล้ว จึงตรัสถามว่า “ภิกษุ ถ้าเธอรักษาเพียงสิ่งเดียวได้ แล้วสิ่งอื่นไม่ต้องรักษาอีกเลย เธอจะทำได้ไหม?” “อะไร? พระเจ้าข้า”
“เธอจะรักษาจิตของเธอ ได้ไหม” “อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า”
พระศาสดาจึงประทานโอวาทว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอจงรักษาจิตของเธอไว้ เธออาจพ้นจากทุกข์ได้” แล้วพระองค์ตรัสเป็นคาถาว่า
“สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยากละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่, (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้.”
บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาตินํ ความว่า มักไม่พิจารณาดูฐานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้น ตกไปในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะที่พึงได้หรือไม่พึงได้ สมควรหรือไม่สมควร.
บาทพระคาถาว่า จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี ความว่า คนอันธพาลมีปัญญาทราม ชื่อว่าสามารถรักษาจิตของตนไว้ได้ ย่อมไม่มี. เขาเป็นผู้เป็นไปในอำนาจจิต ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย: ส่วนผู้มีปัญญา คือเป็นบัณฑิตเทียว ย่อมอาจรักษาจิตไว้ได้. เพราะเหตุนั้น แม้เธอจงคุ้มครองจิตไว้ให้ได้; เพราะว่า จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ คือย่อมนำมาซึ่งสุขอันเกิดแต่มรรคผลและนิพพาน ดังนี้.
เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ภิกษุหนุ่มรูปนั้นก็ได้บรรลุพระโสดาบัน และชนเหล่าอื่นเป็นอันมากก็ได้บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น พระสัทธรรมเทศนา เป็นประโยชน์แก่มหาชน
จะเห็นได้ว่า คำสอนในพระพุทธศาสนาทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แท้จริงแล้วมารวมอยู่ที่ความสำรวมระวังรักษาใจของตนนั่นเอง เพราะเมื่อเรารักษาใจไว้ดีแล้วก็ย่อมสามารถควบคุมกาย วาจา และตรองตามคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ทั้งหมดโดยปริยาย และเมื่อเกิดความเข้าใจ ก็ย่อมมองเห็นหนทางที่จะฝึกฝนตนเองให้บริสุทธิ์ สะอาด จนกระทั่งเข้าถึงความดับทุกข์ได้ในที่สุด
เราจะเป็นพระเป็นนักบวชเป็นประชาชนเราก็ประพฤติปฏิบัติได้หมด เรามันเจ็บปวดขนาดไหน มันเกิดแก่เจ็บตายทำให้เรามีหนี้มีสินทำให้เราต้องไปสู่อบายภูมิ เพราะการดำรงชีวิตเรามันเป็นอบายมุข เพราะความเห็นแก่ตัวเราต้องพากันรู้จักจิต เราต้องให้จิตของเรามีปัญญาอย่าไปหลง ต้องใจเข้มแข็ง เอาตัวเองมาประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน เพราะว่าเราก็สงสารตัวเองสงสารคนอื่นทั่วไปหมด มันเป็นความพินาศความฉิบหายที่เราไม่เห็นถูกต้องไม่เข้าใจถูกต้อง เรายังไม่เข้าใจความดับทุกข์ที่แท้จริง เราเอาเพียงสวรรค์เพียงความสุขความสะดวกความสบาย เราดูตัวอย่างประเทศที่เจริญแล้ว เอาแต่วัตถุหรือเอาแต่อารมณ์ต่างๆ เป็นแค่สวรรค์ เราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สวรรค์เราก็ต้องผ่านอยู่แล้ว เราต้องใจเข้มแข็ง เพราะเทวดาจะเกิดมาเป็นมนุษย์มันไม่ได้ เพราะใจมันตกต่ำ มันหลงประเด็น
เราถึงรู้จักอาการของจิตใจ แต่ไม่รู้จักตัวเองหรอก ปล่อยให้ตัวเองคิดไป ไม่มีระเบียบในการคิด ว่า อันนี้คิดไม่ได้ อันนี้ตามอารมณ์ไม่ได้ อันนี้คนคิดอย่างนี้มันไม่มีระเบียบในการคิด มันเหมือนเด็กไม่รู้จักไฟ มันไม่รู้จักไฟ ไปจับมันก็ร้อน เขาเรียกว่าไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เราทุกคนมาใช้สังขารร่างกายนี้ส่วนใหญ่ไม่เกินร้อยปีก็ต้องจากโลกนี้ไป เราจะได้พัฒนาเผ่าพันธุ์มนุษย์ เราจะพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ไม่เป็นบาป พัฒนาทั้งใจหรือว่าจิตของเรานี้ไป ชีวิตของเราต้องดีต้องสง่างาม
เพราะคนเราไม่ตายมันต้องเป็นอย่างนี้ๆ น่ะ เราจะไปเร้าใจของเราทำไม เร้าอารมณ์ของเราทำไม เราทำไปปฏิบัติไป เดินไปทีละก้าว ทานข้าวไปทีละคำ นำตัวเองออกจากวัฏสงสาร ทำไปอย่างนี้ๆ จากพ่อไปสู่ลูก จากลูกไปสู่หลานเหลน โลกมันก็จะน่าอยู่ ไม่ใช่พากันตกนรก เปรียบเสมือนคนมีหูก็อันตราย มีตาก็อันตราย พระพุทธเจ้าถึงสอนชฎิลสามพี่น้องว่า ตาก็เป็นไฟ หูก็เป็นไฟ จมูกลิ้นกายใจก็เป็นไฟ เพราะเราไม่รู้จัก เราไม่มีสัมมาทิฏฐิ เราก็ตามอารมณ์ตามอะไรไป อย่างนี้เราก็อันตราย เราต้องพัฒนาจิตใจของเราไป คนไม่มีพลังสิ่งภายนอกก็ดึงไป เพราะภาคปฏิบัติของเรายังอ่อนอยู่ รู้อยู่แต่มันยังทำไม่ได้ แสดงว่าการประพฤติปฏิบัติของเรามันยังไม่ชำนาญ สติสัมปชัญญะเรายังไม่พอ ใจของเรายังเข้มแข็งไม่พอ ต้องอาศัยการอาศัยเวลา ถ้าอย่างนั้นเราจะมีประโยชน์อะไรที่เกิดมาเป็นมนุษย์ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ เราก็เสียชาติเกิดที่ประเสริฐ
พระต้องพากันฝึกต้องเองนะ เณร เเม่ชีก็ต้องพากันฝึกต้องเอง มาอยู่วัดก็ฝึกที่วัด เเล้วกลับไปบ้านก็ไปฝึกที่บ้าน คนเราต้องนอนเป็นระเบียบ ถึงสองทุ่มสามทุ่มก็นอน ประชาชนก็นอน เพราะประชาชนก็ต้องพากันนอนหกชั่วโมง-เเปดชั่วโมง ถ้าถึงตีหนึ่งจะเข้าห้องสุขาก็อย่าไปคิดอะไร ถึงตีสี่ตีห้า ถึงลุกขึ้นมากราบพระไหว้พระ สำหรับประชาชน เเต่พระไปนอนตื่นสายเหมือนประชาชนไม่ได้ ตีสองกว่าตีสามต้องลุกขึ้นเเล้ว เราต้องเอาความสุขจากใจ เพราะความสุขจากใจมันจะไม่ปรุงเเต่ง มันจะหยุดความปรุงเเต่ง สมองเรามันจะได้ไม่ฝันทั้งกลางวันกลางคืน เพราะใจเป็นหนึ่ง ใจมันนิ่ง นิ่งเเล้วก็จะง่วง เราก็อย่าไปตามง่วง พอจิตของเราเข้าสู่ความเป็นหนึ่งอย่างนี้ เพื่อเราจะเข้าสมาธิได้ ใจของเราจะได้ว่าง อย่าไปกลัวเเต่นอนไม่อิ่มไม่พอ เอาเเต่ง่วงเอาเเต่หลับไม่ได้ มันไม่ได้ฝึก ต้องบังคับตัวเองอย่างนี้นะ บังคับอย่าไปชักช้าโอ้เอ้ ทำอะไรมันจะได้พากันฝึก เพราะไม่มีใครมาฝึกให้เรา เราต้องพากันประพฤติพากันปฏิบัติ เราอย่าไปเผลอ ไปฟุ้งซ่านเอาใหม่ กลับมาหายใจชัดเจน หายใจออกชัดเจน เอาใหม่ ยิ่งมันเคลิ้มๆไป เอาใหม่ เดี๋ยวมันจะสงบมันก็จะไปอีกเเล้ว มันไปวิพากษ์วิจารณ์ มันไม่ได้เข้าถึงเอกัคคตา มวยเรายังไม่ช่ำชอง เราจะไปเอาเเต่มวยการ์ดมวยเชิงอยู่ไม่ได้ เราต้องมีปัญญาด้วยถึงกระตือรือร้นด้วยถึงจะฝึกตน นี้เราประเสริฐมาขนาดในเรามีลมหายใจอยู่ เราเป็นผู้ประเสริฐเเล้ว เราต้องพัฒนาตนปฏิบัติตน พวกความใจอ่อน ใจไม่รับผิดชอบ ต้องให้สูญพันธุ์ไปจากเรา ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะฉายหนังม้วนเก่าอยู่อย่างนี้แหละ
ชีวิตของเราต้องเอาความถูกต้องเป็นเดิมพัน เอาความเป็นธรรม เอาความยุติธรรม เอาพระวินัย เป็นเดิมพัน ต้องเสียสละ เพื่อพัฒนาสร้างอริยมรรค เพื่อตัดซึ่งตัวซึ่งตน ที่มันนำทุกๆ คนให้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะสงสาร ให้เข้าถึงธรรม ถึงปัจจุบันธรรมให้ได้ในในปัจจุบัน ต้องมีจิตใจที่โดดเด่น จิตใจที่ไม่มีอะไรครอบงำได้ มีแต่ธรรมะ มีแต่สภาวะธรรมที่ปราศจากตัวตน ให้ทุกท่านทุกคนพากันประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ เราไม่ต้องไปเปิดช่องเปิดโอกาสให้มารเหมือนแต่ก่อน ในโลกนี้เราไม่มีอะไรที่จะน่ากลัว เพราะว่าเราเดินตามรอยของพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จิตใจของเราย่อมสง่างามโดดเด่นด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา
ให้พลันได้ซึ่งการตัด ตัวตัณหาอุปาทาน สิ่งชั่วในดวงใจ จนกว่าจะถึงนิพพาน ให้มลายสิ้นจากสันดาน ในทุกๆ ภพที่เกิด ให้เป็นผู้มีจิตตรงและสติปัญญาอันประเสริฐ พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลายจนเป็นช่องประทุษร้ายทำลายล้ายความเพียรจม ขอพระพุทธผู้บวรนาถ พระธรรมที่พึ่งอุดม พระปัจเจกพุทธะ สมทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง ด้วยอานุภาพนั้น ขอหมู่มารอย่าได้ช่อง ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง อย่าเปิดโอกาสให้แก่มารเทอญ ฯ
ใจของเรานี้ มันคิดได้ทีละอย่าง วาระจิตเเรก มันเป็นสัญชาตญาณ ที่มีสัมผัส วาระจิตถ้าเราเอาธรรมเป็นหลัก เอาธรรมในการดำเนินชีวิต เราก็ไม่ปล่อยให้ใจของเราไปตามสัญชาตญาณ เราไม่ให้อาหารของใจของเรา เราไม่ให้อาหารใจที่มันเป็นความเคยชิน เป็นอวิชชาเป็นความหลง เราก็เอาจิตของเราไปภาวนา ว่าสิ่งที่กระทบเรา นี้คือข้อสอบ เราต้องมีข้อสอบ ยกสิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับเราสู่พระไตรลักษณ์ เราจะไปทำตามใจตามความเคยชินไม่ได้ นี้คือการประพฤติการปฏิบัติของเรา ศีลก็อยู่ที่ขณะนี้เเหละ สมาธิก็อยู่ขณะนี้เเหละ ปัญญาก็อยู่ขณะนี้เเหละ เราต้องเห็นความสำคัญในการประพฤติการปฏิบัติ พระพุทธเจ้าสอนเราไม่ให้เราประมาทไม่ให้เราเพลิดเพลิน ให้รู้อริยสัจ ๔ ให้รู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ รู้ความดับทุกข์ รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ ให้เน้นประพฤติเน้นปฏิบัติที่ปัจจุบัน สมาทานตั้งใจ การสมาทานการตั้งใจ เราจะไม่เป็นบุคคลสีลัพพตปรามาส ลูบคลำในศีลในข้อวัตรปฏิบัติ
เมื่อเรายังไม่ตายเรายังมีลมหายใจ เราก็มีโอกาสที่ได้ประพฤติที่ได้ปฏิบัติ เราทำอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ให้ติดต่อต่อเนื่อง เราดูตัวอย่างเเบบอย่างที่กุลบุตรลูกหลานที่มาบวช ในสำนักปฏิบัติที่พ่อเเม่ครูบาอาจารย์เคร่งครัดใหม่ๆ ก็ดูดี เเต่นานไปไม่เห็นความสำคัญในการปฏิบัติ จิตใจมันตกต่ำ ยิ่งบวชนาน อินทรีย์บารมีของกิเลสของอวิชชาก็ย่อมเเก่กล้า เพราะไม่ได้ประพฤติไม่ได้ปฏิบัติ การปฏิบัติไม่ติดต่อ ไม่ต่อเนื่อง สังเกตุดูพวกที่มาปฏิบัติ เวลาลาสิกขาไปเเล้ว หรือบวช ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน ๔ เดือน ลาสิกขาไปไม่กี่เดือน จิตใจก็จะกลับไปอย่างเก่า หรือตกลงกว่าเก่า นี้คือขาดความประพฤติการปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง เพราะธรรมะ มันต้องเป็นสิ่งที่ติดต่อต่อเนื่อง
“ความรับผิดชอบ ของนักปฏิบัติต้องรับผิดชอบสูง” ไม่ต้องไปท้อใจ ความท้อใจนั้นคือ อวิชชา คือความหลง ที่มันร่างกายเมื่อยล้า ความคิดอย่างนี้ ให้เรารู้จัก เราสังเกตดูดีๆ ถ้าครูบาอาจารย์ เช่น พระอริยเจ้า ท่านทำความเพียร ท่านเจ็บไข้ได้ป่วยเเต่ละครั้ง ก็จะทำให้จิตใจท่านก้าวหน้า เพราะเห็นเทวทูตชัดเจนมากขึ้น เห็นอริยสัจ ๔ มากขึ้น เราต้องเข้าใจ อย่าไปตามใจตัวเอง อย่าไปตามอารมณ์ตัวเอง
ศีลของเรา สมาธิของเรา ปัญญาของเราในปัจจุบันนี้ เรียกว่าพรหมจรรย์ ทุกท่านทุกคนต้องเอามาประพฤติมาปฏิบัติ ปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่ไม่สาย พอดีพอดี พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมเเม้เเต่เพียงราตรีเดียวก็ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตลอดชีวิต เอวํ วิหาริมาตาปึ ผู้ที่มีความเพียรไม่ย่อหย่อนอยู่อย่างนี้ อโหรตฺตมตนฺทิตํ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน ตํ เว ภทฺเทกรตฺโตติ สนฺโต อาจิกฺขเต มุนี พระมุนีเรียกผู้ที่มีความเพียรไม่ย่อหย่อนนั้นว่าเป็นผู้สงบ เป็นผู้ที่มีราตรีเดียวเจริญ
ใครก็ตามที่ขยันหมั่นเพียรอยู่เป็นนิจทั้งกลางวันและกลางคืน ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่คอยหวนคำนึงถึงแต่อดีต และไม่เฝ้าฝันถึงอนาคต ท่านผู้นั้นคือคนที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง แม้ว่าเขาจะมีชีวิตอยู่เพียงหนึ่งวัน หรือหนึ่งราตรี วันหรือราตรีนั้นก็เป็นวันเวลาที่เจริญ ผู้นั้นจึงเรียกได้ว่าเป็น ภัทเทกรัตตชน
ถ้าเราปฏิบัติติดต่อต่อเนื่อง ปัญญาของคนเรามันต้องเกิดจากศีล เกิดจากสมาธิ เกิดจากปัญญา ที่เราต้องประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน ใจของเราจะมีปัญญา ถ้าเราปล่อยไป จะทำให้จิตเราไม่มีพลัง ศีลสมาธิปัญญามันต้องเสมอกัน ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอย่างนี้ ยิ่งคนเราพวกหัวระดับกลาง หัวระดับอ่อน ยิ่งต้องอาศัยภาคประพฤติภาคปฏิบัติเยอะ พวกที่หัวดี ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติยิ่งอันตราย เพราะว่ามันซิกเเซกเก่ง เราทุกคนต้องบังคับตัวนะ ต้องปรับตัวเองเข้าหาพระวินัย เข้าหาเวลา เข้าหาข้อวัตร ว่าอันนี้เราไม่คิด ว่าอันนี้เราไม่พูด ว่าอันนี้เราไม่ทำ ต้องเป็นคนมีระเบียบมีวินัย
ผู้ที่จะไปพระนิพพาน เค้าต้องมีระเบียบมีวินัย เเล้วเค้าต้องสมาทานมีระเบียบมีวินัย ที่เรียกว่า สัมมาสมาธิ ดูอย่างประเทศสิงค์โปร์ ประเทศเล็กๆ เค้าก็เป็นมหาอำนาจเเห่งความดี อย่างประเทศนิวซีเเลนด์ เค้ามีระเบียบมีวินัย เค้าไม่โกงกิน ไม่คอร์รัปชั่น เค้าเคารพเวลาระเบียบวินัย พระนี้จะเป็นพระอริยเจ้าได้ ต้องมีศีลมีระเบียบมีวินัย พระพุทธเจ้าถึงให้พวกเราถือนิสัยของพระพุทธเจ้าอย่างน้อย ๕ ปี ผู้ที่บวชใหม่ท่านถึงให้ไปอยู่วัดที่ท่านเคร่งๆ อาจารย์ดุๆ ที่บังคับเวลา บังคับให้รักษาศีล บังคับให้ไปโน่นไปนี้ ๔ ปี ๕ ปี ถึงจะพอเป็นผู้เป็นคน พอสมควร อย่างพระที่ไม่มีครูบาอาจารย์ เช่น พระวัดบ้าน เเย่เลย
ถ้าเราเอาเเต่ปล่อยวางไม่ได้ อันนี้เป็นการปล่อยวางพระธรรมพระวินัย ปล่อยวางศีลปล่อยวางธรรม ปล่อยวางมรรคผลนิพพาน อันนี้มันว่างจริง แต่มันว่างจากมรรคผลนิพพาน ให้เข้าใจ อย่าพากันโง่หลาย มันต้องบังคับให้ตัวเองกระตือรือร้นในข้อวัตรกิจวัตร กระตือรือร้นในเวลา ถ้าเราไม่กระตือรือร้น เค้าเรียกว่า นักปฏิบัติขาลง ไม่สนใจที่จะจัดการใจของเราในปัจจุบัน ปล่อยไปโดยที่ไม่ครอบคลุม ถ้างั้นจะมีอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำไม เค้าต้องมีความเห็นถูกต้อง ความเข้าใจถูกต้อง เเล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะคนเรามันคิดได้ทีละอย่างเดียว ถ้าคิดในทางดีมันก็ดี เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นมันถึงมาตาม เพราะปัจจุบันอดีตอนาคตมันเป็นสายน้ำ มันไม่ใช่หยดน้ำ มันติดต่อต่อเนื่อง หยดน้ำ ไม่ได้ บางทีนานๆ หยดมันก็เเห้ง ทุกๆ คน ถ้าเราปฏิบัติมันจะเก่งทุกคน จะฉลาดทุกคน ที่มันไม่เก่งไม่ฉลาด เเล้วก็ไม่ได้เข้าสู่ อีคิว และ อาร์คิว เพราะมันยังเปิดโอกาสให้มารอยู่
มาร คือผู้ขวางความดี ขัดขวางหนทางของการสร้างบารมี คอยล้างผลาญทำลายความดีของมนุษย์ แล้วชักนำให้คนกระทำในสิ่งที่เป็นบาปอกุศล พอกพูนอาสวกิเลสให้หนาแน่นยิ่งขึ้นขณะเดียวกันก็ขวางกั้นไว้ไม่ให้ทำความดีได้เต็มที่ ทำให้มนุษย์ยากที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมานในสังสารวัฏ ในศาสนาต่างๆ มีการเรียกชื่อและให้ทัศนะเกี่ยวกับเรื่องมารเอาไว้มากมายในทางพระพุทธศาสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ว่า มารคือผู้ขัดขวางความดีนี้ มีอยู่ ๕ ประเภทด้วยกัน ก็คือ
ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นมารร้ายทีเดียว เพราะบางครั้งก็ทำความลำบากให้กับเรา เช่น เมื่อตัวร้อนเป็นไข้ ปวดหลัง ปวดท้อง ปวดฟัน และโรคต่าง ๆสารพัด แทนที่เราจะได้ใช้เวลาที่มีอยู่นี้ไปกับการสั่งสมความดีให้เต็มที่ ก็ต้องเสียเวลาไปกับการเยียวยารักษาบริหารขันธ์
กิเลสมาร มารคือกิเลสที่ฝังติดแน่นอยู่ในใจของเรามานับภพนับชาติไม่ถ้วนอสาสวกิเลสเหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็นมาร เพราะเมื่อใจตกอยู่ในอำนาจของกิเล คือความโลภ ความโกรธ และความหลงนี้แล้วสิ่งใดที่ไม่เคยคิดก็เผลอคิด เรื่องอะไรที่ไม่ดีซึ่งเราไม่เคยพูด ไม่เคยทำ ก็หลงไปทำ กิเลสทำให้เกิดกรรม เมื่อเกิดกรรมก็มีวิบากมารองรับ ชีวิตจึงต้องเวียนวนอย่างไม่รู้จักจบสิ้น กิเลสเหล่านี้ผูกยึดสัตว์เอาไว้ในภพสาม ทำให้ไม่สามารถไปสู่พระนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของเราได้
อภิสังขารมาร อภิสังขาร คือ กรรมฝ่ายวิบากอกุศล เป็นอปุญญาภิสังขารที่ปรุงแต่งผลบาปอันเผ็ดร้อน ซึ่งเราอาจจะเคยทำกรรมไม่ดีเอาไว้ในอดีต แล้วตามมาส่งผลในภพชาติปัจจุบัน คอยเป็นมารขัดขวางเราไม่ให้ประสบความสำเร็จในชีวิตบ้าง ได้รับความไม่สบายกาย ไม่สบายใจบ้าง
มัจจุมาร มารคือความตาย การมีชีวิตที่ยืนยาวและได้สร้างบารมีนั้น นับว่าเป็นผู้มีบุญลาภอันประเสริฐทีเดียว แต่ถ้าเกิดมาไม่กี่ปีก็ถูกมัจจุราชพรากเอาชีวิตไป ต้องละจากโลกนี้ไปเสียแล้ว ทำให้ต้องสูญเสียโอกาสที่จะทำความดีอย่างอื่นอีกมากมาย ฉะนั้น การที่ความตายมาคร่าชีวิตเราไปก่อนที่จะสร้างบารมีได้เต็มเปี่ยม ยังไม่ทันทำกิเลสอาสวะให้เบาบางเลย ก็ต้องตายเสียก่อนแล้ว ตรงนี้แหละ ท่านเรียกว่าเป็นมารมาขัดขวางเรา
เทวปุตตมาร หรือเทพบุตรมารท่านหมายเอาตั้งแต่บุคคลที่อยู่ใกล้ตัว ที่คอยขัดขวางไม่ให้เราทำความดี บางครั้งอาจเป็นสามี ภรรยาของเราเอง หรือเพื่อนฝูงเรา ที่มาขัดขวางการให้ทาน ไม่อยากให้รักษาศีล หรือขณะนั่งสมาธิก็มารบกวนทำเสียงดัง ทำให้ไม่มีสมาธิในการนั่งสมาธิต่อไป หรือบางครั้งเราอาจจะเป็นเทพบุตรมารต่อคนอื่นก็มี คือเราเผลอไปรบกวนหรือขัดขวางคนกำลังปฏิบัติเข้าโดยไม่ได้ตั้งใจ
มารทั้ง ๕ ประการนี้ ปรากฏให้เห็นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน เพียงแต่เราอาจไม่ทันสังเกต หรือมีความชาชินกับอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ไปเสียแล้ว ดังนั้นจึงต้องนำมาชี้ นำมาแสดงให้ได้ทราบว่า ที่เรียกว่ามาร มิใช่มีเฉพาะกิเลสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีทั้งขันธมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร และเทวปุตตมาร
ทุกๆ คน ถ้าเราปฏิบัติมันจะเก่งทุกคน จะฉลาดทุกคน ที่มันไม่เก่งไม่ฉลาด เเล้วก็ไม่ได้เข้าสู่ อีคิว และ อาร์คิว เพราะมันยังเปิดโอกาสให้มารอยู่ เพราะเรามองเห็นว่าอย่างพวกที่ปฏิบัติดีๆ พวกที่เคยเป็นเสือเป็นกระทิงเป็นจงอางมาบวชมันมาพลิกเป็นคนดี มาบวชเวลาสึกไปเเล้วไม่กี่เดือนไม่กี่ปีมันก็กลับไปอย่างเก่า ที่มันหายหน้าหายตาไม่มาวัด คือมันเสื่อม ทุกๆคนอาการของจิต หรือวาระจิตของเรามันยังเป็นโลกีย์อยู่ เราต้องปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องเพื่อเราจะได้เที่ยงเเท้เเน่นอนต่อมรรคผล ต่อพระนิพพาน คนเราต้องอาศัยฝึกติดต่อต่อเนื่อง อย่าเป็นเหมือนลูกคนรวย พ่อเเม่โง่ไม่ฉลาดปล่อยให้ลูกตามใจ ไม่บังคับ เมื่อมันโตเเล้วลูกติดสุขติดสบายติดตามใจ เมื่อกิเลสสวมรอยเข้าเยอะๆ ทีนี้ยิ่งกว่าตาลยอดด้วน
เราต้องเห็นความสำคัญในจิตในเรื่องวาระจิต เราต้องจัดการกับเรา ปกติเราทุกคนมันก็ไม่มีเรื่องอะไรเยอะอยู่เเล้ว เพราะมันเดินไปเดินมาหายใจเข้ามีความสุข ทำงานอะไรก็มีความสุขในปัจจุบัน เเต่ถ้าเราเอาปัจจุบันมาพิจารณาสู่พระไตรลักษณ์ มันก็ฉลาดขึ้น มันจะเด่นขึ้น มันจะเย็นขึ้น ความโง่ ความอะไร มันจะมาเเทรกยาก เพราะวาระจิตของคนเราอย่างเดียว ขอให้เป็นคนซื่อสัตย์ เป็นคนรับผิดชอบ เราอย่าไปหลงกงจักรเป็นดอกบัว อย่าไปหลงในความสุขที่เป็นมนุษย์รวย หรือเป็นเทวดา ที่อยู่บนวิมานเหมือนคนเค้าเป็นกัน เค้าเรียกว่าอบายมุขอบายภูมิ ยินดีในการกินอาหารอร่อย ยินดีในการเที่ยวทะเล ไปเที่ยวประเทศโน่นประเทศนี้ ยินดีในการมีบ้านหรูรถหรูโก้ อันนี้ยังไม่ใช่ มนุษย์เรามันต้องฉลาดกว่านี้ ต้องมีไว้เป็นยารักษาโรค มันต้องพัฒนา
เราอย่าไปคิดเเบบโง่ๆ คิดว่า โอ้... เรามาทรมานใจของเราให้ตัวเองเป็นทุกข์ไปทำไม มันจะเป็นอัตตกิลมถานุโยคหรือเปล่าน้อ... นี้มาถือศีล ๕ มาถือศีล ๘ เเล้วมาถือศีลเอามรรคผลนิพพาน บางทีพญามารในใจมันก็จะเทศน์สั่งสอน พระนิพพานอยู่ที่ไหน มีใครบ้างไปพระนิพพาน เพราะความเป็นมิจฉาทิฏฐิของเรา ความคิดอย่างนี้มันถึงมีความสงสัยว่า ตายเเล้วเกิด หรือตายเเล้วสูญ เพราะเราไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุเกิดทุกข์ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติถึงการดับทุกข์
ให้เราเข้าใจ เราต้องบังคับตัวเองนะ เช่น เป็นพระเรากลับไปที่พัก ไปนั่งสมาธิให้ใจสงบ เเล้วก็นอน อย่าไปทำเหมือนฆราวาส อยู่ไปเรื่อยๆ เล่นโทรศัพท์ไป เล่นคอมพิวเตอร์ไป นั้นมันเสีย เค้าเรียกว่า คนไม่เห็นการบังคับตน อย่างทหารที่เรื่องหยาบๆ เค้ายังมีระเบียบ ถึงเวลาสามทุ่มเปิดเเตรให้นอน ให้ไม่นอน คุยกัน ยังให้มาวิ่งนอกสนาม ทหารรุ่นเก่า ทหารเเต่ก่อนมีระเบียบ ไม่พากันเล่นโทรศัพท์เหมือนทุกวันนี้ ไม่พากันสูบบุหรี่เหมือนทุกวันนี้ เค้าถึงมีระเบียบ มันถึงไปรบสู้เค้าได้ ทหารตำรวจทุกวันนี้ไปรบกับใครได้ ตัวเองยังเอาตัวเองไม่รอดเลย
เราต้องเห็นความสำคัญในจิตในเรื่องวาระจิต เราต้องจัดการกับเรา จิตมาจากอาการของขันธ์ทั้ง ๕ ที่ทำหน้าที่ของเขา ตาก็ทำหน้าที่ของเขาคือเห็น หูก็ทำหน้าที่ในการฟัง ถ้าเรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง เราก็จะได้พัฒนาจิตให้ดี ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเขาไม่ได้พัฒนาจิตเลย ปล่อยไปตามสัญชาตญาณ แถมยังเร้าใจเร้าอารมณ์ ยังไปเสพสมอารมณ์นั้นๆ เพราะการเสพเริ่มจากจิตนี้แหละไป กรรมต่างๆ มาจากที่ผัสสะไม่มีปัญญา ผัสสะไม่มีสัมมาทิฏฐิ จิตไม่มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อจิตไม่มีสัมมาทิฏฐิ มันก็เอากายวาจาใจนี้ไป ไปสร้างบาปสร้างกรรมสร้างเวรสร้างภัย แล้วก็เห็นเป็นเรื่องดี เห็นผิดเป็นถูก มีแต่จะสร้างปัญหา การกระทำของเรา การเดินทางของเรา คือ ที่สุดแห่งความไม่มีทุกข์ เรียกว่า พรหมจรรย์
ร่างกายของเรานี้ต้องมีส่วนประกอบคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มันจะมารวมกัน มารวมกันเป็นหนึ่ง ที่เรียกว่ามารวมกันเป็นใจ มันอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย และก็สัมผัสจิต ทำให้เกิดจิต เมื่อใจของเรา ที่ยังมีอวิชชา มีความหลงอยู่ จิตของเรายังไม่ได้เป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าใจของเรามีสัมมาทิฏฐิอย่างนี้ ใจของเราก็จะมีปัญญา เมื่อเรายังไม่ตาย ยังไม่หมดลมหายใจ จิตใจของเราย่อมมีจิต พระพุทธเจ้าท่านถึงให้เราพิจารณาร่างกาย แยกร่างกายเป็นชิ้นส่วน เพื่อใจของเราจะได้มีปัญญา เพราะ เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันต้องเกิดผัสสะ ใจของเรามันจะได้เป็นพุทธะ อย่างพระพุทธเจ้าเรียกว่า พุทธจิต อย่างพระอรหันต์ เขาก็เรียกว่า กิริยาจิต การประพฤติ การปฏิบัติ เน้นการประพฤติ การปฏิบัติที่ปัจจุบัน
ลักษณะของจิต จิต คือ สภาวะรู้สิ่งต่างๆ ทางตา หู จมูก สิ้น กาย และใจ โดยผ่านทวารหรือประตู ๖ บาน เหมือนคนอยู่ในบ้านมองดูสิ่งที่อยู่นอกบ้านผ่านประตู การรู้สึกผ่านตาเป็นการเห็น การรูเสียงผ่านหูเป็นการได้ยิน การรู้กลิ่นผ่านจมูกเป็นการรูกลิ่น การรู้รสผ่านลิ้นเป็นการลิ้มรส การรู้สิ่งที่สัมผัสผ่านร่างกายเป็นการสัมผัส และการรับรู้ทางใจเป็นการนึกคิด
จิตมีธรรมชาติประภัสสร คือ ผุดผ่องตามปกติเหมือนน้ำใสสะอาด เพราะเป็นเพียงสภาวะเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และนึกคิดเท่านั้น ปราศจากการปรุงแต่งหรือตอบสนองต่อสิ่งที่พบอยู่ แต่จิตนั้นต้องประกอบร่วมกับนามธรรมอีกอย่างหนึ่งเสมอ ชื่อว่า เจตสิก คือ สภาวะปรุงแต่งจิต ดังนั้น จิตจึงเศร้าหมองไปด้วยอำนาจของเจตสิกฝ่ายดำ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ เป็นตัน เหมือนน้ำใสสะอาดที่ขุ่นมัวด้วยโคลนตม ตัวอย่างเช่น ในขณะเห็นสีอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตของทุกคนจะทำหน้าที่รู้สีเป็นอารมณ์ แต่โลภะทำให้รู้สึกชอบสิ่งที่เห็น โทสะทำให้ไม่ชอบสิ่งนั้น เจตสิกฝ่ายดำมักทำให้เสียศูนย์ขาดความเป็นกลางอยู่เสมออย่างนี้หลอกล่อให้หลง ยั่วยวนให้รัก พอใจหรือไม่พอใจตามการปรุงแต่งของแต่ละคน และเพิ่มพูนกิเลสมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนดินพอกหางหมู จิตที่มิได้อบรมไว้ดีย่อมทำให้เหล่าสัตว์ติดอยู่ในบ่วงกิเลส ส่วนจิตที่อบรมดีแล้วย่อมส่งผลให้เป็นอิสระหลุดพ้นได้โดยพลัน
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่พระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง ครั้งหนึ่งมีบุตรเศรษฐีผู้หนึ่งอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้สอบถามพระภิกษุผู้ไปรับบิณฑบาตที่บ้านของเขาว่า หากเขาต้องการจะพ้นทุกข์เขาควรจะทำอย่างไร พระภิกษุรูปนั้นได้แนะนำเขาให้แบ่งสมบัติออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนหนึ่งใช้ในการดำเนินธุรกิจ ส่วนหนึ่งใช้เลี้ยงบุตรและภรรยา และอีกส่วนหนึ่งใช้ในการทำทาน บุตรเศรษฐีได้ปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น และต่อมาเขาได้เรียนถามพระภิกษุรูปเดียวกันนั้นอีกว่า เขาควรทำอะไรอีกต่อไป พระภิกษุนั้นบอกว่า ข้อที่ 1. ให้ถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง และให้รักษาศีล 5 ข้อ 2. ให้รักษาศีล 10 และ ข้อที่ 3. ให้สละโลกออกบวชเป็นภิกษุ บุตรเศรษฐีได้ปฏิบัติตามคำแนะนำนั้นและได้บวชเป็นพระภิกษุในที่สุด
เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว อาจารย์รูปหนึ่งสอนท่านในเรื่องพระอภิธรรม ส่วนอีกรูปหนึ่งก็สอนในเรื่องพระวินัย เมื่อท่านถูกสอนแบบนี้ ท่านก็มีความรู้สึกว่าต้องมาศึกษาเล่าเรียนมาก ต้องรักษาพระวินัยที่เคร่งครัดและต้องรักษาศีลหลายข้อด้วย จนท่านไม่มีเวลาแม้แต่ “จะเหยียดมือ” ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เกิดความกระสันอยากสึก หมดความยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีความสุข และไม่ยอมทำการสาธยายในอาการ 32 และไม่ยอมศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ไม่ทำการสาธารยายธรรม ไม่เล่าเรียนพระปาฏิโมกข์ กินไม่ได้นอนไม่หลับจนร่างกายผ่ายผอม ซูบซีด เนื้อตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็นถูกความเกียจคร้านครอบงำ หมดความเพียร ไม่ยอมทำกิจกรรมใดๆ ปล่อยร่างกายให้สกปรกเศร้าหมอง
เหล่าเพื่อนภิกษุและสามเณรเห็นดังนั้น จึงพากันไปบอกพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ เมื่อท่านทราบเรื่องทั้งหมดแล้วจึงพาภิกษุหนุ่มผู้อยากสึกไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องทั้งหมดแล้ว จึงตรัสถามว่า “ภิกษุ ถ้าเธอรักษาเพียงสิ่งเดียวได้ แล้วสิ่งอื่นไม่ต้องรักษาอีกเลย เธอจะทำได้ไหม?” “อะไร? พระเจ้าข้า”
“เธอจะรักษาจิตของเธอ ได้ไหม” “อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า”
พระศาสดาจึงประทานโอวาทว่า “ถ้าอย่างนั้น เธอจงรักษาจิตของเธอไว้ เธออาจพ้นจากทุกข์ได้” แล้วพระองค์ตรัสเป็นคาถาว่า
“สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถ กามนิปาตินํ จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ.
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยากละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่, (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้.”
บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาตินํ ความว่า มักไม่พิจารณาดูฐานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้น ตกไปในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะที่พึงได้หรือไม่พึงได้ สมควรหรือไม่สมควร.
บาทพระคาถาว่า จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี ความว่า คนอันธพาลมีปัญญาทราม ชื่อว่าสามารถรักษาจิตของตนไว้ได้ ย่อมไม่มี. เขาเป็นผู้เป็นไปในอำนาจจิต ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย: ส่วนผู้มีปัญญา คือเป็นบัณฑิตเทียว ย่อมอาจรักษาจิตไว้ได้. เพราะเหตุนั้น แม้เธอจงคุ้มครองจิตไว้ให้ได้; เพราะว่า จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ คือย่อมนำมาซึ่งสุขอันเกิดแต่มรรคผลและนิพพาน ดังนี้.
เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ภิกษุหนุ่มรูปนั้นก็ได้บรรลุพระโสดาบัน และชนเหล่าอื่นเป็นอันมากก็ได้บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น พระสัทธรรมเทศนา เป็นประโยชน์แก่มหาชน
จะเห็นได้ว่า คำสอนในพระพุทธศาสนาทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แท้จริงแล้วมารวมอยู่ที่ความสำรวมระวังรักษาใจของตนนั่นเอง เพราะเมื่อเรารักษาใจไว้ดีแล้วก็ย่อมสามารถควบคุมกาย วาจา และตรองตามคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ทั้งหมดโดยปริยาย และเมื่อเกิดความเข้าใจ ก็ย่อมมองเห็นหนทางที่จะฝึกฝนตนเองให้บริสุทธิ์ สะอาด จนกระทั่งเข้าถึงความดับทุกข์ได้ในที่สุด
เราจะเป็นพระเป็นนักบวชเป็นประชาชนเราก็ประพฤติปฏิบัติได้หมด เรามันเจ็บปวดขนาดไหน มันเกิดแก่เจ็บตายทำให้เรามีหนี้มีสินทำให้เราต้องไปสู่อบายภูมิ เพราะการดำรงชีวิตเรามันเป็นอบายมุข เพราะความเห็นแก่ตัวเราต้องพากันรู้จักจิต เราต้องให้จิตของเรามีปัญญาอย่าไปหลง ต้องใจเข้มแข็ง เอาตัวเองมาประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน เพราะว่าเราก็สงสารตัวเองสงสารคนอื่นทั่วไปหมด มันเป็นความพินาศความฉิบหายที่เราไม่เห็นถูกต้องไม่เข้าใจถูกต้อง เรายังไม่เข้าใจความดับทุกข์ที่แท้จริง เราเอาเพียงสวรรค์เพียงความสุขความสะดวกความสบาย เราดูตัวอย่างประเทศที่เจริญแล้ว เอาแต่วัตถุหรือเอาแต่อารมณ์ต่างๆ เป็นแค่สวรรค์ เราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สวรรค์เราก็ต้องผ่านอยู่แล้ว เราต้องใจเข้มแข็ง เพราะเทวดาจะเกิดมาเป็นมนุษย์มันไม่ได้ เพราะใจมันตกต่ำ มันหลงประเด็น
เราถึงรู้จักอาการของจิตใจ แต่ไม่รู้จักตัวเองหรอก ปล่อยให้ตัวเองคิดไป ไม่มีระเบียบในการคิด ว่า อันนี้คิดไม่ได้ อันนี้ตามอารมณ์ไม่ได้ อันนี้คนคิดอย่างนี้มันไม่มีระเบียบในการคิด มันเหมือนเด็กไม่รู้จักไฟ มันไม่รู้จักไฟ ไปจับมันก็ร้อน เขาเรียกว่าไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เราทุกคนมาใช้สังขารร่างกายนี้ส่วนใหญ่ไม่เกินร้อยปีก็ต้องจากโลกนี้ไป เราจะได้พัฒนาเผ่าพันธุ์มนุษย์ เราจะพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ไม่เป็นบาป พัฒนาทั้งใจหรือว่าจิตของเรานี้ไป ชีวิตของเราต้องดีต้องสง่างาม
เพราะคนเราไม่ตายมันต้องเป็นอย่างนี้ๆ น่ะ เราจะไปเร้าใจของเราทำไม เร้าอารมณ์ของเราทำไม เราทำไปปฏิบัติไป เดินไปทีละก้าว ทานข้าวไปทีละคำ นำตัวเองออกจากวัฏสงสาร ทำไปอย่างนี้ๆ จากพ่อไปสู่ลูก จากลูกไปสู่หลานเหลน โลกมันก็จะน่าอยู่ ไม่ใช่พากันตกนรก เปรียบเสมือนคนมีหูก็อันตราย มีตาก็อันตราย พระพุทธเจ้าถึงสอนชฎิลสามพี่น้องว่า ตาก็เป็นไฟ หูก็เป็นไฟ จมูกลิ้นกายใจก็เป็นไฟ เพราะเราไม่รู้จัก เราไม่มีสัมมาทิฏฐิ เราก็ตามอารมณ์ตามอะไรไป อย่างนี้เราก็อันตราย เราต้องพัฒนาจิตใจของเราไป คนไม่มีพลังสิ่งภายนอกก็ดึงไป เพราะภาคปฏิบัติของเรายังอ่อนอยู่ รู้อยู่แต่มันยังทำไม่ได้ แสดงว่าการประพฤติปฏิบัติของเรามันยังไม่ชำนาญ สติสัมปชัญญะเรายังไม่พอ ใจของเรายังเข้มแข็งไม่พอ ต้องอาศัยการอาศัยเวลา ถ้าอย่างนั้นเราจะมีประโยชน์อะไรที่เกิดมาเป็นมนุษย์ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ เราก็เสียชาติเกิดที่ประเสริฐ
พระต้องพากันฝึกต้องเองนะ เณร เเม่ชีก็ต้องพากันฝึกต้องเอง มาอยู่วัดก็ฝึกที่วัด เเล้วกลับไปบ้านก็ไปฝึกที่บ้าน คนเราต้องนอนเป็นระเบียบ ถึงสองทุ่มสามทุ่มก็นอน ประชาชนก็นอน เพราะประชาชนก็ต้องพากันนอนหกชั่วโมง-เเปดชั่วโมง ถ้าถึงตีหนึ่งจะเข้าห้องสุขาก็อย่าไปคิดอะไร ถึงตีสี่ตีห้า ถึงลุกขึ้นมากราบพระไหว้พระ สำหรับประชาชน เเต่พระไปนอนตื่นสายเหมือนประชาชนไม่ได้ ตีสองกว่าตีสามต้องลุกขึ้นเเล้ว เราต้องเอาความสุขจากใจ เพราะความสุขจากใจมันจะไม่ปรุงเเต่ง มันจะหยุดความปรุงเเต่ง สมองเรามันจะได้ไม่ฝันทั้งกลางวันกลางคืน เพราะใจเป็นหนึ่ง ใจมันนิ่ง นิ่งเเล้วก็จะง่วง เราก็อย่าไปตามง่วง พอจิตของเราเข้าสู่ความเป็นหนึ่งอย่างนี้ เพื่อเราจะเข้าสมาธิได้ ใจของเราจะได้ว่าง อย่าไปกลัวเเต่นอนไม่อิ่มไม่พอ เอาเเต่ง่วงเอาเเต่หลับไม่ได้ มันไม่ได้ฝึก ต้องบังคับตัวเองอย่างนี้นะ บังคับอย่าไปชักช้าโอ้เอ้ ทำอะไรมันจะได้พากันฝึก เพราะไม่มีใครมาฝึกให้เรา เราต้องพากันประพฤติพากันปฏิบัติ เราอย่าไปเผลอ ไปฟุ้งซ่านเอาใหม่ กลับมาหายใจชัดเจน หายใจออกชัดเจน เอาใหม่ ยิ่งมันเคลิ้มๆไป เอาใหม่ เดี๋ยวมันจะสงบมันก็จะไปอีกเเล้ว มันไปวิพากษ์วิจารณ์ มันไม่ได้เข้าถึงเอกัคคตา มวยเรายังไม่ช่ำชอง เราจะไปเอาเเต่มวยการ์ดมวยเชิงอยู่ไม่ได้ เราต้องมีปัญญาด้วยถึงกระตือรือร้นด้วยถึงจะฝึกตน นี้เราประเสริฐมาขนาดในเรามีลมหายใจอยู่ เราเป็นผู้ประเสริฐเเล้ว เราต้องพัฒนาตนปฏิบัติตน พวกความใจอ่อน ใจไม่รับผิดชอบ ต้องให้สูญพันธุ์ไปจากเรา ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะฉายหนังม้วนเก่าอยู่อย่างนี้แหละ
ชีวิตของเราต้องเอาความถูกต้องเป็นเดิมพัน เอาความเป็นธรรม เอาความยุติธรรม เอาพระวินัย เป็นเดิมพัน ต้องเสียสละ เพื่อพัฒนาสร้างอริยมรรค เพื่อตัดซึ่งตัวซึ่งตน ที่มันนำทุกๆ คนให้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะสงสาร ให้เข้าถึงธรรม ถึงปัจจุบันธรรมให้ได้ในในปัจจุบัน ต้องมีจิตใจที่โดดเด่น จิตใจที่ไม่มีอะไรครอบงำได้ มีแต่ธรรมะ มีแต่สภาวะธรรมที่ปราศจากตัวตน ให้ทุกท่านทุกคนพากันประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ เราไม่ต้องไปเปิดช่องเปิดโอกาสให้มารเหมือนแต่ก่อน ในโลกนี้เราไม่มีอะไรที่จะน่ากลัว เพราะว่าเราเดินตามรอยของพระพุทธเจ้า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จิตใจของเราย่อมสง่างามโดดเด่นด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา
ให้พลันได้ซึ่งการตัด ตัวตัณหาอุปาทาน สิ่งชั่วในดวงใจ จนกว่าจะถึงนิพพาน ให้มลายสิ้นจากสันดาน ในทุกๆ ภพที่เกิด ให้เป็นผู้มีจิตตรงและสติปัญญาอันประเสริฐ พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลายจนเป็นช่องประทุษร้ายทำลายล้ายความเพียรจม ขอพระพุทธผู้บวรนาถ พระธรรมที่พึ่งอุดม พระปัจเจกพุทธะ สมทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง ด้วยอานุภาพนั้น ขอหมู่มารอย่าได้ช่อง ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง อย่าเปิดโอกาสให้แก่มารเทอญ ฯ