แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันจันทร์ที่ ๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พรรษาแห่งการตื่นรู้ ตอนที่ ๔๔ เพียรต่อเนื่องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อหยุดความขัดข้องวุ่นวายในใจ
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
พระพุทธเจ้าให้เรามีความเห็นถูกต้องเข้าใจถูกต้อง เพื่อปฏิบัติถูกต้องในชีวิตประจำวัน ตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพราะชีวิตของมนุษย์หากปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี้ ทุกข์ทางใจจะมันจะไม่มี ที่มันมีทุกข์เพราะไม่รู้ ทุกท่านทุกคนนั้นไม่รู้อริยสัจ ๔ ที่เราเวียนว่ายตายเกิด เพราะเราไม่รู้อริยสัจ ๔ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ ไม่รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ เราถึงเวียนว่ายตายเกิด ชีวิตของเราในปัจจุบัน ต้องมีความเห็นถูกต้อง สัมมาทิฏฐิถึงอยู่ในอริยมรรคทุกข้อเลย ที่จริงเราทุกคนมันไม่มีเรื่องอะไรหรอก เเต่เพราะความไม่รู้เราเลยพากันไปสร้างเรื่องสร้างปัญหา เพราะใจของเรามันคิดได้ทีละอย่าง เมื่อเรามีความเห็นไม่ถูกต้องมันก็คิดผิด มันเลยทำผิด เรามีตาเป็นวัสดุพอดี ตาเพื่อให้เรารู้ว่าสิ่งไหนปลอดภัยไม่ปลอดภัย หูก็เหมือนกันให้มันรู้ว่าอันไหนปลอดภัยไม่ปลอดภัย เเล้วก็รับรู้สื่อสารกับสิ่งภายนอก จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เหมือนกัน
ลักษณะของจิต จิต คือ สภาวะรู้สิ่งต่างๆ ทางตา หู จมูก สิ้น กาย และใจ โดยผ่านทวารหรือประตู ๖ บาน เหมือนคนอยู่ในบ้านมองดูสิ่งที่อยู่นอกบ้านผ่านประตู การรู้สึกผ่านตาเป็นการเห็น การรูเสียงผ่านหูเป็นการได้ยิน การรู้กลิ่นผ่านจมูกเป็นการรูกลิ่น การรู้รสผ่านลิ้นเป็นการลิ้มรส การรู้สิ่งที่สัมผัสผ่านร่างกายเป็นการสัมผัส และการรับรู้ทางใจเป็นการนึกคิด
เปลวเทียนต้องอาศัยไส้เทียนในการลุกไหม้ฉันใด จิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีที่ตั้งให้อาศัยเกิดฉันนั้น ฉะนั้นที่ตั้งอันเป็นที่ให้อาศัยเกิดของจิตมี ๖ แห่ง คือ
๑. ประสาทตา (จักขุปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) ประสาทตานี้มิได้หมายถึงดวงตาหรือลูกตาทั้งลูก แต่หมายเฉพาะประสาทตา ที่อยู่กลางตาดำมีขนาดประมาณเท่ากับศีรษะของเหา จักขุปสาทนี้จะซึมซาบอยู่ที่เยื่อตาบางๆ ๗ ชั้น มีความสามารถในการรับคลื่นแสง (รูปารมณ์) ที่มากระทบ
๒. ประสาทหู (โสตปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตได้ยิน (โสตวิญญาณ) อยู่ภายในช่องหู มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายวงแหวน และมีขนอันละเอียดอ่อนสีแดงปรากฏอยู่โดยรอบ มีความสามารถในการรับเสียง (สัททารมณ์) ที่มากระทบ
๓. ประสาทจมูก (ฆานปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตรู้กลิ่น (ฆานวิญญาณ) อยู่ภายในช่องจมูก มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ มีความสามารถในการรับกลิ่น (คันธารมณ์) ที่มากระทบ
๔. ประสาทลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของจิตลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ) อยู่ตรงกลางลิ้น มีลักษณะเหมือนปลายกลีบดอกบัวเรียงรายซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีความสามารถในการรับรส (รสารมณ์) ที่มากระทบ
๕. ประสาทกาย (กายปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตที่รับสัมผัสทางกาย (กายวิญญาณ) ประสาทกายนี้จะเกิดอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นที่เส้นผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก และบริเวณที่มีหนังหนาด้าน มีลักษณะคล้ายสำลีที่แผ่บางๆ ชุบน้ำมันจนชุ่มซ้อนกันหลายๆชั้น มีความสามารถในการรับความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง (โผฏฐัพพารมณ์) ที่มากระทบ
๖. หทัย (หทัยรูป) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ ได้แก่จิตที่ไม่ได้อาศัยปสาทรูปทั้ง ๕ ข้างต้น ที่เกิดอยู่ภายในช่องเนื้อหัวใจ มีลักษณะเหมือนบ่อ มีโลหิตอันเป็นน้ำหล่อเลี้ยงหัวใจบรรจุอยู่ประมาณกึ่งซองมือ (วิธีวัด คือให้ห่อฝ่ามือนิ้วเรียงชิดติดกัน นำน้ำมาใส่บรรจุไว้ในฝ่ามือปริมาตรน้ำประมาณครึ่งหนึ่งนั้นเท่ากับกึ่งซองมือ) มีสัณฐานโตประมาณเท่า เมล็ดในดอกบุนนาค เป็นรูปอันเป็นที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ
อำนาจของจิต หรือ วิญญาณ นี้ นอกจากจะเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ตามที่ทราบแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประธานในธรรมทั้งปวง คือ การงานต่างๆ ทั้งทายกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่ว่าจะเป็นบุญ (กุศลกรรม) หรือเป็นบาป (อกุศลกรรม) จะสำเร็จได้ก็ด้วยจิตทั้งสิ้น ดังในธรรมบทที่แสดงไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺนา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ซึ่งก็หมายความว่า ธรรมทั้งหลายมีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยจิต จิต นี้ แม้จะเป็นนามธรรมที่ไม่มีรูปร่างตัวตน และแสดงความรู้สึกอยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่ก็มีอำนาจวิเศษอย่างน่าอัศจรรย์และวิจิตรพิสดารยิ่งนัก กล่าวคือ
๑. มีอำนาจในการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย การพูด การเคลื่อนไหว การกระทำต่าง ๆ ตลอดจนการคิดก็เกิดขึ้นด้วยจิตทั้งสิ้น สรรพสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ เครื่องบิน ยาวอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ สิ่งก่อสร้าง ภาพวาด วิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ฯลฯ ก็ล้วนมีจิตเป็นผู้คิดขึ้นมาทั้งสิ้น
๒. มีอำนาจด้วยตนเอง คือ มีอำนาจในการทำบุญ ทำบาป ทำสมาธิถึงขั้นฌานสมาบัติ มีอำนาจในการแสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ (อภิญญา) ตลอดจนมีอำนาจในการทำลายอนุสัยกิเลสที่เป็นเหตุให้มีการเวียนว่ายายเกิดอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น
๓. มีอานาจในการสั่งสมกรรม เพราะจิตเป็นต้นเหตุให้มีการทำบาป ทำบุญ ทำฌาน อภิญญา ทำวิปัสสนากรรมฐาน กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จะถูกเก็บบันทึกเอาไว้ด้วยอำนาจของจิต
๔. มีอำนาจในการรักษาวิบาก (ผลของกรรม) กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล แม้จะนานเท่าไรก็ตาม กี่ภพกี่ชาติก็ตาม ย่อมติดตามส่งผลตลอดไปจนกว่าจะปรินิพพาน
๕. มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง การกระทำใดๆ หากกระทำอยู่บ่อยๆ กระทำอยู่เสมอๆ ก็จะฝังในจิตติดเป็นสันดาน และคิดจะทำเช่นนั้นเรื่อยไป เช่น คบคนพาลก็จะกลายเป็นคนพาล คบบัณฑิตก็จะเป็นบัณฑิต ทั้งนี้เป็นเพราะอำนาจในการสั่งสมสันดานของจิตนั่นเอง
๖. มีอำนาจในการรับอารมณ์ต่างๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ หรือปัจจุบันอารมณ์ และไม่ว่าจะเป็นบัญญัติอารมณ์ หรือ ปรมัตถอารมณ์ จิตก็สามารถรับได้ทั้งสิ้น
แม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ บาป บุญ ที่ทำไว้ และอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน จะไม่สูญหายไปพร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้ เพราะจิตดวงใหม่มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให่แก่จิตดวงต่อไป เพื่อสืบต่อ บาป บุญ และกิเลสที่สั่งสมไว้ไปจนกว่าจะปรินิพพาน
ทุกอย่างเป็นเพียงอุปกรณ์สำหรับให้เราได้ประพฤติได้ปฏิบัติทุกท่านต้องพากันรู้จัก เราจะรู้จักกับทุกข์ชัดเจน เราจะได้ปฏิบัติตามกฏของธรรมะ คนเราไม่ได้ไปตามธรรมะ เราจะเอาตัวตนเป็นหลักเป็นที่ตั้ง ทีนี้ปัจจุบันเรามีเครื่องอยู่กับงานของเรา มันจะเเยกย่อยได้เเปดอย่างในชีวิตประจำวัน มันเกี่ยวข้องกับอะไรก็ปฏิบัติอย่างนั้นให้ถูกต้อง ถ้าไม่มีอะไรก็ให้เอาอานาปานสติ หายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน เพื่อที่จะใช้สมองเท่าที่จำเป็น สมองเรามันจะไม่ได้เสียเยอะ คนเรามันต้องอยู่กับสิ่งไหนที่ไม่เกิดนิวรณ์ อานาปานสติไม่เกิดนิวรณ์ เพราะเป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์ มันเป็นอาหารของใจที่ไม่มีนิวรณ์
หลวงพ่อกัณหาเคยอยู่กับอาจารย์ชา เวลาเค้าเอาคนบ้า เอาคนเป็นวิปลาส สังเกตดูอาจารย์ชาท่าน ท่านจะมีอุบายของท่าน สมัยโบราณจะมีกล่องไม้ขีด ท่านจะทำกล่องไม้ขีดร่วง ให้คนเป็นโรคฟุ้งซ่าน โรควิปลาสไปเก็บก้านไม้ขีด เก็บๆ ก็นับดูว่ามีกี่ก้าน จะให้นับหลายครั้ง เมื่อนับหลายครั้งเเล้วใจมันก็จะสงบ เพราะเเต่ก่อนใจมันไม่มีเครื่องอยู่ เมื่อใจไม่ได้ตามอารมณ์ไปมันอยู่กับนับ นับดีๆ อย่าให้มันหลง นับไปไม่กี่อัน ความคิดมันก็จะหลง สังเกตดูหลวงพ่อชาท่านก็ทำอย่างนั้น มันก็เเก้ปัญหาได้ คนเป็นบ้าเป็นวิปลาสฟุ้งซ่านมาก หลวงพ่อชาจะไม่ให้ไปเดินจงกรมนั่งสมาธิ ก็จะให้ทำงานกวาดวัด ทำความสะอาด ให้ใจนี้อยู่กับงาน ไม่ให้ไปนั่งสมาธิเดินจงกรม ถ้านั่งสมาธิ เดินจงกรม มันยิ่งเพิ่มอาการขึ้นอีก เพราะเรื่องจิตเรื่องใจมันเป็นของละเอียด การงานทุกอย่างถ้าเราเอามาใช้ในชีวิตประจำวัน มันจะทำให้ใจของเราสงบเย็น การทำงานท่านถึงให้ใจอยู่กับเนื้อกับตัวใจอยู่กับงาน เพราะงานมันจะทำให้ใจเราเย็น
ให้มีความสุขในการทำงาน อริยมรรคมีองค์ ๘ มันก็จะทำให้ใจของเราสงบ ใจของเราเย็นได้ เวลาเราเดินจงกรมนั่งสมาธิ เดินจงกรมนั่งสมาธิไม่มีอะไร เราเดินกลับไปกลับมาให้ใจอยู่กับตัวไม่ต้องไปคิดอะไร ให้รู้ลมหายใจเข้าให้ชัดเจนหายใจออกให้ชัดเจน ถ้าฟุ้งซ่านมาก หายใจเข้าให้เเรงๆ หายใจออกให้เเรงๆ ลมมันหยาบ ทุกท่านทุกคนใจมันก็จะเย็น เราจะไปเอาอะไรเพราะไม่มีอะไรได้ มีเเต่ผ่านมาเเล้วก็ผ่านไป เราจะโง่ไปถึงไหน พระพุทธเจ้าให้เราเสียสละในปัจจุบัน เสียสละทั้งความสุข เสียสละทั้งความทุกข์ เสียสละทุกอย่าง มันถึงจะเป็นธรรม เป็นปัจจุบันธรรม ทำอย่างนี้ อย่าไปตามความคิดไป
สำนักที่ประเทศพม่า สมองเค้าคิดมากมันคุมไม่อยู่ เค้าถึงเอาใจมันไว้ที่ท้อง ท้องยุบก็รู้ชัดเจน ท้องพองก็รู้ชัดเจน มันเป็นวิธีที่จะให้ใจของเราทุกคนสงบ เพื่อจะให้เข้าถึงสติปัฏฐาน เพราะชีวิตของเรามันง่ายๆ อยู่เเล้ว เราพากันเป็นบ้าเฉยๆ ทุกวันนี้ ทุกคนอยู่ดีๆ ไปพากันไปคิดให้ตัวเองเป็นโรคประสาท เราดูดีๆ เราก็เเย่กว่าพวกสัตว์เดรัจฉานอีก เพราะสัตว์เดรัจฉานมันไม่เป็นโรคประสาท มันไม่เป็นโรคฟุ้งซ่าน มันไม่เป็นโรคซึมเศร้า พวกสัตว์เดรัจฉานมันไม่กินเหล้ากินเบียร์ มันไม่โกงกินคอร์รัปชั่น เราต้องรู้จักใจของเรา ต้องรู้จักอารมณ์ของเรา เราจะได้มีความสุขความดับทุกข์ที่เเท้จริง เพราะอันนี้ไม่เกี่ยวกับคนจนคนรวย ไม่เกี่ยวกับกับชาติกับศาสนา ไม่เกี่ยวกับอะไร มันอยู่ที่มีความเห็นถูกต้อง มีความเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้องในปัจจุบัน ชีวิตของคนเรามันมีความสุข มันดับทุกข์ทางจิตใจ มันสูงสุดกว่าทางวัตถุอีก วัตถุเราก็ต้องพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ไป เพื่ออำนวยความสะดวก สิ่งไหนมันเป็นบาปเป็นกรรม เราก็อย่าไปคิด อย่าไปกิน อย่าไปพูด
เรื่องธาตุเรื่องขันธ์เรื่องอายตนะ เค้าก็ทำหน้าที่ของเค้า เราต้องมีสัมมาทิฏฐิ เพราะถ้าเราทำอย่างนี้ มันจะเเก้ปัญหาที่สูงสุด ถ้าเราเป็นมนุษย์กลัวเป็นอะไรอย่างนี้ สิ่งที่ถูกต้อง เราต้องพัฒนาลูกพัฒนาหลานเราตั้งเเต่เด็กๆ โดยพ่อเเม่เป็นตัวอย่างเเบบอย่าง ถ้าเรามีศีลมีธรรมมีคุณธรรม ลูกหลานเค้าจะเคารพนับถือ ถ้าเราไม่มีศีลมีธรรมลูกหลานเค้าจะไม่เคารพนับถือ เพียงเเต่สงสารเรา
ความสุขความดับทุกข์ของหมู่มวลมนุษย์ ก็จะมีอยู่ในทุกหนทุกเเห่ง ที่จริงมันไม่มีอะไรวุ่นวาย เพราะใจของเราไปสร้างความวุ่นวายเพราะความไม่รู้ เหมือนพระยสะ เป็นลูกมหาเศรษฐี เดินบ่นไปว่า ที่นี่วุ่นวาย ที่นี่ขัดข้อง พระพุทธเจ้าท่านจึงบอกว่าที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง
ในพรรษาแรกหลังการตรัสรู้และประกาศธรรม พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน มีกุลบุตรผู้หนึ่งชื่อ ยสะ เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี เขาพรั่งพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณมีปราสาทอยู่ ๓ หลัง และแวดล้อมไปด้วยนางบำเรอล้วนแต่สวยงาม ทำนองเดียวกับพระผู้มีพระภาคสมัยเมื่อทรงเป็นเจ้าชายสิทธิธัตถะ
คืนหนึ่งไฟยังสว่างอยู่ ยสะหนุ่ม นอนหลับไปตื่นหนึ่งเห็นอาการวิปการต่างๆ ของนางบำเรอที่นอนอยู่ บางนางนอนน้ำลายไหล บางนางนอนกรน บางนางวางมือและเท้าอย่างน่าเกลียด ยสกุลบุตรได้เห็นอาการเช่นนั้น เนื่องด้วยคลุกคลีอยู่กับสตรีเพศเป็นเวลานานปี จึงเกิดความเบื่อหน่ายเหมือนเห็นซากศพในป่าช้าผีดิบ “อา! กามารมณ์ที่เราเคยพะวง หลงใหล เนื่อแท้น่าเบื่อหน่ายเช่นนี้เองหรือ?” เขาอุทานออกมา “ไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง เป็นเรื่องที่แล้วๆเล่าๆ ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารแห่งชีวิตเลย เกิดมาแล้วตายไปเปล่า” ยสะอุทานเช่นนี้แล้ว จึงสวมรองเท้าเดินลงจากปราสาท ปากก็พึมพำเรื่อยไปว่า “ที่นี่ขัดข้องหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ” เขาเดินเรื่อยไป โดยไม่รู้เหมือนกันว่าจะไปไหน…
จนกระทั่งปัจจุสสมัย ฟ้าสางแล้ว จึงเดินเข้าสู่ป่าอิสิปตน อากาศกำลังสดชื่น เขารู้สึกปลอดโปร่งแจ่มใส เพราะปลีกห่างจากอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมาและลุ่มหลง เขารู้สึกว่าธรรมชาติในความสุขสงบเย็นกว่าความสุขทางกามารมณ์มาก...
แลเวลาเดียวกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ซึ่งเป็นที่พึ่งของโลก กำลังจงกรมอยู่ ได้ยินเสียงว่า “ที่นี่ขัดข้องหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ” จึงหยุดจงกรม ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ แล้วตรัสออกไปว่า“ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาเถิดมานั่งที่นี่”
ยสกุลบุตรได้ยินดังนั้น มีความปลื้มใจ เพราะกำลังได้พบสิ่งที่ตนกำลังแสวงหา คือที่อันปราศจากความขัดข้องวุ่นวาย จึงถอดรองเท้า (เป็นการแสดงคารวะ) เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซึ่งเวลานั้นเขาไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นใคร แต่ดูลักษณะอาการน่าเลื่อมใส พระพักตร์เอิบอิ่ม ฉายแสงแห่งเมตตากรุณาส่อคุณธรรมภายในอันสูงส่ง...
เมื่อเขานั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามถึงสาเหตุเขาเดินบ่นมาว่า ที่นี่ขัดข้องหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ เขาได้กราบทูลพระพุทธองค์ตามความเป็นจริงทุกประการ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ดีแล้ว ยสะ เป็นลาภของเธอแล้ว ที่มีความรู้สึกอย่างนี้ มีน้อยคนนักที่จะเบื่อหน่ายในกาม มันไม่มีประโยชน์อันยั่งยืนถาวรอะไรเลย มีแต่ความวุ่นวายเป็นผล”
แลแล้วพระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถาพรรณาถึงการเสียสละ, การเว้นจากเบียดเบียน, ความสุขอันเจือด้วยกาม, โทษของกาม และอานิสงส์ของการปลีกตนออกจากกาม...
ทรงย้ำหนักใน ๒ ประการสุดท้าย คือโทษของกาม และการปลีกตนออกจากกาม โดยนัยว่า “ดูก่อน ยสะ! กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย น่าพอใจน้อย แต่มีโทษมาก มีทุกข์เป็นผลมาก โลกที่เดือดร้อน วุ่นวาย ประชาชนที่กระเสือกกระสนกันอยู่อย่างน่าอนาถใจนั้น ก็เพราะดิ้นรนหากามบำรุงบำเรอร่างกายและจิตใจอันไม่รู้จักอิ่ม เพราะกามนี่เองคนจึงต้องเกิด เมื่อเกิดแล้วก็มีแก่ เจ็บ และตายไปในที่สุด ระหว่างที่มีชีวิตอยู่นั้น ก็เต็มไปด้วยความทรมานนานาประการ เพราะการแสวงหาอาหารบ้าง ที่อยู่อาศัยบ้าง เพราะโรคภัยไข้เจ็บ เพราะทะเลาะวิวาทกันบ้าง เพราะถูกกิเลสรุมเผาบ้าง ร่างกายนี้จึงเป็นก้อนทุกข์ก้อนหนึ่ง ที่เดินไปเดินมากันขวักไขว่ ร่างกายอันเป็นที่ตั้งแห่งกาม ก่อให้เกิดกาม เร้ากามให้กำเริบนี้ มองให้ลึกซึ้งแล้วก็เหมือนถุงหนังอันบรรจุเต็มด้วยอุจจาระและอสุจิปฏิกูลนานาชนิด สุดจะพรรณาได้ มีทวารทั้ง ๙ อันเป็นที่หลั่งไหลออกแห่งสิ่งโสโครก มีกลิ่นเหม็นตามขุมขนเล่า เมื่อเหงื่อออกมาผสมด้วยฝุ่นธุลีเล็กๆที่จับอยู่ตามผิวกาย ทำให้เหนียวเหนอะหนะ มีกลิ่นสาบ รวมความว่าทั่วกายมนุษย์เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูล ดังนั้นเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สะอาด เมื่อมาถูกต้องกายนี้เข้าจึงต้องซัก ต้องฟอก เหมือนนำผ้าไปหุ้มห่อคลุมอุจจาระซึ่งซึมอยู่ตลอด...
ดูก่อน ยสะ! การเบื่อหน่ายไม่หลงรักในกาย และการปลีกตนออกห่างจากกามนั้น ทำให้ประสบความปลอดโปร่งเยือกเย็น มีภาระน้อย มีความกังวลน้อย เรื่องกามและเรื่องเกียรตินั้นเป็นสิ่งทำลายมนุษย์มากกว่าส่งเสริมให้มนุษย์หลุดพ้นจากวงเวียนแห่งความทุกข์ มันเป็นเหยื่อล่อให้คนเกี่ยวข้องพัวพันแล้วสับโขกให้เจ็บช้ำในภายหลัง เหมือนเหยื่อที่ติดอยู่กับเบ็ด ยสะเอย! ไม่เคยมีพรานเบ็ดคนใดในโลกนี้ที่ใช้เหยื่อซึ่งติดอยู่กับเบ็ดนั้นแก่ปลาด้วยความปราณีฉันใด ไม่มีกามและเกียรติใดที่จะให้ความสงบร่มเย็นแก่มนุษย์ได้อย่างปลอดภัย มันเป็นเพียงโลกามิส-เหยื่อล่อของโลกเท่านั้น”
เมื่อพระผู้มีพระภาคจ้าทรงฟอกจิตยสกุลบุตรให้ห่างกลจากความยินดีในกาม ควรรับธรรมเทศนชั้นสูงให้ได้ดวงตาเห็นธรรม เหมือนผ้าที่ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้แล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาอันเป็นหัวใจสำคัญคือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ ธรรมชาติแห่งความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์คือตัณหา ความดิ้นรนมีประการต่างๆ ความดับทุกข์ และทางให้ถึงความดับทุกข์
เมื่อจบสามุกกังสิกาธรรมเทศนา (อริยสัจ) ยสกุลบุตรก็ได้ดวงตาเห็นธรม มีแสงสว่างพลุ่งโพล่งขึ้นในดวงใจ ประดุจบุคคลไขประทีปให้สว่างโร่ขึ้นในที่มืด ฉะนั้น ต่อมาได้ฟังพระธรมเทศนาทำนองเดียวกันพระศาสดาทรงแสดงแกบิดาของตนซ้ำอีก จึงได้สำเร็จอรหัตตผล
ฝ่ายมารดายสกุลบุตร เวลาเช้าขึ้นไปบนเรือนไม่ห็นลูกจึงบอกให้สามีทราบ นางมีดวงหน้าอาบน้ำตาเพระเป็นห่วงลูก เศรษฐีทราบความนั้นก็ตกใจและมีอากรทุรนทุรายรีบให้คนใช้ออกตามหาทั้ง ๔ ทิศ ส่วนตนเองก็ออกเที่ยวตามหาด้วย เขาเตินไปตามทางไปสู่ป่าอิสิปตนะ ได้เห็นรองเท้าของลูกวางอยู่ริมทางแห่งหนึ่ง จึงเดินตามเข้าไป จึงเห็นลูกนั่งอยู่ ใกล้นักพรตอันมีลักษณะสง่างาม ผิวพรรณมีรัศมี จึงเกิดความเลือมใสตั้งแต่แรกเห็น ถวายบังคมแล้วกล่าวกับยสะลูกของตนว่า "ลูกรัก! สมณะผู้นี้เคยสนิทชิดเชื้อกับเจ้าหรือ เจ้าจึงออกมา มาสนทนาด้วยแต่เช้า?"
ยสกุลบุตรเหลียวดูพระผู้มีพระภาคหมือนให้ทรงตอบแทน เพราะตนไม่ทราบจะตอบประการใด พระผู้มีพระภาคทรงทราบอาการนั้นจึงมีกระแสพระพุทธดำรัสว่า "เศรษฐี! เราและยสะได้เป็นญาติกันแล้วโดยทางธรรม"
"ท่านหมายความว่ากระไรนะ ท่านสมณะ" เศรษฐีทูลถาม
"ดูก่อนเศษฐี! เราหมายความว่า เราและยสะเป็นญาติกันโดยคุณธรรม ความเป็นญาตินมีอยู่ ๒ ประกร คือเป็นญาติโดยสายเลือด นั่นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งเป็นญาติกันโดยคุณธรม หรือมีความดีต่อกัน เอื้อเฟื้อกัน ช่วยเหลือกันและกันให้พ้นทุกข์ เราตถาคตเป็นญาติกับบุตรของท่านในประการหลังนี้”
เศรษฐี บิดาของยสกุลบุตรได้ฟังแล้ว มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นและตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา พระศาสดาจึงทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ทำนองเดียวกับที่ทรงแสดงแล้วแก่ยสกุลบุตรให้เศรษฐีเลื่อมใสพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งในชีวิตตน และแสดงตนเป็นอุบาสกเป็นคนแรกในพระพุทธศาสนา
เศรษฐีกล่าวกับลูกชายว่า “ลูกรัก! แม่ของเจ้าร้องไห้คร่ำครวญเพราะระลึกถึงเจ้าอยู่ กลับไปบ้านเรากันเถิด เพื่อให้แม่ของเจ้าคลายโศก”
ยสกุลบุตรมองดูพระผู้มีพระภาคเป็นเชิงปรึกษา พระศาสดาจึงตรัสกับเศรษฐีว่า “ยสกุลบุตรได้บรรลุอรหัตตผลแล้วไม่ใช่ผู้ควรจะกลับไปครองฆราวาสอีก”
เศรษฐีได้ทราบดังนั้นมีความพอใจ เกิดปราโมทย์ที่บุตรชายของตนได้บรรลุอรหัตตผล-ผลอันสูงสุดที่มนุษย์จะพึงได้รับในชีวิตนี้ จึงกล่าวอนุโมทนาว่า “เป็นลาภอันประเสริฐของพ่อยสะแล้ว” และทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยยสะลูกชายให้ไปเสวยพระกระยาหารและฉันที่บ้านของตน
เมื่อเศรษฐีผู้เป็นบิดาจากไปแล้ว ยสกุลบุตรจึงทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตการอุปสมบทโดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา แต่ไม่มีคำว่า “จงทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด” เพราะพระยสะเวลานั้นได้ทำทุกข์ให้สูญสิ้นแล้วเพราะสิ้นอาสวะ
เช้าวันนั้น เมื่อเสวยภัตตาหารที่บ้านเศรษฐีบิดาพระยสะแล้ว ก็แสดงธรรมแก่มารดาและภรรยา เก่าของพระยสะ สตรีทั้งสองสรรเสริญเลื่อมใสพระธรรมเทศนาและขอปฏิญานตนถึงพระรัตนตรัย เป็นอุบาสิกาคู่แรกในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระศาสดาเสด็จกลับไปสู่ป่าอิสิปตนะดังเดิม
คนเรามันต้องทำใจให้สบาย ให้มีความสุขให้มากขึ้น ไม่ว่าพระไม่ว่าโยมเราต้องทำใจให้สบาย ให้มีความสุข เพราะว่าจิตใจของคนเรามันส่งออกข้างนอก มันโหยหวนวิ่งหาความสุข เปรียบเหมือนคนที่วิ่งตะครุบเงาตัวเอง ยิ่งวิ่งเท่าไรก็ยิ่งเหนื่อย วิ่งเท่าไรก็ไม่เจอ มันมีความวิตกวิจารณ์เรื่องเงิน เรื่องทอง เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องค่าใช้จ่าย ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในความชอบ ความชัง กลายเป็นคนใจแตก กลายเป็นคนฟุ้งซ่าน
ให้กลับมาหาตัวเอง มาดูตัวเองว่า ตัวเองนี้หายใจเข้าสบายหรือยัง ตัวเองนี้มีศีลดีไหม การประพฤติของเราดีไหม มีการเสียสละมากพอหรือยัง หรือยังเป็นคนฟุ้งซ่านอยู่ หรือยังเป็นคนจิตใจไม่หนักแน่น มันหวั่นไหวอยู่ "เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ มันเป็นการบั่นทอนความดี บั่นทอนบารมีของเรา"
คนเราต้องมีความสุขในการทำความดี ในการไม่ตามใจตนเอง คนเรามันมีความสามารถมาก มีศักยภาพมาก ถ้าไม่ตามความโลภ ความโกรธ ความหลงของตัวเอง
คนเรานี้... เปรียบกับรถที่วิ่งมาเร็วเป็นร้อยสองร้อย จะให้มันมาหยุดนิ่งเลยมันไม่ได้ คนเราถ้าไม่ได้ทำตามใจตัวเอง หัวอกมันจะแตกตาย ถ้าเป็นรถวิ่งมาเร็วหยุดไม่อยู่ เพราะเบรกมันแตก
ขอให้เราทุกท่านหนักแน่นสุขุมไว้ ให้อยู่เหนือความชอบ ความไม่ชอบ... อยู่เหนือการถอยกลับ เราต้องพัฒนาตัวเองให้ได้
ถ้าเราไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ไม่เอาพระพุทธเจ้ามาเป็นที่พึ่ง ความรู้ของเราก็ไม่ใช่พระพุทธศาสนา เป็นเพียงความรู้ของนักปรัชญา เป็นแค่นักจิตวิทยา ให้เราเห็นคุณค่าของตัวเอง เห็นคุณค่าของกาลเวลา
ชีวิตประจำวันของเรานี้จำเป็นต้องใช้สมาธิมาก สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่น ทำอะไรต้องมีความตั้งมั่นไว้ตลอดเวลา หรือว่าตลอดกาล... สมาธิ แปลว่า ความสุข ความดับทุกข์ในปัจจุบัน ทำอะไรต้องทำให้จิตใจมีความสุขอยู่กับการกระทำ อย่าให้ใจของเรามันทุกข์ อย่าให้ใจของเรามันเครียด
คนเรามันต้องสู้กับตัวเอง บังคับตัวเอง ตัวเองเป็นคนเจ้าอารมณ์ เป็นคนตามใจตัวเอง เป็นคนสะเปะสะปะ เป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน เราพยายามอย่าไปให้อาหารมัน เราให้มันมาก...มันก็มีกำลัง เราต้องเบรกมันไว้ หยุดมันไว้
คนเรามีความอยาก ความต้องการที่จะเจริญ ที่จะร่ำรวย ที่จะมีคุณธรรม แต่ก็ไม่อยากบังคับตัวเอง ทำความดีต้องพยายามบังคับตัวเอง ดตัวเอง ท่านเรียกว่า 'ความเพียรชอบ' ถึงเวลานอนต้องบังคับให้มันนอน ถึงเวลาตื่นต้องบังคับให้มันตื่น อย่าไปตามใจตนเอง อย่าตามธาตุตามขันธ์ ให้ใจหนักแน่น ให้ใจเข้มแข็งไว้ อย่าไปตามใจความอยาก ความเอร็ดอร่อย
'ความคิด' ก็เหมือนกันเราต้องบังคับมัน อันไหนไม่ดีอย่าไปคิดมัน อย่าไปหมกมุ่นอยู่กับมัน หยุดมัน ถ้ามันคิดไปแล้ว มันจะมีอิทธิพลกับชีวิตเรา ทำให้ตัวเองเครียด ทำให้เราเป็นโรคประสาท เป็นโรคกระเพาะ โรคหัวใจ ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์โดยเปล่าประโยชน์ พยายามเอาจิตใจมาคิดเรื่องการเรื่องงาน เรื่องที่ไม่เข้าใจ...ให้เข้าใจ เอาใจเรามาแยกแยะรู้จักรู้แจ้ง อันไหนมันถูก อันไหนมันชั่ว มาพิจารณาตัวเองที่มันเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ มันเป็นเพราะสาเหตุอะไร ทำไมมันจึงไม่ก้าวหน้า ทำไมมันจึงไม่เจริญ เพื่อหาสาเหตุมาแก้เหตุอย่างนั้น มาดูตัวเอง กิเลสของตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง มันมีความโกรธมากไหม เมื่อรู้ว่าโกรธต้องเจริญเมตตาให้มาก ๆ
เราเป็นคนเถียงพ่อเถียงแม่รึเปล่า ถึงมีปัญหา ฝึกดูคำพูด ฝึกดูความคิดของเรา เราพูดไม่ทันได้คิด เมื่อพูดไปแล้ว ก็ทำให้เราผิดศีลข้อที่ ๔ เราต้องดูว่า เรานี้หลงตัวเองหรือเปล่า ต้องหาวิธีแก้ความหลงให้กับตัวเอง พิจารณาพระไตรลักษณ์ให้มากๆ ถ้ามันหลง ต้องพยายามพิจารณาพะไตรลักษณ์ให้เยอะๆ ให้เห็นอนิจจัง เห็นทุกขัง เห็นอนัตตา
ความสุขความดับทุกข์ของหมู่มวลมนุษย์ มีอยู่ในทุกหนทุกเเห่ง ที่จริงมันไม่มีอะไรวุ่นวาย เพราะใจของเราไปสร้างความวุ่นวายเพราะความไม่รู้ ทุกท่านทุกคนก็พากันปฏิบัติทำหน้าที่ของตัวเองให้สมบูรณ์ เพราะส่วนใหญ่เราคิดว่าสิ่งที่สำคัญคือปัญหาเรื่องปากเรื่องท้อง ที่อยุ่ที่อาศัยสิ่งอำนวยความสะดวก เราคิดว่านี้คือสิ่งจำเป็น สิ่งเหล่านี้จำเป็นจริง เเต่เป็นการเเก้ปัญหาเฉพาะหน้าเฉยๆ สิ่งที่จำเป็นสูงสุด คือการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ จำเป็นกว่า พระพุทธท่านจึงให้เราพัฒนาใจ พัฒนาสิ่งที่เราว่าจำเป็น พระพุทธเจ้าให้เราพาทำอย่างนี้