แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พรรษาแห่งการตื่นรู้ ตอนที่ ๓๔ เราจะขลังจะศักดิ์สิทธิ์จะสำเร็จได้ ก็เพราะว่าเราพากันประพฤติพากันปฏิบัติธรรมตามอริยมรรค
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
การปฏิบัติเราต้องปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องทางจิตใจ ถ้าเราไม่ติดต่อต่อเนื่องเเล้วการปฏิบัติ เราก็จะไม่ได้ผลการปฏิบัติ ต้องปฏิบัติอยู่ที่เราอยู่ เราอยู่ที่บ้านอยู่ที่ทำงาน อยู่ที่วัด เราต้องพากันประพฤติปฏิบัติให้เป็นมรรคเป็นอริยมรรค ติดต่อต่อเนื่องไม่ให้ขาดสาย ถ้าอย่างงั้นผลเกิดขึ้นไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้เป็นพระอริยเจ้า เสมอเหมือนกันทุกๆ คน ประชาชนที่ไม่ได้บวช ที่เป็นฆราวาสพากันทิ้งศีลทิ้งธรรมหมด อย่างนี้ไม่ได้ ไม่ถูก มุ่งเอาเเต่โลกธรรม ต้องพากันตั้งใจ พากันสมาทาน เพราะการประพฤติปฏิบัติธรรมมันต้องเเทรกกับชีวิตประจำวันของเรา เราทำมาหาเลี้ยงชีพเเล้วก็พัฒนาใจไปพร้อมๆ กัน อย่าพากันไปทิ้งศีลทิ้งธรรมเป็นอันขาด
พระนิพพานนั้นอยู่ไม่ไกล อยู่กับเราที่ปัจจุบันทุกๆ คน ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติเราก็เสียหาย ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเราก็พากันเสียหายหมด อานาปานสติทุกๆ คนต้องชัดเจน หายใจเข้าให้มันชัดเจนไปเลย หายใจออกก็ให้มันชัดเจนไปเลย หายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็ให้รู้ชัดเจน อิริยาบถต่างๆ ถือว่าเป็นอิริยาบถหยาบ ที่เราเคลื่อนไหว้ ที่เราตื่นตัวอะไรอย่างนี้ ไม่ใช่สมาธิลึกๆ หรอก ต้องฝึกอานาปานสติทุกๆ คน ที่หลวงปู่มั่นสอนให้ท่องพุทโธ คืออันเดียวกัน
เราได้ฟังพระสังฆะปริณายก เว่ยหล่าง ท่านเว่ยหล่าง ท่านเข้าถึงธรรม เข้าถึงอริยมรรค เข้าใจในธรรม ท่านเป็นประชาชนเป็นอันนี้ ท่านก็เป็นพระอริยเจ้า เเล้วท่านก็ถือเพศสมณะสมบูรณ์ท่านก็เป็นพระอริยเจ้าสูงสุด
ครั้งหนึ่ง ท่านเว่ยหล่างไปพักค้างแรมที่บ้านหลังหนึ่ง ขณะที่กำลังจะนอนพักผ่อนในช่วงบ่ายได้ยินเสียงคนกำลังสวดมนต์ เลยลุกขึ้นไปถามผู้นั้นว่า “เจ้าเข้าใจความหมายของบทที่สวดหรือเปล่า” “บางตอนเข้าใจยากจริงๆ”
ท่านเว่ยหล่างเลยอธิบายให้ฟังบางตอนของบทสวดว่า “เมื่อเราอยู่ในโลกแห่งมายาจอมปลอมนี้จนผมหงอกขาวหมดไปทั้งหัวแล้ว พวกเราต้องการอะไร? และเมื่อไฟแห่งชีวิตกำลังจะมอดลง ใจเต้นอ่อนลง และลมหายใจกำลังจะขาดรอนๆ อะไรคือสิ่งสุดท้ายที่เราหวัง? และเมื่อกายของเรากำลังเน่าเปื่อยอยู่ในสุสาน ธาตุกลับคืนสู่ธาตุ ธาตุดินสู่ดิน ชีวิตกลายเป็นสิ่งไร้ความรู้สึกในความว่างเปล่า... แล้วเราอยู่ที่ไหน?”
คนที่สวดมนต์นั้นได้ชี้คำหลายคำในคัมภีร์ที่ไม่เข้าใจความหมายแล้วถาม...ท่านเว่ยหล่างยิ้มๆแล้วตอบว่า “ข้าพเจ้าไม่รู้หนังสือ ท่านถามมาเลยดีกว่า"
คนๆ นั้นรู้สึกแปลกใจแล้วพูดขึ้นว่า “ท่านอ่านหนังสือไม่ออก ท่านจะเข้าใจความหมาย เข้าใจหลักธรรมได้อย่างไร?” ท่านเว่ยหล่างตอบว่า “หลักธรรมของพุทธะ กับตัวหนังสือไม่เกี่ยวกัน ตัวหนังสือเป็นเพียงเครื่องมือที่จะเรียนรู้ สิ่งที่จะเข้าใจหลักธรรมคือจิต คือตัวรู้ ไม่ใช่ตัวหนังสือ"
พ่อเเม่เราก็เสียหาย ญาติพี่น้องวงศ์ตระกูลเราก็เสียหาย เราก็เสียหาย เพราะผู้ที่มาบวชเค้าก็ยังเสียหายไม่ได้ประพฤติไม่ได้ปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติต้องติดต่อต่อเนื่อง หลายวัน หลายเดือน ความฟุ้งซ่านเรามันจะได้ลดลง ใจของเราทุกคนมันหยาบนะ มันสกปรกนะ มันฟุ้งซ่านนะ มันไม่เจริญ มันไม่ได้เข้าสู่กระบวนการในการประพฤติการปฏิบัติ เราไม่ได้พากันรู้ตัวเองเรื่อย มันคิดอะไรก็ยังไม่ได้รู้ มันพูดอะไรก็ยังไม่รู้ มันทานอะไร หรือ มันฉันอะไรก็ยังไม่รู้ ท้องตัวเองมันเสียก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองทานอะไร เเล้วก็ไปบ่นว่าอาหารเป็นพิษ ใจของตัวเองมันเป็นพิษ มันไม่รู้จักความคิด ไม่รู้จักอารมณ์ เราพยายามภาวนา พิจารณายกทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ พิจารณาสังขารสู่พระไตรลักษณ์ พิจารณาร่างกายส่วนสัดของเราสู่พระไตรลักษณ์ ส่วนไหนมันสวยมันงาม
เราจะขลังเราจะศักดิ์สิทธิ์ได้ก็เพราะว่าเราพากันประพฤติพากันปฏิบัติธรรม เราจะไปหาความขลังความศักดิ์สิทธิ์จากครูบาอาจารย์จากพระพุทธเจ้า ถือว่ายังไม่ถูก เราไปหาพระพุทธเจ้าก็เพื่อที่จะรู้ธรรมะเข้าใจธรรมะ เเล้วก็เอาธรรมะไปประพฤติไปปฏิบัติเพื่อเราจะได้ขลัง ได้ศักดิ์ได้สิทธิ์ คำว่าขลังนี้คือ เส้นทางชีวิตของเราอยู่ในเส้นทางของอริยมรรคมีองค์ 8 อยู่ในทาง ไม่ได้ออกนอกลู่นอกทาง อยู่ในขีดจำกัด ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวถึงความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ ระวังให้ดี!
“ระวังให้ดี! ในโบสถ์ที่มีแต่การอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ เสี่ยงเซียมซี นั้น จะไม่มี“ธรรมะ”อะไรเลยก็ได้ นอกจาก “การขอทานทางวิญญาณ” หรือ “การติดสินบน” ที่เอาเปรียบมากเกินไป
ถ้าเอาความขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ มาใส่ให้แก่ศาสนาแล้ว เราก็ไม่ต้องทำอะไรกัน นอกจากนั่งอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันเรื่อยไป แล้วจะอยู่กันได้อย่างไร
ความขลัง หรือ ศักดิ์สิทธิ์ ของท่านอาจารย์“ผู้วิเศษ”นั้น ขึ้นอยู่กับ..ความงมงายมาก งมงายน้อย โง่มาก โง่น้อย ของผู้เป็นสาวกนั่นเอง จึงไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ซึ่งมี “ยถาภูตสัมมัปปัญญา” เป็นหลัก
ถ้ายังชอบคำว่า ขลัง หรือ ศักดิ์สิทธิ์ ก็ยกให้เป็นอำนาจของ “กฎอิทัปปัจจยตา” อย่าให้เป็นความขลังศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งรากฐานอยู่บนความงมงายของประชาชนเลย”
แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ รพ.สระบุรี และนักศึกษา มทส. เพื่อจะให้เข้าใจในธรรมะ พากันประพฤติปฏิบัติให้มีความสุขในการดำรงชีวิต เอาธรรมะกับวิชาชีพ เอาไปประพฤติปฏิบัติให้มันไปในชีวิตประจำวัน เเต่ก่อนเราปล่อยชีวิตล่องลอย เราไม่กระชับ เพราะปัญหาต่างๆมันไม่ได้อยู่ที่คนอื่น มันอยู่ที่เราเอง คนที่เกี่ยวข้องกับเรา เค้ามีตาก็มองดู มีหูเค้าก็ฟังเรา ถ้าเราเอาศีลเอาธรรม เค้าถึงจะมีความสุข เค้าถึงจะฟังเรา ให้เข้าใจธรรมะในเรื่องวิทยาศาสตร์ ในเรื่องเหตุเรื่องผล ทุกคนมีปัญหาต่างๆ ไม่ได้มาจากที่อื่นหรอก มาจากเราทุกคนนี้เห็นเเก่ตัว อยู่ที่เราเป็นคนทิฏฐิมานะมากอัตตาตัวตน ให้ทุกท่านทุกคนพัฒนาตัวเอง มันไม่ได้เกี่ยวกับคนจนคนรวย คนรู้มากรู้น้อย มันอยู่ที่ปัจจุบันของเราทุกคน ตั้งเเต่ก่อนเราไม่รู้ เราก็ไปหาโทษเเต่อย่างอื่น เราก็พากันไปหาเเต่เงิน เงินมันก็ต้องหา เพราะเราต้องดำรงชีวิต เราเกี่ยวข้องด้วยพ่อด้วยเเม่ ด้วยญาติพี่น้องวงศ์ตระกูล เราต้องให้มีความสุขกับการดำรงชีพ ทั้งอยู่ที่ทำงาน อยู่ที่เรียนหนังสือ กลับไปบ้าน เราไม่มีสิทธิ์ที่จะไปทำตามใจตัวเองไปทำตามอารมณ์ตัวเอง ทุกๆ คนมันเสียหาย เรื่องสมัครสมานสามัคคีต้องมีให้มาก
นั่งสมาธิก็ต้องเจริญอานาปานสติ หายใจเข้าก็รู้ชัดเจน หายใจออกก็รู้ชัดเจน หายใจเข้าสบาย ออกสบาย พอสงบก็ผ่อนมาเอง ไม่ต้องเอาอะไร เอาเท่านี้ก็พอ เมื่อเราจัดการกับตัวเองได้ เเล้วสิ่งภายนอกมันถึงจะเเก้ไขได้ อย่ามัวไปหาเเก้ไขเเต่สิ่งภายนอก ถ้าเราปฏิบัติทุกวัน เดี๋ยวความประพฤติของเราก็จะเปลี่ยนไป ความประพฤติเปลี่ยนไปเเล้ว จิตใจก็จะเปลี่ยนไปในทางที่ดี จะเดินเหินนั่งนอนก็ให้เรารู้อิริยาบถชัดเจน เราจะเอาเเต่คอยรู้ลมเข้า รู้ลมออกก็คงไม่ได้ เพราะว่าอิริยาบถของเรามันหยาบ พระเราจะได้รู้ พวกอยู่วัดก็จะได้รู้ พวกที่อยู่บ้านก็จะได้รู้ เค้าไม่เข้าใจก็จะทิ้งธรรมะหมด คนเราเค้ามีความเห็นผิด นึกว่าตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง คือความสุข เค้าไม่รู้ว่าตามใจตัวเองตามอารมณ์ตัวเอง มันเป็นความทุกข์
บางทีมาปฏิบัตินี้ก็คิดแต่ว่า เอ๊... ปฏิบัตินานเท่าไหร่ เราถึงจะได้หยุด มันคิดอย่างนี้ไม่ได้ มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ทุกคนก็น่าจะเป็นพระอริยเจ้า ทั้งผู้ที่มาบวช เเละ ผู้ที่อยู่ที่บ้าน เพราะ เรารู้หลักเหมือนกับผู้ที่รู้หนังสือ เรียนหนังสือ หรือว่าผู้ที่รู้จักวิทยาศาสตร์เเละเรียนวิทยาศาตร์ เเล้วก็พัฒนามาอริยมรรคอย่างนี้ เพราะว่าเทคโนโลยี มันเหมาะสมสำหรับที่มนุษย์จะมีความสุขมาขึ้นอีก เหตุใดเราถึงจะไปสิ่งที่ดี เพราะว่าคนจนคนรวยมันก็เเก้ปัญหาได้ที่ใจ
การเรียนการศึกษา เป็นสิ่งที่รู้จัก รู้จักเหมือนที่เรารู้จัก ต้นไม้ รู้จักอะไรต่างๆ เเล้วเราก็เอาต้นไม้มาปลูก เราก็ได้ยินรัฐบาลว่าปลุกต้นไม้ปีนึงในประเทศไทยหลายล้าน เเต่ต้นไม้ที่มันขึ้นไม่ได้กี่ต้น เพราะว่าไม่ได้ดูเเล ไม่ได้ปฏิบัติ ชีวิตของเราก็เหมือนกัน การปฏิบัติของเราก็ต้องสม่ำเสมอให้น้ำให้ปุ๋ยให้เเสงเเดดในออกซิเจน การที่พัฒนาตัวเองในการเรียนในการศึกษาให้เราเข้าใจจบปริญญาตรีโทเอก ถือว่ามีเยอะ เเต่ผู้ที่จะมีปฏิปทาเอาความถูกต้อง เอาความเป็นธรรม ความยุติธรรม ไปประพฤติปฏิบัติมันไม่มี ถึงได้พากันตกต่ำ ตกอบายมุข ตกอบายภูมิ มันไม่ได้
ผู้ปฏิบัติธรรมต้องพากันเข้าใจ ถ้าเราไม่ปฏิบัติติดต่อต่อเนื่องมันก็ไม่ได้ ถ้าหน้าฝน พวกวัชพืชมันก็โตเร็ว ต้นไม้ที่เราปลูกก็โตเร็ว เเต่เราก็ต้องดูเเลให้เค้า ถึงเรียกว่า การที่รักษาเเชมป์ ในปัจจุบัน การชิงเเชมป์เค้าก็ต้องชิงเเชมป์ในปัจจุบัน ให้ทุกคนเข้าใจ ถ้างั้นน่ะ เราเป็นคนจนนี้ดีไหม ครอบครัวเราเเตกเเยกดีไหม ครอบครัวเราพลัดถิ่นไปหาเงินหาสตางค์ ทุกคนเค้าก็ดูถูกดูเเคลนว่า เราเรียนปริญญาตรีโทเอก เพียงเเต่จะเป็นประกาศว่าเราเป็นคนรับผิดชอบ เป็นคนดีระดับนึง เเค่นั้นหรือ ความสุขความอบอุ่นไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเราไม่รู้จักของมีค่า
เราจะไปทำเหมือนพวกคนรวยในประเทศไทย ปล่อยให้ลูกพากันเสพความขี้เกียจขี้คร้าน เสพรูปสวยๆ เสียงเพราะๆ รถหรู อะไร เเต่จิตใจไม่ได้รู้จักพระนิพพาน ถือความหลงเป็นสรณะ ถือกามตัณหา หรือว่ากามคุณเป็นสรณะ ไม่รู้จักว่า อันนี้มันเป็นถนนผ่านเฉยๆ ไม่มีปัญญาอะไรเลย เค้าเรียกว่า คนรวย เลี้ยงลูกมาอย่างโง่ๆ อันนี้น่าสงสาร ตระกูลใหญ่ๆ ถึงทะเลาะกันทุกตระกูลเลย ทำไมลูกไม่สนใจเรา ก็เพราะเราเป็นคนไม่มีศีล มันเป็นเเต่สงสารคนเเก่ เราจะไปโทษใคร ไปโทษว่าคนสมัยใหม่ไม่เอาศีลเอาธรรมไม่ได้ เพราะเราเป็นคนไม่มีศีล
สมาธิ ได้แก่ สติสัมปชัญญะอยู่กับกาย อยู่กับการทำงานเป็นสภาวธรรมที่ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นความสุขความดับทุกข์ทั้งกายและใจ คนเราจะมีความสุข...ความดับทุกข์นั้น อยู่ที่ใจสงบ คนเรานั้นถ้าร่างกายแข็งแรง เป็นคนรวย ถ้าใจไม่สงบก็ดับทุกข์ไม่ได้
คนเรานั้นถ้าสุขภาพร่างกายไม่ดี เป็นคนยากจน ถ้าจิตใจสงบ ก็สามารถดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ได้ ความสุข...ความดับทุกข์นั้น อยู่ที่ใจของเรามีความสงบ ถ้าใจของเราไม่สงบนั้น เราทำอย่างไรเศรษฐกิจก็ไม่พอเพียง
ชีวิตของเราที่จะมีความสุขมีความดับทุกข์นั้น ต้องปรับตัวเองเข้าถึงศีลถึงธรรม เข้าถึงกฎหมายบ้านเมือง เพราะว่า 'ศีล' นั้นได้แก่ ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เมื่อเราไม่โลภ ไมโกรธ ไม่หลง เราถึงจะเข้าถึงธรรมะได้
เราทุกๆ คนจึงจำเป็นต้องพากันฝึกสมาธิ ฝึกให้ใจอยู่กับเนื้อกับตัว อยู่กับการทำงาน อยู่กับการเสียสละ อยู่กับการที่มีศีล
เราทุกๆ คนที่มีชีวิตอยู่ ที่ยังไม่ตาย ถ้าเราไม่มีสมาธิ จิตใจของเราชื่อว่า 'ตกนรกทั้งเป็น' เพราะถูกอวิชชาทำให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง เผาเราในชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนี้ปัจจัยนี้ เราทุกๆ คนถึงมีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติธรรม คนเรานั้นไม่มีใครเก่ง ไม่มีใครวิเศษนะ ถ้าไม่ได้ทานอาหาร ถ้าไม่ได้นอนพักผ่อน ก็ย่อมเหนื่อยทุกๆ คนนะ ใครคิดมาก ใครใจไม่สงบนั้นก็ย่อมเป็นโรคประสาท ถ้าหนักๆ ก็เป็นโรคจิตนะ มีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เพราะจิตใจเราไม่สงบ ก็ชื่อว่าเราตกนรกทั้งเป็น
วันหนึ่งคืนหนึ่งนั้น ๒๔ ชั่วโมง เวลาเรานอนหลับพักผ่อนนั้น ส่วนใหญ่ก็ไม่เกิน ๖ ชั่วโมง นอกจากนั้นเราก็ใช้ชีวิตอยู่กับอิริยาบถทั้ง ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน ทำการทำงานน่ะถ้าเราไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีสมาธิ ก็ชื่อว่าเรากำลังเผาจิตใจตัวเอง กำลังตกนรกทั้งเป็น
สมาธิ คือตัวสงบ คือตัวดับทุกข์ เปรียบเสมือนแอร์คอนดิชั่นที่ให้ความสมดุลทางจิตใจ การทำสมาธิแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนนั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า หายใจเช้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้ หายใจเข้ายาวก็ให้รู้ว่ายาว หายใจออกยาวก็ให้รู้ว่ายาว หายใจเข้าสั้นก็ให้รู้ว่าสั้น หายใจออกสั้นก็ให้รู้ว่าออกสั้น ให้เรามีหน้าที่หายใจเข้าให้มันสบาย หายใจออกให้มันสบาย หายใจให้มีความสุขน่ะ เรียกว่าทำงานอยู่กับลมหายใจ
เราอย่าไปอยากให้มันสงบ เรามีหน้าที่อย่างเดียว คือหายใจเข้าให้สบาย หายใจออกให้สบาย รู้ลมเข้าให้สบาย รู้ลมออกให้สบาย ทำอย่างนี้ตลอดน่ะ จะกี่นาทีก็ทำอย่างนี้ จะกี่ชั่วโมงก็ทำอย่างนี้ เพราะเราเจริญสติเจริญสัมปชัญญะ เรื่องความสงบ หรือความฟุ้งช่านนั้นมันเป็นผลลัพธ์จากการกระทำของเรา
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนั้นก็ถึงจะเกิดได้... "เราทุกคนมันมี 'อวิชชา' คือความหลง ต้องการประโยชน์ ต้องการผลประโยชน์ อยากให้มันสงบ มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ใจของเราไม่สงบ
การทำสมาธินี้...ไม่ใช่อิริยาบฤนั่งอย่างเดียว เราเดิน เรายืน เรานอน เราก็ใช้วิธีอย่างนี้แหละ เราใช้ได้ทุกอิริยาบถน่ะ เรามีหน้าที่ทำอย่างนี้ มีหน้าที่เสียสละ มีหน้าที่ทำงานกับลมหายใจ หรือฝึกลมหายใจ ถ้าเราทำถูก ปฏิบัติถูก มันก็เป็นของง่าย เป็นของไม่ยาก ถ้าเราทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ เพื่อผลลัพธ์นั้น เราก็จะไม่เข้าถึงความสุขความดับทุกข์ได้
พระพุทธเจ้าถึงสอนเราให้เป็นผู้ให้ทาน เป็นผู้ที่เสียสละ เป็นผู้ที่ทำอะไรไม่หวังอะไรตอบแทน เราจะไปหวังอะไรตอบแทนทำไม เพราะเราไม่หวังอะไรตอบแทน มันก็ได้อยู่แล้ว เราจะให้กิเลสมันเผาเราทำไม
ความงดงามของเราอยู่ที่ไหน...? ความงดงามของเรา อยู่ที่เราเป็นผู้ให้ทาน อยู่ที่เราเป็นคนที่เสียสละ อยู่ที่เราเป็นผู้ที่มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา ไม่ทำตามอวิชชา คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง พยายามมีสติมีสัมปชัญญะอยู่กับเนื้อกับตัวทุก ๆ อิริยาบถ
เราถือเอาอิริยาบถทั้ง ๔ ให้เป็นการปฏิบัติธรรม เราเอาหน้าที่การงานมาประพฤติปฏิบัติธรรม...ที่ปราศจากอวิชชา ปราศจากอคติทั้ง ๔ ลำเอียงเพราะรัก เพราะชอบ เพราะหลง ลำเอียงเพราะโกรธ เพราะพยาบาท ลำเอียงเพราะมีความโลภ ความต้องการที่จะได้ผลประโยชน์ รับผลประโยชน์ ลำเอียงเพราะกลัว
เราทุกๆ คนต้องมีสติมีสัมปชัญญะ มีความสุขมีความดับทุกข์ในศีล ในธรรม ในคุณธรรม เราปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์ ปฏิบัติสมควร เราก็ชื่อว่าเป็น 'อริยสงฆ์' สาวกของพระพุทธเจ้า "อริยสงฆ์' สาวกของพระพุทธเจ้านั้น...ย่อมมีแก่การประพฤติการปฏิบัติของเราในชีวิตประจำวัน"
ความสุขความดับทุกข์นั้นไม่แยกชาติแยกศาสนา ไม่แยกเด็ก แยกผู้ใหญ่ คนเฒ่า คนชรา มันอยู่ที่ทุกคนนั้น... มีศีล มีธรรม มีสติสัมปชัญญะ มีสมาธิ จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวไม่มีอะไรที่จะมาครอบงำเราได้ ไม่ว่าลาภ ยศ สรรเสริญ แม้ร่างกายของเราจะเจ็บไข้ไม่สบาย จิตใจของเราก็จะมีความสุข ความดับทุกข์ เพราะเราได้มีสติสัมปชัญญะ เราได้ปฏิบัติกาย วาจา ใจของเรา ทุกคนนั้น พระพุทธเจ้าท่านให้เราทุกคนน่ะมาปฏิบัติที่ใจของเราปฏิบัติที่คำพูดของเรา การกระทำของเรา เพื่อแก้ปัญหาที่มันไม่ดีให้มันดี สิ่งที่ดีแล้วก็ให้มันดีขึ้นยิ่งๆ ขึ้นไป
คนเราเห็นหน้าเห็นตากันนั้น ประการแรกก็ต้องมองกันว่า... ใครสวย ใครรูปหล่อ ในวาระต่อมาก็ต้องมองว่า คนไหนเป็นคนดี เป็นคนที่มีศีล เป็นคนที่เสียสละ เป็นคนที่รับผิดชอบ เป็นผู้ที่ไม่มีอคติทั้ง ๔ เอาศีลเอาธรรมเป็นที่ตั้ง ฝึกใจ ฝึกวาจา ฝึกการกระทำ อย่างนี้แหละ ชื่อว่า 'การประพฤติปฏิบัติธรรม'
การประพฤติการปฏิบัติธรรมนั้นมันก็ไม่ใช่เป็นของยาก แต่มันยากอยู่ที่เราไม่อยากปฏิบัติ อยู่ที่เราไม่อยากจะละความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่อยากจะละอวิชชาตัวตน มันถือตัวถือตนเป็นใหญ่เป็นที่ตั้ง ทุกคนมันเลยเครียด เลยไม่สงบ ชีวิตนี้มันถึงมีแต่การเบียดเบียนทั้งตนเอง เบียดเบียนทั้งคนอื่น เบียดเบียนสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ เบียดเบียนคนอื่น เอาเปรียบคนอื่น เราเรียนมาก รู้มาก มีความฉลาดก็ย่อมเอาเปรียบคนอื่น หรือเป็นคนลักขโมย แย่งชิง อันนี้ก็เนื่องมาจากเราได้พากันถืออัตตาตัวตน เอาตนเป็นใหญ่ เอาตนเป็นที่ตั้ง
คนเราน่ะ ถ้ามันมีตัวมีตนมันก็ย่อมเป็นทุกข์ เค้าว่าเราสวย เค้าว่าเราหล่อเราก็เครียดนะ เป็นทุกข์ เราไม่สวยไม่หล่อเราก็เป็นทุกข์ เราไม่รวย เราไม่มีคนสรรเสริญเยินยอ เราก็เป็นทุกข์น่ะ สรุปแล้วเรามีความทุกข์เพราะเรามีตัวมีตน เรามีสักกายทิฏฐิ ชีวิตนี้เราได้ตั้งอยู่ในความเครียด อยู่ในความทุกข์ มีทุกข์อยู่ร่ำไป
"...คนเราน่ะ ถ้าคิดไม่ดี เค้าเรียกว่ารายจ่ายเยอะเนอะ รายรับไม่ค่อยจะมีนะ ตาเราเห็นรูปอย่างนี้เค้าเรียกว่ามีเป็นรายรับนะ ถ้าเรามีความหลง เราตามไปเรื่อยๆ อย่างนั้น เรายินดี อย่างนี้น่ะ รายจ่ายเยอะนะ ที่เราไม่สบายส่วนใหญ่ เรารายรับนิดเดียว รายจ่ายมันเยอะ มันมีหนี้มีสินน่ะ"
ปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ อันไหนไม่ดี เราก็ไม่คิด ถ้าเราคิดน่ะ แสดงว่าเราไปมี sex มีเพศสัมพันธ์กับความคิด อย่างนั้นน่ะ รายจ่ายเราเยอะเลย รายจ่ายของเรามันจะเดือดร้อนถึงไม่เป็นโรคประสาท ก็โรคจิต เราก็ฝึกมาหายใจเข้ามีความสุข หายใจออกมีความสุข เรารู้อารมณ์ รู้ความคิดให้เกิดปัญญา เราไม่ตามไป ถ้าตามไป ค่าใช้จ่ายเยอะเลย ต้องพากันฝึกหายใจเข้าสบาย ออกสบายไว้เยอะๆ เราเดินเราเหินอะไร ก็พากันฝึก หายใจเข้าสบาย ออกสบายไว้
ถ้าเราไม่ตามอารมณ์ไป ไม่ตามความคิดไป เราก็ไม่ต้องมีรายจ่าย เราจะได้เป็นคนมีศีล มีสมาธิ มีปัญญาในปัจจุบัน เราปฏิบัติธรรมเราก็ทำอย่างนี้แหละ ใจเราดี ใจสบาย เราก็ไม่ต้องไปหาอาจารย์ที่ไหน ถ้าเราตามอารมณ์ ตามความคิดไปน่ะ อย่างนี้รายจ่ายเยอะน่ะ เจ๊งแน่ อยู่ดีๆ น่ะ หาเรื่องให้ตัวเองปวดหัวเฉยๆ เราต้องพากันฝึกอานาปานสติไว้ พากันหายใจเข้าสบาย หายใจออกสบายไว้ เราต้องปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติ รายจ่ายจะเยอะ เท่ากับชีวิตขาดทุน ไม่ได้กำไร
มีคนบอกว่าเกิดมาต้องหากำไรให้ชีวิต โดยเอาความสุขใส่ตัวให้มากที่สุด ต้องดื่มต้องกินของอร่อยๆ ต้องไปเที่ยวรอบโลก ต้องมีแฟนเยอะๆ ต้องหาประสบการณ์แปลกแหวกแนว ต้องใช้ของดีมีคุณภาพ สรรหาของราคาแพงๆ ไว้ประดับบารมี ถ้าได้อย่างนี้ถึงจะเรียกว่ามีกำไรชีวิต...
หากคุณคิดว่าตัวเองมีค่า เพราะมี “เงิน” วันไหนเงินหมด คุณค่าคุณก็หมด
หากคุณคิดว่าตัวเองมีค่า เพราะ “หน้าตา” ดี วันไหนคุณแก่ลงจนหน้าตาไม่ดี คุณค่าคุณก็หมด
แต่ตราบใดที่คุณรู้ว่าตัวเองมีค่า เพราะเป็น “คนดีจริงๆ” ตราบใดที่คุณยังมีความดี คุณก็จะ “มีคุณค่า” ได้ตลอดไป…
แต่ลองมานึกดูเถิด หากเราได้สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นแต่ชีวิตหลังความตายเราต้องไปใช้ชีวิตใหม่ในอบายภูมิอย่างทุกข์ทรมาน ต้องตกนรกอย่างยาวนาน อย่างนี้ยังจะเรียกว่า เกิดมาได้กำไรชีวิตไหม ในเมื่อชาติที่ไปเกิดใหม่กลับมีสภาวะตกต่ำทรมานแสนสาหัสไปกว่าเดิม หากเรามาศึกษาความรู้ในทางพระพุทธศาสนาจะพบว่า ผู้ที่เกิดมาแล้วได้กำไรชีวิตไปจริงๆ ก็คือ ผู้ที่เข้าถึงความสุขที่แท้จริงของชีวิต ได้พบความสุขสงบจากการหยุดปัญหา หมดปัญหา หยุดการเวียนว่ายตายเกิด อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าได้กำไรชีวิต
ฉะนั้น จงให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรมเถิด อย่ามัวปล่อยเวลาไปกับเรื่องไร้สาระอีกเลย เพราะช่วงเวลาแห่งความแข็งแรงของชีวิตมีจำกัด ดังนั้นเราต้องหยุดใจให้ได้ก่อนสิ่งอื่นทั้งหมด เพื่อให้เราเกิดมาได้กำไรชีวิตไปจริงๆ
ท่านว่า ชีวิตของเรานี้ เป็นชีวิตที่ประเสริฐ ต้องเอาชีวิตนี้มาสร้างความดี สร้างคุณธรรม มาก้าวไปด้วยความดี การให้ทาน การเสียสละ การที่มีศีล การที่มีสมาธิ การที่มีสติสัมปชัญญะ การที่ไม่ทำตามกิเลส "คนที่จะหักห้ามตัวเองได้ คือมีสติสัมปชัญญะ"
สติ คือตัวผู้รู้ คือตัวผู้ฉลาด สัมปชัญญะ คือตัวตั้งมั่น ตัวแข็งแรง ตัวไม่หวั่นไหวตามกิเลสตามสิ่งแวดล้อม
เราต้องสมาทานความดี จิตใจของเรามันถึงจะแข็งแรงแข็งแกร่ง ตั้งอยู่ในศีลในธรรมได้
'สมาทานความดี' ชื่อว่าความชั่วไม่ทำเลยนั้นดีกว่า ถ้าเราจะอนุโลมอย่างนั้น...มันก็ไม่ถูก พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเรายังตั้งอยู่ใน ความประมาท
ส่วนใหญ่เราทุกคนตั้งอยู่ในความประมาท คิดว่าผิดศีล ผิดธรรมนิดหน่อยไม่เป็นไร นั้นเรียกว่า 'สีลัพพตปรามาส' เป็นบุคคลที่ลูบคลำในศีล ในข้อวัตรปฏิบัติ เป็นการพ่ายแพ้ต่อกิเลส ต่ออารมณ์
การประพฤติการปฏิบัติ... พระพุทธเจ้าให้เราเอาชนะใจตัวเอง เอาชนะอารมณ์ เอาศีลเป็นที่ตั้ง เอาธรรมเป็นที่ตั้ง อดเอา ทนเอา ถึงจะตายก็ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่ออารมณ์ ต่อกิเลสน่ะ พระพุทธเจ้าให้เราปฏิบัติอย่างนี้ ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้ เรารักษาความถูกต้องไว้ไม่ได้ รักษาความดีไว้ไม่ได้ ถือว่าเป็นผู้ที่ยังตั้งอยู่ในความประมาทน่ะ ในชีวิตประจำวันของเรา เราต้องเอาชนะใจตัวเอง เอาชนะอารมณ์ตัวเองทุกแง่ทุกมุม อดเอา ทนเอา เราถึงจะเข้าถึงความดี เข้าถึงความดับทุกข์
ทุกคนนั้น ต้องมีการประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะเรียกตัวว่าเป็นพระภิกษุ สามเณร หรือชี หรือฆราวาสญาติโยม เราต้องเอาชนะใจตัวเอง เอาชนะอารมณ์ตัวเองให้ได้ ไม่สนใจเรื่องเหนื่อยเรื่องผอม เรื่องยากลำบาก
จิตใจทุกคนนั้นย่อมอ่อนแอ น้ำนั้นย่อมไหลลงไปที่ต่ำ ถ้าไม่มีเขื่อนที่มั่นคงนั้น...ก็ไม่สามารถที่จะเก็บน้ำไว้ได้น่ะ จิตใจของเรานั้นก็เหมือนกัน ต้องสมาทาน ต้องตั้งมั่น ต้องมีสติมีสัมปชัญญะอย่างมากอย่างแข็งแรง
เราอย่าไปคิดว่าเรื่องการประพฤติการปฏิบัตินั้น มันเป็นหน้าที่ของพระที่เข้ามาบวช ที่จะต้องมุ่งมรรคผลนิพพาน เพราะอันนั้นมันเป็นความคิดที่เราลิดรอนสิทธิ์ของความเป็นมนุษย์ ที่เราเป็นผู้ประเสริฐ ที่เกิดมาเราปล่อยโอกาส ปล่อยเวลา ขีดเส้นว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องประพฤติปฏิบัติ
'ใจ' ของเราที่แท้จริงนั้นมันไม่ได้เป็นผู้หญิง ไม่ได้เป็นผู้ชาย ไม่ได้เป็นคนหนุ่ม คนสาว คนแก่ ไม่ได้เป็นพระ ไม่ได้เป็นฆราวาสน่ะ มันคือจิตใจที่บริสุทธิ์ เป็นจิตใจที่จะต้องพัฒนาเพื่อให้มีศีล มีธรรม มีคุณธรรม เพื่ออบรมบ่มอินทรีย์ เพื่อสติสัมปชัญญะมันจะได้สมบูรณ์ด้วยทาน ศีล ภาวนา ตั้งอยู่ในสติสัมปชัญญะที่เราทุกๆ คนมีความจำเป็นที่จะต้องประพฤติปฏิบัติน่ะ
ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ ชีวิตของเรานี้มันก็มีประโยชน์น้อย "มีประโยชน์น้อยต่อตนเอง มีประโยชน์น้อยต่อคนอื่นน่ะ"
เราทำมาหากินเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่ได้เป็นไป เพื่อธรรม เพื่อส่วนรวม เพื่อที่จะแบ่งความสุข เพื่อแชร์ความสุขให้ซึ่งกันและกัน เป็นผู้ที่มีความสงสารน้อย เป็นผู้ที่มีความกรุณาน้อย เป็นผู้ที่ไม่มีความบริสุทธิคุณ ปัญญาธิคุณ ชีวิตนี้ถึงไม่ประเสริฐเลยที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์
การประพฤติการปฏิบัติธรรมถึงเป็นสิ่งที่ดีเป็นสิ่งที่ประเสริฐน่ะ โลกนี้ สังคมนี้ บ้านเมืองนี้เค้าต้องการคนดี คนมีคุณธรรม ถึงจะไว้เนื้อเชื่อใจ ที่เค้าให้เรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงขั้นสูงสุดก็เพื่อเป็นคนดี คนมีคุณธรรม คนเสียสละ คนรับผิดชอบ คนที่มีศีลมีธรรมถึงจะได้นำโลกนำสังคมสู่ความสงบ ความร่มเย็น
เราทุกคนต้องกลับมามองตัวเองว่า เราเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นผู้เสียสละหรือยัง เป็นผู้มีศีลหรือยัง เป็นผู้ที่มีสมาธิ มีสติสัมปชัญญะหรือยัง เป็นผู้ที่ทำตามธรรมะหรือยัง? ต้องกลับมามองตัวเองโดยใช้ชีวิตนี้ อิริยาบถทั้ง ๔ นี้ มาทำความดี เสียสละตั้งแต่เช้าจนนอนหลับน่ะ ตื่นขึ้นก็เจริญสติสัมปชัญญะ เสียสละ เราทำอย่างนี้ปัญญาของเราถึงจะเกิดได้
คนเรานั้นถ้าทำไปด้วยความเห็นแก่ตัว "มันเครียด ปัญญามันไม่เกิดน่ะ..." เราทุกคนมันถึงเข้าถึงทางตัน เพราะเราเป็นคนไม่มีศีล มีธรรม มีคุณธรรม
ขออนุโมทนากับท่านทั้งหลาย ที่ได้พากันมาประพฤติปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าให้เราพากันประพฤติปฏิบัติธรรม ตั้งใจอบรมบ่มอินทรีย์ ปฏิบัติธรรมทั้งที่อยู่ที่บ้าน อยู่ในที่ทำงาน อยู่ในสังคม อยู่ในสถานที่ต่างๆ
ทุกท่านทุกคนนั้นก็ย่อมนำเอาสติสัมปชัญญะ นำเอาการเสียสละ นำเอาสิ่งที่ตึ สิ่งที่ถูกต้องไปใช้เพื่อความสุข ความสงบของมหาชน คนทั้งหลาย จะได้นำตัวเอง ประเทศชาติ ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข