แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอังคารที่ ๙ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พรรษาแห่งการตื่นรู้ ตอนที่ ๒๕ การฝึกอะไรก็ไม่ฝึกยากเท่ากับฝึกตนเอง ผู้ที่ฝึกตนได้แล้ว จึงฝึกผู้อื่นได้
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
ทำไมเราไม่เคารพตัวเอง ก็เพราะว่าเราเป็นคนไม่มีศีล เราจะเคารพตัวเองได้อย่างไร ทำไมเราไม่เคารพนับถือตัวเอง เพราะเราไม่มีสมาธิ ทำไมเราไม่เคารพตัวเอง เพราะเราเป็นคนตามใจตัวเอง ทำตามอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้เอาธรรมเป็นหลัก ไม่ได้เอาธรรมเป็นที่ตั้ง ไม่ได้เอาธรรมเป็นการดำเนินชีวิต เราเป็นคนทำตามอวิชชา ทำตามความหลง เราก็เลยไม่สามารถที่จะเคารพตัวเองได้ ให้ทุกท่านทุกคนพากันเข้าใจนะ พระนิพพานมันไม่ได้อยู่ที่ไกล อยู่ในสัมมาทิฏฐิที่มีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง มีอยู่ที่ปัจจุบันนี้เอง
ปัจจุบันเราต้องเอาความเห็นถูกต้อง เอาเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง นี้มาปฏิบัติ เหมือนเราเอาเมล็ดพันธุ์มาปลูก เรามีสติสัมปรัชญญะรู้ตัวทั่วพร้อมชัดเจน เราจะได้พัฒนาทั้งใจ ได้พัฒนาทั้งอาชีพ ความสุขความดับทุกข์มันต้องเกิดแก่หมู่มวลมนุษย์ที่พระพุทธเจ้าบอกว่าสมณะที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 อยู่ในชีวิตระจำวันของเราทุกๆ คน อย่างนี้เรียกว่าอริยมรรคมีองค์ 8
สำหรับอาหารเสริม การนั่งสมาธิตอนเช้า ตอนเย็น เค้าเรียกว่าอาหารเสริม อาหารหลักก็คือมีความเห็นถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เอาศีล สมาธิ ปัญญา มาใช้ร่วมกับอิริยาบถต่างๆ นี้ ที่มันมีอยู่ในจิต ในใจของเราทุกๆ คน เราเป็นผู้ประเสริฐขนาดนี้ เรายังจะมาหลงงมงาย พวกที่หลงงมงายในวัตถุเครื่องราง ของขลัง หรือว่างมงายในอะไรต่างๆ หมอดู หมอเดา หมออะไรอย่างนี้ มันเป็นสิ่งภายนอกเกิน หลงอยู่ที่เราไม่เข้าใจนี่แหละในชีวิตประจำวันนี้แหละ เรามีตาก็เพื่อฉลาด มีหูก็ฉลาด มีจมูก มีลิ้น ก็เพื่อฉลาด เราต้องประพฤติปฏิบัติในปัจจุบัน เราต้องรู้จักว่าทุกอย่างนั้นน่ะมันเกิดขึ้น ไม่เกิน 7 วันเดี๋ยวมันก็ต้องจากไป จึงต้องมีสติสัมปชัญญะ
เราต้องเอาศีลเป็นหลัก อย่าเอาตัวตนเป็นหลัก เราไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ไม่อยากพลัดพราก เค้าเรียกว่าเราเป็นมิจฉาทิฏฐิ ใจของเรามันเป็นบ้า คนเรามันไม่รู้ว่าตัวเอาเป็นบ้าหรอก คนที่เวียนว่ายตายเกิดเค้าเรียกว่าคนบ้า คนบ้าก็คือ คนที่มีอวิชชา ที่มีความหลง ในชีวิตประจำวันเรา สิ่งที่ดีที่สุด คือภาวนา วิปัสสนา ยกสู่พระไตรลักษณ์ สู่อนิจจังว่าอันนี้มันไม่แน่ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอย่างนี้แหละ คนเรามันหลงขนาดนะ มันถึงกับไปมีสามี ภรรยา ไปอะไรๆ อย่างนี้เค้าเรียกว่าหลง หลงอย่างนี้ก็ยังถือว่ายังเป็นพื้นฐานของพระอริยเจ้าอยู่ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี แต่พระอนาคามีน่ะสว่างไปเยอะแล้ว
เราต้องเข้าใจ พระที่มาบวชนี่จะเป็นพระเก่า พระใหม่ ก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง พวกที่มาบวชนี่ ลูกเถ้าแก่ หรือว่าลูกคนยากคนจน ก็ต้องปรับตัวเข้าหาศีลหาธรรม จะมาบวชอยู่ลอยๆ โดยไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองนี้ มันไม่สมควรที่จะหายใจหรอก ถึงจะหายใจอยู่มันก็ตายแล้ว คือตายจากความดี ตายจากมรรคผลพระนิพพาน มันว่างจริงอยู่ มันว่างจากมรรคผลพระนิพพาน ว่างจากศีล จากสมาธิ ปัญญา อันนี้มันเป็นอวิชชานะ ความหลงนะ พวกพระใหม่ พระเก่า มันต้องกระตือรือร้นอย่างนี้ อย่าพากันเซ่อ เบลอๆ งงๆ เราต้องเปลี่ยนแปลงเรา เมื่อเปลี่ยนแปลงตัวเราแล้ว เราก็ถึงจะได้ช่วยคนอื่น ทุกคนต้องสั่งสอนตัวเอง 95% อย่างนี้นะ มันถึงจะสอนคนอื่นได้ 5% อย่างครูบาอาจารย์ อย่างหลวงพ่อชา หลวงตามหาบัว ท่านเจ้าคุณพุทธทาส หลวงปู่มั่นอย่างนี้ เค้าสอนตัวเอง ท่านสอนตัวเอง ถือว่า 99% นะ อีก 1% ถือว่าสอนประชาชนอย่างนี้เป็นต้น ต้องเข้าใจถ้าอย่างนั้นนะ
พวกที่เป็นนักปกครองอย่างนี้มันก็ต้องจัดการกับตัวเองอย่าง 99.9% ถึงจัดการที่อื่นภายนอก ชีวิตนั้นถึงจะสงบ ถึงจะเย็น เราต้องทำอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ ถ้างั้นไม่ได้มันเสียหาย เสียเวลา ปล่อยให้ยืดยาด ยืดเยื้อ สงครามไม่รู้จักจบ ปัจจุบันนี้มันจะเลื่อนไปเอง เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้ถึงมี เดินทางอย่างนี้ มันถึงถูกต้อง เราไปเอาแต่ความหลงงมงาย ในวัตถุ ในบ้าน ในรถ ลาภ ยศ สรรเสริญ พวกนั้นถือว่าเป็นยารักษาโรค บรรเทาทุกข์เฉยๆไม่ใช่งานหลักอะไร ทุกคนท่านคนต้องเข้าใจจะได้พัฒนาเรา ตระกูลเรา ตระกูลเราถึงจะมั่นคงอย่างนี้แหละ สามีภรรยาพากันมีศีล 5 พากันตั้งมั่นในพระรัตนตรัย มันถึงจะได้ส่งไม้ผลัดให้ลูกให้หลาน ถ้าทุกคนมีศีล มีธรรม ลูกหลานมันถึงจะฟัง เราต้องตั้งใจ ตั้งเจตนาอย่างนี้แหละ
ดูแล้วโครงสร้างของสามัญชนนี้นะ มันไม่ถูก ต้องเอาโครงสร้างของพระพุทธเจ้า ของพระอริยเจ้านะ เราจะเอาความถูกใจเหนือความถูกต้องไม่ได้ ที่เมื่อวานได้พูดเรื่องกระตือรื้อร้น เพราะว่าทุกคนมันติดสุขน่ะ เพราะแต่ก่อนเราก็มีหนี้อยู่แล้ว การเวียนว่ายตายเกิดคือเราตามใจตัวเอง เค้าเรียกว่ามีหนี้ คนมีหนี้คือคนมีอวิชชา มีความหลง ถึงได้มาเกิด ที่นี่เรามาเจอความสุข ความสะดวก ความสบาย โอ๋...ไปสร้างหนี้ใหม่ขึ้นอีก เราไม่ได้พัฒนาใจ เราไม่ได้เอาใจเราพัฒนาสิ่งต่างๆ เข้าสู่พระไตรลักษณ์ เราเลยมาติดของใหม่ เป็นหนี้ใหม่ สร้างหนี้ใหม่ขึ้นเยอะ ที่นี้รายรับ รายจ่าย ไม่สมดุลกัน พวกนี้แหละ เราดูสิ พวกเหล้า พวกบุหรี่ พวกอะไรต่างๆ อย่างนี้ เราไม่ได้ติดมาตั้งแต่ในท้องหรอก พวกความขี้เกียจขี้คร้านเราพึ่งมาติดใหม่ เราต้องรู้จักนะ เราต้องเอาชนะอวิชชา เอาชนะความหลงด้วยศีลนี้แหละ ศีลนี้เราต้องปรับตัวเอง เข้าหาศีล หาสมาธิ เข้าหาปัญญา อย่าให้เรามีหนี้ มีสิน มีอะไรเพิ่มขึ้นอีก หนี้สินนี้เราต้องจัดการได้ด้วย รู้จักอนิจจัง รู้จักความทุกข์ รู้จักอนัตตา สิ่งนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
ทุกท่านทุกคนต้องพัฒนาศีล พัฒนาสมาธิ พัฒนาปัญญา เรียกว่าพรหมจรรย์ เราต้องทำอย่างนี้ๆ คนเรามันติด มันหลงอย่างนี้แหละ มันไม่รู้จักความแก่ ความเจ็บ ความตาย ไม่รู้จักเวทนาต่างๆ ที่มันเอาพระนิพพานมาให้เรา ให้ได้เจริญศีล เจริญสมาธิ จะได้ปัญญา ให้เข้าใจ เราจะต้องเป็นผู้ฉลาด เราต้องรู้จักจุดยืน เราต้องแก้ความคิดใหม่ว่า ความคิดเราอย่างนี้ไม่ได้ เราทำไปอย่างนี้ๆ ในปัจจุบัน เดี๋ยวมันก็เก่ง ชำนาญ คนเราอย่าให้มันคิดถึงสองครั้ง คิดครั้งแรกเราปล่อยธรรมดา อย่างนี้มันยินดี เราก็ต้องหยุดตัวเองเพื่อไม่ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ให้แสงแดด ให้ออกซิเจนมัน เดี๋ยวมันจะค่อยอ่อนกำลัง เพราะสัมมาทิฏฐิคือศีลของเราต้องหยุดศีลทางกาย และก็หยุดศีลทางวาจา หยุดศีลทางจิตใจ มันจะได้เกิดเป็นสมาธิโดยธรรมชาติ มันจะพัฒนาไป ปัญญามันถึงจะเกิดได้ เอาศีล เอาสมาธิ เอาปัญญามาใช้พร้อมๆกันไปอย่างนี้ เราจะได้รู้ว่า โอ๋... ปฏิบัติอย่างนี้มันง่ายๆ เอง ในชีวิตประจำวัน มันไม่ได้ยากหรอก
แต่เป็นเพราะเราไม่รู้จักทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์อย่างนี้ เราถึงหลงขยะ เพราะเราไปเพิ่มความบ้าของตัวเอง ให้ทุกท่านทุกคนพากันทำอย่างนี้ ที่ว่าอาหารหลักก็คืออริยมรรคมีองค์ 8 ทุกข้อ อาหารเสริมก็คือสมาธิ คือนั่งสมาธิตอนเช้า ตอนเย็น ตอนกลางวันอะไรอย่างนี้ เค้าเรียกว่าอาหารเสริม เพราะบางทีมันก็ต้องทานอาหารเสริม เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ไปกินอาหารเสริมก็พอดี อาหารเสริมมากเกินมันก็ไม่มีประโยชน์นะ เพราะว่ามันติดสุข ติดสบาย เพราะสมาธิที่เราจะใช้งานคือ สมาธิระดับอุปจาสมาธิ สมาธิเดิน เหิน นั่ง นอน ไม่ใช่อัปปนาสมาธิ ไม่ใช่ฌานอะไรต่างๆ อะไร ทุกอย่างต้องปล่อยให้เป็นธรรมชาติ เหมือนกับเราหายใจก็เป็นธรรมชาติ เราไปนั่งสมาธิ มันไม่เป็นธรรมชาติ ไม่ได้รู้หลักความเย็นทางจิตทางใจ มันเป็นการบีบครั้นจิต บีบครั้นใจ ใจเรามันเลยไม่เป็นแอร์คอนดิชั่น มันเลยปวดหัว ปวดประสาท ต้องเข้าใจ
ใจของเรานี้ส่วนใหญ่มันไม่ค่อยจะสงบ มันถูกอารมณ์ คือความชอบใจ ความไม่ชอบใจครอบงำอยู่ตลอดเวลา เรื่องเล็กๆ มันเลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องที่มันไม่มีอะไรมันเลย เกิดเรื่องเกิดปัญหา
เรามีร่างกาย... ร่างกายนี้เค้าก็ประกอบด้วยขันธ์ทั้ง ๕
ขันธ์ทั้ง ๕ มีอะไร...? ขันธ์ ๕ ก็มี... รูป คือ ร่างกายนี้ เวทนา คือ ความสุข ความทุกข์หรือว่าเฉย ๆ ที่เกิดขึ้นกับกายของเรา
สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ จำเรื่องเก่าๆ
สังขาร คือ ความคิดความปรุงแต่งต่างๆ นานา
วิญญาณ คือ ตัวผู้รู้ที่เราทุกๆ คนรู้ดีรู้ชั่วรู้ผิดรู้ถูก
ขันธ์ทั้ง ๕ เค้าก็ทำหน้าที่ของเขาที่สมบูรณ์ที่ตรงไปตรงมา ถ้าขันธ์ใดชันธ์หนึ่งไม่ทำงานก็แสดงว่าสุขภาพร่างกาย จิตใจของเราไม่ปกติ หมายถึงเราเป็นคนอาพาธ “พระพุทธเจ้าท่านให้เราทุกท่านทุกคนให้รู้เรื่องของร่างกาย และรู้เรื่องของทางใจ รู้เรื่องความคิด ความปรุงแต่ง ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น...เค้าก็ทำงานตามธรรมชาติ มันเกิดขึ้น..ตั้งอยู่...ดับไป มันจะเป็นอย่างนี้ในชีวิตประจำวันของเรา”
ท่านไม่ให้เราวุ่นวายตามอารมณ์ ตามความคิด ตามเวทนาหรือว่าตามตัวผู้รู้ที่เกิดขึ้นกับใจของเรา ถ้าเราคิดไป เราปรุงแต่งไปก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราไม่สงบ
พุทโธ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คนไม่ตายก็ย่อมมีสิ่งต่างๆ มาปรากฎแก่เราในชีวิตประจำวัน เรามีสมาธิ คือความหนักแน่น คือความตั้งมั่น ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นก็ย่อมดับไป
การเจริญสติสัมปชัญญะ... พระพุทธเจ้าสอนให้เราทุกคน...จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว สิ่งที่เป็นอดีตมันก็ผ่านไปแล้ว แก้ไขอะไรไม่ได้ สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มาถึง เราพยายามทำปัจจุบันให้มันดีที่สุด ให้ใจของเรามันสงบ ให้ใจของเรามันเย็นให้ได้ ไม่ต้องไปเครียดอะไร อย่าให้ความดีความชั่วหรือสิ่งที่เป็น 'โลกธรรม' มาครอบงำจิตใจของเราได้ เพราะทุกท่านทุกคนนั้นไม่ใช่เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวเป็นตน มันเป็นธรรมะ เป็นธรรมชาติ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความพลัดพราก เป็นสมบัติของเราทุกๆ คน “พยายามเอาดีเอาชั่ว เอาผิดเอาถูก ออกจากจิตจากใจของเรา
สักกายทิฏฐิ... การถือเนื้อถือตัวของเรามันมีมาก ความยึดความถือนั้นมันเป็นภาระหนัก เป็นสิ่งที่หนักหน่วง ในจิตในใจของเรา ถ้าเราคิดว่าเราเป็นผู้หญิงผู้ชายเราก็เป็นทุกข์แล้ว ถ้าเราคิดว่าเรารวยเราจนเราก็เป็นทุกข์แล้ว ถ้าเราคิดว่าเราหล่อเราสวยเราก็เป็นทุกข์แล้ว ถ้าเราผอมเราดำ แม้แต่สิวขึ้นหน้าไม่กี่เม็ดเราก็เป็นทุกข์แล้ว
พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราเน้นเรื่องทางกาย ให้เราเน้นทางจิตทางใจ เพราะความสุข ความทุกข์ ที่เราได้รับอยู่ คือใจไม่สงบ เป็นคนรวยก็ทุกข์อย่างคนรวย เป็นคนจนก็ทุกข์อย่างคนจน เป็นคนพิการก็ทุกข์อย่างคนพิการ เพราะเราไปถือสักกายทิฏฐิ ถือตัวถือตน ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงมันเผาเรา
เรามาบวช เรามาปฏิบัติ พระพุทธเจ้าท่านสอนเราให้เรามาฝึกปล่อยฝึกวาง ฝึกจิตใจให้มันสงบมันเย็น มันเคยคิดมากปรุงแต่งมาก เราต้องมาหยุดตัวเอง ไม่ให้มันคิดมาก ไม่ให้มันปรุงแต่งมาก เพราะการคิดมากปรุงแต่งมากมันไม่ได้อะไรเลย นอกจากเราจะได้เป็นโรคกระเพาะ โรคประสาท โรคจิต เป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นานา สาเหตุก็มาจากใจของเราไม่สงบ ด้วยเหตุนี้...พระพุทธเจ้าท่านเลยไม่ให้เราคิดอะไรมาก ปรุงแต่งอะไรมาก
"เราอย่าไปกลัว กลัวว่าถ้าไม่คิด...ไม่นึกแล้ว ปัญญาจะไม่เกิด กลัวไม่ได้บรรลุธรรม"
ให้ทุกท่านทุกคนนั้นถือว่า... เดี๋ยวนี้เวลานี้เรากำลังปฏิบัติธรรม ฝึกจิตใจให้สงบ เพราะเราอยู่กับตัวเองไม่ค่อยเป็น ชอบอยู่กับเพื่อนกับฝูง กับโทรศัพท์ เฟซบุ๊ก โทรทัศน์ เป็นต้น มีแต่อยู่กับสิ่งภายนอก เมื่อมาอยู่กับตัวเองอยู่กับความสงบมันอยู่ไม่เป็น จิตเลยไม่มีผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ต้องฝึกปล่อยฝึกวางภายนอกซัก ๕ นาที ๑๐ นาทีหรือเป็นชั่วโมงๆ เหมือนพระอริยเจ้าท่านปฏิบัติกัน "ลาภ...ยศ...สรรเสริญ... มันมีทั้งคุณและโทษ ถ้าเราไปหลง ไปเพลิดเพลิน มันก็มีโทษแก่เรา ถ้าเรารู้จัก...รู้แจ้ง 'ใจ' ของเรา ก็เกิดปัญญา"
พระพุทธเจ้าท่านให้เรารู้เรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวันของเราว่า สิ่งเหล่านี้มันเป็นโลก เป็นวัฏฎสงสาร มันจะเกิดขึ้น หรือมันจะดับไปสิ่งต่างๆ ก็มีอยู่อย่างนี้แหละ น้ำท่วม ภัยพิบัติ อาชญากรรมมันก็มีอยู่อย่างนี้แหละ ถ้าเราไม่รู้จักรู้แจ้ง จิตใจของเราก็สับสนไม่เป็นตัวของตัวเอง จิตใจของเรา ก็ไม่สงบ
พระพุทธเจ้าท่านให้กลับมาดูใจของเราว่า "ใจของเรามันสงบหรือยัง...?" ถ้าไม่สงบก็ให้กลับมาหาตัวเอง มีสติให้มันทั่วพร้อม หายใจเข้าก็ให้มันสบาย หายใจออกก็ให้มันสบาย
เรานั่งสมาธิอย่างนี้...มันคิดมันปรุงแต่งไปเรื่องอื่น เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ กว่าเราจะรู้เราหลงปรุงแต่งไปตั้งนาน เรามีสติระลึกได้เราก็หายใจเข้า...หายใจออก...รู้สบาย...สงบหรือไม่สงบก็ช่างหัวมัน
การฝึกฝนอบรมบ่มอินทรีย์ ฝึกหายใจให้มันละเอียดประณีตเข้า ลมเข้าเบาสบายก็รู้ ลมออกเบาสบายก็รู้ ฝึกหายใจให้มันละเอียดเหลือแต่ตัวผู้รู้ ใจของเราก็ไหวตามลมเข้าลมออก เหลือแต่ตัวผู้รู้ ใจของเราก็จะนิ่ง ใจของเราก็จะเป็นหนึ่งเบาสบาย เราฝึกใจไว้ปฏิบัติใจไว้
พระพุทธเจ้าท่านสอนเราหายใจเข้ายาวก็รู้ หายใจออกรู้ จนจิตใจของเรามันสงบ จนมันเข้าสมาธิได้ ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องปรุงแต่งอะไร ฝึกไปปฏิบัติไป
ทุกอย่างนั้นมันย่อมไม่ได้ตามใจของเรา อยากให้มันสงบ มันก็ไม่สงบ ที่ไหนมีความอยาก ความต้องการ ที่นั่นแหละ... มีเรื่องที่เผาจิตเผาใจของเรา
สมาธิ คือ ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ไม่มีความนึกคิดปรุงแต่งอะไรทั้งนั้น มีแต่เสียสละ มีแต่ปล่อย มีแต่วาง "อาศัยการฝึกบ่อยๆ การปฏิบัติบ่อย ๆ..."
การฝึกนี้...อะไรก็ไม่ฝึกยากเท่ากับ 'ฝึกตนเอง'
พระพุทธพจน์ตรงนี้ มาจากคราวเมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปธานิกติสสเถระ พระเถระนั้นเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว พวกภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปไปจำพรรษาในป่า กล่าวสอนว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระชนม์อยู่ จงเป็นผู้ไม่ประมาท ทำสมณธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว ตนเองก็ไปนอนหลับ.
ภิกษุเหล่านั้นจงกรมในปฐมยามแล้ว เข้าไปสู่วิหารในมัชฌิมยาม. พระเถระนั้นไปสู่สำนักของภิกษุเหล่านั้น ในเวลาตนนอนหลับแล้วตื่นขึ้น กล่าวว่า "พวกท่านมาด้วยหวังว่า ‘จักหลับนอน’ ดังนี้หรือ? จงรีบออกไปทำสมณธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว ตนเองก็ไปนอนเหมือนอย่างนั้นนั่นแล.
พวกภิกษุนอกนี้ จงกรมในภายนอกในมัชฌิมยามแล้ว เข้าไปสู่วิหารในปัจฉิมยาม. พระเถระนั้นตื่นขึ้นแม้อีกแล้ว ไปสู่สำนักของภิกษุเหล่านั้น นำภิกษุเหล่านั้นออกจากวิหารแล้ว ตนเองก็ไปนอนหลับเสียอีก,
เมื่อพระเถระนั้นกระทำอยู่อย่างนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์, ภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะทำการสาธยายหรือทำพระกัมมัฏฐานไว้ในใจได้ จึงได้ถึงความฟุ้งซ่านแล้ว.
ภิกษุเหล่านั้นปรึกษากันว่า "อาจารย์ของพวกเรา ปรารภความเพียรเหลือเกิน พวกเราจักคอยจับท่าน" เมื่อคอยจับอยู่ เห็นกิริยาของพระเถระนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราฉิบหายแล้ว อาจารย์ของพวกเราย่อมร้องเปล่าๆ"
บรรดาภิกษุเหล่านั้นลำบากอยู่เหลือเกิน ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้บังเกิดได้.
ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาแล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา มีปฏิสันถารอันพระศาสดาทรงทำแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท ทำสมณธรรมหรือ? จึงกราบทูลความนั้น.
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ภิกษุนี้ส่งเสียงไม่เป็นเวลา แม้ในกาลก่อนก็ส่งเสียงไม่เป็นเวลาเหมือนกัน และเพราะความที่ไม่รู้กาลหรือมิใช่กาล ถูกบิดคอถึงสิ้นชีวิต แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์ เจริญวัยแล้ว สำเร็จการศึกษาในศิลปวิทยาทุกอย่าง เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในพระนครพาราณสี บอกศิลปะแก่มาณพประมาณ ๕๐๐.
พวกมาณพเหล่านั้นมีไก่ขันยามอยู่ตัวหนึ่ง พวกเขาพากันลุกตามเสียงขันของมัน ศึกษาศิลปะอยู่ มันได้ตายเสีย พวกเขาจึงเที่ยวแสวงหาไก่อื่น. ครั้งนั้น มาณพผู้หนึ่งหักฟืนอยู่ในป่าช้า เห็นไก่ตัวหนึ่งก็จับมาใส่กรงเลี้ยงไว้ ไก่ตัวนั้นมิได้รู้ว่าควรขันในเวลาโน้น เพราะมันเติบโตในป่าช้า บางคราวก็ขันดึกเกินไป บางคราวก็ขันเอาเวลาอรุณขึ้น พวกมาณพพากันศึกษาศิลปะในเวลาที่มันขันดึกเกินไป ไม่อาจศึกษาได้จนอรุณขึ้น พากันนอนหลับไป แม้ข้อที่ท่องจำได้แล้ว ก็เลือนลืม ในเวลาที่มันขันสว่างเกินไปเล่า ต่างก็ไม่ได้ท่องบ่นเลย มาณพกล่าวกันว่า เดี๋ยวมันขันดึกไป เดี๋ยวก็ขันสายไป อาศัยไก่ตัวนี้ พวกเราคงเรียนศิลปะวิทยาไม่สำเร็จแล้ว ช่วยกันจับมันบิดคอถึงสิ้นชีวิต แล้วบอกอาจารย์ว่า ไก่ที่ขันไม่เป็นเวลา พวกผมฆ่ามันเสียแล้ว. อาจารย์กล่าวว่า มันถึงความตาย เพราะมันเจริญเติบโต โดยมิได้รับการสั่งสอนเลย ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ ความว่า "ไก่ตัวนี้ไม่ได้เติบโตอยู่กับพ่อแม่ ไม่ได้อยู่ในสำนักอาจารย์ ย่อมไม่รู้จักกาลที่ควรขันและไม่ควรขัน" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อันธรรมดาภิกษุ เมื่อกล่าวสอนคนอื่น พึงทำตนให้เป็นอันทรมานดีแล้ว เพราะบุคคล เมื่อกล่าวสอนอย่างนั้น เป็นผู้ฝึกดีแล้ว ชื่อว่าย่อมฝึกได้" แล้วตรัสพระคาถานี้ :-
“อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺญมนุสาสติ สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.
ถ้าบุคคลพร่ำสอนผู้อื่นอยู่ฉันใด พึงทำตนฉันนั้น, บุคคลผู้มีตนฝึกดีแล้วหนอ (จึง) ควรฝึก (ผู้อื่น) เพราะว่าได้ยินว่า ตนฝึกฝนได้โดยยาก.”
เพราะว่าชื่อว่าตนนี้ เป็นสภาพอันบุคคลฝึกฝนได้ยาก เพราะเหตุนั้น ตนนั้นย่อมเป็นสภาพอันบุคคลฝึกฝนดีแล้ว ด้วยประการใด ควรฝึกฝนตนด้วยประการนั้น.
เราอย่าไปคิดว่าการมาบวชมาประพฤติปฏิบัติทำไมมันยุ่งยากอย่างนี้ ถ้ามันง่าย มันก็คงพากันบรรลุธรรมไปหมดเเล้ว เราต้องตั้งใจฝึกตัวเอง มันจะผอมก็ช่างมัน มันจะเหนื่อยก็ช่างมัน มันจะตัวงอนั่งคอพับให้ตัวตรงขึ้น พยายามเเก้ใจของเรา ไม่ให้มีความยึดมั่นถือมั่นเสียสละ ตามปกติน้ำมันก็ชอบไหลลงจากภูเขาสูงสี่ที่ต่ำ มันก็ต้องพัฒนาใจ เราต้องพัฒนา เราอย่าไปคิดว่า เอ้ย... ปฏิบัติเมื่อไหร่จะได้หยุด คนอย่างนี้มันเป็นความเห็นผิด ให้มันเป็นเองโดยอัตโนมัติ เหมือนกับลมหายใจมันเป็นอัตโนมัติของมัน เรานั่งสมาธิอยากให้เป็นอย่างโน่นอย่างนี้ มันเลยมีเรื่อง
การประพฤติการปฏิบัติบูชานี้...ถือเป็นบุญใหญ่ เป็นอานิสงส์ใหญ่ ถ้าเราเป็นคนเสียสละ เป็นคนรับผิดชอบ เก่งในการรักษาศีล เก่งในการทำข้อวัตรปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ดีมาก "เราก็มาพัฒนาให้เก่งในการฝึกใจ ฝึกสมาธิ..."
การนั่งสมาธิ จุดมุ่งหมายเราจะทำใจให้สงบ ทำใจให้เป็นหนึ่ง เราไม่ต้องไปสนใจเรื่องสี เรื่องแสง เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ ไม่ต้องไปรู้อะไร... พระพุทธเจ้าท่านให้เรารู้ 'ใจ' ของเรา ใจสงบก็รู้ ใจไม่สงบก็รู้ ลมเข้าละเอียดก็รู้ ลมออกละเอียดก็รู้ จิตใจมันนิ่งมันไม่ปรุงแต่งอะไรก็รู้ ฝึกไปปฏิบัติไป เพื่อให้จิตใจเรารู้ความสงบเป็นอย่างไร ให้มันชำนิชำนาญ
ครูบาอาจารย์น่ะท่านบอกท่านสอนให้เราพากันมารู้ตัวเอง ไม่ต้องไปอ่านหนังสือ ไม่ต้องไปคุยกับเพื่อน พยายามอยู่กับความสงบ พยายามอยู่กับตัวเองให้มากๆ ใจจะได้สงบลง เย็นลง ใจจะได้เจริญ 'สติปัฏฐาน' ทั้ง ๔ รู้กายตัวเอง รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรม มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ แต่ก่อนเป็นคนพูดมาก เป็นคนคิดมากฟุ้งซ่านก็มาฝึกสงบใจ เมื่อจิตใจของเราสงบ เมื่อจิตใจของเราเย็น ปฏิปทาของเราก็เปลี่ยนไป เคยเป็นคนพูดมากก็พูดน้อยลง เคยทะลุป่าทะลุดงก็น้อยลง "ฝึกปล่อย...ฝึกวาง...ฝึกมารู้ตัวเอง..."
เค้าถามว่ามาปฏิบัติธรรมได้อะไร...?
ปฏิบัติธรรมมันไม่ได้อะไร คือทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มีได้ ไม่มีเสีย มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ฝึกจิตใจของเราให้มันสงบ ไม่วิ่งตามอารมณ์ไป จะได้บุญใหญ่อานิสงส์ใหญ่ ต้องฝึกตนเองปฏิบัติตนเอง "ความดีเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกคนไม่อยากจะทำ"
“ความโลภ ความโกรธ ความหลง เปรต ยักษ์ อสุรกาย ที่มันอยู่ในจิตในใจของเรา มันก็ไม่อยากตาย ไม่อยากออกจากใจของเรา มันนอนเนื่องในสันธสันดานหลายภพหลายชาติแล้ว”
เราไปเอาความชอบไปความไม่ชอบ ไปเอาความอยาก ความไม่อยากเป็นที่ตั้งไม่ได้ แล้วพระพุทธเจ้าท่านไม่ให้เราตามเปรต ยักษ์ อสุรกาย ให้เรากลับมาหาศีลหาธรรมหาคุณธรรม ท่านพาเราประพฤติพาเราปฏิบัติ พาเข้าหาความสุข ความดับทุกข์ คือ 'ความสงบ' เอาพระพุทธเจ้าพระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นที่ตั้งเป็นที่ปฏิบัติ จิตใจของเรา ทุกท่านถึงจะได้เข้าถึงมรรคผลพระนิพพานด้วยกันทุกท่านทุกคน...