แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ที่หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม เมตตาให้นำมาบรรยาย
บรรยายธรรมโดย พระมหาอนุชน สาสนกิตติ (ป.ธ.๙, ดร.)
ในวันอาทิตย์ที่ ๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
ณ วัดป่าทรัพย์ทวีธรรมาราม อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง พรรษาแห่งการตื่นรู้ ตอนที่ ๒๓ ให้เราตั้งมั่นในพระรัตนตรัย สละคืนซึ่งตัวตน มีสติสัมปชัญญะ สู้จนหมดกิเลส
(บางส่วนจากโอวาทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า)
คนเรานี้ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ ไม่รู้ข้อปฏิบัติถึงความดับทุกข์ เราถึงเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร คนเราไม่รู้จักของดี ไม่รู้จักของประเสริฐ ทุกทุกท่านทุกคนต้องพากันเข้าใจอย่างนี้นะ ให้เราตั้งมั่นในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระอริยสงฆ์ ต้องสละคืนซึ่งตัวซึ่งตน มีสติสัมปชัญญะ หายใจเข้าก็รู้ตัวชัดเจน หายใจออกก็ชัดเจน ชีวิตของเรา ถ้าเรามีความเห็นถูกต้อง มีความเข้าใจถูกต้อง ปฏิบัติถูกต้อง เราจะมีความสุข เเล้วปฏิบัติเราจะมีความสุข ความสุขของเราหมายถึงว่าไม่มีความทุกข์ใจ
เราดูภาพรวมของโลก ประชาชนเค้าไม่รู้จักความทุกข์ที่เเท้จริง พากันสร้างปัญหาให้กับตัวเอง การเรียนการศึกษา หรือว่า การทำงานพัฒนาตั้งเเต่ความสุข ความสะดวก ความสบาย ไม่ได้พัฒนาถึงใจ คนเราร่างกายนี้ มันคือ ความเกิดเเก่เจ็บตาย พลัดพราก เราต้องพัฒนาทั้งใจ เพราะการเเก้ปัญหา การเวียนว่ายตายเกิด ที่ไม่เกิดอีกต้องเเก้ที่ใจ ทุกคนต้องรู้จักทุกข์ รู้เหตุเกิดทุกข์ เรามามีความสุขในการเสียสละ ของดีที่สุด คือศีล คือเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง สละซึ่งสักกายทิฏฐิ ตัวตน
ประชาชนทุกคนต้องพากันรู้จัก พาลูกพาหลานเรารู้จัก การทำงานเราจะรู้จักจุดมุ่งหมายจุดยืน ไม่ล่องลอย เหมือนสัมภเวสี เหมือนเป็นอยู่อย่างนี้ เราทำงาน เรามีความสุขในการทำงาน อย่างเต็มที่เต็มร้อยเปอร์เซ็น เราอย่าไปออมไว้ เราต้องมีความสุขในการเสียสละตั้งใจ เพราะวันนึงคืนนึง 24 ชั่วโมง อิริยาบถทั้ง 3 ยืนเดินนั่ง เราอยู่อย่างนี้จนรวม 14-15 ชั่วโมง คนเราก็ต้องมีความสุขในการเสียสละ ถ้าเราไม่ได้ทำงาน ก็ต้องเจริญอานาปานสติ การเจริญอานาปานสติ ต้องเอามาใช้สลับกับการทำงานอย่างนี้เป็นต้น หายใจเข้าให้รู้ชัดเจนหายใจออกให้รู้ชัดเจน อันนี้เรียกว่าเรามีพุทโธ ผู้รู้ผู้ตื่น การทำงานอย่างนี้ให้มันเป็นอัตโนมัติ ออโตเมติกเลย
คนเค้าไม่เข้าใจ การปฏิบัติธรรม หรือว่าทำงาน มีเเต่ความเครียด จะนั่งสมาธิ ยังไม่นั่งสมาธิ มันเครียด เพราะเราจะเอา เเต่ก่อนเราก็หายใจอยู่เราไม่เห็นเครียด ทีนี้มาดูลมเข้าดูลมออกมันเครียด เเต่อยู่เฉยๆ ลมมันก็เข้ามันก็ออก ทำไมมันไม่เครียด ก็เพราะว่าอันนี้ เรายังไม่มีอุปาทาน เรายังไม่มีความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติธรรมก็คือการไม่ทำอะไร การรักษาศีลคือการไม่ทำอะไร การทำงานคือการไม่ทำอะไร การไม่ทำอะไรอย่างนี้ คือการสลัดเสียซึ่งตัวซึ่งตน ต้องให้เข้าใจ คิดว่าไม่ได้ทำอะไร เเล้วตามใจตามอารมณ์ ไม่ได้ เพราะธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อขี้เกียจขี้คร้าน ไม่ใช่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
อย่างพระที่มาบวชหลายรูปที่เข้าศาลาช้ากว่าเวลา ตอนตี 3 ช้ากว่าเวลา ตอนเช้าก็ช้ากว่าเวลา อย่างนี้มันไม่ถูก อย่างนี้คิดว่าปล่อยวาง มันไม่ถูกนะ อันนั้นคือความยึดมั่นถือมั่น อันนั้นคืออารมณ์ คือเจ้าอารมณ์ ผู้ที่เป็นโรคประสาทมากที่สุดถึงกับเป็นบ้า คือผู้ที่ตามใจตัวเอง ตามอารมณ์ตัวเอง คนที่เป็นประสาทน้อย ประสาทมาก มันอยู่ที่เอาเเต่ใจตัวเอง เอาเเต่อารมณ์ตัวเอง ทุกคนต้องมาเสียสละ คนเสียสละถึงจะเป็นคนฉลาด คือดำเนินชีวิตด้วยไม่ใช่นิติบุคคล ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เค้า เป็นธรรมะ เป็นสภาวะธรรม เป็นการดำเนินชีวิตของพระอริยเจ้า ทางโลก ทางธรรม อย่าไปเเยกกัน มันเเยกกันไม่ได้ เราเเยกกัน มันก็คือเป็นโควิด มันต้องพัฒนาใจของเรา พัฒนาเทคโนโลยี อย่างดี เสียสละเต็มที่เลย เสียสละทางใจเต็มที่ เราอย่าไปห่วงเเต่เรื่องกินเรื่องนอน พักผ่อน มันไม่ใช่ เราต้องเข้าใจ ถ้าอย่างนั้นจะไม่มีสักกายภาพเลย เป็นคนโง่นะ
ที่เราเข้าศาลาช้ากว่าเวลา เวลาสวดมนต์ถึงเวลาเค้ากราบก็กราบกับเค้า ถึงเวลาเค้าสวดก็สวดกับเค้า ถึงเวลาเค้าสวดนั่งพนมมือเฉยๆ หลวงพ่อชาท่านบอกว่า เปรียบเสมือนเค้าเอามาปล่อยให้กินหญ้า ถ้ามันไม่กินหญ้า มันก็เป็นหมู เมื่อเค้าสวดกันก็ต้องสวดกับเค้า มันไปตามใจของเราอย่างนั้นไม่ได้ เพราะปัจจุบันมันเป็นสิ่งสำคัญ เราต้องสวดให้มีสติสัมปชัญญะ ให้ถูกต้องทั้งอักขระพยัญชนะ เราต้องละลายพฤติกรรมที่มันเห็นเเก่ตัว เราบวชมามันไม่ได้ฝึก เราเป็นลูกเถ้าเเก่ลูกอะไรมาบวช มันติดนิสัยเห็นเเก่ตัว คนเราจะทำอะไรลอยๆ อย่างนั้นไม่ได้ มันต้องเป็นพระเอกเต็มที่ พระเอกคือจิตใจเป็นหนึ่ง เป็นเอก ตั้งอกตั้งใจ ให้ทำหน้าที่เเต่ละอย่างสมบูรณ์ ให้มันได้สักกายภาพทุกคน ให้มันมีคุณภาพ
พวกที่ทำการทำงานที่บ้าน เราปฏิบัติธรรม เราต้องรู้ว่า ทุกคนต้องเอาธรรมเป็นหลักเอาธรรมเป็นใหญ่ อย่างนี้ปฏิบัติตัวเอง เเก้ไขตัวเอง มันถึงจะถูกต้อง อย่างนั้น มันจะเป็นไปเหมือนที่เรารู้เราเห็นมันไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติ เเล้วก็จะไปโทษคนอื่นไม่ได้ เพราะกรรมใครใครก่อ อานาปานสติต้องพากันใช้งาน ไม่ใช่รอตั้งเเต่นั่งสมาธิอย่างเดียว เราใช้ได้ทุกอิริยาบถ ที่ในสังคมเค้าว่า พวกที่มาบวชหรือมาเป็นเเม่ชีนี้ ไปยุ่งเกี่ยวข้องกับโลกไม่ได้ ก็จริง คำว่าโลก ก็คือ ความเห็นเเก่ตัว คือ ความขี้เกียจขี้คร้าน ผู้ที่เป็นพระต้องไม่ขี้เกียจขี้คร้าน พระไม่ยุ่งทางโลก ความเห็นเเก่ตัวเช่นว่า เรียก สส. สว. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน หรือ ทำนิติกรรมอะไร อย่างนี้ไม่ได้ เพราะเค้าให้เราเป็นพระอริยเจ้า เป็นพระอรหันต์ ให้เราเสียสละ ให้ระดับ เพื่อจะได้ สอนประชาชน บอกประชาชนได้ พระนี้ไม่เสียสละ ถึงปล่อยให้วัดมันรก ไม่เสียสละ ไม่ทำวัตรสวดมนต์ ไม่เสียสละถึงไปเล่นโทรศัพท์ ไปไลน์โทรศัพท์ อันนั้นยังไม่ได้เป็นพระนะ เป็นแต่เพียงภิกษุ
ประชาชนเราต้องรู้จัก ความเป็นพระมันมีอยู่กับเราทุกๆ คน เราเป็นประชาชนมีศีลห้า ต้องพัฒนาใจของเราก็เป็นพระอริยเจ้าได้ตั้งเเต่พระโสดาบันจนถึงพระอนาคามี ถ้าเราไปงมงายอย่างนั้น เป็นคนเจ้าอารมณ์ เป็นคนตามอารมณ์ เค้าเรียกว่าเป็นคนงมงาย ไปเชื่ออารมณ์ ไปหลงอารมณ์อยู่ เรียกว่าเป็นคนงมงาย ยิ่งไปดูหมอ ดูดวง ยิ่งไปงมงายหนัก เป็นคนไม่มีเหตุผลอะไร พระรัตนตรัยขลังศักดิ์สิทธิ์ก็จริง เราจะกราบจะไหว้อย่างเดียวไม่ได้ เราต้องประพฤติปฏิบัติ ดีมาก โรงพยาบาล มาปฏิบัติธรรมเพื่อทดเเทนคุณเเผ่นดิน เราอยู่ที่โรงบาลก็ต้องทำงานให้มีความสุขไปเลย ถ้าเราไม่มีความสุขคิดว่าทำงานเพื่อเอาเงินเดือนมันไม่ได้ ทุกท่านทุกคนต้องตั้งใจพัฒนาตัวเอง ให้คนอื่นบังคับมันไม่ได้หรอก ต้องรู้ตัวเอง คอนโทรลตัวเอง บังคับตัวเอง เพราะอันนี้มันเรื่องจิตเรื่องใจ เรื่องธรรม เรื่องคุณธรรม
"คนเก่ง คนฉลาด คนมีทรัพย์มากก็มีมากอยู่แล้ว แต่คนดีนี้มีน้อย คนดีเป็นคนที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรม ฆราวาสก็ต้องมีศีล ๕ คุณแม่ชีก็ศีล ๘ สามเณรก็ศีล ๑๐ พระก็ศีล ๒๒๙ เป็นคนที่เมตตา ซื่อสัตย์ กตัญญูกตเวที เป็นผู้ที่ไม่ลุ่มหลงในอัตตา และเป็นคนที่รู้จักสัจธรรมว่า เราเกิดมาก็ไม่ได้เอาอะไรมา ตอนตายก็ไม่ได้เอาอะไรไป นี้คนดีที่พระพุทธเจ้าท่านยกเอาเกณฑ์มาพิจารณา"
ในสังคมในครอบครัวก็ต้องการคนอย่างนี้ ไม่ใช่มีความต้องการแต่ทางวัตถุเท่านั้น บัณฑิตที่เข้ามาบวชก็ต้องทำตามคุณธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน เมื่อเราลาสิกขาไปแล้วจะได้มีหลักเกณฑ์ มีจุดยืนที่ประเสริฐ ทุกวันนี้สังคมต้องการคนดีมีคุณธรรม แม้ว่าจะไม่ร่ำรวยล้นฟ้า ถ้าเราปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า เราก็ไม่ยากจน มีเครดิตดี ลำบากก็มีคนช่วย คนไม่ช่วยเทวดาก็ช่วย อยู่ที่บ้านที่พักของเราถ้าเราปฏิบัติแล้วพระรัตนตรัยก็อยู่ที่ใจของเรา เรา กราบไปที่เตียงนอนของเราพระคุณพ่อแม่ก็อยู่ที่ใจของเรา
การบวชถือเป็นหนทางอันประเสริฐเพื่อที่จะทดแทนพระคุณของพ่อแม่ ผู้มีพระคุณทั้งหลาย เป็นการสร้างบุญบารมีให้กับตนเองด้วย ผู้ที่รู้จักบุญคุณและทดแทนพระคุณของผู้มีอุปการะคุณ ย่อมจะมีแต่ความเจริญ
การบวชนั้นมีบุญใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ แต่กว่าที่จะได้บุญมากอานิสงส์มาก ก็ต้องปฏิบัติดีปฏิบัติชอบก็ให้ถือศีล พระวินัยจะเป็นพระได้ต้องถือศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์ เราต้องรับผิดชอบเรื่องการรักษาศีล เราต้องรักษาเอง คนอื่นจะช่วยรักษาไม่ได้ พระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์เป็นเพียงผู้บอก เราต้องรักษาเอง ที่เราจะได้ผลใหญ่เราต้องรักษาศีล ตั้งใจปฏิบัติไม่ว่าอิริยาบถไหน เราต้องเอาพระพุทธเจ้าและพระอริยเจ้าเป็นหลัก อย่างพระสารีบุตรที่ท่านไม่ละเมิดศีลแม้เพียงเล็กน้อยนั้นเป็นตัวอย่าง ปัจจุบันก็พระอาจารย์มั่นที่มีลูกศิษย์เกิดขึ้นมากมาย เพราะการรักษาศีล
เราไปหาที่ปฏิบัติ ที่ปฏิบัติอยู่ที่ตัวเรา อยู่ที่กายวาจาใจของเราอยู่ที่ประพฤติปฏิบัติเหมือนวันพระ เค้าสมาทานถือเนสัชชิกอย่างนี้ เค้าก็สมาทานเองตั้งใจเอง เราอย่าเอาคนอื่นเป็นมาตรฐาน เราเอาพระพุทธเจ้าเป็นมาตรฐาน ทำไมเค้านั่งสมาธิ เค้าเครียด เค้าปวดหัว เพราะว่ามันทำไมถูก เพราะว่ามันจะเอาไง ทำไมเราไปเรียนหนังสือมันปวดหัว เพราะว่ามันจะเอา เค้าสอบข้อสอบในห้องเเอร์ ที่มันเย็น เพราะมันจะเอา เราก็สุดโต่งไปว่า ถ้าไม่เอาก็ปล่อยวาง เลยย่อหย่อน มันเลยเป็นปัจจุบัน ปัจจุบันต้องเข้าใจ ถ้างั้นมัวเเต่นั่งฟุ้งซ่านปวดหัว อานาปานสติต้องเจริญเหมือนกับให้เป็นปกติ เหมือนกับเราหายใจตั้งเเต่เมื่อไหร่ไม่รู้ เพราะธรรมชาติมันกลมกลืน มันไม่ใช่ เหมือนกับเอาคนมามัดไว้ มัดมือมัดเท้า มันกดดัน
เดินจงกรมก็ไม่มีใครเดินให้เรา เราต้องเดินเอง ขาขวา พุท ซ้าย โธ เดินกลับไปกลับมา นั่งสมาธิก็เหมือนกันเราต้องนั่งเอง ที่นั่งเป็นหมู่ก็เพื่อที่จะให้เรามีหลัก เราก็ต้องนั่งทำใจให้สงบ หายใจเข้าพุท ออก โธ หายใจเข้าออกสบายๆ อยู่กับพุทโธ ชำระจิตใจของเราออกจากความคิดความฟุ้งซ่านต่างๆ ถ้าใจของเราสงบก็จะมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เราจะนึกพุทโธ ตามลมหายใจเข้าและออกก็ได้
ทุกคนสามารถทำได้ไม่เฉพาะแต่พระภิกษุ สามเณรหรือคุณแม่ชีเท่านั้น ให้เรานึกบริกรรมตามลมหายใจเข้าออกเรื่อยไป บริกรรมพุทโธจนจิตใจของเราเป็นหนึ่งสงบเย็น หรือจะนึกบริกรรมพุทโธๆๆๆๆ ติดต่อต่อเนื่องกันไป แล้วแต่จริตนิสัยของใครจะถนัดอย่างไร ให้กายของเราตั้งตรง ครั้งแรกนั่งให้ร่างกายนิ่งๆ ก่อน ใจยังไม่สงบไม่เป็นไรให้ร่างกายของเรานิ่งๆ สบายๆ ๑๕ - ๓๐ นาที ถ้าปวดเมื่อยก็ขยับสักครั้งหนึ่งฝึกไปเรื่อยๆ จนชำนาญ
การภาวนานั้น เบื้องต้นต้องยึด "พุทโธ" เป็นหลัก ทุกอิริยาบถเลย ถ้าเราเจริญวิปัสสนาเลยจะข้ามขั้นตอนไป ทำให้ใจไม่มีหลัก การเจริญปัญญาด้วยการพิจารณาวิปัสสนา ก็ไม่เกิดผลเท่าที่ควร หรือไม่ได้ผลกลับกลายเป็นความฟุ้งซ่านรำคาญ เป็นวิปัสสนึก ไม่ใช่วิปัสสนา เพราะนึกเอาคาดเดาเอาแล้วยึดว่าเรารู้จริงเห็นจริง
ปัญญาที่แท้จริง จะเกิดจากความสงบเยือกเย็น สติชัดเจนอยู่กับปัจจุบันทุกเวลานั้นเอง จะสามารถดับทุกข์ได้ทุกขณะทุกเวลา
การบวชที่จะมีผลใหญ่มีอานิสงส์ใหญ่ ก็ให้ตั้งอกตั้งใจประพฤติปฏิบัติรักษาศีลทุกข้อให้ได้บริสุทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นสิกขาบทน้อยใหญ่ ทำวัตรสวดมนต์เดินจงกรม นั่งสมาธินอนดึก ตื่นเช้า บิณฑบาต ทำะไรให้ได้เต็มร้อยเต็มเม็ดเต็มหน่วย ตั้งใจสำรวมรักษากาย วาจา ใจของเราให้สงบเรียบร้อย ไม่คึกคะนอง สรวลเสเฮฮา นิสัยทางโลกความคิดทางโลก เราก็หยุดมันไว้ก่อน พักไว้ก่อน เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ศีลของเราด่างพร้อย พยายามเก็บตัวเพื่อให้ใจสงบ ฝึกอยู่คนเดียวด้วยการนั่งสมาธิ ด้วยการเดินจงกรม เมื่อมีกิจวัตรจึงออกมาตามเวลากิจวัตรต่างๆ เราถือว่าบำเพ็ญกุศลหมด ตั้งแต่ปัด กวาด เช็ด ถู หรืออะไรต่างๆ ล้วนเป็นเหตุให้เกิดบุญกุศล
ให้เรามารู้จักวิธีทำใจให้สงบ โดยอยู่กับการหายใจ อยู่กับการท่องพุทโธ มีสติกับการทำงาน กับกิจวัตร โดยเฉพาะการฝึกให้จิตใจอยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับการท่องพุทโธ เป็นสิ่งที่ต้องฝึก เช่น เมื่อเราเจ็บไข้ไม่สบาย เราเข้าสมาธิ เราต้องอาศัยอุปกรณ์ผูกจิต ผูกใจของเราให้พากันมารู้จักอารมณ์ สิ่งที่กระทบทางตา หู จมูก กาย พวกนี้เราเรียกว่าอารมณ์ เราต้องรู้จักมันให้ดี เมื่อเรารู้จักแล้ว เราพยายามที่ไม่หวั่นไหว ง่อนแง่นคลอนแคลน ไม่ว่าจะมาแบบรุนแรงหรือสวยสดงดงาม ให้เรารู้จักว่านี้เป็นเพียงอารมณ์ ถ้าเรารู้จัก เราฉลาด อารมณ์ก็จะสลายไป อารมณ์นี้มีปัญหามาก ทำให้เราเป็นประสาท หงุดหงิดที่สุดก็ทำให้เราทำตามความอยาก ชอบ ไม่ชอบ เบื่อ ไม่เบื่อ อย่างนี้ รักษากาย วาจา ใจ
มาพิจารณากาย กำหนดให้เห็นโครงกระดูกนั่งชัดเจน เดินก็ให้นิมิต เห็นโครงกระดูกทางจิตใจที่ชัดเจน นิมิตทางธรรมมันจะได้โผล่ขึ้นมาบ้าง เนปกตินี้เค้าเรียกว่าเห็นทางสัญญา มันเลยไม่ได้มองเห็นตน ว่าจะแยกแยะอะไรให้มันเด่นชัด
ถ้าเราเอาสมาธิอย่างเดียว ไม่ฝึกให้มันเกิดนิมิตทางธรรม มันก็ไม่เกิดปัญญา มันก็สงบเฉยๆ มันจับนิมิตยังไม่ได้ นิมิตเราไม่เด่น กรรมฐานเรายังไม่เด่น มันก็ไม่เกิดปัญญา มันไม่น้อมไปหาวิปัสสนา
ให้ใจมันรวมเฉยๆ กำหนดเห็นโครงกระดูก หรือคนกำลังเปื่อยเน่า หรือว่าน้ำเหลืองกำลังไหลหนอนยุบยับ ยุบยับ ยุบยับ น่าสะอิดสะเอียนที่สุดเลย ภาวนาให้มันเห็นอย่างนี้ เดินอยู่ก็เห็น นั่งอยู่ก็เห็น นอนอยู่ก็เห็นให้มัน เห็นด้วยปัญญาที่กำหนดขึ้นมาเป็นนิมิตที่เด่น เด่นเหมือนกับที่เรานึกเห็นภาพที่เราชอบเราหลง ให้มันเด่นอย่างนั้น ในภาพที่มันเพ่งพินิจพิจารณาให้เกิดปัญญา เรากำหนดบ่อยๆ มันก็เข้มแข็งขึ้น
เราต้องแก้อารมณ์แก้ความคิด เราต้องเห็นทุกข์เห็นโทษ เดินไปก้าวหนึ่งกลับไป ๓ ก้าวมันไม่ได้ เดินไป ๓ ก้าวกลับไปก้าวหนึ่งค่อยยังชั่วหน่อย มันยังไม่ขาดทุน ไม่มีใครช่วยเหลือเราได้เราต้องช่วยตัวเอง เราต้องแก้ ต้องรีบแก้ ต้องแก้เดี๋ยวนี้ ไม่ต้องรอ เรามีความเห็นผิด มีความคิดผิดว่าไม่เป็นไรหรอกมั้ง เราปล่อยไปอย่างนี้ วันหนึ่งเราคงสู้มันได้อะไรอย่างนี้ มันหลอกเราไปเรื่อย มันอาลัยอาวรณ์นะ เราจำเป็นที่ต้องตัดมัน ต้องทิ้งมัน อย่าไปกลัวมันหมดรสหมดชาติ หมดกิเลสนั้นมันไม่หมดรสหรอก ยิ่งรสหอม รสหวาน รสมัน สมบูรณ์ทุกอย่าง
ถ้าเราออกจากสิ่งเหล่านี้มันต้องทรมานมันต้องเหี่ยวแห้ง เพราะกิเลสมันจะตาย เหมือนคนป่วยนี้ก็ทรมาน ธาตุขันธ์มันจะแยกออกจากกันอะไรแบบนี้ แต่ว่าคุณประโยชน์ของเราที่จะได้รับมันมาก
มันก็เหมือนกับเราเดินธุดงค์ เมื่อเราหิวน้ำ ขาดแคลนน้ำ มันก็ตะเกียกตะกายหาน้ำดื่มจากหน้าผา ห้ามก็ยังไม่ฟัง บอกว่าเดี๋ยวเอาไว้ก่อนอย่าพึ่งลงไปเลย ให้ไปอีกหน่อยก่อน มันยังไม่ยอมนะ มันลงไปจนได้ มันตะเกียกตะกายหาน้ำหาอาหาร กิเลสมันก็เหมือนกัน มันกระวนกระวายระส่ำระสายมันทรมาน เพราะว่ามันจะตายนะ
รู้อย่างนี้เราต้องยิ่งสู้กัน สู้กันอย่างสนุกนะ ถ้าไม่สู้อย่างนี้มันก็ไม่มีโอกาสสู้นะ ถ้าเราไม่สู้อย่างนี้มันก็เป็นการปฏิบัติผิดทาง มันก็ไม่ได้ทวนกระแสสิ จะขึ้นภูเขามันต้องเหนื่อย จะข้ามทะเลมันต้องลำบาก การข้ามนิวรณ์ทั้งหลายทั้งปวงนี้มันต้องเผชิญกันน่าดูล่ะ เผชิญกันอย่างสนุกสนาน เมามันล่ะ เราไม่ได้สู้เลยไม่ยอมสู้เลย แล้วก็ไม่เห็นโทษของความที่ตกอยู่ในอำนาจของมนต์ดำของกิเลส เลยคิดว่าเป็นของดีของวิเศษไป ท่านว่า เห็นกงจักรเป็นดอกบัวนะ
บางทีเราฟังดูอย่างนี้มันอาจจะยังไม่รู้จัก แต่ว่าถ้าเราผ่านไปแล้วเราถึงจะรู้จัก เราฟังคนอื่นพูดก็คิดว่าเขาเป็นบ้าอีก พูดอะไรก็ไม่รู้ ไม่รู้เรื่อง มันจะสบายได้อย่างไร มีทุกข์เกือบตายแล้ว นี้ว่าอย่างนั้น ถ้าสู้มากกว่านี้จะไม่ทุกข์มากกว่านี้หรือ คิดไปน่ะ
นี้เราไม่ได้รับความสุข เราต้องกลับมาหาความสุขทางธรรมเยอะๆ กลับมามีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวสบาย ปล่อยวางทุกอย่าง ปล่อยวางความชอบ ความไม่ชอบ ลาภ ยศ สรรเสริญ
กลับมาหาสติสัมปชัญญะ ให้มันสมบูรณ์ที่สบายเลย เดินก็สบาย นั่งก็สบาย นอนก็สบาย ทำอะไรอยู่สบาย เพื่อที่จะให้มันมีความสุขในทางธรรม เห็นทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของปลอม เป็นของหลอกลวง เป็นพยับแดด เป็นลมที่ผ่านไปมาเฉยๆ เราไปวิ่งตามพยับแดด ไปวิ่งตามลม ไปวิ่งตามสิ่งแวดล้อม มันก็ทุกข์เราเปล่าๆ นะ
ให้เรากลับมาหาเนื้อหาตัวเยอะๆ เราจะได้เป็นอิสระ เป็นตัวของเราเองให้มันมากๆ นะ ต้องภาวนาเข้า ถ้าเรารับความสุขอย่างนี้เยอะๆ มันก็มีพลัง ได้เห็นสิ่งต่างๆ มาเสียบแทงมาทำให้เรามัวหมอง มาทำให้เราสกปรกเฉยๆ แสดงว่าพลังภายนอกมันดึงดูดเราได้ พลังสมาธิ พลังปัญญาเรามันยังไม่พอต้องภาวนาขึ้นอีก ทั้งความสงบทั้งปัญญาต้องเพิ่มขึ้นอีก
ข้าวเปลือกนี้ไม่สำคัญสำหรับหมา ลาภ ยศ สรรเสริญสุข ทุกข์ ไม่สำคัญสำหรับเรา ชาตินี้เราจะเอาให้เหมือนกับวันหนึ่งกับคืน เราจะปล่อยวางอะไรทุกอย่าง ให้เราตั้งอกตั้งใจอยู่อย่างนี้
เราไม่ต้องมองไกล ปล่อยวางในปัจจุบันนี้ให้มันมาก ให้มันลึกซึ้ง ถ้ารู้ที่พัก รู้ที่ปลอดภัยแล้วเดี๋ยวมันก็จะเข้ามาหามันเอง แต่ถ้าเราเจริญแต่สมาธิ เราไม่ได้เจริญปัญญา เราลืมตาเมื่อไหร่ก็ได้เจอกันเมื่อนั้น ขาอ่อนเมื่อนั้น เพราะว่ามันเจริญสติสมาธิเฉยๆ ปัญญามันตัวสัมปชัญญะเราไม่ได้เอามาใช้งาน ทีนี้ต้องเพิ่มเข้าอีก
แสดงว่าบทเรียนที่เราผ่านมานี้ ก็ทำให้เราฉลาดก็ทำให้เราหายโง่ ต้องสู้ใหม่ ต้องดัดตัวเอง ต้องแก้ไขตัวเอง มรรค ผล นิพพานมันต้องผ่านขึ้นมาแบบนี้อย่างนี้ๆ
นักปฏิบัติที่ปฏิบัติไม่ได้ไม่ผ่าน ก็เพราะว่าขาดขั้นตอนระดับอย่างนี้ๆ คิดว่าไม่สำคัญนะ เอาไปเอามาก็หลายปีหลายพรรษาก็ไม่ก้าวหน้าได้หรอก เพราะว่าไม่รู้จักแก้ไขตัวเอง ไม่ได้ปรับปรุง
อินทรีย์คนเรามันก็ไม่เหมือนกัน เราสู้กันเดี๋ยวนี้แหละ เอามันหมดไปเดี๋ยวนี้แหละ ถ้ามันหมดแล้วมันก็ไม่มีปัญหาหรอก อย่าไปสนใจมันเรื่องอื่น ให้คิดว่าเรามีชีวิตอยู่เดี๋ยวนี้ เราสู้ให้มันหมดกิเลสไปเลย เรื่องมันไม่หมดก็เอาไว้กันก่อน
เส้นทางนี้เป็นบารมีเป็นเส้นทางที่เราเดินไป เหมือนกับเราเดินไปนี้เดินไปถางป่า พอจะไปถึงตรงนั้นมันก็หยุดแค่นั้น ถ้าไปถางต่อมันก็ไปเรื่อย บางทีเราอาจจะคิดว่ามันลำบาก เหมือนกับเราไม่เคยงานเราไม่เป็นงาน แต่ถ้าเราเข้าใจแล้ว มันก็เป็นของที่ง่ายมาก ก็บารมีคนไม่เหมือนกันน่ะ จะให้เขาเหมือนแบบเราได้อย่างไร โรคของแต่ละคนมันก็ไม่เหมือนกัน บางคนก็โรคปวดท้อง บางคนก็โรคปวดหัว ปวดขาปวดแข้งอะไรไม่เหมือนกัน จริตไม่เหมือนกัน การสั่งสมมาไม่เหมือนกันนะ แล้วแต่กรรมตัวไหนของเขามันจะโผล่ออกมา บางคนเขาก็เคยไปเกิดในชั้นพรหมนานแล้ว พอลงมาแล้วเขาก็เฉยๆ อยู่นะ บางคนก็ไปเกิดที่สวรรค์มาเกิดที่นี่ก็มากหน่อยอย่างนี้ การเกิดมันไม่เหมือนกันและกรรมคนมันก็ไม่เหมือนกัน
กำลังใจนี้สำคัญอย่าไปกลัว ทำะไรอย่าไปกลัว อย่างเขาเป็นนักกีฬาระดับโลกเขาไม่กลัวคู่ต่อสู้หรอก พอเห็นช้างตัวใหญ่ๆ เท่ากับแมลงหวี่ เขาไม่กลัวหรอก นักปฏิบัติก็เหมือนกัน ไม่กลัว สู้มัน อย่าไปท้อไปถอยเนสัชชิกทั้งคืนหรือว่าอดข้าวกี่วัน เจออุปสรรคอะไรต่างๆ นานา ไม่ต้องกลัว ขึ้นเขาลงห้วย ลงทะเลไม่ต้องกลัว พร้อมที่จะสู้ทุกเมื่อ
ถ้ากลัวแล้วมันทุกข์ตั้งแต่ยังไม้ได้สู้ คิดสารพัดอย่าง อย่าไปกลัวมัน พระพุทธเจ้าท่านจึงว่าพลังจิตนี้สำคัญมาก พลังจิตเข้มแข็ง พลังจิตไม่กลัว พลังจิตที่จะสู้ พลังจิตที่มีสัมมาทิฏฐิ มีกำลังเมื่อไหร่ก็รีบสู้ รีบปฏิบัติ อย่าไปท้อแท้ท้อถอย ก็สงสารอยู่ สงสารถึงได้มีข้อวัตรแบบนี้ เข้มแข็งแบบนี้ ถ้าไม่สงสารก็ปล่อยให้ไปตามยถากรรม ก็เพราะความสงสารถึงได้มีข้อวัตรปฏิบัติที่หนักแน่น ที่เข้มแข็ง ที่จะต่อสู้
เห็นเขาบอกว่าเป็นพระโหลๆ เป็นไม่ลำบาก ไปหาเอาที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องมาหาที่วัดนี้ ปรับปรุงตัวเองให้เต็มที่นะ อย่าให้เสียชื่อเสียประวัติ ตอนเช้าก็ต้องภาวนาไม่ใช่นอน พิจารณาให้มันเกิดสติเกิดปัญญา เพื่อที่จะต่อสู้กับกิเลส เพื่อจะเห็นสภาพตามเป็นจริง ถ้าไปฟังเขียดมันร้องฟังไปฟังมาก็หลับ ไปพิจารณาทบทวน ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความไม่มีตัว ไม่มีตน เราต้องต่อสู้เอาอิสระภาพของเราคืนมา จากความไม่มีตัวไม่มีตน
ดีแล้วมันจะได้ปรับปรุงให้เห็นโทษเห็นภัยของตัวเอง ถ้าเราไม่เห็นโทษ เห็นภัยของตัวเองนี่ มันละไม่ได้นะ มันก็ว่าแต่ตัวเองถูกอยู่อย่างนั้นแหละ มันไปว่าคนอื่นโน่นผิด มันเป็นโทษใหญ่น่ากลัวที่สุด ก็นึกว่ามันถูกอยู่นั่นแหละ อันนี้ต้องเห็นถึงโทษ เห็นความผิดของตัวเอง เห็นความประพฤติ เห็นการกระทำของตัวเองอย่างชัดเจน ถ้าไม่อย่างนั้นมันก็เป็นอย่างเก่านั่นแหละ มันก็นั่งคิด นอนคิด อย่างเก่านั่นแหละ มันก็สงวนหวงแหนอยู่อย่างนั้นแหละ
ขอให้ปรับตัวเองเข้าหาธรรมวินัยอย่าไปถือสักกายทิฏฐิถือตัวถือตน ทำอะไรตามสบายว่าเป็นทางสายกลาง มันต้องฝืน ต้องอดทน ต้องเคารพนอบน้อมในศีล ในระเบียบ ในวินัย ถึงจะตายก็ยอม เพราะ "ศาสนาพุทธเป็นของประเสริฐของสูง ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ มันก็เป็นเพียงปรัชญา" เป็นธรรมดาเหมือนทั่วๆ ไป ไม่มีประโยชน์อะไร เรามีของมีค่าจึงไม่ทำให้มีค่าอะไร พยายามสำรวจตนเอง ว่าเรามีข้อบกพร่องในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอะไรบ้าง แล้วพยายามตั้งตัวแก้ตัวใหม่ พยายามมีความเชื่อมั่นในการทำความดีว่าต้องได้ดี เชื่อมั่นว่าธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ ถ้าจะดับก็ต้องดับเหตุก่อน
เราอยู่ในสังคมเราก็ปฏิบัติได้ เราอยู่ในหมู่คณะเยอะๆ เราก็ปฏิบัติได้ที่ว่าเราปฏิบัติไม่ได้ คือเราไม่ได้ปฏิบัติ พิจารณาว่ารูปไม่ใช่ตัวตน เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณไม่ใช่ตัวตน พยายามทำไป เมื่อตัวตนไม่มีแล้ว ใครจะมาสุขมาทุกข์อยู่เล่ามีแต่อวิชชาความหลงที่มันเกิดดับอยู่นี้ เมื่อรู้จักสมาธิ ปัญญาเราก็เจริญ อินทรีย์ก็แก่กล้า ให้เราปฏิบัติให้มีความกล้าปฏิบัติ การละการปล่อยวางทำไปเรื่อยๆ จนกว่าอินทรีย์มันสมบูรณ์ ถ้าเราบังคับตนเองไม่ได้ นานไปยิ่งจะบังคับตัวเองไม่ได้นะ เพราะมันติดสุขติดสบาย เราต้องฝึกจริงๆ
ความสุขที่ว่าสุข เราก็คิดปรุงแต่งเอาหรอก ความทุกข์ที่ว่าทุกข์เราก็ปรุงแต่งเอาหรอก แท้จริงแล้วไม่มีอะไร มีแต่ใจไปคิดปรุงแต่งเอาเองทั้งนั้น